MGRออนไลน์ -- เรือพิฆาตยักษ์รูปทรงแปลกตาย้อนยุค เป็นเรือพิฆาตขนาดใหญ่โตมหึมาที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา ซึ่งจะเป็นเรือรบแห่งอนาคตของกองทัพเรือสหรัฐ และ ยังเป็นศูนย์รวมแห่งเทคโนโนยีเรือรบชั้นนำของโลก ได้ออกแล่นในทะเลแอตแลนติกเป็นครั้งแรก วันจันทร์ 7 ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งได้กลายเป็นการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ของอุตสาหกรรมเดินเรือ กับกองทัพเรือทั่วโลก ตามรายงานในเว็บไซต์กองทัพเรือสหรัฐ เรือพิฆาตซูมวอลต์ (USS Zumwalt, DDG 1000) ถูกลากจูงออกจากบริเวณอู่ต่อเรือบาร์ธไอออนเวิร์ค (Bath Iron Works) ของกลุ่มเจเนอรัลไดนามิกส์ (General Dynamics) ในรัฐเมน ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ในการทดสอบจริงทางทะเลเป็นครั้งแรก ก่อนเตรียมนำเข้าประจำการในปี 2559 นี้ ตามรายงานของสำนักข่าวเอพี เรือรบซึ่งเป็นเรือต้นของเรือพิฆาตพันธุ์ใหม่ "ชั้นซูมวอลต์" หรือ "เรือ DDG 1000" แล่นไปตามแม่น้ำเคนเนเบ็ก (Kennebec) สู่ทะเลเปิด ท่ามกลางเสียงไชโยโห่ร้องของบรรดาเจ้าหน้าที่ และ พนักงานอู่ต่อเรือราว 200 คน ซึ่งหลายคนในนั้นร้องตะโกนด้วยความรู้สึกลิงโลดใจ ในความสำเร็จ อันเป็นผลงานชิ้นประวัติศาสตร์ของพวกเขา อู่ต่อเรือเก่าแก่ริมฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกแห่งนี้ ให้กำเนิดเรือรบมานับจำนวนไม่ถ้วน เรือจำนวนมากจากที่นี่ เคยเข้าร่วมในการยกพลขึ้นบก ที่หาดนอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ 70 ปีที่แล้ว รวมทั้งเรือพิฆาตและเรือลาดตระเวณที่ประจำการอยู่ในปัจจุบัน แต่ยังไม่เคยสร้างเรือรบรุ่นใด ที่มีรูปลักษณ์ประหลาดล้ำ และ มีขนาดใหญ่โตระดับนี้มาก่อน เรือชั้นซูมวอลต์กำลังจะเข้าประจำการแทนเรือพิฆาต (Destroyer) ชั้นอาร์ลีห์เบิร์ก (Arleigh Burke-Class) และ เมื่อพัฒนาถึงขั้นสูงสุด อาจจะใช้แทนเรือลาดตระเวณ (Cruiser) ชั้นติคอนดีโรกา (Ticonderoga-Class) ในปัจจุบันอีกด้วย หมายความว่าในอนาคตที่ยังไม่ได้กำหนดแน่นอนในขณะนี้ เรือซูมวอลต์อาจจะเป็นเรือรบเพียงแบบเดียว ชนิดเดียว และ รุ่นเดียว ของกองทัพเรือสหรัฐ โดยใช้งานในหลากหลายภารกิจ เนื่องจากมีเขี้ยวเล็บเพรียบพร้อม กับขีดความสามารถรอบด้าน ที่มีในเรือพิฆาตและเรือลาดตระเวณ ซึ่งเป็นเรือรบขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน