บทความเกี่ยวกับเรือดำน้ำมาถึงในที่สุด หลังจากดองมาหลายเดือนจนหาข้อมูลเกือบไม่เจอ ยาวนิดหน่อยนะครับทนอ่านจนจบก็แล้วกัน ที่ผมนำมาลงก่อนกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของญี่ปุ่น ก็เพราะเดี๋ยวจะไม่ว่างไปอีกหลายอาทิตย์
ลิงค์ต้นฉบับครับตัวอักษรแตกต่างกันนิดหน่อย -----> Project Wills : Submarine Evaluation
--------------------------------------------------------------------
Project Wills : โครงการจัดหาเรือดำน้ำกองทัพเรือแอฟริกาใต้
กองเรือดำน้ำกองทัพเรือแอฟริกาใต้ถูกจัดตั้งขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 60 กระทั่งถึงปี 1967 จึงได้มีโครงการจัดหาเรือดำน้ำเข้าประจำการ เรือดำน้ำ Daphné Class 3 ลำตามคำสั่งซื้อกองทัพเรือฝรั่งเศส ถูกเปลี่ยนมาเป็นเรือดำน้ำแอฟริกาใต้ด้วยคำสั่งรัฐบาลฝรั่งเศส SAS Spear (S97) เข้าประจำการ 24 กรกฎาคม 1970 SAS Umkhonto (S98) เข้าประจำการ 26 กุมภาพันธ์ 1971 และ SAS Assegaai (S99) เข้าประจำการ 27 สิงหาคม 1971 เรือดำน้ำโจมตีจำนวน 3 ลำทำให้กองทัพเรือแอฟริกาใต้มีศักยภาพสุงขึ้นทันที SAS Spear ได้ประสบอุบัติเหตุหลังเข้าประจำการได้ไม่นาน วันที่ 20 สิงหาคม 1970 เรือได้ชนเข้ากับเรือดำน้ำฝรั่งเศส S646 Galatée ซึ่งเป็นเรือรุ่นเดียวกัน เรือทั้ง 2 ลำมีความเสียหายพอสมควร โดยเฉพาะ Galatée ต้องเดินทางบนผิวน้ำเท่านั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการจม
หลังปลดประจำการ SAS Assegaai (S99) ถูกเก็บรักษาเป็นพิพิธภัณท์ลอยน้ำ
เมื่อกองเรือดำน้ำมีความชำนาญการมากขึ้น กองทัพเรือจึงได้จัดหาเรือดำน้ำเพิ่มเติม สาธารณรัฐแอฟริกาใต้สั่งซื้อเรือดำน้ำรุ่นใหม่ล่าสุดจำนวน 2 ลำ Agosta Class ลำแรกของกองทัพเรือฝรั่งเศสเข้าประจำการในปี 1977 พร้อมๆกันกับการเริ่มสร้าง Agosta Class ลำแรกของกองทัพเรือแอฟริกาใต้ วันที่ 14 ธันวาคม 1978 ที่อู่ต่อเรือ Dubigeon-Normandie Nantes ประเทศฝรั่งเศส ได้มีพิธีปล่อยเรือดำน้ำแอฟริกาใต้ชื่อ SAS Astrant ลงน้ำ เรือเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 1979 ขณะที่เรือดำน้ำลำที่ 2 SAS Adventurous สร้างเสร็จล่าช้ากว่ากันประมาณ 1 ปี เรือดำน้ำโจมตีรุ่นใหม่มีระวางขับน้ำมากขึ้น ดำน้ำได้ลึกมากขึ้น ระยะปฎิบัติการไกลมากขึ้น และมีระบบอาวุธที่ทันสมัยมากขึ้น จะทำให้กองเรือดำน้ำแอฟริกาใต้มีความพร้อมรบอย่างสมบูรณ์แบบ พวกเขามีเรือใหญ่ออกไปป้องปรามผู้บุกรุกนอกเขตน่านน้ำตัวเอง และยังมีเรือที่เล็กกว่าคอยสกัดเป็นด่าน 2 ชนิดไม่ยอมให้เล็ดลอด ทว่าท้ายที่สุดก็เป็นแค่เพียงฝันสลายในวันฟ้าสวย
United Nations Security Council Resolution 418
เรือดำน้ำทั้ง 2 ลำสร้างเสร็จสมบูรณ์ไม่มีปัญหา การทดลองเดินเรือสมบูรณ์แบบไม่มีปัญหาเช่นกัน แต่ไม่มีการจัดส่งให้กับผู้สั่งซื้อแต่ประการใด ท่านผู้อ่านบางท่านอาจคิดว่าฝรั่งเศสไม่มาตามนัดอีกแล้วล่ะสิ จริงๆแล้วไม่ใช่ครับพวกเขาพร้อมขายในทุกกรณี กระทั่งตัดเรือตัวเองส่งให้ลูกค้าก่อนก็เคยทำมาแล้ว สาเหตุที่แท้จริงเกิดจากนโยบายแบ่งสีผิวของแอฟริกาใต้เอง ปัญหาภายในประเทศลุกลามใหญ่โตขึ้นจนไปแตะระดับโลก วันที่ 8 พฤศจิกายน 1977 สหประชาชาติได้มีมติคว่ำบาตรสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ทั้งทางเศรษกิจ สังคม การกีฬา รวมถึงห้ามมีการซื้อขายอาวุธทั้งหมด หนึ่งในรายชื่อที่โดนคว่ำบาตรก็คือเรือดำน้ำ Agosta Class นับเป็นคราวซวยของฝรั่งเศสมากกว่าที่อยู่ดีๆเงินก้อนโตก็บินหายลับไป
