วันที่ 30 ส.ค.58 เรือหลวง นเรศวร ได้ทำการทดสอบยิงอาวุธ ESSM ( EVOLVED SEASPARROW MISSILE ) ที่ CELL 4 ( จากแท่น VLS ช่องด้านบนซ้ายมือสุด ) ผลการยิง ESSM เป้าหมาย DRONE ที่ปล่อยมาจาก U.S.S. GERMAN TOWN เป้าหมายถูกทำลายเรียบร้อย ที่ระยะยิงประมาณ 9 nm.
ขอบคุณครับ...แต่กระทู้ชนกันซะงั้น
ขออนุญาตลบกระทู้ก่อนหน้านี้ครับ จะได้ไม่ซ้ำกัน ขอบคุณครับ
ดูจากเป้าแล้วน่าจะเป็น bqm-74 (เดาว่ารุ่น E) ซึ่งมีความเร็วสูงสุดประมาณ 0.82 มัค ความเร็วกับขนาดก็ใกล้ๆอาวุธปล่อยนำวิถีทำลายเรือของฝั่งตะวันตกที่มีความเร็วราว 0.9 มัค
http://www.dtic.mil/ndia/2006targets/VanBrabant.pdf
จาก link ดังกล่าวก็เดาว่าน่าจะเป็นโครนรุ่นเดียวกันที่สิงค์โปร์ใช้ทดสอบยิงเป้าครับ
วันที่ 30 ส.ค.58 เรือหลวง นเรศวร ได้ทำการทดสอบยิงอาวุธ ESSM ( EVOLVED SEASPARROW MISSILE ) ที่ CELL 4 ( จากแท่น VLS ช่องด้านบนซ้ายมือสุด ) ผลการยิง ESSM เป้าหมาย DRONE ที่ปล่อยมาจาก U.S.S. GERMAN TOWN เป้าหมายถูกทำลายเรียบร้อย ที่ระยะยิงประมาณ 9 nm.
คลิปการยิงของ ESSM ( EVOLVED SEASPARROW MISSILE ) (เจ้าจรวดนกกระจอกทะเลวิวัฒน์ของท่านกบ มาแล้ว)
https://www.facebook.com/prthainavy/videos/vb.659408270777199/1022364971148192/?type=2&theater
ที่มา กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
https://www.facebook.com/prthainavy?fref=photo&hc_location=ufi
ไม่ทราบว่ามีติดตั้งอยู่กี่ลูกอะครับบนเรือหลวงนเรศวร เต็มอัตรา 8 cell 32 นัดเลยเปล่าครับ
ท่าน lfazuru เท่าที่รู้เราซื่อครั้งแรกมา 9 ลูก ใช้ไป 1 ลูก หลือ 8 ลูกครับ
03/07/2556 19.15 น. ThaiArmedForce.com - BAE Systems ได้รับสัญญาเพื่อผลิตท่อยิงจรวด ESSM ส่งมอบให้กับกองทัพเรือไทย
Jane's รายงานว่าบริษัท BAE Systems ประกาศว่าได้รับสัญญาในการผลิตท่อยิงจรวดแบบ Mk.25 Mod 0 Quad Pack Canisters จากกองทัพเรือไทยเพื่อนำไปใช้งานกับจรวดพื้นสู่อากาศแบบ RIM-162 Evolved SeaSparrow Missile หรือ ESSM
Mk.25 Mod 0 Quad Pack Canisters เป็นท่อยิงที่จะถูกติดตั้งกับระบบท่อยิงทางดิ่งแบบ Mk.41 Vertical Launching System ซึ่งจะถูกติดตั้งบนเรือชุดเรือหลวงนเรศวรภายใต้โครงการปรับปรุงเรือชุดนี้
ทั้งนี้ ระบบอาวุธและระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่กองทัพเรือไทยจัดหาจากสหรัฐมีมูลค่า 40,327,024 เหรียญสหรัฐหรือราว 1,200 ล้านบาทสำหรับเรือทั้งสองลำ ตัวอย่างของระบบอาวุธและระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตในสหรัฐเช่น ระบบเฝ้าฟังทางอิเล็กทรอนิกส์ (ESM) แบบ ES-3601 ของ ITT Exelis ระบบท่อยิงทางดิ่งแบบ Mk.41 ของ Lockheed Martin จรวดพื้นสู่อากาศ RIM-162 RSSM ของ Raytheon เป็นต้น โดยระบบอื่น ๆ นั้นเป็นการจัดหาจากประเทศในยุโรป เช่นสวีเดน อิตาลี เดนมาร์ค เป็นต้น
ในเดือนสิงหาคมปี 2555 สำนักงานความร่วมมือทางทหารของสหรัฐหรือ Defense Security Cooperation Agency (DSCA) ได้แจ้งต่อสภาคองเกรสถึงการขายจรวดพื้นสู่อากาศแบบ ESSM จำนวน 9 นัด พร้อมท่อยิง Mk.25 3 ชุด และ ท่อเก็บจรวด Mk. 783 จำนวน 4 ชุด
ที่มา http://thaiarmedforce.com/taf-military-news/54-rtn-news/555-rtn-signed-loa-for-essm.html
เอามาเต็มเซลล์ยังไงก็ยิงได้แค่ครั้งละ 2 เป้า เป้าละ 2 นัด ครับ ค่อยๆทะยอยจัดหาดีกว่าครับ จะได้ ทะยอยหมดอายุด้วย ตังค์ ทร มีไม่มากครับ
ที่ว่ายิงได้แค่ทีละสองเป้า เป้าละสองนัดนี่คือขีดจำกัดของระบบเหรอครับ แบบว่าชี้เป้าได้แค่ทีละสองเป้าและควบคุมอาวุธปล่อยได้แค่สี่ลูกพร้อมกัน
ขอบคุณท่าน ThaiPc53 มากครับ
ขอถาม
-เฉลี่ยลำละ 4 ลูก อยู่นเรศวร 5 ตากสิน 4 ทดสอบ1 ที่ นเรศวร ใช่ไหมครับ
-แล้วท่อVLSที่ว่างจะมีอะไรใส่อีกไหมครับ
-จากกระทู้เก่ามันเยอะจนยากตามหาเห็นป๋าจูเคยโพสไว้ แบบนี้ ใส่ VL ASROCK ได้ไหมครับ
-ถ้ากองทัพเรือมีงบประมาณกับเรือชุดนเรศวร ESSM 32 นัด เกินความจำเป็นไปไหมเพราะ ซันโวได้แค่ชุดละ2ลูก
-แบบนี้ถ้าเรือชุดนเรศวรโดนโจมตีจากจรวดร่อน สัก 4 ลูกอัตรายิง ชุดที่ 1ต่อชุด 2นัด จะมีเวลาเพียงพอยิงชุดที่2 เพื่อสกัดกั้นไหมครับ
-ที่ระยะทดลอง 9 nm เนี่ยกี่เมตรครับ ? (nm = นาโนเมตร)
เรือหลวงรัตนโกสินทร์ของเรา (ซึ่งติดจรวดต่อสู้อากาศยานจริงๆ) ยิงได้ทีล่ะ1เป้าเป้าล่ะ1นัดแล้วก็พลาดอยู่บ่อยๆ เพราะเรดาร์ควบคุมการยิงค่อนข้างล้าสมัยสำหรับคุมจรวดแล้ว เรือหลวงนเรศวรได้เท่านี้ผมถือว่าดีมากที่สุดเท่าที่งบประมาณลงไปแล้วครับ
อยากได้ซัลโวเป็นชุดไม่หยุดต้องไปเรือพิฆาตเอจิสของอเมริกาเลยครับ (ถ้าคุณไม่รังเกียจประเทศนี้นะ) เทียบกับเงินบาทตอนนี้4หมื่นล้านบาทต่อลำเอาอยู่ไหมเนี่ย ไม่ก็ไปType 052D ของมหามิตรที่จะมาสร้างทางรถไฟให้เราเต๊อะ
ท่าน superboy ก็กล่าวแรงไปที่ผมตั้งคำถามไม่ได้ต้องการดูถูกในตัวเรือหลวงนเรศวรหรือประเทศเลยครับ แต่ผมไม่ทราบจริงๆว่าเราควรจัดหาให้ครบ 32 ลูกหรือไม่ (คำถามที่1)และที่ตั้งคำถามถึง asrock เพราะจำไม่ได้ว่าของเราใส่ได้หรือไม่ไปหาในกระทู้เก่าก็ยาวมากบางอย่างก็ไม่เข้าใจ อีกอย่างครับ เพราะเวลาแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้ใหญ่จะได้คุยถามกันรู้เรื่อง ส่วนเรื่องการตั้งสถานการณ์ลูกจรวดร่อน ผมคิดว่าถ้ายิงมาเป็นชุดเราจะพอรับมือไหวไหมแค่นั้น ไหวไม่ไหวก็ไม่ว่าอะไรเพราะนี่คือเรือรบของเรา (ร้อนตัวนะครับ) ถ้าทำให้ท่านขุ่นเคืองก็ขอโทษด้วยครับ
