เป็นโครงการของของสำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือนะครับ ราคารวมทั้งโครงการอยู่ที่ 2,850ล้านบาท โดยเป็นราคาเรือ 2,355,000 ล้านบาท (ซื้อแบบและพัสดุ) จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการสร้างเรือ480ล้านบาท และการบริหารฝึกอบรมอีก15ล้านบาท
แต่ไม่รู้ใช้จริงเท่าไหร่นะครับ ได้งบมาปรับปรุงอู่ต่อเรือเยอะพอประมาณ ไม่รู้เอาไว้เผื่อประกอบเรือฟริเกตขั้นสุดท้ายในอนาคตด้วยหรือเปล่า เห็นตัวเลขกับสเป็กเรือที่เคยหลุดมาแล้วหนักใจพอตัว เพราะได้ข่าวว่าเป็นแบบเรือหลวงกระบี่+โรงเก็บเฮลิคอปเตอร์+จรวดฮาร์พูน เนื่องจากค่าต่อเรือรวมทุกอย่างจริงๆอยู่ที่ 2,355,000 ล้านบาท ถ้าเอาเหมือนเรือหลวงกระบี่เลยก็พอไหวนะแต่ต้องใช้คนคุมจากชุดเดิมนะครับเพราะรู้ปัญหาดีอยู่แล้ว แต่ถ้าเอาสเป็กใหม่ผมว่าลำบากเพราะมันต้องปรับต้องแก้ต้องเพิ่มเสียเงินอีกเยอะ เราก็อาจจะได้เรือแฝดเรือหลวงกระบี่แบบเป๊ะๆซึ่งผมก็ว่าดีจะได้คู่กัน ส่วนที่เหลืออีก2ลำคงเป็นเรื่องของอนาคตต่อไป
ลืมใส่ลิงค์ แฮะๆๆ
มีอีก2โครงการที่แสดงอยู่ครับ ไม่นับการจัดหาหนังสือวิชาการนะครับ โครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่งและโครงการปรับปรุงเรือล่าทำลายทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง ชุดเรือหลวงบางระจัน (ยังไม่จบอีกหรือ??) ทำให้รู้ราคาปืนกล20มม.ของแอฟริกาใต้เสียทีว่ากระบอกล่ะประมาณ13.5ล้านบาท(4แสนกว่าเหรียญพอทน)
หาspecที่เตยหลุดออกมาไม่เจอจำได้ว่าเคยsaveไว้ แต่ถ้าราคานี้กับspecแบบเรือหลวงกระบี่+โรงเก็บเฮลิคอปเตอร์+จรวดฮาร์พูน นี่สู้ไม่ไหวนะครับ ในความเห็นผมยังคิดว่าเรือลำที่2น่าจะเหมือนลำแรก ส่วนspecที่เคยเห็นอาจจจะเป็นเรือลำที่3และ4รึเปล่า
การเปิดราคากลาง เพื่อประมูล
ก็น่าจะ หมายถึง เรือแบบอะไรก็ได้ ไม่ใช่ ร.ล.กระบี่ ซิครับ...
จีน จะประมูลก็ได้...สิงคโปร์ จะประมูลก็ได้...น่าจะเป็นแบบนั้นใช่หรือเปล่าครับ ?
ก็หวังว่าเรือจะมีระบบอาวุธปล่อยนําวิถีพร้อมให้ด้วยนะ
ราคานี้อาจหมายถึง แบบเรือหลวงกระบี่เหมือนเดิมแต่ให้บริษัทเอกชนประมูลสร้างจำนวน 1 ลำ
ส่วนอู่ของ ทร. ก็เตรียมไว้สำหรับต่อเรือแบบอื่น อาจเป็นเรือฟริเกตแบบใหม่ หรือ เรือตรวจการไกลฝั่งแบบเรือหลวงกระบี่ที่ปรับแบบใหม่เพิ่มโรงเก็บ ฮ. , ติดฮาร์พูน , ตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำ , จรวด ESSM จำนวน 1 ลำ กลายร่างเป็นเรือคอร์เวตไป (คล้ายเรือชุดรัตนโกสินตร์) ครับ ซึ่งหากต่อออกมาแล้วดี ก็จะต่อลำที่ 2 โดยนำแบบมาให้เอกชนประมูลสร้าง ครับ
ผมเดาใจ ทร. ว่าคงอยากใช้แบบเรือแบบเดียวแต่แปลงเป็นเรือหลายประเภท เพื่อลดค่าใช้จ่ายเรื่องการสร้างและการซ่อมบำรุง
ในไทยนี่มีอู่เอกชนที่ใหญ่พอจะต่อเรือ opv ด้วยหรือครับ?? ขอโทษด้วยครับคือผมไม่ทราบข้อมูลด้านนี้เลย 5555 ถ้ามี มีกี่อู่อะครับ?
"2,355,000 ล้านบาท" ราคานี้น่าจะซื้อยานอวกาศได้นะครับ ฮา
@akekolos ต่อให้ต่อเรือชั้น จักรีฯ อีกลำก็น่าจะไหวครับ เท่าที่พอทราบมานะครับ
แสดงว่าเป็นน้องใหม่ในวงการของจริง สำหรับคุณ akekolos ลองเข้าไปดูตามนี้ครับ
http://www.thaiarmedforce.com/taf-gallery/41-rtn-photos/404-tafgallery55.html
http://thaidefense-news.blogspot.com/2013/08/551.html
http://chaoprayanews.com/blog/yotin/2013/08/25/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-opv-%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B9%83/
ส่วนสำหรับ ท่าน Toeytei นี่ก็ช่างจับผิดซะจริงๆ
ดูตามรูปการณ์แล้วก็น่าจะลงเอยที่แบบเรือชั้นกระบี่อยู่แล้วละเพราะ(ก็ในเมื่อเสียเงินตั้งแพงซื้อแบบเรือมาแล้วนิ)
ให้ข้อสังเกต
ลำแรกก็ใช้งบ ที่ 1,695 ล้านบาท แต่ก็แปลกใจอยู่นิดๆว่าทำไมลำที่สอง ราคาถึงได้กระโดดขึ้นไปเยอะจัง
2,355 ล้านบาท ลบด้วย 1,695 ล้านบาท ส่วนต่างเท่ากับ 659 ล้านบาท (นี่แค่เพิ่มโรงจอดฮ.เท่านั้นนะ)
ถ้าคิดเป็นเปอร์เซนต์ ราคาเพิ่มขึ้นไปประมาณ 39 เปอร์เซนต์ โดยที่ระยะเวลาห่างกันไม่ถึง 5ปี ซึ่งทั้งๆที่ต้นทุนอะไรบางอย่าง ก็ลดลงในยุคนี่ (โดยเฉพาะ ค่าขนส่งอย่างเชื้อเพลิง) ส่วนเงิน 480 ล้านบาทก็คือซื้อระบบต่างๆภายในเรือโดยเฉพาะ ASM (Harpoon) แล้วกับเรือลำแรกทำไมไม่จัดหามาใส่ก่อนนิ งงมิใช่น้อยเลยผม ทำไมไปซื้อใส่กับเรือลำใหม่ แต่ก็อย่าเพิ่งมั่นใจว่าราคานี่จะรวมระบบ ASM ด้วย ผมว่าไม่ใช่นะอาจจะแค่ซื้อระบบเรด้าห์และ FCS มาใส่ไว้ก่อนแค่นั้น ผมว่าในอนาคตอาจมีโครงการอัฟเกรตเรือชั้นนี้เพิ่มอีกต่างหากอะไรประมาณเนี่ย (ผลประโยชน์ระยะยาวอะไรทำนองนั้นเรือรบของไทยเราน้อยมากที่เสร็จทั้งหมดภายในครั้งเดียว)
ปล.ถ้าอย่างนั้นเรือลำที่สาม ก็คงจะใช้งบประมาณในการต่อเรือน่าจะอยู่ที่ราวๆ 2,900 - 3,200 ล้านบาทหรือเปล่า??? ในอีก 3-4 ปีข้างหน้า
พอดี สงสัยครับ...
