เป็นภาพการทดสอบยานเกราะล้อยาง 8x8 IFV ของDTI ครับ ระยะทาง 64 กิโลเมตร สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามลิงค์นี้ครับ ลิงค์อยู่ใต้รูปเเรกครับ ไม่รู้ทำไมก๊อปปี้วางไม่ได้ครับ
ส่วนตัว ผิดคาดมากเลยครับ ตอนที่ตัว mock up เปิดตัวมาผมก็ว่าสวยเเล้วนะ เเต่ยังคาใจอะไรก็ไม่รู้ พอตัวทดสอบออกมาคราวนี้ โป๊ะเชะเลยครับ สวยงาม รูปทรงทันสมัย สวยกว่าตัว mock up มากมายยย เหลือเเค่ติดป้อมปืนเข้าไปก็สวยเลย เอาสัก 30 mm. หรือปืนกล .50 หรือ 7.62 ก็ได้
http://www.thaiarmedforce.com/taf-military-news/58-other-thai-news/651-das2013-dti-8x8-mock-up.html
รถนี่ร่วมมือกับบริษัท ricardo ของอังกฤษในการพัฒนา ให้ผมเดาก็คือให้เขาช่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีรถเกราะนั่นแหละ
ที่ผมแปลกใจคือไม่เคยเห็นการเผยแพร่ข้อมูลด้านนี้เลยจากสื่อไทย
ผมได้ข้อมูลนี้จากการฟลุคอ่านข่าวเจอชื่อบริษัทแปลกๆไม่เคยรู้จักมาก่อน เสิร์ชไปมามันเป็นพาร์เนอร์กับดีทีไอทำรถ black widow spider นี่หว่า
รูปทรงทันสมัย แต่สีสัน ไท้ไทยครับ...คงเป็นความเคยชินของเราคนไทยกับสีรถทหารแบบนี้มันให้ความรู้สึกว่ามัน "เก่า"
มันเป็นแค่สีของรถต้นแบบครับ ท่าน GT500 ก็เหมือนๆ กับ เจ้าOPLOT-M นั้นแหละตัวต้นแบบ สีเขียวดาดๆ แต่พอจะขายส่งไทยก็เพ้นสีเป็นลายพรางเขียวดิจิตอล หรือ ลายอื่นๆได้
จุดที่ผมอยากให้แก้กับรถเกราะคันนี้คือ ระยะห่างความสูงระหว่างล้อกับกันโคลน ตามรูปด้านล่าง ผมว่าถ้าปรับลงให้แคบกว่านี้ซักหน่อย ถ้าไม่เป็นอุปสรรคต่อระยะ ชักของโช็คอัพกับการวิ่งทางวิบากหรือวิ่งบนเนินมากจนเกินไป มันจะดูสมส่วนมากขึ้น
ที่ตรงนั้นมันยกสูงขนาดนั้นเพราะเผื่อติดป้อมหรือเปล่าครับ ถ้าติดป้อมน้ำหนักจะกดลงทำให้เตี้ยขึ้นหรือเปล่า
ช่องว่างขนาดนั้นไม่เยอะหรอกครับ ส่วนใหญ่ก็ไม่ต่างกัน มันต้องเผื่อที่สำหรับโชกหดด้วยครับเวลาลุยทางวิบากๆ ล้อพวกนี้อิสระจากกันหมด
ผมห่วงตรงตัวคันชักหักเลี้ยวมากกว่า ดูมันเล็กไปหน่อยและไม่มีอะไรครอบกันแรงระเบิดไว้(เรียกว่าคับชักหรือเปล่านะ) กลัวมันจะขาดเวลาเจอพวก ไออีดี รูปทรงก็ประมาณบ็อกเซอร์กลายๆถ้าล้อใหญ่กว่านี้สักหน่อยมีเกราะครอบชเพลาขับจะดีเลย
