|
|||
27 กันยายน 2558 06:32 น. (แก้ไขล่าสุด 27 กันยายน 2558 08:31 น.) |
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - สัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียได้เปิดเผย ผลสรุปเกี่ยวกับการจัดหารือดำน้ำสำหรับกองทัพเรือ โดยได้ตัดสินใจซื้อเรือชั้นคิโล (Kilo-Class) จากรัสเซีย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนี้ กล่าวว่า แผนการได้รับอนุมัติจากประธานาธิบดีโจโก วิโดโด แล้ว การประกาศเรื่องนี้ยังมีขึ้นขณะที่คณะทหารระดับสูงกำลังจะพบเจรจากับคณะผู้ แทนฝ่ายรัสเซียเกี่ยวกับการจัดหาเครื่องบินรบ Su-35 เทคโนโลยีสูง ซึ่งนักวิเคราะห์กล่าวว่า อาจจะมีจำนวน 4-6 ลำในล็อตแรก พล.อ.รีอามิซาร์ดี รีอาคูดู ได้ยืนยันต่อผู้สื่อข่าวหลังประชุมลับกับบรรดาสมาชิกรัฐสภาจำนวนหนึ่ง เมื่อวันที่ 21 ก.ย. ประธานาธิบดีวิโดโด ได้ให้นโยบายใหม่ว่า "ซื้อเรือใหม่ 5 ลำ ดีกว่าซื้อเรือที่ใช้แล้ว 10 ลำ" และยังเปิดเผยอีกว่า รัสเซียก็เป็นประเทศหนึ่งในเป้าหมายของการจัดหา เรือดำน้ำรัสเซียสามารถปฏิบัติการใต้น้ำได้ดีกว่า ยาวนานกว่า ยังแล่นในระดับน้ำตื้นได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับเรือที่สร้างในประเทศอื่นๆ ทั้งสื่อในอินโดนีเซีย และสื่อทางการรัสเซีย รวมทั้งสำนักข่าวทาสส์ (ITAR-TASS) ต่างรายงานเรื่องนี้ในวันรุ่งขึ้น หนังสือพิมพ์จาการ์ตาโพสต์ รายงานเมื่อวันที่ 22 ก.ย. อ้าง พล.ร.ต.เอ็ม ไซนุดดิน โฆษกกองทัพเรือที่ระบุว่า กองทัพได้พิจารณาจัดหาเรือชั้นคิโล จำนวน 2 ลำ ในชั้นแรกนี้ ซึ่งเป็นไปภายใต้โครงการ 5 ปี ที่ประกาศมาก่อนหน้านี้ การตัดสินใจซื้อเรือทั้ง 2 ลำจึงไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ และ ในขณะนี้กำลังรอการติดต่อเจรจาอย่างเป็นทางการจากฝ่ายรัสเซีย เมื่อปีที่แล้ว กองทัพเรืออินโดนีเซียได้พิจารณาข้อเสนอของรัสเซียที่เสนอขายเรือดำน้ำชั้น คิโลใช้แล้ว จำนวน 10 ลำ รัฐมนตรีอุตสาหกรรมและพลังงานรัสเซีย นายเดนิส มานตูรอฟ ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวทาสส์ ระหว่างไปเยือนกรุงจาการ์ตาเดือน ต.ค.ปีที่แล้วว่า อินโดนีเซียกำลังพิจารณาจัดซื้อเรือดำน้ำชั้นวาร์ชาฟยันกา (Varsharvyanka) หรือ “โครงการ 636” ซึ่งหมายถึงเรือชั้นคิโลรุ่นปรับปรุงนั่นเอง อินโดนีเซียมีเรือดำน้ำประจำการมาก่อนใครๆ ในย่านนี้ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันใช้เรือดำน้ำรุ่นเก่าที่ซื้อจากเยอรมนี จำนวน 2 ลำ และเมื่อปี 2555 ได้สั่งซื้อเรือสกุลเยอรมัน ที่ต่อในเกาหลี จำนวน 3 ลำ หากนับรวมกับเรือคิโลรัสเซียอีก 2 ลำ ก็จะเป็น 7 แต่ก็ยังห่างไกลจากความต้องการ เรือชั้นชางโบโก (Chang Bogo) ของเกาหลี มีกำหนดส่งมอบระหว่างปี 2558-2559 