เพราะราคา 2000 กว่าล้านนี้ คือ มีค่าแบบเรือและซื้อพัสดุ...หมายถึงว่า ไลเซ่นส์แบบเรือเดิม คือ ร.ล.กระบี่ หมดอายุไปแล้วหรือไม่ ?
จำได้ว่า มันมีอายุ 10 ปี ไม่ใช่เหรอครับ...(ขี้เกียจหาข้อมูลแหล่ะ...งานเยอะอยู๋ 5 5 5 5)
หรือว่า ต้องจ่ายค่า ไลเซ่นส์ แบบเรือ ทุกครั้งที่มีการสร้างเรือ ?
เอ่ะแบบเรือ ชั้นกระบี่เราซื้อสิทธิ์มาต่อใช้งานเองถึง 6 ลำไม่ใช่เหรอครับท่าน จูดาส ผมว่าเคยอ่านมาจากในเวป TAF นะ
แล้วซื้อแบบมามันมีอายุ licence ด้วยเหรอ อย่างงี้เราก็แย่นะสิครับเกิดช่วงเศรษฐกิจไม่ดีเหมือนในตอนนี้ เราเสียตังค์ที่จ่ายไปก่อนหน้านี้ฟรีๆนะสิครับ
เอ่ยไม่ใช่สิจำผิด แค่ว่ากองทัพเรือต้องการต่อเรือ OPV แค่จำนวน 6 ลำไม่ระบุว่าจะเป็นแบบใด งั้นก็แสดงว่าเรือ OPV ลำต่อไปอาจจะไม่ใช่แบบเจ้าเรือชั้น กระบี่ก็ได้มั้งหรือเปล่าครับ
รอลุ้นมาตั้งนาน เมื่อไรจะต่อเรือหลวงกระบี่ลำที่สองสักที ยินดีด้วยครับเว้นระยะมานานเกิน มาช้ายังดีกว่าไม่มา แต่ลำที่สาม ที่สี่ ขอให้ไวกว่านี้หน่อย นะครับ ผมว่าไทยเราไม่ควรมีแบบเรือมากแบบเกิน บุคลากรจะได้สามารถทดแทนกันได้หากเกิดสภาวะฉุกเฉิน ถ้างบน้อยก็ขอให้พยายามเผื่อแบบเอาไว้ครับ จะได้ไม่ต้องแก้ไขเยอะ ติดตั้งอุปกรณ์ที่สำคัญก่อน หรือ ถ้าจะมีโรงเก็บ ฮ.มาเลยก็น่าจะดี อุปกรณ์ไหนที่ใช้งานได้ยังทันสมัยอยู่ สามารถถอดจากเรือชั้นพุทธเลิศล้า หรือ พุทธยอดฟ้า มาติดตั้งได้ก็ถอดมาครับ จะได้ไม่สิ้นเปลืองมาก ใจยังอยากให้ ทร. มีเรือหลวงแบบชั้นอ่างทองอีกสักลำ เรือดำน้ำ ที่กำลังจะจัดหาจัดซื้อ ก็น่าจะเพียงพอแล้วสำหรับกองเรือนะครับ
ถึงท่าน Judas และท่าน woot
ไม่ทราบว่าไปเอาข้อมูลเรื่องการซื้อแบบเรือชั้นกระบี่ล่วงหน้าและเรื่องที่ว่าไลร์เซ่นต์มีกำหนดอายุไม่เกิน 10 ปี ไปเอาข้อมูลมาจากไหนครับ ผมไม่เคยเห็นเคยพบข้อมูลดังกล่าวจากกองทัพเรือเลย (ถ้ามีก็กรุณารีบๆเอาข้อมูลมาลงให้ดูด้วยครับ)
ผมว่ากองทัพเรือไม่น่าจะมีงบมากมายขนาดไปซื้อแบบเรือในลักษณะกรณีอย่างที่ว่าเลยนะ
แค่ว่าแบบเรือมาจาก BVT Surface Fleet เพียวๆลำเดียวเท่านั้น แล้วถ้าในความคิดส่วนตัวของผมเรือ OPV ลำต่อไปก็คงจะเป็นแบบเรือชั้นกระบี่สำหรับ OPV ลำที่สองนี่แหละ เพราะเราสามารถทำการต่อได้เองแล้ว แล้วจะไปลำบากเสียเวลาต่อจากที่อื่นหรือเสียเวลาศึกษาจากแบบเรืออื่นๆกันอีกให้ลำบากกันทำไมครับ
ส่วนตามที่ท่าน super boy แจ้งว่าจะมีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์และก็มี ASM ก็น่าจะเป็นเหมือนแบบ เรือชั้น Khareef ของโอมาน
แต่มันเป็นเรือ ควอร์เวตไม่ใช้เรือ OPV นี่ครับ ทีแรกผมอ่านแล้วก็งงๆอยู่เหมือนกัน
http://en.wikipedia.org/wiki/Khareef-class_corvette
อันนี้น่าเชื่อถือพอไหมครับ
http://www.naewna.com/business/69723
ทั้งนี้ต้องบอกว่า บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ได้ร่วมมือกับบริษัท ช.ทวี ดอลลาเซียน จำกัด(มหาชน) ด้วยดีมาตลอด และคาดว่าในอนาคต แบบเรือของ BAE Systems ที่ได้ลิขสิทธิ์มาเป็นเวลา 10 ปี เราจะสามารถนำแบบเรือมาต่อเพื่อจำหน่ายได้อีก ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างทำการตลาดในประเทศที่สนใจทั้งในและนอกกลุ่มอาเซียน และล่าสุดได้มีกองทัพเรือจากประเทศฟิลิปปินส์ได้เข้ามาศึกษาดูงานแล้ว
ข่าวปี 2553 ครับ
ทั้งนี้ กองทัพเรือได้จัดโครงการต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำแรกในประเทศไทยขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสที่จะทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษาในวันที่ 5 ธันวาคม 2554 และสนองแนวพระราชดำริในการพึ่งพาตนเองในการต่อเรือขึ้นใช้เองดังพระราชดำรัสในวันที่ 15 เมษายน 2545
นาวาเอก ชุมพล พรหมประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด กล่าวว่า บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2408 โดยเริ่มจากการเป็นผู้ให้บริการแก่เรือสินค้าเดินทะเลที่เข้ามาที่กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ อยู่ในความดูแลของกองทัพเรือ สังกัดกระทรวงกลาโหม ทำหน้าที่หลักให้บริการด้านการต่อเรือ และซ่อมบำรุงเรือต่างๆ ให้กับกองทัพเรือ และเอกชนต่างๆ ภารกิจล่าสุดคือ การเป็นผู้สนับสนุนกองทัพเรือ ในการต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำแรกในประเทศไทย มูลค่า 1,695 ล้านบาท โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 4 ปี เริ่มจากปี พ.ศ. 2552 – 2555
“การต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งในครั้งนี้ ถือเป็นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางด้านเทคนิคของบุคลากรของกองทัพเรือในการต่อเรือขึ้นมาใช้เองในประเทศ ทั้งยังเป็นการพึ่งพาตนเองตามแนวพระราชดำริ ทั้งนี้ ประเทศไทยยังมีความพร้อมเป็นอย่างสูง ที่จะส่งออกแบบเรือ หรือโนฮาวด็ในการผลิตเรือ รวมถึงรับจ้างต่อเรือแบบเดียวกันนี้ ให้กับประเทศที่สนใจได้ทั่วโลก โดยมีสัญญาด้านลิขสิทธิ์ถึง 10 ปีเต็ม คาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศ และธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเรือแต่ละลำมีมูลค่าค่อนข้างสูง ” นาวาเอกชุมพล กล่าว
กลับไปดูข้อมูลอีกที
งบประมาณการสร้าง ร.ล.กระบี่ ราคารวมทั้งหมด 2,725,370,100 บาท ครับ...
