อยากชวนคิด/ถกประเด็นเรื่องความเป็นไปใด้ของแนวคิดที่จะเอา ระบบAEW&C มาติดตั้งใน บ. แบบพลเรือน (เช่นอิสราเอลใช้G550 แต่ผมว่าอยากใช้รุ่นที่ใหญ่กว่าหน่อยเพราะ... ) แล้วบวกระบบควบคุมอาวุธ+ลูกยาว สัก10-12 ลูก เข้าไป เป้าหมายคือตรวจจับและแทรกกิ้งใด้จากระยะใกล แล้วปล่อยลูกยาวใส่ก่อน
ไม่มีใครเค้าทำกันนะ...เท่าที่ทราบ แต่ผมพยายามคิดว่าเพราะเหตุใดถึงไใ่มีใครทำ ?? นึกไม่ออก... ตอบไม่ใด้ ท่านๆว่าไงครับ
เพิ่มเติมนิดนึง ไม่ใ้ดคิดว่าจะเอาไว้ลุยกับ บข. หรือ บจ ของข้าศึกนะครับ แต่เอาไว้สร้างแต้มต่อให้กับฝูงบินของเรา ประมาณว่า 1 AEW&C ที่ว่านี้ กับ กริปเพ่น 3 ลำ น่าจะลุยกับ บข้าศึกใด้ถึง 12 ลำทีเดียว เพราะกว่า บ ข้าศึกจะเห็นกริปเพนก็น่าจะเหลือน้อยแล้ว เผลอๆเลี้ยวกลับหมดอีกต่างหาก
น่าคิดนะครับ ถ้ามองในแง่ความจำเป็นทางยุทธศาสตร์และหลักนิยมแล้วไม่มีใครทำแน่นอน อย่างโครงการสตาร์วอร์ของอุษายังยกเลิกไปแล้ว...แต่ถ้าเทียบกับบินกันชิปอย่าง AC-130 ผมว่าพวกกันชิปน่าจะมีความจำเป็นมากกว่า แต่ผมก็คลับคล้ายคลับคลาว่าพี่หมีแกเคยคิดจะทำนะแต่ไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดต้องไปหาค้นในยูทูปแค่เห็นแว๊ปๆ..^_^
ที่ใกล้เคียงน่าจะมีB-1Rมั้งครับ
AWACSลำนึงแพงมาก อุปกรณ์และกำลังพลเยอะแยะ(เยอะกว่าบ.ลำเลียงหรือบ.ทิ้งระเบิด) เป็นHVA ไม่เอาไปแนวหน้าอยู่แล้ว จะเอาไปล่อเป้าจรวดอีกฝ่าย(ที่ยิงไกลพอๆกัน)ก็ใช่ที่ RCSก็ใหญ่โดนเรดาร์อีกฝ่ายเจอง่ายอีก
B-1R ต้องปฎิบัติการร่วมกับเอแวคสำหรับชีเป้าและ F-22,F-35 อยู่ดีครับ
แนวคิดใช้สำหรับซัวโว (ยิงแอมรามเป็นชุด) ระยะไกลจากแนวหลัง
แล้วเร่งสปีดหนีด้วยความเร็วสูง
ลำทดสอบติด SABR-GS radar เป็น AESA ที่ใหญ่ที่สุดที่ติดตั้งกับอากาศยานในขณะนี้
ผมว่ามีหลายประเด็นที่ไม่มีใครเอาเครื่องบินจัมโบเจ็ทมาติดเรดาร์ยักษ์และมิสไซล์เป็นตั้งๆ
- หนึ่งเลยคือระยะของจรวดมันถึงหรือเปล่า เพราะยิ่งไกลความเร็วก็ยิ่งหมด มันไม่มี amraam ลูกยิงเป็นห้าหกร้อยกิโลไงครับ เพราะต่อให้มีสาบานได้เลยว่าหลบทัน จะยิงกันจริงๆ แล้วโดนเป้าจากการสู้รบกลางอากาศก็ระยะสายตาหรือน้อยกว่าเป็นหลักด้วยซ้ำ (ต่อให้ยิงด้วยลูกที่สามารถยิงเกินระยะสายตา) จากสถิติการรบทีมีการศึกษามา