-ที่ระยะทดลอง 9 nm เนี่ยกี่เมตรครับ ? (nm = นาโนเมตร) ไมล์ทะเล ครับไม่ใช่นาโนเมตรโ ที่ระยะยิงประมาณ 9 nm. ระยะยิง 9 ไมล์ทะเล ก็ 16.695 กิโลเมตร ครับ
1 ไมล์บก เท่ากับ 1.609 กิโลเมตร
1 ไมล์ทะเล เท่ากับ 1.855 กิโลเมตร
ที่ไม่เท่ากันเพราะต้องการให้ความยาวของไมล์ทะเลเท่ากับความโค้งของผิวโลก
ที่มาของ 1 ไมล์ทะเล
คือเอาเส้นรอบวงโลกเฉลี่ย มาคิดเป็น 360 องศา
1 ลิปดาของเส้นรอบวงโลกเฉลี่ย คือ 1 ไมล์ทะเล
วิธีคิด 1 ไมล์ทะเล
รัศมีโลกเฉลี่ย 6378 กิโลเมตร
เส้นรอบวงโลกประมาณ 40074.156 กิโลเมตร หารด้วย 360 องศา
และ 1 องศา หารด้วย 60 ลิปดา
จะได้เป็น 1 ลิปดา เท่ากับ 1.855 กิโลเมตร
นั่นคือ 1 ลิปดา เท่ากับ 1.855 กิโลเมตร เท่ากับ 1 ไมล์ทะเล
ที่มา https://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20080824043826AAZajBc
แนะนำให้ไปอ่านที่ TAF ครับสำหรับเรือหลวงนเรศวร ทุกคำถามของท่านจะกระจ่างครับ มีทุกคำตอบ
จรวดจะแม่นไม่แม่น อยู่ที่เรดาร์ควบคุมการยิงด้วย อันนี้ถูกต้องและแน่นอนที่สุด กรณี เรดาร์สแกนอิเลคทรอนิคส์ แบบเพ้าลส์สมบูรณ์แบบ แถมมีกำลังแรงมากๆ ย่อมมองเห็นเป้าหน้าตัดน้อยๆได้ไกล และที่สำคัญคือ มีความสามารถแยกแยะเป้าที่บินต่ำเรียดเฉียดน้ำ แบบไม่มีเอฟเฟคจากพื้นน้ำ ............. ส่วนจะยิงได้ทีละกี่เป้า อันนี้ก็อยู่ที่ความสามารถของการแทรคกิ้งแต่ละเรดาร์ กรณีเป็นจานหมุนส่าย อาจแทรคได้หลายเป้าในเซคเตอร์เดียวกัน (มุมมองเดียวกัน) ทั้งนี้ก็อยู่ที่ระบบประมวลผล แต่ถ้าอยู่คนละมุม ก็ต้องอาศัยหลายๆจาน............. เฟสอาร์เรย์ เป็นการกวาดโดยอิเลคทรินิคส์ การติดตามเป้าสามารถสลับกันได้ไปมาอย่างรวดเร็ว แต่ถ้ามากันคนละวิว ก็ต้องมีหลายอาร์เรย์เหมือนกัน อย่างที่เห็นๆบนเรือฟรีเกตเบบเป็นโดมเสากระโดงก็มี 4 อาร์เรย์ .......... ติคอนโดฯ กับ อาเลย์เบิร์ก มีจานใหญ่มหึมา แปะอยู่หน้าเก๋ง .............. แบบนี้ถ้าเป็นเพศผู้หญิงก็ต้องเรียกว่า "ทรงแม่พันธ์" บิ๊กบึ้ม ให้น้ำนมเยอะ...................
~~ ระบบ CMS แบบ 9LV ของ SAAB สามารถ tracking ได้ 2 เป้าในเวลาเดียวกัน และยิงซ้ำได้ด้วยเพื่อกันพลาดเนี่ย ผมว่ามันก็ OK แล้วครับ
(แต่เดิมผมคิดว่ามัน Tracking ได้แค่เป้าเดียวด้วยซ้ำ) ถ้าเรือนเรศวรกับเรือตากสินทั้งสองลำออกรบพร้อมกัน ถ้ามองโลกในแง่ดี มันสามารถ trackingได้ถึง 4 เป้า และบวกกับเรือใหม่อีกสองลำในอนาคต 4+4 = 8 ยังไงผมก็มองว่าเหนือกว่าประเทศเพื่อนบ้านเราละครับ ยกเว้น สิงคโปร์
กรณีของเรือชุด รัตนโกสินทร์ ซึ่งติดแซมแอสปิเด้ ใช้เรดาร์ควบคุมการยิงแบบ 25 มีติดตั้งอีกในเรือชุด ราชฤทธิ์ ปราบปรปักษ์ รุ่นนี้ใช้ควบคุมจรวดได้ จะต่างจากรุ่น 22 ซึ่งมีในเรือชุด ตาปี รล.มกุฏราชกุมาร ตรงแบบหลังนี้ ควบคุมได้แค่ปืน........... ที่นี้มามองว่า จรวดที่มีใช้ตอนนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นแบบปราบเรือ คือ ฮาร์พูน เอ็โซเซ่ต์ และ แกเบี้ยล พอเอามาควบคุมแซมก็น่าจะมีปัญหาตอนเป้าโคจรวิถีต่ำ.......................มีต่อ
จะเห็นว่า ระบบป้องกันภัยทางอากาศ แบบคลาสสิค จะเริ่มต้นด้วยแซมพิสัยไกล ควบคุมด้วยโฮมมิ่งเรดาร์ ลดหลั่นลงมาตามระยะ จนมาสุดลงตรงปืนควบคุมการยิงด้วยออปโตรนิคส์ เป็นปราการด่านสุดท้าย คือที่สุดแล้ว เอ็งจะพรางหลอกเรดาร์ได้เก่งแค่ไหน เอ็งก็หลอกสายตาตรงๆ ไม่ได้หล่ะฟะ................... เรือชุดรัตนโกสินทร์ ก็เช่นเดียวกัน อัลบราทรอส ป้องกันภัยทางอากาศระยะใกล้ควบคุมด้วย เซมิแอคติฟโฮมมิ่ง (ไม่เกิน สิบกิโล) แต่ที่สุด ปราการด่านสุดท้าย ก็เป็น 40 แท่านคู่ยิงเร็ว ควบคุมด้วย เรดาร์/ออปโตรนิค แบบไลร็อด............................ เรือฟริเกตุยุคใหม่ ที่ติดเรดาร์กลั่นๆ แซมเจ๋งๆ เดี๋ยวนี้มักเอาใจออกห่าง ฟาลังซ์ซะแร้ว ยกตัวอย่าง รล.นเศวรเป็นต้น................. เจ้าปืน 30 มม. ที่เรียก โคลสอิน เวปป้อนส์นั้น หาใช่ป้องกันลูกปล่อยระยะประชิดไม่ หากแต่ใช้ ป้องกันเรือยนต์เรือเอี้ยมจุ๊นที่เข้ามาเฉียดๆ อย่าได้หลง.................ทั้งนี้และทั้งนั้น สาเหตุจาก แซมและ เรดาร์กลั่นๆ ที่มุดต่ำสอยเป้าร่วงได้ นี่เอง.................. สิ่งที่สังเกตุได้คือ สเตียร์ ที่ผมเคยคิดว่าแจ๋วสุดตอนมาด้วยกันใหม่ๆนั้น สงสัยต้องเปลี่ยนความคิดเสียแล้ว...........
ไหน อยู่ไหน เรือเป็นๆอยู่ไหน เอามาให้ดูทีซิเออ...................... เรือยังไม่ได้ต่อเลย จร้า.............. จะให้ติดโตมาฮอว์คก็ได้...............
.
สิง1
มาเล
.
มาเล.
ของดีไม่มีอะไรมาก ดูของพี่สิงสิ จานเจินไม่มีอะไรมากมายซับซ้อน สายอากาศจำนวน 4 อาร์เรย์ ขนาดไม่เล็ก บนยอดโดม ใช้ทั้งตรวจจับ ติดตาม ควบคุมการยิง แค่ชุดเดียว............... ส่วน แซม เอสเตอร์รุ่นยาว ระยะยิงกว่าร้อยกิโลนั้น ชื่อมันคือ แอนตี้ มิสไซล์ มิสไซล์ แค่นี้คงบ่งบอกคุณสมบัติเรดาร์และลูกจรวดว่ามันจะมุดต่ำได้แค่ไหน.................หมดยุค จานสายอากาศหมุนติ้ว โดมตุ่ม พรุงพรัง .........ไฮเอนด์ ตัวจริง ต้องใสเรียบแปร้ สมกับเป็นสเต้ว..............ที่สำคัญ จานเฟสอาเรย์ ต้องใหญ่ ถึงไม่เท่า อาเรย์เบิร์ อย่างน้อยก็เท่า ฟอมิดาเบิ้ล........... นี่แหล่ะ ไฮเอนด์ ระดับภูมิภาค
ขออภัยนะครับ ไม่ได้ตั้งใจเอามาเปรียบกับ รล.นเรศวร นะครับ.......... เพียงแต่ความเห็นในชุดล่างๆนี้ อยากชี้ให้เห็นระบบเรดาร์และอาวุธของเรือรบ ไฮเอนด์ยุคใหม่ ที่เพื่อนๆท่านหนึ่งยกขึ้นมากล่าว..............
