หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ทัพฟ้า-ราชนาวีไทยทำได้สำเร็จ เชื่อม \"อีริอาย\" กริพเพน กับเรือหลวงนเรศวร

โดยคุณ : top4 เมื่อวันที่ : 23/09/2015 20:12:03

ทัพฟ้า-ราชนาวีไทยทำได้สำเร็จ เชื่อม "อีริอาย" กริพเพน กับเรือหลวงนเรศวร

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
23 กันยายน 2558 06:49 น. (แก้ไขล่าสุด 23 กันยายน 2558 08:49 น.)
เป็นประวัติกาล ทัพฟ้า-ราชนาวีไทยทำได้สำเร็จ เชื่อม อีริอาย กริพเพน กับเรือหลวงนเรศวร
เป็น ความสำเร็จอีกขั้นหนึ่งของสองเหล่าทัพ หลังจากดำเนินการ และ พยายามมาเป็นเวลา 2-3 ปี การบูรณาการสัญญาณเรดาร์ ระหว่างเครื่องบินตรวจการณ์เตือนภัยล่วงหน้า กับเครื่องบินรบและเรือรบที่อยู่เบื้องล่าง จะทำให้ทุกฝ่ายมองเห็น และ รู้จุดที่ตั้งฝ่ายตรงข้ามร่วมกัน ช่วยให้ฝ่ายอำนวยการรบ สามารถตัดสินใจได้ถูกต้องแม่นย่ำ เครื่องบินรบกับเรือรบ สามารถแยกโจมตี หรือ โจมตีเป้าหมายต่างๆ ร่วมกันได้โดยไม่ผิดพลาด. -- ภาพกองทัพอากาศไทย.
       
ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- กองทัพอากาศกับราชนาวีไทย ประสบความสำเร็จในการเชื่อมต่อระบบข้อมูล ระหว่างเครื่องบินตรวจการณ์และเตือนภัยล่วงหน้า ซึ่งติดระบบเรดาร์อีริอาย (Erieye) กับเครื่องบินขับไล่ JAS-39 "กริพเพ่น" (Gripen) ของกองทัพอากาศ และ เรือหลวงนเรศวรของราชนาวีไทย อันเป็นความพยายามในการผสมผสาน การใช้อุปกรณ์ทันสมัยด้วยกัน ซึ่งได้ช่วยเพิมขีดความสามารถในเชิงยุทธวิธี ให้สองเหล่าทัพสามารถประสานการปฏิบัติการได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
       
       นับเป็นครั้งแรกที่ทั้งสองเหล่าทัพ มีระบบบูรณาการสัญญาเรดาร์ใช้งานร่วมกัน ซึ่งทั้งหมดเป็นผลิตภัณฑ์จากสวีเดน ด้วยเทคโนโลยีของกลุ่มซาบ (Saab Group)
       
       "กองทัพอากาศ และกองทัพเรือ ร่วมกันทดสอบภาคทะเล ของระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี ระหว่าง บ.erieye, บ.gripen และ เรือหลวงนเรศวรเมื่อดำเนินการเรียบร้อย จะเป็นการบูรณาการสัญญาณเรดาร์ จาก บ.ทั้ง 2 แบบ เข้ากับเรดาร์เรือ เพื่อเพิ่มระยะในการตรวจจับเป้าหมาย และนำไปประกอบการบัญชาการยุทธ, การส่งเป้าหมายและการโจมตีเป้าหมายร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ" กองทัพเรือประกาศเรื่องในในเว็บไซต์ วันอังคาร 22 ก.ย.ที่ผ่านมา
       
       นับเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งในการพัฒนา การบูรณาการระบบเรดาห์ของอากาศยานกับเรือเข้าด้วยกัน หลังจากเมื่อเดือนที่แล้วกองทัพเรือ ประสบความสำเร็จในการใช้ระบบเรดาร์ของสวีเดน ที่ติดตั้งบนเรือหลวงนเรศวร ซึ่งเป็นเรือที่ต่อจากสาธารณรัฐประชาชนจีน บูรณาการเข้ากับระบบ ยิงจรวดอีเอสเอสเอ็ม (Evolved SeaSparrow Missile) ระบบจรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยานประสิทธิภาพสูง ที่ผลิตจากสหรัฐ ยิงทำลายเป้าหมายซึ่งเป็นโดรน ยิงขึ้นจากเรือลำเลียงพลยกพลขึ้นบกสหรัฐลำหนึ่ง ได้อย่างแม่นยำ
       
       นั่นคือเหตุการณ์ที่กลายเป็นไฮไล้ต์สำคัญสำหรับฝ่ายไทย ระหว่างการฝึก CARAT 2015 ไทย-สหรัฐ ที่บริเวณฐานทัพเรือสัตหีบ และ กลายเป็นเหตุการณ์ที่สื่อกลาโหมหลายแห่งรายงานไปทั่วโลก
       
       การเชื่อมต่อระบบข้อมูลสัญญาเรดาร์ หรือ ที่เรียกกันง่ายๆ ทั่วไปว่า ระบบ "ดาต้าลิงค์" ระหว่างเครื่องบินตรวจการณ์เตือนภัยล่วงหน้า Saab 340 AEW&C กับ JAS-39 และ เรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร จะทำให้หน่วยรบทางอากาศ และ บนผิวน้ำ สามารถแชร์ข้อมูลทางยุทธวิธีระหว่างกัน และ "มองเห็นกัน" รวมทั้ง "มองเห็นเป้าหมายร่วมกัน" ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อการอำนวยการรบ
       
       ถึงแม้ว่าสวีเดน จะยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกกลุ่มร่วมพันธมิตรป้องกันแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต้ แต่ประเทศนี้ได้ผลิตระบบอาวุธยุทโธปกรณ์ทุกอย่าง ที่สามารถเข้ากันได้ทุกประการกับระบบของนาโต้ ซึ่งหมายถึงระบบของโลกตะวันตกทั้งมวลรวมทั้งสหรัฐด้วย
       
       ตามข้อมูลของบริษัทผู้ผลิต เครื่องบินตรวจการณ์ Saab 340 ติดตั้งระบบเรดาร์แบบอีริอาย (Erieye Radar System) ซึ่งเป็นระบบเรดาร์ตรวจไกลทางอากาศ เพื่อเแจ้งเตือนล่วงหน้าและควบคุมสภาพ (Airborne Early Warning and Control System - AEW&C) เป็นเรดาร์ระบบแอ็กทีฟสแกนอาเรย์ (Active Electronically Scanned Array - AESA) สามารถมองเห็นในมุมกว้าง 300 องศา ไกล 450 กิโลเมตร มีระยะตรวจจับ 350 กม. ปฏิบัติงานได้ในทุกสภาพอากาศ แม้ในท่ามกลาง "สงครามทางอีเล็กทรอนิกส์" ของฝ่ายต่างๆ ระบบยังสามารถแยกมิตร แยกศัตรูได้อีกด้วย
       
       การแจ้งสิ่งที่ AEW&C มองเห็นหรือตรวจพบ เข้าสู่ระบบเรดาร์ของเครื่องบินรบ และ ระบบเรดาร์ของเรือฟริเกต จะช่วยให้ทุกฝ่ายรู้ตำแหน่งที่ตั้ง และ มองเห็นภัยข่มขู่ลวงหน้า "ระบบดาต้าลิงค์" นี้ ช่วยให้ฝ่ายอำนวยการสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เครื่องบินรบกับเรือรบ สามารถแยกปฏิบัติการโจมตี หรือ ร่วมโจมตีเป้าหมายต่างๆ ได้
       
       ปัจจุบันกองทัพอากาศไทยมี Saab 340 AEW&C ประจำการจำนวน 2 ลำ ได้รับมอบครบตั้งแต่เดือน ต.ค.2555 และ ตามข้อมูลในเว็บไซต์ Saab Group ประเทศอื่นๆ ที่ใช้ระบบ AEW&C บนเครื่องบิน Sab 340 ได้แก่ กรีซ ปากีสถาน สวีเดน (4 ลำ) และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่สั่งซื้อจำนวน 2 ลำ.
       .
 
