สวัสดีพี่ๆ น้องๆ สมาชิกครับ เปลี่ยนบรรยากาศฝรั่งแขกเค้าตีกัน มาพูดคุยเรื่องใกล้ตัวเรากันบ้างดีกว่าครับ คือเป็นไปได้ไหมครับว่า T-50TH 4 ลำแรกของ ทอ. จะเป็นการเริ่มต้นเล็กๆ ที่จะนำไปสู่การจัดซื้อจำนวนที่ใหญ่กว่าในอนาคต โดยจะแบ่งเป็นทั้งรุ่น Lead-In Fighter Training และ บ.มัลติโรลขนาดเบา (T-50 TH และ TA-50/FA-50)
รุ่น T-50TH จะใช้เป็น Lead-In สำหรับ นบ. ที่จะไปบิน เอฟ-16 MLU กับ กริเป้น เท่านั้น เนื่องจากเอวิโอนิกส์ทันสมัยทัดเทียมกัน จำนวนจัดหาในเบื้องต้นไม่น่าเกิน 12 ลำ เริ่มแรก 4 ลำก่อน (เกาหลีบอกจำนวนจัดซื้ออาจสูงถึง 24 ลำ เป็นไปได้ว่าอาจรวมถึง TA/FA-50 ด้วย)
ส่วน นบ. ที่จะไปบินกับ เอฟ-16 A/B / ADF / เอฟ-5 E/F/ ไทกริส และ A-Jet ซึ่งจะไม่มีการม๊อดอะไรอีกแล้ว เอวิโอนิกส์ต่างๆ ตกรุ่นไปแล้ว ก็จะไปบินกับ L-39 ZA ที่ยังเหลืออยู่ และพร้อมจะปลดประจำการในที่สุดเมื่อเราเลิกใช้ ไวเปอร์ A/B/ADF เอฟ-5 ทั้งหมด และ A-Jet คือในเบื้องต้น จะใช้ทั้ง T-50TH และ L-39 ZA ในภารกิจ Lead-In Fighter และสุดท้ายจะเหลือแค่ T-50TH เดี่ยวๆ
คิดว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นนะครับ
เมื่อถึงตอนนั้น ทอ. ก็จะเหลือแบบ บ. เจ็ต แค่ ไวเปอร์ MLU กริเป้น และ T-50TH รวมกับ บ.ใหม่ที่จะมาแทน เอฟ-16 A/B / ADF / เอฟ-5 E/F/ไทกริส และ A-Jet ซึ่งตัวเก็งก็น่าจะเป็น กริเป้นฝูง 2 กับ FA-50 ส่วนตัวที่จะมาแทน ADF ตามโรดแมพที่ ทอ. เคยวางไว้คือ เอฟ-35 ไม่ทราบว่ายังจะเป็นอย่างนั้นอยู่หรือเปล่า
แล้วถ้าได้ เอฟ-35 มา เราจะยังคงภารกิจ Lead-In ด้วยตัวเอง (ใช้ บ.ฝึก แบบไหน) หรือจะส่ง นบ. ไปฝึกที่อเมริกาเหมือนลูกค้า เอฟ-35 รายอื่นๆ
ขนาดเดียวกันก็เคยได้ยินน้องๆ นบ. บางท่านบอกว่า ทอ. พอกับกริเป้น 1 ฝูง (อาจมีเพิ่มอีก 6 แล้วจบกัน) เนื่องจากเหตุที่เลือก กริเป้น ทอ. ต้องการระบบ ซึ่ง ทอ. ไม่เคยมีมาก่อน แต่ถ้าเทียบสมรรถนะระหว่าง บ. มัลติโรล ในชั้นเดียวกัน กริเป้นก็ไม่ได้มีสมรรถนะโดดเด่นกว่าสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับ บข. หนัก ของเพื่อนบ้านรอบๆ เราอย่าง มาเลย์ฯ เวียดนาม อินโดฯ สิงค์โปร์ ทั้งพิสัยบิน นน. บรรทุก ระยะตรวจจับ ช่วงชก ควาามคล่องตัว ฯลฯ ที่เด่นกว่่าแน่ๆ ก็เรื่องโสหุ้ย (ได้ยินมาเหมือนกันว่าเอาเข้าจริงก็ไม่ได้ประหยัดมากอย่างที่คาดหวัง อะไหล่ชิ้นส่วนสำคัญๆ หลายตัวโดนค่าโลจิสติกส์บานเวลาต้องส่งซ่อม จริงเท็จอย่างไรไม่ขอยืนยัน) ส่วนระบบ Network Centric ที่ส่วนหนึ่งเราได้จากระบบของซ้าบ/กริเป้น ผมก็ไม่แน่ใจว่าเพื่อนบ้านเค้าจะมีระบบที่เหมือนหรือคล้ายๆ กับเราหรือเปล่า แหม่ น่าคิดนะครับ ลงถ้าเรามีได้แล้วทำไมเพื่อนบ้านจะมีบ้างไม่ได้ เผลอๆ อาจจะดีกว่าของเราด้วยซ้ำก็เป็นได้ เช่นของสิงค์โปร์ (อยากให้มีท่านผู้รู้มาเปรียบเทียบให้ฟังจัง)
ลองแชร์ความเห็นกันดูนะครับ อนาคตของ ทอ. ในอีก 10-15 ปี ข้างหน้า หน้าตาของ 1 ฝูงขับไล่/ฝึก 5 ฝูงขับไล่ 1-2 ฝูง โจมตี จะเป็นอย่างไรได้บ้าง
อืมม์.. ถ้าแทนฝูงโจมตี/ลาดตระเวณ ด้วย ยูเอวี คงต้องใช้ ยูเอวี ขนาดใหญ่ รัศมีทำการไกล ติดอาวุธจรวดได้ ควรจะเป็นรุ่นใดครับ
ที่แน่ๆ ราคาทั้งระบบคงแพงระยับแน่ๆ เลยครับ
ถ้า ทอ พอกับjas-39 แค่ฝูงเดียวจริงโดยให้อยู่ 701 แล้ว แบบนี้ตอนปลด 102 ไม่ต้องหวังกริพเพนเลยสิครับ -0- ทอ จะเลือกอะไรหว่า หวังว่าคงไม่ยุบฝูงนะ แบบนั้นผมคงเชียร์ F-18 E/F แต่ถ้า ทอ เลือก F/A-50 นี่ผมจะไม่เห็นด้วยอย่างแรง 555 หรือจะเปลี่ยนบรรยากาศ Su-35 สักฝูง
ผมว่าต่อให้มีเอฟสามสิบห้าก็ยังต้องมีทั้ง lead in กับฝึกซิมูเลเตอร์เอฟสามห้าอยู่ เหมือนที่บินเอฟสิบหกก็ต้องมีทั้ง lead in และฝึก f-16 สองที่นั่ง ส่วนเราจะซื้อซิมูเลเตอร์หรือไปฝึกที่เมกานั้นก็ไม่รู้เหมือนกัน
เรื่อง ucas ทดแทนบโจมตี ผมว่ายังยากอยู่ โดยเฉพาะถ้าเป็นการปฏิบัติการณ์ร่วมกับหน่วยอื่น เนื่องจากผมยังเชื่อว่าการ id ด้วยตาคนยังดีกว่ากล้องเยอะครับ นอกจากนี้ยูเอวีติดอาวุธปัจจุบันยังติดได้น้อยมาก แถมบินช้าอีกต่างหาก
คือถ้าทอ.ไม่เอากริปเป้นแล้วก็หมายถึงจะใช้บ.อื่นเชื่อมกับดาต้าลิงค์ของเราหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ก็ไม่รู้จะเอาระบบมาทำอะไร
ทีนี้คำถามต่อมาคือบ.แบบอื่นๆจะเชื่อมเข้าระบบได้หรือไม่ ถ้าเป็นบ.มาตรฐานนาโต้คงไม่มีปัญหานอกจากอเมริกาไม่ยอม (สรุป f16 mlu ของเราได้ link 16 มาหรือเปล่า)
ส่วนตัวผมอยากได้ f-16 บล็อคหลังๆ มีความอ่อนตัว ไม่แพงมากขีดความสามารถสูง ระบบอิเล็กโทรนิค เรดาร์ ต่างๆดีมาก ใช้โจมตีทางลึกก็ไม่ขัดเขินมีถังน้ำมันข้างลำตัวเพิ่ม มีระบบ flir กับเลเซอร์ชี้เป้าในตัว แถมนักบินช่างเครื่องหน่วยซ่อมบำรุงน่าจะคุ้นเคย
เรื่อง FA 50 ถ้าไม่จำเป็นผมว่าอย่าไปซื้อ ราคาเทียบกับความสมรรถนะไม่ค่อยจะคุ้มเท่าไหร่ เหมาะสำหรับถ้าไม่มีตังซื่อบ.รบดีๆ
ยูเอวีโจมตีความจริงประโยชน์ไม่ได้มีเยอะนะครับ
ประโยชน์ของมันคือใช้ลาดตระเวณเพราะอยู่กลางอากาศได้นาน ค่อนข้างเงียบ ข้อเสียคือบินช้ามาก ในสงครามต่อต้านก่อการร้ายของอเมริกาที่ซีไอเอมียูเอวีเยอะๆ บินไปมาแถวอฟริกากะตะวันออกกลาง คอยสอยเป้าหมายก่อการร้าย ในทางปฏิบัติปรากฏว่าใช้บ.นักบินนี่แหละ เยอะกว่า เพราะตอบสนองได้ทันการ สมมติข่าวกรองแจ้งมาว่าเป้าหมายโผล่มาแล้ว หรือพบเป้าหมายที่ตำบลนี้ๆ ยูเอวีไปไม่ทัน ก็ใช้บ. f 15 นี่แหละไปบอมบ์
ส่วนถ้าจะใช้ในภารกิจ cas อาจจะขนอาวุธได้ไม่พอ
เรื่อง UAV ผมอยากให้ระบุรุ่นมาหน่อยสิครับจะได้ยิงไม่ผิดตัว ปัจจุบัน UAV ขนาดใหญ่ราคาแพงเว่อร์และต้องงอนง้อคนขายขนาดหนัก ประเทศมีเงินหนาเขายังลงแค่ไม่กี่ระบบเพราะมันสู้ค่าใช้จ่ายไม่ไหว คนขายก็อยากกดราคาให้ต่ำกว่านี้นะ แต่ถ้าไม่มียอดซื้อจำนวนมหาศาลเข้ามามันก็ไม่ไหวน่อ ส่วนไอ้ลำเล็กๆนั่นประสิทธิภาพก็อย่างที่เห็น บินได้ไม่นานระยะทางสั้นบรรทุกอุปกรณ์ได้น้อย อย่าเพิ่งไปพูดถึงอาวุธเลย
อะไหล่ของกริเพนบางตัวแพงก็ไม่แปลก เพราะไม่ได้ขายดีชนิดผลิตออกมา 1000 ลำ แต่เรื่องค่าโลจิสติกส์มันเป็นการจัดการของเรามากกว่านะผมว่า ถ้ามีครบฝูง 18 ลำแล้วจัดการหลังบ้านตัวเองให้ดีก็ไม่น่าจะวุ่นวาย
F-16 ของสิงค์โปร์(บางฝูง)ใช้ดาต้าลิงค์ของอิสราเอลมาก่อนเรา10ปีได้มั้งครับ และสามารถติดต่อสื่อสารกับทหารราบแนวหน้าได้รวมทั้งระบบจรวดต่อสู้อากาศยาน SPYDER ได้ด้วย แต่พอซื้อF-15 ก็เปลี่ยนมาใช้ Link-16 แทนเพื่อจะได้สื่อสารได้กับเครื่องเอแวคและเรือฟริเกตทั้ง 6 ลำของเขาได้ ในอนาคตน่าจะเปลี่ยนมาเป็น Link-16 ทั้งหมดล่ะมั้งครับเพราะสั่งเพิ่มมาอีก 50 ระบบ
T-50 ดีไหมผมก็ไม่รู้เหมือนกัน คือถ้าอ่านจากสเป็กมันก็งั้นๆแหละต้องดูการใช้งานจริงด้วย เครื่องบินหลายลำเทพในกระดาษแต่หมูสนามจริงผมสิกลัวธงหัก แต่ด้วยสเป็กที่ติดอาวุธได้ก็เลยได้คำสั่งซื้อมาเรื่อยๆนะ ส่วนจะขายได้หรือเปล่าเป็นอีกเรื่องยกตัวอย่างเช่น
http://www.janes.com/article/55665/us-blocks-south-korean-kai-golden-eagle-export
The US has refused a proposed South Korean export of 12 Korean Aerospace Industries (KAI) Golden Eagle light fighter/trainer aircraft to Uzbekistan, the Korean Times revealed on 26 October.