- สอง ความยืดหยุ่น และความได้เปรียบ การส่งเครื่องเล็กๆ ที่ rcs เล็กกว่าเครื่องจับโบ้เจ็ทนั้น มีสิทธิ์เข้าไปใกล้ข้าศึกได้หลายเท่าก่อนจะข้าศึกจะรู้ตัว นอกจากนี้การที่เครื่องที่มายิงยังมีความยืดหยุ่นสูง เช่นเป็นเครื่องสำหรับขับไล่ที่ระดับต่ำ หรือสูง เป็นต้น เพราะเครื่องบินแต่ละลำ ระดับความสูงที่เหมาะสมแก่การคอมแบ็ทนั้นไม่เท่ากัน ดังนั้นส่วนจะพยายามล่ออีกฝ่ายให้ปรับระดับบินมาเท่าที่เครื่องเราถนัดๆ และยำตีน ฮา และคอยระวังไม่โดนหลอกเข้าไปซะเอง
- ความคล่องแคล่ว ถ้าจะเอาเครื่องยักษ์ติดจรวด ไปโซโลกับข้าศึก ถ้าเครื่องข้าศึกบินมาใกล้ เครื่องลำใหญ่คงชิบหายละครับ ถ้าไม่มีใครคุ้มกัน จะหันกลับทิศทีเป็นนาที (ก็เวอร์ไปหน่อย) แต่ตายสนิทติดทนนานทีเดียว ไม่รู้ว่าโดนขับไล่ของข้าศึกบินม้วนรอบกี่ตลบละ เพื่อปั่นหัวนักบิน ผมว่าเป็นไปได้มากๆ เลยที่จะมารู้ตัวอีกทีก็มีเครื่องขับไล่ข้าศึกบินอยู่ใต้พุงของคุณแล้ว จะเล็วเป้าล็อกก็ไม่รู้จะเล็งยังไง ฮา
- เรื่องการเมือง การเอาเครื่องบินเอแวคไปบินๆ เฉี่ยวประเทศอื่นนั้นดูดีกว่าเอาเครื่องติดมิสไซล์หรือบอมเบอร์ไปฉวัดเฉวียนกว่าเยอะ เพราะเครื่องไม่ได้เป็นอาวุธ offensive คือไม่มีพลังทำลายล้างนั่นแล ต่อให้ไม่ติดมิสไซล์ขณะไปฉวัดเฉวียนก็เถอะ ดังนั้นการบินเก็บข้อมูลจะง่ายกว่า
- ค่าใช้จ่าย มีอุปกรณ์ยิ่งเยอะ ค่าใช้จ่ายก็ยิ่งเยอะ ยิ่งเป็นอาวุธอันตรายแล้วก็ต้องมีกระบวณการขั้นตอนเพื่อความปลอดภัยรวมถึงการ handling บนพื้นดินมากขี้นไปอีก
ถามว่ามันมีด้านดีไหม สำหรับเครื่องบินขนาดใหญ่ที่สามารถติดอาวุธปล่อย ผมว่าก็มี แต่อาจจะไม่ใช่สำหรับภารกิจนี้ เช่นพวกเครื่องบินลาดตระเวณส่วนใหญ่ก็มีเวอร์ชั่นปล่อยตอร์ปิโดหรือจรวดต่อต้านเรือผิวน้ำลูกบักเอ้งอยู่แล้ว
หรือเช่น ac-130 ที่สามารถปล่อยจรวดภาคพื้นดินได้ แต่จะเห็นได้วว่าพวกนี้ไม่ได้มีไว้ไฝว้กับเครื่องบินกันเอง แต่ไว้ถล่มภาคพื้นดินมากกว่า เพราะเราจะไม่ได้เสียงเท่ากับไปไฝว้กับเครื่องบินรบ นอกจากนี้พวกจรวดถล่มภาคพื้นนั้นระยะไกลบรรลัยแถมเป้าหมายไม่ได้วิ่งหนีคล่องเท่าเครื่องบินรบจึงมีสิทธิ์สัมฤทธิ์ผลสูงกว่าเยอะ