ซึ่งตามข้อมูล เรือลำที่ 2 งบประมาณ 2,850,000,000 บาท...
ราคาสูงขึ้นประมาณ 125 ล้านบาท ครับ...
ซึ่งผมสงสัยว่า ในราคาลำแรกที่ 2,725 ล้านบาท นี้ มันรวมค่าแบบเรือด้วย และลิขสิทธิ์การสร้าง 10 ปี ด้วยไม่ใช่เหรอ ?
เพราะงบประมาณสร้างเฉพาะตัวเรือ มันจะประมาณ 1,700 ล้านบาท เท่านั้น....
หรือ มีงบประมาณในส่วน ระบบอาวุธ ที่เคย หลุด ออกมาก่อนหน้านี้ รวมไปด้วย...
รวมงบประมาณโครงการจัดหาอาวุธของ ทร.ที่ผ่านมา
ตอนนี้เวลาได้ผ่านล่วงมาไกลถึง 6 ปีแล้ว เหลืออีกแค่ 4 ปีเท่านั้น จะต่อเพิ่มได้อีกซักกี่ลำกันนะ
กับอู่เรือกรุงเทพเล็กๆของเราที่มีคิวงานแสนจะยาวเยียด เฮ้อ เต็มที่อย่างเก่ง ต่อเพิ่มได้แค่ ไม่เกิน 2ลำ และจำนวน 2 ลำที่ว่าเนี่ยช่างต่อเรือนั้นต้องระดับขั้นเทพเลยนะ
ส่วนเรื่องคิดจะต่อเรือขายนะเลิกคิดไปเลยครับ (ใครจะซื้อ???แค่จะต่อเรือใช้เองยังไม่ทัน)
"โดยมีสัญญาด้านลิขสิทธิ์ถึง 10 ปีเต็ม คาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศ และธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี"
ฝรั่งมันก็ฉลาดนะออกโปรโมชั่นเก๋ๆมาขายให้ไทยเรา ทั้งๆที่มันก็รู้ว่าด้วยศักยภาพของไทยเราที่ไม่เคยต่อเรือรบขนาดมากกว่า พันตันขึ้น
มันจะสามารถต่อเรือได้ซักกี่ลำภายในช่วง 10 ปี (อ่านๆดูแล้วก็ฮาดีเหมือนกันครับ)
ขนาดเกาหลีใต้ซื้อลิขสิทธิต่อเรือดำน้ำ u209 มาพัฒนาเปลี่ยนแบบนิดหน่อยใช้เทคโนโลยีของตัวเอง ยังขายได้โดยไม่ติดลิขสิทธิอะไร
ตามที่ท่าน judas ตั้งข้อสังเกตนะ
เราต้องมาดูที่ราคาต่อเรือครับเพื่อมาเปรียบเทียบกันครับอย่าไปดูราคารวม แต่จริงๆผมก็ลืมไปว่ามันผ่านมา 6 ปีแล้วนี่หว่าไม่ใช่ 4-5ปีเหมือนในตอนแรกที่ผมเข้าใจ
(คือมันตั้งแต่สมัยข้าวจานละ 30 ตอนนี้ ปาเข้าไปจานละ 40 บาทแล้ว ก็คิดว่าน่าจะสมเหตุสมผลอยู่ คิดเอาแบบง่ายๆนะ)
ซึ่งราคาเรือลำแรกน่าจะรวมเรื่องราคาอาวุธและระบบอวยความสะดวกบวกกับเงินค่าลิขสิทธิในสัญญาต่างๆไปด้วยทั้งหมดแล้วละครับ
ถึงท่าน sam ในกรณีเรือ U209 นั้นมันไม่เหมือนกันครับ รายนั้นในสัญญาเค้าระบุยอดที่เกาหลีสามารถต่อเรือใช้งานเองหรือต่อขายให้ต่างประเทศได้ไม่เกิน 18 ลำครับคู่สัญญาไม่ได้กำหนดระยะเวลา คือนานแค่ไหนก็ได้ แต่กับของไทยเราเค้ากำหนดมาเป็นระยะเวลาไม่เกิน 10 ปีครับ
กลับมาบ้าน มาดูข้อมูลที่เคยเก็บไว้
ร.ล.กระบี่ ลำที่ 1 ราคารวมประมาณ 2,723 ล้านบาท ประกอบไปด้ว
1. ระบบอำนวยการรบ และตรวจการณ์ จำนวน 800 ล้านบาท
2. ปืน 76 ม.ม. จำนวน 88.80 ล้านบาท
3. ปืน 30 ม.ม. จำนวน 134.50 ล้านบาท
4. แบบเรือและพัสดุ จำนวน 1,700 ล้านบาท
รวมราคาเรือ ประมาณ 2,723 ล้านบาท
คราวนี้ มาดูราคาเรือลำใหม่
1. แบบเรือและพัสดุ จำนวน 2,350 ล้านบาท
2. เครื่องมือสนับสนุนการสร้าง จำนวน 480 ล้านบาท
3. ค่าดำเนินการโครงการ 15 ล้านบาท
รวมราคาเรือ ประมาณ 2,850 ล้านบาท
สรุปว่า
เรือลำที่ 2 ก็ได้เรือ สมรรถนะ เหมือนเรือลำแรก ครับ...
ที่น่าสนใจ คือ ซึ่งถ้าเราเทียบ
ราคาเรือ + ปืน 76 ม.ม. + ปืน 30 ม.ม. โดยใช้ราคาเดิมเป็นตัวตั้ง รวมทั้ง 3 อย่างจะได้ จำนวนประมาณ 1,925 ล้านบาท
ดังนั้น จะเหลือส่วนต่าง เป็นระบบอำนวยการรบและตรวจการณ์ อยู๋จำนวน 430 ล้านบาท ซึ่งจะต่างจากเรือลำแรก ที่มีจำนวน 800 ล้านบาท หรือ ราคาลดลง เกือบจะเท่าตัว...
จึงน่าสนใจวา่ ระบบอำนวยการรบของเรือลำนี้ คงจะไม่ใช่ THALE แน่
หรือ ถ้า มูลค่าจำนวน 2,350 ล้านบาท นี้ ไม่รวมระบบอำนวยการรบ ก็น่าจะหมายถึง ราคาสร้างตัวเรือ ที่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ จึงมียอดสูงขึ้นกว่า 430 ล้านบาท...
ซึ่งถ้า หมายความแบบนี้ จะทำให้เรือลำนี้ ถ้ามีการจัดหา ระบบอำนวยการรบ (สมมติใช้ของ THALE) เป็นงบประมาณแยกต่างหาก เรือลำนี้ จะมีมูลค่าถึง 3,150 ล้านบาท....
นี่ ยังไม่ได้ติด ฮาร์พูน นะครับ...เรดาร์แบบลำปัจจุบัน เท่านั้น...
ดังนั้น ราคานี้.....ดับฝัน...ว่าจะมีระบบอาวุธอะไร ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม...คงไม่มีครับ...
ทำภาพ เพื่อให้เข้าใจขึ้น
เอาใหม่ ลองเทียบเป็น ดอลล่าร์ เพิ่มเข้าไป
จะดูได้ง่ายขึ้น....พอใช้เงินบาท...เดี๋ยวจะดูแพง...