- จรวดตระกูล Aster มีระบบนำวิถีอยู่ในตัวจรวดด้วยเลยไม่ใช่เหรอครับ Inertial guidance ราคามันถึงได้แพง 2.5 - 3.5ล้านเหรียญต่อนัด
- เรดาร์ที่แปะบนตัวเรือรบอเมริกาเป็นเรดาร์ตรวจการณ์3มิติตระกูล SPY-1 ขณะที่เรดาร์ควบคุมการยิงเป็นตระกูล SPG-62 ซึ่งก็ยังต้องหมุนติ้วๆๆๆอยู่ไม่ใช่เหรอครับ
- ช่วงนี้มัวแต่คุยกับสาวไม่ค่อยได้ติดตามข่าวสารมากนัก นี่ผมพลาดอะไรไปหรือเปล่า !!
ผมไม่แน่ใจว่าไอ้ 9LV มันแทร็คได้แค่ 2 เป้า
แทร็คก็เรื่องนึง นำวิถีก็เรื่องนึงนะครับ น่าจะเป็นเรื่องการนำวิถีมากกว่าที่คุมเข้าเป้าทีละสองเป้าในเวลาเดียวกัน ซึ่งข้อจำกัดอีกอันคือไอ้เรดาร์ควบคุมการยิงมันมีไม่กี่อัน อย่างเรือชั้น ticonderoga กับ arleigh burke ก็มีแค่คนละสามสี่จานติดหน้าหลัง
เรื่องการเลือกติดเรดาร์มันก็แล้วแต่นะครับ
ผมมองว่าสิงคโปร์แกทำไม่เหมือนชาวบ้านแค่นั้นเอง ไม่ได้แปลว่าดีกว่า เช่นไม่มีระบบป้องกันระยะประชิดแบบแอ็คทีฟ มีแต่เป้าลวง
ส่วนประเทศยุโรป เรือต่อใหม่ๆก็ยังนิยมมีเรดาร์อเนกประสงค์ สามดี ตัวหลัก มีเรดาร์ตรวจการระยะใกล้อีกตัว แล้วก็ติดเรดาร์ควบคุมการยิงหน้าหลัง เยอะแยะเหมือนกัน
อีกอย่างการเอาเรือหลวงนเรศวรมาเป็นตัวอย่างของเรือฟริเกตยุคใหม่ตัวกลั่นๆเจ๋งๆ ผมว่าไม่ใช่แล้วล่ะครับ ตอนนี้เรียกว่าพอไปวัดไปวาได้ดีกว่า เรือใหม่ๆถึงไม่มีฟาลังซ์แต่ก็มักติด RIM-116 แทน
แหม ถ้าจรวดมันนำวิถีด้วยตัวเองได้ทุกลูกก็ดีสิครับ ไม่ต้องวุ่นวายหาเรดาร์ควบคุมการยิง.............. ท่านเหมือนกำลังจะบอกว่า เอสเตอร์ไม่จำเป็นต้องใช้เรดาร์ไฟร์คอนโทรน คือ ตวจจับแล้วป้อนข้อมูลเป้า ปล่อยจรวด จากนั้นเข้าสู่โหมด แรงเฉื่อยเต็มรูปแบบ (วงเล็บนี้ได้แก้ไขเพิ่มเติมภายหลัง ตามที่ท่านบอกว่า จรวดสามารถนำวิถีได้เอง ซึ่งก็คือไม่ต้องการสัญญาณใดๆจากเรือยิง) รอจนเรดาร์ที่หัวจรวดจับเป้าได้เองแล้วล็อคเข้าเป้ามาย............... ฟังดูก็น่าจะเป็นไปได้ถ้า
1. เป้าอยู่ใกล้มากๆ การนำวิถีเบื้องต้นด้วยแรงเฉื่อยเป็นไปได้ เพราะโอกาสที่เป้าจะเปลี่ยนวิถี เปลี่ยนความเร็ว แล่นซิกแซก มีน้อย...........แต่ถ้าเป้าอยู่ไกล และใช้เวลาโคจรนาน โอกาสเปลี่ยนแปลงมีมาก ถามหน่อยครับ แล้วถ้าไม่มีระบบเซนเซอร์ใดๆให้ข้อมูล จรวดมันจะรู้มั๊ยครับนั่น....?????
2. เรดาร์ที่หัวจรวดมันนิดเดียว กำลังส่งก็น้อย จานก็เล็ก กว่าจะแทร็คเป้าเองได้ มันต้องเข้าไปใกล้มากแล้ว ประเภทไปได้แค่ครึ่งทาง หรือเหลืออีก เป็นสิบยี่สิบไมล์ เรดาร์ที่หัวจรวดมันมองเห็น หรอครับ...อีนี้ผมสงสัย...............มีต่อ
ครับ เรดาร์สปาย เฟสอาเรย์เป็นเรดาร์ตรจจับและติดตาม ส่วนเรดาร์ไฟร์คอนโทรลแยกต่างหาก ก็เหมือนกับของเรือแดวูเรานี่หล่ะครับ และก็คล้ายๆกับเรือหลวงนเรศวร ก็ไม่ได้หมุนติ้วๆ เพียงแต่ถ้ามันรวมอยู่ในเรดาร์ตรวจจับและติดตาม มันก็เรียบแปร้ ไม่เป็นตุ่มปม ให้สะดุดสมกับคอนเสปสเต๊ว เหมือนของสิงคโปร์...............มีต่อ
ประเด็นทั้งหมด ที่ร่ายยาวมา ต้นเรื่อง คือมีบางท่านค้างคาใจในเรื่อง ซีไอดับบลิวเอส บนเรือยุคใหม่ๆ .............. ระบบ เรดาร์ไฟร์คอนโทรล เชื่อได้มาก ตรวจจับติดตามเป้าได้แม่นยำแม้บินซิกแซกระดับต่ำ จรวดก็เอกอุ เรือใหม่ๆเลยลืม ฟาลังซ์ ทีนี้เคลียร์ละเนาะ.....
Herakles is a passive electronically scanned array multi-function radar manufactured by Thales Group. It is installed on board the FREMM multipurpose frigates and the Formidable-class frigates of the Republic of Singapore Navy.
It has a track capacity of 200 targets and is able to achieve automatic target detection, confirmation and track initiation in a single scan, while simultaneously providing mid-course guidance updates to the MBDA Aster missiles launched from the ship
แต่ Herakles ไม่ใช่ continuous wave, illumination radar จึงไม่สามารถ controls the target illumination for the terminal guidance ได้
จรวด Aster มีวิธีการทำงานแบบนี้ซึ่งความจริงผมว่าทุกคนรู้นะครับ ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าจะพูดให้มันยากทำไม
จรวดต่อสู้อากาศยาน(ส่วนใหญ่)จะแม่นยำหรือไม่ขึ้นอยู่กับเรดาร์ควบคุมการยิง แล้วไอ้เรดาร์ควบคุมการยิงที่สามารถนำวิถีจรวดให้วิ่งกระทบเป้าหมายได้จริงๆและเป็นรุ่นแปะกอเอี๊ยะมันแพงระยับทั้งนั้น จะมีรุ่นที่"อาจจะ"ถูกหน่อยก็คือ Ceamount ซึ่งเรือหลวงนเรศวรเราก็ใช้ Continuous Wave Illumination จาก CEA บริษัทเดียวกันประสิทธิภาพจึงควรจะใกล้เคียงกัน ถ้าเอาCeros200มาติด4ลูกเท่ากับที่Ceamountฝังผมว่าก็ไม่ได้ต่างอะไรกันเท่าไหร่ แต่เรือเรามันจะติดได้ยังไงกันในเมื่อเป็นเรือจีนจากยุค1980โน่น เรือฟริเกตDSMEลำใหม่นี่ยังพอลุ้นหน่อย
Herakles ดีไหมก็ดีนะครับ แต่มันใช้กับ ESSM ไม่ได้และเราก็ไม่ได้เลือก Aster ว่าแต่เรดาร์รุ่นนี้ก็หมุนติ้วๆๆๆนี่ครับ 60รอบต่อนาที.
ทานโทษ ผมว่าชักจะไปกันใหญ่ แล้วมันเกี่ยวอะไรกับเรือหลวงนเรศวรครับ................ผมยังไม่ได้เอาอะไรไปเปรียบกับเรือหลวง นเรศวรเลย ถ้าเป็ยสมัยผม คงต้องวางกระป๋องกาว(เดี๋ยวนี้คงไม่มีใครดมแล้ว) แล้ว ลองอ่านใหม่แต่ต้นกันดีกว่า ตกลงว่าประเด็นคืออะไร?????
