หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ข่าวเกี่ยวกับเรือดำน้ำจีน

โดยคุณ : Sam เมื่อวันที่ : 15/07/2015 05:16:21

ช่วงนี้คงต้องยกให้เรื่องการจัดซื้อเรือดำน้ำเป็นหนึ่งในดวงใจของสมาชิกเวปบอร์ดนี้ทีเดียว  หลายๆกระทู้ที่มีตอนนี้ก็แสดงความเห็น/วิจารณ์กันไปพอสมควร ผมเลยอยากตั้งกระทู้นี้เอาไว้รวบรวมข่าวเกี่ยวกับเรือดำนำ้จากประเทศจีน เวลาคุยกันต่อไปในภายภาคหน้าจะใด้เน้นไปที่ข้อเท็จจริง/หลักฐานเชิงประจักษ์ (เพราะยังไงๆ ด จีน ก็คงมาแน่ๆ ) ท่านใดสนใจ/มีข่าวที่เกี่ยวข้องเชิญนะครับ

 





ความคิดเห็นที่ 1


ข่าวแรกจาก Indiatoday  สื่ออินเดียรายงานว่าเมื่อวันที่ 22 พค  เรือดำน้ำ หมายเลข 335 ชั้นหยวน (ในข่าวอ้างถึงในตอนหนึ่งว่า เป็นเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าที่อันตรายมากแบบหนึ่งของจีน) ของจีนใด้เข้าเทียบท่า ณ กรุงการาจี  ปากีสถาน  โดยสื่ออินเดียยังใด้ตั้งคำถามว่าเส้นทางเดินเรือของ ด ดังกล่าวเข้ามาในน่านน้ำของอินเดียหรือไม่

เรือดังกล่าวออกเดินทางจากเมืองท่าไฮหนาน เมื่อวันที่ 31 มีนาคม  ในรายงานดังกล่าวใด้มีการแสดงเส้นทางเดินเรือจากเมืองท่า ไฮหนาน  ผ่านทะเลจีนใต้ - ช่องแคบมะละกา - มหาสมุทรอินเดีย - ทะเลแคริบเบียน-ปากอ่าวเอเดน  เข้าสู่เมืองการาจี แต่ไม่มีการขยายความหรือคำอธิบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับเส้นทางเดินเรือในครั้งนี้

ปากีสถานตัดสินใจสั่งซื้อ ด ชั้นหยวนจากจีนจำนวน 8 ลำ เมื่อปลายเดือน พค.(แก้ไขเป็น 31 มีค)  โดยนักวิเราะห์ทางการทหารคาดว่าโครงการนี้น่าจะมีมูลค่าประมาณ 4-5 ล้านเหรียญ  (แก้ไข พันล้านเหรียญ) สรอ

( ลิ้งล่างสุดเป็นวิดีโอข่าวภาคภาษาอินเดีย )

http://indiatoday.intoday.in/story/china-submarine-hainan-island-south-china-sea-beijing-pakistan-rk-dhowan/1/442280.html

http://video.dunyanews.tv/index.php/en/mustwatch/23860/Chinese-submarine-travels-to-Pakistan-under-Indian-Navy's-nose#.VZGp3vlViko

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 30/06/2015 03:07:10


ความคิดเห็นที่ 2


แก้เป็น 4-5 พันล้าน USD. นะครับท่าน Sam ผมเข้าลิงค์ข่าวไม่ได้... เลยสงสัยว่า 8 ลำ/4-5 พันล้าน เฉลี่ย 5xx ล้านต่อลำ แพงไปมั้ยเนี่ย หรือรวมหมด(ก็ยังแพงอยู่ดีนะ)ซื้อตั้งเยอะ กว่าเราอีก.. เอ๊ะ..หรือหยวนตัวใหญ่?
โดยคุณ nui-714 เมื่อวันที่ 30/06/2015 16:02:04


ความคิดเห็นที่ 3


ขอบคุณครับท่าน nui-741. 4-5พันล้านเหรียญครับ อีกอย่างที่ผมเขียนผิดคือปากีสถานตัดสินใจซื้อ ด จีน เมื่อ 31 มีค   ไม่ใช่ ปลายเดือน พค ครับ

ส่วนเรื่องราคาที่สูงถึงลำละ$500-550m. นั้นผมไม่ทราบว่าข้อสันนิษฐานของแหล่งข่าวเป็นอย่างไร แต่ผมเดาเอาว่าน่าจะพิจราณาจากขนาดเรือและระบบAIP โดยเทียบเคียงจากราคาของ. ด ขนาดและสเปคใกล้เคียงกันกับชาติตะวันตก