พอเทียบเป็น ดอลล่าร์...จะได้ ตัดขา...เรือจีน...ออกไป...5 5 5 5 5 5
ก็ดู ๆ ราคาคงไม่เกิน 100 ล้านดอลล่าร์ ต่อ ลำ หรือเกินไปนิดหน่อย...
ลืมรูป ครับ...5 5 5 5
หรือถ้าเพิ่ม กรณี ที่ 3 เข้าไป....(ผมไม่อยากจะคิดในกรณีเลย)
แต่เท่าที่ดูตามตารางที่ท่าน Judas เอามาลงไว้นี้ ผมว่ามันดูแปลกๆอยู่นะ คือตามหัวข้อที่ได้ระบุเอาไว้ ที่
2.2 ราคาระบบอำนวยความสะดวกอยู่ที่ 480 ล้านบาท
ถ้าระบบอำนวยการรบของเดิมมันราคาอยู่ที่ 800 ล้านบาทจริง ทำไมเรือลำใหม่ถึงจะมีราคาที่ถูกว่ากัน ตั้ง320 ล้านบาท (ระบบเรด้าห์ถ้าจะไม่ใช้ของ THALES เดิมหรือ ก็เห็นบอกว่าเรือใหม่จะโมดิฟายด์ให้ดีกว่าเดิมแล้วมันจะใช่งบถูกลงกว่าเดิมได้ยังไง)
<<ถ้าเช่นนั้นราคาค่าใบอนุญาตให้ต่อเรือนี้ไม่เกิน 10 ปีมันไปอยู่ไหนหว่าสำหรับเรือหลวงกระบี่ลำแรก???>>
ตามความเห็นของผมคิดว่าราคาระบบอำนวยการรบและอาวุธของเดิมไม่น่าจะถึง 800ล้านบาท มันอาจะรวมราคาค่าใบอนุญาต(ค่าลิขสิทธิ์)ให้ต่อเรือลำนี้ไม่เกิน 10 ปีรวมเป็นราคาแพคเกจอยู่ในนั้นด้วยหรือเปล่าก็ไม่รู้นะ สำหรับเรือหลวงกระบี่ลำแรก ผมไม่เชื่อว่าฝรั่งมันให้เราต่อเรือฟรีๆหรอก
จริงๆระบบอำนวยความสะดวก บนเรือหลวงกระบี่ลำแรกอาจจะราคาไม่ถึง 400 ล้านบาทด้วยซ้ำ เพราะถ้าอ้างอิงตามงบที่ตั้งไว้กับเรือลำใหม่ที่ 480 ล่านบาทมันเป็นไปไม่ได้ ที่ราคาอาวุธเมื่อ 6 ปีก่อนจะแพงกว่าในปัจจุบัน คือราคามันต้องถูกกว่าสิ
ถ้าในกรณีของผมคือยังมองในแง่ดีว่าระบบอำนวยความสะดวกบนเรือลำใหม่จะยังเป็นของTHALES อยู่ไม่ใช่ระบบจากประเทศอื่นๆนะครับ (เอาแล้วสิรู้สึกชักจะหวั่นใจว่าจะเป็นระบบหรือเรือจากจีนซะรึป่าววะเนี่ย...ฮา )
เพราะฉะนั้น
ราคาแบบเรือและพัสดุ จะอยู่ที่ 2,355 ล้านบาท (ข้อมูลจากบอร์ดไม่ได้ระบุว่าเหมารวมไปถึงอาวุธแสดงว่างบสำหรับจัดซื้ออาวุธอาจจะรอปีหน้า)
ราคาระบบอำนวยการรบบนเรือลำใหม่ของ THALES 480 ล้านบาท
ราคาอาวุธเดิม 225 เมื่อเวลาผ่านเลยมาได้ 6 ปีแล้วก็น่าจะอยู่ประมาณ 250 ล้านบาท (รอจัดซื้อปีหน้า)
รวมๆแล้วก็จะอยู่ที่ 3,085 ล้านบาท
แต่ถ้าลองกลับมานึกดูอีกทีถ้าสมมุติฐานผมมันใช่ ก็คือราคาส่วนต่างของระบบอำนวยการรบบวกเรด้าห์ที่ 320 ล้านบาทระว่างเรือหลวงกระบี่ลำใหม่กับเรือลำแรก มันเป็นราคาค่าลิขสิทธิ์ จริงๆ ถ้าคิดในทางกลับกันให้เป็นเงิน ดอลล่าร์ซะ 320/32 ก็จะอยู่ที่ 10 ล้านดอลล่าร์เศษๆ ผมว่าราคานี้มันก็ไม่แพงอะไรนะ ถ้าฝรั่งมันยอมขายแพคเกจนี้ให้เราอีกรอบ ก็ต่อ licence มันออกไปอีกซัก 10 ปี
จากสัญญาเดิมจะหมดลง 2562 ต่อเพิ่มไปถึง 2572 เลยก็ดีนะครับ คุ้มสุดๆ
เอ๊ะเรื่องลิขสิทธิ์ต่อเรือของรุ่นกระบี่นี่จำได้ว่าเรามีไปตลอชาตินะครับ แต่ที่ 10 ปีคือลิขสิทธิ์ต่อเรือส่งออก หมายความว่าหลังจากสิบปีก็จะไมสามารถต่อเรือจากแบบนี้ส่งออกแล้ว แต่ยังคงต่อใช้เองได้ คิดว่าผมไม่น่าจะจำมาผิดนะ
อันนี้เป็นราคางบประมาณจริงของ ร.ล.กระบี่
ราคาแบบเรือกับค่าพัสดุสร้างเรือ จะรวมอยู่ในยอด 1,700 ล้านบาท ครับ...
ระบบอำนวยการรบของ THALE พร้อมเรดาร์ ราคางบประมาณ 799,999,988.08 บาท ครับ
คือ ตอนนี้ ยังไม่มีข้อมูลว่า ราคา 2,355 ล้านบาท เป็นราคาเฉพาะ ตัวเรือ ไม่รวมอาวุธหรือไม๋ ?
ถ้าเป็นราคาเฉพาะตัวเรือ เท่านั้น ราคาตัวเรือจะสูงกว่าเดิม 655 ล้านบาทครับ เมื่อรวมอาวุธ กับ ระบบอำนวยการรบและเรดาร์ เทียบเท่า ร.ล.กระบี่ ปัจจุบัน...เรือลำนี้ จะมีมูลค่า ประมาณ 3,380 ล้านบาท ครับ...
ซึ่งก็อาจจะเป็นไปได้ว่า เรือลำที่ 2 น่าจะมีขยายแบบยาวขึ้น เพื่อมี โรงเก็บ ฮ.
เรือลำนี้ อาจจะยาว 98 เมตร หรือ 100 ่เมตร ไม่ใช่ 90 เมตร ครับ...ระวางขับน้ำ คงเพิ่มขึ้น...น่าจะเกิน 2,000 ตัน...