The newspaper suggested the deal, worth USD400 million, was dependent on US approval due to the integration of Lockheed Martin technology on the platform during its co-development with KAI.
However, sources close to IHS Janes have indicated that the proposed export was of the KAI FA-50, the more capable armed variant of T-50 trainer, meaning that US restrictions on lethal military equipment exports to Uzbekistan were likely the cause of its refusal to approve the deal.
ดีลของอุเบราคาเฉลี่ยตกที่ลำล่ะ 34 ล้านเหรียญ (แต่ขายไม่ได้นะครับ) ว่าแต่ของเราเท่าไหร่หนอ..... ลืม แต่ในเมื่อเล่นซื้อที่ล่ะ 4 ลำผมว่าแพงกว่าซื้อ 12 ลำรวดแบบอุเบแน่ ก็ว่ากันไปครับ
คือมันมีข่าวว่า ทอ. จะจัดหาอีรี่อายเพิ่มอีก 2 ระบบ/ลำ รู้สึกว่าจะอ่านจาก TAF นะครับ ถ้าข่าวเป็นจริงแน่นอนว่าคงจะไม่ได้เอาไปไว้ที่ บน.7 แน่ น่าจะเป็นที่ บน.4 มากกว่า เข้าคู่กับ ไวเปอร์ MLU รูปแบบเหมือน อีรี่อาย+กริเป้น นะครับ แปลว่า ไวเปอร์ MLU คงต้องได้ Link16 มาด้วยแน่ๆ และคงเชื่อมคงคุยกับอีรี่อายได้ด้วย
ถ้าปลด ADF ซึ่งอายุมากที่สุดก่อน ส่วนตัวก็ยังไม่คิดว่า ทอ. จะเริ่มโครงการจัดหา เอฟ-35 เลย น่าจะจัดหา บ. รบมัลติโรล ยุค 4.5 คั่นก่อน เนื่องจากถ้าเริ่มโครงการ เอฟ-35 เมื่อไหร่ งบประมาณอันมีอยู่จำกัดของ ทอ. คงถูกใช้ไปกับโครงการนี้เกือบหมด ไม่มีเหลือพอให้ไปทำโครงการจัดหาอื่นๆ อีกหลายปีทีเดียว คร่าวๆ ถ้า เอฟ-35 เอ ด้วยอัตราการผลิตขั้นต่ำ ราคาลำละประมาณ 100 ล้านเหรียญ ฝูงน้อยๆ ของเรา 12 ลำ ต้องใช้เงิน 1.2 พันล้านเหรียญ ตก สี่หมื่นกว่าล้านบาท ไม่รวมงบซื้อสร้างอุปกรณ์สนับสนุนต่างๆ และระบบอาวุธ เกินห้าหมื่นล้านแน่ๆ ยังไม่ได้คิดถึงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนและอื่นๆ ที่จะบานปลายอีก ซื้อนะซื้อได้ แต่ ทอ. คงเหลือแต่ตัว ซื้อหาอะไรไม่ได้ไปอีกหลายปีเชียวครับ
ยังไม่นับงบซ่อมบำรุงนะครับ เชื่อว่ายังไงการดูแลเครื่องยุค 5 สเตลธ์ ต้องแพงกว่าเครื่อง นัน-สเตลธ์ แน่ๆ
อยากให้ไม่ต้องรีบกับการจัดหา เอฟ-35 เอ ครับ เอางบไปปรับปรุง บ.เก่า ที่ดูแล้วคุ้มค่า กับซื้อ บ.ใหม่ๆ เจน 4.0-4.5 มาแทนของที่ต้องปลดก่อน ส่วนเอฟ-35 เอาไว้สุดท้ายเลยครับ 15-20 ปีข้างหน้าโน่น
เฉพาะ ADF ฝูง 102 เห็นด้วยกับ เอฟ-16 รุ่นใหม่ๆ ครับ ไว้ เอฟ-35 มาเมื่อไหร่ค่อยมาลง 102 แล้วถอย เอฟ-16 ใหม่ไปไว้ 103 ครับ
ใจอยากให้มี บ. มัลติโรล สองเครื่องยนต์สักฝูง เอาไว้เป็น บ. โจมตีทางลึก รบนอกบ้าน แต่ดูไม่ออกจริงๆ ครับว่าจะเป็นไปได้ยังไง ถ้าเรายังยืนยันกับการตั้งรับในบ้าน และข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณ เราคงไม่มีทางเห็นทั้ง ซู-30/35 ทั้ง เอฟ-15 เอฟ-18 ติดธงไตรรงค์แน่ๆ
นึกว่าคิดอยู่คนด้วยเรื่อง ราคา เครื่องเกาหมี
ข่าวทอ.ผมนึกว่าซื้อล่าสุดคือ ELINT&COMINT หรือเปล่า ไม่ใช่ Erieye
สรุปคือเราจะมี Erieye สองลำ ELINT สามลำหรืออะไรประมาณนี้
1. F16ADF จะปลดใน 5 ปี แทนด้วย F16 C/D block 25 มือสอง 18 ลำ ฟรีจากสหรัฐ แต่เสียค่า MLU ในไทย ต่อเนื่องจากโครงการแรก 40 ล้าน US/ลำ spec เดียวกับ F16 A/B MLU แต่เปลี่ยน radar เป็น AESA
2. JAS39C/D ฝูง 701 ซื้อเพิ่มมือหนึ่ง ุ6 ลำ ใน 5 ปี
3. F5 E/F mod ปีที่ 5-10 แทนด้วย F16 C/D block 25 มือสอง 18 ลำ หรือ JAS39C/D มือสอง 18 ลำ
4. F16A/B ปีที่ 11-15 แทนด้วย F35A มือหนึ่ง หรือ เครื่อง Gen 5. อื่นๆ หรือถ้างบไม่พอจริงๆก็เป็น F18E/F plus หรือ ราฟาล
5. F16 A/B MLU ประจำการต่อเนื่อง
6. L39 36 ลำ และ Alpha jet 24 ลำ แทนด้วย TA50 2 ฝูง 36 ลำ
แล้วมีความเป็นไปได้ในการจัดหา F-18 E/F มือสองไหมครับ ในเมื่อ USA ต้องนำ F-35 B และ C มาประจำการ
อืมม์ จริงอย่างที่ท่าน Toeytei ว่าไว้ ซ้าบ 340 อีกสองลำ จะเอามาทำ ELINT&COMINT จริงๆ ด้วย ผมนึกออกแล้ว ขออภัยที่ข้อมูลผิดพลาดครับ ทอ. คงกะจะเอามาแทน พุทโธ ธรรมโม สังโฆ นะครับ (คราวนี้ไม่น่าจะผิดแล้ว) แต่จะเอาประจำไว้ที่ไหนไม่กล้าเดาแล้ว คือจะเอาไว้ 402 บ้านอาราว่า หรือรวมกับฝูง ซ้าบ-340 ที่ บน.7 ก็ได้ทั้งนั้นครับ
เรื่อง ยูเอวี เห็นด้วยที่อีกนานและเป็นไปได้น้อยหากจะเกิดใน ทอ. ซึ่งหากจะเอามาทำภารกิจแทน บ.โจมตีเบา ยูเอวี ก็ควรจะเป็นรุ่นใหญ่ พิสัยไกล บินนาน บรรทุกอาวุธได้มาก แต่ก็อย่างทีหลายท่านให้ความเห็นไว้เรื่องค่าตัวมหาศาลและความอ่อนตัวน้อยกว่า บ. บินด้วยนักบินจริง โอกาสจึงมีไม่มากสำหรับ ยูเอวี กับ ทอ.
แต่ถ้าเป็นกับ ทบ. อันนี้เห็นด้วยอย่างแรง ใช้ลาดตระเวณชายแดน พิสัยบินไม่เกิน 100 กม. ชี้เป้าให้ปืนใหญ่และจรวดหลายลำกล้อง พิสูจน์ทราบผลการยิง ฯลฯ อันนี้จะได้ประโยชน์มากกว่า ล่าสุดก็ Hermes 450 ที่ ทบ. จะได้รับในปีหน้า
สำหรับ เอฟ/เอ-18 อี/เอฟ มือสอง อันนี้ชอบเป็นการส่วนตัวเหมือนกันครับ แต่ไม่รู้ว่าจะไปหามือสองได้ที่ไหน เห็นว่า ทร. เมกัน วางแผนว่าจะใช้ เอฟ-35 ซี ควบคู่ไปกับ เอฟ/เอ-18 อี/เอฟ/ยี กว่าจะปลดคงอีกนาน และสภาพเครื่องหลังผ่านการใช้งานขึ้น-ลงบนเรือบรรทุก บ. มาเป็นร้อยๆ ครั้ง คงดูไม่จืดแน่ครับ
ประเทศไทยถ้าซื้อมือสองมานี่ดราม่ายาวๆ แน่ครับ -0- ไม่รู้จะหาตัวเลือกอะไรดี มีแต่เครื่องแพงๆทั้งนั้น
ไทยชอบซื้อแพงๆ น้อยๆ อยู่แล้วไม่รู้เป็นอะไร เหมือนซื้อแบล็คฮอว์กล็อตหลังๆ ทีละสองลำ สามลำ แพงสุดๆ
f-35 ถ้าเป็นรุ่น A ราคาต่อลำตกลงมาต่ำกว่าร้อยเหรียญซักพักแล้วครับ ซึ่งตัว A ราคาต่ำกว่า B กับ C พอสมควรครับ
ส่วนตัวผมเห็นว่า F-16 มีความสามารถโจมตีทางลึกอยู่ อิสราเอลยังเคยบินข้ามไปสอยประเทศอื่นมาแล้ว
เอฟสิบแปด ทร เมกาคงใช้ไปอีกยาวๆ เพราะครับ ยังสั่งผลิตเพิ่มอยู่เลยไม่นานมานี้ครับ
เพิ่งทราบชัดเจนแล้วครับว่า แอล-39 เรา ใกล้หมดอายุเต็มที ทอ. ตัดสินใจทดแทนด้วย ที-50 ทีเอช สำหรับฝึก นบ. เจ็ตทุกแบบ แปลว่าในฟลีต บ.ขฝ. ต่อไปจะเป็น ที-50 ทั้งหมด, จำนวน 24 เครื่องตามที่เกาหลีเคลมไว้จึงมีความเป็นไปได้ครับ แต่คงจะทยอยซื้อเหมือนเดิม ปัจจุบัน ทอ. ไม่ได้มีเงินมากมายอะไร จริงๆ ถ้าเป็นภารกิจ Lead-In ล้วนๆ เอารุ่น ที-50 ที่ไม่ต้องออฟชั่นติดเรดาร์ก็ได้ ราคาจะถูกลงอีก ซื้อหาได้สะดวกขึ้นนะครับ
ซ้าบ-340 ใหม่อีก 2 ตัว ก็จะรวมไว้ที่ บน.7 ให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุง
ไวเปอร์ เอ็มแอลยู จะไม่ได้ทำภารกิจในรูปแบบทีมเหมือนกริเป้น คือไม่มีอีรี่อายส์ครับ ถ้าจะมีก็ต้องเป็นอเมริกันหรืออิสราเอล อย่าง อี-2 ซี/ดี หรือ G550 แบบของสิงค์โปร์ จึงจะคุยกันรู้เรื่อง ซึ่ง ทอ. ไม่น่าจะเหลืองบพอ หรือเมกันไม่อยากขายให้ แค่ทำ เอ็มแอลยู ก็ใช้เงินน้องๆ ซื้อ บข. ใหม่เป็นฝูงแล้วละครับ แต่ก็น่าดีใจนะครับที่ได้งบทำครบทั้งฝูง 403 รอดูครับว่าจะได้ระบบอาวุธอะไรใหม่ๆ มาติดกับ ไวเปอร์ เอ็มแอลยู บ้าง
ปล. เห็นน้องๆ ที่ไปชม เจ-10 กับ เจ-11 ที่โคราชบอกว่า มหัศจรรย์มากที่พบว่า งานประกอบเครื่องบินจีนฝีมือดีขึ้นมากๆๆ ใกล้เคียงหรือเหมือนกับเครื่องฝรั่งตะวันตก รัสเซียยังหยาบกว่าเยอะ แถมไม่มีงอแงให้ต้องซ่อมระหว่างที่ฝึกรบกับกริเป้นหรือทำแอร์โชว์ มีแต่บำรุงรักษาตามปรกติ ผิดวิสัยเครื่องจีนสมัยก่อน เออ.. ฟังอย่างนี้แล้วจะเสียวหรือจะปลื้มกันดีครับ หากในอนาคต ทอ. จะไปเลือก เจ-10 สักฝูง 2 ฝูง มาใช้งานบ้าง
สำหรับผม ขอดูกันยาวๆ อีกสักหน่อยน่าจะดีกว่านะครับ
อนาคตของฝูง 102, 103, 211, 231 411 จะเป็นอย่างไร จะมี บ. อะไรใหม่ๆ ไปทดแทน ?