รัฐบาลฝรั่งเศสและบริษัทผู้ผลิตจึงต้องวิ่งวุ่นเพื่อหาเจ้าของเรือรายใหม่ และแล้วก็ได้ปากีสถานเป็นผู้ซื้อเรือแอฟริกาใต้ไปประจำการ ด้วยอานิสงค์จากเรื่องนี้ทำให้พวกเขาได้ลูกค้าสำคัญเพิ่มขึ้น 20 ปีต่อมาปากีสถานสั่งซื้อเรือดำน้ำ Agosta 90B จากฝรั่งเศสจำนวน 2 ลำ Agosta 90B ได้รับการปรับปรุงใหม่หมดมีความทันสมัยมากขึ้น สามารถติดตั้งอาวุธจรวดต่อต้านเรือรบ SM39 Exocet ยิงจากท่อตอร์ปิโดได้ เรือทั้ง 2 ลำเข้าประจำการในปี 1999 และ 2002 ตามลำดับ ปากีสถานยังได้ขอซื้อลิคสิทธิ์เรือรุ่นนี้มาผลิตเองในประเทศ เรือลำแรกที่ผลิตเองเข้าประจำการในปี 2006 แต่ดูเหมือนพวกเขาจะไม่ค่อยพอใจในประสิทธิภาพมากนัก จึงยังไม่มีแผนสำหรับเรือลำที่ 2 แล้วหันไปสนใจเรือดำน้ำ S20 ของจีนแทน ผู้เขียนขอหยุดเรื่องเรือดำน้ำปากีสถานแต่เพียงเท่านี้ และพาผู้อ่านกลับไปสู่ปัญหาอันใหญ่หลวงของแอฟริกาใต้
PNS/M Hashmat (S135) ของปากีสถาน เคยชื่อว่า SAS Astrant มาก่อน
กองเรือดำน้ำแอฟริกาใต้ใช้เรือเพียง 3 ลำผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนในการป้องกันประเทศ แม้จะไม่เพียงพอตามความต้องการแต่ยังดีกว่ากองเรืออื่นๆ เพราะ Daphné Class เป็นเรือใหม่ใช้งานได้ดีไม่มีข้อบกพร่อง จะมีปัญหาอยู่บ้างในเรื่องการซ่อมบำรุงและอะไหล่ที่ต้องจัดหาจากฝรั่งเศส ต่างกันกับกองเรือตรวจการณ์ที่ขาดแคลนเรือใช้งาน จนต้องดึงเรือเร็วโจมตีอาวุธนำวิถีมาช่วยทำภาระกิจ ส่วนกองเรือฟริเกตของพวกเขายิ่งพิกลพิการไปกันใหญ่ เพราะมีเรือฟริเกตมือสองอายุค่อนข้างมากอยู่เพียง 3 ลำเท่านั้น เรือเหล่านี้ทยอยปลดประจำการหรือได้รับอุบัติเหตุหายไปทีล่ะลำจนหมด 9 ปีหลังโดนคว่ำบาตรกองทัพเรือแอฟริกาใต้มีเรือผิวน้ำขนาดใหญ่สุดเพียง 450 ตันเท่านั้น เป็นปัญหาใหญ่โตหนักหนาสาหัสเหลือเกิน และทำให้เหลือกองเรือดำน้ำเป็นอาวุธยุทธศาสตร์เพียงชนิดเดียว
ปัญหาที่เกิดขึ้นดำเนินไปเรื่อยกระทั่งเข้าสู่ช่วงทศวรรษที่ 90 แอฟริกาใต้แก้ปัญหาภายในประเทศได้ดีขึ้นอย่างน่าชมเชย ความรุนแรงลดน้อยลงมีการเลือกตั้งครั้งสำคัญเกิดขึ้น เนลสัน แมนเดลาได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดี เขาได้ยกเลิกนโยบายการแบ่งแยกสีผิวอย่างเข้มแข็งเป็นขั้นตอน สถานะการณ์โดยรวมของประเทศจึงดีขึ้นดีขึ้นและดีขึ้น ความขัดแย้งที่เคยมีกลับลดน้อยลงลดน้อยลงและลดน้อยลง ผลตอบแทนจากความพยายามเดินทางมาถึงไวมาก ในปี 1994 สหประชาชาติมีมติยกเลิกการคว่ำบาตรสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
17 ปีแห่งความขื่นขมจบสิ้นไปพร้อมนโยบายเหยียดสีผิว กองทัพเรือแอฟริกาใต้เริ่มต้นโครงการจัดหาเรือคอร์เวตรุ่นใหม่ทันที เพราะปัญหาเรื่องเรือผิวน้ำขนาดใหญ่มีความสำคัญเป็นอันดับแรกสุด หลายประเทศส่งแบบเรือรุ่นใหม่เข้าร่วมชิงชัย กระบวนการสรรหาเดินไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว กระทั่งปลายปี 1994 พวกเขาได้แบบเรือที่มีคะแนนเป็นอันดับ1 แต่หลายเดือนผ่านไปยังไม่มีการประกาศผลผู้ชนะ สถานะการณ์มีแนวโน้มที่จะต้องเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง แต่แล้วในปี 1995 โครงการนี้ก็ต้องยุติลงเป็นการชั่วคราว ด้วยเหตุผลที่ผู้เขียนกำลังจะเขียนถึงในย่อหน้าถัด
The Strategic Defence Procurement Packages (SDPP)
เดือนกันยายน 1997 สาธารณรัฐแอฟริกาใต้เริ่มต้นโครงการจัดหาอาวุธที่ใหญ่โตที่สุดและซับซ้อนมากที่สุด มูลค่ารวมทั้งโครงการสุงถึง 4.8 พันล้านเหรียญ เป็นการจัดหาอาวุธเพื่อใช้ป้องกันประเทศของทุกเหล่าทัพ ส่วนของกองทัพเรือประกอบไปด้วยเรือคอร์เวตจำนวน 5 ลำ เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ 6 ลำ และเรือดำน้ำโจมตี 4 ลำ กองทัพอากาศจัดหาเครื่องบินฝึกขั้นสุง 48 ลำ เครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ 48 ลำ และเฮลิคอปเตอร์ 60 ลำ กองทัพบกจัดหารถถังหลักรุ่นใหม่จำนวน 154 คัน ทุกเหล่าทัพของแอฟริกาใต้จะมีความแข็งแกร่งและทันสมัยมากขึ้น
