หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


กองทัพเรืออนุมัติให้แก้ไขสัญญาจ้างสร้างเรือฟริเกต

โดยคุณ : Tumx เมื่อวันที่ : 30/03/2015 12:36:46

~~กองทัพเรืออนุมัติให้แก้ไขสัญญาจ้างสร้างเรือฟริเกต เกี่ยวกับการปรับปรุงแบบการจัดวางระบบอาวุธบนดาฟ้า และขยายความยาวดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์อีก 2 เมตร กับขยายระยะเวลาส่งมอบงานออกไปอีก 60 วัน

http://www.namo.navy.mi.th/index.php/main/detail/content_id/3147

 

 





ความคิดเห็นที่ 1


Ceros500 เฮ้ยยยยเอาจริงดิ

โดยคุณ skysky เมื่อวันที่ 22/03/2015 21:01:30


ความคิดเห็นที่ 2


ถอยหลังปืนกล30มมไปซัก4-5เมตรจะได้ไม่บังมุมยิงฟาลังซ์ ส่วนCEROS500น่าจะเป็นEOS500มากกว่านะ หลังปรับแบบเรือก็จะได้ประมาณนี้ ภาพไม่ชัดอย่าคิดมากเอาแค่ดูประกอบฉากก็พอครับ

 

 

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 22/03/2015 21:56:33


ความคิดเห็นที่ 3


ย้ายฟาลังค์ไปทำให้ด้านหน้ามีที่ว่าง ก็หวังไว้ว่าอนาคตอาจติด MK41เพิ่มเป็น 16 ท่อยิง รองรับ SM2
โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 22/03/2015 22:16:11


ความคิดเห็นที่ 4


ขอความรู้หน่อยนะครับ...  

ระยะเวลาต่อเรือ เกือบ 5 ปี สำหรับเรือแบบนี้จัดว่านานไปหน่อย หรือปกติครับ ? ผมจำใด้เลาๆว่าอ่านเจอในกระทู้อื่นเหมือนมีบางท่านกล่าวว่าอินโดสั่งต่อไม่นาน(จากฝรั่งเศษ?) ก็ใด้เรือแล้ว

ฟาลังซ์ที่ย้ายมาติดข้างหลังมันคงครอบคลุมใด้ไม่ถึง 360องศา (แต่คงดีกว่าอยู่ข้างหน้า ) แล้วถ้าภัยคุกคามมาด้านหน้า ใช้อะไรสกัดครับ

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 23/03/2015 00:07:16


ความคิดเห็นที่ 5


5 ปีผมว่านานนะครับ 

ส่วนใหญ่เฉลี่ย 2-3 ปี หรือนี่อาจจะรวมนั่งแก้แบบไปมา เพราะนี่ก็เซ็นไปเป็นปีแล้ว

ส่วนเรื่องถ้าโดนยิงมาจากทางด้านหน้าใช้อะไร ก็ใช้เป้าลวงกับessm ถ้าเป้าสโลวๆใหญ่ๆหน่อยก็ใช้ปืนเรือ (ไม่รู้ของเรามีโหมด ปตอ.เปล่านะ) ถ้าทะลุมาก็จองศาลา แต่ก็เป็นเรื่องปกติครับที่เรือขนาดนี้จะระบบ ciws ไม่ 360 องศา นอกจากเป็นสายรัสเซียติดกันตรึม

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 23/03/2015 00:23:22


ความคิดเห็นที่ 6


    - เพิ่มความยาวของลาดจอด ฮ.  2 เมตร  แต่มีผลรวมให้ความยาวตลอดลำยาวเพิ่มมาแค่  1.1 เมตร    แสดงว่า  ดาดฟ้ายกที่ติดตั้ง VLS ด้านหน้าและสะพานเดินเรือมีการเปลื่ยนแปลงไปจากแบบเดิม   งานนี้อาจมีเผื่อสำหรับ  32 cells จริงๆอ่ะหรือ

   -  ย้ายฟาลังก์ไปข้างหลังตรงตำแหน่ง  CEROS 200  เดิม   ตรงตามใจที่ผมต้องการเป๊ะ ....5555.....   ยก CEROS 200  ให้สูงขึ้นตามที่เพื่อนใน  TFC เคยเสนอด้วย     เลยต้องยกฐานเรด้าร์ LRR ให้สูงขึ้น   ปล่องท่อไอเสียก็เลยต้องสูงตามไปด้วย  

   _ 5555.....ย้ายลูก  SAT  ไปตรงกลางลำแบบที่ต้องการ   เป็นปลื้มครับ   

   -  30 mm  MSI  หลบไปให้พ้นทางปืนฟาลังก์    เอาเป้าลวงมาวางแทน   

  -  ระบบ  CIWs  ด้านหน้าคงต้องไปพึ่งปืน  76 SR  แทน  กับ  พวก  RAM block 2 หรือ  sea ceptor      76 SR มีโหมด  CIWs ด้วยครับ  ยิงด้วย PFF    

  นึกถึงรูปที่ตัดแปะเล่นๆรูปนี้เลย    แต่ผมว่าสะพานเดินเรือ   คงหน้าตาเปลี่ยนไปแน่ๆ   อาจจะเหมือน  FFX-2 ก็เป็นได้

ว่าแต่  CEROS 500  นี่เป็น  FCR ตัวใหม่หรือเปล่าครับ


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 23/03/2015 00:47:42


ความคิดเห็นที่ 7


   ถ้า  76 SR  เปลี่ยนเป็น  STRALES  จะแจ่มจริงๆ   

ผมว่าระวางเรือคงเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย   และผม....เดา.....ว่าหน้าตาสะพานเดินเรือคงเหมือน  FFX-2  มาก    

เรือออกแบบใหม่เอื่ยม   ยังต้องมีจุดแก้ไขเยอะ   5 ปีน่ะดีแล้วครับ   แก้จุดบกพร่องที่พบได้ก่อนลงเมื่อต่อ   เดี๋ยวก็เจออีกล่ะจุดบกพร่อง    นี่ถ้า ทร.เกาหลีใต้เริ่มต่อ  FFX -2  เมื่อไหร่  คงจะมีจุดที่ต้องแก้มาให้พบเพิ่มอีก   กว่าจะลงตัว



โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 23/03/2015 00:57:09


ความคิดเห็นที่ 8


สรุป long range air search radar ของเรายี่ห้อ/รุ่นอะไร เพราะในตารางบอกปรับย้ายเรดาร์ AMB-ER ซึ่งมันคือรุ่นไรผมหาไม่เจอ ให้เดาคือของซาบรุ่นเพิ่มระยะหรือเปล่า เพราะดูจากรูปพวกโมเดลแล้วเหมือน SeaGiraffe 4A ส่วนเรดาร์หลักคือ Sea Giraffe AMB ในกรวยบนยอดเสาเหรือสะพานเดินเรือ

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 23/03/2015 06:08:02


ความคิดเห็นที่ 9


ขอบคุณ ท่าน toeytei กับท่าน นีโอครับ

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 23/03/2015 08:31:46


ความคิดเห็นที่ 10


ข้อดีของการย้ายฟางลังซ์ไปข้างหลังคือจะทําให้ท่อยิง VLS เพิ่มขึ้นเป็น 16ท่อ อย่างแน่นอน

โดยคุณ bok01 เมื่อวันที่ 23/03/2015 09:16:43


ความคิดเห็นที่ 11


ในความเห็นผม 

1. VSAT น่าจะอยู่ตรงหลังปล่องควัน

2. ปืน 30 ม.ม. น่าจะย้ายตำแหน่งไปบริเวณ ปืน .50 

3. CEROS-200 น่าจะอยู่ในตำแหน่งเดิม โดยเสริมแท่นวาง เรดาร์ตรวจการณ์ระยะไกล กับ EOS-500 ให้สูงขึ้น ให้พ้นทัศนวิสัยของ ฟาลังซ์

4. ปืน ฟาลังซ์ น่าจะมาแทนตำแหน่ง VSAT

5. ปล่องควัน น่าจะยกสูงทั้งหมด

6. การขยายดาดฟ้า ฮ. น่าจะเกี่ยวข้องกับการติดตั้ง ระบบฟาลังซ์ บนโรงเก็บ ฮ. ที่ต้องสร้างคลังกระสุนและส่วนสนับสนุนเพิ่ม อาจจะไปใช้พื้นที่ สนับสนุน ฮ. เช่น อาจจะเป็นการ ฝัง ฐานแท่นยิง ฟาลังซ์ บนโรงเก็บ ฮ.


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/03/2015 09:21:16


ความคิดเห็นที่ 12


กับ แบบที่ ระบบตรวจจับ ไปอยู่บนแท่นทั้งหมด

ซึ่งคงต้องเสริมความสูงให้กับ เรดาร์ ตรวจการณ์ระยะไกล และ EOS-500

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/03/2015 09:26:28


ความคิดเห็นที่ 13


นับว่าเป็นข่าวดีมากเลยครับ  ที่มีการแก้แบบเรือ แบบนี้ก็พอมีลุ้นว่าอาจจะได้ MK41 เพิ่ม :)   แล้วก็ขอถามนิดหนึ่งครับ ใช้โปรแกรมอะไรในการวาดรูปเรือกันอ่อครับ 5555 อยากลองวาดบ้างครับ

โดยคุณ akekolos เมื่อวันที่ 23/03/2015 09:58:28


ความคิดเห็นที่ 14


การย้ายตำแหน่ง CIWS มาท้ายเรือ พร้อมทั้งมีระบบปืนรอง 30 ม.ม. รวมอยู่ด้วย

ถ้าท้ายเรือได้รับความเสียหาย จากการโจมตี...หรือ เกิดการระเบิดภายในโรงเก็บ ฮ.

ระบบ ปืน ป้องกันตัวของ เรือ ก็จะน่าจะพอมองได้ว่า สูญเสีย เกือบทั้งหมด...

คงเหลือ ปืน .50 ม.ม. กับ ปืน 76 ม.ม. สำหรับป้องกันเป้าหมายผิวน้ำ

 

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/03/2015 10:08:02


ความคิดเห็นที่ 15


เราเอาปืน30มม.ไปผูกไว้กับEOS500เลยขยับมาอยู่กลางเรือแถวใกล้ๆเสากระโดงหลักไม่ได้ เสียดายถ้าใช้ปืนที่มีE/Oติดอยู่เลยหรือใช้E/Oแยกต่างหากของใครของมันเลยแบบอังกฤษ(รุ่นราคาถูกหน่อยก็ได้) ก็จะช่วยปืน76/62ป้องกันด้านหน้าได้ดีกว่า12.7ยิงมือแน่นอน ส่วนท่อVLSที่อาจจะมีเพิ่มขึ้น ผมมองไปที่ VL-ASROC มากกว่าSM-2ที่ต้องใช้รดาร์ควบคุมการยิงตัวใหญ่กว่านี้นะครับ รวมทั้งเรดาร์หลักที่ควรจะแรงกว่าAMB

 

คือถ้าได้16ท่อแล้วใส่12 VL-ASROC + 16 ESSM นี่ผมเฮเลยนะ AAW Friagte ไว้รอลำใหม่ก็ได้เท่านี้ก็ปิติแล้ว

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 23/03/2015 10:21:06


ความคิดเห็นที่ 16


ความเห็นส่วนตัว ผมว่า VL-ASROC น่าจะอยู๋ระหว่าง 4 - 8 นัด 

ภาพที่ 1

กรณี ติดตั้ง VLS จำนวน 1 แท่น

กรณีไม่มี SM-2

VL-ASROC = 4

ESSM = 16

กรณีมี SM-2

VL-ASROC = 4

ESSM = 8

SM-2 = 2

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/03/2015 11:37:05


ความคิดเห็นที่ 17


กรณีติดตั้ง 2 แท่นยิง

VL-ASROC  = 6 ถึง 8 นัด (กรณีไม่มี VL-Nulka)