ฝูง 211, 231, 411 บ.ขฝ / บจ. น่าจะไปจบลงที่ T-50/TA-50
แต่ฝูง 102, 103 บข. ล้วนๆ ละครับ นึกไม่ออกจริงๆ ว่าจะเป็น บ. รุ่นไหนมาแทน เอาแบบที่เป็นไปได้ ไม่ใช่ชอบส่วนตัว ก็เห็นแต่ เอฟ-16 ซี/ดี มือสองเอามาม๊อด หรือเอฟ-16 ซี/ดี ใหม่ (เครื่องจีนละ ?)
เอฟ-35 คงยังอีกนานและไกลครับ สำหรับผมนะครับ
สาวสวยเกาหลี T-50TH จะมาแทนสาวใหญ่ผิวขาวชาวยุโรปตะวันออก L-39ZA/ART จึงคาดว่าสาวยุโรปตะวันออกคงไปรวมตัวกันที่เชียงใหม่ล่ะครับ ส่วนสาวเยอรมันหุ่นเป๊ะ ALPHA JET แห่งบ้าน 231หมู่ 23 เธอก็ฟิตร่างกายอยู่เนืองๆ อาชีพเธอคือสนับสนุนทางอากาศอย่างใกล้ชิด ว่างๆก็ทำฝนเทียม แต่ว่าเธอก็คงต้องปลดในอีกสิบปีข้างหน้าแน่ ตัวเลือกที่มาแทนอาจจะเป็นสาวเกาหลีครอบครัวเดียวกันของ T-50 TH อย่าง A-50 ก็ได้( คล้ายๆว่าจะเป็นแฝดร่วมท้องกัน แต่เก่งกันคนละแบบ) แต่ว่าจะถูกใจหนุ่มภาคพื้นมั้ยเพราะนางนี้ทำเร็วเสร็จเร็วไปไว แต่นางเอาตัวรอดเก่งเพราะคล่องแคล่วรวดเร็ว แต่ถ้า หนุ่ม ทอ. เบี้ยนิดหอยน้อย สงสัยคงยืดเวลาสู่ขอเพราะภาระกับหมู่บ้านอื่นก็กำลังรุมเร้าเพราะสาวหมู่บ้านอื่นก็ใกล้จะปลดสาวๆเหมือนกัน นอกจากว่ามีสาวหม้ายมาให้ดูตัว แต่จะมีมั้ย มีแล้วถ้าเอามาจะถูกนินทามั้ย ทีนี้มาที่อีกหมู่บ้านหนึ่งที่ หนุ่ม ทอ. ต้องคิดก็คือ บ้านเลขที่ 102 กับบ้านเลขที่ 103 หมู่1ชาวโคราช ที่สาวหม้ายที่สู่ขอมาอยู่บ้าน 102 คือ F-16ADF กับน้องสาวท้องเดียวที่ขอมาอยู่บ้าน 103คือ F-16A/B (คนน้องมาก่อนสาวหม้ายผู้พี่) แต่สาวบ้าน 102คงจะต้องอำลาในสิบปีข้างหน้านี้ น่าจะใกล้ๆกับสาวเยอรมันบ้าน 231 ทีนี้ น้องสาวบ้าน 103 ก็น่าจะต้องไปตามในอีก 15 ปีข้างหน้าแน่ๆ ระยะเวลาห่างกันไม่มากซะด้วยจึงมองว่า คงจะชะลอคนมาอยู่บ้าน 102 ไปก่อนแล้วเตรียมสินสอดไปสู่ขอสาวใหม่มาอยู่บ้าน 103 ในอนาคต กับลองไปด้อมๆมองๆสาวหม้ายที่เธอนอนว่างๆชาวสวีเดนพี่สาวร่อมท้องของสาว แจ๊ส JAS-39C/D ของบ้านสาวใต้ 701อย่าง JAS-39A/B มารีแพร์ สอนภาษาสากล แล้วขอมาอยู่บ้าน 102 ไปพลางๆก่อน(แต่เธอยังอยู่ดีอยู่มั้ยหรือว่าไม่อยู่กันแล้ว)แล้วค่อยหาแพลนจัดหาสาวซิงมาอยู่บ้าน 103 ต่อไป แต่อย่างว่าล่ะ หาสาวหม้ายมาอยู่ด้วยทีไรมีคนนินทาทุกที ฮ่าๆๆๆ ส่วนสาวท้องเดียวกันกับสาวหมู่บ้าน หมู่1 อีกครอบครัวคือ F-16A/B บ้านเลขที่ 403 หมู่ 4 ชาวตาคลี อันนี้เธอหายห่วงเพราะเธอกำลังรีแพร์เพิ่มกำลังวังชา แถมอบรมการใช้เครื่องครัวแบบใหม่ ถูกใจหนุ่ม ทอ. อีกหลายปี ส่วนสาวสวยอมตะ F-5T แห่งบ้านเลขที่ 211 หมู่ 21ได้ข่าวแว่วๆว่า เธอจะฉีดเสต็มเซลเพิ่ม ฟิตร่างกายใหม่ หัดเรียนรู้เครื่องมือใหม่ๆอยู่ อาจจะยังอยู่ไปอีกซักระยะหนึ่งเพราะหนุ่มๆบอกว่าลีลาเธอยังดีอยู่นา แต่ไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่า ขำๆนะครับ ความเห็นส่วนตัว อาจจะไม่ตรงกับความจริง อิ อิ
ผมขอเสริมแนวคิดน่ะครับ ไทยมีเครื่องรอปลดหลายฝูงต่อเนื่องกัน คือ F16ADF F16A/B L39 Alpha jet และในระยะ 20 ปีต่อจากนี้เครื่องบินยุค 4.5 + น่าจะยังคงมีบทบาทสำคัญ ส่วนเครื่องยุคที่ 5 น่าจะยังต้องมีการพัฒนาให้สมบูรณ์น่าจะสัก 10 ปี ต่อจากนี้ และเรามี TAI ที่มีความสามารถซ่อม ประกอบ ปรับปรุง F16 ได้โดยโครงการใกล้จะปิดแล้ว ดังนั้นนี่ถือเป็นโอกาสต่อยอดงานให้ TAI ได้มีงานอย่างต่อเนื่อง โดยการ
โครงการที่ 1. ทดแทน F5E/F F16ADF F16A/B โดย ทอ. ซื้อเครื่อง F16 C/D มือสองมาปรับปรุง ติด radar AESA 3 ฝูง 48 เครื่อง เฉลี่ยปรับปรุงปีล่ะ 6 เครื่อง ก็นาน 9 ปี หรือ ซื้อ JAS39A/B มาปรับปรุงในประเทศ เป็น C/D plus 3 ฝูง น่าจะใช้เงิน ลำล่ะ 30-40 ล้าน US ประจำการ 20 ปี หรือ ถ้าไม่รังเกียจก็ผลิต J10B ติด radar AESA ไปเลย แล้วค่อยต่อยอดด้วยเครื่องยุคที่ 5 ซึ่งใช้เงินน้อยกว่าซื้อเครื่องยุค 4.5 ใหม่ และน่าจะเพียงพอต่อภัยคุกคามในระยะ 20 ปีต่อจากนี้
โครงการที่ 2 ทดแทน L39 Alpha jet อาจจะสัก 3 ฝูง ด้วย TA50 มาสร้างในไทย ปีล่ะ 3 ลำ นาน 18 ปี ตรงนี้เน้นที่จะทำให้ TAI มีงานได้ระยะยาวและมีความมั่นคง ตีราคาใช้ประมาณปีล่ะ 80 ล้าน US
โครงการที่ 3 ต่อยอดจาก ทอ 6 นำเครื่องที่วิจัยมาผลิตใช้งาน เป็นเครื่องฝึก 24 เครื่อง และปรับปรุงเป็น UAV ลาดตระเวนติดอาวุธ 2 ฝูง ตรงนี้เพื่อให้เกิดการวิจัยที่ต่อเนื่อง ใช้งานได้จริง โดยสนใจในเทคโนโลยี UAV ซึ่งตรงนี้น่าจะต้องรับการถ่ายทอดจากมิตรประเทศ เช่น อิสราเอล จีน เป็นต้น และ แน่นอน TAI รับงานไปสร้างต่อยอด ซึ่งโครงการนี้ถ้าทำดีๆอาจขายต่างประเทศได้
ในอนาคตเครื่องบินรบราคาก็แพงพอๆกันหมด ดังนั้นราคาคงไม่ใช่ปัจจัยในการเลือกสักเท่าไร และผมก็คิดว่า ทอ มีงบพอจะซื้อครับ ดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา F-16 ตอนนั้นก็ราคาแพงมากแต่เราก็ซื้อมาได้ ในเมื่อทุกค่ายราคาแพงกันหมด มีลุ้นละครับว่าจะได้อะไรมาแทน จะเป็น กริพเพน E/F มั้ย หรือ ยังมั่นใจกับประสิทธิภาพ บข US แต่ ทอ คงไม่ย้ายค่ายไป รัสเซียแน่นอน ที่ลุ้นๆกันได้ก็คง กริพเพน E/F F-16V F-18 E/F(อาจจะ silent) ลุ้นยากมาหน่อยคง ไทฟูน ราฟาล F-15 ยากสุดคงค่ายพี่หมี ส่วน Gen 5 ทอ คงยังไม่มองมั้ง โลกตอนนี้ Gen4.5 คงครองฟ้าไปอีกนาน นี่คือความเห็นผมนะครับ 555
เอาแบบจินตนาการเลยนะ ฝูงบิน 102 อยากให้ซู 35 มาแทนบ้างจัง 555+ (ฝันค้าง)
สวัสดีครับท่านเด็กทะเล สบายดีนะครับ
อ่านบทความสาวน้อยสาวหม้ายของท่านแล้วก็ให้ครึกครื้นดีครับ อยากให้บรรยากาศดีๆ แบบนี้กลับมาเหมือนเมื่อก่อนครับ
สวัสดีครับพี่เสือใหญ่ สบายดีครับ เข้ามาดูบอร์ดอยู่ตลอดครับแต่ไม่ค่อยได้แสดงความเห็นครับ เพราะงานค่อนข้างเยอะครับ มาทั้งทีเลยเอาสาวน้อยสาวหม้ายมาเอาใจพี่เสือใหญ่ซะหน่อย อิ อิ
ปัญหาร่วมสำคัญของการพัฒนากำลังทางอากาศของกองทัพอากาศในแทบจะทุกประเทศทั่วโลกคือการที่กำลังทางอากาศเป็นกำลังรบที่ใช้งบประมาณในการหายุทโธปกรณ์หลักที่สูงมาก
โดยหลักคือ อากาศยานรบ และการฝึกกำลังพลทั้งนักบินและช่างอากาศยาน ที่ใช้งบประมาณและระยะเวลาการจัดหาเตรียมและความพร้อมรบสูงเมื่อเทียบกับกองกำลังตามแบบประเภทอื่น
ที่กล่าวเช่นนี้ก็เนื่องจากว่าสำหรับประเทศไทยแล้วในช่วงอนาคตอันใกล้คือราว ๕-๑๐ปีข้างนั้นเราดูจะไม่มีภัยคุกคามที่เป็นกำลังตามแบบชัดเจนจนมีน้ำหนักความจำเป็นมากพอที่จะเป็นเหตุผลในการจัดหางบประมาณในการจัดหาอากาศยานรบสมรรถนะสูง
ประกอบกับเหตุผลด้านสถานการณ์อื่นๆในอนาคตอันใกล้ ส่วนตัวมองว่ามีความเป็นไปได้มากระดับหนึ่งที่กองทัพอากาศอาจจะต้องเข้าสู่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างและอัตราจัดกำลังใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและสถานการณ์ในอนาคต