กองเรือดำน้ำได้รับงบประมาณก้อนโตในการปรับปรุงเขี้ยวเล็บ สาเหตุเพราะ Daphné Class ทั้ง 3 ลำจะต้องปลดประจำการในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า Project Wills : Submarine Evaluation คือการจัดหาเรือดำน้ำโจมตีจำนวน 4 ลำ โครงการนี้เริ่มตั้งไข่ในเดือนมีนาคม 1997 มีการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาเพื่อทำหน้าที่ กองทัพเรือแอฟริกาใต้กำหนดให้มีการพิจารณาแบบเรือจำนวน 2 รอบโดยมีเนื้อหารายละเอียดที่แตกต่างกัน จึงต้องมีการเว้นระยะเพื่อให้ประเทศผู้ผลิตมีเวลาจัดเตรียมข้อมูล หลังการประกาศโครงการจัดหาอาวุธที่ใหญ่โตที่สุดของแอฟริกาใต้ Project Wills : Submarine Evaluation ก็เริ่มต้นเดินหน้าเช่นกัน
Project Wills : RFI Evaluation
ก่อนเข้าสู่การพิจารณาแบบเรือในรอบแรกผู้เขียนขอย้อนเวลาซักเล็กน้อย ในปี 1996 กองทัพเรือแอฟริกาใต้มีแนวคิดในการจัดหาเรือดำน้ำมาก่อนแล้ว โดยให้ความสนใจเรือ Upholder Class ของอังกฤษที่เพิ่งปลดประจำการและกำลังหาลูกค้า มีการศึกษาความเป็นไปได้ ราคารวมทั้งหมด และความคุ้มค่าในระยะยาว วันที่ 16 สิงหาคม 1996 เกิดรายงานชื่อ Project Study Report Project Wills : Submarine Replacement by the Upholder เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ เวลาผ่านไปไม่นานนักรัฐบาลแอฟริกาใต้ได้ผุดเมกกะโปรเจคขึ้นมา โครงการนี้จึงถูกจับรวมกับอีก 5 โครงการภายใต้ชื่อ The Strategic Defence Procurement Packages (SDPP)
เมื่อทราบเบื้องหน้าเบื้องหลังกันแล้วเรามาต่อกันเลยครับ Project Wills : RFI Evaluation (RFI : Request for Information) เป็นการพิจารณาคุณสมบัติต่างๆของแบบเรือโดยรวม หรือพูดให้ง่ายขึ้นก็คือดูในด้านเทคนิคล้วนๆ โดยมีราคาเป็นตัวแปรสำคัญในการคิดคะแนนรวม วันที่ 23 กันยายน 1997 รัฐมนตรีกลาโหมแอฟริกาใต้ส่งจดหมายเชิญชวนไปยัง 8 ประเทศผู้ผลิตเรือดำน้ำ มี 6 ประเทศที่ให้ความสนใจเข้าร่วมชิงชัยและส่งข้อมูลกลับมา วันที่ 18 พฤศจิกายน 1997 คณะกรรมการสรรหาได้เปิดเผยรายงาน Project Wills RFI Evaluation เนื้อหาใจความของรายงานมีประมาณนี้ครับ
เริ่มจากแบบเรือดำน้ำที่ส่งเข้าร่วมชิงชัย อย่างที่ได้บอกไปแล้วนั่นคือมีทั้งหมด 6 แบบเรือด้วยกัน
Proposals Received
1. Germany : TR1400 MOD (Operational submarine)
2. Italy : S1600 SAURO (Paper submarine)
3. United Kingdom : Upholder (2nd hand submarine in preservation)
4. France : Scorpene (Paper submarine)
5. Sweden : T192 Gotland (operational AIP submarine)
6. Russia : Project 636Kilo (Operational submarine)
วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน 1997 คณะกรรมการได้ตัดชื่อประเทศรัสเซียออกจากโครงการ โดยพิจารณาจากเหตุผล 3 ประการที่ผู้เขียนอ่านแล้วต้องอมยิ้ม
1.รัสเซียส่งเอกสารกลับมาเป็นโบรชัวร์10หน้ากระดาษที่มีคุณภาพต่ำมาก
2.ไม่ได้ส่งราคาของเรือหรืออื่นๆกลับมาเลย
3. ไม่ได้ส่งข้อมูลทางด้านเทคนิดที่ต้องใช้ในการพิจารณาเปรียบเทียบ
บางทีรัสเซียอาจไม่มีเวลาเตรียมตัวจึงจำเป็นต้องตัดชื่อทิ้ง แต่บางประเทศใช้เวลาเพียง 1 อาทิตย์เพื่อจัดทำจนเสร็จ นอกจากฝรั่งเศสจะเสนอเรือดำน้ำรุ่นใหม่ Scorpene Class แล้ว พวกเขายังได้เสนอโครงการปรับปรุงเรือดำน้ำ Daphné Class ของแอฟริกาใต้เป็นอีกหนึ่งทางเลือก คณะกรรมการสรรหาสรุปข้อมูลของทุกประเทศสั้นๆตามนี้ครับ
1. Germany : Very good information on all aspects. Costing of the proposal was satisfactory.
2. Italy : Very good information on all aspects in limited time. Costing explained in great detils.
3. UK : Average information with disappointed the evaluation team. Costing was very broad with much scope for changes. Reference was made to previous documentation for clarification with disadvantaged the other offerors.
4. France : Good information in Scorpene and the Daphné submarine life extension program (SMLEP). The Daphné was not evaluated by this evaluation team.