ท่านครับ การทำงานของจรวดแบบโฮมมิ่งไม่ว่าใดๆ ประกอบด้วยการแทร็คกิ้งโดยเรดาร์ ป้อนข้อมูล อินนิเที่ยล จากนั้นจึงยิงออกไป .................... ตลอดวิถีการโคจร จะมีการอัพเดทข้อมูลอยู่เป็นระยะ หรืออาจไม่มีเลยก็ได้(วงเล็บนี้เพิ่มเติมภายหลัง ..เฉพาะกรณีแอคตีฟโฮมมิ่งแบบยิงแล้วลืม) แล้วแต่ว่าการเคลื่อนที่ของเป้ามีความแน่นอนหรือไม่ ถ้าเคลื่อนที่เป็นวิถีด้วยความแน่นอน ตรงนี้ก็วางใจ ปล่อยให้จรวดเคลื่อนที่แบบแรงเฉี่อยเพื่อหาทิศทางที่ได้โปรแกรมดักไว้ จากนั้นเมื่อเข้าไปได้ใกล้จนเรดาร์ของจรวดล็อคเป้าได้ ก็ปล่อยเป็นหน้าที่ของมัน อันนี้เข้าเรียกแอคทีฟโฮมมิ่ง แบบไฟร์แอนด์ ฟอร์เก็ท...................แต่ถ้าวิถียังไม่แน่นอนยังงัยก็ยังต้องอัพเดท.....................การอัพเดทคือยังงัยก็ได้ให้จรวดรับรู้สถานการแบบเรียวไทม์.................... จะเป็น ไกด์แดนซ์แบบเส้นลวดเหมือนโทว์ เซมิแอคตีฟโฮมมิ่ง แบบไต่ตามซิกนั่ล หรือจะ เป็นการอัพเดทสถานะข้อมูลจากเรดาร์ ทุกอันมันก็คือการอัพเดท ไม่ใช่ แบบแรงเฉื่อยอย่างที่ท่านตั้งประเด็น.........(วงเล็บนี้ ได้แก้ไขเพิ่มเติมภายหลัง ตามที่ท่านบอกว่า จรวดนำวิถีได้เอง ซึ่งถ้านำได้เองก็ไม่จำเป็นต้องอัพเดท มันก็กลับไปสู่โหมดแรงเฉี่อย ไฟร์แอนด์ฟอรเก็ต ซึ่งก็อีกหล่ะ ถ้าเป้าอยู่ไกล มีการเปลี่ยนแปลงเวคเตอร์เคลื่อนที่กระทันหัน จรวดมันจะรู้ได้ยังงัย มันก็พลาดเป้า)........................ ไม่ได้คิดอะไรให้ยากเลยครับ ของมันเป็นยังงัย คิดยังงัยมันก็วนอยู่ในหัว................... วางป๋องกาว หรือ ใบกระท่อมก่อนดี.............
ประเด็นคือ จรวดแซมยุคใหม่ สามารถป้องกันตัวเองจากจรวดเรียดน้ำได้ ระบบป้องกันระยะประชิดฮาร์ดคิวเลยไม่ถูกใช้...เรือตัวอย่างคือ เรือสิงคโปร์ เรือลีเกียว มาเลย์ เรือ นเรศวร .........นี่คือประเด็น.......การยกตัวอย่าง เรือสิงคโปร์นี่ ชี่ให้เห็นชัดๆ ว่ามันเจ๋ง จนไม่ต้องมี ฟาลังซ์ ........... โอเค ป่าวครับ....................
ก็ถูกของท่าน superboy นะครับ เพราะว่าปกติเรดาร์ควบคุมการยิงใช้นำวิถีช่วงสุดท้ายเท่านั้น (terminal guidance) ระหว่างนั้นเรดาร์หลักสามารถทำการ mid course-update ได้เพราะ อย่างที่ท่านกบบอกเองว่าเป้าอาจะมีการเปลี่ยนความเร็ว,วิถี
โดยทั่วไปถ้าระบบอำนวยการรบที่โหดๆอย่างอีจีสสามารถยิงมิสไซล์แอนตี้แอร์รัวๆได้เลย แต่สามารถยิงเข้าเป้าในเวลาเดียวกันไม่กี่ลูกจากข้อจำกัดเรื่องจำนวนของเรดาร์ควบคุมการยิง ส่วนลูกที่ยังไม่เข้าใกล้เป้าก็ให้เรดาร์หลักคอยอัพเดทเส้นทางให้ไปก่อน รอเข้าคิว
ส่วนของสิงคโปร์ผมก็เพิ่งมาสังเกตว่าไม่มีเรดาร์ควบคุมการยิง ก็คงเป็นเพราะใช้แอสเตอร์นี่แหละเพราะมีระบบแอคทีฟโฮมมิ่ง (essm เป็นเซมีแอคทีฟ)
เพราะเท่าที่ผมเคยศึกษาดู เรือชั้นฟอร์มิดาเบิ้ล เสาหลังจะเป็นระบบสื่อสาร ระบบ iff กับระบบสงครามอิเล็กทรอนิค
แต่... คงจำกันได้ไม่กี่ปีก่อนที่พี่สิงแกทำการอัพเกรทเรือชุดนี้ มีการจัดคอนฟิกฯต่างๆ เช่นติดจรวดต่อต้านเรือได้ 24 ลูก ฯลฯ แล้วตอนนี้สิงคโปร์ก็มีติด stir แล้วนะเออ...ก็ไม่รู้จะติดไว้ทำไมในเมื่อมิสไซล์เป็นแบบแอคทีฟโฮมมิง
ตอนแรกตำแหน่งเหนือสะพานเดินเรือติดอีโอ
ตอนหลังเอา STIR ใส่แล้วเขยิบอีโอไปบนยอดเสานู่น
ส่วนประเด็นที่ว่าสมัยนี้ระบบควบคุมการยิงมิสไซล์ป้องกันตัวพัฒนาขึ้นกว่าแต่ก่อนมากมีความน่าเชื่อถือสูง อันนี้ผมเห็นด้วย ฟาลังส์คนใช้น้อยลงแต่ก็ไปใช้ CIWS อื่นเช่น RIM-116 หรือปืนประเภท millenium gun ที่ก็ถือเป็นปตอ.อเนกประสงค์ (ที่สามารถทำหน้าที่ปตอ.ได้จริงๆเป็นเรื่องราวมากกว่า DS30) ส่วนเรือที่ไม่ติดเช่นสิงคโปร์ส่วนใหญ่ก็ติดระบบเป้าลวงแบบครบเซ็ทมาก มาเป็นชุดคิดกับเป้าลวงหลากหลาย แพงกว่าฟาลังซ์เปล่าไม่รู้
จบเรื่อง ฟาลังซ์ ถ้าจะว่าเรื่อง จรวด ตกลง มันก็แค่เรื่อง แอคตีฟ/เซมิแอคตีฟ โฮมมิ่งเรดาร์...........ผมไปนั่งวางป๋องกาวแล้วทบทวนความหลังความรู้เก่าๆ ก่อนจะหยุดพักไปจีบสาว ในเรื่อง แอคตีฟ/เซมิแอคตีฟโฮมมิ่ง พอสรุปได้ว่า
1.เอสเตอร์ หรือ พวกอำรามทำงานด้วยแอคทีฟโฮมมิ่งเรดาร์ คือ การสั่งงานอัพเดทด้วยเรดาร์/การเคลื่อนที่โดยโปรแกรมแรงเฉื่อยในขั้นแรก ต่อเมื่อเรดาร์ที่หัวจรวดแทร็คเองได้ จึงเข้าสู่แอคทีฟโฮมมิ่ง
2. อีเอสๆเอ็ม / สแปร์โร่ว์ พวกนี้ทำงานด้วย เซมิแอคตีฟโฮมมิ่ง คือ จรวดจะอัพเดทสถานะด้วยคลื่นเรดาร์ที่เรือ/เครื่องบิน แพร่ออกจับเป้าเป็นซิกนั่ล ต่อเมื่อ เรดาร์ที่ตัวจรวดจับเป้าได้จึงเข้าสู่แอคตีฟโฮมมิ่ง
ดังนั้น อีเอสๆเอ็มแบบเซมิแอคตีฟ แอสปิเด้ ซีสแปร์โร่ว์ ต้องอาศัยจานแพร่คลื่น ในส่วน เอสเตอร์ อีเอสๆเอ็มบางรุ่น สแตนดาร์ด มาร์ค???(จำไม่ได้) พวกนี้เป็น แอคตีฟโฮมมิ่ง จึงใช้งานร่วมกับเอจีส หรือ เฟสอาเรย์ หรือ เรดาร์หมุนกวาดบางรุ่น ได้เลย................ ด้วยเหตุนี้ จึงจับ อีเอสๆเอ็มธรรมดา ไปใช้กับเฟสอาร์เรย์ไม่ได้ ยกเว้นรุ่น แอคตีฟ...............
สเตียร์ ติดไว้ สำหรับฮารพูน....(มั้ย)
.
แจ๋มมากท่านกบ
stir ไม่น่าติดให้ฮาร์พูน เพราะก่อนหน้านั้นก็มีฮาร์พูนอยู่แล้วไม่เห็นต้องติด stir
นอกจากนี้ฮาร์พูนยังใช้ระบบนำวิถีช่วงสุดท้ายเป็นระบบแอ็คทีฟอีก
หรือเอาไว้คุมปืน? ก็น่าจะใช้เรดา์หลักได้
ปืนกระบอกนี้แต่เดิม ควบคุมการยิงด้วย ออปโตรนิคส์ ก็คือเจ้าสเฟียร์กลมๆนั่นแหล่ะ................ พี่สิงแกร่ำรวยมหาศาล แกเลยเอาสเตียร์มาติดแทนในตำแหน่งนั้น ถ้าบอกว่าเอามาควบคุมปืนก็คงไม่ผิด เพราะดูแล้ว ระบบเป็นแบบผสม เรดาร์/ออปโตรนิคส์................แต่ถ้าจะบอกว่าเอามาคุมปืนอย่างเดียวก็ แหม่ะ............... จะรวยล้ำใช้ของเกินขนาด ...................... เจ้าเสตียร์ตัวนี้ น่าจะใช้ร่วมกันระหว่างปืนเรือ และ ฮาร์พูน เหมือนกับเรือชุดนเรศวรของเราเมื่ออดีต.................. จริงอยู่ ฮาร์พูน ทำงานได้ในโหมด แอคตีฟโฮมมิ่ง (ต่างจากกาเบี้ยลรุ่นแรก) แต่ที่สังเกตุ ทุกชาติที่ใช้ฮาร์พูน ต่างใช้งานร่วมจานแพร่คลื่นเรด้าร์ (ขอแก้เป็น ไฟร์คอนโทรลเรด้าร์ แหม่ ตั้งแต่ย้อนมาแก้ได้นี่ มันจริงๆขอบอก) ทั้งนั้น ............. การนำไปใช้งานแบบ แอคตีฟโฮมมิ่งเต็มรูปแบบอาจมีจุดอ่อน ก็ต้องหวนกับมาใช้วิธีเดิมๆ.....................