จะเห็นได้ว่าการจัดหาอากาศยานของกองทัพอากาศในส่วนที่เป็นอากาศยานรบหรือสนับสนุนการรบในช่วงหลังปี พ.ศ.๒๕๔๓ มานี้จะเป็นการจัดหาเป็นชุดจำนวนเครื่องไม่มากนักเสียเป็นส่วนใหญ่
เช่นในกรณีโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Gripen C/D ที่ถูกแบ่งเป็นสองระยะจำนวน ๖เครื่องในระยะเวลาหลายปี, โครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง EC725 ซึ่งจัดซื้อมาระยะละ ๒-๔เครื่อง และโครงการจัดหาเครื่องบินฝึกขับไล่ KAI T-50 ระยะแรก ๔เครื่อง
เป็นความแตกต่างจากโครงการจัดหาของกองทัพอากาศสมัยก่อนหน้านี้ที่จะเป็นการจัดหาอากาศยานแบบเต็มฝูง ๑๒เครื่องขึ้นไปในหนึ่งระยะ ทำให้การจัดหาอากาศยานเพื่อทดแทนหรือจัดตั้งฝูงบินใหม่นั้นย่อยจะใช้เวลานานมากเป็นหลายปีกว่าจำนวนจะครบอัตรา
ตรงนี้ส่วนตัวจึงมองว่าในอนาคตอันใกล้เฉพาะในส่วนอากาศยานรบที่มีอายุการใช้งานมานานจำเป็นต้องปลดประจำการไปนั้น หลายแบบหรือหลายฝูงบินอาจจะไม่มีการทดแทนด้วยอากาศยานใหม่
ในความคิดส่วนตัวขอยกตัวอย่างเช่น
ส่วนของ กองบินเลขสองตัว นั้นในอนาคตอาจจะถูกปรับเปลี่ยนไปเป็นฐานบินปฏิบัติการส่วนหน้าที่ไม่มีฝูงบินประจำการลงทั้งหมดเช่นเดียวกับ กองบิน๕๖ เพราะอากาศยานส่วนใหญ่ที่ประจำการในกองบินเหล่านี้ล้วนเป็นอากาศยานเก่าที่มีอายุการใช้งานมานาน อาทิ
F-5E/F ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ หลังการปรับปรุงและยืดอายุจนหมดอายุการใช้งานในอีกไม่เกิน๑๐-๑๕ปีข้างหน้า ก็คงจะยุบฝูงและเปลี่ยนเป็นฐานบินปฏิบัติการส่วนหน้า
L-39ZA/ART ที่จะย้ายเครื่องจาก ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ไปรวมที่ ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ ทั้งหมด อาจจะมีอายุการใช้งานเหลือไม่ไม่เนื่องจากระบบหลักเช่นเครื่องยนต์ AI-25 มีอายุการใช้งานไม่ยาวนานนัก ก็คงจะยุบฝูงและเปลี่ยนเป็นฐานบินปฏิบัติการส่วนหน้า
และ Alpha Jet ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ เมื่อเครื่องหมดอายุการปลดประจำการยุบฝูงและเปลี่ยนเป็นฐานบินปฏิบัติการส่วนหน้าเช่นกัน
เช่นเดียวกับ BT-67 และ Nomad ฝูงบิน๔๖๑ กองบิน๔๖ ที่อากาศยานแต่ละแบบก็มีอายุการใช้งานมานานมากและกำลังจะปลดประจำการลงทั้งหมดในอนาคตอันใกล้ ก็คงต้องยุบฝูงและเปลี่ยนเป็นฐานบินปฏิบัติการส่วนหน้าไป
ด้าน กองบินเลขตัวเดียว นั้นก็จะมีการปรับอัตราจัดให้เป็นฐานบินปฏิบัติการหลักของฝูงบินขับไล่/โจมตี อาทิ
กองบิน๑ หลังจากการปลดประจำการ F-16A/B ADF ในฝูงบิน๑๐๒ เนื่องจากหมดอายุการใช้งานแล้ว ก็คงจะทำการยุบฝูงบิน๑๐๒ โดยไม่มีโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบใหม่เข้าประจำการทดแทน
โดยจะเหลือเพียง F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน๑๐๓ เท่านั้นที่จะยังคงประจำการต่อไปเนื่องนานหลายสิบปีเนื่องจากได้รับการปรับปรุง Falcon UP/STAR แล้ว
ทั้งนี้อาจจะมีการจัดตั้งฝูงบิน๑๐๑ ขึ้นมาใหม่โดยจัดหาเครื่องบินฝึกขับไล่ เช่น KAI T-50TH เข้าประจำการถ้ามีงบประมาณเพียงพอ
กองบิน๔ จะมี F-16A/B EMLU ฝูงบิน๔๐๓ และ KAI T-50TH ฝูงบิน๔๐๑ เป็นกำลังรบหลักเมื่อโครงการปรับปรุงและจัดหาครบสมบูรณ์
โดยมี DA-42 MPP ฝูงบิน๔๐๒ และ Aerostar UAV ฝูงบิน๔๐๔ เป็นอากาศยานสนับสนุน
กองบิน๗ จะเป็นเช่นปัจจุบันคือมี Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ และ SAAB 340B ERIEYE AEW และ SAAB 340B ELINT/COMINT ฝูงบิน๗๐๒ เป็นกำลังหลัก
และกองบิน๕ AU-23A ฝูงบิน๕๐๑ กองทัพอากาศอาจจะเลือกที่ยืดอายุการใช้งานต่อไปอีกสักระยะ จนกว่าจะมีแนวคิดในการจัดหาอากาศแบบใหม่สำหรับภารกิจตรวจการณ์ถ่ายภาพทางอากาศ หรืออย่างอื่นมาประจำการแทน
สรุปในภาพรวมนั้นในช่วง ๑๐-๑๕ปีข้างหน้า กองทัพอากาศคงจะมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอัตราจัดกำลังรบอีกมา ซึ่งอากาศยานเก่าหลายแบบและหลายฝูงบินอาจจะปลดและยุบไปโดยไม่มอากาศยานใหม่มาทดแทน
และการจัดหาอากาศยานแบบใหม่นั้น ก็จะเป็นการจัดหาเพียงระยะๆในจำนวนไม่มากทยอยไปตามแต่ละปีงบประมาณ เฉพาะในส่วนที่มีความจำเป็นจริงๆเท่านั้นครับ
เห็นด้วยว่าคงไม่สามารถทดแทนของเก่าในจำนวนเท่ากัน ซึ่งก็เป็นทุกเหล่าทัพ จะว่าไปก็เป็นทั้งโลก แม้แต่อเมริกายังไม่มีปัญญาเพราะเทคโนโลยีใหม่ๆแพงขึ้นทุกทีๆ
ว่าแต่ตามที่ทั่น AAG_th1 ร่ายเรียงมา เหมือนกับกองบินรบหลักเป็นเลขตัวเดียวทั้งหมด ผมสงสัยว่าเป็นหลักการการตั้งชื่อกองบิน หรือแค่บังเอิญ เพราะที่ผ่านมาเราก็มีการยุบ/ตั้งใหม่ หลายกองบินไม่ทราบทอ.มีหลักการการกำหนดชื่อยังไง
แล้วในอดีตหลังๆมานี่เราเคยมีการยุบกองบินเป็นแค่ฐานปฏิบัติการส่วนหน้าแบบนี้หรือไม่อย่างไร
เห็นด้วยกับคุณเอกทุกประการครับ ในเรื่องการปรับโครงสร้างกำลังรบของ ท.อ. (กองบินและจำนวนฝูงบินรบขั้นต่ำ) เพียงแต่เรื่องแบบและจำนวนของ บ. รบ จะเป็นอย่างไรและจำนวนเท่าไหร่เป็นเรื่องที่ต้องคอยดูกันต่อไปครับ
ยังไม่ได้พูดถึง บ. ลำเลียงทางยุทธวิธีเลยนะครับ ซี-130 เอช จำนวน 12 ลำ ลำที่แก่ที่สุดอายุ 35 ปี เราจะเอาอะไรมาทดแทนเมื่อถึงเวลาต้องปลดท่านเหล่านี้ ซี-130 เจ ใหม่ ลำละสองสามพันล้านบาท เอ-400 เอ็ม ลำละห้าพันกว่าล้าน ฯลฯ ไม่แคล้วต้องทยอยซื้อปีละลำสองลำแน่ครับ
ส่วนกองบินที่แปรสภาพไปเป็นสนามบินส่วนหน้าล่าสุด เท่าที่จำได้ก็น่าจะเป็นกองบิน 56 ครับ บ. ที่ประจำการแบบสุดท้ายของกองบินนี้คือ ที-33 ครับ
ผมขอวิเคราะห์ ตามลำดับการปลดประจำการเครื่องของฝูงบินต่างๆ ผสมกับการนั่งทางใน จับยามดูอนาคตตามวิชา “หมอหยอย” เพื่อมอง สภาพการเมืองและเศรษฐกิจเป็นการประกอบ
แฟคท์
ฟอร์แคสท
ดังนั้น ใน ปี 2564 เราจะเห็นบั้นปลาย เอดีเอฟ จะถูกยุบไปรวมกับ โอซียู พร้อมการจัดหา เครื่องบินรบฝูงใหม่ แม้จะเป็นช่วงท้ายของสภาพ วุ่นวายและถังแตก แต่เมื่อบรรยากาศแจ่มใส สาธุชนทั้งหลายพร้อมเข้าช่วยเหลือ อดีตมหามิตร และ บรรดามิตร ล้วนยื่นมือเข้ามา เพราะต่างมองเห็นอนาคต ทอ. อาจได้รับข้อเสนอแบบกึ่งช่วยเหลือจากหลายชาติ ไม่แน่ อาจได้เห็น ราฟาล ยูโรไฟเตอร์(โดยเยอรมัน) เสนอตัวพลีกายแบบ สามล้อ ตกใจก็เป็นได้ มิตรเก่า ให้เลือก อีเกิ้ลอี แต่เดชและบารมี คงยังไม่นำไปถึง เอฟ-35 เนื่องจากคิวยังอีกยาวเยอะ ................. แอว -39 น่าจะถึงช่วงท้าย ซึ่งมี 2 ทางเลือกคือ
ทั้งหมดนี้คือ การวิเคราะห์ทางวิชาการจาก ดร. อนุสรณ์ ทำใจ กับทีม หมอหยอย มอยเม้าท์ ก็ว่ากันไป...........