และ ยังมีมากกว่านั้นอีก ทั้งกองทัพจึงฝากความหวัง กับเรือลำที่แล่นเข้าสู่กระบวนการทดสอบใช้งานจริงในทะเลสัปดาห์นี้ เรือซูมวอลต์สร้างขึ้นมาด้วยดีไซน์ประหลาดตาและขนาดใหญ่โต โดยมีระวางถึง 15,000 ตัน เทียบกับเรือพิฆาตอาร์ลีห์เบิร์ก Flight I ถึง Flight IIA กับ Flight III ในอนาคต ที่มีขนาดตั้งแต่ 9,000 ไปจนถึง 11,000 ตันเมื่อบรรทุกเต็มอัตรา และ เทียบกับเรือลาดตระเวณชั้นคิคอนดีโรกา เพียง 9,800 ตันเท่านั้น รูปทรงเป็นแบบ "ทัมเบิลโฮม" (Tumblehome) ส่วนล่างเป็นฐานกว้าง แต่แคบขึ้นไปสู่ส่วนบน จนดูคล้ายรูปทรงของเตารีดที่ใช้ถ่านไฟแบบเก่า เมื่อมองจากระยะไกล ทั้งนี้เพื่อให้เป็น "สเตลธ์" (Stealth) กราบเรือทั้งสองด้านเพรียวขึ้นข้างบน และ โค้งมนไปตามความยาว มีลักษณะลู่คลื่น และ หลบเลี่ยงการตรวจจับของเราดาร์ข้าศึก . . ด้วยขนาดอันมหึมา กับความยาวตลอดลำถึง 183 เมตร เรือซูมวอลต์ออกแบบมา เพื่อให้ลำเรือส่วนใหญ่จมอยู่ในน้ำแบบเดียวกับเรือดำน้ำ เหลือเพียงกราบเรือกับส่วนกระโดงเรือราว 8 เมตร ที่จะโผล่เหนือน้ำ รวมทั้งปืน MK-45 และ ปืนใหญ่ 155 มม. AGS ที่จะติดตั้งบน "ดาดฟ้า" ในอนาคต นั่นคือเรือพิฆาตยักษ์ถูกออกแบบให้ "แล่นแหวกไปในน้ำ" แบบเรือดำน้ำ แทนที่จะ "แล่นบนผิวน้ำ" หรือ "ลอยอยู่บนน้ำ" เช่นเรือรบทั่วไปในปัจจุบัน ก็จึงทำให้ทำให้วิศวกร กับ ผู้เชี่ยวชาญจำนวนหนึ่ง ตั้งคำถามใหญ่ๆ ว่า เรือขนาดมหึมา และ มีรูปทรงเช่นนี้ จะสามารถทนการกระแทกของคลื่นขนาดใหญ่ในทะเลเปิดได้จริงหรือ หลายฝ่ายแสดงความกังวลต่อความเสถียรของเรือรบทั้งลำ ที่จะอาจส่งผลถึงประสิทธิภาพในการรบด้วย อย่างไรก็ตามรูปทรง Tumblehome ได้พัฒนาไปอีกขั้น เรือรบทรงเตารีดแห่งศตวรรษที่ 21 ย่อมแตกต่างโดยพื้นฐาน เป็นคนละลำ คนละแบบ กับเรือทรงคล้ายกัน ในศตวรรษที่ 19 หรือ 20 และ กองทัพเรือสหรัฐตัดสินใจฟื้น "ดีไซน์" นี้ กลับมาใช้งานอีกครั้ง พร้อมเทคโนโลยีล่องหน กับ เทคโนโลยีล้ำหน้าด้านอื่นๆ อีกมากมาย เรือพิฆาตชั้นซูมวอลต์ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น ตั้งแต่การขับเคลื่อน ไปจนถึงการควบคุมความเสถียรของลำเรือ โดยไม่ต้องพูดถึงระบบอาวุธ ซึ่งไฮไล้ท์สำคัญที่สุดอาจจะเป็น ป.155 มม. แคลิเบอร์เดียวกันกับปืนใหญ่สนามทั่วไป แต่เป็น Advanced Gun System หรือ "ระบบปืนใหญ่ก้าวหน้า" ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาในขั้นตอนสุดท้าย โดย BAE