เอาแล้วๆ จิ้นกันอีกแล้ว อย่างนี้ผมชอบ
ในความคิดโดยส่วนตัวของผม คิดว่าการติดตั้ง Stir เพิ่มเติมของเรือสิงคโปร์ Formidable เพื่อเพิ่มระบบ FCS ทำงานร่วมกับ IFF เพื่อให้ ASTER มีความแม่นยำและสามารถทำการแยก แยะศัตรู กับฝ่ายเดียวกับเราด้วยน่าจะสมเหตุสมผลมากกว่านะ
แต่ก็สามารถนำมาใช้ควบคู่กับปืน แคลิปเบอร์ ได้เช่นเดียวกัน (เองจะเหนือเกินไปแล้วนะสิงคโปร์ อิจฉาวุ้ย)
อันouhเป็นโบชัวร์ระบบ Stir 1.2 รองรับระบบ Mk2 ไม่ใช่รุ่นเดัยวกันกับบนเรือ Formidable นะครับ แต่รูปแบบคล้ายกัน ต่างกันเรื่องอ็อพชั่นบางตัว
บนเรือของสิงคโปร์เป็นแบบ STING Mk.2
อ่าถ้าตาม ใบพับนี้ บรรทัดที่ 6 จากล่าง บอกว่า การแพร่คลื่นเป็น ออปชั่น .... ถ้าตามนี้ เรดาร์เดิมๆ ควบคุมอาวุธนำวิถี เซมิแอคตีฟไม่ได้ (แอสปิเด้ สแปร์โรว์ หมดสิทธิ์) ................ แต่บรรทัดถัดๆมา บอกว่าใช้ควบคุมการยิง จรวดได้ ............ ถ้าเป็นตามนี้ ฮาร์พูน ใช้ด้วยได้ (ซึ่งคงต้องได้อยู่แล้ว ขนาด โับบลิวเอ็ม 25 ของเรายังควบคุมได้) .................. แต่ที่สงสัยคือ มันสามารถ ใช้คู่กับ เอสเตอร์ได้ด้วยเลยหรือ ??????
กรณีคงคล้ายๆ ดับบลิวเอ็ม-25 ที่ติดตั้งบนเรือราชฤทธิ์ ใช้ควบคุมการยิง เอ็มๆ-38 เอ็กโซเซต์ ซึ่งเป็นแบบแอคติฟโฮมมิ่ง
ขณะที่ ดับบลิวเอ็ม-25 ที่ติดตั้งในชุด รัตนโกสินทร์ ใช้ควบคุม แอคตีฟโฮมมิ่ง ฮาร์พูน และ เซมิแอคตีฟโฮมมิ่ง แอสปิเด้ อันนี้ต้องแพร่ลำคลื่นได้...............
เออใช่เนอะ ท่าน กบ. มันเป็นระบบ Mk2. นี่เนอะ มันใช้ร่วมกับ ESSM ได้เท่านั้น
แหม่ซื้อ Stir มาเพื่อ FCS กับ Hapoon และ ปืนแคลิปเบอร์ มันจะเกินไปแล้วนะ สำหรับเรือFormidable เนี่ย
เพิ่มเติมอีกนิด เหตุผลที่ว่านำระบบ FCS มาใช้ร่วมกับ Hapoon ก็จะเป็นเหตุผลในเรื่องของระบบสงครามอิเล็ทรอนิกส์ที่ไฮเท็กมากขึ้นใช่หรือไม่ คือถ้าใช้ Active homing จากตัวมิสไซด์ อาจโดน Decoy และ ระบบ ESM, ECM บนเรือฝ่ายตรงข้ามเล่นงานเอาได้
Heraklesมันก็หมุนนะครับ
Aster 15/30 เป็นจรวดactive radar เรดาร์เรือทำหน้าที่ตรวจจับ, trackเป้า แล้วก็ทำmid-course uplink พอเข้าระยะหัวจรวดจะเปิดเรดาร์แล้วก็วิ่งตามเป้าหมายเอง เหมือนAMRAAMนั่นล่ะครับ (SM-6ของใหม่ของสหรัฐก็เป็นแบบนี้) ใช้กับเรดาร์ได้หลายแบบไม่ว่าจะเป็นArabel (จำbandไม่ได้), Herakles (S-band) , EMPAR (C-band) หรือ SAMPSON (S-band) เป็นแบบหมุนหมดทุกอัน
ในขณะที่ESSM (และSM-2) เป็นจรวดsemi active radar homing (คล้ายๆAIM-7) ต้องมีเรดาร์ไว้ตรวจจับ, trackเป้า แล้วก็ไว้ทำcontinuous wave illumination (CWI) เช่นใช้เรดาร์AN/SPY-1 (S-band fixed) กับAN/SPG-62 (X-band), เรดาร์APAR (X-band fixedทำทั้งตรวจจับแและควบคุมการยิง), เรดาร์CEAFAR (S-band fixed) กับ CEAMOUNT (X-band fixed), เรดาร์Giraffe AMB (C-band) กับ Ceros 200 (ผมจำbandไม่ได้), เรดาร์Smart-S (S-band) กับ STIR 1.8/2.4 (X/Ka-band) ฯลฯ
AMBเป็นC-band ทำMid-Course ให้ESSM(และSM-2)ไม่ได้ เลยต้องยิงแบบhome-all-the-wayครับ ก็คุมจรวดได้จำนวนเท่านั้นล่ะ (ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดนะ)
เท่าที่ผมทราบ ตอนนี้STING EO มีใช้เป็นคคย.ของปืนเท่านั้น (เรดาร์+EO) (เช่นเดียวกับLirod)
https://www.thalesgroup.com/sites/default/files/asset/document/DS022_09_06%20STING%20EO%20Mk2%20screen.pdf
อันนี้เป็นลิ้งค์ กับ ดาต้าชีท ของสติง ครับ หากมีข้อสงสัย ก็ลองส่งจดหมายติดแสตมป์ถามทาเลสเค้าดู ตามที่อยู่ข้างล่างครับ........ สมองนอกจากจดจำแล้ว ถ้าเข้าใจมัน ก็เอามาคิดวิเคราะห์ แล้วมันจะเป็นตัวของเรา ความคิดของเราเอง ผิดถูกค่อยว่ากันครับ ค.ว.ย. คิดวิเคาะห์แยกแยะ ช่วยกัน ดีครับ ..............
เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ลงนามเซ็นต์สัญญาไว้แล้ว สเปคก็กำหนดไว้ชัดเจนว่าติดตั้งระบบและอาวุธอะไรบ้าง Phalanx , DS-30MR จึงไม่ใช่เรื่องมโนแต่อย่างใด เพ้อไปได้นะ โทมาฮอว์ค เฮ้อออออ
แล้วที่เอาของเพื่อนบ้านมาโอ้อวดสรรพคุณ ก็กรุณาหาข้อมูลให้รู้แจ้งก่อนนะครับ Herakles เป็นจานสายอากาศแบบหมุนติ้วๆ และมีจานรับส่งสัญญาณแค่แผ่นเดียว...นะจ๊ะ ไม่ใช่ 4 ด้าน กรุณาอย่า...มโน มั่วเอาเอง
ครับ ไม่มะโนก็ไม่มะโน.....