เห็นทั่นกบโพสต์ นึกว่าจะบอกแอวสามเก้าติดเชื้อในกระแสเลือดยกฝูง ฮา..
สงสัยจังเลยครับ เครื่องบิน บินมาแล้ว200ชม.บิน แล้วเอามาขายนี่ยังถือว่าเป็นเครื่องบินมือ1มั้ย
ขอฝันตามท่านกบ อยากได้อีเกิ้ง 15E/F จุงเบย (F35 ผมว่ายังไม่รีบ)
ถ้าได้มาจริง ก็ต้องพ่วงแทงค์เกอร์อีกสัก2 อิอิ
ขำคุณกบครับ
เห็นด้วยกับคุณกบในแง่ของความยากลำบากในการจัดหา บ. ใหม่เข้าทดแทนของเดิมที่จะทยอยหมดอายุการใช้งานครับ ยิ่งถ้าเอาฟลีต บ. ลำเลียงเข้ามาต่อแถวต้องซื้อใหม่ด้วย ไล่เรียงกันไปจาก พ.ศ. นี้ไปอีก 20 ปี (2558-2578) เราจะเอางบที่ไหนมาจัดทำโครงการได้ครบ ถ้าไม่ปรับโครงสร้างกำลังรบให้เล็กระชับลง หรือจู่ๆ ก็ได้งบเพิ่มมหาศาลจากเหตุอะไรก็ไม่รู้
เชื่อว่า ท.อ. ก็คงมีการจัดเตรียมเรื่องนี้อยู่แล้ว คำถามคือ จากนี้ไป จำนวนฝูง บ. ขับไล่/โจมตี ขั้นต่ำสุดจะลดลงเหลือกี่ฝูง ฝูง บจ. อย่างอัลฟ่าเจ็ต จะยังคงมีอยู่ไหมและกี่ฝูง รวมถึงฝูงบิน บ. ขับไล่/ฝึก ที่เอามาทำภารกิจโจมตีเบาได้ด้วย คือถ้าเรารู้จำนวนฝูงขั้นต่ำในอนาคต ก็จะรู้ว่า ท.อ. ต้องมีงบเท่าไหร่ถึงจะดำรงศักยภาพในการป้องกันประเทศตามที่ ท.อ. กำหนดไว้ได้
สำหรับผม ในอนาคต หากว่าเราลดเหลือฝูง บ.ขับไล่ มัลติโรล แค่ 3 ฝูง บวกกับ บ. ขับไล่/ฝึก ที่ทำภารกิจโจมตีเบาได้ด้วยอีก 3 ฝูง โดยประจำอยู่ที่กองบิน 1 กองบิน 4 กองบิน 7 กองบินละ 1 คู่ คือ 1 ฝูงขับไล่ + 1 ฝูงขับไล่/ฝึก เช่น MLU+T-50TH (จริงๆ T-50 TH ที่เราซื้อ 4 ลำแรกน่าจะเป็นรุ่น TA-50 TH นะครับ เพราะหิ้วเรดาร์มาด้วย) จะเพียงพอไหม ? ส่วนกองบินปัจจุบันที่ยังมี บ. รบประจำการ อย่าง กองบิน 21, 23, 41 ก็จะแปรสภาพไปเป็นสนามบินส่วนหน้า ไม่มี บ.รบประจำการ อย่างที่คุณเอกให้ความเห็นไว้ เพียงแต่จะมี บ. จากฝูงบินต่างๆ มาประจำเป็นครั้งๆ ตามวงรอบการฝึกบินหรือทำภารกิจบางอย่างเท่านั้นหรือไม่ (ยังไม่ได้มองถึงกองบิน 5, 46 เลยนะครับ)
ส่วนโรงเรียนการบินก็คงจะยึดอยู่กับชิคเก้น กับ พีซี-9 ต่อไป เพียงแต่อาจจะมีการ Mod อุปกรณ์ช่วยบิน หรือจัดหารุ่นที่ใหม่กว่า ทันสมัยกว่า เข้ามาทดแทนตามงบที่ได้รับ ก็ว่ากันไปครับ คงไม่กระทบเรื่องงบมากนัก
แต่กับฝูงลำเลียง ผมว่า ท.อ. น่าจะปวดหัวมากที่สุดครับ เนื่องจากเป็นส่วนที่ต้องใช้งบประมาณสูง ผมว่าๆ พอๆ กับซื้อ บ.ขับไล่เลยครับ
สุดท้ายกับอัลบาทรอส น่าจะลากไปได้สุดๆ คงไม่ถึง 10 ปีหรอกครับ ส่วนตัวคิดว่าไม่เกิน 5 ปี ก็คงต้องปลดหมดแล้ว
ถ้ามีการทำ time frame เป็นตารางระบุให้เห็นชัดๆ ว่า แต่ละฝูงจะปลดเมื่อไหร่ จะมีการจัดหา บ. เข้ามาทดแทนหรือยุบฝูงไป ก็จะพอเห็นได้ว่า ท.อ. จะต้องบริหารจัดการโครงสร้างกำลังรบของตนในอนาคตให้สัมพันธ์กับงบประมาณที่จะได้รับแต่ละปีจากนี้ไปได้อย่างไรต่อไปครับ
ตามการคาดคะเนของผมก็คล้ายๆพี่เสือใหญ่ครับ คือ คงเครื่องบินขับไล่/โจมตีไว้ที่ 3 ฝูง สามกองบิน คือกองบิน1 กองบิน4 และกองบิน7 อย่างละฝูง แต่อาจจะมีฝูงโจมตีสนับสนุนภาคพื้นอย่างใกล้ชิดหลักๆไว้ซัก 2 ฝูงที่ใดซักแห่ง อาจจะไว้ที่อุดรกับเชียงใหม่ ที่เดิมก็ได้ ที่เหลือก็เครื่องฝึก/โจมตีไว้หนึ่งฝูง ก็จะได้ขับไล่ 3 ฝูง โจมตี 2 ฝูง รวมก็จะเป็น 5 ฝูง กับเครื่องฝึกอีก 1 ฝูง
ตามที่หลายท่านคาดว่า ทอ. น่าจะเงินไม่พอด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ผมจึงขอเสนอดังนี้ครับ
1. ฝูกบินรบหลัก ลดจาก 5 เหลือ 3 ฝูง แต่เพิ่มจำนวนจาก 18 เป็น 24 ลำต่อฝูง ทำให้ลำจำนวนเครื่องบินได้ 18 เครื่อง โดยคิดเมื่อปลดประจำการ F5 แล้วจะไม่ทดแทน จัดกำลังดังนี้
* ฝูงตาคลี เดิมมี F16MLU 18 ลำ ก็โยก F16A/B ที่สภาพดีที่สุดจากโคราชมา 6 ลำ ทำ MLU คาดว่าใช้เงิน 200 ล้าน US
* ฝูงสุราษฯ เดิมมี JAS39C/D 12 ลำ ก็จัดหาเครื่องมือสอง จะเป็น JAS39A/B ปรับปรุงเป็น C/D หรือ JAS39C/D มือสอง มาอีก 12 ลำ กลายเป็น 24 ลำ คาดว่าใช้งบ 450 ล้าน US
* ฝูงโคราช ปลด F16ADF แล้วงบไม่มีก็ขอเป็น F16C/D มือสอง (อาจเป็นแบบ อินโดนีเซีย ที่ได้ F16C/D block 25 แบบให้เปล่ามาปรับปรุง) มาทำ MLU สเปกเดียวกับฝูงตาคลี แต่เปลี่ยนเรดาร์เป็น AESA จำนวน 24 เครื่อง เดาราคาสัก 40 ล้าน US/ลำ รวมประมาณ 1,000 ล้าน US
2. ฝูงบินฝึก / โจมตี
* ฝูงตาคลี ซื้อ TA50 ใหม่ 24 เครื่อง ตีราคาสัก 1,000 ล้าน US
* ฝูงโคราช ไม่มีการจัดหา ให้ไปฝึกนักบินรวมกันที่ตาคลี ภารกิจโจมตียกให้ F16A/B ที่เหลือ 18 เครื่อง และ Alpha jet แทน (ภาระกิจฝึกนักบิน F16A/B ให้ใช้เครื่อง AlPhajet)
* ฝูงสุราษฯ ไม่มี การฝึกนักบินให้ไปใช้ที่ ตาคลี
* ฝูง L39 เชียงใหม่ ปลดแล้วไม่มีทดแทน
รวมใช้เงินทั้งสิ้น 2,650 ล้าน US = 92,750 ล้านบาท คาดว่าใช้เวลา 10 ปี เท่ากับปีล่ะ 9,275 ล้านบาท ซึ่ง ทอ. น่าจะพอจัดสรรงบประมาณได้ และภาพรวม เราจะมี เครื่องบินรบหลัก F16MLU+JAS39+F16C/D MLU =72 ลำ ส่วนเครื่องบินรบรอง / ฝึกบิน / โจมตี ไม่คิดเนื่องจากจำนวนอาจเปลี่ยนแปลงลดลงอีก เช่น เมื่อปลด F16A/B ก็ซื้อ TA50 มาแทน แต่เมื่อปลด Alphajet จะไม่มีทดแทน
โดยเฉลี่ยแต่ละปี ท.อ. จะได้งบประมาณประมาณห้าหมื่นล้านบาท (+/-) แบ่งการใช้งานเป็นเงินเดือนและสวัสดิการ ใช้หนี้ผูกพัน สาธารณูปโภค อาคารสถานที่ งบบริหาร งบซ่อมบำรุง งบค่าเชื้อเพลิง ฯลฯ สุดท้ายจึงจะเป็นงบซื้อเครื่องบินและอาวุธ ผมไม่แน่ใจว่าจะมีเงินเหลือปีละเก้าพันกว่าล้านบาทอย่างความเห็นของคุณ rayong หรือเปล่า (ผมไม่ทราบจริงๆ นะครับ ใจนะอยากให้มีงบเหลือซื้อ บ. เยอะๆ อยู่แล้ว) และอย่างที่บอกนะครับ ต้องไม่ลืมฝูง. บ. ซี-130 เอช ด้วย รวมๆ กันมันจะเกินเก้าพันล้านนะซิครับ ถ้าเป็นโครงการ 10 ปี ผมว่าเข็นยาก แต่ถ้ายืดได้เป็น 15-20 ปี ทยอยไล่ทำกันไป ไม่ต้องเริ่มโครงการพร้อมๆ กัน ก็พอจะมีความเป็นไปได้ครับ
เห็นด้วยกับทางเลือกไวเปอร์กับกริเป้นมือสองม๊อดครับ แต่ถ้า 103 ยังทำ MLU คุ้ม เราก็ไม่ต้องไม่คิดถึงทางเลือกของมือสองม๊อดนะครับ แต่จำนวนคิดว่าแต่ละฝูงควรบรรจุไว้ที่ 18 ลำ น่าจะเพียงพอครับ
MLU 2 ฝูง รวม 36 ลำ และ กริเป้น 1 ฝูง 12+6 ลำ รวม 54 ลำ สนับสนุนโดย บข.ฝ / โจมตีเบา TA-50 TH อีก 2-3 ฝูงๆ ละ 12 ลำ รวม 24-36 ลำ พอไหมครับ ?
ซี-130 เจ 6 ลำ / ซีเอ็น-295 6 ลำ / เพิ่มเติมด้วย ซี-2 จากญี่ปุ่นอีก 4 ลำ ทดแทน ซี-130 เอช 12 ลำ และ จีตองสอง 6 ลำ ไม่ทราบว่าจะล้นภารกิจลำเลียงไปหรือเปล่า
นี่เรายังไม่ได้ไปถึงโครงการ เอฟ-35 เอ เลยนะครับ !