และถ้า เรือลำนี้ ติด ฮาร์พูน ด้วย...ก็น่าจะมีส่วนเพิ่มอีก เช่น เรดาร์ และระบบการยิง ราคารวม อาจจะอยู่ที่ 4,000 ล้านบาท เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ...(หรือประมาณ 135 ล้านเหรียญ)
สำหรับ จำนวน 480 ล้านบาท ในโครงการ น่าจะหมายถึง อุปกรณ์ สร้างเรือครับ ไม่ใช่ระบบอำนวยการรบ ครับ
โ
เป็นไปได้ไหมครับว่า. ปืนจะรวมอยู่ในราคาสร้างเรือ2พันกว่าล้านแล้ว. และจริงๆแล้วอีกเหตุที่ควรพิจารณาคือ. เรือกระบี่เป็นเรือลำแรก. ใช้เวลาต่อค่อนข้างนานจรึงมีค่าใช้จ่ายในด้านค่าแรงเยอะ. ในขณะที่ลำที่สองน้าจะต่อเร็วกว่ามาก. ทำให้ใช้ค่าแรงน้อยลงมีงบไปลงในตัวเรือเพิ่มข้ึน
กระทู้นี้จิ้นไปได้ไกลมาก ผมจึงไม่ขัดและขอมโนแจ่มเพิ่ม
แต่ก็นะขอซักนิดนึง ค่าแรงในการสร้างอะไรก็ตามมีแต่จะเพิ่มมากขึ้นครับไม่มีทางลดน้อยลง ส่วนในเว็บBAE ลงข้อมูลไว้สั้นๆแค่นี้
Thailand:
We have a technology transfer agreement with our Thai industrial partner, Bangkok Dock, providing the design for a 90 metre Offshore Patrol Vessel for the Royal Thai Navy. Construction of the vessel is underway in Thailand, with engineers from our business working alongside Bangkok Dock to transfer design knowledge, technology and skills.
HTMS Krabi
ข่าวเก่ากิ๊กประมาณนี้
วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เวลา 15:35:26 น.
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 11 พ.ย. ว่า กระทรวงกลาโหมได้มีการขอนุมัติงบจํานวน 3,014,550,000 บาท เพื่อจัดหาเรือตรวจการไกลฝั่งจํานวน 1 ลำ โดยซื้ออุปกรณ์มาประกอบเองภายในประเทศ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1226392542&grpid=03&catid=01 และข่าวจากผู้ชนะเลิศโครงการนี้จริงๆ ก่อนบริษัทจะเปลี่ยนมือ BVT wins Thailand design contract 30 June 09 BVT Surface Fleet, the maritime joint venture between BAE Systems and VT Group, has today announced the signing of a contract with Bangkok Dock for the supply of a design of a 90m Offshore Patrol Vessel for the Royal Thai Navy, to be built in Thailand. The design is a development of an existing BVT OPV design and will be adapted by Bangkok Dock to suit the specific requirements of the Royal Thai Navy. The vessel is a multi-mission OPV, the primary roles of which will include protection of the EEZ, fishery protection, disaster relief and search and rescue. Commenting on the contract, BVT Chief Executive Alan Johnston said “BVT Surface Fleet will transfer design knowledge, technology and shipbuilding skills to Thai engineers and look forward to developing a long term partnership with Bangkok Dock and local industry that will help support the growth of a sustainable shipbuilding capability in Thailand. “This is a strategically important contract for BVT as we look to expand our international footprint and we are looking forward to working closely with Bangkok Dock over the coming years to deliver the requirements of the Royal Thai Navy”.
โดยส่วนตัวแล้วถ้าคิดตามกฎหมายลิคสิทธิ์ของสินค้าทั่วๆไป จะมีการนับเป็นหน่อยไม่ใช่เป็นเวลาอาทิเช่นSWต่างๆกระทั่งรถยนต์ที่เราผลิตขาย นั่นก็คือทร.อยากซื้อเรือOPVแต่ราคาแพงมากคือ4,000ล้านบาทจึงเปลี่ยนเป็นให้บริษัทในไทยซื้อแบบเรือมาต่อในประเทศ เพราะฉะนั้นทร.จะจ่ายค่าลิคสิทธิ์ลำละ(มั่ว)300ล้านบาทโดยได้แปลนเรืออย่างละเอียดมาจากBAEด้วย(เทียบได้กับแผ่นSWและS/N) และในครั้งนี้จะซื้อลำที่2ก็ต้องจ่าย300ล้านบาทให้BAEโดยได้แปลนเรืออย่างละเอียดมาเช่นกัน(SWแผ่น2)
คำถามก็คือในเมื่อมีแปลนเรือแล้วไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มแล้วต่อเรือเองเลยได้ไหม คำตอบคือได้ครับแต่จะโดนฟ้องละเมิดลิคสิทธิ์เสียเงินตีว่า4,000ล้านบาทโดยใช่เหตุ แล้วถ้าแอบซุ่มทำโดยไม่ให้ใครรู้เรื่องล่ะจะได้ไหม ไอ้ได้มันก็ได้หนะนะถ้าทร.ไม่ต้องของบจากรัฐบาล
ส่วนเรื่องอู่ต่อเรือกรุงเทพต้องแยกออกมาจากเรื่องของทร.นะครับ ทร.ว่าจ้างและจ่ายเงินผ่านอู่กรุงเทพแล้วอู่ก็จ่ายเงินให้BAEอีกทีจะเท่าไหร่ก็ว่าไป ลิคสิทธิ์10ปีผมมองได้2กรณี 1เป็นส่วนหนึ่งในข้อสัญญาการซื้อเรือว่าทางอู่กรุงเทพจะได้สิทธิ์ต่อเรือขายในบางประเทศตามแต่ตกลงกัน และหลังจากขายได้กำไรแล้วจะต้องแบ่งให้BAEเป็นจำนวนเท่านี้ๆก็ว่าไป รวมทั้งอาจจะมีกรณีที่ว่าBAEจ้างอูกรุงเทพต่อเรือโดยแบ่งส่วนกำไรให้ด้วย ก็เหมือนบริาัทตรีเพชรมีสิทธิ์ผลิตรถกระบะอีซูสุส่งขายทั่วโลก แต่ส่วนกำไรต่อคันก็ยังต้องส่งให้บริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นอยู่ดี
กรณีที่2ผมมองว่าเป็นแค่ข้อตกลงระหว่างBAEกับอู่กรุงเทพเท่านั้น ยังไม่มีการจ่ายเงินหรือถือSub Licenseจริงๆ เงื่อนไขก็อย่างที่พูดไปแล้วคือถ้าต่อเรือขายได้ค่อยแบ่งกำไรให้ แบบนี้ก็จะเข้ากรณีกฎหมายลิคสิทธิ์ทั่วๆไป เหมือนเกาหลีต่อเรือดำน้ำได้18ลำหรือไต้หวันต่อเรือOHPได้5ลำอะไรแบบนี้ บทสัมภาษณ์มักจะพูดไม่คลอบคลุมเสมอจึงจิ้นกันได้ยาว |
คำว่า ได้ ลิขสิทธิ์ 10 ปี จาก BAE
หมายความแค่ว่า BAE ให้เป็นตัวแทนในการคุยกับทร. 10 ปี
ถ้าพ้น 10 ปี อู่กรุงเทพ พ้นจากการเป็นตัวแทนของBAE รึป่าวครับ
ดังนั้น ถ้าเราจะสร้างเรือ ยังไงก็ต้องจายค่าlincense ให้BAE ทุกครั้ง ทุกรอบ อยู่ดี
ไม่ใช่แล้วแหละครับ ถ้าลิขสิทธิ์ 10 ปีคือค่าเป็นตัวแทนจำหน่ายแล้ว มันไม่ใช่เรื่องที่ทร.จะต้องมาจ่ายครับ ในเมื่อทร. ไม่ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายเรือรุ่นนี้ของ BVT
ส่วนตัวผมจำได้เหมือนคุณจูลดาสครับคือค่าเรือตอนสั่งต่อรล. กระบี่อย่างเดียว 1,700 ล้าน ที่เหลือคือลิขสิทธิ์ ฯลฯ
การนับลิขสิทธ์เป็นปีผมก็ว่าไม่แปลกนะครับ เช่นแบรนด์เนมสินค้าเสื้อผ้าต่างๆ เพราะเวลาเจ้าของแบรนด์จริงๆ อยากเอาแบรนด์คืนไปทำสินค้าเองในอนาคตก็จะมีสิทธิ์ทำได้ ไม่งั้นจะแปลว่าอนุญาตคนอื่นผลิตสินค้าแบรนด์ตัวเองแล้วเท่ากับอนุญาตเขาทำไปตลอดชั่วนิรันดร์ ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อแบรนด์ได้ด้วยซึ่งส่วนใหญ่คงไม่เสียงกันและมีการจำกัดปีไว้
อันนี้ จาก PDF ของ BAE เอง
Thailand
We have a technology transfer agreement with
Bangkok Dock, providing the design for a 90
metre Offshore Patrol Vessel for the Royal Thai
Navy. Construction of the vessel is underway
in Thailand, with engineers from our business
working alongside Bangkok Dock to transfer
design knowledge, technology and skills.
