ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- กองทัพอากาศพม่าได้ขึ้นระวางประจำการอากาศยานอีก 9 ลำในสัปดาห์นี้ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องบินขนส่ง เครื่องบินฝึกกับเฮลิคอปเตอร์ใหม่ รวมทั้ง Mil Mi-35 ฮ.โจมตีติดปืนกลและจรวดนำวิถี 1 ลำด้วย พล.อ.อาวุโสอองมินหล่าย (Aung Min Hlaing) ผู้บัญชาการกองทัพพม่า ซึ่งเป็นประธานในพิธีได้กล่าวเน้นย้ำความจำเป็น ที่จะต้องพัฒนากองทัพอากาศให้เข้มแข็ง ทัดเทียมประเทศเพื่อนบ้านในย่านนี้ พิธีจัดขึ้นวันพุธ 24 มิ.ย. ที่โรงเรียนฝึกการบิน 1 ฐานทัพอากาศเม็กทิลา (Meikthila) ในเขตมัณฑะเลย์ ทางตอนกลางของประเทศ โดยมีผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ กับบรรดานายทหารอาวุโสของกองทัพอากาศ เข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก ภาพที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์กระทรวงกลาโหม และ เฟซบุ๊ก ผบ.กองทัพ พม่า ได้เปิดเผยให้เห็นอากาศยานใหม่ทั้ง 9 ลำ ขณะที่ พล.อ.อาวุโสมินอองหล่าย ได้ให้เกียรติสวมชุดนักบิน ขึ้นนั่งบนเครื่องบินฝึกสุดทันสมัยลำใหม่ด้วย ทั้งหมดเป็นเครื่องบินขนส่งระยะใกล้-ปานกลาง แบบ Beech-1900D จำนวน 2 ลำ ที่ผลิตโดยบีชคราฟต์ (Beechcraft) แห่งสหรัฐ ซึ่งปัจจุบันกลายมาเป็นบริษัทเท็กซ์ตรอน (Textron) ในกลุ่มบริษัทเรย์ธีออน (Raytheon) กร็อบ-120TP (Grop-120TP) ที่ผลิตในเยอรมนี ซึ่งเป็นเครื่องบินฝึกเครื่องยนต์เดี่ยวใบพัด 2 ที่นั่งอีก 3 ลำ ยูโรคอปเตอร์ 3 ลำ กับ เบลล์-206 (Bell-206) ที่ผลิตโดย Bell Helicopter แห่งหรัฐ และ Mil Mi-35 จากรัสเซีย ไม่มีการเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดหา ตลอดจนจำนวนที่จัดหาทั้งหมด แต่ พล.อ.อาวุโสมินอองหล่ายกล่าวในพิธีว่า อากาศยานใหม่ทั้ง 9 ลำ "จัดหาเมื่อไม่นานมานี้" จะช่วยเสริมความเข้มแข็งกำลังทางอากาศ และขีดความสามารถด้านการป้องกันประเทศ" สภาพทางภูมิรัฐศาสตร์ทำให้พม่า ต้องพัฒนาการกลาโหมให้ทันสมัย เพื่อให้การป้องกันชาติมีความเข้มแข็ง ตามรายงานในเว็บไซต์ของเรย์ธีออน บีช-1900D เป็นรุ่นที่พัฒนามากที่สุด ในครอบครัวเดียวกัน บรรทุกผู้โดยสารได้จำนวน 19 ที่นั่ง ได้รับความนิยมแพร่หลาย ในบรรดาสายการบินประเทศต่างๆ ที่ให้บริการบินระยะใกล้-ปานกลาง กองทัพบกไทยเป็นอีกเจ้าหนึ่ง ที่มีประจำการเช่นกัน เป็นบีช-1900C จำนวน 2 ลำ นอกเหนือจาก Super King Air 200 อีก 2 ลำ ซึ่งเป็นรุ่นที่พัฒนามาก่อนของบีชคราฟต์ สำหรับกร็อบ-120TP มีใช้แพร่หลายในทั่วโลก รวมทั้งกองทัพอากาศอินโดนีเซียด้วย แต่เป็น 3 ลำแรกของกองทัพอากาศพม่า ซึ่งหลายสิบปีมานี้่พึ่งพาเครื่องบินฝึก ที่ผลิตในจีนเป็นหลัก ซึ่งได้แก่ เฉิงตู เจ-7 (Chengdu J-7) ซึ่งก็คือเครื่องบินไอพ่น ที่จีนก๊อปปี้จาก MiG-21 ของสหภาพโซเวียตเมื่อก่อน กับ หงตู JL-18 (Hongdu JL-8) หรือ Karakorum-8 จากการผลิตร่วมกันระหว่างจีนกับปากีสถาน เป็น บฝ.ไอพ่นขนาดเล็ก ที่ใช้เป็นเครื่องบินโจมตีขนาดเบาได้ แต่กองทัพพม่าทำเป็นฝูงบินผาดแผลง บินโชว์ในวาระสำคัญต่างๆ พม่ายังมีเครื่องบินฝึกใบพัด แบบ "พิลาตัส" (Pilatus) PC-7 และ PC-9 ที่ผลิตในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ รุ่นหลังมีประจำการในกองทัพอากาศไทยเช่นกัน . . หนังสือพิมพ์เมียวดีของกองทัพพม่า รายงานเหตุการณ์ดัวกล่าว โดยไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับอากาศยานมากนัก รวมทั้งไม่ได้ระบุชื่อ รุ่นของยูโรคอปเตอร์สองลำแรกของกองทัพอีกด้วย ระบุแต่เพียงว่าเป็น "ฮ.