หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ทัพฟ้าไทยได้เพื่อนอีก สวีเดน-บราซิลฉลุย Gripen NG ล็อตใหญ่ 36 ลำ

โดยคุณ : top4 เมื่อวันที่ : 14/09/2015 18:35:10

ทัพฟ้าไทยได้เพื่อนอีก สวีเดน-บราซิลฉลุย Gripen NG ล็อตใหญ่ 36 ลำ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
11 กันยายน 2558 05:22 น. (แก้ไขล่าสุด 11 กันยายน 2558 08:51 น.)
ทัพฟ้าไทยได้เพื่อนอีก สวีเดน-บราซิลฉลุย Gripen NG ล็อตใหญ่ 36 ลำ

สยาย ปีกสู่อเมริกาใต้ด้วยล็อตใหญ่ 36 ลำ กลุ่มซาบกับกองทัพอากาศบราซิล ประกาศในวันพฤหัสบดี 10 ก.ย.ที่ผ่านมา เดินหน้าข้อตกลง เตรียมตั้งสายการผลิตในประเทศนั้น นับเป็นการเปิดตลาดในทวีปใหญ่ครั้งแรก ไม่ต่างกับครั้งที่ทัพฟ้าไทยได้เป็นผู้ใช้ JAS 39 "กริพเพน" รายแรกในย่านเอเชียเมื่อ 5 ปีก่อน. -- ภาพ : Saab Group.
       
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - กลุ่มซาบแห่งสวีเดน ออกแถลงในวันพฤหัสบดี 10 ก.ย.นี้ว่า สัญญากับรัฐบาลบราซิลได้เริ่มมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์แล้ว และจะเริ่มการผลิตเครื่องบินรบ JAS39 “กริพเพน” รุ่นล่าสุดระหว่างปี 2563-2567 ในข้อตกลงมูลค่า 39,900 ล้านโครนา เงินสวีเดน หรือประมาณ 4,780 ล้านดอลลาร์ รวม Gripen NG จำนวน 36 ลำ ซึ่งเป็นการขายเครื่องบินรบรุ่นใหม่ล็อตใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
       
       “สัญญาได้เริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว หลังจากเงื่อนไขที่ต้องการต่างๆ สามารถบรรลุได้ในวันนี้” กลุ่มซาบระบุในคำแถลงฉบับหนึ่งที่ออกในกรุงสตอกโฮล์ม ซึ่งหมายถึงสัญญาความร่วมมือที่ทั้งสองฝ่ายเซ็นกันเมื่อปีที่แล้ว และเข้าสู่การเจรจาทำข้อตกลงในรายละเอียดที่ครอบคลุมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการตั้งโรงงานผลิต “กริพเพ่น เอ็นจี” ในประเทศนั้น
       
       สัญญากับบราซิลเป็นการเปิดตลาด JAS39 ครั้งแรกในย่านอเมริกาใต้ ไม่ต่างกับการเปิดตลาดในทวีปเอเชีย ซึ่งกองทัพอากาศไทยเป็นลูกค้ารายแรก สั่งซื้อล็อตแรก จำนวน 6 ลำ เมื่อปี 2551 เป็น Gripen C ที่นั่งเดี่ยว 2 ลำ กับ Gripen D สองที่นั่งอีก 4 ลำ โดยซาบได้ทยอยส่งมอบในปี 2554 และต่อมา ในเดือน พ.ย.2553 ไทยสั่งซื้อเพิ่มอีกล็อตหนึ่ง จำนวน 6 ลำ ได้รับมอบครบทั้งหมดในปลายปี 2556 และยังแสดงความต้องการจะซื้ออีกอย่างน้อย 6 ลำในล็อตต่อไป
       
       ภายใต้สัญญากับบราซิลนั้น บริษัทผู้ผลิตจะต้องถ่ายทอดทั้งโนว์ฮาว และเทคโนโลยีเครื่องบินรบให้แก่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของบราซิล รวมทั้งรับเจ้าหน้าที่ กับวิศวกรบราซิลไปฝึกอบรมที่แหล่งผลิตในสวีเดน โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือน ต.ค.นี้เป็นต้นไป กลุ่มซาบ กล่าว
       
