ASTVผู้จัดการออนไลน์ - โรงงานผลิตในสาธารณรัฐยูเครน ได้ประกอบ และทดสอบรถถังหลัก T-84 “โอปล็อต-เอ็ม” สำหรับกองทัพบกไทย แล้วเสร็จอีก จำนวน 5 คัน พร้อมส่งมอบในต้นปี 2558 นี้ บริษัทวีเอมาลีเชฟ (VA Malyshev) ประกาศเรื่องนี้ผ่านเว็บไซต์วันที่ 15 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยไม่ได้ระบุว่า การส่งมอบจะมีขึ้นเมื่อไร แต่กล่าวว่า ถึงแม้ประเทศจะมีสงครามก่อการร้ายก็ตาม แต่ยูเครนยังคงรักษาพันธกรณี และสัญญาต่างๆ ที่จะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและตรงตามกำหนดเวลา บริษัทมาลีเชฟ ได้เผยแพร่ภาพ Oplot-M ใหม่เอี่ยมของกองทัพบกไทย 5 คัน ที่โรงงาน ซึ่งผลิตขึ้นตามสัญญาซื้อขายจำนวนทั้งหมด 49 คัน มูลค่ากว่า 240 ล้านดอลลาร์ ที่เซ็นกันเมื่อวันที่ 1 ก.ย.2554 ระหว่าง GK Ukrspetsexport ซึ่งเป็นบริษัทส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของรัฐบาลกับฝ่ายไทย รวมทั้งยานหุ้มเกราะ “พี่เลี้ยง” อีก 2 คันด้วย ภายใต้สัญญาดังกล่าว ยูเครนจะต้องได้ส่งมอบโอปล็อต-เอ็ม 5 คันแรกให้กองทัพบกไทยในปี 2555 แต่ได้มีการสั่งดัดแปลงเพิ่มเติมจำนวนหนึ่ง จนแล้วเสร็จในเดือน ต.ค.2556 และการส่งมอบมีขึ้นในเดือน ก.พ.2557 โอปล็อต-เอ็ม พัฒนาจากรถถังหลักรุ่น T-80U/UD ที่ประจำการในกองทัพสาธารณรัฐยูเครน กับประเทศค่ายโซเวียตอีกจำนวนหนึ่งเมื่อก่อน ไม่เพียงแต่ผลิตส่งออกเท่านั้น หากยังผลิตเพื่อใช้งานในกองทัพยูเครนยุคปัจจุบันอีกด้วย ซึ่งรายงานก่อนหน้านี้ระบุว่า กองทัพบกจะทยอยซื้อโอปล็อต-เอ็ม จากโรงงานแห่งเดียวกันนี้ ไปจนถึงปี พ.ศ.2575 รวมจำนวน 200 คัน รัฐมนตรีกลาโหมยูเครน ให้สัมถาษณ์ในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมาว่า การจัดหารถถัง T-84 Oplot จะดำเนินไปรวดเร็วขึ้นปีละ 10 คันเป็นอย่างน้อย ในสภาวะที่รัฐบาลกำลังทำสงครามกับพวกก่อการร้ายแบ่งแยกดินแดนทางภาคตะวันออก ของประเทศ ที่อยู่ติดพรมแดนรัสเซีย รัฐบาลยูเครน เซ็นสัญญาซื้อโอปล็อต-เอ็ม 10 คันแรก จากโรงงานนี้ในปี 2552 ในราคาคันละ 2.5 ล้านดอลลาร์ แต่จำหน่ายให้ไทยในราคาส่งออก 4.69 ล้านดอลลาร์ต่อคัน หนังสือพิมพ์ในยูเครน รายงานเรื่องนี้เมื่อปี 2554 โดยไม่ได้ให้รายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับแพกเกจในการจัดหาของกองทัพบกไทย ไทยได้ตัดสินใจเลือก T-84 Oplot-M