ขนส่งขนาดกลาง" ขณะที่ Bell-206 เป็น ฮ.ใช้งานอเนกประสงค์ขนาดเบา สำหรับเบล-206 ไม่ใช่อากาศยานแปลกปลอมในพม่า เมื่อปี 2529 รัฐบาลสหรัฐเคยให้การสนับสนุน Bell-206B แก่รัฐบาลทหารพม่าจำนวน 7 ลำ เพื่อใช้ในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ทั้งหมดจดทะเบียนเป็นเครื่องบินพลเรือน ลำนี้จึงเป็น Bell-206 ลำแรกของกองทัพ ทั้งสื่อของทางการต่างๆ และ เฟซบุ๊กของผู้บัญชาการกองทัพ ต่างไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับ Mil Mi-35P ที่นำเข้าประจำการล่าสุด ซึ่งทำให้เข้าใจกันว่า เป็นลำสุดท้ายจากทั้งหมด 10 ลำ ที่พม่าซื้อจากรัสเซียในเดือน ธ.ค.2552 ซึ่งก่อนหน้านี้มีการทยอยส่งมอบแล้วทั้งหมด 9 ลำ Mi-35P เป็นเวอร์ชั่นส่งออกของ ฮ.โจมตี Mil Mi-24 ติดปืนกลอากาศแบบแกตลิงกัน (Gatling Gun) แบบ 4 ลำกล้องที่ใช้กระสุน 12.7×108 mm ติดจรวดนำวิถี-ไม่นำวิถีได้หลายรุ่น ติดระบบเรดาร์ ระบบควบคุมการยิงอาวุธ และ เอวิโอนิกส์ ซึ่งล้วนเป็นเทคโนโลยีก้าวหน้าของรัสเซีย ปัจจุบันเวอร์ชั่นต่างๆ ของ ฮ.โจมตีรุ่นนี้ มีใช้ในกองทัพกว่า 50 ประเทศทั่วโลก พล.อ.อาวุโสมินอองหล่ายกล่าวอีกว่า ตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา กองทัพได้เร่งพัฒนาขีดความสามารถด้านต่างๆ ซึ่งทั้งเครื่องบินรบและอาวุธยุทโธปกรณ์ ได้ช่วยลด "ช่องว่างทางเทคโนโลยี" กับ ประเทศเพื่อนบ้านลงได้อย่างมาก ที่ผ่านมาพม่าสามารถประกอบเครื่องบินในประเทศได้เอง "มีเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ถูกนำเข้าประจำการ เพิ่มขึ้นเป็นสี่เท่าในเวลาเพียงสี่ปี" รวมทั้งสิ้น 36 ลำ เป็นเครื่องบิน 4 ชนิดรวม 29 ลำ เฮลิคอปเตอร์อีก 3 ชนิดจำนวน 7 ลำ แต่การอัปเกรตกำลังกองทัพอากาศยังจะดำเนินต่อไป เฟซบุ๊กของ ผบ.กองทัพพม่ารายงานตัวเลข โดยไม่ได้อธิบายอะไรอีก ไม่เพียงแต่ พม่าจะใช้อากาศยานรบในภารกิจป้องกันประเทศเท่านั้น หากยังใช้ในการสู้รบกับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มมาเป็นระยะๆ เมื่อต้นปีที่แล้ว พม่าส่ง Mi-24 ติดปืนกล เข้ายิงโจมตีสนับสนุนการสู้รบ ระหว่างทหารรัฐบาลกับกองกำลังกะฉิ่นอิสระ ในรัฐกะฉิ่น และ ใช้ MiG-29 โจมตีทิ้งระเบิด ส่ง Mi-35 ยิงโจมตีทำลายที่มั่นฝ่ายตรงข้าม ระหว่างเข้ากวาดล้างกลุ่มกบฏโกกังในรัฐชาน ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือติดชายแดนจีน ในช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค.ปีนี้. . |
|||||
2 |
|||||
3 |
|||||
4 |
|||||
5 |
|||||
6 |
|||||
7 |
|||||
8 |
|||||
9 |
|||||
10 |
|||||
11 |
|||||
12 |
|||||
13 |
|||||
14 |
|||||
15 |
|||||
16 |
|||||
17 |
นี่ผมผิดปกติอะไรหรือเปล่า ? ทำไมรู้สึกว่าเพื่อนบ้านทำใด้ดีกว่าเรามากมายในเรื่องพัฒนากองทัพ เราดูเหยาะแหยะฉิ่งฉับ หน่อมแน้ม เอามากๆเลยอ่ะ
ปกติจะเห็นพระไปพรมน้ำมนต์แต่พม่าให้นายทหารชั้นผู้ใหญ่ไปพรมแทน ดูแปลกๆ
รัฐบาลพม่าให้ความสำคัญ กองทัพ + กีฬา อยู่แล้ว
30-40ปี เค้านำเราแน่ ไม่ใช้แค่พม่านะ รอบๆเราด้วย
อิจฉาตาร้อนจัง
ได้ของดีๆเพิ่มใน ไอเท็มอีกแล้ว