HTMS Krabi.
Brazil
We are supplying three Ocean Patrol Vessels
and ancillary support services to the Brazilian
Navy, as well as a Manufacturing Licence to
enable further vessels of the same class to be
constructed in Brazil. P120 Amazonas,
P121 Apa and P122 Araguari.
ใช้คำต่างกันเยอะเลยครับ
ของเรา a technology transfer agreement with Bangkok Dock
ส่วนบราซิล supplying three Ocean Patrol Vessels and ancillary support services to the Brazilian
Navy, as well as a Manufacturing Licence to enable further vessels of the same class to be
constructed in Brazil
ดูเหมือนของบราซิลจะได้เยอะกว่า ได้Manufacturing Licence to enable further vessels of the same class
ส่วนของเรา แลกเปลี่ยนเทคโนโลยี และทำงานร่วมกันกับวิศวะกรของBAE (with engineers from our business
working alongside Bangkok Dock to transfer design knowledge, technology and skills)
ดังนั้น ผมว่า เราได้แค่ดูงาน เรียนรู้งาน ศึกษา ออกแบบ ร่วมทำงาน กับ BAE
ถ้าเราจะซื้ออีกลำ ก็ต้องสั่งใหม่จากBAE จ่ายค่าเรือ(ค่าลิขสิทธิ์)อีกรอบ แต่ได้ดู ได้ออกแบบ ได้ร่วมทำงาน ไปด้วย
อย่างนี้รึป่าวครับ
ของเราคือ vt มาสอนเราต่อเรือที่เมืองไทยที่อู่มหิดลซึ่งหมายถึงว่าเราประกอบเองและเขาย่อมต้องมีการเปิดเผยข้อมูลทางเทคนิคต่างๆ ให้เรา ซึ่งกรณีนี้เราได้แบบมาแน่ๆ นอกจากนี้ของเราเขาจะระบุว่าเป็นรุ่นดัดแปลงมาจาก river-class ซึ่งเมื่อมันดัดแปลงแล้วเราก็คงไม่ต้องจ่ายเวลาจะต่อใหม่แล้วมั้ง เหมือนกับว่าเขาสอนว่าของเขาทำอย่างนี้ๆ สเป็คเป็นอย่างนี้ๆ นะแล้วเราจะโมฯ เป็นแบบเราก็คงไม่ใช่สิทธิ์ของเขาที่จะมาห้ามแล้วแหละครับในเมื่อได้ทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีแล้ว
ส่วนบราซิลนั้นประกอบในอังกฤษแล้วซื้อไปทั้งลำ ซึ่งอย่างนี้อาจจะแปลว่าไม่ได้มี technology transfer เพียงขายแบบให้ไปแกะเอาเอง? ถ้าอนาคตคิดจะผลิต
ผมว่าถ้าอ่านดีๆ ของเรา มันแค่ ถ่ายทอดเทคโนโลยี
แต่ของบราซิล ให้สิทธิผลิตไปเลย
ของเราด้อยสิทธิกว่าเค้าเยอะเลย จะทำอะไร ก็ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของเขา ออกแบบได้ กำหนดความต้องการได้ แต่ก็ต้องได้รับการอนุมัติเสียก่อน
แต่ของบราซิล เอาพิมพ์เขียวไปเลย ไปทำอะไรได้ตามใจ
ลิคสิทธิเป็นปีกับสินค้าใหม่ความเป็นไปได้น้อยมาก เพราะเจ้าของสิทธิ์จะได้ผลตอบแทนน้อยกว่ากันเยอะใครให้ก็บ้าแล้ว เอาเรือเราก็ได้ครับถ้าได้สิทธิ์10ปีผลิตกี่ลำก็ได้โดยจ่ายเงิน600ล้านบาท แล้วเราผลิต4ลำเท่ากับเขาได้เงินแค่ลำล่ะ150ล้านบาท แต่ถ้านับเป็นหน่วยโดยเขาคิดเงินค่าสิทธิ์ลำล่ะ300ล้านบาท จะเท่ากับ1,200ล้านบาทต่างกันเยอะนะครับ จึงไม่มีใครให้สิทธิ์แบบปีกันหรอกแม้กระทั่งsub license ก็ตาม กฎหมายลิคสิทธิคลอบคลุมสินค้าทุกอย่างรวมทั้งอาวุธทุกชนิดด้วย
ทร.ไทยซื้อเรือโดยให้บริษัทเอกชนไปซื้อแบบเรือมาต่อในประเทศตลอดเวลาแหละครับ ลำล่าสุดคือเรือน้ำมันเรือหลวงมาตราก็เป็นแบบเรือจากตุรกี ส่วนเรือหลวงพฤหัสบดีเป็นการจอยกับระหว่างบริษัทไทยกับเจ้าของสิทธิ์จากเนเธอร์แลนด์ ซึ่งก็ซื้อสิทธิต่อเรือเพียงลำเดียวจบเพราะใช้เงินน้อยกว่ากัน เพราะฉะนั้นในข้อมูลจึงระบุว่าการซื้อแบบและพัสดุวงเงิน2,355ล้านบาท
ส่วนบราซิลยังคงมีความต้องการเรือOPVอยู่อีกจำนวนหนึ่ง ไม่มากเท่าไหร่แค่7ลำเท่านั้นครับ ณ.ปัจจุบันโปรเจคที่กำลังรันอยู่ก็คือเรือOPV 5ลำ โดยเป็นการซื้อแบบเรือมาต่อในประเทศ ปลายปีที่แล้วมีภาพดีไซน์เรือOPVจากบริษัทในประเทศเขาออกมาแสดง แต่โครงการยังไม่จบก็ต้องรอดูว่าเรือจริงจะเป็นลำไหนกันแน่ เพราะเรือในภาพยังเป็นโมเดลเก่าอยู่กว้างแค่11.5เมตรแต่ยาว103เมตรเท่าๆกับเรือหลวงปัตตานีเลย Amazonas class ทันสมัยกว่าเยอะ
ผมก็ไมไ่ด้บอกนะครับว่าลิขสิทธิ์ที่จำกัดปีจะไม่จำกัดจำนวนสินค้าหรือจะไม่ได้ royalty เลย แต่การมีปีไปจำกัดด้วยเป็นเรื่องปกติในการขายไลเซนส์
เอกสารในงาน The OPVs & Corvettes Asia Pacific 2015 ที่จะจัดในสิงคโปร์วันที่ 20-21เดือนนี้แหละ เข้าใจจะมีนายทหารเรือของไทยไปพูดในงานด้วยใครอยากฟังลงทะเบียนได้เลยนะครับ ผมตัดมาเฉพาะท้ายๆที่เกี่ยวกับเรือเท่านั้น
http://www.opvscorvettesasia.com/MediaCenter.aspx