ผมว่ารูปทรงมันดูดีกว่า BTR-3e1 อีกนะ แต่การทดสอบระบบทั้งหมดอันนี้ไม่รู้ต้องคอยดูกันต่อไป ผมว่าคนไทยยังขาดการสนับสนุนจากคนไทยด้วยกันนะ การพัฒนาองค์ความรู้เราถึงหยุดอยู่กับที่ไม่ต่อเนื่อง โครงการนี้อยากให้รัฐหรือกองทัพไทยทุกเหล่าทัพหรือหน่วยงานของรัฐช่วยกันสนับสนุน ถ้าเราไม่เชื่อมั่นหรือไม่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง จะไปตีตลาดในต่างประเทศคงลำบาก หากต้องการจะดำเนินการในเชิงพาณิชย์ และให้ DTI ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้บริษัทเอกชนของไทยด้วยจะได้ช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมทางทหารของไทยด้วยจะได้ลดการพึ่งพาต่างชาติอีกด้วยครับ เห็นแล้วก็ภูมิใจครับที่อย่างน้อยเรื่องรถหุ้มเกราะเราพัฒนาเองได้และดีด้วยแม้ว่าเครื่องยนต์กลไกบางอย่างอาจพึ่งพาต่างชาติบ้าง แต่คิดว่าเรามาถูกทางแล้วครับ
ถ้าเปรียบเทียบกับ BTR แล้วจะเห็นว่าระยะเผื่อระหว่างล้อกับบังโคลนของเค้าน้อยมาก แต่ก็สามารถลุยทางวิบากได้ดี จึงไม่แน่ใจว่า รถเกราะของเราไปอ้างอิงโครงสร้าง เชสซีจากที่ไหนมา ถึงได้สูงและห่างขนาดนั้น
ขอแสดงความยินดีกับการวิจัยพัฒนาที่ออกมาเป็นรูปธรรมครับ
แต่....พัฒนาโดยหน่วยงานวิจัยไทยไหงเป็นรถพวงมาลัยซ้ายแบบตะวันตก หรือเป็นความเคยชิน หรือเป็นเพราะเครื่องยนต์หว่า
เรียนคุณ โอเบวัน ....... ที่เว้นช่องขนาดนั้น เดาว่า น่าจะเกี่ยวกับกระแสน้ำ ที่จะไหลเข้าสู่ใบจักร ครับ............ เจ้านี่ ใหญ่มาก เกือบเท่า เอเอวี-7 เลย เทียว .................. เข้าใจว่า ระวางขับน้ำคงพอสมควรหล่ะครับ มีใบพัดอีกต่ะหาก นาวิก น่าจะสนใจนะ...........
ยานเกราะพวกนี้ ถ้าลำดับญาติกันจริงๆ ยังไม่ใช่ ไอเอฟวี หรอกครับ ยังได้แค่ เอพีซี ................ วิธีสังเกตุง่ายๆของผม หลังจากดูมาหลายตำรา สรุปจบจับใจความเองตามประสาคนคิดน้อย ก็คือ........... ความต่างให้ดูที่ป้อมปืน กับ จำนวน พาสเซนเจอร์ ครับ................... ใดๆ ที่มีป้อมใหญ่ๆ แบบรถถัง มีคนโผล่ขึ้นข้างบนได้ แถมปืนหลักมีสเตบิไหลเซ่อร์ด้วย คือเน้นเอาความรุนแรง ไม่เน้น พาสเซนเจ้อร์ อันนั้นเป็น ไอเอฟวีครับ แต่บางราย ครบตามตำราดูโหงวเฮ้ง แต่เจ้าสำนักเลี่ยงบาลี ถ่อมตัวขอเป็น เอพีซี ก็มี..................... ส่วน บีทีอาร์ ของเรา นี่เอพีซี ล้านเปอร์เซนต์ครับ..................... ใดๆก็ตาม ที่เน้นบรรทุก ป้อมปืนทรงสูง แบบบังคับรีโหมด ต่อให้ปืนใหญ่ยิงเร็วรุนแรงแค่ไหน ก็ให้เป็นเอพีซี ครับ................... แต่เจ้า ว่าที่จรสีห์ ของเราตัวนี้ ถ้าผมจะให้ เป็น แอมฟิเบี๊ยส ก็ยังไม่กล้าครับ ขอดูตอน พุ้ยน้ำหน่อย...........................