ข้อมูลนี้เพิ่มเติมภายหลัง................ท่านเขียนโพสแรกเรื่องระบบ ฮาร์ดคิลล์ ผมไม่ลังเลเลยที่จะสวน ไม่ใช่ผมพูด(เขียน)พล่อยๆนะครับ ถ้าท่านอายุเท่าๆผม หรือมากกว่าผม อาจจะทันสมรภูมิเล่มละ 15 บาท ออกเป็นอาทิตย์ (จริงๆผมทันตั้งแต่ 7 บาท)...............ถ้าท่านเปิดไปเจอหน้านึงในเล่มนั้น จะเห็นสเปค และเลย์เอ้าท์ ของเรือชุดรัตนโกสินทร์ ปรากฏภาพที่เราเห็นชินตาเหมือนยุคนี้ .........แต่ที่แตกต่างไปกว่าคือ มันมีฟาแลงซ์ติดอยู่ตำบลหลัง ฮาร์พูนครับ...............แต่จนแล้วจนรอดที่ผมรู้จักเรือชุดนี้ ก็ยังไม่มีฮาร์ดคิลที่ดีกว่า 40แท่นคู่ นั่นตัวอย่างแรก.............สิ่งที่ผมเห็นต่อมาก็คือ เรือชุด รล.นเรศวร ต่อไปจนถึงเรือธงอย่าง รล.จักรีนฤเบศร ทุกอย่างไม่ได้เป็นไปตามเสป็ค เนื่องจาก ธรรมชาติการจัดหาของทร.ไทย จะแยกสัญญากันระหว่างตัวเรือกับอาวุธ........นี่ข้อนึง
อีกข้อนึงคือ ตั้งแต่ท่านเห็น ทร.ต่อเรือมา ท่านแทบจะไม่เห็น ทร.ไทยเสียตังค์ซื้อระบบ ซีไอดับบลิวเอส ด้วยเงินตัวเองนะครับ ที่มีก็เห็นแต่เรือธงบรรทุกฮ. ที่เจียดซื้อ แซดรัล มา 3 ระบบ ซึ่งถ้ามองกันในชั้นก็ถือว่าค่อนข้างจุ๋มจิ๋มนะครับ............. ที่ตอบช้าต้องมาตอบทีหลังเนื่องจากเสียความรู้สึกจนไม่อยากต่อล้อต่อเถียง แต่ถ้าคราวนี้ ได้มาจริงๆ ก็ขอยินดีด้วย และขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ
เข้ามาช้าไปนิดนึงครับ จนเลยเถิดกันไปค่อนข้างไกล แต่ขอเคลียร์ประเด็นหลักๆ 2-3 เรื่องดังนี้
อวป.Aspide ของเรือคอร์เวต ถึงจะเก่าแต่ก็ไม่เคยเห็นมีปัญหาเรื่องความแม่นยำนะครับ และมีโหมดการยิงแบบ Salvo เป้าละ 2 ลูกเหมือนกัน (ทร.เราก็เคยฝึกยิงโหมดนี้) แต่ที่ต้องปรับปรุงใหม่คือเรื่องระยะยิงซึ่งสั้นไปนิดสำหรับมาตรฐานการป้องกันภัยทางอากาศในปัจจุบัน
ส่วนเรื่องเรดาร์กับการนำวิถีอาวุธปล่อย แบ่งได้เป็น 2 ประเด็นย่อย คือประเภทของเรดาร์ กับประเภทการนำวิถี
ประเภทของเรดาร์แบ่งตามการทำงานหลักๆ ได้ 2 แบบ คือเรดาร์ตรวจจับและติดตามเป้า (พวกเรดาร์เดินเรือ, เรดาร์ตรวจการณ์ และเรดาร์อากาศ) กับเรดาร์ควบคุมการยิง ซึ่งจะว่าไปก็ทำงานคล้ายๆ กัน ต่างกันที่เรดาร์ตรวจจับและติดตามเป้าจะกวาดไปเรื่อยๆ เมื่อเจออะไรก็ติดตามไว้ (โดยยังคงกวาดไปเรื่อยๆ อยู่) และสามารถส่งเป้าที่ติดตามให้กับระบบอื่นๆ ได้
ส่วนเรดาร์ควบคุมการยิง แบ่งย่อยไปได้อีกเป็นเรดาร์ควบคุมการยิงแบบ Track While Scan (TWS) สำหรับควบคุมการยิงปืนต่อเป้าพื้นน้ำ โดยเรดาร์แบบนี้จะกวาดเร็วขึ้นกว่าเรดาร์ตรวจจับและติดตามเป้าทั่วไป เพื่อ Update ข้อมูลเป้าได้เร็วพอในการแก้กระสุนตก กับเรดาร์ควบคุมการยิงอีกแบบจะเป็นแบบที่หันชี้ติดตามเป้าที่ต้องการเพียงเป้าเดียว ซึ่งสามารถใช้ควบคุมปืนและอาวุธปล่อยนำวิถีแบบ Semi-Active ที่ต้องการคลื่นเรดาร์ที่ชี้ตามเป้าอยู่ตลอดเวลา
ต่อมาในส่วนของการนำวิถีลูกอาวุธปล่อยฯ แบ่งเป็นแบบ Active กับ Semi-Active และ Passive (จริงๆ มีแบบอื่นย่อยไปอีก แต่ขอไม่พูดถึง) โดยอาวุธปล่อยที่นำวิถีแบบ Active นั้น ใช้การปล่อยคลื่นเรดาร์จากตัวเองโดยไม่ต้องอาศัยคลื่นเรดาร์จากภายนอก บางครั้งเรียกว่า Fire and Forget คือยิงไปแล้วลืมไปได้เลย ไม่ต้องไปคอยติดตามเพราะลูกอาวุธจะทำงานด้วยตัวเองทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่อาวุธปล่อยฯ แบบนี้จะยังไม่เปิดเรดาร์แต่แรก โดยระหว่างเดินทางจะไปด้วย Inertial Guidance จนเข้าไปถึงพื้นที่ค้นหาเป้าแล้วค่อยเปิดเรดาร์ แต่ในกรณีของ Aster แถมให้พิเศษคือมี Uplink ช่วยส่งค่าแก้ให้ระหว่างขั้น Inertial Guidance ด้วยเผื่อเป้าหันเลี้ยวไปจากเดิม
กรณีของ Harpoon ก็เป็นอาวุธปล่อยฯ นำวิถีแบบ Active คือรับค่าเป้าครั้งแรกจากเรดาร์อะไรก็ได้ จากนั้นจะทำงานโดยอิสระโดยไม่ต้องมีเรดาร์ควบคุมการยิงและไม่ต้องมีการติดตามเป้าโดยเรือยิง
การนำวิถีแบบ Semi-Active จะคล้ายกับ Active แต่แทนที่ลูกอาวุธปล่อยฯ จะปล่อยคลื่นเรดาร์ด้วยตัวเอง จะใช้คลื่นเรดาร์จากเรดาร์ควบคุมการยิงของเรือยิง ซึ่งเรดาร์ควบคุมการยิงจะต้องชี้ติดตามเป้าอยู่ตลอด แต่ในแบบนี้ก็อาจไม่จำเป็นต้องใช้คลื่นเรดาร์แต่แรก คือสามารถยิงออกไปเป็น Inertial Guidance ก่อนแล้วค่อย Illuminate เป้าทีหลังได้ (ในกรณีของ SM2) แต่ถ้าเป็นอาวุธปล่อยฯ ระยะสั้นจะต้องมีเรดาร์ชี้เป้าอยู่ตลอดเนื่องจากระยะเวลาไม่พอ ส่วนเรื่องข้อจำกัดเรื่องจำนวนเป้าที่ยิงได้จะอยู่ที่จำนวนเรดาร์ควบคุมการยิงที่ต้องชี้เป้าอยู่ตลอดเวลามากกว่า ซึ่งพอแก้ไขได้ด้วยการยิงออกไปก่อนแล้ว Illuminate เฉพาะตอนใกล้จะถึงเป้าเท่านั้น
สุดท้ายการนำวิถีแบบ Passive เรียกได้ว่าเป็น Fire and Forget อีกประเภทหนึ่ง แต่กรณีนี้ไม่ต้องใช้การปล่อยคลื่นเรดาร์เลย ใช้การรับสัญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งจากตัวเป้าเอง เช่นคลื่น Radar (เช่น AGM-88 Harm) หรือ IR (Sadral) ข้อด้อยของการนำวิถีประเภทนี้คือมีระยะยิงไม่ไกลมาก โดยเฉพาะในกรณี IR เพราะต้องจับสัญญาณจากเป้าให้ได้ก่อน
หวังว่าจะพอช่วยเคลียร์ข้อสงสัยได้บ้างครับ
ถ้าเช่นนั้ก็แสดงว่า มีโอกาสมากที่ทร.จะจัดหาอวป. Aspide 2000 มาบรรจุแทนที่อวป. Aspide รุ่นเดิมที่น่าจะใกล้หมดอายุในไม่ช้า แต่ก็ยังแอบลุ้นว่าอาจจะมีความเป็นไปได้ที่จะนำเอาอวป. ESSM มาใช้กับระบบ Albatros และระบบคคย. WM-25 mod.41 CWI หรือไม่...???