ขยายฝูงไม่น่ามีทางเป็นไปได้ ไม่งั้นก็ลดเป็น 4 ฝูงแล้วจำนวน 18 เท่าเดิมดีกว่ามั้ย
เพราะขนาดของฝูงก็เกี่ยวพันกับหลักนิยม การจัดอัตรากำลังรบ เดี๋ยวต้องแก้กันใหม่อีก
C-2 ครับ ไม่ทราบรูปจะใหญ่ไปหรือเปล่า
ราคาแค่ 136 ล้านเหรียญอเมริกัน / เกือบห้าพันล้านบาทเองครับ เอิ๊ก !
ดูแต่รูปงามๆ ไปก่อน ตัวจริงรอให้ JSDAF เค้าบิน C-2 มาเยี่ยมเราที่ดอนเมืองละกันครับ วาสนา (เงิน) เราคงไม่ถึงพี่เค้า
ถ้าเครื่องบินลำเลียงขอส่งตัวนี้ร่วมด้วยครับ KC390 ถูกกว่า C2 และ C130J สามารถใช้แทน C130H ได้เลย สนนราคา 85 ล้านเหรียญได้...มั้ง
รูปแรกจาก Aviation Week & Space Technology
ขนาดกำลังดี...อิ อิ อิ
1
ลำเลียงเจ็ตพวกนี้ เน้นความเร็วในการขนส่ง มันเหมาะกับการทิ้งพลร่ม หรือส่งทางอากาศเคลื่อนที่เร็วข้ามทวีป ครับ............. ตั้งแต่ สตาร์ลิฟเตอร์ มา ซี-17 หรือ อิล-76 พวกนี้เน้นทิ้งพลร่ม(เช่น กองพลที่ 82) และส่งทางอากาศ (เช่น กองพล 101) ประเภท ทะเลาะวันนี้ ทหารถึงพรุ่งนี้ ทั้งนั้นครับ...................... ม้าใช้ขนส่ง ไม่เน้นเร็ว เน้นประหยัด ต้องพร็อบ ครับ................ ที่เหมาะ ก็มี ซี-130 เจ ล้ำหน่อยก็ต้อง เอ-400 หรือไม่ก็เป็นรัสเซีย แอน-70 สองตัวนี้ล้ำมากครับ น้องๆเจ็ตเชียวแหล่ะ ................ ผมหล่ะว่า จะไม่พ้น ซี-130 เจ สะหล่ะครับ ถ้าตอนนั้นไม่ปิดสายการผลิตก่อนนะ..............
แต่หวังว่า ท่ามกลางบรรยากาศชื่นมื่น เผลอแผล่บ ตกร่องป่องชิ้นกะน้องหมวย วาย-9 ซะฉิบนะครับ..................555555
หมวย วาย-9
ใครๆ ก็ชอบความเสียวครับท่านกบ แต่ถ้าจะต้องเป็นหมวยจีนนาม วาย-9 เสียวแบบนี้ไม่อยากจะปลื้มเลยครับ
กับเครื่อง บล. ที่ต้องทั้งถึก อึด ทน ง่าย ค่าใช้จ่ายต่ำ เชื่อถือได้ อยู่กันได้ยาวๆ ไปไหนมาไหนได้ทุกที่ทุกสนามบิน ก็ยังอยากให้อยู่ในกลุ่มบ. ฝรั่งตะวันตกหรือญี่ปุ่นอยู่ครับ
กรณีนี้คู่หูที่เหมาะสมน่าจะเป็น ซี-130 เจ กับ ซี-295 แล้วละครับ C-2 ขนาดใหญ่กว่า เอ-400 เอ็มอีก คงไม่ใช่สำหรับเราแล้วละครับ (ติดใจความสวยเป็นการส่วนตัวครับ)
ที่น่าขบคิดก็คือ เค-390 กับ ซี-130 เจ ครับ คือเครื่องบราซิลราคาถูกกว่า บรรทุกได้มากกว่า ใหม่กว่า แต่จะถึก อึด ทน ง่าย ค่าใช้จ่ายต่ำ เชื่อถือได้ และอยู่กันได้ยาวๆ เหมือนที่เฮอร์คิวลิสพิสูจน์ตัวเองมาแล้วกว่า 57 ปี ได้หรือไม่ ถ้าสาวบราซิลทำได้เหมือนหรือใกล้เคียงก็จะเป็นตัวเลือกที่ดีอีกแบบสำหรับ ทอ. ครับ
ท่านใดพอทราบไหมครับว่า ทอ. วางแผนจะใช้ ซี-130 เอช ไปอีกกี่ปีครับ ? 35 ปีผ่านไปพวกพี่ๆ เค้าคงเหนื่อยล้าน่าดูกันแล้วนะครับ
กรณีฝูงบินรบที่โคราช ถ้าหาก F16ADF ปลดแล้วไม่มีการจัดหามาทดแทนแล้วใช้ F16A/B เป็นหลัก ผมคิดว่าขีดความสามารถในการรบทางอากาศของฝูงนี้จะต่ำเกินไป เนื่องจากรบแบบ BVR ไม่ได้ ดังนั้นอาจต้องลงเงินอีกสักหน่อย ทำการซ่อมยืดอายุโครงสร้างให้พอทนได้สัก 20 ปี และทำ mini MLU ให้ใกล้เคียง F16 MLU ฝูงตาคลีที่สุด สามารถรบแบบ BVR ได้ โดยอาจใช้วิธีซื้ออุปกรณ์เก่าที่ถอดจาก F16 C/D ที่กำลังปรับปรุงของสิงค์โปร์มาใส่แทน เช่น พวกเรดาร์เก่าซึ่งถ้าจำไม่ผิด จะเป็นแบบเดียวกับฝูงที่ตาคลี ดังนั้นจะมีอุปกรณ์บางส่วนเท่านั้นที่ต้องซื้อใหม่เลย ราคาคงต่ำกว่าลำล่ะ 30 ล้าน US/ลำ กะเอาว่าสัก 20 ล้าน US/ลำ ใช้ได้นาน 20 ปี คุ้มครับ
( 24 ลำ ลำล่ะ 20 ล้าน us รวมเป็นเงินราว 500 ล้าน US = 17,000 ล้านบาท ปรับปรุงปีล่ะ 6 ลำ นาน 4 ปี เท่ากับจ่ายปีล่ะ 4,250 ล้านบาท)
คราวนี้ถ้า เหลือ เครื่องบินรบหลักแค่ 3 ฝูงๆล่ะ 18 ลำ คือ F16 A/B MLU 2 ฝูง อายุใช้งานได้ 20ปี และฝูง JAS39 1 ฝูง 18 ลำใช้งานได้ 20-30 ปี ดังนั้นใน 10 ปีแรกคงไม่ต้องซื้อเครื่องใหม่ เอางบไปซื้อเครื่องบินอย่างอื่นๆแทน แต่ปีที่ 11 เป็นต้นไปก็เป็นช่วงเวลาเหมาะสมทยอยซื้อเครื่องบินรบใหม่มือหนึ่ง ยุคที่ 5 ปีล่ะ 3 เครื่องโดยซื้อมาสร้างและประกอบในไทยโดย TAI ไปเรื่อยๆ นาน 18 ปีจะครบ 3 ฝูง ตกใช้เงินปีล่ะประมาณ 9,000 ล้าานบาท ก็น่าจะพอดีกับเครื่องเก่าปลดประจำการ
ผูกพันงบประมาณ ปี58 ตก9พันกว่าล้านครับ
ในอนาคต หากรวบงบซ่อมบำรุงของบ.ที่ปลดไป รวมถึงอาจจะมีการปรับลดอัตรากำลังพล โอกาสโยกงบมาใช้มากกวขึ้นก็เป้นไปได้ครับ
2.3) โครงการเสรมสร ิ างก้ าลํ งกองท ั พทั ี่ผูกพนขั ามป ้ ีงบประมาณ 9,364,431,500 บาท
อ้างอิงจาก หน้า448 ไม่ใช่ความลับอะไรครับ
ปอลิงแต่ที่ลับคือ มี 13 โครงการ ไม่ทราบว่าโครงการไหนเท่าไหร่ อิอิ
http://www.bb.go.th/budget_book/e-Book2558/PDF/%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%203%20%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%2001.pdf
C-27J ไม่มาหรอกครับ หลังจากที่เรามีประสบการณ์อันยอดเยี่ยมกับ G-222 มาแล้ว ขณะเดียวกันประเทศอิตาลีเองก็มี C-130J ใช้งานอยู่เป็นจำนวนมาก นั่นแปลว่าไม่ใช่แฟนทำแทนไม่ได้ขนาดมันต่างกันเยอะ
ฝรั่งเศสเองเพิ่งจะซื้อ C-130J ไป 4 ลำเป็น Tanker เสีย 2 ลำ ผมเองยังมองไม่เห็นเลยว่าจะมีเครื่องบินลำไหนมาเบียดเครื่องบินลำนี้ไปได้ นอกเสียจาก C-130J มือสองของอเมริกาในราคาครึ่งเดียว
ข้อมูลล่าสุดครับ
1. กริเป้น 701 (ยุคท่านอิทธิพร) ปัจจุบันยังไม่มีโครงการจัดหาเพิ่มครับ ท่านประจินเคยให้ข่าวว่ากริเป้น 12 ลำ ไม่เพียงพอ แต่ ผบ. ปัจจุบันท่านยังไม่เห็นได้ว่าอะไร
2. ไทกริส 211 เข้าสู่โครงการม๊อดครั้งล่าสุดแล้ว (ยุคท่านประจิน) จัดเต็มเหมือน เอ็มแอลยู 403 ยิวเป็นคนม๊อดตามรายละเอียดที่เป็นข่าวตั้งแต่ปีที่แล้ว จำนวน 10-15 ลำ นึกถึง อีเอ็ม ของบราซิลได้เลย ส่วนไทเกอร์ที่โยกมาจากสุราษฎร์ฯ ไม่เกี่ยวครับ
3. ไวเปอร์ เอ็มแอลยู 403 จัดเต็ม (ยุคท่านประจิน) จะอยู่ต่อไปอีกนานไม่น้อยกว่า 15-20 ปี เป็นกำลังหลักที่มีศักยสูงมากต่อไปของ ทอ.