....มีใครดูออกไหมครับ....ว่าเครื่องล่าง และเพลาส่งกำลัง เป็นของ
...ไร้ทเมทเทิล เยอรมัน หรือ เทคตรอน แคนาดา (คาดิแลค เกต เดิม) ครับ....
....ดูจากดุมล้อ...รู้สึกว่า.....จะเป็นของ.....ไร้ทเมทเทิล....ยังไงไม่รู้ ...ครับ
....ทั้งเยอรมัน และแคนนาดา เป็นประเทศ ที่ขับซ้ายทั้งนั้น....
....จะปรับเป็นขวาหน่อยก็ไม่ได้ ไม่ค่อยจะลงทุน.. ลงแรงเพิ่ม... เท่าไหร่เลย...
....เน้นมาอย่างไร...ก็ไปอย่างนั้น....
....สนับสนุน..ครับ ยังไงก็ดีกว่า...ไม่มี (น่าจะทำออกมาช้าไป 10 ปี ครับ)
เอ่อ ท่านกบครับ ผมว่าคันนี้ไม่น่าจะสร้างมาเพื่อเป็นเเอมฟิเบียสหรอกครับ ผมว่าเป็นเอพีซีหรือไอเอฟวีอย่างที่บอกเเหละครับ
ผมว่าตัวนี้เหมือน aav มากกว่าครับ เห็นตอนเเรกยังคิดว่าใครเอา aav มาติดล้อหว่า
.....สงสัยจะมี "ไฮดรอลิก" ยกสูงต่ำได้ด้วย.....ว่าไหม...ครับ
.....ดูจากรูปทรงนะ....ถ้ามีจริงนี่....เยี่ยมมากเลย...ครับ
.....รอดู...รายละเอียดกันอีกทีนะ.....ครับ
.....เมื่อไหร่หนอ.....จะประชาผสัมพันธ์ุ (สัมพันธ์) ....เสียที (จะได้ "เฮ" รอบสอง)
....เครื่องล่าง "aav" กับ "แมงมุม" มันไม่เหมือนกันนี่...ครับ
....ดูคล่าวๆ .....ผมว่า ...เครื่องล่าง 2 คันนี้ ไม่เหมือนกันนะ...(คงคนละค่ายกัน)
....เฟิสวิน "เอ" กับ "บี" เครื่องล่างก็ไม่เหมือนกัน....
บร๊ะเจ้า......... เอเอวี ติดล้อตัวนั้น พลขับวิชั่น ผ่านกล้องโทรทัศน์เลยนะครับนั่น................ อีตอนลงน้ำ กล้องทีวีอยู่ใต้แนวน้ำ สงสัยคงนำทางด้วยโซนาร์ กระมัง นั่น............... บร๊ะเจ้า....(อีกครั้ง)
ผมว่าของเราก็ไม่ได้ระยะห่างล้อมากกว่าเจ้าอื่นเท่าไหร่นะ ยิ่งไม่ได้ติดป้อมไม่ได้ขนอะไรไปด้วย............เหมือนล้อมันจะเล็กกว่าเจ้าอื่นด้วยมั้ง
มันไม่ใช่ช่องที่จงใจเว้นไว้ให้แรงระเบิดกระจายออกด้านนั้นหรอกเหรอครับเวลาโดน IED เห็น APC รุ่นใหม่ๆเว้นช่องแบบนี้กันหลายเจ้า ส่วน BTR มันดีไซน์ตั้งแต่เมื่อหลายสิบปีก่อนยุคนั้น IED ยังไม่ฮิตเท่ายุคนี้ที่ว่างมันเลยมีไม่มาก
ผมก็คิดว่าอย่างนั้นเหมือนกัน....ยังใช้ชิ้นส่วนจากแหล่งอื่นอยู่ (ที่เค้ามีการผลิตจริงกันอยู่แล้ว)
.........................