จากเอกสารคล้ายกับว่าเราจะแทนที่เรือฟริเกตเก่าๆจำนวน4ลำด้วยเรือOPVรุ่นใหม่จำนวนหนึ่ง โดยแบบเรือจะใช้เรือหลวงกระบี่นี่แหละแต่เพิ่มSSM+EW(ESM+Decoy)และHelicopter Hangar นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอโครงการที่กำลังจะเกิดในอนาคต ตามภาพก็มีเรือLPD เรือOPV และเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งคงจะเป็นต.997-ต.999กระมังครับ ซึ่งจะมีขนาดใหญ่กว่าเรือตรวจการณ์ชายฝั่งจำนวน4ลำที่ขึ้นโครงการอยู่ในเวลานี้ รอดูกันไปว่าจะมาจริงไหมหรือโดนเรือดำน้ำชิงงบประมาณไปแล้ว
ส่วนอันนี้มาจากโบรชัวร์ของงานครับ(ภาพขึ้นไหมเนี่ย) ดูที่ไทยจะได้ตัวเลขแตกต่างจากข้อมูลที่เคยรู้ๆกัน เรามีความต้องการเรือOPVอีก5ลำด้วยกัน รวมกับของเก่า3ลำก็จะกลายเป็น8ลำไม่ใช่6ลำ ในแผนภาพบอกด้วยว่าปัจจุบันเรามีเรือคอร์เวต3ลำ เรือชั้นรัตนโกสินทร์2ลำแล้วมาจากไหนอีก1หว่า ถ้าจะนับเรือชั้นคำรณสินธุก็มีตั้ง3ลำไม่ใช่เหรอ อันนี้งง
ข้อมูลพวกนี้globalคงไม่โดนแบนมั้งครับแอดมิน ;)
ก็เป็นไปได้นะครับ เพราะบราซิลซื้อรุ่นเดียวกับกระบี่ไปเรียกเป็นคอร์เว็ตหน้าตาเฉย แต่ผมว่ามาทางนี้ดีแล้วแหละ มาแนวประกอบเองเพราะปัญหาดูจะไม่ยุ่งยากเหมือนจ้างต่างประเทศประกอบ เหมือนจะได้รับการสนับสนุนมากกว่าด้วย
คอเวท3ลำรวมเรือมงกุฎราชกุมารหรือเปล่าครับ
ผมว่าเขานับรล กระบี่เนี่ยแหละเป็นคอรเว็ต (ที่อาวุธโล้นมาก ฮา)
เยี่ยมครับ รอติดตามชมผลงานอยู่นะครับ
Corvette จำนวน 3 ลำ น่าจะหมายถึง
เรือชุด ตาปี จำนวน 2 ลำ
กับ ร.ล.มกุฎฯ จำนวน 1 ลำ
ที่กำลังจะปลดประจำการ โดยในแผ่นภาพ คงคาดหมายว่า ต้องการเรือฟริเกต มาเติม...
แต่จาก ข้อมูลปัจจุบัน ก็คงเป็นการใช้ OPV มาทดแทน เรือทั้ง 3 ลำ ที่กำลังจะปลดประจำการ...โดยเติม ระบบอาวุธ เข้าไป...
ก็ดูแล้ว... OPV ของไทย ก็จะคล้าย ๆ LCS กลาย ๆ....
ตามแผ่นภาพ ที่ท่าน superboy โพส ก็คือ อาจจะ (คาดหมาย) ว่า ทร. จะต้องการ OPV อีก 5 ลำ...
เลยลองไปค้นหากระทู้เก่า ๆ...ที่เคยประเมิน ร.ล.เจ้าพระยา กับ ร.ล.บางปะกง...ว่าอาจจะปลดระวาง ภายในระยะเวลาอันใกล้...หรืออาจจะปรับไปเป็น เรือฝึก แทน...โดยใช้ เรือ OPV มาทดแทน...
ตามแผ่นภาพ (ทำเมื่อปี 2555) จัดทำมาจาก เงื่อนไข คือ
1. ปลดระวาง ร.ล.เจ้าพระยา และ ร.ล.บางปะกง หรือ เปลี่ยนบทบาท เป็น เรือฝึก อย่างเดียว
2. ไม่มีการจัดหา เรือเร็วโจมตี มาทดแทน เรือชุด ปราบปรปักษ์ (ติดอาวุธนำวิถีระยะใกล้) กับ เรือชุด ราชฤทธิ์ (ติดอาวุธนำวิถีระยะปานกลาง) โดยใช้ทดแทน ด้วยเรือ OPV ติดอาวุธนำวิถีแทน
3. เรือชุด ปัตตานี จะมีการติดอาวุธ นำวิถี เพื่อทดแทน ร.ล.เจ้าพระยา และ ร.ล.บางปะกง โดยย้ายเข้า กองเรือฟริเกตที่ 2 โดยในหมวดเรือ กองเรือฟริเกตที่ 2 จะเป็นเรือที่ต่อมาจาก ประเทศจีน ทั้งหมด
4. กองเรือตรวจอ่าว หมวดเรือที่ 1 จะมี เรือ OPV ทั้งหมด จำนวน 6 ลำ โดยอู่เรือไทย ทั้งหมด
สาเหตุที่มองว่า ร.ล.เจ้าพระยา และ ร.ล.บางปะกง จะปลดระวางเร็วขึ้น หรือ อาจจะเป็น บทบาท เป็นเรือฝึก ก็ด้วยเหตุผล
1. ในปี 2564 จะมีอายุใช้งานเรือ 30 ปี (ปัจจุบัน ไม่มีข่าวการจัดหาอาวุธทดแทน เช่น เรดาร์ หรือ อาวุธนำวิถี)
2. C-801 ในปี 2564 น่าจะหมดสภาพ หรือ ไม่น่าจะมีสภาพพร้อมรบที่มีความเชื่อถือ เพียงพอ และปัจจุบัน ก็ดูจะไม่มีประเทศไหน มี C-801 ประจำการแล้ว
เอาข้อมูลจากอีกไฟล์มาลงแล้วกันจะได้ปวดหัวมากยิ่งขึ้น ทร.ไทยมีเรือบรรทุกเครื่องบิน1ลำ เรือฟริเกต8ลำ (ตอนนี้เหลือ7 เซ็ง) เรือคอร์เวต 7ลำ เรือOPV 16ลำและมีโครงการจดหาอีก5ลำด้วยกัน เส้นบางๆระหว่างเรือคอร์เวตกับเรือOPVก็คือระบบปราบเรือดำน้ำ นี่ถ้าเอาเรือต.991มาติดตอร์ปิโดเราคงได้เรือคอร์เวตที่เล็กที่สุดในโลก 55555
เพิ่งรู้เหมือนกันนะเนี่ยว่าเรือหลวงตากใบคือเรือชั้น psmm mk5 และดูจากตัวเลขเราเป็นมหาอำนาจทางทะเลเลยนะเนี่ย เหอๆๆ ปรกติไม่ได้สนใจจะวาดรูปเรือหลวงกระบี่เลยนะเพราะมันโล้นมากโรงเก็บฮ.ก็ไม่มี แต่ถ้ามีอนาคตขนาดนี้คงต้องหันมามองกันบ้างแล้ว
บางสำนัก ก็ให้ เรือชุด คำรณสินธ์ เป็นเรือ คอร์เวต...
ซึ่งน่าจะเป็นว่า ระหว่าง เรือชุด คำรณสินธ์ กับ เรือชุด ตาปี...ผมว่า สมรรถนะ มันเท่ากันนะครับ...
มีทุกอย่างที่ เรือชุด ตาปี มี...
เพียงแต่ เรือชุด คำรณสินธ์ ระวางขับน้ำ น้อยกว่า แค่นั้น...
ขออนุญาติ เอา ของเก่า มาหากิน ใหม่....5 5 5 5 5
เป็นแผ่นภาพที่ทำขึ้นจาก การใช้ข้อมูลการจัดหา เรือฟริเกตใหม่ (ชุด เจ้าพระยา) จำนวน 4 ลำ โดยจะซื้อเฉพาะลำเรือ จากประเทศจีน และนำมาใส่ระบบอาวุธตะวันตก...