เป็นประวัติกาล ทัพฟ้า-ราชนาวีไทยทำได้สำเร็จ เชื่อม อีริอาย กริพเพน กับเรือหลวงนเรศวร




ความคิดเห็นที่ 1


ทร.ใช้ระบบอำนวยการรบของซาบ ทอ.ก็ใช้เครื่องบินของซาบ การบูรณาการก็ใช้ Link-T ร่วมกัน ทำไม ทร.ไม่จัดหาโดยเจาะจงเรือดำน้ำ A26 จากซาบสวีเดน ไปเลย จะได้ไม่ต้องมาเสียค่าลิงค์หรือ อัพเกรด พัฒนา เปลี่ยนแปลงระบบจากจีนมาใช้ของตะวันตก ให้กับซาบอีก ถ้า ทร.จัดซื้อยุทโธปกรณ์แบบ ทอ.ที่ซื้อ F-50T กระแสการต่อต้านซื้อเรือดำน้ำคงจะน้อยกว่านี้  

โดยคุณ tommy เมื่อวันที่ 23/09/2015 15:54:15


ความคิดเห็นที่ 2


เรือชั้นนเรศวร เดิมทีก็เป็นเรือจีนนะครับ ยังเอาระบบของซาบมาไส่ได้ ฉันใด เรือดำน้ำจีนก็คือกันฉันนั้น อยากไห้คุยกันก็เอาระบบซาบมาไส่ ก็มุ้มมิ้งกันได้และ 

 

//แก้ไขคำผิดครับ

โดยคุณ YUKIKAZE เมื่อวันที่ 23/09/2015 17:43:06


ความคิดเห็นที่ 3


คนมีอำนาจตัดสินใจเขาไม่คิดขนาดนั้นหรอกครับ  เขาคิดแค่ได้เท่าไหร่ได้อะไร เป็นทุกหน่วยงานรัฐ ไม่ใช่เงิน ตรูซะหน่อย เป็นมาตั้งแต่มีประเทศไทยแล้วครับ  ถ้าเขาคิดถึงประโยชน์สูงสุดบ้างประเทศเราไปไกลแล้วครับ  คนดีไม่มีอำนาจทหารคิดดีๆมีอยู่  แต่พวกตัดสิ้นใจเป็น อีกพวกครับ  อั๊วจะสนใจซะที่ไหน  ฮ่าๆๆๆ(อยากได้มากเรือจีนเอาไหม  ไม่เอาก็ไม่ต้องมี...จบป

โดยคุณ SeriesVll เมื่อวันที่ 23/09/2015 18:52:48


ความคิดเห็นที่ 4


ฮา มีการแก้คำผิดด้วย เหนื่อยแทนแอดมินฯ

ประเด็นคือในเมื่อตอนท้ายจะเอาให้คุยกับระบบซาบได้ก็ซื้อเรือสวีเดนไปเลยสิครับ จะมาตัดต่อพันธุกรรมทำไม ไม่รู้ทั้งซาบกับจีนจะยอมหรือเปล่าเดี๋ยวความลับเทคโนฯของตัวเองรั่วไหล

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 23/09/2015 19:37:25


ความคิดเห็นที่ 5


๕๕๕+ เห็นด้วยกับทั้งสองท่านครับ... ใจจริงอยากให้สวีเดนลุยตลาดกองทัพไทยให้สุดใจ. ประมาณว่า "ขาดทุนไม่ว่า..เอาหน้าไว้ก่อน" จากนั้น..อานิสงค์จะเกิดกับsaabเอง.... ของดี/ราคาพอได้/ร่ำรวยระยะยาว...
โดยคุณ nui-714 เมื่อวันที่ 23/09/2015 20:12:03