ชิ้นส่วน OEM ของเครื่องล่าง "แมงมุม" น่าจะอยู่ระหว่างการออกแบบและเตรียมงาน "Preproduction" อยู่
ซึ่งการออกแบบชิ้นงาน OEM เป็นหน้าที่ของ Supplier ที่เข้ามารับงาน ตามข้อกำหนดของแบบรวมหลัก
ซึ่งวิธีการพัฒนายานยนต์ในปัจจุบัน ก็เป็นไปตามแนวทางนี้ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นรถอะไร
เป็นการกระจายงาน กระจายความรับผิดชอบ ในการออกแบบในชิ้นส่วนย่อยๆ
แล้วชิ้นส่วนย่อยจะมารวมประกอบเป็น ชุดโมดูลย์ต่างๆ ที่ Teir- 1 อีกที ก่อนส่งมาประกอบขั้นสุดท้าย
การที่จะมีการผลิตชิ้นส่วน OEM ของตนเองหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับลูกค้าด้วย...ครับ
ว่าลูกค้าสนใจจะซื้อจริงๆ..คือมีความต้องการจริงจำนวนเท่าไร...แน่ๆ...ในระยะเวลาหนึ่งที่เหมาะสม
ไม่ใช่ซื้อทีละ 5 คัน 10 คัน ต่อปี.....อย่างนี้ ไม่มี Suppliers ไหน...มารับงานหรอกครับ
เพราะการออกแบบ และสร้างแม่พิมพ์ ต่างๆ มันต้องลงทุนด้วยเงิน และใช้เวลามาก
.......................................
ถ้าไม่มั่นใจในจำนวนจากลูกค้า (น่าจะเป็น ท.บ. และ ท.ร.) อาจไม่จำเป็นต้องมีชิ้นส่วน OEM ของตัวเองก็ได้.....
.........................................
กรณีนี้...ก็ต้องไปซื้อชิ้นส่วน เครื่องล่าง และชุดส่งกำลังของคนอื่นเค้ามาใช้ประกอบแทน (นำเข้าจากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้)
ซึ่งจะว่ากันจริงๆ ก็ประหยัดไปอีกแบบ ไม่ต้องมาเสียเงิน เสียเวลาในการออกแแบบ
และผลิตแม่พิมพ์ สำหรับงาน Forging (แม่พิมพ์สำหรับทุบขึ้นรูปโลหะ)
กรณีนี้....ราคาชิ้นส่วนจะแพงมาก ไม่ว่าจะมาจากยุโรป หรือเมกา ต้นทุนการผลิตก็จะแพง
....................................
แต่ถ้าผลิตชิ้นส่วน OEM เองในจำนวนที่น้อย ต้นทุนชิ้นส่วนก็จะแพงอีกเหมือนกัน (เพราะผลิตน้อย)
อาจมีบางท่านอยากทราบว่า...จำนวนที่ Suppliers สนใจเข้ามาร่วมงาน...นี่ควรมีจำนวนเท่าไร...