       กริพเพนได้รับการยอมรับเป็นเครื่องบินรบดีที่สุดรุ่นหนึ่งของค่าย ยุโรป ผลิตขึ้นมาเพื่อภารกิจทางอากาศ และอากาศกับภาคพื้นดินอย่างครบวงจร รวมทั้งการบินสอดแนม บินตรวจการณ์ การโจมตีเป้าหมาย การบินลาดตระเวณ และการทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์ โดยกริพเพนติดระบบแอ็กทีฟสแกนเรดาร์ (AESA) และระบบติดตามค้นหาแบบอินฟราเรด ติดระบบดาตาลิงก์ ปฏิบัติการร่วมกับเครื่องบินเตือนการล่วงหน้า กับเรือรบ กับเครื่องบินรุ่นอื่นๆ ยังเป็นเครื่องบินรบขนาดเล็กที่มีความเร็วสูง ใช้ทางวิ่งขึ้นลงสั้นๆ ซ่อมบำรุงรักษาง่าย และต้นทุนต่อเที่ยวบินต่ำ
       .
       
       .
       
       .
       .
 
ทัพฟ้าไทยได้เพื่อนอีก สวีเดน-บราซิลฉลุย Gripen NG ล็อตใหญ่ 36 ลำ

ภาพ วันที่ 19 พ.ค.2558 ระหว่างการฝึก Lion Effort ที่ฐานทัพอากาศซาสลาฟ (Caslav) สาธารณรัฐเช็ค ซึ่งเป็นการชุมนุมกริพเพนครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เป็นการฝึกร่วมครั้งที่ 3 ระหว่างประเทศผู้ใช้ในยุโรป ซึ่งทุกครั้งมีการเชิญตัวแทนผู้ใช้ JAS 39 จากทวีปอื่นๆ ไปร่วมสังเกตการณ์-ร่วมฝึกด้วย หลายปีข้างหน้า อาจจะมีฝูงใหญ่ข้ามฟ้าไปจากบราซิล. --NATO HQ AIRCOM/Christian Timmig.
       

2


       ซาบได้พัฒนา “กริพเพน E” ขึ้นมาเป็นซีรีส์ใหม่เมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ ซึ่งกลายมาเป็น กริพเพน NG ในวันนี้
       
       ปัจจุบัน JAS39 รุ่นต่างๆ เป็นเครื่องบินรบหลักของกองทัพอากาศสวีเดน ซึ่งยังไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มนาโต้ และต้องเผชิญต่อการรุกล้ำน่านฟ้าโดยเครื่องบินของรัสเซียอยู่เป็นระยะๆ ตลอดหลายปีมานี้ นอกจากไทยแล้ว ประเทศที่ใช่้กริพเพนในปัจจุบันยังประกอบด้วยชาติสมาชิกนาโต้อีก 2 ประเทศ คือ สาธารณรัฐเช็ก และฮังการี กับกองทัพอากาศแอฟริกาใต้ และอังกฤษที่นำไปใช้ใน Empire Test Pilots' School หรือโรงเรียนฝึกนักบินไอพ่น
       
       อินเดีย เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ให้ความสนใจกริพเพนอย่างจริงจัง และได้เริ่มเจรจากับกลุ่มซาบเพื่อขอซื้อล็อตใหญ่ ภายใต้เงื่อนไขคล้ายกันกับบราซิล คือ จะต้องตั้งโรงงานผลิตในอินเดีย นักวิเคราะห์ลงความเห็นก่อนหน้านี้ว่า ความสำเร็จในการเจรจาระหว่างซาบกับบราซิล จะเป็นตัวอย่างทำให้อินเดียตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
       
       ก่อนหน้านี้ กองทัพอากาศอินเดียได้ตกลงซื้อเครื่องบินแบบราฟาล (Rafale) ที่ผลิตโดยบริษัทดาซอลต์ (Dassault) ประเทศฝรั่งเศส เป็นจำนวนกว่า 100 ลำ ในแผนการจัดหาเป็นเวลา 20 ปี แต่ต่อมา ได้ลดจำนวนลงเหลือไม่กี่สิบลำ ซึ่งหลายฝ่ายกล่าวว่า การเจรจากับกลุ่มซาบมีส่วนทำให้อินเดียเปลี่ยนความตั้งใจ.