ESSM = 16

SM-2 = 4


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/03/2015 11:39:29


ความคิดเห็นที่ 18


ถ้าจำไม่ผิด การยิงซัลโว ของ VLS จะใช้การยิงสลับแถว แบบ ต่อเนื่อง

ยกตัวอย่าง เช่น นัดแรก ออกจาก เซลที่ 1

นัดต่อไป จะออกจาก เซลที่ 8

ดังนั้น ถ้าจะยิง ESSM ซัลโว แบบ 2-4 นัด จึงควรวาง ESSM ไว้ที่ เซลที่ 1 กับ เซลที่ 8 และ เซลที่ 2 กับ เซลที่ 7 แล้วยิงเรียงตามลำดับ

เป็นความเห็นส่วนตัว นะครับ

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/03/2015 11:42:49


ความคิดเห็นที่ 19


SM-2 จำนวน2-4ลูกเหมือนติดไว้แก้บนเลยนะครับท่านจูดาส กระทั่งVL-ASROCจำนวน4ลูกผมว่ามันก็น้อยเกินกว่าจะลงทุนนะเนี่ย เข้าใจแหละว่ามีดีกว่าไม่มี แต่สมมุติจะติดVL-ASROCก็ต้องมีตู้ควบคุมเชื่อมโยงกับระบบโซนาร์ของเราอีก ซึ่งมันเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มเลยเพราะ4หรือ16ลูกก็ติดตั้งในราคาเท่านั้น ขี้หมูขี้หมาเรือควรจะมีอย่างน้อย8ลูกเพราะโหลดใหม่แบบเรือหลวงพุทธไม่ได้ แต่ก็ไม่รู้นะผมไม่กล้าเดาใจทร.หรอกพลาดมาหลายหนแล้ว ถ้าเรือมาพร้อม8ท่ออาจจะจัดแบบท่านจูดาสก็ได้ว่าไป

 

ความเห็นส่วนตัวเรือคงมา8ท่อยิงพร้อมซื้อESSMมาใส่8นัดไปก่อน ส่วนที่เหลือคิดว่าจะยังไม่มีอะไรมา โดยเฉพาะNulkaที่ทร.บอกว่าเป็น active-off board ECM (อยากได้ECMของจริงมากกว่า เอาของSAABก็ได้)

 

พูดถึงเรือหลวงพุทธแล้วคิดถึงญี่ปุ่น เพราะเป็นอีกชาติที่พัฒนาตู้ควบคุมVL-ASROCขึ้นมาเอง และก็ยังใช้ASROCรุ่นธรรมดาอยู่กับเรือหลายลำเลย นี่ถ้าเราตัดสินใจยืดอายุเรือหลวงพุทธ1ไปอีก10ปีโดยโยนเงินลงไปซัก500ล้านบาท ขาดเหลืออะไรให้ญี่ปุ่นมาช่วยปรับปรุงให้ได้เราก็ยังมีเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำจริงๆไว้ใช้อีกลำ เครื่องยนต์ไม่ดีเท่าไหร่เอาไว้ใช้เป็นด่านที่2ก็ได้นิ ส่วนเรือหลวงพุทธ2ทีสภาพไม่ไหวแล้วก็ปลดประจำการไปก่อน เอาอุปกรณ์มาเป็นอะไหล่เรืออีกลำ

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 23/03/2015 12:43:05


ความคิดเห็นที่ 20


โห คงต้องให้คุณsuperboyใจดีโยน500ล้านให้ญี่ปุ่นมาช่วยปรับปรุงระบบasrocให้เรือพุทธซะแล้ว ว่าแต่เรือพุทธ ถ้าเราจะปรับปรุงเรือต้องจุดธุปบอกเจ้าขอเก่าด้วยมั้ย คุ้นๆว่าเจ้าของเก่าเหี้ยนมาก ถ้าจะทำอะไรต้องจุดธูปขอขมาก่อนหรือไม่ก็ต้องให้เจ้าของเก่าเค้าปรับปรุงให้

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 23/03/2015 13:00:34


ความคิดเห็นที่ 21


  ผมยังข้องใจว่าอเมริกันจะยอมขาย SQQ-89 และ  VL-ASROC ให้และเชื่อมต่อกับ  9LV CMS  ให้ด้วยหรือเปล่า    เพราะตามที่หลวงพี่ icy เคยแสดงความเห็นว่า  อเมริกันขายให้คนใกล้ชิดมากๆและ  CMS เป็นระบบของอเมริกันเท่านั้น  

และจากการวิเคราะห์กันใน  TAF  ตามลิ้งค์นี้  http://www.thaiarmedforce.com/distribution/viewtopic.php?f=6&t=1025&start=2340

ทำให้ผมเชื่อว่า   เราไม่ได้  VL-ASROC  ของอเมริกา     เราน่าจะได้ K-ASROC ของเกาหลีมากกว่าครับ     เพราะข่าวการที่ SAAB กับ DSME  จะทำการบูรณาการระบบกับ  9LV   ซึ่งน่าจะเป็น  NS-ICMS  ซึ่งเป็นระบบอำนวยการปราบเรือดำน้ำ   มากกว่า  SQQ 89 ครับ

    และ  VLS  8 cell  หรือ  16 cell  แรกที่จะมา  น่าจะเป็น  K-VLS  มากกว่า    ซึ่งรองรับทั้ง   K-ASROC     KM-SAAM    K-SAAM  ยิ่งการเมืองแบบนี้   ผมไม่หวัง  Mk-41 และ  ESSM  เลย  ........................เศร้า

แต่ถึงจะเป็นระบบของเกาหลี  ผมก็พอใจแล้วครับ    เพราะ ทร.ลงทุนติดตั้ง  ACTAS  ที่ราคาแสนแพงมากๆ (ราคาไม่น่าจะน้อยกว่า CAPTAS ของ Thales ที่ราคาไม่น้อยกว่า 100 ล้านเหรียญ)    ควรจะต้องมีระบบจรวดต่อต้านเรือดำน้ำครบชุดมาด้วย   นั่นควรควรมี K-ASROC ติดตั้งมาด้วยเลย   นอกเหนือจากตอร์ปิโดประจำเรือ  และ ฮ. ที่ติดตั้งระบบ  LAMP3  

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 23/03/2015 13:05:00


ความคิดเห็นที่ 22


ผมว่า การติดตั้ง SM-2 น่าจะเป็นเรื่องการให้ ครอบคลุมทุกระยะ มากกว่าครับ

โดยลำพัง ESSM ผมว่า โดยหลัก มันครอบคลุมตั้งแต่ระยะปานกลาง ลงมาถึง ระยะใกล้ อยู่แล้วครับ

ซึ่งน่าจะเป็น ระยะหวังผลหลัก...

ในส่วนของ SM-2 น่าจะเป็น ส่วนเสริม ที่ ESSM ไปไม่ถึง มากกว่า ครับ...เป็นสร้างปราการเพิ่มอีก 1 ด่าน หรือ เพิ่มโอกาสการทำลายเพิ่มอีก 1 โอกาส แต่ไม่ใช่ ผลความต้องการหลัก...

คือ ถ้าเทียบระหว่าง ASTER ถ้าจะให้ ASTER มีระยะครอบคลุมเท่า ESSM จะต้องบรรจุ ลูกจรวด ถึง 2 แบบ คือ ASTER-15 กับ ASTER-30 ถึงจะได้ระยะความครอบคลุมของ ESSM..

ส่วน ASROC ผมมองว่า ในจำนวน 4 นัด น่าจะเป็นขั้นต่ำพร้อมรบ ที่รับได้ เทียบเท่ากับ เรือชั้นพุทธฯ...

ในขณะที่เรือก็มี ฮ.ปราบเรือดำน้ำ สนับสนุนอีกปราการหนึ่ง...ซึ่ง เรือชั้นพุทธฯ ไม่มี นะครับ...

ผมมองว่า อาวุธปราบเรือดำน้ำหลัก น่าจะ หมายถึง VL-ASROC + เฮลิคอปเตอร์ ปราบเรือดำน้ำ ประจำเรือ...

ขอเดาว่า น่าจะเป็น เรือรบผิวน้ำ ชุดแรก ที่จะมี ฮ.ประจำเรือฟริเกต จริง ๆ...ไม่ใช่ เรือรบที่มี ลานจอดพัก ฮ. เหมือนปัจจุบัน...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/03/2015 13:14:40


ความคิดเห็นที่ 23


แท่นยิง MK-41 เป็นการให้ BAE ทำการปรับปรุงให้สามารถยิงทุก ๆ อย่าง ได้ครับ...ซึ่ง BAE ก็คือ บริษัทฯ ที่ทำให้กับ ทร.สหรัฐ และประเทศอื่น ๆ ที่มี MK-41 อยู่แล้วครับ...ซึ่ง MK-41 ผมว่า ไม่สามารถยิง K-ASROC ได้ครับ...

ซึ่งผมคาดหมายว่า กว่าเรือจะเสร็จ กว่าเรือจะพร้อมรบ...การเมืองไทย ก็คงมี รัฐบาลพลเรือน แล้วครับ...

คงไม่น่าจะมีผลกับการจัดหา...ซึ่ง ลูกจรวดอาวุธนำวิถี ต่าง ๆ ผมว่า คงจัดหาหลังจากชำระค่าเรือเสร็จสิ้น และมีความพร้อมรบในระดับหนึ่งก่อน มากกว่าครับ...ถึงจะจัดหามาแบบเป็นรูปธรรม...เพราะ ถ้าเครื่องยิง ยังไม่พร้อม..ก็อย่าเพิ่งซื้อ กระสุน มาครับ...เดี๋ยวจะเหมือนกับ ฮาร์พูน ที่ ทอ. ได้รับมาสำหรับ F/A-18 แต่ F/A-18 ไม่เกิด...ก็ไม่รู้จะใช้กับ บ.อะไร ถ้าจำไม่ผิด ก็ส่งมอบให้ ทร. นำไป ปรับปรุง เพื่อใช้กับ F-27...แต่จำนวนไม่มาก ถ้าจำไม่ผิด น่าจะประมาณ 2 ลูก ประมาณนั้น...

แต่ เดาว่า NSM อาจจะเป็น ตัวเลือกใหม่ ที่มาแทน ฮาร์พูน ที่เกิดขึ้นระหว่างทาง ก็ได้ครับ...อาจจะตาม มาเลเซีย มาติด ๆ ก็ได้ครับ...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/03/2015 13:27:25


ความคิดเห็นที่ 24


ส่วน K-VLS ผมว่า ไม่น่าจะติดตั้งคู่กับ MK-41 ครับ...

เพราะ K-VLS ก็มีระบบควบคุมการยิง ระบบหนึ่ง...และ MK-41 ก็มีระบบควบคุมการยิง อีกระบบหนึ่ง..

นั่นหมายถึง การจะมี ระบบควบคุมการยิง ถึง 2 ระบบ และหมายถึง 9LV ต้องเชื่อมต่อทั้ง 2 ระบบเข้าด้วยกันอีก...

คือ ถ้าจะใช้ K-VLS ก็คงต้องใช้ K-VLS ทั้งหมด หรือถ้าใช้ MK-41 ก็น่าจะใช้ MK-41 ทั้งหมด มากกว่าครับ...

แล้วถ้า ทร.จะผสมทั้ง 2 แบบ เข้าด้วยกัน ก็ต้องเป็นโครงการตั้งแต่เริ่มต้นเลยครับ...คงไม่น่าจะเข้าไป แทรกระหว่างกาล ได้...