ผมคิดว่า...ชิ้นส่วนที่มีมาตรฐานสูง..ราคาค่อนข้างสูง...อย่างนี้ จำนวนไม่ต้องมากนักก็ได้
แต่ควร จะต้องมีความต้องการประมาณ 1,000 คัน บวก (ลบ) 200 คัน ในระยะเวลา 5-6 ปี
(ก็น่าจะเป็นที่สนใจ ต่อ Suppliers ต่างๆ ได้แล้ว)
เพราะมีการใช้ชิ้นส่วน ซ้ำๆ กันในรถคันเดียวกัน และชิ้นส่วนที่พัฒนาออกแบบมาใหม่นี้
สามารถเอาไปใช้ประกอบร่วมในรถบรรทุกหนัก หรือยานยนต์ประเภทอื่นๆ ได้ด้วย
คือออกแบบครั้งเดียวใช้ได้หลายงาน...ครับ
(ชิ้นส่วนที่ว่านี้... เน้นไปที่... ชุดเครื่องล่างยานยนต์ เพลาและชุดส่งกำลัง เท่านั้น ครับ..อย่างอื่น..ยาก..ครับ)
ขอแชร์ข้อมูล นะครับ อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวผมเองล้วนๆ เลยครับ …. ผิดถูกแนะนำกันได้ครับ
สิ่งที่ผมกังวล… ไม่ใช่ผมต่อว่าอุตสหรรมยานยนต์เราไม่แข็งแกร่ง หรือทำไม่ได้นะครับ…. แต่มันอยู่ที่ว่าผู้ผลิตชิ้นส่วนรายใหญ่ หรือผู้ผลิตชิ้นส่วนหลักๆให้กับอุตสหกรรมยานยนต์ไทย กับ ยุทธภัณฑ์ยานยนต์ทางทหาร มันเป็นคนละกลุ่มกันครับ
เพราะผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ หลายใหญ่ๆหรือหลายหลักๆที่มีคนไทยเป็นเจ้าของธุรกิจจริงๆ ที่มียอดขายต่อปีหลายพันล้านบาทนั้น….มีไม่เยอะและ เค้าก็ไม่ได้ลงมาเล่น ในตลาดชิ้นส่วนยุทธภัณฑ์ทางทหาร…..
ดังนั้น ผู้ผลิตชิ้นส่วนทางทหารส่วนมากจึงเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนขนาดกลาง ที่ไม่ได้ทำธุกิจโดยตรงกับผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศไทย ซึ่งพวกเค้าก็มีข้อจำกัดในเรื่องของเงินทุน เครื่องจักรและเครื่องมือในการผลิต ซึ่งจากข้อจำกัดดังกล่าวก็จะนำมาซึ่งปัญหาในด้านการควบคุมคุณภาพในการผลิต และที่สำคัญคือการขาดแคลนบุคลากรที่ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เฉพาะทาง ครับ….
อีกอย่างคือตลาดด้านยุทธภัณฑ์ทางทหารเป็นตลาดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีผู้ซื้อเฉพาะกลุ่ม ซึ่งไม่เหมือนกับการขายรถยนต์ให้กับประชาชนทั่วๆไป ดังนั้นจึงเป็นข้อจำกัดอีกข้อหนึ่งที่ทำให้ทางภาคเอกชนไทย ให้ความสนใจอุตสาหกรรมด้านนี้ค่อนข้างน้อยครับ
สรุปคือ ถ้าเราต้องการที่จะให้อุตสหกรรมด้านนี้เกิดขึ้นได้จริงๆ ผมขอฝากให้ทุกๆฝ่ายไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการเอง หรือภาคเอกชนเองก็ดี ร่วมมือกันอย่างจริงจัง เพื่อเป้าหมายเดียวกันครับ
ปล. ต้องขออภัยด้วยที่ผมพิมพ์ผิดในบางลีลา ครับ
.....ก่อนอื่น ต้องขออธิบาย คำว่า OEM ก่อนครับ...(เด็กๆ อาจไม่เข้าใจ)
Original Equipment Manufacturing หมายถึง ชิ้นส่วนที่เป็นของเจ้าของ Brand
เจ้าของ Brand ก็คือ ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ชิ้นงาน (Parts) ก็คือผู้ออกแบบชิ้นงาน
ซึ่งจะเป็นผู้ออกแบบมาเป็นชุด หรือเป็นโมดูลย์ที่พร้อมใช้งาน...ตามประเภทของงาน
..............................
ตัวอย่างชิ้นงาน เช่น ดุมล้อ, เพลา(shaft) สปริง แอพซอพเบอร์ หรือชุดอะไรก็ตาม
ที่นำมาประกอบเพื่อใช้งานเชื่อมต่อเนื่องกัน ไม่จำเป็นต้องมาจากผู้ออกแบบเดียวกันทั้งหมด
ชิ้นงานจึงกระจายการออกแบบและการผลิตแยกออกไป ตามความชำนาญ ในแต่ละด้าน
.................................