ความคิดเห็นที่ 1


จะเห็นได้ว่า จากการเทคออฟ และลง มีระยะทางสั้นมาก เคยลองเทียบกับเรือธงของเราไหมว่าขึ้น-ลงมีระยะพอให้จอดได้ จากคลิปเห็นว่าระยะทางสั้นมากๆ ในทางทฤษฏีมีความเป็นไปได้ไหม ถ้าได้ เราเอี่ยวกับ saap มีความเป็นไปได้เนี่ย จะมี grippen sea ไหมนา

โดยคุณ yamano เมื่อวันที่ 11/09/2015 16:17:24


ความคิดเห็นที่ 2


ต่อให้มีก็ใช้ไม่ได้ยกเว้นต่อเรือใหม่ครับเพราะไม่เช่นนั้นต้องปรับปรุงใหม่หมดทั้งลิฟท์ดาดฟ้าเพราะเรือเราถูกออกแบบมาให้รองรับบ.ปีกตรึงแค่AV8

โดยคุณ Batnight เมื่อวันที่ 14/09/2015 10:12:15


ความคิดเห็นที่ 3


เต่าไร้กอกก วิหคไร้รัง....................   ทร. ยากที่จะมีรถถังพอๆกับไอพ่นรบกระมัง..................    กรณี เอ-7 น่าจะชัดเจนกว่าจัมพ์เจ็ท............

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 14/09/2015 15:57:18


ความคิดเห็นที่ 4


         มิติของ Jas-39 กับ Sea Harrier ถือว่าใกล้เคียงกันนะ Jas ปิกยาวกว่าประมาณ 80 ซ.ม. ถ้าพัฒนาเป็น Sea Grippen จริงพับปีกได้อาจจะลงลิฟท์ได้ก็ได้ ส่วนความยาวลำตัวนั้นแทบจะเท่ากันคือ Jas สั้นกว่า 10 ซม. นน. ตัวเปล่า Jas ก็หนักกว่า Harrier แค่ 500 กก. นน.เกินมาไม่ถึงตันผมว่าลิฟท์น่าจะออกแบบเผื่อไว้นะ ปัญหาคือเรื่องความสูงที่ Jas ดูจะสูงกว่ามากคือ 4.5 เมตร กับ 3.7 เมตร และเรื่องระบบลงจอดเช่น สลิงเกี่ยว ซึ่งเรือ จักรีฯ ไม่มี

       อีกประการคือที่เห็นในคลิปว่ามีระยะวิ่งขึ้นที่สั้นมากนั้น เป็นการวิ่งขึ้นตัวเปล่าๆโดยไม่ได้ติดตั้งอาวุธซึ่งก็ไม่แน่ว่าถ้าติดตั้งอาวุธเต็มที่แล้วจะบินขึ้นจาก 911 ได้รึเปล่า

     ผมสรุปว่าตอนนี้มันยังไม่มี Sea Grippen ตัวเป็นๆออกมาให้เห็น เราก็ยังคาดเดาอะไรไม่ได้แต่ถ้ามีตัวจริงออกมาแล้ว รูปร่างมิติของเครื่องยังเท่าเดิม หรือเล็กกว่าเดิม หรือเบากว่าเดิม ก็มีลุ้นที่จะใช้ประจำเรื่อจักรีได้ เพราะว่าขนาด และน้ำหนักไม่ได้ต่างกันมาก อาจต้องปรับปรุงเรือแต่คงไม่มาก คิดว่าเป็นไปไม่ได้เหมือนกับท่านอื่นๆ แต่ก็แอบจิ้นนิดๆ................

 

                             

โดยคุณ GT500 เมื่อวันที่ 14/09/2015 18:35:10