5. Sweden : Extremely good information on the platform and ILS elements. Unbelievable for only week's work. Whilst the documentation does not go into very great detail, all the areas have been covered
Project Wills เริ่มต้นอย่างเป็นทางการพร้อม 5 แบบเรือจาก 5 ประเทศผู้ผลิต ข้อมูลที่คณะกรรมการใช้ในการให้คะแนนมีประมาณนี้ครับ ผู้เขียนพยายามนำมาลงให้มากที่สุดแต่ก็ยังไม่ทั้งหมดอยู่ดี
การพิจารณาให้คะแนนเรือดำน้ำแตกต่างจากเรือผิวน้ำอยู่บ้าง เรือผิวน้ำจะพิจารณาแบบเรือที่ติดอาวุธและระบบต่างๆเหมือนๆกัน แต่กับเรือดำน้ำหลายสิ่งหลายอย่างแตกต่างออกไป เพราะโดยส่วนใหญ่เรือจะใช้อุปกรณ์หรือระบบอาวุธแตกต่างกัน การให้คะแนนในแต่ละหัวข้อจึงว่ากันไปตามประสิทธิภาพ โดยไล่ตั้งแต่ต่ำสุด 1=No considered 2=Well below requirement จนถึง 6 : Exception ซึ่งเป็นคะแนนสุงสุด ภาพต่อไปเป็นคะแนนบางส่วนจากเรือดำน้ำ Upholder ของอังกฤษเป็นส่วนแรกๆของใบลงคะแนนที่ไม่ได้แสดงไว้ในภาพก่อน
แบบเรือลำอื่นมีการให้คะแนนเหมือนกันทั้งหมด การประกาศผลคะแนนแบ่งออกเป็น 3 ส่วนประกอบไปด้วย 1. Performance Results : คะแนนนรวมทางด้านเทคนิค 2. Costing : ราคารวมทั้งโครงการไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และ 3. Military Value : คะแนนรวมทางด้านเทคนิคหารด้วยราคาเรือ = คะแนนรวมสุทธิ อันเป็นบทสรุปในการชิงชัยรอบนี้
ผลที่ได้ตามในภาพเลยครับ อันดับหนึ่งคือ TR1400 ของเยอรมันผู้ที่มีคะแนนดีสุดในทุกตารางคะแนน T192 ของสวีเดนตามติดมาไม่ห่างกันนัก อันดับ 3 ได้แก่ Upholder ของอังกฤษซึ่งเป็นเรือดำน้ำมือสอง Scorpene ของฝรั่งเศสอยู่ในอันดับ 4 ปิดท้ายด้วย S1600 ของอิตาลี ที่แม้จะมีคะแนนทางด้านเทคนิคเป็นที่ 3 แต่เพราะราคารวมสุงมากจนดึงลงมาอยู่บ๊วยสุด รายงานยังได้สรุปสมมุติฐานความเสี่ยง (risk and assumptions) ของแบบเรือทั้งหมด ซึ่งจะขอยกยอดไปเขียนถึงในรอบต่อไป และปิดท้ายด้วยข้อสรุป (conclusion) มีข้อความสั้นๆเพียง 3 เรื่อง
1. เรือดำน้ำใหม่ทั้ง 4 แบบมีความเหมาะสมมากกว่าเรือดำน้ำมือ 2 Upholder ของอังกฤษ
2. เรือดำน้ำ T192 ของสวีเดนสามารถติดตั้ง Air Independent Propusion (AIP) ได้ โดยมีราคาเพิ่มขึ้นประมาณ 15เปอร์เซนต์ของราคาที่นำเสนอ
3. ผู้มีคะแนนดีที่สุด 2 อันดับแรกได้แก่ TR1400 ของเยอรมันกับ T192 ของสวีเดน
----------------------------------------------------------
Project Wills : RFO Evaluation
26 มีนาคม 1998 คณะกรรมการสรรหาเปิดประชุมร่วมกันเพื่อเตรียมความพร้อม มีการส่งจดหมายเชิญชวนไปยัง 5 ประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ 1998 Request For a Best and Final Offer ทำการปิดหีบในวันที่ 12 พฤษภาคม 1998 อังกฤษไม่ได้ตอบรับจดหมายเชิญชวนในครั้งนี้ เนื่องจากได้ขายเรือดำน้ำ Upholder Class ให้กับแคนาดาได้แล้ว
ในช่วงทศวรรษที่ 80 กองทัพอังกฤษวางแผนสร้างเรือดำน้ำขนาด 2,400 ตันจำนวน 12 ลำ เพื่อทดแทนเรือดำน้ำ Oberonรุ่นเก่า ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงและสร้างขึ้นเพียง 4 ลำเท่านั้น และ 4 ลำที่สร้างขึ้นก็มีอายุราชการเพียง 4 ปี เนื่องมาจากรัฐบาลอังกฤษเลือกประจำการเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์เท่านั้น เรือจอดนิ่งอยู่ 6 ปีเต็มจึงได้ย้ายบ้านไปอยู่แคนาดา โครงนี้จึงเหลือแค่เพียง 4 แบบเรือจาก ประเทศเยอรมัน สวีเดน ฝรั่งเศส และอิตาลี
Offers Received
1. France : Scorpene
2. Germany : Type 209 1400 MOD
3. Italy : S1600 (SAURO Upgrade)
4.Sweden : T192 (Modified Gotland)
Project Wills RFO Evaluation (RFO : Request for Offer) มีการพิจารณาในหัวข้อที่แตกต่างออกไปจากคราวก่อน มีนายทหารระดับสูงจากกองทัพเรือเข้าร่วมพิจารณาด้วย การพิจารณาให้คะแนนประกอบไปด้วย 3 หัวข้อหลักดังนี้
1. Response to the RFO (or Engineering Management) : 6.54 %
2. Technical Evaluation : 25.95 %
3. Logistic Evaluation : 67.51 %
จะเห็นได้ว่าการพิจารณาให้น้ำหนักในเรื่อง Logistic เป็นสิ่งสำคัญ อาทิเช่น Logistic Engineering Cost Of Ownership และ Maintenance Planning เป็นต้น คะแนนส่วนที่เหลือจะมาจาก Technical และ Engineering นี่คือตัวอย่างใบลงคะแนนบางส่วน เรามาบริหารสายตากันหน่อยนะครับ
วันที่ 29 มิถุนายน 1998 คณะกรรมการสรรหาได้เปิดเผยรายงาน Project Wills RFO Evaluation ผลการประกาศคะแนนแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ในส่วนแรกสุดเรืยกว่า Performance Results เป็นไปตามนี้ครับ
แบบเรือ S1600 ของอิตาลีมีคะแนนดีที่สุด โดยเฉพาะ Logistic Evaluation ทิ้งห่างเพื่อนๆไปไกลลิบ Scorpene ของฝรั่งเศสตามมาเป็นอันดับ 2 แบบห่างๆ อันดับต่อมาก็คือ T192 ของสวีเดน ที่แม้คะแนน Engineering Management จะต่ำมาก แต่ได้คะแนน Logistic Evaluation ช่วยดันจนขึ้นมาอันดับ 3 Type 209 ของเยอรมันตกมารั้งท้ายขบวน และมีคะแนน Logistic Evaluation ที่ไม่ดีเลย