เจ้าของ ฺBrand เวลาผลิตจริงถ้ามีงานในมือมาก ก็สามารถกระจายงานไปว่าจ้าง Out Source ได้อีก
โดยเฉพาะ Process ที่ตัวเองไม่มี ผู้ที่รับงานต่อๆ ไปก็นับเป็น Tier 2, Tier 3 ไปเลื่อยๆ
ปกติกระบวนการทั่วไปก็มีหลักๆ คือ งานทุบขึ้นรูปโลหะ งานชุบแข็ง งานชุบเคลือบ งาน Matchining และอื่นๆ
ซึ่งแต่ละโรงงานไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอย่าง
....เมืองไทยเรามีระดับ TIER 1 เป็นร้อยครับ......แต่ที่ใหญ่จริงๆ มีหลายสิบ......ครับ
....ระดับ Tier 2 มีอีกหลายร้อย.....ครับ
....ระดับ Tier 3 คงมีเป็นพัน......ครับ
.....ระดับ Tier 4 ก็มีอีกประมาณไม่ไหว
....ที่เป็นระดับนำ (Leader ) ในการผลิต จริงๆ ก็ คือ Tier 1 ซึ่งซึ่งเป็นทั้งผู้ออกแบบและแก้ไขปัญหาต่างๆ
..............................................
Tier 1 นี่ละครับ...คือคำตอบที่ท่านสงสัย เค้าคือผู้รวมกลุ่มงานที่อยู่ใน Cluster เดียวกัน
ขอให้มีงานเถอะครับ...เค้ารวมกลุ่มกันได้อยู่แล้ว และเค้ารวมกลุ่มกันอยู่แล้ว (ไม่ต้องห่วง)
ที่น่าห่วงคือ กลุ่มลูกค้าที่เป็น End Usur เอาจริงหรือเปล่า เอาจริงแค่ไหน
มีงานมา มีเงินมา เรื่องการผลิต เป็นเรื่องที่โรงงานต่างๆ พร้อมรับ...ครับ
............................................
เรื่องคุณภาพ เรื่องการควบคุมคุณภาพ ก็เป็นเรื่องที่จะกำหนดกันต่อไป ไม่ยาก..ครับ
จะเห็นได้ว่า....งานที่กระจายกันออกไป เป็นการกระจายทั้งการออกแบบ ความรับผิดชอบต่างๆ
รวมทั้งการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในส่วนที่ตัวเองรับผิดชอบ ซึ่ง Tier 1 เป็นผู้มีบทบาทสำคัญ
มันเป็น Pattern ที่กลายเป็น วัฒนธรรมการผลิตไปแล้ว.....ครับ (เป็นแบบนี้ทั้งโลก..แหละครับ)
.............................
ผู้ออกแบบตัวรถ มีหน้าที่กำหนด Spac ที่ตัวเองต้องการเพื่อให้ชิ้นส่วนต่างๆ สามารถนำมาสวมต่อ
หรือเชื่อมโยงกันได้..โดยสอดคล้องกัน กับแบบรวมหลักของตัวรถ เท่านั้นเอง...ครับ
และมีหน้าที่ประกอบขั้นสุดท้าย โดยมีหน้าที่รับผิดชอบต่อลูกค้า ที่ตัวเองให้บริการ....ครับ
ซึ่งก็สามารถโอนภาระงาน และปัญหาการผลิตออกไปได้มาก
แต่ก็ยังเป็นผู้รับผิดชอบโครงการใหญ่ ซึ่งเป็นโครงการหลัก ....ทั้งหมดเอง (เพราะเป็นเจ้าของแบบตัวรถ)
................................
ชิ้นส่วนบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ทางทหารหรือไม่ ถ้ามันมีอยู่ในท้องตลาดอยู่แล้ว
ก็ไม่จำเป็นต้องออกแบบหรือผลิตใหม่ครับ สามารถสั่งผลิตได้เลย (โดยอาจปรับเล็กน้อยที่จุดเชื่อมต่อใช้งาน)
ซึ่งชิ้นส่วนยานยนต์ทั่วไปกับยานยนต์ทางทหาร บางทีก็ใช้ร่วมกันได้เหมือนกัน
ถ้าไม่สร้างข้อกำหนดที่มันพิศดารเกินไปมากๆ...จนเวอร์ จนไม่มีใครสนใจเข้ามาผลิต
(ทำยาก เกินขีดความสามารถ...ทำแล้วไม่คุ้ม ต่างๆ นานา)
หรือกดราคากันจนเกินขอบเขต.....แห่งความเป็นจริง.................ครับ
..............................................