เมื่อมองว่า ในเมื่อ สหรัฐ เคยให้ ASROC กับ ทร.ไทย มาประจำการ ความแตกต่าง มันแตกต่างในส่วนของ ROCKET กับ ระบบส่งข้อมูลจากแท่นยิง MK-41 แค่นั้น...จากแนวราบ เป็น แนวดิ่ง...แต่ตัวลูกตอร์ปิโด ก็เป็นแบบเดิม...

ผมว่า เงื่อนไข ที่ ทร.ไทย จะไม่ได้อาวุธเหล่านี้ คงมีเงื่อนไขเดียว คือ เรื่องการเมือง เท่านั้นแหล่ะครับ...

ส่วนเรื่องความห่วง เทคโนโลยี่ ของ ASROC...ในเมื่อ ASROC รุ่นเรือชั้นพุทธฯ ที่ สหรัฐ เลิกใช้ไปแล้ว

ใน ปัจจุบันเอง ประเทศจีน ก็ยังไม่เห็นข่าวการนำมาพัฒนาใช้...ผมคิดว่า ทร.ไทย น่าจะผ่านในเรื่องนี้ได้พอสมควรครับ...ความไว้ใจ น่าจะมีในระดับหนึ่ง สำหรับ ทร.ไทย...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/03/2015 13:40:31


ความคิดเห็นที่ 25


เอา phalanx ไปอยู่หลังผมว่าเรือดูดีขึ้นเยาะเลยครับ ด้านหน้าจรวด น่าจะมีที่ติดตั้งเพิ่มขึ้นอีก

โดยคุณ nok43 เมื่อวันที่ 23/03/2015 15:21:09


ความคิดเห็นที่ 26


ดูในรายละเอียด ในส่วนของ เป้าลวง จะมีย้ายตำแหน่ง จากดาดฟ้า 0-3 มาเป็น 0-1 จากหลังสะพานเรือ มาเป็น หน้าสะพานเรือ

เลย เดา ว่า จะย้ายลงมาอยู่บน ลานจอด ฮ. หรือเปล่า ?

เลยต้องขยาย ดาดฟ้า ฮ. ออกอีกประมาณ 2 เมตร

เลยลองทำรูปมาดูครับ

ตามภาพ

1. ย้าย VSAT ไปท้ายปล่องควัน

2. ย้ายตำแหน่ง ปืน 30 ม.ม. มาตำแหน่ง เป้าลวง

3. เพิ่มความสูงฐาน ระบบเรดาร์ตรวจการณ์ระยะไกล และ EOS-500

4. ขยายความยาว ดาดฟ้า ฮ.

5. ย้ายตำแหน่งเป้าลวงไป ดาดฟ้า ลานจอด ฮ.


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/03/2015 16:58:13


ความคิดเห็นที่ 27


กลับไปอ่าน แล้วทำความเข้าใจอีกที เป็นว่า

ย้ายตำแหน่ง ปืน 30 ม.ม. ไป ตำแหน่ง เป้าลวง

แล้ว ย้าย เป้าลวง มาตำแหน่ง ปืน 30 ม.ม.

ส่วน เป้าลวง หลังสะพานเดินเรือ ด้านหน้าเรือ

ย้ายลงมา น่าจะอยู่หลังปืน 76 ม.ม. หน้าเรือแทน


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/03/2015 17:27:44


ความคิดเห็นที่ 28


เดา ตำแหน่ง เป้าลวงใหม่ ด้านหน้าเรือ

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/03/2015 17:39:41


ความคิดเห็นที่ 29


ความเห็นส่วนตัว เรือ ดาดฟ้า


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/03/2015 17:44:06


ความคิดเห็นที่ 30


แอบไปอ่าน taf อาจารย์ริน บอกว่าการย้านฟาลังค์ไปอยู่ที่ดาดฟ้าโรงเก็บฮ. มันเป็นอะไรที่ยุ่งยากมากขึ้น

ต้องมีเหตุผลที่ดีพอหรือคุ้มค่าในการย้าย สงสัย ด้านหน้าคงจะมีอะไรเพิ่มมาแน่ๆเลยครับ

โดยคุณ delete เมื่อวันที่ 23/03/2015 21:20:38


ความคิดเห็นที่ 31


ส่วนตัวผมไม่อยากได้ sm2 เลยนะกับจำนวน cell vls แค่นี้ ให้เลือก sm2 2ลูกกับ essm 8ลูกผมว่าอยากหลังมีประโยชน์มากกว่า หรือไม่ก็เอา RAM block 2 จับใส่ ExLS ไปเลย จะได้มี CIWS ครอบคลุมด้านหน้าไปด้วย

ถ้าเป็นเรือขนาดใหญ่ มี vls เป็นร้อย cell ค่อยหา anti-ballistic missile มาใส่ เพราะดูจากกองเรือเราแล้วผมว่าโอกาสถูกยิงด้วย ballistic missile มีน้อยมาก ภัยคุกคามหลักนอกเหนือจากเรือดำน้ำน่าจะเป็น sea skimming asm ที่ปล่อยจากเรือหรืออากาศยานมากกว่า นอกจากว่าเราจะมีกองเรือขนบ.เป็นเรื่องเป็นราวแล้วต้องการเรือป้องกันภัยทางอากาศอันนั้นอีกเรื่อง

นอกจากนี้สมมติอเมริกาขายให้เราจริงถามว่าเราจะได้บล็อคไหน ตัวเก่าๆผมว่าไม่สอดคล้องกับภัยคุกคามใหม่ๆแล้ว เรียกง่ายๆว่าโบราณ แถมพวก anti-ballisitic missile นี้ก็ไม่ได้แม่นขนาดนั้นในการสกัดกั้นด้วยซ้ำไป

อีกประเด็นคืออยากได้ระบบเป้าลวงแบบ MASS มากกว่า Terma 

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 24/03/2015 00:32:14


ความคิดเห็นที่ 32


        ใช่ครับท่าน delete  ผมเห็นด้วยกับอาจารย์รินนะ   การย้ายฟาลังก์ไปที่หลังคาโรงเก็บฮ.  นั้นยุ่งยากแน่ๆ   เพราะต้องทำคลังกระสุน   ต้องมีลิฟต์ช่วยขนย้าย  และโครงสร้างหลังคาต้องการจุดความแข็งแรงเพื่อรองรับน้ำหนักที่มากขึ้น    แต่คงไม่จำเป็นต้องฝังแท่นฐานของฟาลังก์ใต้หลังคาโรงเก็บฮ.   เพราะระบบฟาลังก์ออกแบบโดยไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ใต้ดาดฟ้าครับ

       ดังนั้นถ้าจะย้ายฟาลังก์  ต้องมีเหตุผลเดียวเท่านั้น  คือ  เตรียมพื้นที่สำหรับ  VLS  ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้  คือ  32 cell   เพราะเดิมดูเหมือนเผื่อไว้เต้มที่สุดๆ แค่ 16 cell     ผมว่าเหตุผลนี้มีน้ำหนักมาพอที่จะดีดฟาลังก์ไปด้านท้ายเรือ

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 24/03/2015 01:31:03


ความคิดเห็นที่ 33


  สำหรับเรื่องระบบ  VLS  นั้นว่าจะเป็นของเกาหลี หรือ อเมริกา นั้น    แต่เดิมผมก้เชื่อว่าน่าจะเป็น  MK-41 เท่านั้น   เพราะเหตุผลดังต่อไปนี้ครับ

1.    การที่จัดหาระบบของ SAAB  ทั้งเรด้ารฺควบคุมการยิง  CEROS 200  ที่รองรับ  ESSM  แต่ไม่มั่นใจว่ารองรับ  KM-SAAM  ได้หรือไม่     แม้ว่า  FCR  ของ  KM-SAAM   จะหน้าตาเหมือน  CEROS 200  มากๆ     แต่ก็ไม่รู้ว่าภายในจะเหมือนกันจนเข้ากันได้หรือไม่    ดังนั้นก็ต้องใช้ Mk-41  ที่ชัวร์กว่า

2.   อเมริกันเสนอเรือ  OHP ที่มีระบบอำนวยการรบสงครามใต้น้ำ  SQQ-89 อยู่แล้ว   นั่นเท่ากับว่าอเมริกาขาย  SQQ-89 ให้กับเราแน่นอน      แต่ระบบ  VL-ASROC  นั้นผมไม่แน่ใจนะครับว่าเขาจะขายให้  หรือ สภาคองเกรทจะผ่านเรื่องให้    

3.  ทร.  แสดงข้อความในเอกสารชัดเจนว่าต้องการ  SM2  ด้วย    และการจัดหา  LRR  ที่คาดว่าเป็น 4A  นั้นเป็นตัวบอกชัดเจนครับว่า  ทร.เอาจริงสำหรับ  SM2      แต่นั่นหมายถึงว่าเรือต้องปรับปรุงใหม่ในภายหลังในเรื่องระบบเรด้าร์อำนวยการรบและเรด้าร์ควบคุมการยิงเพื่อรองรับ  SM2 ด้วย

4.  เรือชั้นนเรศวรใช้ระบบนี้อยู่แล้วร่วมกับของ  SAAB

แต่เหตุผลที่ผมไใ่มั่นใจว่า  ทร. จะจัดหา  VL-ASROC  ของอเมริกันมาใช้ก็ด้วยเหตุผลนี้ครับ

1.  ไม่มีข่าวการจัดหา  SQQ-89  มาใช้กับเรือชั้นนี้เลย    มีแต่ข่าวว่า  SAAB  +  DSME  จะทำการบูรณาการระบบ  9LV  กับระบบอะไรสักอย่างของเกาหลี    ซึ่งเดากันว่าเป็น  NS-ICMS   ที่เป็นระบบอำนวยการสงครามใต้น้ำของดัชท์ + เกาหลี    ที่พัฒนามาจากระบบ  Tacticos    เป็นเหมือนการบอกกลายๆว่าการจัดหา  VL-ASROC  อาจจะมีปัญหา   จึงเลี่ยงไปใช้  K-ASROC แทน

2.  ข่าวการบูรณาการระบบระหว่าง  SAAB +  DSME   มันทำให้ผมมีเสียวว่าจะรวมไปถึงให้  ระบบเรด้าร์และ  CMS ของ SAAB  รองรับ  KM-SAAM  และ  K-SAAM  ด้วยหรือเปล่า     เพราะ  FCR ของ  KM-SAAM  นั้นหน้าตาเหมือนเกาหลีจะก๊อปมาจาก  CEROS 200  แบบเป๊ะเลย   ไม่รู้ว่าภายในจะเหมือนกันหรือเข้ากันได้ด้วยหรือไม่   ซึ่งถ้าเกิดมันดันเข้ากันได้   KM-SAAM  และ  K-SAAM  จะกลายเป็นอีกทางเลือกขึ้นมาทันที

3.  ความล่าช้าในการปรับปรุงเรือชั้นนเรศวรทั้งสองลำ  เนื่องจากปัญหาทางการเมืองระหว่างอเมริกากับเรา 

 

  ถ้าข่าวการบูรณาการนี้เป็นการเชื่อมระบบ  9LV กับ  NS-ICMS  จริงๆ    เรือชั้นนี้ก็จะสามารถรองรับ  VLS ทั้งแบบ  K-VLS และ  mk-41 ได้ทั้งสองแบบ    เหมือนระบบ  NTU CMS  ในเรือ KDX-2  ที่รองรับได้ทั้ง  K-VLS  และ  mk-41  ครับ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 24/03/2015 01:37:43


ความคิดเห็นที่ 34


 ในรูปเป็น  SPG 540K  FCR  นะครับ   ไม่ใช่  CEROS 200   มันทำหน้าที่ควบคุมการยิง  KM-SAAM  ที่มีระยะยิง  40 กิโลเมตร   และรับเทคโนโลยีมาจากรัสเซีย    เป็นระบบที่แม่นมาก  hit to kill  แต่ระยะยิงแค่ 40 km   แถมขนาดและน้ำหนัก พอๆกับ  SM 2  เลยทีเดียว   ใหญ่โตกว่า  ESSM  มาก   