Systems เพื่อติดตั้งบนเรือพิฆาตพันธุ์ใหม่นี้โดยเฉพาะ กองทัพเรือสหรัฐเคยมีเป้าหมาย จัดหาเรือชั้นซูมวอลต์ถึง 32 ลำในช่วง 2-3 ทศวรรษปีข้างหน้า แต่ในปัจจุบันมีงบประมาณผูกพัน สำหรับ 3 ลำเท่านั้น ซึ่งลำต่อไปคือ เรือไมเคิล มอนซูร์ (USS Michael Monsoor, DDG 1001) กำลังต่อที่อู่แห่งเดียวกันนี้ กับ เรือลีนดอน บี จอห์นสัน (USS Lyndon B Johnson, DDG 1002) จะเป็นลำสุดท้าย . |
||||
***DDG 1000 "ไอ้ปืนโต" ยิงไกล 100 กม.*** แรกเริ่มเดิมที ปืนใหญ่เรือ AGS 155 มม. ของเรือซูมวอลต์ ออกแบบมาเพื่อติดตั้งตรง ตั้งฉากกับลำเรือ แบบเดียวกับเสาธง และ เอนลงเมื่อยิง แต่ในที่่สุดก็ตัดสินใจกันเมื่อไม่นานมานี้ ให้ติดตั้งเป็นแนวราบ บนป้อมปืนที่ออกแบบรูปทรงล่องหน เช่นเดียวกันกับส่วนอื่นๆ ของเรือทั้งลำ ปืนสามารถยกเอนได้ เป็นมุมตั้งแต่ 5-70 องศา ตามข้อมูลในเว็บไซต์ BAE Systems ปืน AGS ไม่สามารถใช้ยิงกระสุนปืนใหญ่สนาม 155 มม.ทั่วไป แต่แคลิเบอร์ของลำกล้องเป็นขนาด 62 นั่นคือ 155/62 มม. เทียบกับปืนใหญ่สนามพันธุ์อเมริกัน 155/39มม. หรือ 155/52มม. อำนาจการยิงจากทะเลจึงไม่ได้ด้อยไปกว่าปืนใหญ่สนาม กองทัพเรือสหรัฐต้องการปืนขนาดนี้ เพื่อใช้ยิงโจมตีเป้าหมายบนบก หรือ ยิงสนับสนุนกำลังทหารราบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองคือนาวิกโยธิน ปืน AGS ระบายความร้อนลำกล้องด้วยน้ำ สามารถยิงได้นาทีละ 10 นัด และ ยิงติดต่อกันได้จนหมด "แม็กกาซีน" 300 นัดหรือมากกว่านั้น ในรวดเดียว โดยใช้ระบบป้อนกระสุนอัตโนมัติ ซึ่งหมายความว่า ปืนใหญ่เรือบนเรือพิฆาตชั้นซูมวอลต์ มีอำนาจการยิงเท่าๆ กับปืนใหญ่สนาม 155 มม. ถึง 5 กระบอกเมื่อยิงพร้อมๆ กัน นอกจากจะยิงด้วยกระสุนมาตรฐานจำเพาะแล้ว บริษัทล็อกฮีดมาร์ติน (Lockheed Martin) กำลังพัฒนากระสุนพิเศษอีกชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า LRLAP หรือ กระสุนยิงโจมตีบนบกจากระยะไกล (Long Range Land Attack Projectile) สำหรับ ป.155 บนเรือซูมวอลต์ เป็นกระสุนความแม่นยำสูง มีระยะยิงพลาดเป้าหมาย ในเส้นรอบวงเพียง 50 เมตร หรือ แคบกว่านั้น ในเดือน ก.ค.2548 ล็อกฮีกมาร์ติน ทดลองยิงกระสุน LRLAP รุ่นแรก ซึ่งยาว 220 ซม. น้ำหนัก 102 กก. สามารถยิงได้ไกลถึง 109 กม. (68 ไมล์ หรือ 59 ไมล์ทะเล) และ กำลังพัฒนาต่อไป เพื่อเพิ่มอำนาจการยิง "ปืนใหญ่เรือจะต้องไม่พลาด" เป็นแนวคิดทั่วไปสำหรับปืนนาวี ทั้งนี้หากพลาดขึ้นมา ก็จะไม่สามารถหาทดแทนได้ในทันท่วงที และ จะไม่มีหน่วยใดสามารถจัดหาทดแทนได้ บนเรือซูมวอลต์ยังติดตั้ง "ปืนใหญ่ 5 นิ้ว" MK45 อีกกระบอกหนึ่ง เพื่อใช้ในปฏิบัติการปรกติ . |
||||