หรืออย่าง B-1R นั้นก็ไม่ได้คิดมาดวลกับบ.รบ แต่ไว้ล่อพื้นนั้นแหละ เพียงแต่หากจวนตัวก็อาจจะตอบโต้ได้ด้วยมิสไซล์และหนี (ซึ่งเอาจริงๆ การบินหนีตรงๆ สมัยนี้ไม่ทันแล้วครับ มิสไซล์บินเกินสองมัคไปไหนต่อไหนแล้ว ต้องหักไปหักมาและทำให้หลงเป้าถึงจะหลอกมิสไซล์)
กำลังทำอยู่ครับ
http://www.popsci.com/divine-eagle-chinas-enormous-stealth-hunting-drone-takes-shape
ปี1987 อเมริกามีโครงการแบบที่ว่า โดยเอา P-3C มาติด AWG-9 Radar และ Phoenix missile และหรือ AAM-N-10 Eagle LRAAM ได้ประมาณ10-12นัด หน้าตาประมาณนี้ครับ
ของรัสเซีย ตอนสงครามเย็นใช้ Mig-31 1ลำเป็นฐานเรดาห์ลิงซ์ข้อมูลให้ Su-27 4ลำ
ปัจจุบัน ใช้A-50เป็นฐานเรดาห์ แล้วโยงให้Mig-31 แบกR-37ลูกยาวระยะ280กม. 4นัด/ลำเข้าแลก
เป็นแนวคิดที่ควรใช้ในเวลาที่ไม่ปกติ ครับ...
ฮาๆๆๆๆ แซวเล่นๆครับ
ถ้ามองความได้เปรียบก็นับว่าน่าสนใจ (จะลุยกับฐานเรดาร์กลางอากาศก็คงต้องคิด)
แต่ถ้ามองความยื่ดยุ่น ก็อีกประการหนึ่ง
ผมหาเจอแล้ว เหอๆๆ ในปี 1958 อเมริกามีโครงการศึกษา Project ‘AERIE’ ที่จะปรับปรุงBoeing C-135A ให้เป็น airborne command centre โดยการติด air-search radar และ 24 AAM-N-10 Eagle Long-range AAM หน้าตาคงประมาณนี้นะครับ
อังกฤษในปี1960 เริ่มพัฒนาเครื่องบิน Vickers VC10 AEW และสามารถติด 18 long range AAM โครงการนี้เป็นน้ำเป็นเนื้อมากกว่าของอเมริกาที่เป็นแค่ case study (คือมีแต่EC-135แต่ไม่ได้ติดอาวุธ) แต่ก็ไม่ได้สร้างเหมือนกันอยู่ดี 555 ในอดีตอังกฤษมีโครงการพัฒนาเครื่องบินน่าสนใจเยอะมากๆน่าเสียดายแทน
ขอบคุณสำหรับความเห็น/ข้อมูลจากทุกๆท่านนะครับ น่าสนใจทีเดียว เท่าที่ประมวลความ คงพอใด้สัณฐาณว่า
1). มีคนคิดทำ/ทำไปบ้างแล้ว. และยังมีเวอร์ชั่นใหม่ที่เห็นจากจีน ตามข้อมูลจากท่านhong c
2). ทีผ่านมา ปัจจัยที่มีผลในการทำให้แนวคิดนี้ effective. หรือไม่นั้น น่าจะมาจากระยะยิงของจรวด , ระยะตรวจ/แทรกกิ้งของเรดาร์ , ความคล่องตัวของ บเอแวคซ์เอง , ราคา, ความสุ่มเสี่ยงในการทำให้เครื่องตรวจการณ์ธรรมดาถูกมองว่าเป็นเครื่องติดอาวุธ.
จะติดตามความเห็นอื่นๆต่อไปครับ