ท่ามกลางตัวเลือกอื่นๆ ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน และมีราคาซื้อขาายแตกต่างกันไป รวมทั้ง K2 จากเกาหลี T-90 จากรัสเซีย และเลโอพาร์ด 2 (Leopard 2/เลพเพิร์ด 2) จากเยอรมนีด้วย ตามข้อมูลจากโรงงาน โอปล็อต-เอ็ม หุ้มเกราะ Nozh-2 New Gen ซึ่งเป็นเกราะ Explosive Reactive แบบหนึ่งที่ยูเครน กล่าวว่า พัฒนาจนมีคุณภาพเหนือเกราะ Kontakt 5 ของรัสเซีย นอกจากนั้น ยังติดตั้งระบบรบกวนคลื่นวิทยุ/เรดาร์ที่มีให้เลือกหลายรุ่น ติดตั้งปืนใหญ่ลำกล้องเรียบ (Smooth Bore) ขนาด 125 มม. ที่ใช้เป็นท่อยิงจรวดต่อสู้รถถังได้ด้วย ติดปืนกลยิงเร็วอัตโนมัติ 7.62 มม. 1 ชุด ปืนกลหนัก 12.7 มม.อีก 1 ชุด ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 1,200 แรงม้า ทำความเร็วสูงสุดได้ 70 กม./ชม ระยะปฏิบัติการ 450 กิโลเมตร ถึงแม้จะมีความยุ่งยากภายในประเทศก็ตาม ยูเครยังมีสัญญาซื้อขายอาวุธยุทโธปกรณ์ กับสัญญาความร่วมมือด้านกลาโหมกับหลายประเทศในย่านนี้ และกำละงจะมีการทำสัญญาซื้อขายอีกจำนวนหนึ่ง รวมกับทั้งอินโดนีเซีย ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างเจราจาซื้อระบบเรดาร์ทันสมัยรุ่นหนึ่ง และยังมีสัญญาการส่งมอบยานลำเลียงพลหุ้มเกราะ กับชิ้นส่วนอากาศยาน และสัญญาการซ่อมบำรุงรักษายานยนต์ด้วย จีน ก็เป็นลูกค้าอีกรายหนึ่ง ซึ่งยูเครนจะต้องส่งมอบยานลำเลียงพลแบบโฮเวอร์คราฟต์ให้ 2 ลำ นอกจากนั้น เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีน ก็เป็นเรือเก่าที่ซื้อจากยูเครน เช่นเดียวกับเครื่องบิน J-15 ก็สร้างขึ้นจาก Su-33 ที่จีนซื้อจากยูเครนเช่นเดียวกัน ยูเครน ยังเป็นเจ้าของระบบจรวดนำวิถี ระบบควบคุมการยิง รวมทั้งยังครอบครองจรวดโจมตีระยะไกลติดหัวรบนิวเคลียร์ ที่ตกทอดมาจากยุคที่ยังรวมอยู่ในสหภาพโซเวียตอีกด้วย. |
เห็นว่าจะอาเงินที่ได้จากการขายอาวุธไปพัฒนากองทัพต่อสู้กับกลุ่มกบถเพราะคุ้มกว่าเอาถังใหม่ไปใช้ อย่างนี้ก็ยังพอมีหวัง....
ประมาณว่าเอาไปปรับปรุงรถถังที่ตัวเองมีอยู่ รุ่นอะไรผมจำไม่ได้ไม่รู้ใช่ T64 หรือเปล่าอะไรประมาณนี้หรือเปล่าน่ะครับ
ยูเครนขายโอพล็อตให้ไทยแล้วเอาเงินไปผลิต t-64 bulat ซึ่งสมรรถนะ อำนาจการรบไม่ต่างกันมากและเพียงพอต่อความต้องการในการรบขณะนี้ แต่ราคาถูกกว่า โดยบอกว่าสงครามกับกบฏรถถังไม่เท่าไหร่ ที่สำคัญคือรถ apc/ifv มากกว่า