|
||||
|
||||
|
||||
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ปืนใหญ่ทั้งสองระบบ ก็เป็นเพียงเขี้ยวเล็บหนึ่ง เรือซูมวอลต์ยังติดตั้งระบบจรวดต่อสู้อากาศยาน ESSM (Evolved SeaSparrow Missile) แบบเดียวกับที่ติดตั้งบนเรือฟริเกตชุดนเรศวร-ตากสิน ของราชนาวีไทย ระบบจรวดยิงเรือดำน้ำ หรือ ASROC (Anti-Submarine Rocket) ติดตั้งระบบท่อยิงจรวดแบบ MK 57 จำนวน 20 ชุด รวมทั้งหมด 80 ท่อ สำหรับจรวด BMG-109 "โทมาฮอว์ก" จรวดร่อนรุ่นใหญ่ที่ติดหัวรบนิวเคลียร์ได้ และยิงได้ไกลตั้งแต่ 1,300 -2,500 กม. ระบบท่อยิง MK 57 ยังใช้ยิงจรวดมาตรฐาน RIM-66 ซึ่งเป็นจรวดยิงโจมตีระยะปานกลาง (70-164 กม.) ขนาดเล็กกว่าจรวดโทมาฮอว์ก แต่ละท่อยิงบรรจุได้ถึง 2 ลูก เมื่อมองจากบรรดา "กระสุน" เหล่านี้ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า เรือซูมวอลต์เป็นที่ต้องการมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในน่านน้ำที่กองทัพเรือสหรัฐ ต้องการครองความเป็นต่อ เหนือกว่าฝายตรงข้าม ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีบนเรือพิฆาตยักษ์อีกจำนวนมาก รวมทั้งหัวใจสำคัญคือ เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อใช้กับมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่ให้พลังถึง 105,000 แรงม้าเรือ หมุนใบพัดในการขับเคลื่อน ระบบโซนาร์ล้ำหน้ากับเรดาร์ AN/SPY-3 Multi-Function สแกนอาร์เรย์ใน X-Band ซึ่งพัฒาต่อจาก AN/SPY-1/2 ในเรือลาดตระเวณ จึงเป็นระบบที่ก้าวหน้าที่สุดในปัจจุบัน ฯลฯ โครงการซูมวอลต์ก่อเกิดขึ้นมา ตั้งแต่ต้นสหัสวรรษใหม่ เริ่มดำเนินการได้ในต้นปี 2551 โดยมีมูลค่าลำละ 3,500 ล้านดอลลาร์ แต่งบประมาณบานปลายขึ้นเป็น 4,200 ล้านดอลลาร์เศษ ทำพิธีวางกระดูกงูเดือน พ.ย.2554 ปล่อยลงน้ำเดือน ต.ค.2556 ตั้งชื่อเดือน เม.ย.ปีที่แล้ว ก่อนจะนำมาสู่เหตุการณ์ในวันจันทร์ที่ผ่านมา . |
||||
|
||||
|
||||
|
||||
|
||||
|
||||
|
||||
|
||||