ปล.เรามโนกันแบบมีเหตุผล ข้อมูลที่ถูกต้อง และมีความเป็นไปได้ กันดีกว่าครับ "ท่านกบ"
แหม่ท่าน ถ้าบอกว่าที่ผมพูดไปไม่มีข้อมูล ผมก็ยอมท่านหล่ะครับ....... ท่านเขียนน้อย ผมก็ไม่รู้ว่าท่านคิดอะไร แต่ท่านลองอ่านของผมให้หมดจริงๆสิครับ
ท่านลองกลั่นดีๆ คนพูดน้อยน้ำลายบูดจะไม่เคยพูดผิดเลย แล้วท่านลองดูด้วยหลักการณ์เหตุผล ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์สิครับ ผมเถียงคนมาเยอะ ทุกวันนี้ผมก็ผ่อนสั้นผ่อนยาว คนที่ดูแลมีมาก พูดมากบางทีสุขภาพจะไม่ดี. แต่มีอยู่ข้อนึงครับถ้าตรงไหนผิดจะไม่ดันทุรัง อันนี้เวลามันสอนผมแล้วครับ สิ่งแรกคือมองตัวเองว่าผิดตรงไหน
aspide มันจะหมดอายุเมื่อไหร่เหรอครับ
มีอยู่ข้อนึงครับ ที่ผมอยากจะเผยความรู้สึกเพื่อนๆ ผมชอบเข้าไปในเวบทางทหาร ทั้งไทยทั้งเทศก็อ่านเอามันตอบบ้างไม่ตอบบ้าง ของเทศส่วนใหญ่จะประหยัดถ้อยประหยัดคำ เนื่องจากภาษาอังกฤษแข็งแรงไม่มาก เขียนอธิบายฝรั่งพอเข้าใจแต่ถ้าเกิดดรามากัน สแลงอ่อนกลัวว่าจะด่ามันไม่เจ็บ แต่มีอยู่อย่างนึงครับ ผมขอบอกเลยว่าที่ไทยไฟเตอร์นี้มีดีที่แตกต่าง. ที่อื่นแม้แต่เวปฝรั่งคือมันเอา วิกิพีเดี่ยกับดาต้าชีทมาเถียงกัน มันก็ถูกครับ ถ้าจะเอาแบบนั้น. แต่ถ้าให้มัน มันส์กว่าต้องลงลึกไปอีก คือข้อมูลก็ต้องมี ที่สำคัญคือ มองให้เห็นวัตถุประสงค์หลักการณ์ ถ้าเป็นดังนี้เถียงให้ตายก็มันส์ครับเถียงมีความสุข. ผมชอบท่านจุลดัส และอื่นๆอีกหลายท่านขออภัยที่จำชื่อไม่ได้ ท่านมีความเข้าใจเป็นภูมิพื้น แล้วเอามาฉายเป็นภาพวิเคราะห์ เหมือนยุคแรกๆทีเราเคยมันส์กันอย่างวิง21 หรือไทยไฟท์เราเถียงกันเรื่องหลักนิยมการรบ ทายอาวุธว่ามันคืออะไร ทำไมอาวุธชนิดนี้จึงต้องใช้กับสถานการณ์นั้น หลายท่านตกเป็นเป้าให้ผมถล่ม เช่นเดียวกัน ผมเองก็ตกเป็นเป้าถล่มหลายครั้ง แต่มันมันส์ครับ ที่สำคัญ เรทติ้งกระฉูด สมัยนั้นกระทู้นึงได้สักห้าหกพัน ก็ถือว่าค้างฟ้าแล้ว....นี่คือเหตุผลทีผมทิ้งที่นี่ไปไม่ได้........ แต่ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปครับ ที่นี่เราอาจถูกเวลาเปลี่ยนไปด้วย ก็ว่ากันไปครับ ก็เปิดวิกิมาทาบ แล้วก็คุยไปว่ามันคืออะไร ใครผลิต หมุนได้ไม่หมุน ก็เป็นอีกรสชาดนึงครับ
ผมเข้าใจที่ท่านกบพูดครับ เรื่องการนำเสนอแนวคิด หลักการ คอนเซ็ปท์ต่างๆ มันต่างกับแค่นำเสนอข้อมูล เหมือนเป็นการต่อยอดจากข้อมูล ถ้าแค่นำเสนอข้อมูลมันก็เช่นบอกว่า เครื่องบินรุ่นนี้บินได้เร็วเท่านี้แบกอาวุธได้ขนาดนี้ เรดาร์ตรวจจับไกลแค่นี้ สิ่งที่ตามมาก็คือ "แล้วไงวะ?" ซึ่งถ้าเราต่อยอดด้วยแนวคิดเช่น เนื่องจากหลักนิยมเป็นแบบนี้ๆ ทำให้ต้องออกแบบเครื่องที่มีคุณลักษณ์อย่างนี้ๆ ตัวอย่างหลักนิยมอเมริกายุคหน้าเครื่องบินล่องหน ใครเจอก่อนยิงก่อน เลยออกแบบให้ไม่จำเป็นต้องเน้นความคล่องตัวในการดอกไฟท์ (ในกรณีของ f-35) แต่เน้นสเตลธ์ มันก็จะทำให้มีประเด็นถกกันได้คิดได้วิเคราะห์
ว่าแต่ผมสะดุดตากับรูปสุดท้ายในเซ็ทที่วมต.โพสต์ว่ามันคือเรืออะไร เพื่อนสมาชิกท่านใดรู้บ้างถ้าให้เดาก็เหมือนเรือตรวจการณ์ของมาเลย์ หรืออินโดหรือเปล่า?
ที่ท่านกบบอกสมัยก่อนเรือชุดรัตนโกสินทร์มีฟาลังซ์ผมก็พอคุ้นๆ แต่ว่าแต่ตอนนี้มันหายไปไหนล่ะครับ
เพราะโดยปกติเราก็น่าจะย้ายไปติดลำอื่นหรือเปล่าถ้าของมันยังไม่พัง เอาไปติดเรือจักรี เรืออ่างทองก็ได้เพราะระบบมันอิสระอยู่แล้วมีเรดาร์ในตัว แค่เชื่อมกับระบบอำนวยการรบของเรือ
ส่วนเรื่องซาดรัลเคยอ่านว่าเรดาร์หลักของเรือตัวเก่า (ตอนนี้เปลี่ยนใหม่ให้เป็นสามมิติ ยีราฟเปล่าหว่าจำไม่ได้) ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการแทร็คเป้าให้ซาดรัล แต่น่าสังเกตว่าซาดรัลมันก็นำวิถีด้วยความร้อนนี่หว่า
เนื่องจากพาดพิง เลยขอตอบว่า เรือชุด รัตนโกสินทร์ ใช้ Aspide ตัวเดิมครับ มีการจัดหามาเพิ่มเติม เมื่อเร็วๆ นี้ ประมาณ 10 นัด ครับ และปีนี้ ร.ล.รัตนโกสินทร์ ทำการซ่อมใหญ่ ถ้าจำไม่ผิด ถึงปลายปีหน้าเลย น่าลุ้นว่า ฟาลังซ์ จาก ร.ล.พุทธเลิศหล้า จะมีโอกาสสำหรับ ร.ล.รัตนโกสินทร์ในช่วงอายุสุดท้ายหรือเปล่า ?
โ
Phalanx บนเรือคอร์เวตมีในแบบแต่ไม่ได้ติดตั้งจริงครับ
ส่วนเรื่องเรดาร์อากาศเดิมของ ร.ล.จักรีนฤเบศร จริงอยู่ที่ Sadral นำวิถีแบบ IR Passive แต่ก็ต้องมีอะไรซักอย่างส่งข้อมูลเป้าให้ระบบอาวุธปล่อยฯ หันไปทางเป้าก่อน เพื่อให้หัว IR เจอเป้า ซึ่งเรดาร์อากาศเดิมก็ทำได้แต่ค่อนข้างช้าด้วยความที่รอบต่ำ ทำให้ต้องใช้คนช่วยปรับแก้อีกทีครับ
เรียนท่านกัปตันนีโม............... ท่านเข้ามาเคลียร์ปัญหา ผมรู้สึกดีใจเปราะหนึ่ง แต่มีอยู่ข้อนึง ที่รู้สึกว่าผมเข้าใจอะไรผิดมานานมากแล้วหรือเปล่า................. คือกรณี แอคทีฟโฮมมิ่ง ฮาร์พูน ครับ .......................... คือโดยความเข้าใจของผม แอคทีฟโฮมมิ่งเรดาร์มิสไซล์ทุกชนิด จะต้องมีเรดาร์ค้นหาและติดตามเป้าอยู่ในตัวอยู่แล้ว ................ สิ่งที่พิเศษคือไม่ต้องการการส่องลำคลื่น(กระบอก)นำทาง และที่สำคัญคือมันมีโหมดนำทางด้วยแรงเฉื่อย ซึ่งสัมพันธ์กับโหมดยิงแล้วลืมอีกด้วย..................... ในทางปฏิบัติ เป้่ามีแนวโน้มเปลี่ยนวิถีด้วยความรวดเร็ว เช่นอากาศยาน อาจต้องส่งข้อมูลติดตามเป็นระยะ.......... ยกตัวอย่างการใช้อำราม ยิงพิสัยไกลมาก การเข้าสู่โหมดยิงแล้วลืมอาจทำไม่ได้ โหมดดังกล่าวควรใช้ต่อเมื่อดาหน้าเข้าหากัน ซึ่งระยะทางสัมพัทธของเวคเตอร์เคลื่อนที่ย่อมสั้นเข้า ........................... กรณีที่ยังต้องเลี้ยงด้วยการติดตามเป้า ก็ต้องแทรคอัพเดทให้เป็นระยะ(เป็นเอฟ-16 ก็ต้องบอกว่า ใช้โหมด แทรค ไวล์ สแกน) จนกว่าเป้าจะแน่นอนแล้วจึงละออกไป............... แต่กรณี ฮาร์พูนหรือจรวดชนิดอื่นประเภทเดียวกัน แน่นอนว่า เป้าคือเรือรบซึ่งความเร็วต่ำ(น้อยกว่าความเร็วจรวด ถึง10เท่า) การใช้โหมดยิงแล้วลืม โอกาสสัมฤธิ์ผลมีมาก (ยิงได้เกินเส้นขอบฟ้าด้วย) ..................... แต่ประเด็นคือก่อนยิง เหมือนว่า จะใช้เรดาร์อะไรก็ได้เป็นตัวป้อนข้อมูลเวคเตอร์เพื่อพล็อตเป้า............. เช่นนี้ เรดาร์พื้นน้ำ ธรรมดา ก็ทำได้ เช่นนั้นหรือ??? ผมเข้าใจตลอดว่า ขั้นตอนนี้จะต้องผ่านกระบวนการแทร็คกิ้งโดยเรดาร์ควบคุมการยิง กรุณาช่วยไขความกระจ่างด้วยครับ...............