หัวข้อถัดไปเป็นตัวแปรสำคัญมากก็คือราคา (Costing) ข้อเสนอในตารางเป็นราคาเรือดำน้ำ 4 ลำและบริการหลังการขาย (Logistics and In Country Support) ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่นๆ เยอรมันเสนอได้ราคาต่ำสุดเช่นเคย แปลงเป็นสกุลเงินแรนด์แล้วเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในส่วนบริการหลังการขาย อิตาลีราคาต่ำสุดอันดับ 2 ชนิดพลิกความคลาดหมาย เพราะในรอบที่แล้วพวกเขาเสนอราคาแพงโดดไปจากเพื่อนๆ ฝรั่งเศสอันดับ 3 และสวีเดนอันดับ 4 ทั้งคู่เสนอราคาใกล้เคียงกันโดยที่สวีเดนแพงกว่า 64 ล้านเหรียญ ขณะที่ข้อเสนอของเยอรมันมีราคาห่างจากอิตาลีถึง 152 ล้านเหรียญ
หัวข้อท้ายสุดก็คือคะแนนรวมสุทธิ ต้องใช้วิธีการคำนวนหาคะแนน Military Performance Index (MPI) มาใช้ คือนำคะแนนจาก3 หัวข้อหลักมาหารกับราคาเรือ โดยใช้สูตรคณิตศาสตร์ให้ผู้อ่านคิดตามดังนี้ครับ
MPI = (Factor X Performance Score / Cost) + (Factor X Logistic Score / Cost) + (Factor X Engineering Management Score / Cost)
หลังการคำนวนคะแนน MPI เสร็จสิ้น แบบเรือ Type 209 ของเยอรมันมาเป็นอันดับ 1 เช่นเดิม มีคะแนนทิ้งห่าง T192 ของสวีเดนพอสมควร S1600 ของอิตาลีได้คะแนน Logistic Evaluation ช่วยดึงให้ขึ้นมาอยู่อันดับ 3 และเขี่ย Scorpene ของฝรั่งเศสให้อยู่รั้งท้ายโดยมีคะแนนห่างกันพอสมควร
จบเรื่องการคิดคะแนนอันชวนปวดหัวแล้ว เรามาอ่านข้อมูลสมมุติฐานความเสี่ยง (Risk and Assumptions) ซึ่งผู้เขียนขอยกมาทั้งกระบิเพราะกลัวแปลความหมายเพี๊ยนไป แต่โดยรวมจะพูดถึงความเสี่ยงในด้านต่างๆ เรือที่ไม่เคยสร้างจะอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนเรือที่สร้างแล้วจะอยู่ในระดับต่ำ ตามติดมาด้วยบริการหลังการขาย โดยบางรายรวมอยู่ในข้อเสนอแล้วบางรายต้องบวกเพิ่ม รวมถึงเรื่องการจัดส่งเรือซึ่งมีความช้าเร็วไม่เท่ากัน
Risk and Assumptions
Of all the countries offering submarines only 2 designs are at sea, namely the German 209 (operated by Brazil and Turkey) and Swedish Gotland (operated by Sweden) the others are new designs
French SCORPENE : This is a new submarine design and has yet to built. Chile has ordered two. The technical risk is rate as medium and fully qualified systems will be delivered. It is turn-key product and thus the program risk is assessed as low. Of the submarines evaluated the SCORPENE will probably have the least inpact on local facilities. No support contract is included in the offer and this means some financial risk.
German 209 Type 1400 MOD : This class of submarine is deployed operationally in Turkey and Brazil. It will be a new build option but because it is a turn-key product the technical and program risks are assessed as low. A fullt qualified system will be delivered and the impact on local facilities will be low because this is the smallest of the submarines being evaluated. The delivery schedule allow 1 years for Harbour Acceptance Trails (HATS) and Sea Acceptance Trails (SATS). The logistic support package is comprehensive but a large amount of deliverables are offered as options and were not costed into the proposal. The log risk is determined as low, but because many options were not costed additions funds should be allocated. As directed by the moderator of submarine offers, an amount of 75 % of the quoted logistic cost was added to the logistic for risk management.
Italian S1600 : This class of submarine is also a new design base on the existing SAURO (Longbardo) class and not yet been built. The Italian Navy does not intend to build it for their own use. It is a turn-key product base on upgrading an existing design, thus the technical and program risks are assessed as medium. A fully qualified system will be delivered. There will be a significant impact on local facilities as this is the largest submarine being evauleted. The general impression was that the Italians were very thorough and complete in their ILS and Log Engineering processes, and demonstrated this well. A support contract is included in the offer and the proposal serves as good basis for contract negotiation.
Swedish T192 : This design incorporates slight changes to the existing Swedish A19 GOTLAND Class which is deployed operationally by the Swedish Navy. It must be remembered that this submarine features Air Independent Propulsion (AIP) as a standard item. The technical and program risks are assessed as low. A fully qualified system will be delivered and the impact on local facilities will be medium. This is mainly due to the new technology introduced by the AIP (Stirling Diesel) system. The delivery schedule also allows and application of ILS principles. A support contract is included in the offer. The log risk is determined as low, but because there was a significant difference to the other offers additional funds should be allocated. As directed by the moderator of the submarine offers, an amount of 50 % of the quoted logistic cost was added to the logistic cost for risk management.