ตั้งชื่อตามชื่อของ พล.ร.อ.เอลโม ซูมวอลต์ จูเนียร์ (Elmo Russell Zumwalt, Jr) อดีตผู้บัญชาการกองทัพเรือคนที่ 19 ซึ่งได้ชื่อเป็น CNO (Chief of Naval Operation) อายุน้อยที่สุดของกองทัพเรือสหรัฐ เคยมีบทบาทสำคัญในสงครามเวียดนาม และ ยังได้รับยกย่องในฐานะ เป็นผู้นำรณรงค์ปฏิรูปชีวิตความเป็นอยู่ของกำลังพล และ ลดความขัดแย้งทางเชื้อชาติภายในกองทัพ ชีวิตในบั้นปลายหลังเกษียน พล.ร.อ.ซูมวอลต์ เคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นวุฒิสมาชิก แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ในยุคที่ทหารผ่านศึกจากสงครามเวียดนามถูกสังคมต่อต้าน และ ไม่ได้รับเกียรติเยี่ยงวีรบุรุษ เรือซูมวอลต์กำลังจะเข้าแทนที่เรือชั้นอาร์ลีห์เบิร์ก ที่ประจำการมาตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1990 จากเรือ USS Arleigh Burke, DDG-53) จนถึงเรือไมเคิล เมอร์ฟี (USS Michael Murphy, DDG-112) แต่ในปัจจุบันเหลือประจำการอยู่เพียง 32 ลำ และ ในขณะนี้ยังคงสร้างต่อไป จนถึง DDG-119 คือ เรือเดลเบิร์ต ดี แบล็ก (Delbert D Black) ในล็อตที่มีเชื่อเรียกว่า Flight III ซึ่งเป็นล็อตที่พัฒนาสูงสุดตามเป้าหมายของชั้น กองทัพเรือสหรัฐจะต้องจัดหาเรือพิฆาตอีกไม่ต่ำกว่า 10 ลำก่อนสิ้นทศวรรษนี้ ในขณะที่กำลังต่อเรือบรรทุกเครื่องบินรุ่นใหม่อีก 2 ลำ และ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการเรือซูมวอลต์บานปลาย ก็จึงจัดหาเรือพิฆาตรุ่นใหม่ได้เพียง 3 ลำ เพราะฉะนั้นการต่อเรือชั้นอาร์ลีห์เบิร์กรุ่นใหม่ล่าสุด ทีมีต้นทุนต่ำกว่า จะต้องดำเนินต่อไปตามแผนพัฒนาเดิม อย่างไรก็ตาม การจัดหาเรือชั้นซูมวอลต์ จะมีความสัมพันธ์โดยตรง กับการปลดระวางเรือลาดตระเวณชั้นติคอนดีโรกา ที่ประจำการมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 และ สร้างออกมาทั้งหมด 27 ลำ คือตั้งแต่เรีอต้น (USS Ticonderoga, CG-47) จนถึงเรือพอร์ตโรยัล (USS Port Royal, CG-73) ที่ขึ้นระวางเป็นลำล่าสุดในเดือน ก.ค.2547 ก่อนหน้านี้ได้ปลดระวางไป 5 ลำ ปัจจุบันยังเหลืออยู่จำนวน 22 ลำ. |
http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000135373
USS Zumwalt ถูกออกแบบมาเพื่อปราบ "ซู-30" โดยเฉพาะ....................................
และเป็นพื้นฐานในการออกแบบเรือรบอวกาศของสมาพันธ์โลกในอนาคตด้วยครับ
ข่าวต่างประเทศส่วนใหญ่ลงไว้ ทรงสหรัฐมีงบจัดหาเรือชั้น Zumwalt แค่ 3 ลำเท่านั้น
แถมแหนบว่าเป็นแค่เรือสาธิตเทคโนฯ เพราะประสิทธิภาพต่ำกว่าราคาที่ลงไปมหาศาล
อ้างว่ายิง SM-2 ไม่ได้มั่ง โรงงานจะเจ๊ง ฯลฯ