  K-SAAM  เทียบได้กับ  VL-mica  ram block 2    seaceptor    ระยะยิง 20 km   และน่าจะควบคุมการยิงโดย  SPG 540K  ได้ด้วย

 

 ตอนนี้ผมชักเริ่มไม่แน่ใจครับว่า  VL-ASROC จะมา   เพราะมีแนวโน้มว่าเรือชั้นนี้อาจจะสามารถใช้  VLS  ทั้ง 2 ระบบได้แบบเรือพิฆาต  KDX-2  ครับ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 24/03/2015 02:05:33


ความคิดเห็นที่ 35


การย้าย ฟาลังซ์ ไปท้ายเรือ ผมไม่ได้มองเป็นเรื่องที่ดีเลย ในความคิดผม น่าจะเรื่องสนับสนุนว่า แบบเรือ ไม่รองรับการติด VLS จำนวน 2 ระบบ ที่หน้าเรือ เพราะสูญเสียพื้นที่ให้ ฟาลังซ์ไป ถ้า ทร ต้องการ VLS 2 ระบบ มีทาเดียว คือ ย้าย ฟาลังซ์ เท่านั้น ครับ คือ แบบเรือ เป็นแบบเรือ Incheon bacth 2 นั่นเอง

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/03/2015 07:45:59


ความคิดเห็นที่ 36


และการย้าย ฟาลังซ์ หน้าเรือ ออกไป หมายถึง บริเวณ ครึ่งลำเรือ ด้านหน้า ไม่มี การป้องกันแบบ Close In weapon system เลย ซึ่ง เรือที่ ทร จัดหา ลำนี้ กำหนดคุณลักษณะเหมือนเรือพิฆาต ซึ่งแตกต่างจากเรือ Incheon bacth-2 ที่เป็นเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำ ติด K-ASROC เท่านั้น

โ€‹

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/03/2015 07:54:51


ความคิดเห็นที่ 37


ผมตามอ่านมาตั้งแต่ต้น แบบคนไม่รู้เรื่องระบบอาวุธบนเรือ อ้างอิงตามภาพของท่าน Superboy  รู้สึกเหมือนจะดีกว่าที่ย้ายฟาลังซ์ไปด้านหลัง เพราะเหมือนมันจะมีมุมส่ายใด้กว้างขึ้น... พอขาเก่าอย่างท่าน Juldasทักว่าไม่น่าจะดี ผมชัก งงๆ  หลักๆเลยก็คือเพราะไม่รู้ว่าเดิมด้านหลังมันมีระบบป้องกันอะไรบ้าง

รบกวนท่าน Superboy ให้ชื่อกำกับตามหมายเลขหน่อยใด้มั๊ยครับ จะลองไปหาอ่านเพิ่มเติมเป็นระบบๆไป... ขอบคุณล่วงหน้าครับ

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 24/03/2015 10:31:36


ความคิดเห็นที่ 38


ปืนใหญ่เรือที่จะติดให้กับเรือเรานี่ มีคุณสมบัติเป็น ciws ได้ใหมครับ? จะได้ทดแทนฟาลังค์ที่ย้ายไปอยู่ด้านหลังได้ ด่านแรกก็ essm ไป ด่านสองก็ปืนใหญ่เรือ  ciws แค่ระบบเดียวยังไงก็ไม่ทั่วเรืออยู่แล้ว (ผมเห็นพวกเรือเวียดนาม พม่า ติดลำละ สองถึงสามระบบ เยอะไปใหน )

โดยคุณ akekolos เมื่อวันที่ 24/03/2015 11:13:08


ความคิดเห็นที่ 39


  มุมมองเหตุผลของท่าน  juldas  ที่เพิ่มเติมมาเรื่องการย้ายฟาลังก์ไปท้ายเรือที่ว่า  ทร. อาจจะต้องการ  VLS 2 แบบในเรือชั้นเดียวกัน   มีเหตุผลที่ดีครับ   แสดงว่าความไม่แน่นอนทางการเมืองระหว่างประเทศน่าจะเริ่มมีผลแล้ว   

  KM-SAAM  มีขนาดใหญ่มากพอๆกับ  SM2  แต่ระยะยิงน้อยกว่า ESSM    ดังนั้น  8 cell  จึงติดตั้งได้แค่ 8 นัดเท่านั้น   ผิดกับ  ESSM  8 cell  ติดตั้งได้ถึง  32 นัดเลยทีเดียว    ถ้าจะให้  KM-SAAM  มีจำนวนมากพอต้องใช้ถึง  32 cell   เต็มพื้นที่ดาดฟ้ายกด้านหน้า   ฟาลังก์จึงต้องกระเด็นไปท้ายเรือ    

   กรณีที่ความสัมพันธ์กลับมาเหมือนดังเดิม   เรือชั้นนี้จะมีความอ่อนตัวมากขึ้นที่จะสามารถรับระบบได้ 2 ค่าย    หรือถ้าจะใช้  SM2  ESSM   ram block2    K-ASROC  เรือชั้นนี้ก็จะสามารถรองรับจำนวนนัดของอาวุธได้มากพอในอาวุธทุกๆแบบ   เช่น

-- 8  cell  K-VLS  รองรับ   K-ASROC  8 นัด

-  8  cell  Mk41  รองรับ  32 นัดของ  ESSM

-  16 cell  Mk41   รองรับ  SM2  ได้ 16  นัด

รวม  32 cell    ซึ่งจะมีอาวุธแต่ละแบบในตลังอย่างพอเพียงเลยทีเดียวครับ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 24/03/2015 11:49:36


ความคิดเห็นที่ 40


ตอบท่าน  SAM และท่าน  akekolos นะครับ

ในแบบเดิม   ท้ายเรือไม่มีระบบอาวุธสำคัญอยู่เลย   มีแค่ปืนรอง 30 mm  MSI      แต่ระบบอาวุธสำคัญทั้งหมดกลับไปกองอยู่ที่ดาดฟ้ายกด้านหน้าจุดเดียวเลย    ซึ่งถ้าเรือถูกยิงที่ท้ายเรือบริเวณโรงเก็บฮ.    ก็จะไม่มีระบบ  CIWs  แม้แต่ระบบเดียวป้องกัน  ตูมเดียวลากกลับบ้าน  พูดง่ายๆหลังเปิดโล่ง    เป็นจุดอ่อนสำคัญ

  สอง   ระบบอาวุธหลักทั้งหมดกองรวมอยู่ที่ดาดฟ้ายกด้านหน้า   ซึ่งมีทั้งปืน 76 mm  VLS ทั้งหมด  รวมถึงฟาลังก์ที่เป็น  CIWs   ดังนั้นถ้าจุดนี้โดนยิงตูม  คลังอาวูธเต็มๆ    แบบนี้ไม่ต้องลากกลับบ้าน    เพราะจมสถานเดียว   ถ้าไม่จม   เรือจะสูญเสียความสามารถในการป้องกันตัวกว่า 90%  เพราะระบบอาวุธหลักทั้งหมดจะเสียหาย  

ดังนั้นการย้ายปืนฟาลังก์ไปท้ายเรือ   ในมุมมองของผม   ผมเห็นด้วยกับท่าน  superboy ครับ  คือ  เห็นด้วยอย่างยิ่ง       และที่ตรงนี้  มุมการยิงของฟาลังก์กว้างกว่าบริเวนด้านหน้าที่มีสะพานเดินเรือบังมุมอยู่

นอกจากนี้ทำให้พื้นที่ดาดฟ้ายกด้านหน้ามีพื้นที่กว้างขึ้นเหมาะสมกับการติดตั้ง  VLS จาก 16 cell  ไปเป็น  32 cell   ทำให้เกิดความอ่อนตัวในการเลือกระบบอาวุธมากขึ้นครับ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 24/03/2015 12:01:38


ความคิดเห็นที่ 41


  ถ้าย้ายฟาลังก์ไปแล้ว   ใครรับหน้าที่  CIWs ด้านหน้า   

ตอบ  76 mm SR  ครับ    เพราะมันมีโหมดการยิงแบบ  CIWs ด้วย   คือ  ซัดกระสุน 76 mm  ที่มีลูกแตกอากาศที่สาดลูกปรายจำนวนมาก   คล้ายๆกับระบบปืน  35 mm มิลเลเนี่ยม  ที่มีกระสุนแตกอากาศสาดลูกปรายใส่ตัว SSM  ดักหน้า      แต่ 76  mm  มีลูกปรายมากกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า  35 mm  มิลเลเนี่ยมด้วย   จึงหวังผลได้มากกว่า

จะซัดตั้งแต่ระยะ  6 km  ยิงเป็นซุดต่อเนื่อง    ซึ่งระยะนี้ไกลกว่า  ฟาลังก์มากกว่า 2 เท่าทีเดียว

ส่วน  ram  block 2  หรือ  seaceptor  ESSM  จะเป็นด่นแรกที่ทำการสอย  SSM  ตั้งแต่ระยะ  30 km ลงมาครับ   ยิงได้รอบทิศ  360  องศา   

ส่วนตัวผมอยากให้ ทร. เปลี่ยนแบบปืน  76 mm Sr  มาเป็น  STRALES  ในภาพข้างบน   รุ่นล่าสุดจากผู้ผลิตเจ้าเดียวกัน    สามารถยิงกระสุน DART  ที่นำวิถีโดยเรด้าร์ติดตั้งบนแท่นปืนโดยตรงเลย   ล่อ  SSM  ได้ที่ระยะ  6 km  ลงมาครับ

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 24/03/2015 12:14:31


ความคิดเห็นที่ 42


หลายๆคนแสดงความเห็นไปจนเยอะแล้ว อ่านอย่างเดียวก้ฟินแล้ว 555+

 

ส่วนตัวมองแบบนี้ครับ การย้ายฟาลังค์ไปไว้ข้างหลัง เป็นไปได้ว่า ทร.มองถึงอนาคตหากมีการอัพเกรดเพิ่ม VLS อีกแท่นเป็นแน่แท้

แต่คำว่าอนาคตนี่ คงไม่ใช่ในเร็ววันนี้ (ไม่งั้นคงไม่ต้องมาแก้แบบ สู้ออกแบบรองรับไว้แต่แรกเลย)

ปัญหาที่หลายๆคนเถียงอยู่ ว่าจะได้ MK-41 เพิ่ม หรือจะเป็น K-VLS เดาใจทร. คงไม่อยากวุ่นวายกับระบบอีก

ความน่าจะเป็นคือ MK-41 นั่นแหล่ะครับ เรื่อง K-ASROC ผมว่าไม่น่าจะมา แต่หากมีวิธีทำให้ K-ASROC ยิงจาก MK-41 ได้

ถือว่าถูกหวยแล้วกันครับ

ส่วน SM-2 มันเป็นเรื่องของอนาคตมากๆครับ ใน 10 ปีนี้ ผมว่า ไม่มีทางได้เห็นแน่ๆ

 

ปล. เดาผิดหน้าแตกเลยนะเนี่ยย

โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 24/03/2015 12:14:43


ความคิดเห็นที่ 43


ท่านSAMลองแหงะดูมุมขวาบนของหน้าเว็บบอร์ดที่เป็นกระทู้แห่งปีนะครับ แล้วเข้าไปอ่านในกระทู้เกี่ยวกับเรือฟริเกตใหม่ของทร.ไล่ตั้งแต่อันแรกไปเรื่อยๆ ผมเอาภาพมาจากทร.นั่นแหละแต่จำลิงค์ไม่ได้แล้ว ในนั้นมีครบทุกอย่างที่ต้องการเรียกว่าเอาไปแต่งนิยายน้ำเน่าได้3เล่มเลย

 