ปิดท้ายรายงานด้วยข้อสรุป (conclusion) แปลเป็นภาษาไทยได้5ข้อสั้นๆดังนี้
1. เรือดำน้ำทั้ง4ลำเหมาะสมกับกองทัพเรือแอฟริกาใต้
2. Scorpene ของฝรั่งเศส Whilst being a good product แต่มีราคาแพงเกินไป
3. The Germany Type 209 Is The Best Value For Money
4. S1600 ของอิตาลี good value for money ในทุกๆด้านยกเว้นราคาที่แพงเกินไป
5. T192 ของสวีเดน สามารถติดตั้ง Air Independent Propulsion (AIP) ได้ โดยมีราคาเพิ่มขึ้นประมาณ15เปอร์เซนต์ และ T192 rates second in value for money
Post Evaluation Phase
จากรายงานทั้ง2ฉบับให้คะแนนเรือดำน้ำเยอรมันมาเป็นอันดับหนึ่ง กองเรือดำน้ำได้แบบเรือผู้ชนะเลิศแล้วแต่ขบวนการสรรหายังไม่ยุติ วันที่ 1 กรกฎาคม 1998 หลังเปิดเผยรายงาน Project Wills RFO Evaluation เพียง 2 วัน Military Evaluation to the Strategic Offer Committee (SOFCOM) ที่ดูแลภาพรวมโครงการ 4.8 พันล้านเหรียญได้เรียกประชุมผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด โครงการนี้เป็นการจัดหาอาวุธจำนวน 6 รายการสำหรับทุกเหล่าทัพ แต่งบประมาณที่ตั้งไว้ในเบื้องต้นไม่เพียงพอต่อข้อเสนอที่ได้รับมา อีกทั้งยังได้เพิ่มการจัดหาเครื่องบินฝึกขั้นสุงเข้ามาด้วย ทำให้เกิดปัญหาใหญ่มากนั่นคืองบบานปลาย SOFCOMได้ร้องขอให้ทุกโครงการลดปริมาณการจัดหาลง และโครงการเรือดำน้ำหรือโครงการรถถังหลักอาจจะต้องถูก
แม้จะยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าวแต่ทุกอย่างต้องเดินหน้าต่อ ระหว่างที่หัวหน้าโครงการพยายามชี้แจงความสำคัญกับผู้อนุมัติ คณะกรรมการสรรหาได้คำนวนราคารวมเมื่อลดจำนวนเรือเหลือเพียง 3 ลำ ปลายเดือนกรกฎาคม 1998 Project Wills จึงได้บทสรุปสุดท้าย เพื่อทำการจัดส่งข้อมูลให้ SOFCOM ดำเนินการต่อไป
ราคาเรือจำนวน 3 ลำก็ยังคงเรียงลำดับเหมือนเดิม เยอรมันทำราคาได้ต่ำสุดตามมาด้วยอีตาลีฝรั่งเศสและสวีเดน สังเกตได้ว่าภาษีมูลค่าเพิ่มเท่ากับ 14 เปอร์เซ็นต์ราคารวมจึงต้องกระโดดสุงขึ้นอย่างช่วยไม่ได้ ส่วนราคาที่ลดลงก็ไม่ใช่ 75 เปอร์เซนต์พอดี เนื่องจากค่าใช้จ่ายบางอย่างมันลดมากกว่านี้ไม่ได้แล้ว มีการประชุมใหญ่ในวันที่ 21 สิงหาคม 1998 เพื่อตัดสินใจว่าจะจัดหาเรือดำน้ำหรือยกเลิกโครงการ เพราะในเวลานั้นราคารวมทั้งหมดเกินงบประมาณไปแล้ว
หลังจากผู้ที่เกี่ยวข้องใช้เวลาพิจารณาอยู่พักใหญ่ และได้ทำการพูดคุยต่อลองกับทางประเทศผู้ผลิต วันที่ 18 พฤษจิกายน 1998 สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ตัดสินใจซื้อเรือดำน้ำ Type 209 1400 MOD จำนวน 3 ลำจากประเทศเยอรมัน มีการเซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม 2000 เรือดำน้ำ Daphné ที่ใช้งานมายาวนานทยอยปลดประจำการในปี 2003 จนครบทั้ง3 ลำ เรือดำน้ำ Type 209 ลำแรก SAS Manthatisi (S101) ปล่อยลงน้ำในเดือนมิถุนายน 2004 เข้าประจำการในเดือนพฤษจิกายน 2005 เรือดำน้ำลำที่สอง SAS Charlotte Maxeke (S102) ปล่อยลงในน้ำในเดือนเมาษายน 2005 เข้าประจำการในเดือนมีนาคม 2007 และ SAS Queen Modjadji (S103) ซึ่งเป็นเรือดำน้ำลำสุดท้ายปล่อยลงน้ำใน ปี 2006 เข้าประจำการในเดือนกุมภาพันธ์ 2008 ความเห็นปิดท้ายของคณะกรรมการสรรหาที่ต่อมีเรือดำน้ำที่ได้รับการคัดเลือกก็คือ
“It is clear from the information above that the German submarine was not only the best value for money for the SAN, but it was (and still is) the most successful export submarine model in the world. The SAN was assured that it would receive a tried and tested submarine that was operational use in other countries”
บันทึกท้ายเรื่อง
- Daphné Class เป็นเรือดำน้ำโจมตีเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 1,000ตันของฝรั่งเศส เป็นรุ่นที่ใหญ่ขึ้นของ Aréthuse class ซึ่งได้รับความอิทธิพลมาจากเรือดำน้ำ Type XXIII U-boat ของเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 Daphné มีระยะปฎิบัติการ10,000 ไมล์ทะเลด้วยความเร็ว 7 น๊อตที่ผิวน้ำ ติดตั้งโซนาร์ 2 ตัว เรดาร์ และอุปกรณ์สงครามอิเลคทรอนิคครบครัน มีท่อยิงตอร์ปิโดขนาด 550 มม.ด้านหน้า 8 ท่อยิงและด้านท้าย 4 ท่อยิง กองทัพเรือฝรั่งเศสทยอยสร้างเข้าประจำการจำนวน 11 ลำและมียอดขายรวมทั้งหมดอยู่ที่ 26 ลำ เรือดำน้ำชื่อ Minerve (S647) และ Eurydice (S644) ได้ประสบอุบัติเหตุจมลงในปี1968 และ 1970 ตามลำดับ สาเหตุที่เป็นไปได้มาจากการออกแบบสน๊อคเกิลมีข้อผิดพลาดเกินขึ้น