โดยตามข้อมูลข่าวใน สมรภูมิ...สเปค อาวุธ และระบบเรดาร์ จะเหมือนกับ เรือชุด รัตนโกสินทร์....
ถ้าตอนนั้น เรือชุด เจ้าพระยา ได้ตามสเปค ที่ ทร. ต้องการ...ปัจจุบัน คงจะไม่น่าห่วง เรื่องการปราบเรือดำน้ำ เท่านี้....
แถมอีกซักข่าวแล้วกันครับเพื่อความสมบรูณ์ขอเนื้อหา เนื่องมาจากทร.ไทยจะใช้จรวดฮาร์พูนเป็นอาวุธหลักแต่หลายคนยังกังวลเรื่องความทันสมัยและระยะยิงที่ไม่ไกลมากนัก โบอิ้งได้ออกชุดคิทอัพเกรดเพิ่มระยะยิงเป็น2เท่า คือจาก67ไมล์ทะเลเป็น134ไมล์ทะเล(เอา1.855คูณจะได้เท่ากับกีโลเมตร) โดยจะสามารถเริ่มส่งมอบทร.อเมริกาได้ในปี2018และน่าจะขายประเทศอื่นได้อีกซีก2-3ปีถัดมา เป้าหมายชัดๆก็คือทำแข่งจรวดNSMในโครงการเรือLCSนั่นเอง แต่ชาติอื่นก็พลอยได้รับผลประโยชน์ไปด้วยถ้าเขาขายนะ
จะว่าไปจรวดSSMของเมกาก็มีของใหม่มาเรื่อยๆนะ ไหนจะโทมาฮอคระยะยิงสั้นลงแต่ใช้ได้ทั้งเป้าหมายบนชายฝั่งและเรือรบด้วยกันได้แล้ว ตัวหลังนี้น่าสนใจแฮะยัดMK-41รุ่นยาวสุดซัก8ลูกแจ๋มไปเลย
Boeing is developing a kit to upgrade existing Harpoon Block II missiles for extended range, in the hope of attracting interest from the US Navy's (USN's) new frigate programme, officials announced on 14 April.
Called Harpoon Next Generation, the new version would include a more fuel-efficient engine, additional fuel, and a smaller 300-pound class warhead, company officials told reporters at the Navy League Sea-Air-Space symposium in National Harbor, Maryland.
"We're looking at doubling the range of Harpoon from 67 nm to 134 nm," said Jim Brooks, director of cruise missile systems weapons programmes for Boeing Global Strike Weapons and Missile Systems, a division of Boeing Defense, Space and Security.
ถามหน่อยครับ จากที่อ่านมาสรุปได้ว่า ทร จะต่อ OPV ที่มีคุณสมบัติ ติด SSM, ESM and decoy คำถามที่ผมสงสัยคือ แล้วแบบนี้ยังจะต่อด้วยspec เรือ พานิช หรือจะต่อด้วย military spec? และหากเป็น military spec แล้ว ติดอาวุธขนาดนี้ ยังจะเรียกว่าเป็น OPV อยู่อีกเหรอ
แต่ก่อนชะง่อนไร มาตราฐานทร.ไทยซึ่งเหมือนกับนาโต้ก็คือเรือคอร์เวตจะต้องติดอาวุธครบ3มิติ เช่นเรือหลวงตาปีเข้าประจำการในปี2514 มีปืนกล40มมแฝดสำหรับต่อสู้อากาศยาน ปืน76/50 2กระบอกหน้าหลังสำหรับต่อสู้เรือผิวน้ำ และจรวดHedgehog anti-submarine mortar กับระเบิดน้ำลึกสำหรับต่อสู้เรือใต้น้ำ และถ้าเข้าใจไม่ผิดคือได้ SQS-17A hull-mounted Sonar มาด้วย ส่วนเวอร์ชั่นปรับปรุงครึ่งอายุก็ตามที่เห็นๆนั่นแหละครับ
ถ้าเรือOPVใหม่ได้ครบตามนี่ถือว่าเป็นเรือคอร์เวตได้เลยนะ แต่คิดว่าถึงได้มาหมดทร.ก็จะเรียกว่าเรือ ASW OPVตามภาระกิจหลักอยู่ดี เรือOPV Darussalam class ของบรูไนติดจรวดเอ็กโซเชต์และเป้าลวงด้วย มาตราฐานต่อเรือจากเยอรมันรับรองใช้งานได้ไปอีกนาน เรือเราก็คงประมาณนี้มั้งครับแต่เพิ่มโรงเก็บฮ.ด้วย(หวังว่านะ)
อู่ต่อเรือในไทยน่าจะยังต่อเรือมาตราฐานเรือรบแท้ๆไม่ได้กระมังครับ แต่ถ้าเอามาประกอบในขั้นสุดท้ายก็พอไหว ลงทุนเรื่องอุปกรณ์เสียหน่อยต่อแบบตากแดดก็ได้
ความหมายของ OPV น่าจะหมายถึง ภาระกิจ...นะครับ
ปัจจุบัน เรือชุด ตาปี เอง หรือ เรือฟริเกตต่าง ๆ ก็ทำภาระกิจ OPV อยู่ ครับ...เพียงแต่ ไม่ได้เรียกว่า เรือ OPV แค่นั้นเอง...
ความหมายของ Offshore patrol vessel
http://www.navy.mi.th/newwww/code/special/opv2/opv_1.htm
Offshore ตามความหมายใน Naval terms dictionary: 5th edition ของ John V. Noel, JR Captain, U.S.Navy (retired) และ Edward L. Beach Captain, U.S.NAVY (retired) หมายถึง ที่ซึ่งมีระยะทางห่างไกลออกไปจากชาย ฝั่งทะเล (At a distance from the coast)
และคำว่า Offshore patrol ตามความหมายใน พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ฉบับใหม่ ของ นาย เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ หมายถึง หน่วยลาดตระเวนทางทะเลเขตนอก
คำว่า Patrol Vessel หรือ Patrol Craft สำหรับกองทัพเรืออังกฤษ หมายถึง เรือรบขนาดเล็ก ที่ออกแบบให้ปฏิบัติกิจ ระยะไกลฝั่งทะเลในยามสงบให้กับกองทัพเรือ หรืออาจจะติดตั้งอุปกรณ์สำหรับปฏิบัติหน้าที่เฉพาะอย่างทำหน้าที่เป็น หน่วยยามฝั่ง (Coast Guard) ได้เช่นกัน เรือรบประเภทนี้ มักจะได้รับการออกแบบให้สามารถเป็นกำลังหนุนให้กับ เรือรบหลักได้ในยามที่มีวิกฤติการณ์หรือความขัดแย้ง ตัวอย่าง เรือ OPV ของ กองทัพเรืออังกฤษ ได้แก่ HMS LEEDS CASTLE ระวางขับน้ำ ๑,๔๒๗ ตัน (มาตรฐาน) เป็นต้น
เมื่อนำความหมายของ คำว่า Offshore + Patrol Vessel/Craft มารวมกันจะได้ความหมายว่า เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง หมายถึง เรือรบขนาดเล็กที่ออกแบบสำหรับใช้ปฏิบัติภารกิจในยามสงบ ในทะเลลึก ที่ไกลฝั่งออกไป โดยออกแบบ ให้ติดตั้งอุปกรณ์ให้เพียงพอต่อการปฏิบัติกิจของหน่วยยามฝั่ง และสามารถใช้เป็นกำลังเสริมให้กับเรือรบหลักได้ใน ยามสงคราม