ส่วนตัวไม่ค่อยให้ความสำคัญว่าฟาลังซ์จะติดตรงไหนมากนัก เพราะระบบเดียวไม่ว่าติดตรงไหนมันก็ไม่คลอบคลุมทั้งลำเรืออยู่แล้ว การติดด้านท้ายอาจจะมีมุมยิงดีกว่าและกว้างกว่า แต่ถ้าติดด้านหน้าก็จะคุ้มกันสะพานเดินเรือและห้องCIC Room(ที่น่าจะอยู่ด้านล่างถัดลงไปมากกว่าอยู่ท้ายเรือ)ได้ดีกว่าเช่นกัน ในเมื่อทร.ตัดสินใจย้ายแล้วก็แล้วกันเราคงทำอะไรไม่ได้ ส่วนตัวผมลุ้นในส่วนอุปกรณ์อื่นๆที่ไม่ได้ระบุออกมามากกว่า เช่นระบบ L3 Common Data Link Hawklink AN/SRQ-4 radio terminal sets ship-to-helicopter datalink radios จะมาไหมเพราะสำคัญมากในสงครามปราบเรือดำน้ำ

 

อีกเรื่องก็คือผมให้น้ำหนักเรือลำนี้ไปที่เรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำมากกว่าเรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศ ต้องการแค่ให้เรือมี16VLSแล้วใส่ 12 VL-ASROC+16 ESSM ก็พอแล้ว ส่วนเรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศรอลำที่3เถอะครับ พื้นฐานจากเรือนี้ก็ได้แล้วใส่มา32VLSแต่ให้มีเรดาร์หลักและเรดาร์ควบคุมการยิงแรงๆหน่อยก็ได้ จากนั้นค่อยใส่ 24 SM2+32 ESSM แบบนี้ค่อยไปวัดไปวาได้ ก็อย่างทีบอกคือถ้าจะติดจรวดอะไรน้อยกว่า8นัดกับเรือใหญ่กว่า3,000ตันมันไม่คุ้มที่จะลงทุนเลย ส่วนตอร์ปิโดเบาที่มี2แท่นรวม6นัดอันนี้ไม่มีปัญหาเพราะใส่เพิ่มได้เรื่อยๆ ยังไงขอให้เรือมาก่อนแล้วกันรอจนเหนียงยานแล้ว อย่างน้อยเมื่อทุกอย่างลงตัวอยากให้แสดงโมเดลเรือรุ่นเป็นทางการและสเป็กเต็มๆอีกซักทีจะได้หายข้องใจ

 

ท่านนีโอเจอมลพิษควันเผาป่าบ้างไหมครับ รุ่นพี่ผมที่เชียงใหม่บ่นใส่FBทุกวันเลย

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 24/03/2015 12:27:38


ความคิดเห็นที่ 44


ขอบคุณท่าน  Neo และท่าน Superboy ครับ  เดี๋ยวไปหาอ่านต่อ

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 24/03/2015 13:06:18


ความคิดเห็นที่ 45


ระบบ  L3 Common Data Link Hawklink AN/SRQ-4 radio terminal sets ship-to-helicopter datalink radios  ที่ท่าน  superboy  กล่าวถึงควรจะมาด้วย  เพราะมันต้องทำงานร่วมกันกับ  ACTAS  ในการสื่อสารระหว่างเรือกับ ฮ LAMP3 ขาดไม่ได้นะผมว่า    เพราะไม่งั้นทำงานร่วมทีมกันระหว่างเรือแม่กับ ฮ. ลำบากมาก

   ควันมากแค่ 2-3 วันครับท่าน superbpy  เฉยๆกับมันแล้วครับ   คงเพราะชินกับควันที่กรุงเทพมานานกว่า 40 ปีแล้ว  เลยรู้สึกชิวๆ

รูปที่พยายามลงไม่มา   ผมลองลงซ้ำนะครับ

ชุดแรกนี้เป็นปืน  76 mm รุ่นล่าสุด  ออกแบบสำหรับการเป็น  CIWs ไปในตัวเสร็จสรรพ  เป็นทั้ง  ปตอ.  ปืนประจำเรือ  CIWs  ด้วยเลยครบ   

ใช้เป็น CIWs บนฟรีเกตชั้น  Horizon 

เรด้าร์ที่อยู่ในป้อมปืนจะทำหน้าที่ควบคุมชี้เป้าให้ลูกกระสุน  DART  ที่จะมีครีบและหัวนำวิถ๊ขนาดเล็กในตัว   ดังนั้นจึงแม่นกว่าในแบบ PFF  ทำให้ผมมั่นใจว่ามันควรจะแม่นกว่า  35 mm มิลเลเนี่ยม   และทัดเทียมฟาลังก์ได้   แต่มีระยะหวังผลไกลกว่ากันเป็นเท่าๆตัว

ในโหมด ปตอ  และ ปืนเรือตามปกติที่ยิงเป้าผิวน้ำ   ก็จะใช้เรด้าร์ชี้เป้าบนเรือแทน  




โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 25/03/2015 00:02:52


ความคิดเห็นที่ 46


  เรด้าร์ และ  ESM ที่  LIG next1 เขาอ้างว่าเขาพัฒนาเองไม่ได้ลอกแบบใคร  แค่หน้าตามันดันเหมือนไปหน่อยเท่านั้น  ไส้ในไม่รู้ว่าก๊อปทั้งดุ้นหรือเปล่า

SPS  550 K  หน้าตาเหมือนใครหวา  อ้าวนึกว่า  SMART-s mk2 ซะอีก

SPG-540 K  ผมนึกว่า  FFX-2 ติดตั้ง  CEROS 200  ซะอีก

SLQ 200 K  นี่หน้าตาเหมือนของอเมริกันแบบเป๊ะๆเลย  

พอมีข่าวว่า  SAAB +  DSME  จะทำการร่วมกันบูรณาการระบบ  9LV   กับ อะไรสักอย่างของเกาหลี    พาลทำให้คิดว่า  CEROS 200   โดนกีอปไปเรียบร้อยแล้ว   บางทีหลังจากเรือชั้นนี้เสร็จ   เผลอๆ SAAB  อาจจะประกาศรับรองว่า  ระบบของตนรองรับ  KM-SAAM    K-SAAM  ของเกาหลีเฉยเลยก็เป็นได้

   

 

ปล.  เคยมีคนบอกว่าเกาหลีต่อเรือได้ถูกจัง  9000  กว่าล้านบาทเอง  แถมยิง  K-ASROC ได้ด้วย          ทำไมเราต่อแพงมากเลย  เกือบ  14,000  ล้านบาททีเดียว    

ลองหักค่า  ACTAS  และระบบ  datalink  เชื่อมต่อกับ ฮ.  ออกไปสัก 4000 กว่าล้านสิครับ    จะเห็นว่าราคาพอๆกันเลย        FFX-2  ไม่มี  TAS  และ VDS  หรูๆแบบเราครับ  

 


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 25/03/2015 00:15:23


ความคิดเห็นที่ 47


เรือชุด FREMM ASW ของ อิตาลี่ ก็มี MILAS เพียง 4 นัด เท่านั้น นะครับ...

ก็คือ ถ้าเรือชุดนี้ ของ ทร.ไทย ถ้าบรรจุขั้นต่ำ VL-ASROC = 4 นัด ประจำเรือ...

มี ฮ.ปด. ประจำเรือ เป็น LAMP ของเรือจริง ๆ...

ประสิทธิภาพเรือ ผมว่า ก็ไม่น่าจะแตกต่างกับเรือ ชุด Bergamini ของ อิตาลี่ เท่าไหร่ครับ..

คือ มี SAM ทั้ง ยาว ปานกลาง ใกล้ และ ASROC พร้อม ฮ.ปด. มีระบบโซนาร์ที่มีประสิทธิภาพสูง...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 25/03/2015 10:08:35


ความคิดเห็นที่ 48


เรื่อง ปืน 76 ม.ม. เป็น CIWS นั้น...ในปัจจุบัน ทร.ไทย ไม่ได้จัดหาแบบที่มีความสามารถได้แบบนั้น นี่ครับ...

ผมเลยมองว่า การออกแบบเรือในตอนแรกของ DSME ผมมองว่า เขาก็น่าจะวางระบบตามแบบมาตรฐาน...

ซึ่งการวางตำแหน่ง CIWS หน้าเรือ ก็น่าจะเป็นมาตรฐานปกติของเรือรบโดยทั่วไป เพราะเรามี VLS เพียง 1 ระบบ เท่านั้น...

CIWS จึงควรเป็น ปราการ ด่านสุดท้าย สำหรับการป้องกันตำแหน่งสำคัญของเรือ คือ สะพานเดินเรือ และห้องควบคุมการรบ...

และ CIWS เราคงจะมองเพียง อาวุธนำวิถีอย่างเดียวไม่ได้ครับ...

CIWS ควรต้องมองภัยคุกคาม จากผิวน้ำระยะใกล้ตัวเรือ เช่น การจอดเรือใกล้ฝั่ง หรือ จากเรือเร็วติดอาวุธนำวิถี ขนาดเล็ก ด้วยเช่นกัน...แล้ว Minimum Range ของ ปืน 76 ม.ม. คือ ระยะกี่เมตร...น่าจะเป็นข้อจำกัดของ ปืนหลักเรือ...จึงต้องมี ปืนรอง ของเรือ ที่ระยะ Minimum Range ที่ดีกว่าปืนใหญ่เรือ...

แต่ ปืนรอง กับ CIWS เรือ ดันไปอยู่ท้ายเรือ ทั้งหมด...ทำให้ด้านหน้าเรือ ไม่มีปืนเรือในภัยคุกคามระยะใกล้ ป้องกันเรือเลย...

ในความเห็นส่วนตัว ถ้าวาง CIWS ไว้ท้ายเรือ ก็น่าจะต้องย้ายตำแหน่ง ปืนรองของเรือ มาอยู่บริเวณกลางเรือ หรือ หลังสะพานเดินเรือ ตรงบริเวณเป้าลวงหน้าเรือเดิม...เพราะตำแหน่งท้ายเรือ ฟารังซ์ กับ MSI-30 ก็จะมี ระยะยิง ซ้ำซ้อน กัน รวมถึง EOS-500 เอง ก็ถูกจำกัดด้วยการบดบังของ ตัวเรือเอง...ในการที่จะป้องกันบริเวณหัวเรือ

ซึ่งสมมติว่า ถ้าย้ายปืน  30 ม.ม. ไปตำแหน่งเป้าลวงหน้าเรือเดิม แล้วติด EOS-500 ด้านหลังแท่นเสาเรดาร์หลัก...อาจจะได้ระยะตรวจจับของ EOS-500 ได้ครอบคลุมตัวเรือ กว้างกว่า ตำแหน่งปัจจุบัน

ซึ่งผมมองว่า จากการที่ ทร. คงเป้าหมายหลักสำคัญ คือ มีึความต้องการ VLS 2 ระบบ จริง ๆ...

และแบบเรือเอง คงไม่สามารถจะเพิ่มเติมระบบ VLS โดยยังคง CIWS ในตำแหน่งเดิมได้...อาจจะด้วยในข้อจำกัดหลาย ๆ อย่าง เข่น น้ำหนัก...

จึงต้องเลือกการย้าย CIWS ไปท้ายเรือ...เพื่อจะเตรียมเนื้อที่ไว้รองรับ VLS ระบบที่ 2 ในอนาคต...