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 01/07/2015 01:00:56


ความคิดเห็นที่ 4


http://thediplomat.com/2015/05/why-chinas-submarine-force-still-lags-behind/

บทความ จาก the diplomat เรื่อง ทำไมกองเรือดำนำ้ของจีนยังคงล้าหลังอยู่(เมื่อเทียบกับตะวันตก)

จีนมีกองเรือดำนำ้ซึ่งประกอบด้วย เรือดำนำ้นิวเคลียร์โจมตี 5ลำ เรือดำนำ้ขีปนาวุธ 4ลำ และเรือดำนำ้ดีเซล/ไฟฟ้าโจมตี 53 ลำ

ในรายงานประจำปีของกลาโหมสหรัฐประมาณการว่าภายในปี2020 จีนจะมีเรือดำนำ้ทั้งหมดถึง 69-78ลำ

โดยส่วนใหญ่ของเรือดำน้ำดีเซล/ไฟฟ้า ของจีนนั้นประกอบด้วย ด ชั้น ซ่ง 13ลำ  ด ชั้น หยวน 13 ลำ และยังมีแผนการสร้าง ด ชั้น หยวนเพิ่มอีก20ลำ (สังเกตุว่าบทความในส่วนนี้ละเว้นการกล่าวถึง ด ชั้น หมิง 17 ลำ และ ด กิโล จากรัสเซีย จำนวน 12 ลำ) 

ภารกิจหลักของกองเรือดำน้ำจีนยังเน้นไปที่ การต่อต้านเรือผิวนำ้ ตามเส้นทางเดินเรือหลัก. จุดอ่อน/ข้อด้อยในการต่อต้านเรือดำนำ้ และการโจมตีเป้าหมายบนฝั่ง ยังคงเป็นปัญหาที่ต้องใด้รับการปรับปรุง ทั้งนี้อ้างอิงจากการวิเคราะห์ของ RAND Corporation.

หนึ่งในจุดอ่อนทางโครงสร้างพื้นฐานของ ด  จีน คือวิศวกรรมการระบบการขับเคลื่อน เครื่องยนต์ที่ติดตั้งในเรือดำน้ำจีนส่วนใหญ่นั้นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และส่วนใหญ่เป็นการผลิตตามสิทธิบัตร (license)ขึ้นภายในประเทศจีน

ในการประเมิณความสมรรถภาพของกองเรือดำนำ้จีนที่จัดขึ้นที่สถาบันสงครามทางทะเลของสหรัฐ ศร แอนดรูว์  อิริคสัน ใด้กล่าวสรุปว่า. วิศวกรระบบขับเคลื่อนสำหรับเรือดำนำ้ของจีนนั้นยังเป็นเรื่องที่พัฒนาไม่สำเร็จ
จีนต้องสามารถสร้างเรือจำนวนมาก และเรือเหล่านั้นต้องมีเตาปฏิกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ มีอายุการใช้งานยาวนาน มีความน่าเชื่อถือสูง และเงียบพอ  ไม่มีทางที่จะทดแทนความเงียบของเรือดำนำ้(ด้วยปัจจัยชดเชยอื่นๆ, ผู้แปล) 

 ด ดีเซลไฟฟ้านั้นโดยปกติเงียบกว่า ด นิวเคลียร์มาก เนื่องจากเครื่องดีเซลสำหรับ ด ถูกออกแบบมาให้ลดความสั่นสะเทือน และเสียง เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจจับโดยโซน่าร์  ทั้งเรือชั้น ซ่ง และ หยวน ต่างก็ขับเคลื่อนด้วยเครื่องดีเซลรุ่นที่ดีเยี่ยมยอดคือรุ่น 396 SE84. ที่ออกแบบโดย MTU Friedrichshafen GmbH of Friedrichshafen, Germany.