4. ไวเปอร์ เอดีเอฟ 102 ปลดแล้วอาจไม่มีการจัดหาของใหม่มาทดแทนครับ
5. ไวเปอร์ เอ/บี 103 ไม่มีการม๊อดใดๆ อีกแล้ว ใช้จนหมดอายุ และจะมีการจัดหาของใหม่มาแทนแน่นอน แต่ ณ ตอนนี้ ไม่จำเป็นจะต้องเป็น เอฟ-35 เอ อย่างเดียวแล้วนะครับ คือกลายเป็นว่าขึ้นอยู่กับโครงการจะเริ่มเมื่อไหร่ และ ผบ. ในเวลานั้นท่านจะมีความเห็นอย่างไร เนื่องด้วยยค่าตัวและค่าบำรุงรักษาของ บ. รบ เจนฯ 5 สูงมาก ทอ. จะต้องทบทวนแล้วว่า บ. เจนฯ 5 มันจะเหมาะกับ ทอ. ไหมและเมื่อไหร่ คือจะต้องให้เหมาะสมกับภัยคุกคามทั้งในปัจจุบันและอนาคต (พูดง่ายๆ คือในภูมิภาคนี้ใครจะได้ขี่ บ. เจนฯ 5 ก่อน ถ้าเป็นมหามิตรเราก็ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนมากนัก เอาแบบชิวๆ ตามงบที่ได้รับ แต่ถ้าเป็นเพื่อนบ้านที่เราต้องระมัดระวัง อันนี้ก็ต้องเร่งรัดกันหน่อยครับ) ขณะเดียวกัน ท.อ. ก็ต้องคำนึงถึงการติดตามเทคโนโลยีให้ทันอยู่เสมอ ไม่ให้ตกยุคตกสมัยด้วยนะครับ เป็นดิจิตอล แอนด์ นัมเบอร์วัน แอร์ฟอร์ซ ให้ได้ตามวิสัยทัศน์ ท.อ. ครับ
6. ซี-130 เอช ฝูง 601 งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกลา ดีใจที่ได้ทราบครับว่า จะมีการจัดหาของใหม่มาทดแทน เมื่อไหร่ก็ต้องคอยดูกันครับ จากนี้ไปประมาณ 10 ปี บวก/ลบ ตัวเก็งยังไม่ทราบ แต่ถ้าให้เดา เฮอร์คิวลิส-เจ น่าจะมีโอกาสมากที่สุดครับ
7. จี-222 ฝูง 603 ยังไม่มีโครงการจัดหาของใหม่ทดแทนเลยครับ ซี-295 จึงเป็นเพียงจินตนาการของผมและอีกหลายๆ ท่าน (ผมมโนฯ ไปเอง..หุหุ) ท.อ. ยังเฉยๆ อยู่เลย
8. แอฟโร่ 748 ฝูง 602/603 นอกจากได้ เอทีอาร์-72 ห้าลำมาทดแทนแล้ว (จำหน่ายไป 1) ยังถูกหวยได้ ซูคอย ซูเปอร์เจ๊ต มาเสริมอีกตั้ง 2 ลำ งบก็ไม่ใช่ของตัว ส้มหล่นโดยแท้.. อิอิ
สรุปคือภายในไม่เกิน 10 ปีนี้ ฝูง บข. เราคงเหลือแค่ 4 คือ 103, 211, 403, 701 ครับ 102 ยุบครับ ส่วน บข.ฝ. (ทีเอ-50) น่าจะยังคงเป็น 2 ฝูง ไม่เกิน 3 เหมือนเดิม โดยฝูงแรกจะลงที่ 401 แน่นอนครับ จากนั้นจะโยก แอล-39 ของ 401 เดิมไปรวมกับพรรคพวกที่เหลือที่กองบิน 41 กลายเป็นบ้านหลังใหญ่เบิ้มหลังสุดท้ายของฝูงแร้งอัลบาทรอสของไทยเรา ส่วนฝูงที่สองถ้ามีการจัดหาเพิ่มก็ควรจะลงที่ 101ครับ
ปล. แซมจากมิตรประเทศทางเหนือมีทั้งหมด 2 ชุดนะครับ ยังไม่มีข่าวว่าจะมาเมื่อไหร่ แต่แปลนว่าจะวางไว้ที่สุราษฎร์ฯ 1 ระบบ อีก 1 ไว้ส่วนกลาง สำหรับโยกย้ายไปมาได้ หลักๆ น่าจะเป็นโคราชหรือตาคลีครับ
ปะติดปะต่อจากวงสนทนา ถูกผิดประการใดขออภัยไว้ด้วยครับ
ท่านเสือใหญ่ ลืม อัลฟ่าเจ็ท แถวบ้านผมเฉยเลย ............. รายนี้ อายุใช้งานที่เหลือ ทั้งยาว ทั้งใหญ่ เอ้ย!!!! ทั้งนานเลยนะครับ.............
ฮ่ะๆๆๆ ผม (แกล้ง) ลืม เอ-เจ็ต ไปซะงั้นครับ ใครๆ ก็ไม่สนใจ
ภารกิจของ เอ-เจ็ต ประจำฝูง 231 อุดรฯ คือโจมตีและสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด ตามที่มันเคยปฏิบัติมาตลอดตั้งแต่อยู่เยอรมันในยุคสงครามเย็น นาโต้ยันกับวอร์ซอร์แพค (อัลฟ่าเจ็ต รุ่น เอ) แต่ตั้งแต่ ท.อ. จัดหามาเมื่อสิบหกปีก่อนจนถึงปัจจุบัน เอ-เจ็ต ของเราเหมือนมือปืนแขนด้วน ทำอะไรก็ไม่ได้เต็มประสิทธิภาพ ด้วยว่าหอบเอาแต่เครื่องมาแต่ไม่ได้ปืนประจำตัวมาด้วย ฉะนั้น ที่ทำได้ก็เพียงทอยลูก จีบี กับยิงจรวด 2.75 เท่านั้น
อาวุธเด็ดประจำตัวของ เอ-เจ็ต คือปืนใหญ่อากาศเมาเซอร์ขนาด 27 มม. ในกะเปาะใต้ท้อง น่าจะเป็น บีเค-27 ลูกโม่ รุ่นเดียวกับที่กริเป้นใช้ เอาไว้กวาดยานยนต์หุ้มเกราะโดยเฉพาะ รวมถึงจุดรวมพล และที่มั่นแข็งแรง ใช้งานร่วมกับระเบิดและจรวดอากาศสู่พื้นนับว่าน่าเกรงขามมากๆ บวกกับขนาดที่ค่อนข้างเล็ก เงียบ แคล่วคล่องว่องไวเหมือนนกอีแอ่น หลายปีก่อนผมไปชม เอ-เจ็ต บินที่กำแพงแสน ประทับใจจนถึงวันนี้ครับ
แต่มันเหมือนว่าเราไม่มีตังซื้อปืน หรือเยอรมันไม่ยอมขายให้ก็ไม่ทราบ เราได้มาแต่ตัวเครื่อง แล้ว ท.อ. ก็ไม่ได้มีโครงการอะไรในการปรับปรุงการใช้อาวุธให้ได้เต็มความสามารถของเครื่องเลย เอาปืนลูกโม่ เอ็ม-39 ของเอฟ-5 มาม๊อดเป็นกะเปาะปืนติดใต้ท้องก็น่าจะได้นะ เอาจากฝูงไทกริสม๊อดล่าสุดที่ต้องถอดปืนออกเหลือแค่กระบอกเดียว เพราะต้องเผื่อที่สำหรับติดเรดาร์ใหม่ก็ได้ (อีแอล/เอ็ม -2032 หรือ กริโฟ เอฟ) หรือจากไทเกอร์ตัวที่ปลดไปก่อนหน้านี้แล้วก็ได้ ปืนลำละตั้งสองกระบอก น่าเสียดายครับ
อย่างที่ท่านกบบอก เอ-เจ็ตยังอยู่ได้อีกนานครับ แต่เหมือนไม่มีอนาคต ที่เคยได้ยินคือเปลี่ยนเก้าอี้ดีดตัวหรือดินจุดระเบิดเก้าอี้ดีดตัว อันนี้จำได้ไม่แม่นครับ กับ GPS มือถือ นอกนั้นก็ไม่เห็นได้ทำอะไร ประหนึ่งว่าแค่นี้พอแล้ว ตรงข้ามแม่น้ำโขงก็ไม่มีเจ็ตใช้แล้ว ความสัมพันธ์ก็ค่อนข้างดี แค่ให้มี เอ-เจ๊ต บินไปมาพอให้รู้ว่ามี ก็เพียงพอแล้วนะครับ
ผมเลยแกล้งลืมๆ เอ-เจ็ต ไปครับ ทั้งๆ ที่เป็น บ.ในดวงใจพอๆ กับ เอฟ-5 เลย ขณะเดียวกันก็คิดว่า ถ้าหมดยุคของ เอ-เจ๊ต แล้ว กองบิน 23 คงจะเปลี่ยนสถานะตัวเองเป็นสนามบินส่วนหน้า ไม่มี บ. ประจำแน่ๆ เลยครับ
อัลฟ่าเจ๊ต รุ่น เอ ของลุฟวัฟเฟ่ ครับ มีกระเปาะปืนใหญ่ใต้ท้อง แต่ของเรามาแต่ตัวเปล่า ถ้ารูปใหญ่ไปขออภัยด้วยครับ
สาวหม้ายเยอรมันสะใภ้หนุ่มอีสานเหนือ ALPHA JET ได้ข่าวว่ามีการปรับปรุงกระเปาะปืนใหญ่ให้ติดปืนใหญ่ที่มีอยู่แล้วนี่ครับ ไม่รู้ทำไปหรือยัง รวมทั้งมีข่าวว่าติดอุปกรณ์ ชาร์ฟ/แฟร์ ป้องกันตนเองจากอาวุธนำวิถีที่ด้านท้ายเครื่อง กับปรับปรุงให้ใช้อาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ที่ปีกข้างละ 1 ลูก แว่วๆว่าอาจจะมีดาต้าลิงค์ด้วยมังครับ แค่นี้ผมว่าหรูแล้วสำหรับสาวที่มีหน้าที่สนับสนุนหนุ่มๆชาติอาชาไนยภาคพื้นแบบใกล้ชิดถ้าหากว่ามีการปรับปรุงตามนี้จริงๆนะครับ
เรียนตามตรงว่าผมจำได้แค่นั้นครับท่านเด็กทะเล...หุหุ
แต่เรื่องปีนเนี่ยไม่เคยได้ยินไม่เคยเห็นภาพปืนไทยด้วย ถ้าท่านใดมีรูปปืนกับ เอ-เจ็ต ของเรา รบกวนเอามาแบ่งกันดูด้วยนะครับ คือถ้ามีปืนแล้วก็จะดีมากๆ เลยครับ
แหะ แหะ แก้ข่าวนิดนึงครับ พี่เสือใหญ่ ปืนที่จะปรับปรุงใส่กระเปาะนั้นพยายามหาวิธีเอาปืนอื่นมาใส่แต่เหมือนมันไม่ค่อยเวิร์คเท่าไหร่ครับ แล้วไม่รู้ว่าเป็นไงมั่งตอนนี้
ท่านเด็กทะเล ผมจำได้ว่า ท.อ. เคยดัดแปลงเอา 12.7 มาใส่ในกะเปาะ แต่เอาไปติดเครื่องอะไรก็จำไม่ได้แล้ว เดี๋ยวผมช่วยหาดูดีกว่า เป็นปมที่อยากจะรู้แล้วซิ
ปืน บราวนิ่ง 12.7 มม. ผมว่ามันดูจะเล็กไปหน่อยนะครับ สำหรับภารกิจโจมตีภาคพื้นของ ALPHA JET อย่างน้อยมันควรจะ 20 มม. ขึ้นไปนะครับ เผื่อสำหรับโจมตียานยนต์แบบต่างๆด้วย
หาจนท้อแล้วครับท่านเด็กทะเล เจอแต่กันพ๊อดขนาด 30 มม. ติดกับ เอฟ-5 ตอนอยู่ตาคลี ลูกนี้เบ่อเริ่มเชียว
คิดว่า ท.อ. คงยังไม่เคยมีโครงการหาปืนให้ เอ-เจ็ต แน่ๆ ดังนั้น ถ้าจะทำจริงๆ น่าจะมีอยู่ 3-4 แนวทางให้เลือกนะครับ
1. ดัดแปลงเอากะเปาะปืนใหญ่อากาศคู่ GSh-23 ขนาด 23 มม. ของ แอล-39 มาติด
2. ดัดแปลงเอาปืนลูกโม่ M-39 ขนาด 20 มม. ของ เอฟ-5 มาติด โดยต้องสร้างกะเปาะ gun pod ด้วย
3. ขอซื้อกะเปาะปืนเก่าของ เอ-เจ็ต เอง จากเยอรมัน (บีเค-27 หรือ เดฟา 553)
