|
|||
3 ตุลาคม 2558 17:59 น. (แก้ไขล่าสุด 3 ตุลาคม 2558 19:34 น.) |
ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- ในช่วงข้ามวันมานี้ เว็บไซต์ข่าวกลาโหมหลายแห่ง ทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลก ได้นำเสนอข่าวและประกอบ แสดงให้เห็นระบบปืนใหญ่อัตตาจร 155 มม./52 "แอตโมส" (ATMOS) ซึ่งเป็นปืนรุ่นใหม่ล่าสุดของกองทัพบกไทย บนรถบรรทุกหน้าตาแปลกใหม่ อันเป็นผลงานจากการร่วมผลิต ระหว่างกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีกลาโหมชั้นนำระดับโลกจากอิสราเอลกับกองทัพไทย โดยศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ฝ่ายไทยยังไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรเกี่ยวกับระบบปืนใหญ่อัตตาจรล่า สุด และ เว็บข่าวแห่งต่างๆ ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดมากนัก เกี่ยวกับระบบปืนใหญ่ ATMOS 2000 ที่ปรากฎในภาพ ทราบกันแต่เพียงว่าเป็นโครงการจัดหา เพื่อนำเข้าประจำการแทน M109A5 ป.155 มม./39 อัตตาจร ที่ผลิตในสหรัฐ และ ใช้งานมานานตั้งแต่ยุคสงครามเย็น ซึ่งปัจจุบันกองทัพบกไทยมีจำนวน 20 ชุด ระบบปืนใหญ่ ATMOS ที่มีรายงานก่อนหน้านี้ว่า กองทัพไทยกับบริษัทจากอิสราเอล จะผลิตออกมาทั้งหมด 18 ชุด จะประจำการที่กองพันทหารปืนใหญ่ 721 จังหวัดลพบุรี ตามรายงานในเว็บไซต์กลุ่มบริษัท Elbit Systems ระบบปืน ATMOS (Autonomous Truck Mounted Howitzer System) หรือ ระบบปืนใหญ่เคลื่อนที่ติดตั้งบนรถบรรทุก ประกอบด้วยปืน 155 มม./52 ยิงได้ไกล 40 กิโลเมตร บนรถ 6 ล้อ ขนาด 10 ตัน TATRA 6x6 โดยบริษัทเดียวกัน ทำให้สามารถเดินทางเข้าสู่จุดที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว แม้แต่ตามเส้นทางทุระกันดารที่สุด ปืนใหญ่ 155 มม./52 ATMOS ผลิตโดยบริษัทโซลตัมซีสเต็ม (Soltam Systems) ซึ่งในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเอลบิตซีสเต็มส์ กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีกลาโหมชั้นนำ แห่งเมืองท่าไฮฟา ที่มีประวัติมายาวนานและมีชื่อเสียงระดับโลก ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ กับ โซลูชั่นส์ต่างๆ ตามมาตรฐานของนาโต้ . . . ATMOS 2000 ประกอบด้วยปืนใหญ่ กับโซลูชั่นส์ทันสมัย ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งหมด และ เกือบจะเป็นอัตโนมัติทั้งหมด รวมทั้งระบบตรวจจับหาเป้าหมายที่รวดเร็ว และ ระบบตรวจการณ์ส่วนหน้า มีปืนให้เลือกทั้งขนาด 155มม./52 และ 155มม./39 ตามความต้องการของลูกค้า บริษัทโซลตัม เป็นที่คุ้นเคยกับกองทัพบกไทยมานานกว่า 30 ปี เนื่องจากฝ่ายไทยใช้ปืนใหญ่ 155 มม./39 ชนิดลากจูงแบบ M-71 Soltam มาเป็นเวลากว่า 3 ทศวรรษ ปัจจุบันกำลังพัฒนาขึ้นติดตั้งบนรถบรรทุก 6 ล้อ โดยกลุ่มเอลบิตซีสเต็มส์เช่นกัน