แต่ได้เลื่อนออกไปเป็นปี 2560 ในขณะเดียวกัน ก็มีกำหนดจะปลดระวางเรือแบบ 209 หรือ Type 209 ซึ่งก็คือเรือชั้นจักราทั้ง 2 ลำ ในปี 2563 หลังใช้งานมาตั้งแต่ปี 2524 เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า เมื่อปีที่แล้วทางการอินโดนีเซียได้ประกาศแผนการจัดหาเรือดำน้ำอย่างน้อย 12 ลำในระยะ 5 ปี และได้มีการพิจาณาทั้งเรือชางโบโก เรือชั้นอามูร์ (Amur-Class) จากรัสเซีย เรือแบบ 214 (Type 214) จากเยอรมนี กับเรือคิโล ซึ่งจำเป็นสำหรับภารกิจในการรักษาน่านน้ำที่กว้างใหญ่กับหมู่เกาะที่อยู่หาง ไกลจากเมืองหลวงออกไป มีความสลับซับซ้อนทั้งทางด้านการเมือง และด้านภูมิรัฐศาสตร์ ถึงแม้อาจจะมีเรือดำน้ำ 5-7 ลำในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แต่ก็ยังเทียบไม่ได้กับในช่วงทศวรรษที่ 1960-1970 ที่กองทัพเรืออินโดนีเซีย เคยเป็นมหาอำนาจใต้ผิวน้ำในย่านนี้อย่างแท้จริง เคยมีเรือชั้นวิสกี (Whiskey-Class) ที่ซื้อจากสหภาพโซเวียตถึง 12 ลำ แต่ได้ทยอยปลดระวางประจำการ จนกระทั่งลำสุดท้ายเมื่อปี 2529 อินโดนีเซีย ไม่ใช่ลูกค้าแปลกหน้าสำหรับอาวุธยุทโธปกรณ์ค่ายโซเวียต/รัสเซีย กองทัพบกอินโดนีเซีย ใช้ปืน AK-47 เป็นปืนเล็กยาวกึ่งอนามัติประจำกายกำลังพลนับหมื่นๆ มาตั้งแต่ยุคสงครามเย็น รวมทั้งยานหุ้มเกราะอีกจำนวนหนึ่ง ปัจุบันกองทัพอากาศยังมีเครื่องบินรบ Su-30 ที่ซื้อจากรัสเซีย ใช้งานอยู่กว่า 10 ลำ และเพิ่งประกาศเมื่อไม่นานมานี้เกี่ยวกับการตัดสินใจซื้อ Su-35 จำนวน 16 ลำ โดยการจัดซื้ออย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามฐานะทางการเงินของประเทศ เจ้าหน้าที่อินโดนีเซียเปิดเผยต่อสื่อเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า การเจรจาในขั้นต้นกับฝ่ายรัสเซียกำลังจะมีขึ้นภายในเดือนนี้ สำหรับการเจรจาซื้อขายกันในเดือน ต.ค. ซึ่งจะทำให้อินโดนีเซียเป็นลูกค้าต่างประเทศแห่งแรก ของ “เครื่องบินรบยุคที่ 4++” สมรรถนะสูงที่มีการประยุกต์เทคโนโลยีเครื่องบินรบยุคที่ 5 เข้าไปด้วยจำนวนหนึ่ง. |
แหม สมองนายทหารเพื่อนบ้าน กับ นายตะหานทวยนี้มันต่างกันจริงๆ ไม่รุ้ใครดีกว่าใครนะครับ ฮ่าๆๆ แต่ละดีลนี้ ทำให้รู้สึกอิจฉา
ผมคิดว่าเราน่าจะมอง อินเดีย อินโด เป็นตัวอย่าง คือ เค้าปรำการเรือดำน้ำจาก 2 ค่าย รัสเซีย เยอรมัน ผมเลยคิดว่า เราก็น่าทำแบบนั้นได้ ด้วยเงิน 36000 ล้าน เราจัดหาเรือจากจีน เพียง 1 ลำ 12000 ล้าน (อาจใช้งบมากกว่านี้) มาใช้ก่อน หลังจากนั้นค่อยจัดเรือดำน้ำจากค่ายอื่นๆ เช่น เยอรมัน เกาหลี สวีเดน อีก 1 ลำ
ส่วนลำที่ 3 4 5 ค่อยว่ากันหากมีงบประมาณ และหลักจากได้เปรียบเทียบเรือจาก 2 แหล่งแล้ว
แน่นอนว่ามันยุ่งยาก เปลืองค่าใช้จ่าย แต่เป็นทางออกของทุกฝ่าย การเมือง ทหาร อื่นๆ