ตอนที่เรือชุดรัตนโกสินทร์เข้าประจำการมีความคิดที่จะติดฟาลังซ์ในตำแหน่งท้ายเรือถัดจากฮาร์พูนครับ แต่แล้วก็ไม่ได้ติดตั้ง คงเพราะไม่มีงบประมาณ เราจึงมีฟาลังค์เฉพาะในเรือพุทธฯเท่านั้นครับ
เรือชุดรัตนโกสินทร์ สุดท้าย ทร.เลือกที่จะติดระบบเป้าลวงดาเก้ แทนระบบฟาลังซ์ครับ
แล้วก็ฟาลังซ์บนเรือชั้นพุธ ทร.จัดซื้อเพิ่มเติม ไม่ใช่ของเดิมติดเรือครับ ถ้าติดตามจากสมรภูมิน่าจะจำได้๐
แสดงว่าเรือชั้นน็อกซ์รุ่นนี้ ก่อนหน้าส่งมอบให้ไทย ตำบลนี้ไม่เคยติดตั้งฟาแลงซ์ แต่เป็นรุ่นติดตั้งแสปร์โร่ว์เช่นนั้นใช่มั้ยครับ (เพราะเห็นว่า เรือรุ่นนี้ตรงตำบลนี้เลือกติดได้ระหว่าง ซีสแปร์โร่ว์ และ ฟาแลงซ์)............. สรุปคือ ลูกจรวดฮาร์พูนทุกนัด และ จรวดแอสร็อค เค้าแถมมาใช่มั้ยครับ. เพราะถ้าเราไม่ซื้อ จรวดพวกนี้ต้องค้างอยู่ในท่อเป็นปี เพื่อรอส่งมอบ??????
อีกข้อนึงคือ ตั้งแต่ท่านเห็น ทร.ต่อเรือมา ท่านแทบจะไม่เห็น ทร.ไทยเสียตังค์ซื้อระบบ ซีไอดับบลิวเอส ด้วยเงินตัวเองนะครับ ที่มีก็เห็นแต่เรือธงบรรทุกฮ. ที่เจียดซื้อ แซดรัล มา 3 ระบบ ซึ่งถ้ามองกันในชั้นก็ถือว่าค่อนข้างจุ๋มจิ๋มนะครับ........ เท่าที่ผมทราบ เรือน็อกซ์นี้ อเมริกาเป็นคนต่อและเป็นเจ้าของไม่ใช้เหรอครับ แล้วเราไปซื้อต่อเขามา อันนี้ผมข้อมูลผิดหรือเปล่า ไม่ค่อยแน่ใจจริงๆครับ............. ไปหมดแล้ว บรรยากาศ................
อ่า เดี๋ยวจะมีคนมาต่ออีก แก้ไว้ก่อน เช่าครับเช่า ไม่ได้ซื้อ เอ้า ช่วยกันหาอีกครับ ตรงไหนรั่ว............. สงสัยต้องเลิกจริงๆแล้วครับงานนี้ ไม่ใช่งอนนะครับ หมดสนุกแล้ว จริงๆ
เอ้าแก้อีกครับ ลำนึงซื้อลำนึงเช่า ถถถถถถถถถ(หัวเราะ)
ฟาลังซ์ มาพร้อมกับเรือนะครับ...เพียงแต่ ตอนนั้น ในหนังสือ สมรภูมิ เขาเปรียบเทียบให้ว่า...ราคาเรือที่เราซื้อมานั้น...แค่ได้ระบบฟาลังซ์ มา ก็คุ้มค่าแล้ว ทำนองนั้นครับ...
เรือชุด น็อกซ์ เป็นเรือที่ซื้อ มาทั้ง 2 ลำ ครับ น่าจะเป็นโครงการ EDA...เพียงแต่ ตอนนั้น ประเทศไทย เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ เลยไม่มีเงินชำระค่าปรับปรุง ร.ล.พุทธเลิศหล้าฯ....(ตอนนั้น ร.ล.พุทธเลิศหล้าฯ เป็นเรือปลดประจำการไปแล้ว ต้องทำการซ่อมทำให้ใช้การได้ใหม่)
ส่วน ร.ล.พุทธยอดฟ้าฯ เป็นเรือ Hot transfer...คือ ทร.สหรัฐ ปลดประจำการปุ๊ป ก็ทำการปรับสภาพปั๊ป แล้วส่งมอบให้ ทร. เลย.
ต่อมา ทร.สหรัฐ เลยใช้ แทคติก ในการเปลี่ยนจากซื้อ เป็นให้ ร.ล.พุทธเลิศหล้าฯ แทน...โดยใช้เป็นการ ให้ทดแทน เรือชั้น ไซโคลน ที่ ทร.สหรัฐ จะบริจาคให้ไทย แต่ สหรัฐ นำไปให้ ฟิลิปปินส์ แทน...และรู้สึกว่า ค่าปรับสภาพเป็นงบประมาณของ ทร.สหรัฐ จำนวนหนึ่ง ของ ทร.ไทย จำนวนหนึ่ง...(่น่าจะเป็น เหตุ ที่ ร.ล.พุทธเลิศหล้าฯ ปลดประจำการ ก่อน ร.ล.พุทธยอดฟ้าฯ เพราะ คงไม่ได้ ซ่อมทำ เต็มโครงการ..คงเป็นเพียง ซ่อมทำ ในระดับให้ใช้การได้เท่านั้น)
ร.ล.พุทธเลิศหล้าฯ จะมีระบบโซนาร์ ลากท้าย (AN/SQR-18A(V)1)
ร.ล.พุทธยอดฟ้าฯ จะมีรเะบบโซนาร์ แบบชักหย่อน (AN/SQS-36(V))
ชัดเจนครับท่านจูลฯ เรื่องฟาลังซ์ ผมเข้าใจไปเองจากที่อ่านว่าอเมริกาถอดออกเพื่อนำไปใช้กับลำอื่น ถ้าเราต้องการก็ซื้อใหม่ติดตั้งได้
ส่วนเรื่องอาวุธปล่อยผมก็ไม่เคยเห็นอเมริกาแถมให้ใครนะครับ เพราะมันไม่ได้ติดตายตัว จะใช้ค่อยใส่เข้าไป
ปล. ผมว่าคุณกบอาจจะเข้าใจอะไรผิดไปหรือเปล่า บรรยากาศแบบ wing21 มันยังกลับมาได้นะครับ ตั้งแต่เข้ามารอบหลังรู้สึกอารมณ์คุณกบจะแปรปรวนง่ายนะ สำนวนเก่าๆ ก็หายไปเยอะเลย
ถถถถถถถ เห็นมั้ยครับนั่น เรทติ้งไปแล้ว หมื่นสี่ จะแตะหมื่นห้าแล้ว.................... แหย่กันไปแหย่กันมา................ แหม่ผมนี่ "โดน" ปั่นตรงไหนก็ขึ้นนะ ถถถถถถถถ วมต ท่านไม่ทิ้งผมหรอก ................ ถถถถถ
เอ๊ะ ทำไมลิงค์คลิปเรดาร์เฮราเคลสของผมมันตายหว่า เอาใหม่ๆ
เรื่องขั้นตอนและวิธีควบคุมการยิงลูกอาวุธปล่อยนำวิถี นอกจากจะแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ตามที่ผมได้เขียนไว้ข้างต้นแล้ว ยังมีการนำเอามาผสมกันได้อีกนะครับ ขึ้นอยู่กับชนิดและแบบของอาวุธปล่อยนำวิถีนั้นๆ อย่างเช่น บางแบบก็ใช้ Semi-Active ระหว่างเดินทาง ร่วมกับ Active ตอนท้าย, บางแบบใช้ Midcourse Guidance (Uplink) ร่วมกับ Semi-Active ตอนท้าย, บางแบบใช้ Midcourse Guidance ร่วมกับ Active ตอนท้าย
ในกรณีของ Harpoon รุ่นที่ ทร.มี จะไม่มี Semi-Active หรือ Midcourse Guidance ตรงกลาง มีแต่ Inertial Guidance ตรงกลางแล้วไป Active ในตอนท้ายครับ โดยลูกอาวุธปล่อยฯ จะเดินทางด้วยตัวเองไปถึงพื้นที่ค้นหา (คำนวณจากข้อมูลตำแหน่งและการเคลื่อนที่ของเป้าในครั้งแรก ซึ่งอาจส่งมาจากเรดาร์หรือดาต้าลิงค์หรือป้อนด้วยมือ) ซึ่งพื้นที่ค้นหานี้มีโอกาสพลาดน้อยเนื่องจากเป้าเรือผิวน้ำมีความเร็วต่ำเมื่อเทียบกับความเร็วลูกอาวุธปล่อยฯ และการกำหนดพื้นที่ค้นหาจะเผื่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของเป้าไว้ด้วย จากนั้นเมื่อเข้าถึงพื้นที่ค้นหาแล้วจึงค่อยเปิดเรดาร์ Active ซึ่งจะกวาดเป็นบริเวณกว้างเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ และนำวิถีเข้าหาเป้าที่พบในพื้นที่ครับ
เอ๊ะ ทำไมลิงค์คลิปเรดาร์เฮราเคลสของผมมันตายหว่า เอาใหม่ๆ (ตัด = ออกครับ)