ข้อสงสัยของผมที่ติดอยู่ในใจ ก็คือ การที่เลือกลักษณะนี้ มันจะทำให้ลดทอนการป้องกันในส่วนตำแหน่งสำคัญของเรือ ไปหรือไม่ น่ะครับ...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 25/03/2015 10:33:06


ความคิดเห็นที่ 49


การมี nulka อยู่ด้วย มีขีดความสามารถเทียบเท่า หรือดีกว่า ฟาลังค์ไหมครับ

โดยคุณ delete เมื่อวันที่ 25/03/2015 10:50:13


ความคิดเห็นที่ 50


เรือFREMMของอิตาลี เป็นเรื่องความเรื่องมากของทร.อิตาลีมากกว่าความสามารถของเรือนะครับ คือเรือถูกออกแบบให้กลางเรือติดจรวดSSMได้8นัดและเป้าลวงตอร์ปิโดอีก2แท่นแบบสลับฟันปลา แต่อิตาลีพัฒนาMilasโดยใช้ท่อจรวดSSMมันก็เลยเอวังแบบนี้ ถ้าจะใส่8นัดก็ได้นะแต่ต้องไม่มีOtomatเท่านั้นเอง เป็นระบบปราบเรือดำน้ำที่ยังดูไม่มีอนาคตเอาเสียเลย

 

เรือสามารถติดVLSเพิ่มได้อีก16ท่อด้านหน้าเหมือนFREMMเวอร์ชั่นฝรั่งเศสรวมเป็น32ท่อ และถ้าเลือกVL-ASROS ก็จะสามารถติดได้ถึง16นัดเรียกว่ายิงเรือดำน้ำได้ทั้งกองเรือเลย (โดนไม่โดนอีกเรื่อง) แต่อิตาลีเลือกที่จะประหยัดด้วยการตัดทิ้ง(ไม่รุ้ใส่เพิ่มได้ไหม)และสนับสนุนสินค้าตัวเอง ซึ่งผมเห็นดีด้วยถ้าไทยเรามีสินค้าแบบเขา ถามว่าเรือสามารถติด MilasและOtomatเพิ่มได้ไหมผมว่าพอเป็นไปได้นะ ด้วยการย้ายเป้าลวงตอร์ปิโดไปไว้ที่อื่นแล้วติดแท่นยิงเพิ่มแบบหันก้นชนกันหรือหันหน้าชนกันก็จะได้สุงสุดเป็น16นัด(แบ่งๆเอาหรือใส่Milasอย่างเดียวไปเลยสะใจดี) ถ้ามีสงครามใหญ่จริงๆอาจจะได้เห็นนะครับแต่ถ้าตามปรกติผมว่าก็แค่นั้น และถ้าตามไม่ปรกติคือMilasไม่เวิร์กก็อาจจะถอดออกใช้แค่ตอร์ปิโดเบากับเฮลิคอปเตอร์ ก็ว่ากันไปครับ

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 25/03/2015 10:51:38


ความคิดเห็นที่ 51


เอาภาพเดิม ที่เคยทำไว้ครับ...

สำหรับการป้องกันระยะใกล้ ด้วย CIWS...

จากภาพ เมื่อเราเอา ฟาลังซ์ หน้าเรือออกไปเสีย ก็จะเห็นได้เลยว่า การป้องกัน CIWS หน้าเรือ หายไปครับ

ภาพที่ 3 จะเห็นการผสมผสาน ระหว่าง CIWS หน้าเรือ กับ ปืน 30 ม.ม. ที่จะป้องกันบริเวณกลางเรือ...

อันนี้เป็นแบบ ความเห็นส่วนตัว คร่าว ๆ นะครับ ไม่มีความถูกต้องให้ยึดถือ...เป็นแค่การ วิเคราะห์ ตามภาพถ่าย ความนึกคิด เอาเองครับ

 




โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 25/03/2015 11:05:13


ความคิดเห็นที่ 52


Nulka คือเป้าลวงเวลาใช้งานต้องยิงขึ้นฟ้าเป็นชุดให้มันกระจายตัวออกไป ขี้หมูขี้หมาจรวด1ลูกต้องยิงNulka8ลูกก็ใช้ไปแล้ว2ท่อVLS เป้าลวงเราก็มีรอบเรืออยู่แล้วเป็นรุ่นมาตราฐานที่หลายชาติในนาโต้ใช้งานกันในปัจจุบัน อยากติดเพิ่มทร.ซื้อแท่นยิงต่างหากดีกว่าไหม

 

คุยกันเรื่องเรือมาก็ร่วม2ปีตอนนี้ผมเปลี่ยนใจมาอยากได้เรือGwanggaeto the Great แบบดั้งเดิมโดยปรับปรุงเสากระโดงให้ทันสมัยและขยายลานจอดให้รองรับS-70ก็พอแล้ว เราจะได้เรือที่มี16VLSและ2 CIWSป้องกันได้คลอบคลุมเรือทั้งลำ อาจมีปัญหาในเรื่องหาจุดติดตั้งDS-30Mอยู่บ้างแต่ถ้ามีฟาลังซ์2ระบบก็ใช้เป็นปืนรองได้เหมือนกัน หรือถ้าอยากประหยัดหน่อยไปซื้อGold Keeper มือ2ของอังกฤษที่กำลังโละขายทอดตลาด(มีอยู่5-8ระบบแล้วแต่ปี)มาใช้ไปพลางๆก่อน อีกซัก5-8ปีค่อยซ่อมคืนสภาพแล้วให้Thalesอัพเกรดเป็นรุ่นล่าสุดที่ใช้เป็นปืนรองได้แล้ว ได้แบบนี้มาค่อยสมเป็นเรือรบหน่อยป้องกันตัวเองได้ทั้งระยะกลาง,ใกล้และประชิด+16VLS ผมไม่สนใจเรื่องStelthแล้วหน้าตาเรือมันดูทะแม่งๆยังไงพิกล อีกเรื่องผมยังชอบปืน5นิ้วอยู่นะมันดูดุดันดี

คุยเรื่องเรือฟริเกตทีไรจิ้นกันเพลินทุกรอบเลย เหอๆๆๆ

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 25/03/2015 11:08:39


ความคิดเห็นที่ 53


เรือ FREMM ติด VLS ของ SYLVER ที่ีึไม่สามารถยิง VL-ASROC ได้ครับ

ยังไงถ้า เรือชั้น FREMM จะมี ASROC ก็คงต้อง พึ่ง MILAS อย่างเดียว...

หรือไม่ ก็เปลี่ยนไปใช้ MK-41 แทน...

และด้วยของจำกัดของ SYLVER การที่เรือจะมี VL-SAM จำนวน 32 นัด ก็ต้องใช้ถึง 2 แท่นยิง...

ในขณะที่ MK-41 จะใช้เพียง 1 แท่นยิง...

เรือชั้น Bergamini ของ อิตาลี่ ถ้าเทียบในเรื่องการป้องกันด้วย SAM ก็น่าจะประกอบด้วย ASTER-15 จำนวน 24 นัด กับ ASTER-30 จำนวน 8 นัด...

และเมื่อเทียบกับ เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ของไทย ถ้าติดตั้ง VLS จำนวน 2 แท่น จะได้ ESSM จำนวน 32 นัด และ SM-2 จำนวน 8 นัด...

หรือถ้าจะเทียบทั้งระหว่าง Bergamini คือ มี ASTER-15 จำนวน 24 นัด กับ ASTER-30 จำนวน 8 นัด กับ Milas จำนวน 4 นัด กับ OTOMAT จำนวน 4 นัด

เรือฟริเกตสมรรถนะสูงของ ไทย ถ้าติดตั้ง VLS จำนวน 2 ระบบ ก็จะได้ ESSM จำนวน 16 นัด SM-2 จำนวน 8 นัด กับ VL-ASROC จำนวน 4่ นัด และ ฮาร์พูน จำนวน 8 นัด...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 25/03/2015 11:19:28


ความคิดเห็นที่ 54


ข้อแตกต่างระหว่าง CIWS ท้ายเรือ ของ Incheon bacth 2 กับ เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ของ ไทย

ก็น่าจะเป็น การไม่มีสิ่ง บดบัง ทัศนวิสัย ของ CIWS ทำให้มีระยะการป้องกัน ได้ครอบคลุม มากกว่า

เป็นความเห็นส่วนตัวครับ..

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 25/03/2015 12:47:48


ความคิดเห็นที่ 55


  อิตาลีเขาคงชาตินิยมล่ะครับท่าน  superboy  และคงต้องการให้ระบบใช้ร่วมกับเพื่อนบ้านในกลุ่ม EU ได้  เลยกลายเป็นแทนที่จะดี  กลับแย่ลง   

    ในเรื่อง  CIWs ด้านหน้าที่ใช้ป้องกันจุดสำคัญที่สุดของเรือ   ก็คงต้องรอว่า ทร. จะตัดสินใจเปลี่ยนปืนเรือหลักจาก   76 SR  ไปเป็น  STRALES หรือไม่    ถ้าเปลี่ยนเรือก็จะไม่มีจุดบอดในการป้องกัน  SSM  ในระยะประชิดอีก

 

กรณีที่ต้องการป้องกัน  เรือเร็วขนาดเล็กพุ่งเข้าชนแบบที่อเมริกันโดนมาก่อน    ตามแนวคิดของท่าน  juldas  เรื่องย้าย  30 mm MSI  นั้นเข้าท่ามากครับ    ตามข้อความของป๋าจูลนี้เลยครับ

       ซึ่งสมมติว่า ถ้าย้ายปืน  30 ม.ม. ไปตำแหน่งเป้าลวงหน้าเรือเดิม แล้วติด EOS-500 ด้านหลังแท่นเสาเรดาร์หลัก...อาจจะได้ระยะตรวจจับของ EOS-500 ได้ครอบคลุมตัวเรือ กว้างกว่า ตำแหน่งปัจจุบัน

 

ก็ฝาก ทร. คิดเรื่องนี้ด้วยครับ   เพราะตำแหน่งนี้เองก็ติดตั้งเป้าลวงดีที่สุดเช่นกัน     ยังมีเวลาปรับแก้แบบครับ    ระดมความคิดกันไปเรื่อยๆเพื่อให้เรือมีประสิทธิภาพออกมาดีที่สุดให้คนไทยทั้งประเทศครับ     

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 25/03/2015 12:57:12


ความคิดเห็นที่ 56


เรดาห์ LIG Nex1 SPS-540K ของ FFX frigate ไม่น่าเอาเทคโนโลยีของ Smart-S mk2  มาใช้นะ

นอกจากรูปทรงภายนอกจะไม่เหมือนกันแล้ว LIG Nex1 SPS-540K ยังเป็น AESA แต่ Smart-S mk2 เป็นแบบ PESA

 





โดยคุณ aonestudio เมื่อวันที่ 25/03/2015 14:15:40


ความคิดเห็นที่ 57


...


โดยคุณ aonestudio เมื่อวันที่ 25/03/2015 14:17:12


ความคิดเห็นที่ 58


อันจริงการที่อิตาลีใช้Milasเป็นอะไรที่ไม่น่าเชื่อมากกว่านะครับ เพราะในยุโรปหันมาใช้เฮลิคอปเตอร์+ตอร์ปิโดเบารุ่นใหม่กันหมดแล้ว ผมเลยว่ามันเป็นการติดเพื่อให้อาวุธมันยังผลิตอยู่ได้มากกว่า เนื่องจากมนต์ขลังของอาวุธอิตาลีเสื่อมความนิยมลงไปมาก จรวดแอสปิเด้2000และปืนแฝด40มม.ก็ขายไม่ออกแล้ว ทั้งที่สมัยก่อนเป็นอะไรที่เห็นดาษเดื่อนมาก ลูกค้าซื้อเรืออิตาลีต้องใช้Asterราคาแพงระยับเลยทำให้หันไปหาVL Mica กันหมด

 

เรื่องที่เราใส่จรวดได้เยอะกว่าเพราะESSMสามารถพับปีกได้เท่านั้นเอง ถ้าเรือหลวงนเรศวรติดVLSมาแต่แรกก็ใส่Sea Sparrow ได้แค่8ลูกนี่นา แต่ข้อเสียก็มีเหมือนกันนั่นคือถ้าเจ้าของอาวุธไม่ขายหรือไม่ช่วยซ่อมก็จบเลย เพราะฉะนั้นจึงถือเป็นโชดดีมหาศาลที่อเมริกายอมขายอาวุธให้เรา และอาจจะเป็นโชดร้ายอย่างเหลือเกินถ้าเขาขายให้เราแค่9ลูก ไม่ใช่เรื่องดีนะครับถ้าเราจะเอาตัวเองไปผูกไว้แบบนี้ เพียงเพราะว่าท่อยิงใส่จรวดได้มากกว่าเท่านั้นเอง

 

เรื่องปืนรองผมเฉยๆนะ หลายชาติใช้20มมติดรีโมท บางชาติอย่างแอฟริกาใต้ใช้แค่12.7มมบนเรือMeko-A200 เท่านั้นเอง แต่เขามีCIWSและจรวดต่อสู้อากาศยานของตัวเองนะ โคตรดีเลย

 

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 25/03/2015 15:28:31


ความคิดเห็นที่ 59


น่าจะเป็นเรื่อง ค่าใช้จ่ายซ่อมบำรุง และ จำนวนการผลิตใช้งาน ด้วยล่ะครับ ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญอีกส่วนหนึ่ง...