 เครื่องยนต์ดังกล่าวเป็นเครื่องยนต์ระดับชั้นนำของโลก, ตามความเห็นของวิศวกรเรือดำนำ้ที่มากด้วยประสพการณ์. เรือ ซ่ง และ หยวน แต่ละลำติดตั้งเครื่องยนต์รุ่นนี้ลำละ3ระบบ ซึ่งเครื่องยนต์เหล่านี้ผลิตโดยบริษัทในจีนตั้งแต่ปี 1986 เรือชั้นหยวนยังใด้รับการติดตั้งระบบ AIP อีกด้วย 

จีนต้องการให้เรือ ด ของตนเงียบ และไม่ต้องโผล่ขึ้นผิวนำ้เพื่อชาร์จแบตเตอรี่ และจีนใด้ติดตั้งระบบAIP ในเรือหยวนใด้สำเร็จ  แต่เทคโนโลยีนั้นพัฒนาไปข้างหน้าเสมอ และโดยเฉพาะกับเทคโนโลยีAIP ถึงแม้คุณจะเชี่ยวชาญแล้ว แต่มันก็เป็นเทคโนโลยีที่ซับซ้อนมาก. อิริคสันกล่าว

จีนยังใด้ทดลองเกี่ยวกับ Li-Ion battery. แหล่งพลังงานที่ให้กำลังสูงซึ่จะทำให้เรือดำใด้นานขึ้น แม้จีนจะยังไม่ประสพความสำเร็จทางด้านนี้ แต่พวกเขาก็ยังพยายามอยู่อย่างมุ่งมั่น โดยมีเป้าหมายว่าจะสามารถใช้. Li-Ion battery กับ ด ที่จะสร้างใหม่ภายในปี2020 

เรือดำนำ้จีนยังถือใด้ว่าตามหลังชาติตะวันตกอยู่หนึ่งยุค ตัวอย่างเช่น ด นิวเคลียร์ type 095 นั้นเทียบใด้กับเรือ ด นิวเคลียร์ รุ่นปี1980 ของNATO. 

มีโครงการและความพยายามมากมาย มีหลายโครงการที่จะต้องประสพความสำเร็จในโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเรือดำนำ้ของจีน ก่อนที่มันจะสามารถนำมาใช้งานจริงใด้ และแม้ว่ามันไม่ใด้ดูสิ้นหวัง แต่ก็ยังอีกนานและต้องผ่านอุปสรรคอีกมาก(ก่อนที่จีนจะมาเทียบชั้นกับ เทคโนโลยีของ ตต) 

 

ความเห็น ผมอ่านแลัวรู้สึกว่า สรอ ประเมิน ด ของจีนเทียบกับ ด นิวเคลียร์ของตนเอง ซึ่งถ้ามองแค่นั้น ผมเห็นด้วย. แต่ถ้าจำแนกเอาเฉพาะเรือ ดีเซลไฟฟ้ามาคุยแล้วล่ะก็ผมว่าเรือจีนไม่ใด้ล้าหลังเป็น 30 ปีแบบนั้น  เรื่องที่คนส่วนใหญ่เป็นห่วงกับสินค้าจีนทุกอย่างคือการควบคุมคุณภาพ ความทนทาน และการสนับสนุนอะไหล่/ซ่อมบำรุงในระบะยาวมากกว่านะผมว่า   อ้อ..... อีกอย่างที่สำคัญมากคือ แมนน่วลและการฝึกสอน แมนน่วลแต่ละอย่างของจีนแย่มาก และการฝึกสอนก็ไม่เป็นระบบเท่าที่ควร อันนี้ล่ะที่ผมห่วงมากๆสำหรับการทำธุรกิจกับจีน ระบบเอกสารที่ไม่มีประสิทธิภาพทำให้การretain knowledge &skill ไม่มีประสิทธิผลครับ 

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 01/07/2015 08:24:45


ความคิดเห็นที่ 5


เอาเเล้ววครับถึงขั้นนี้เเล้ว ข่าวจากเพื่อนบ้านของเรา TAF

24/04/2558 12.45 น. ThaiArmedForce.com - กองทัพเรือเริ่มเจรจาตกลงราคาจัดหาเรือดำน้ำแล้ว เชื่อเจรจากับจีน

กองทัพเรือเริ่มเจรจาตกลงราคากับผู้ผลิตเรือดำน้ำแล้วเมื่อวันที่ 25-26 มิถุนายนที่ผ่านมา หลังจากมีกระแสข่าวที่ว่าคณะกรรมการคัดเลือกแบบเรือดำน้ำของกองทัพเรือได้ประชุมกันและมีมติอย่างไม่เป็นเอกฉันท์ที่ 10 ต่อ 7 เลือกแบบเรือดำน้ำ S26T Yuan modified-class จากประเทศจีนจำนวน 3 ลำให้เป็นผู้ชนะ

