มาพักสมองกับ โมเดล โดยใช้การพิมพ์แบบ 3D
จาก Shapeway.com ประเทศเนเธอร์แลนต์
สำหรับวัสดุ อันนี้ ผมไม่มีความรู้ว่าใช้อะไร แต่ในสเปค เขาบอกว่า แบบแข็งแรงและยืดหยุ่น
สำหรับผิวเรือจะ สาก ๆ ทั้งลำเรือ....
สำหรับนักต่อโมเดล ต้องบอกว่า ต้องขัดทั้งลำ ทุกซอก และทุกมุม...
แต่ในเบื้องต้น ในความคิดที่ไม่รู้จะได้ลงมือทำหรือเปล่า ? คือ...
ผมคง พ่นรองพื้น ของ Mr.Colour ก่อน...ส่วน รองพื้นแบบกระป๋อง TOA ตามร้านทั่วไป คงยังไม่เสี่ยง กลัวเกิดการละลาย...
แล้วหลังจากนั้น ก็คงค่อยขัดไปตามลำดับ...
รูปแบบโมเดล เขาทำออกมาทั้งลำเรือในเนื้อเดียวกัน ทั้งปืน ทั้งฮาร์พูน เรือยางท้องแข็ง เรดาร์ เป็นชิ้นเดียวกันทั้งหมด...
ซึ่งสำหรับนักต่อโมเดลแล้ว คงต้องทะยอยตัดแต่ละส่วนทิ้ง แล้วคงเหลือแต่ลำเรือ แล้วทำเพิ่มเติมอาวุธต่าง ๆ และรายละเอียดทีหลัง...
และเมื่อนำมาเทียบกับ เรือรบหลักของ กองทัพเรือไทย ขนาดสเกล 1/700
ถัดจากเรือ Formidable ลงมานะครับ
ร.ล.นเรศวร
ร.ล.กระบุรี
ร.ล.รัตนโกสินทร์
อันนี้ เทียบกับ KDX-1 ซึ่งขนาดน่าจะใกล้เคียงกับ เรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำใหม่ ของ ทร.ไทย
เหมือนมีเรือชั้นนเรศวรด้วย ไม่ทราบว่าเขามีแบบให้จิ้มๆ เลือกเอาหรือว่าต้องเขียน cad ไปให้เขาครับ?
3D Printing ไม่จำเป็นต้องทำออกมาเป็น 1โมเดลทีเดียวก็ไดเครับ
ใช้วิธีเขียนชิ้นงานเป็นส่วนๆ แล้วขัดแต่งก่อนนำมาประกอบ งานจะเนี้ยบกว่าเพราะจัดการชิ้นส่วนได้ง่าย
น่าจะทั้ง 2 อย่างครับ พอดีแบบเรือ Formidable มีแต่แบบนี้ครับ แต่เรือชั้น Anzac จะมีแต่ลำเรืออย่างเดียวด้วยครับ อันนี้ลองซื้อมาลองดู คุณภาพน่าจะขึ้นอยู่ผู้ออกแบบ กับวัสดุ เห็นมีบางอย่างก็ใช้ พลาสติก ขึ้นอยู่เจ้าของแบบว่าจะพิถีพิถัน แค่ไหนครับ
ลืมบอก ชุดเรือรบไทย เป็นเรซิ่นของ ญี่ปุ่น ครับ ส่วน KDX-1 เป็นเรซิ่น ของ เกาหลี ครับ
ไม่เคยต่อโมเดลเรือเลยแฮะเพราะไม่สะดวกในเรื่องเวลาสถานที่และการงาน พอดีผมมีภาพแปลนเรือFormidableที่ชัดๆอยู่บ้่าง ไว้วันหลังจะวาดเป็นภาพแทนแล้วกัน :) แต่ช่วงนี้ยังปวดหัวกับRTNอยู่เลยไม่รู้จะเอาลำไหนต่อดี
เท่าที่สังเกตุจากรูปแล้วบอกได้เลยว่างานปริ้นติ้ง 3D ไม่มีทางได้งานออกมาที่มีรายละเอียดหรือความเนียนของผิวชิ้นงานเทียบเท่า แบบทำเป็นแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก โดยแยกชิ้นส่วนแล้วนำมาประกอบเข้าด้วยกันแบบทั่วๆไปที่เรารู้จักกัน
เหตุผลนั้นก็เพราะเรื่องของคุณสมบัติของพลาสติกที่มีค่า shinkage (ค่าการหดตัวของพลาสติก) ทั้งปัญหาการเกิด shink ยุบตัว และเกิดการโก่งงอภายหลังจากการหดตัวของเนื้อพลาสติกภายหลังจากการ print ที่ค่อนข่้างจะมีข้อจำกัดเยอะมาก ดังนั้นชิ้นงานที่ได้ออกมาจึงไม่มีทางเนียนเท่ากับแบบจำลองพลาสติกทั่วๆไป แต่ข้อดีก็คือราคาถูกกว่า และได้ชิ้นงานที่เร็วกว่า ขั้นตอนก็น้อยกว่ามาก
ซึ่งผมเห็นด้วยถ้าจะลองทำการแยกส่วนแล้วปริ้นออกมาหลายชิ้นแล้วนำมาประกอบกันในภายหลัง จะทำให้การ error ของเนื้อพลาสติก ลดลง
แต่ก็ขึ้นอยู่กับผู้เขียนโมเดล 3D (CAD file) ว่าเขียนออกมาได้เนียนแค่ไหน ซึ่งผมเคยลองเขียนแบบ 3Dเรือฟรีเกตของผมเองมาก่อนหน้านี้บอกตรงเลยว่าต้องเก็บรายละเอียดเยอะมาก ถ้าใช้คอมพิวเตอร์สเปกส์น้อยๆยิ่งแล้วใหญ่
ส่วนพลาสติกที่ใช้ปริ้น 3D น่าจะเป็น ABS เพราะเป็น Plastic material ชนิดเดียวในโลกที่สามารถนำไปพ่น,ทาหรือชุบสีได้
ถ้า 3D Printing แบบราคาถูกทั่วไปมันก็ประมาณนี้แหละครับ วัสดุที่ใช้พิมพ์มีหลายแบบครับ ABS เรซิ่น ยาง PETG ในลอน
http://www.print3dd.com/products-page/all-product/
ส่วนการผลิตงานต้นแบบเนียนๆมีครับ แต่ไม่ใช่เครื่องหลักหมื่นครับ หลักล้านโน้นเลย
https://www.youtube.com/watch?v=FglwisdGMH8
พวกนี้ลงบนฝุ่นแป้งครับไม่มีการยุบตัว ใส่สีลงไปได้เลย หากเป็นงานชิ้นส่วนที่ประกอบกัน แต่ละชิ้นส่วนจะไม่ติดกันด้วย
http://www.siam3dprinter.com/3d-printing-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95-3d-printing-technology-to-life/
พวกเครื่องปริ้นท์ 3D ปัจจุบันพวกสำหรับ hobbyist ปกติของไม่เนียนอยู่แล้ว มีขยุกขยุยเป็นปกติ ต้องหาระดับอุตสาหกรรมถึงจะคุณภาพสูง