ส่วนตัวก้ตอบโต้ข่าวด้านนี้ไปหลายครั้ง (ฝ่ายโปรรัสเซีย โปรจีน)
มันไม่จบแค่ตัวเลข 3 ลำหรอกครับ เพราะแผนการปรับปรุงเรือ Ticonderoga-Class
ล่าสุดปรับปรุงแค่ 11-12 ลำเนี่ยแหล่ะ และปี 2019 ที่เหลือก้เตรียมทยอยปลดประจำการ
ยังมองว่ามันเป็นไปได้ยากที่ สหรัฐจะปลด Ticonderoga-Class โดยไม่มีเรือใหม่มาทดแทน
ถึงแม้จะไม่สามารถทดแทนได้ในอัตรา 1:1 ก้ตาม (เคยอ่านเจอ จะทดแทนในอัตรา 3:2)
ผมว่าจัดหาแค่นี้แหละครับ ก็เหมือน LCS ก็จัดหานิดเดียวแล้วแก้ไขสเป็คกับหลักนิยมเล็กน้อย กลายเป็นแบบเรืออื่นๆไปแทน
ddg 1000 หน้าที่มันไม่เหมือน ticonderoga นะครับ ไม่ได้มาแทนกัน อันนั้นให้ Arleigh burke แทนสบายๆ สเป็คแทบจะเหมือนกันอยู่ละ แต่จะมีหน้าที่ระดมยิงฝั่ง สนับสนุนปฏิบัติการณ์พิเศษ ป้องกันภัยทางอากาศได้เฉพาะจุด
เป็นแพลทฟอร์มไว้ทดลองอาวุธระบบอุปกรณ์ใหม่ๆในอนาคต เช่นเรลกัน ฯลฯ
ไม่แปลกที่เรือ ddg1000 จะยิง sm2 ไม่ได้นะครับ เท่าที่ผมอ่านมาอย่างที่บอก จะติด essm สามารถป้องกันตัวเองได้พอ ไม่ได้มีหน้าที่ป้องกันกองเรือ แต่มีหน้าที่ระดมยิงฝั่ง อุตส่าติดปืนบิ๊กสองป้อม ระยะยิงโคตรไกล
เรดาร์สปายนี่มีหลายเวอร์ชั่นนะครับ ต่างกันที่ขนาด จำนวนโมดูลด้วย ความแรงก็ต่างกัน
แล้วเรือนี่ก็ไม่ใช่ LCS นะครับ
ปืนเรลกันยังไม่พร้อมสำหรับใช้งานจริงครับ แต่มีระบบรองรับไว้ในอนาคต
จริงๆผมว่ามันก็น่าจะยิงได้นะ ไม่ว่าเรดาร์SPY-3หรือMk57ก็น่าจะรองรับSM-2ทั้งนั้น ถ้าเป็นSM-3นี่ค่อยว่ากันทีหลัง
ผมกล้าพนันได้เลยว่ามันต้องเยอะกว่าสามลำแน่ๆ ในอนาคตต้องซื้อเพิ่ม สิ่งที่เปลี่ยนไปคือการจัดหาทยอยๆ ช้าลงกว่าแผนเดิม ส่วนเรื่องอาวุธต่างๆ คงเพิ่มความหลากหลายไปเรื่อยๆ ค่อยอินทิเกรตระบบอาวุธชนิดต่างๆ
บางประเทศเวลาซื้อของเขาจะมองถึงความต้องการใช้งานกับภัยคุกคาม ไม่ใช้จัดหาแต่ของที่ยิงไกลที่สุด ยิงแรงที่สุด แต่จะดูว่าต้องการของมาทำอะไร
เพราะฉะนั้นเราจะเห็นประเทศหลายๆประเทศเน้นอาวุธ non lethal เยอะขึ้นเพื่อตอบสนองต่อ asymmetric warfare ไม่ว่าจะเป็นแพลทฟอร์มบนยานยนต์หรือเรือ เพราะของพวกนี้ซื้อมาแล้วได้ใช้จริง แทนที่จะเอาเงินไปซื้อของมาเพื่อสะสมอาวุธแข่งกันอย่างเดียว
ข้อดีของการใช้ปืนใหญ่ยิงสนับสนุนระยะไกลคือประหยัดครับ ประหยัดกว่าการทำ airstrike หรือใช้ tomahawk แล้วอเมริกาก็ไม่มีเรือที่ทำหน้าที่นี้ในปัจจุบัน อเมริกาไม่ได้กะจะเอา ddg 1000 ไว้รบกับเรือจีนหรือรัสเซีย (อย่างน้อยก็ก่อนที่จะมี railgun ใช้งาน) แต่เอาไว้ใช้ถล่มประเทศอ่อนๆที่ชอบไล่ถล่มนี่แหละ