การเจรจาตกลงราคาอาจหมายถึงการที่ผู้ผลิตผ่านการพิจารณาคุณสมบัติด้านเทคนิคแล้ว และหมายถึงกองทัพเรือกำลังเจรจาและพิจารณาคุณสมบัติทางการเงิน ที่อาจยืนยันกระแสข่าวที่ว่ากองทัพเรือตัดสินใจในเบื้องต้นไปแล้วที่จะเลือกเรือดำน้ำ S26T จากจีน ซึ่งขัดกับคำให้สัมภาษณ์ของโฆษกกองทัพเรือที่ให้สัมภาษณ์กับ Jane's ว่ากองทัพเรือยังไม่ได้ตัดสินใจใด ๆ

กระแสข่าวยังระบุอีกว่ารัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องพอใจกับการตัดสินใจนี้ของกองทัพเรือและพร้อมจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้เร็วที่สุด

แหล่งข่าวระบุว่าการตัดสินใจเลือกแบบเรือ S26T ของกองทัพเรือนั้นมีแรงกดดันจากภายนอกในช่วงใกล้ปิดปีงบประมาณและช่วงการจัดทำโผโยกย้ายนายทหาร สะท้อนให้เห็นจากการที่มีถึง 7 เสียงที่เลือกแบบเรืออื่นจากเยอรมันและสวีเดน และแหล่งข่าวจากภายนอกกองทัพเรือยังระบุอีกว่าผู้นำระดับสูงของกองทัพเรือนั้นต้องการเลือกเรือดำน้ำจากสวีเดนมากกว่า

ทั้งนี้ คาดว่าถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด คณะรัฐมนตรีจะมีมติอนุมัติการจัดหาเรือดำน้ำมูลค่า 36,000 ล้านบาทภายใน 1 - 2 เดือนนี้

 

ผมเชียร์เรือดำน้ำสวีเดนมาตลอด ยังไงก็อยากให้ ทร. ออกมาชี้เเจงรายละเอียดครับ สิ่งที่เราได้มามันจะคุ้มกับความเสี่ยงที่เราต้องเเบกรับหรือไม่ คนที่อยู่เบื้องหลังก็รู้ๆกันอยู่ว่าเป็นใคร ผมรู้ว่าคุณห่วงผลประโยชน์ของประเทศ เเต่คุณไม่มีความรู้ทางด้านนี้เลยเเล้วคุณมาบีบบังคับให้ตัดสินใจเเบบนี้ คุณไม่ห่วงอีกหลายชีวิตที่ต้องเป็นคนใช้งานเหรอ บุคลากรกว่าจะฝึกมาได้เเต่ละคนต้องใช้งบประมาณเเละเวลาตั้งเท่าไหร่ ประเทศอื่นห่วงชีวิตบุคลากรมากกว่ายุทโธปกรณ์ เเต่ประเทศนี้ดูท่าจะห่วงอย่างอื่นมากกว่าชีวิตบุคลากรเสียอีก ถ้าสิ่งที่ผมได้รับการบอกเล่าจากคนวงในมาเป็นเรื่องจริง ก็ขอให้คุณเผชิญหน้ากับสิ่งที่จะตามมาได้ เเละหวังว่าคุณจะมีชีวิตอยู่จนถึงวันนั้น (เพราะสิ่งที่คุณทำกับ ทร. ไม่ใช่เเค่เรื่องนี้เรื่องเดียว)

ขอโทษทุกท่านด้วยนะครับที่ต้องมาดราม่า เเต่ผมทนไม่ไหวจริงๆ อีกหน่อยคงไม่ต้องใช้ทหารเรือมาปกป้องอธิปไตยเเละผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเเล้วมั้ง ใช้เหล่าอื่นก็ทำได้


โดยคุณ maritime เมื่อวันที่ 01/07/2015 16:17:52


ความคิดเห็นที่ 6


ข่าวเกี่ยวกับ เรือ ส. จีน ครับว่า ปฎิบัติการไปได้ไกลถึง มหาสมุทรอินเดียแล้ว (บังคลาเทศ) เมื่อปลายปี 2014… แต่ปีนี้ 2015 ไปไกลกว่าอีกนิดถึง ปากีฯ... ข่าวบอกถึงการที่จีนพยายามจะขยายระยะปฎิบัติการของตนออกไป และ เรือ ส. ดีเซลไฟฟ้าของจีนพัฒนาไปทั้งปริมาณและคุณภาพ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ที่เรือพี่เลี้ยงเรือ ส. (Submarine support ship) คือ Type 925 (ชั้น Dajiang) ที่ต้องคอยตามไปทุกแห่ง เพื่อส่งกำลังบำรุงและกู้ภัยให้ เรือ ส. โดย Type 925 มี DSRV (Deep-submergence rescue vehicle) คือ รุ่น LR-7 สร้างจาก UK ประจำการณ์ครับ

http://www.lowyinterpreter.org/post/2014/09/26/Chinese-submarine-Sri-Lanka-visit-prompts-rescue-questions.aspx