สงครามอินเดีย-ปากีสถานวันที่ 9 ธันวาคม 1971 มีการปะทะกันระหว่างเรือดำน้ำกับเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำ เรือดำน้ำ PNS Hangor (S131) ชองปากีสถานได้ยิงตอร์ปิโดใส่เรือฟริเกตอินเดียชื่อ INS Khukri (F149) แล้วรีบหลบหนีออกไป ตอร์ปิโดลูกสุดท้ายโดนบริเวณถังน้ำมันทำให้เรือฟริเกต Type 14 ขนาด 1,200 ตันจมลงใน 2 นาที เรือรบลำอื่นของอินเดียพยายามโจมตีคืนด้วยระเบิดลึกและจรวดปราบเรือดำน้ำ Limbo ทว่า PNS Hangor หลบหนีไปไกลแล้วจึงเป็นความพยายามที่ไร้ค่า เรือดำน้ำ Daphné ลำนี้ยังคงลาดตระเวณต่อไปอีก4วัน ก่อนหันหัวกลับสู่ฐานทัพตัวเองโดยสวัสดิภาพ
- หลังเซ็นสัญญาซื้อเรือดำน้ำ Type 209 จากเยอรมัน รัฐบาลแอฟริกาใต้ได้เปิดเผยข้อมูลส่วนใหญ่กับสาธารณะชน เอกสารที่ใช้ในการพิจารณาได้ถูกเปิดเผยในปี 2013 ผ่านเอกสารตัวบุคคลที่เป็นคณะกรรมการสรรหาเรือดำน้ำ โครงการจัดหาอาวุธชนิดอื่นๆก็กระทำเช่นเดียวกัน ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะกฎหมายบังคับหรือหลักปฎิบัติโดยทั่วไป
- แม้จะลดจำนวนจัดหาจาก 154 คันมาเป็น 108 คันแล้วก้ตาม แต่โครงการจัดหารถถังหลักของกองทัพบกแอฟริกาใต้ถูกยกเลิกในที่สุด ทำให้รถถัง Challenger 2 ของอังกฤษและ Leclerc ของฝรั่งเศสต้องฝันค้าง โดยเฉพาะรายหลังที่แอฟริกาใต้เคยเป็นลูกค้าคนสำคัญ ฝรั่งเศสเข้าร่วมชิงชัย 5 จาก 7 โครงการและไม่ได้รับการคัดเลือกแม้แต่รายการเดียว กองทัพบกแอฟริกามีรถถังหลักรุ่น Olifant MK1A และ Olifant MK1B ซึ่งก็คือรถถัง Centurion ปรับปรุงใหญ่อยู่ประมาณ 200 คัน กลางปี 2003 รถถัง Olifant MK1B จำนวน 13 คันได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยมากขึ้นและใช้ชื่อว่า Olifant MK 2 มีระบบควบคุมการยิงอันทันสมัยสามารถติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 120 มม.ได้
- ถึงจะไม่ได้รับคัดเลือกในโครงการนี้ แต่เรือดำน้ำ Scorpene ของฝรั่งเศสก็ไปใด้สวยในตลาดโลก เรือถูกสร้างเข้าประจำการในกองทัพเรือชิลีและมาเลเซียจำนวน 4 ลำ เรือของอินเดียปล่อยลงน้ำแล้ว 3 ลำจากจำนวน 6 ลำ และเรือของบราซิลปล่อยลงน้ำ แล้ว 2 ลำจากจำนวน 4 ลำ
- เรือดำน้ำ Gotland ของกองทัพเรือสวีเดน ถูกกองทัพเรืออเมริกาเช่าไปใช้งาน 1 ลำเป็นเวลา 1 ปีเต็ม โครงการจัดหาเรือดำน้ำกองทัพเรือไทยในช่วงปี1996 สวีเดนเสนอเรือดำน้ำ Gotland จากบริษัท Kockums และเป็นตัวเต็ง ทว่าโครงการมีปัญหาเรื่องข้อกล่าวหารับสินบนจนหยุดชะงัก หลังรัฐบาลนายกบรรหารยุบสภาโครงการนี้ก็เงียบตามไปด้วย Gotland ยังไม่สามารถทำตลาดส่งออกได้เลยมียอดผลิตรวมอยู่ที่ 3 ลำเท่าเดิม
- เรือดำน้ำ S1600 ของอิตาลีไม่ได้รับการสร้างแม้แต่ลำเดียว กองทัพเรืออิตาลีได้ปฎิเสธแบบเรือ S90 ระวางขับน้ำ 2,450 ตันซึ่งเป็นรุ่นใหญ่สุดของตระกูล และเลือกแบบเรือ Type 212 ของเยอรมันในโครงการจัดหาเรือดำน้ำทดแทน SAURO Class แบบเรือในตระกูลนี้ของ Fincantieri ประกอบไปด้วย S90 S1600 S1300 S1000 S800 S500 และ S300 โดยตามระวางขับน้ำ จนถึงปัจจุบันยังคงมีสถานะเป็นเพียงเรือกระดาษทั้งหมด
- แคนาดาจ่ายเงิน 427 ล้านเหรียญ ซื้อเรือดำน้ำ Upholder Class จำนวน 4 ลำโดยใช้ชื่อ Victoria Class และอีก 98ล้านเหรียญเพื่อปรับปรุงเพิ่มเติม เรือลำแรก HMCS Victoria เข้าประจำการในปี 2000 ส่วนที่เหลือเข้าประจำการไล่เลี่ยกันในช่วงปี 2003-2004 เรือดำน้ำ HMCS Chicoutimi เข้าประจำการวันที่ 2 ตุลาคม 2004 ถัดมาเพียง 3 วันระหว่างเดินทางบนผิวน้ำไปยังฐานทัพเรือ น้ำทะเลจำนวนมากได้ทะลักเข้ามาในเรือไฟฟ้าลัดวงจรและมีไฟใหม้เกิดขึ้น ลูกเรือเสียชีวิต 1 นายบาดเจ็บ 8 นายจากการสำลักควันจำนวนมาก พวกเขาต้องขอความช่วยเหลือจาก HMS Montrose เรือฟริเกตของอังกฤษ HMCS Chicoutimi เสียหายหนักต้องเดินทางกลับด้วยเรือบรรทุกสินค้า มีการสอบสวนอย่างยาวนานและการซ่อมแซมอย่างยาวนานเช่นกัน สาเหตุหนึ่งก็คือสายไฟมีการซีลป้องกันน้ำเพียง 1 ชั้นแทนที่จะเป็น 3 ชั้นเหมือนลำอื่นๆ หลังการซ่อมแซม HMCS Chicoutimi ทดสอบเดินเรือในเดือนธันวาคม 2014 สถานะปัจจุบันกลับเข้าประจำการในกองทัพเรือแคนาดาแล้ว
- ปัจจุบันเรือดำน้ำ Type 209 ทั้ง 3 ลำเข้าประจำการได้ 7-10 ปีแล้ว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องซ่อมบำรุงใหญ่ (Refit) อาทิเช่นเปลี่ยนแบตเตอรี่หรือซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดเสียหาย กองทัพเรือแอฟริกาใต้ได้ทำการซ่อมบำรุงที่อู่ต่อเรือ Armscor Dockyard เมือง Simon เรือลำแรกเปลี่ยนแบตเตอรี่เสร็จแล้วทว่าลำที่สองมีปัญหานิดหน่อย การใช้งานเรือดำน้ำของแอฟริกาใต้เป็นไปตามนี้ ซ่อมบำรุงใหญ่1ลำและใช้งานตามวงรอบอีก 2 ลำ ซึ่งประกอบไปด้วยการบำรุงรักษา (maintenance) การฝึกอบรม (training) และการเตรียมความพร้อมออกปฎิบัติการ (operational availability).