ถึงจะใช้ Aster ก็ไม่มีอะไรรับรองว่า เขาจะสนับสนุนการซ่อมบำรุงให้ตลอดอายุใช้งานครับ...ด้วย ปริมาณการผลิต ที่น้อย ค่าซ่อมบำรุง กับ ค่าปรับสภาพ น่าจะสูงกว่า ในระยะยาว ถ้าเทียบกับ ESSM ครับ...

ในกระทู้เก่า ผมเคยลองเปรียบเทียบในแง่การซ่อมบำรุง ของแท่น VLS  MK-41 กับ VLS เรือจีน ครับ...ว่า

ระหว่าง แท่นยิง 1 ระบบ ที่มีปริมาณการยิงลูกจรวด ได้เท่ากับ แท่นยิง 2 ระบบ...หรือ เมื่อเทียบกับ แท่นยิงของเรือจีน ที่ต้องใช้ถึง 4 ระบบ ถึงจะมี ปริมาณการยิงลูกจรวด ได้จำนวน 32 ครั้ง...หรือ เท่ากับ MK-41 จำนวน 1 ระบบ

ในแง่การซ่อมบำรุง การหาทดแทนในระยะยาว รวมถึงความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ในการเดินเรือ ทีี่ไม่ต้องรับภาระน้ำหนัก...มันก็จะอยู่ในเพียง 1 ระบบ ไม่ใช่ 2 ระบบ หรือ 4 ระบบ...

ความหลากหลาย หรือความเอนกประสงค์ของ แท่นยิง...ที่ไม่ต้องจัดหาแท่นยิงปล่อยอาวุธนำวิถี ที่หลากหลาย...น่าจะเป็นข้อได้เปรียบของ MK-41

พื้นที่ภายในเรือ จึงสามารถนำมาใข้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ได้อีก...

ในส่วนของ ESSM จำนวน 9 ลูก ที่ ทร. จัดหามานั้น ผมว่าเป็นเรื่องงบประมาณของ ทร. มากกว่าครับ...และด้วย เรือชุด นเรศวร ก็ยังเพิ่งเริ่มปรับปรุง...การจัดหา ชุดแรก ของ ทร. ผมว่า คงเป็นเรื่องนำมาใช้เพื่อทดสอบ และฝึก มากกว่าครับ...

หลังจากที่ เรือพร้อมรบ ก็ึคงจะจัดหามาเพิ่มเติมในภายหลัง... 

และคิดว่า น่าจะเป็น เทคนิค ของการจัดหาอาวุธ...ว่า...ทร. จะได้รับการอนุมัติจัดหา ESSM...โดยไม่ได้รับการคัดค้าน และการท้วงติงก่อน...เพราะ เมื่อชุดแรกผ่าน...ชุดต่อ ๆ มา คงไม่มีปัญหาอะไร...ถ้าการจัดหา ESSM ไม่ผ่านอนุมัติตั้งแต่แรก...ทร. ก็จะได้เปลี่ยนแบบไปใช้อย่างอื่น...

และการที่ สหรัฐ จะไม่ขายอาวุธให้ ไทย...ไม่ใช่ สิ่งที่ สหรัฐ เป็นคนสร้างเงื่อนไข แต่อย่างไร...ในความเห็นผม...

เป็น ประเทศไทย เอง...ที่ทำตัวเอง ไปสร้างเงื่อนไขให้ สหรัฐหรือประเทศตะวันตกอื่น ๆ จะไม่ขายอาวุธ ให้ทั้งนั้น...

ตอนนี้ บางที ผมอ่านแล้วก็ ตลก..

ประเทศไทย ปกครอง ด้วยระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข...แต่ ดัน จะเริ่มนิยมชมชอบ อาวุธ รัสเซีย กับ จีน ที่เป็นประเทศ สังคมนิยม หรือ คอมมิวนิสต์ ที่เขาผ่านการล้มล้างการปกครองจากกษัตริย์มา...

เหตุที่เริ่มนิยมชมชอบ อาวุธจาก ค่ายรัสเซีย กับ จีน ก็ด้วยเหตุที่ ประเทศตะวันตก จะไม่ขายอาวุธให้...ผมเลย ค่อนข้างจะ งง กับ ตรรกะพวกนี้ น่ะครับ...

ผมขอยกตัวอย่าง ในแง่ การวิเคราะห์ นะคร้ับว่า...ถ้า สมมติ ประเทศไทย เกิดเหตุสงครามกลางเมือง ขึ้น...คนไทย ฆ่ากันเอง...ผู้จำหน่ายอาวุธ รัสเซีย กับ จีน คงไม่มีปัญหาที่จะ ขายอาวุธให้กับ ผู้มีอำนาจรัฐของไทย ในขณะนั้น ๆ ถ้ามีความต้องการ...

แต่ในขณะเดียวกัน ผู้จำหน่ายอาวุธ จาก สหรัฐ กับประเทศตะวันตก จะปฏิเสธการขายอาวุธให้...เพราะมันจะสั่นคลอน ถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยได้....

ซึ่งจากตัวอย่างที่ผมยกขึ้นมานี่ล่ะครับ...ที่ผมถึง มีความเห็นว่า ประเทศไทย ทำตัวเองสร้างเงื่อนไขให้พวกเขาเองน่ะครับ....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 25/03/2015 16:22:37


ความคิดเห็นที่ 60


เรื่องการป้องกันภัยด้านหน้า

ผมว่า 76  STRALES ได้มามันก็ดีครับ  แต่ราคาของตัวป้อมปืนที่น่าจะแพงเอาเรื่อง และที่สำคัญ ลูก76นำวิถี ที่จะเอามาทำเป็น CIWS มันจะแพงมากๆ เพราะการผลิตน้อย

จริงๆแล้วถ้าเราได้ Mk.41 2 ระบบ(หรือมากกว่า)จริงๆ  เรายังมีทางเลือกไปใส่ RAM Block 2 missile เป็น CIWS ได้ด้วย โดย 1 ท่อยิง Mk.41 จะใส่ RAM Block 2 missile ได้ 4 ลูก

โดยคุณ kitty70 เมื่อวันที่ 25/03/2015 16:40:31


ความคิดเห็นที่ 61


ต้องขออนุญาติ เจ้าของภาพ ต้นฉบับ ภาพนี้ นะครับ

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/03/2015 15:48:14


ความคิดเห็นที่ 62


ขอดัดแปลง ตามที่มีการ ปรับปรุงแบบตำแหน่งใหม่ ครับ

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/03/2015 15:48:57


ความคิดเห็นที่ 63


ถ้าทำช่องประตูปล่อยเรือเล็กด้านข้างให้ตรงๆ กันโดยไม่จำเป็นต้องเยื้อง ก็จะมีพื้นที่วางแท่นยิงจรวดฮาร์พูนเพิ่มได้อีกข้างละแท่น รวม 4 แท่น 16 นัดเลยนะครับ

โดยคุณ Jane เมื่อวันที่ 26/03/2015 16:43:46


ความคิดเห็นที่ 64


ลองแบบให้ปืน 30 ม.ม. อยู่หลังสะพานเรือ โดยมี EOS-500 อยู่บนเสากราฟ เยื้องออก เพื่อได้ความสูง เห็น ทัศนวิสัย รอบเรือ...

ไม่มีหลักอ้างอิงใด ๆ นะครับ...แค่ทำตามความคิด มุมมอง ส่วนตัว นะครับ..

 

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/03/2015 17:07:26


ความคิดเห็นที่ 65


รูปไม่ขึ้น ส่งใหม่ครับ

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/03/2015 17:08:45


ความคิดเห็นที่ 66


ความเห็นส่วนตัว นะครับ

แบบที่ 1  ที่ผมมองว่า ส่วนหน้าของเรือ จะขาด Close In Weapon System

โดย Area ของปืน 30 ม.ม. ผมให้ผูกกับ พื้นที่ความสามารถตรวจจับได้ของ EOS-500 ไม่รวมถึง การใช้ระบบคน

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/03/2015 18:01:39


ความคิดเห็นที่ 67


แบบที่ 2  การเพิ่มพื้นที่ การป้องกันของ ปืน 30 ม.ม. โดยพื้นที่การยิงของปืน ผูก กับ ทัศนวิสัยความสามารถตรวจจับของ EOS-500


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/03/2015 18:05:03


ความคิดเห็นที่ 68


นับถือในความพยายามของท่านจูดาสเลยขอเล่นด้วยคนก่อนนอน ผมใช้แผนนี้ครับ ไม่ชอบปืนรองทุกชนิดเอาฟาลังซ์หน้า-หลังเลยสะใจโรคจิตดี บริเวณกลางเรือสามารถใช้ปืนทั้ง2กระบอกช่วยยิงได้ ซึ่งเป็นบริเวณเป้าใหญ่ที่จรวดชอบวิ่งเข้ามาหา อเมริกา เยอรมันและอีกหลายชาติในนาโต้ชอบแผนนี้ แต่อังกฤษชอบติดข้างเรือ2ฝั่ง+DS-30Mห่างออกไป10เมตร ส่วนฝรั่งเศส สเปน ไม่ติดเลยซักระบบ แหม่...