 

http://news.bbc.co.uk/1/hi/uk/7607640.stm

 

ปล. คลิปเป็น DSRV ของสิงคโปร์ครับ ข้อมูลทั้งหมดจากอินเตอร์เนตครับ

Dajiang class


โดยคุณ Oversea เมื่อวันที่ 01/07/2015 17:54:19


ความคิดเห็นที่ 7


เมื่อปีที่แล้ว ที่Song class ไปColombo น่าจะไปฝึกซ้อมภารกิจกู้ภัย ไปด้วย 

 

และ Yuan Class 335 ที่ไปปากี เมื่อ 22พค น่าจะไปเพื่อโชวตัว เห็นไปลำเดียว

 

วิ่งไกลมาก สงสัยไปหลายที่

 



โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 02/07/2015 09:18:56


ความคิดเห็นที่ 8


ใจเย็นครับ ปกติการเจรจาต่อรองราคามักจะต้องมีอย่างน้อย 2 จ้าว. สังเกตว่ามีเจรจา 2วัน. อาจจะจ้าวล่ะวัน เจ้าแรกแน่นอนจีน. แต่อีกจ้าวล่ะใคร ผมเดาว่าเกาหลีใต้. หรือไม่ก็สวีเดน ซึ่งทั้งจีนและเกาหลีใต้ล้วนถูกใจผู้มีอำนาจตัดสินใจ อยู่ที่ใครจะเสนอ option ที่ดีกว่าคร้บ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 02/07/2015 14:47:09


ความคิดเห็นที่ 9


ต้องขออณุญาติแอดมินช่วยพิจารณาว่า โอเคหรือไม่นะครับถ้าไม่ โอเคก็ลบไปเลยนะครับ  คือเนื่องจากตอนนี้เรื่อง  ด กำลังเป็นที่สนใจ ผมจึงคิดว่าถ้ามีกระทู้เฉพาะข่าว คู่ไปกับกระทู้ที่สนทนากันน่าจะดีนะครับ  เพราะกระทู้ที่สนทนากันมันเริ่มยาวขึ้นเรื่อยๆ  บางท่านต้องการทราบข่าวสารเฉยๆ ก็จะเปิดไปเจอบทสนทนายาวๆ  อย่างไรก็ตามถ้าไม่เห็นด้วยก็ลบเลยครับ

ข่าวจาก อินเตอร์แนชันแนล บิสิเนสไทม์ ชิ้นนี้กล่าวถึงโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำของไทย  ที่สหรัฐใด้แต่นั่งมองจีนแผ่อิธทิพลของมหาอำนาจ

แปลแบบบ้านๆ ดังนี้ครับ

เนื้อข่าวกล่าวว่า ความสัมพันธ์ สหรัฐ-ไทย  อาจเข้าสู่สภาวะเลวร้ายเมื่อ ไทยตัดสินใจซื้อเริอดำน้ำจากจีน

โครงการเรือดำน้ำมูลค่ากว่าหมื่นล้านระหว่าง  ไทย - จีน กำลังเป็นที่กล่าวถึงกันอย่างมาก และยิ่งสั่คลอนความสัมพันธ์ระหว่าง  ไทย - สรอ. ซึ่งอาจถึงขั้นส่งผลให้นโยบาย ปักหมุดเอเชียต้องล้มเหลว  การอนุมัติโครงการเรือดำน้ำเมื่อต้นเดือน นั้นเป็นการสานสัมพันธ์ทางทหารที่ก้าวสำคัญในขณะที่สหรัฐกลับเดินถอยหลังในเรื่องดังกล่าว  ( เรื่องอนุมัติ น่าจะคลาดเคลื่อน  เพราะที่เราทราบกันนั้นเพียงแค่  ทร  เลือกแบบ  ยังไม่ใด้เสนออนุมัติ )

ที่ผ่านมา  ไทยเป็นพันธมิตรทางทหารที่สำคัญในภูมิภาคนี้ของ สรอ. เกีย่วกับนโยบาย Asia Pivot และการรักษาความสงบในภูมิภาค แต่ความสัมพันธ์นั้นถดถอยเมื่อเกิดการรัฐประหารในปี 2014 และมี รบ  ทหารเข้ามาปกครอง