- โครงการจัดหาเรือดำน้ำกองทัพเรือแอฟริกาใต้ประสบปัญหาเรื่องความล่าช้าอยู่บ้าง แต่มีบทสรุปที่ชัดเจนเพราะได้แบบเรือที่มีคุณสมบัติ best value for money และ best performance ในลำเดียวกัน ทว่ากับ Project Sitron โครงการจัดหาเรือคอร์เวตมีปัญหาติดขัดมากกว่ากัน รวมทั้งมีการเปลี่ยนแบบเรือให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ท้ายที่สุดแล้วได้แบบเรือ best value for money และ best performance เป็นคนล่ะลำกัน ผู้เขียนได้เขียนถึงเรื่องนี้ไว้แล้วอ่านเพิ่มตามลิงค์ด้านล่างครับ
เจาะโครงการจัดหาเรือคอร์เวตกองทัพเรือแอฟริกาใต้
-----------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิงจาก
http://thaimilitary.blogspot.com/2015/08/project-wills.html
thaimilitary.blogspot.com/2015/05/south-african-corvette-program.html
https://en.wikipedia.org/wiki/Agosta-class_submarine
https://en.wikipedia.org/wiki/Daphn%C3%A9_class_submarine
https://en.wikipedia.org/wiki/Heroine-class_submarine
https://en.wikipedia.org/wiki/South_African_Arms_Deal
http://www.army-technology.com/projects/olifant/
http://www.secretprojects.co.uk/forum/index.php?topic=5646.0
โห เอกสารสุดยอดมากครับ ตอนหาทำไงเนี่ย
ว่าแต่..... //หันมามองพี่ไทย
บทความ เยี่ยมมากเลยครับ...ทำได้ มาตรฐาน ดีเลยครับ...มี อ้างอิง พร้อม...
อยากเห็นการแข่งขันแบบนี้ในกองทัพบ้าง
เปรียบเทียบ ให้คะแนนกันแฟร์ๆไปเลย
ไม่ใช่ ... พี่ขอมา ....
อ่านสนุก ข้อมูลแน่นตามมาตรฐานเหมือนเดิม
ขอบคุณสำหรับบทความครับ ละเอียดมากครับ
ขอบตุณครับ คุณsuperboy เป็นบทความที่ดีมากครับ อยากเห็นการเปืดเผยข้อมูลแบบนี้ในบ้านเราจัง
ตอบท่านภู พอดีข้อมูลติดมากับ Project Sitron น่ะครับ กรรมการท่านนี้เป็นนายพลเรือเลยดูหลายโครงการของกองทัพเรือไปด้วย ส่วนของไทยต้องมีแน่นอนครับ เพียงแต่หน้าตาเป็นอย่างไรสูตรคำนวนแบบไหน หรือให้น้ำหนักกับเรื่องไหนบ้างตอบไม่ได้จริงๆ
ที่ผมเขียนมันจบแค่กรรมการสรรหานะครับ ต่อจากนี้ก็จะเป็นหน้าที่ของ SOFCOM หรือกรรมการกลางซึ่งมี 3 งาน อย่างแรกก็มีการให้คะแนนเหมือนกัน แต่จะมีเรื่อง Industrial และ Financial เข้ามาด้วย โดยจะใช้สูตรที่แตกต่างออกไปอาทิเช่น
Best Value = Military Value + Industrial Value / Financial Index
ส่วนอีก2งานก็คือ Offer เจรจาต่อรองหาข้อสรุปสุดท้าย และ Budget งบประมาณ ตอนนี้เองประเทศผู้ผลิตจะมีการวิ่งลอบบี้นำเสนอสินค้าตัวเอง ซึ่งต่างชาติทำกันเป็นเรื่องปรกติและถูกกฎหมาย หลังจากได้ข้อสรุปถึงจะประกาศแบบเรือผู้ชนะแล้วส่งให้รัฐบาลต่อไป ส่วนจะเซ็นสัญญากันตอนไหนหรือตีเรื่องกลับเป็นเรื่องของคณะรัฐมนตรีแบบไทยเรานี่แหละ
มีภาพเรือดำน้ำType 209 ของแอฟริกาใต้บนอู่แห้งมาฝากครับ จะเห็นได้ว่ามีการทำลายพลางดิจิตอล เอ๊ย !... จะเห็นได้ว่าเป็นอะไรที่ง่ายๆเพราะเขาเองก็ไม่ได้เด่นเรื่องการต่อเรือ ถ้าเราได้เรือดำน้ำมาเมื่อไหร่ก็คงจะมีภาพแบบนี้เช่นกัน
ยอดเยี่ยมมากครับ บทความนี้
"ยอดเยี่ยมครับสำหรับบทความที่แปลมาให้อ่าน"
เรือตระกูล Type 209 เป็นเรือที่มีความน่าเชื่อถือทั้งในเรื่องราคาและประหยัดค่าใช้จ่ายเสมอถึงจะเป็นเรือเจนเนอเรชั่นเก่ามานานแล้วก็ตาม
(นึกแล้วก็น่าเสียดาย DME 1400 ซะจริงๆ )