ทั้งนี้ .... Tier 1 ไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่ในประเทศก็ได้...ครับ ถ้าหาผู้ผลิตที่มีคุณภาพ หรือตอบสนองไม่ได้จริงๆ
Tier 1 ในประเทศก็อาจ Out Source งานไปให้ Tier 2 ที่อยู่ในต่างประเทศก็ได้....ครับ
(Tier 2 จะรับงานจาก Tier 1 , Tier 3 รับงานจาก Tier 2, ช้อนเป็นชั้นๆ ไป.....)
..............................................
ข้อมูลเพิ่มเติม..ครับ
เมืองไทยมีโรงงาน Forging (ทุบขึ้นรูปโลหะ) สำหรับชิ้นส่วนที่ใช้งานหนัก (เหล็กเหนียวทนแรง บิด อัด ดึง กระแทก ได้สูง)
ทั้งใหญ่ กลาง และเล็ก มีอยู่หลายสิบโรงครับ
มีโรงงาน Dicasting (ขึ้นรูปโดยการ หล่อหลอม) สำหรับชิ้นส่วนที่ใช้งานไม่หนัก อีกหลายสิบโรง
โรงงาน ตัด-พับ-เชื่อม มีมากเลย...ครับ โรงงานห้องแถวก็มี
โรงงาน Mechining คือโรงงาน กัด กลึง คว้าน เจาะ ปาด ขัดละเอียด ด้วยเครื่องจักรประเภทต่างๆ
ซึ่งเป็นการขึ้นรูปงานให้ละเอียด ตรงจุดที่ต้องการความเคลื่อนไหวของชิ้นงานนั้น.. มีอีกเป็นร้อย ครับ
................................................
สรุปว่า ไม่เห็นจะต้องลงทุนหาเรื่องจักร เครื่องมืออะไรมาเพิ่มอีก ครับ....
ที่มีอยู่ก็ใช้งานกันไม่หมดแล้วครับ............
...............................................
ที่เหลือ แค่การใช้เงิน กับสมอง และการจัดการ..............ครับ...............
สรุป.........................ครับ
............ปัญหาจริงๆ ..............มันอยู่ที่ "ลูกค้าที่เป็น End User" ว่าจะเอาจริงไหม....................เอากี่คัน....
............นโยบายหลักเป็นอย่างไร......
............และ Leader ที่เป็น ผู้พัฒนายานยนต์ตัวนี้ และเป็นผู้ประกอบรายสุดท้าย ว่ามีความสามารถแค่ไหน......ครับ
............คือ ...."อึด" แค่ไหน.....หรือแบบ สบายๆ (ประเภทลมโชย ชายทุ่ง)
............จะเอาง่ายๆ แบบนำเข้าชิ้นส่วนสำเร็จ...ที่มี Supplier หลักผลิตขายอยู่แล้วจากต่างประเทศ
............หรือจะใช้ชิ้นส่วนในประเทศให้ได้มากที่สุด แบบเกาหลี หรือญี่ปุ่น (ซึ่งผลิตเอง 100%) ซึ่งเค้า "อีด" จริงๆ
............จบ.........แค่นี้ครับ (ขอบคุณที่ติดตามอ่าน ความคิดเห็น ครับ)
น่าใช้
ลองเทียบกันดูแบบตรรก กับรถตัวอื่นๆ แผ่นกันหัวทิ่มขนาดใหญ่, ระวางขับน้ำมาก(ฝาถังลอยสูงจากระดับน้ำ), ใบจักร และ ซุ้มล้อที่มีช่องว่างมาก................
.