มองง่ายๆเมืองไทยถ้าเราเอาเงินมาลงกับรถเกราะประเภท MRAP ดีๆจำนวนมากแทนจะมีประโยชน์กว่าโครงการจัดหารถถังที่เราทำอยู่ด้วยซ้ำ
ลองย้อนดูไปกับการเปิดตัวอาวุธของสหรัฐโดยเฉพาะพวกที่ผลิตมาใช้เอง ไม่ขายด็ดขาด
สมัย F-117 ทดสอบบิน พี่แกก็เอาภาพนิ่งแบบไม่ค่อยชัดเท่าไหร่มาโชว์ตอนแถลงข่าว ไม่งั้นคนจะนึกว่าเป็น UFOและแค่บอกว่าเป็นเครื่องล่องหนที่เรดาร์จับไม่ได้เท่านั้น จนกระทั่งเข้าประจำการจึงบอกว่ามีอะไรบ้าง
เหมือนกับสมัยสงครามอ่าวครั้งแรก ใครจะไปนึกว่าสหรัฐจะมีอาวุธไฮเทคขนาดนั้นที่เอามาโชว์ให้เห็น
ฮ.ที่ขน Seal เข้าไปฆ่าบินลาเดน ถึงตอนนี้ยังไม่มีการเปิดเผยหน้าตาออกมาให้เห็น ว่าโฉมหน้าที่แท้จริงเป็นอย่างไร
ผมว่างานนี้คงยังไม่เปิดเผยอะไรออกมามากเหมือนเดิมครับ
โครงการนี้ค่อนข้างใหญ่โตมากสำหรับอเมริกา ถ้าลองหาข้อมูลในอดีตก็จะเจอเยอะมากเช่นกัน (วงเล็บต่อท้ายถ้ายังไม่โดนลบออกไปนะ) ผมมองด้วยความแปลกใจมาโดยตลอดกับตรรกกะที่กองทัพเรืออเมริกาเปิดเผย ส่วนตัวไม่รู้เหมือนกันว่ามันเอาไว้ทำอะไรและยังไงบ้าง และผลจากการสร้างเรือ 3 ลำเขาจะได้อะไรกลับไป แต่ที่รู้ๆคือเรือใหญ่มากเทียบเท่าเรือลาดตระเวณพลังงานนิวเคลียร์ในอดีต
ประเทศนี้ไอเท็มลับเยอะมากครับ ยิ่งรู้มากยิ่งตื่นเต้นและตกใจ หลายๆโครงการใช้เงินเยอะมากแต่ไม่ได้เปิดเผยกับสื่อมวลชน ต้องไปหารายงานจากหน่วยงานโน้นนี้อ่านเอาเอง ส่วนตัวชอบเรือลำนี้ครับ(หวงด้วย) เป็นโครงการที่ดีมากและส่งผลดีกับอาวุธเมื่อใช้งานจริง ยิ่งถ้าเป็นลำที่แปลงร่างเยอะกว่านี้ยิ่งน่าตื่นเต้นกว่านี้ อุยยยย..... ชอบ
ถ้าคิดตามตรรกะว่าไอเท็มลับอเมริกาจะไม่เปิดเผย อย่างนั้นถ้าเรือนี้ยิงมิสไซล์ตระกูล SM ต่างๆได้มันน่าปิดบังเป็นความลับยังไง เพราะก็ออกมาตั้งนานแล้ว เรือลำอื่นๆก็มีกันเยอะแยะ ประเทศพันธมิตรอื่นๆก็มีประจำการ ไม่ได้เป็นไอเท็มลับอะไร
กลับกันคือถ้าตามที่ทัพเรือบอกมาเรือลำนี้ stealth ในอนาคตจะติดปืนเรลกัน ใช้โจมตีเรือเพราะกระสุนโคตรเร็วและบังคับทิศทางได้ ต้นทุนการยิงแต่ละนัดถูก สรุปว่าถูกและดีกว่ามิสไซล์โจมตีเรือที่ใช้กัน ผมว่าก็มีตรรกะดีนะ ไม่ใช่เรือที่ทำอะไรไม่ได้ ออกจะไฮเทคล้ำอนาคตเหนือชาวบ้านด้วยซ้ำ
ว่าแต่รูปเรือของทั่นซุปเปอร์บอยมันเรืออะไรครับ
USS Decatur ตอนเอามาเป็นเรือweapon testbed สำหรับทดสอบติดตั้งอาวุธครับ