เอลบิตซีสเต็มส์ออกแถลงเรื่องนี้่ในเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา โดยระบุแต่เพียงว่า เป็นสัญญามูลค่าราว 27 ล้านดอลลาร์ กับ "ลูกค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รายหนึ่ง" ซึ่งทุกฝ่ายทราบดีว่าเป็นประเทศไทย ในช่วงหลายเดือนมานี้ ได้มีการเผยแพร่ทั้งข่าวและภาพ เกี่ยวกับโครงการพัฒนาปืนใหญ่อัตตาจรโดยกองทัพไทย ตามบล็อกข่าวกลาโหมบางแห่ง โดยมีเนื้่อหาระบุว่า เป็นการ "พัฒนาโดยใช้ปืนใหญ่แบบ M-71 SOLTAM ขนาด 155มม./39 ซึ่งกองทัพบกใช้มากว่า 37 ปีแล้ว" และ ในปัจจุบันมีอยู่ราว 30 ชุด โครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่ 2555 ปีที่ไทยสั่งซื้อ ระบบปืนใหญ่อัตตาจร 155 มม./52 "ซีซาร์" (CAESAR) จากฝรั่งเศส จำนวน 6 ชุด . |
||||
2 อิงตามคำแถลงของ Elbit Systems ในเดือน ส.ค.ปีนี้ ทำให้เป็นที่เข้าใจกันว่า ในปัจจุบันกองทัพไทยกำลัง มีความร่วมมือกับกลุ่มเอลบิตซีสเต็มส์ อย่างน้อยใน 2 เรื่องใหญ่ๆ ซึ่งได้แก่การจัดหาระบบ ป.155มม./52 อัตตาจร ATMOS กับการพัฒนา ป.155 มม./39 Soltam ขึ้นติดตั้งบนรถบรรทุก 6 ล้อ พร้อมระบบควบคุมและระบบอื่นๆ ครบถ้วน ข่าวความเคลื่อนไหวในการจัดหาระบบปืนใหญ่อัตตาจร ATMOS 155 มม./52 สามารถสืบย้อนหลังไปได้ ตั้งแต่ปี 2556 เมื่อเจนส์ดีเฟ้นส์ สำนักข่าวกลาโหมชั้นนำในกรุงลอนดอน เปิดเผยเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับความเป็นไปได้ ที่จะมีการผลิตในประเทศไทย โดยร่วมกับเอลบิตซีสเต็มส์ และ ในเดือน มี.ค.ปีนี้ เว็บข่าวกลาโหมหลายแห่งได้ "รั่วภาพ" ระบบปืน ATMOS ที่หน้าโรงงานแห่งหนึ่งในประเทศไทยออกมา แต่ก็ยังไม่มีการอธิบายมากกว่านั้่น หลายสำนักได้รายงานอ้างแหล่งข่าว ระบุว่ากองทัพบกไทยกำลังจัดหาระบบ ATMOS จำนวน 18 ชุด "ภาพรั่ว" ที่เห็นเป็นระบบปืนใหญ่ 155 มม./52 ติดตั้งบนรถบรรทุก 6 ล้อ แบบเดียวกันกับ ATMOS 2000 ของกองทัพบกอิสราเอล ส่งถึงไทยในช่วงเดือนก่อนหน้านั้น และสองฝ่ายมีกำหนดจะผลิตให้ครบตามจำนวนภายในปี 2559 อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการแถลงเรื่องนี้อย่างเป็นทางการจากฝ่ายไทย. |
ผมคิดว่า เพื่อให้สายการผลิตยาวนานขึ้น น่าจะขยายโครงการไปในส่วนกองกำลังนาวิกโยธิน หรือหน่วยป้องกันรักษาฝั่งซัก 12 ระบบ น่ะครับ นอกจากนี้ในส่วนปืนใหญ่น่าจะผลิตแบบลากจูง ทดแทนของเก่ารุ่นที่ระยะยิงไม่ถึง 40 กิโลเมตร ทั้งหมดผมคิดว่าน่าจะหลายสิบกระบอก สายการผลิตจะได้นานๆ และลดแบบปืนใหญ่ให้เหลือน้อยที่สุด
เห็นด้วยกับคุณ rayong ครับ
ถ้าผมจำไม่ผิด ระบบทั้งหมดจะเป็นการซื้อเข้ามาประกอบในไทยครับ ทั้งตัวรถ ปืนใหญ่ ระบบควบคุมการยิง
ดังนั้น ถ้าจะจัดหาเป็นระบบลากจูงเพิ่ม ก็จะมีข้อดีในเรื่องการใช้อะไหล่ร่วมกัน แต่ก็ต้องมาวัดกับ GHN-45 howitzer ที่ฝากผลงานไว้ดีมาก และมีประจำการอยู่แล้ว