4. ซื้อ gun pod ที่มีขายอยู่แล้วมาติด มีทั้งลูกโม่และแกตลิ่ง ขนาด 20, 23, 25, 27 มม. ทั้งเมกัน เยอรมัน ฝรั่งเศส รัสเซีย ฯลฯ สะดวกดี
ก็ไม่รู้ว่า ท.อ.จะคิดยังไง หรืออาจไม่มีโครงการติดปืนให้ เอ-เจ๊ต เลยก็ได้ ใครจะรู้
กระเปาะปืนของ ALPHA JET นั้นเหมือนจะมีมาพร้อมกับเครื่องแล้วมั้งครับ แต่ไม่มีปืนใหญ่ติดมาด้วย ถ้าแบบง่ายๆเลยซื้อปืนแบบที่ใช้อยู่กับกระเปาะปืนใหญ่ชนิดนี้มาติดเลยทีเดียวจบครับ แต่สงสัยว่าทำไม สรรพาวุธกองทัพอากาศต้องหาวิธีดัดแปลงปืนอื่นมาใส่ เหตุผลที่ผมคาดการน่าจะเรื่องของงบประมาณที่ไม่ได้ทำเรื่องดำเนินการในเรื่องเกี่ยวกับการจัดหาปืนตั้งแต่แรกโดยอาจจะมองว่าน่าจะสามารถดัดแปลงปืนอื่นใส่ได้หรือเปล่า ส่วนอีกเหตุผลหนึ่งคือเยอรมันไม่ขายให้ แต่เหตุผลนี้ผมว่าไม่น่าจะเป็นไปได้เพราะขายเครื้่องบินมาให้แล้วคงไม่มีใครจะมากั๊กอาวุธแค่ปืนใหญ่อากาศ เพียงแต่มันต้องซื้อแยกจากเครื่องบินเท่านั้น
บทสรุปเรื่อง เอ-เจ็ต ของเรา จากเสธ ด.เด็ก
"ปืนมันแพงมากๆๆๆ พี่ ง่ายๆ เลย แค่ลูกปืนเยอรมันยังเสนอขายลูกละ 8 พันบาท เราบ่จี๊ จึงเอาแต่ตัวเครื่องมา"
"เคยดัดแปลงติดกันพอด 0.50 นิ้ว แต่ก็ไม่เวิร์ค"
"เครื่องยังเวิร์คสุดๆ ยังอยู่ได้อีกนานๆๆๆๆ แต่อุปกรณ์ช่วยบินต่างๆ ไม่เวิร์ค ล้าสมัย หมดสภาพ ไม่เคยปรับปรุงเลย นบ. จึงบินได้ไม่เต็มสมรรถนะของเครื่อง"
"ถ้าม๊อดเครื่องช่วยบินให้ทันสมัย หาอาวุธดีๆ ให้ใช้ เราจะมีฝูงบินรบที่ดีมากอีกฝูงหนึ่งทีเดียว"
"ตรงข้ามกับ แอล-39 อันนั้นเครื่องช่วยบิน+เครื่องควบคุมการใช้อาวุธดี แต่สภาพเครื่องไม่ไหวโดยเฉพาะเครื่องยนต์"
เสธ ด. เด็ก กล่าวทิ้งท้าย
สำหรับผม ผมว่าจบเรื่อง เอ-เจ็ต ไว้แต่เพียงเท่านี้จะดีกว่าครับท่านเด็กทะเล เพราะฟังดูแล้ว ลุ้นยากครับ
ผมกำลังคิดว่าถ้าเราลงทุนปรับปรุงอุปกรณ์ของA Jetให้ทันสมัยเพื่อทำหน้าที่ฝึกแทนL39ไปก่อนจะคุ้มกว่าจัดหาT50มาตอนนี้ จะได้ไม่ต้องมีบ.หลายแบบเกิน
อย่างที่บอกนะครับ เหมือนลูกที่ถูกลืมเลย ถ้าได้ม๊อดจริงๆ จะเอาไปใช้ภารกิจโจมตีหรือ Lead-In Fighter Trainer ก็ได้ทั้งนั้น เห็นดีเห็นงามอย่างยิ่ง ขอให้ได้ทำเถอะครับ
ถ้าอายุการใช้งานเหลือเกิน 15-20 ปี และจะปรับปรุงให้ทันสมัย ผมว่าน่าจะมองไปที่ฝรั่งเศส เพราะผลิต alpha jet ขายเหมือนกัน น่าจะสามารถปรับปรุงให้ทันสมัยได้ หรือ อิสราเอล เพราะมีผลงานกับ L39 มาแล้ว ส่วนตัวอย่างให้ปรับปรุงมาใช้เป็นเครื่องฝึกนักบินสำหรับต่อยอดไป F16 Jas39 ซึ่งจำนวน 20 ลำ น่าจะเพียงพอต่อการใช้ฝึกนักบิน (กรณีมีการลดจำนวนเครื่องบินรบหลักจริง) ส่วนภาระกิจโจมตีให้เป็นภาระกิจเสริมยามจำเป็น สำหรับภาระกิจโจมตีหลักก็ใช้ TA50 จำนวน 2 ฝูง
ตามอ่านมาจนถึงตอนนี้ทำให้ผมคิดย้อนไปถึงเมื่อหลายเดือนก่อนที่ผมตั้งกระทู้ถามว่าถ้าเราเอาแพลตฟอร์มของ บ รบ. ที่เราน่าจะซื้อลิขสิทธ์/เทคโนโลยีมาทำการต่อยอดให้เกิดเป็นโครงการอะไรบางอย่างที่มีขนาด และความคุ้มค่าโดยรวมในการที่จะลงทุนแล้วผลิตเป็นจำนวนมากพอที่จะให้มีนัยสำคัญเรื่องการสนันสนุนอะไหล่...... ตอนนั้นผมเล็งไปที่F5. เพราะเราใช้มานาน พออ่านที่ท่านๆแสดงความเห็นกันผมว่า A jet นี่อาจเหมาะกับโครงการลักษณะที่ว่ามากกว่าเสียอีก. ลองคิดดูว่าถ้าเราดีลให้เอาแอเฟรมและเครื่องยนต์มาผลิตเองให้ใด้ แล้ว บฝรั่งเศษทำระบบควบคุมการบิน/อื่นๆ. แค่นี้ก็หรูอย่างแรง
คงไม่ทันแล้วละครับ ท.อ. ตัดสินใจซื้อ ที-50 ทีเอช 4 เครื่องแรกไปแล้ว คงเดินหน้าตามแผนที่วางไว้แล้วละครับ คือเอามาแทน แอล-39 สองฝูง +1 ในภารกิจ LIFT ภารกิจรองก็โจมตีเบา เหมือน แอล-39 ทุกอย่างครับ
ที่แตกต่างจากตอนจัดซื้อ แอล-39 ก็คือ ตอนนี้ ท.อ. มักจะทำโครงการจัดซื้อเป็นโครงการเล็กๆ ซอยเป็นหลายเฟส ไม่เหมือนตอนซื้อ แอล-39 ซึ่งซื้อยกฝูงทีเดียว 3 ฝูงเลย อาจเป็นเพราะงบไม่ค่อยมี หรือไม่ต้องการให้เป็นเป้าของสื่อ ฉะนั้น คอยดูเฟสต่อๆ ไปกันให้ดีๆ นะครับ อาจจะมีการสั่งซื้อเพิ่มอีกเงียบๆ ทีละ 4-6 ตัว แบบว่ากว่าจะรู้ตัว อ้าว เต็มฝูงซะแล้ว
ท.อ. เป็นเหล่าที่ "เป็นงาน" ถือเป็นสายแข็ง ไม่ต้องให้กองเชียร์ต้องมาคอยลุ้นคอยเชียร์จนเหนื่อยครับ (ไม่เหมือนบางเหล่า)
ฉะนั้น เมื่อภารกิจ LIFT ก็มี ที-50 ทีเอช รับไปแล้ว ภารกิจโจมตีเบาก็ไม่มีภัยคุกคามชัดเจนเร่งด่วนแล้ว ประเมินล่วงหน้าไปได้อีก 10 ปีด้วยเอา หรือถ้าจะมีเหตุจริงๆ ต้องใช้การโจมตีภาคพื้นกิน เจ๊ตอื่นๆ อย่าง เอฟ-16 หรือกระทั่ง ที-50 ทีเอช ก็ทำหน้าที่นี้ได้ ไม่นับ แอล-39 ที่ถ้ายังเหลืออยู่อีกด้วย ด้วยประการฉะนี้ เอ-เจ็ต ของท่านกบจึงน่าจะถูกปล่อยให้อยู่เงียบๆ ที่อุดรฯ ไปเรื่อยๆ จนกว่า ท.อ. จะมีเงินเหลือ หรือนึกขึ้นมาได้เองว่า สุดจะคุ้มเลยนะตัว ถ้าคิดจะทำโครงการม๊อด เอ-เจ็ต
หรือจะรอให้ปลด แอล-39 ก่อน แล้วค่อยเอาจอเอาฮัดเอาไจโร ฯลฯ ของ แอล-39 มาใส่ เอ-เจ๊ต แทนก็ไม่เลวนะครับ
คิดซะว่าม๊อดเหมือนกันครับ ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย
สำหรับอนาคตของ บ.ล.๘ C-130H ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ นั้น มองว่าน่าจะมีความใกล้เคียงกับ บ.ล.๒ C-47 ในอดีตมากในแง่การเป็นม้างานหลักของกองทัพอากาศในภารกิจลำเลียงทางยุทธวิธี
ซึ่งถ้าเทียบกับ บ.ล.๒ C-47 ที่มีระยะเวลาประจำการในช่วงปี พ.ศ.๒๔๙๐-๒๕๓๗ หรือราว ๔๗ปี (ไม่นับรวม บ.ล.๒ก. BT-67 ที่นำมาปรับปรุงใหม่) แล้ว
ก็เป็นไปได้มากครับว่า C-130H นั้นกองทัพอากาศน่าจะตั้งใจใช้งานไปอีกไม่ต่ำกว่า ๑๐ปีขึ้นไป คืออาจจะเริ่มพิจารณาการปลดประจำการในช่วงปี พ.ศ ๒๕๖๘-๒๕๗๐ รวมอายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า ๔๕ปี
ตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับการวางแผนหลักการใช้กำลังทางอากาศของกองทัพอากาศในอนาคตครับว่า สำหรับฝูงบินลำเลียงทางยุทธวิธีแล้ว
จะยังมีความต้องการจัดหาทั้งเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีขนาดกลางสองเครื่องยนต์ แบบเดียวกับ บ.ล.๔ C-123 กับ บ.ล.๑๔ G222 ที่ปลดไปแล้ว
พร้อมกับเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีขนาดหนักสี่เครื่องยนต์ เช่นเดียวกับ บ.ล.๘ C-130H ที่จะต้องจัดหาเครื่องบินลำเลียงแบบใหม่มาทดแทน
หรือจะเลือกจัดหาเพียงเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีเพียงแบบเดียวเท่านั้น โดยอาจจะมีตัวเลือกทั้งแบบใช้เครื่องยนต์ใบพัด หรือเครื่องยนต์ไอพ่นครับ
เพิ่งอ่านเจอใน TAF ครับว่า โครงการม๊อดไทกริสล่าสุด เริ่มดำเนินการไปแล้วตั้งแต่ ต.ค. 58 ที่ผ่านมา มีการปรับปรุงโครงสร้างและไวร์ริ่งใหม่ แต่ที่ยังไม่เห็นคือค๊อกพิทกับเรดาร์มีการปรับปรุงอย่างไรบ้าง ยังไงก็ขอให้เหมือนหรือใกล้เคียงของบราซิลและชิลีมากที่สุดละกันครับ เพราะจะได้ เอฟ-5 ที่ทันสมัยกว่าเดิม ตรวจจับได้ไกลขึ้นและยิง BVR ได้ ฝันว่าจะได้ทั้งไพธ่อน 5 และ เดอร์บี้ มาไว้เชยชมด้วยครับ สาธุ..
เพิ่งเข้ามาอ่านกระทู้ กำลังอ่านเพลินๆมีสะดุด
มีใครตอบน้องเขายังน้อว่า บ.ออกจากโรงงาน เขาต้องบินทดสอบก่อนนะฮะ ไหนจะทดสอบระบบ ฝึกนักบินเอย บินข้ามทวีปมาส่งเอย เหมือนน้องซื้อรถจากโชว์รูม อยากให้มาถึงบ้านโดยที่เลขไมล์เท่ากับศูนย์ น้องต้องจ้างรถเทลเลอร์มาส่งนะฮัฟ