ส่วนทางด้านความสัมพันธืระหว่างไทยกับจีนกลับแน่นแฟ้นขึ้น และจีนก็ใด้รุกคืบสานสัมพันธ์ให้เหนียวแน่นยิ่งขึ้นทุกครั้งที่  สรอ มีท่าทีในทางลบกับไทย

การตัดสินใจเรื่อง  ด  ในครั้งนี้สร้างความกังขาให้กับผู้เชี่ยวชาญทางการทหารในประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยให้ความเห็นว่าความร่วมมือทางการทหารดังกล่าวเป็นที่น่าหวั่นใจ

การผูกสัมพันธ์กับจีนให้ใกล้ชิดขึ้นเป็นเรื่องที่เข้าใจใด้  แทบจะเรียกใด้ว่า  จำเป็น  เลยทีเดียว  แต่การต้ดสินใจเลือกเรือจากจีน แทนที่จะเลือกเรือจากเยอรมันหรือสวีเดนที่ดูเหมือนจะเหมาะสมกว่า  เป็นอะไรที่น่าเป็นห่วงมาก ,  ดร ฐิตินันท์  กล่าว  และมันยังเป็นการยกระดับความผันผวน เกี่ยวกับ การเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาคอย่างมาก

การที่รัฐบาลทหารของไทยใด้รับการยอมรับจากจีนนั้นเป็นเรื่องสำคัญสำหรับ รบ  ทหารของไทยมากในเวลาที่  ชาติตะวันตก ต่างลดระดับความสัมพันธ์กับไทย

 

Thailand-China Submarine Deal: US Taking A Backseat To Chinese As Superpower Influence

By Michelle FlorCruz @mflorcruz m.florcruz@ibtimes.com on July 13 2015 11:51 AM EDT

 

Relations between the United States and Thailand could be in jeopardy after China and Thailand solidified a deal over submarines. Pictured: A woman supporting the Thai army is shown being taken to safety by soldiers after she approached activists protesting against military rule in Bangkok, May 24, 2014. Reuters/Damir Sagolj

A controversial billion-dollar submarine deal between China and Thailand has aggravated relations between the U.S. and Thailand, which could potentially disrupt the greater U.S. naval “pivot” in the region, reports indicate. Thailand’s military junta-led government approved the purchase of three attack submarines earlier this month from China, bridging military ties with Beijing as Washington took a step back.

Historically, Bangkok has been a crucial ally to American forces in the region and has been key to theU.S. military's "Asia pivot," which relies on regional alliances as a tool to maintain peace in the region. However, relations have been strained since a military coup in 2014 ousted Prime Minister Yingluck Shinawatra and put Prime Minister Prayuth Chan-ocha in office. Now, economic and military bilateral relations between Beijing and Bangkok continue to strengthen as relations with the U.S. take a backseat. The U.S. State Department has expressed reluctance to work with Prayuth, linking him to human rights violations and other abuses of power. During the political instability following the coup, the U.S. also scaled back from its annual joint military exercises with Thailand, called Cobra Gold, and postponed discussion of further training exercises, leaving room for Beijing to fortify ties.

“The U.S. is giving the junta the cold shoulder, apparent during the Cobra Gold Exercise,” Martin Sebastian, head of the Center for Maritime Security and Diplomacy at the Maritime Institute of Malaysia, told Defense News.

 

 

 

“Thailand’s relations with China have been strong, and it seems that Beijing incrementally steps up its ties with the Thai military every time Washington pulls back,” Ernest Bower and Murray Hiebert, Southeast Asia experts at the Center for Strategic and International Studies, wrote in a research note late last month, adding that “Thailand-U.S. relations have been in a deep freeze.”

The submarine exchange has even raised questions among Thai defense experts, who call Bangkok and Beijing’s budding military relationship “alarming.”

“Edging closer to China is understandable, even necessary, but buying submarines from the Chinese is something else much more alarming when other bidders such as Germany or Sweden seemed to make more sense,” Thitinan Pongsudhirak, director of the Institute of Security and International Studies at Bangkok’s Chulalongkorn University, said in the same report, adding that the submarine purchase ups the “geopolitical game into a new alarming level.”

"Evidently, Thailand’s military government has found superpower support in Beijing, as China has embraced Thai generals in both coups in 2006 and 2014,” Pongsudhirak said. “Having China on its side is hugely important to the Thai military because it confers ‘face’ and international legitimacy while Western countries generally shunned and downgraded dealings with Thailand.”

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 15/07/2015 05:16:21