ส่วนตัว(อีกแล้ว)ยังนึกไม่ออกเลยว่าเราจะซื้ออาวุธแบบไหนจากรัสเซียนอกจากเฮลิคอปเตอร์และอิ๊กล่า แต่ของจีนก็ไม่แน่คงพอมีมาบ้างเพราะเขากำลังมือขึ้น มีสินค้าให้เลือกเยอะมากถ้าเลือกดีๆก็ได้ของดีเช่นจรวดC-705

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 26/03/2015 23:37:57


ความคิดเห็นที่ 69


ผมว่าเอา DS-30 ไปวางหลังสะพาน มุมยิงยิ่งจำกัดมากกว่าเดิมอีกนะครับ วางข้างเสาเรดาร์  LRR สามารถยิงไปด้านหน้าได้มากกว่า (ลองลากเส้นจากกึ่งกลางแกนหมุนของแท่นปืน ส่ายไปจนสุดที่มีวัตถุบังมุมยิง) แต่ก็จะติดที่คคย. EOS 500 ต่างหากที่หันไปไม่ได้เพราะฐานเรดาร์บัง (พอจะยิงแบบแมน่วลได้)

อีกอย่าง อวป.ส่วนมากจะพุ่งเข้าหาเป้าเรือผิวน้ำบริเวณกลางลำ เบี่ยงไปจากมุมตั้งฉากไม่มากนัก ซึ่ง Phalanx สามารถหันไปครอบคลุมได้ (อย่าลืมว่าท่านต้องลากเส้นยาวออกไปถึงระยะ 500-3,000 เมตร จากตัวเรือนะครับ)

ปล.แท่นยิงเป้าลวงด้านหน้า ย้ายมาติดตั้งบนดาดฟ้า 0-1 คือดาดฟ้ายกหน้าสะพาน ถัดจาก Mk.41 VLS ไม่ใช่อยู่บนดาดฟ้าหลักดังในภาพนะครับ

โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 26/03/2015 23:50:32


ความคิดเห็นที่ 70


   ท่าน TWG  อ่านมาดีแฮะ  ผมมองข้ามไป    

ปืน 12.7 mm  มาวางแทนเป้าลวงหลังสะพานเดินเรือ    ปืน  30 mm MSI  มาวางแทนปืน  12.7 mm    

ส่วนเป้าลวงถูกย้ายลงไปดาดฟ้ายกหน้าสะพานเดินเรือแทน  

ท่าน  juldas  ต้องการย้าย  30 mm MSI  ไปตำแหน่งของ  12.7 mm   แต่ติดที่ว่า  EOS 500  มันอยู่ข้างหลัง   

                                         เลยจะย้าย  EOS 500  ไปที่ยอดเสากระโดงหลักเลย  

อยู่สูงมาก  เำื่พื่อรองรับ  30 mm    

 

ปกติ  SSM  จะทำการบินเลียดยอดคลื่นในระยะต่ำกว่า 40 km     ดังนั้น  ESSM  จำทำหน้าที่สอย  SSM  ได้ตั้งแต่ระยะนั้นแล้วครับ   ดังนั้นเรือก็มีระบบต่อต้านตั้งแต่ระยะ  30-35 km แล้ว     ถ้าเอาชัวร์  ก็เติม  ram block 2 อีกชั้น   ที่ระยะต่ำกว่า  20 km ลงมา   เรือชั้นนเรศวรถึงไม่มี  CIWs  ก็ป้องกันตัวเองได้จาก  SSM  1 -2 ลูกแน่ๆ    360  องศารอบตัว  ไม่มีมุมอับ

ปัยหาอยู่ที่ระยะ  6 km   สุดท้ายก่อนชนเรือ   ต้องพึ่ง  CIWs  และ  ในระยะ 1-2 km   สุดท้ายจรวดมักเงยหัวขึ้นกระทันหันอย่างรวดเร็วแล้วปักดิ่งลงกลางเรือเลย    ทำให้ระบบ  CIWs ที่ตอบสนองไม่ดีพอจะยิงไม่โดน    ถ้าสอยตั้งแต่ระยะ  6 km ก็พลาดลดลง    ดังนั้นเรือที่มี  CIWs  ระยะต่ำกว่า  6 km  ลงมา   จะมีโอกาสอยู่รอดสูงขึ้นไปอีกครับ  

 

ดูเงินที่ต้องจ่ายแล้ว     การติดฟาลังก์ที่ด้่นหน้าอีกชุด  การันตีความชัวร์    แต่ต้องจ่ายเกือบ  20 ล้านเหรียญ  หรือ  500 -600  ล้านบาท    แต่ก็ไม่ต้องมี  30 mm  MSI  มาเพิ่มให้ปวดหัวเล่น  ลดเงินส่วนนี้ลงไป

ถ้าเปลี่ยน  76 SR  ไปเป็น  76  STRALES   ไม่รู้ว่าต้องจ่ายมากแค่ไหน   ถ้าเพิ่มอีกแค่  100 -200 ล้านบาท    อย่างนี้เปลี่ยนปืนหลักดีกว่าครับ  

 

ถ้าเรือชั้นนี้กว้างเป็น 16 -17 m    ระวางประมาณ 4500  ตัน   ผมว่ากำลังเหมาะสมสำหรับการเป็น  AAW  มากๆเลย   เพราะสามารถจัดวาง  superstruckture  ได้ดีขึ้นมาก  และอาจจะติดตั้ง  SSM  ได้  16 ท่อยิงสบายๆ      และอาจจะสามารถติดตั้ง ฟาลังก์ชุดหน้าได้อีก  หรือ จำนวน VLS  กลายเป็น  48 cell

ลำที่  3  เป็นต้นไปน่าจะขยายให้กว้างกว่านี้นะครับ

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 27/03/2015 00:24:42


ความคิดเห็นที่ 71


ตามที่ผมให้ความเห็น จะหมายถึงว่า ภัยคุกคามของเรือ คงจะมองเฉพาะ อาวุธนำวิถี อย่างเดียวไม่ได้ มันมีภัยคุกคามหลาย ๆ แบบในปัจจุบัน บริเวณผิวน้ำ ทำให้ ฟาลังซ์ ถึงต้องอัพเกรด ในการทำลายเป้าผิวน้ำได้ด้วยครับ

ตรงตำแหน่งปืน 30 ม.ม. ในตำแหน่งเดิม หรือ ในตำแหน่งที่เปลี่ยนใหม่ ผมก็เห็นด้วยครับว่า เป็นตำแหน่งที่ระยะยิง ครอบคลุม ถ้าใช้ระบบ Manual  แต่ถ้าต้องการการทำลายที่แม่นยำ ลดความผิดพลาด ก็จะติดปัญหาตรงที่ EOS-500 ที่ไม่ครอบคลุม ถึงบริเวณหน้าเรือ

ซึ่งการเปลี่ยนตำแหน่ง ฟาลังซ์ หน้าเรือ จึงทำให้ การป้องกันระยะประชิด บริเวณหน้าเรือ เกือบครึ่งเรือ สูญเสีย การป้องกันระยะประชิด ไป

สำหรับ ความเห็นผม ที่วางตำแหน่งปืนหลังสะพานเรือ ก็เป็นบริเวณใกล้เคียงกับ ตำแหน่งปืนที่ติดบน  ร.ล.กระบี่ นะครับ ในความเห็นผม...

ขอตัวอย่าง USS COLE ที่ขณะแล่นผ่านคลอง สุเอช ก็ถูกโจมตี ด้วยเรือเล็ก ซึ่งวิ่งมาทางหน้าเรือ แล้วเลี้ยวเข้าชน และน่าจะเป็นผลต่อมาให้ ทร.สหรัฐ ต้องติดปืน 25 ม.ม. บริเวณกลางลำเรือ และฟาลังซ์ ในช่วงนั้น น่าจะยังเป็น Block เดิม ที่ยังไม่มีความสามารถทำลายเป้าผิวน้ำได้...

ตามภาพตัวอย่างน่ะครับ ถ้าเรือฟริเกตสมรรถนะสูงของไทย แล่นมาในลักษณะเดียวกัน ในตำแหน่งฟาลังซ์ ท้ายเรือ ผมว่าคงไม่แน่ว่าจะป้องกันเรือได้ คงต้องใช้ ปืน 30 ม.ม. ซึ่งก็คงต้องอยู่ที่ว่า EOS-500 จะจับเป้าได้ โดยไม่ถูกบดบัง โดยทัศนวิสัย ของตัวเรือ....ซึ่งถ้า EOS-500 ถูกบดบัง ก็คงต้องใช้ ระบบ Manual ป้องกัน...

แต่ถ้าสมมติ ติดหลังสะพานเดินเรือ ผมว่ามันก็น่าจะตอบโจทก์ ได้ ในกรณีตามที่ยกตัวอย่าง น่ะครับ และถ้า ฟาลังซ์ ยังอยู่ในตำแหน่งหน้าเรือ ก็คงตอบโจทก์ ได้เหมือนกันครับ


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 27/03/2015 08:30:38


ความคิดเห็นที่ 72


ทร.สิงคโปร์ ที่มีการอัพเกรด เรือชุด Formidable ก็มีการติด EO บนเสา เหมือนกันครับ

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 27/03/2015 08:43:45


ความคิดเห็นที่ 73


E/Oของสิงคโปร์เป็นการเอาของเก่าย้ายไปติดตรงนั้นมากกว่าครับ เพราะเอาFCSตัวใหม่มาควบคุมการยิง76/62แล้วเลยเอาไปใช้เป็นกล้องตรวจการณ์กลางคืนเสียมากกว่า เพราะปืนรองด้านหลังเป็นรุ่น MK38-MOD2 Stealth ซึ่งมีทุกอย่างอยู่ในตัวโดยสมบูรณ์แบบ คงใช้งานเหมือนกับเรือหลวงบางปะกงเราที่เพิ่งติดกล้องตรวจการณ์กลางคืนไปไม่นานเช่นกัน เสียดายรูปหายมีแต่ลิงค์ข่าวแต่หน้าตาเหมือนE/O ของปืน MK38-MOD2 เลยแฮะ

http://thaidefense-news.blogspot.com/2013/05/blog-post_1548.html

 

ก็บอกแล้วติดฟาลังซ์หรือโกลด์คีปเปอร์2ระบบไปเลย จะได้ไปคลองสุเอชได้อย่างสบายใจ :) E/Oสามารถคุมปืนได้ทีละกระบอกเท่านั้น ถ้าเรือเราเข้าคลองสุเอชแล้วมีฝนตกหนักหรือหมอกหนาจัดจนมองไม่เห็น เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะติดปืนรองตรงไหนก็ตาม แล้วมีเรือเล็กควบคุมด้วยรีโมทมีE/Oพร้อมระเบิดเข้ามาโจมตี2ฝั่งพร้อมๆกัน เราก็สามารถใช้E/Oจัดการได้แค่ลำเดียวเท่านั้น ส่วนอีกด้านถ้าสามารถตรวจสอบด้วยตาเจอก็ต้องยิงปืนด้วยตาเช่นกัน ในสภาพอากาศไม่อำนวยก็แล้วแต่ดวงล่ะครับ

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 27/03/2015 10:11:30


ความคิดเห็นที่ 74


ในความเห็นส่วนตัว ผมว่าเราลืม ceros 200 กันนะครับ ว่ามันไม่น่าจะทำได้แค่นำทาง essm กับยิงปืน76/62

ถ้าตามตำแหน่ง

ceros 200 หน้าเรือจะควบคุมการยิงให้กับ 76/62 กับนำทางให้ essm

ceros 200 ท้ายเรือนำทางให้ essm

อย่าลืมว่า ceros 200 ทั้ง 2 ตัวมีทั้ง radar ควบคุมการยิง/cwi สำหรับESSM/EO/กล้องTV/เลเซอร์วัดระยะ ผมเชื่อว่าโดยระบบอำนวยการรบสามารถสับให้มันใช้การควบคุมอาวุธที่อยู่บนเรือได้หลากหลายชนิดได้ แต่ที่ต้องมี eos500 น่าจะเพื่อแบ่งหน้าที่หลักออกจากกันในกรณีที่มีภัยคุกคามจากหลายแบบเข้ามาสู่ตัวเรือ ถ้าเป็นอย่างงั้นจริง หมายความว่า เราสามารถยิง ds30m ได้พร้อมกันจากทั้ง 2 ด้านโดยใช้ ceros200(ตัวหลัง)+eos500 และยิง76/62 โดยใช้ ceros200(ตัวหน้า) (แต่ในกรณีทีมีภายคุคามจากทางอากาศด้วยก็จะเหลือ eos 500 ตัวเดียวในการใช้งานอยู่ดี)

ถ้าว่าด้วยเรื่องมุมอับของอาวุธในการป้องกันผมว่า type45 ของอังกฤษยิ่งกว่าเยอะนะ ข้างหลังนิโบ๋เลยนะ ciws+ds30m เอามากองอยู่ข้างเรือใกล้ๆกันหมดเลย ท้ายเรือไม่ต้องพูดถึงข้างหน้ามีปืนใหญ่กระบอกเดียวอัตราการยิงก็ไม่น่าจะเยอะ จะดีหน่อยก็เรื่องระบบเรดาห์กับระบบอาวุธนำวิถีที่มีประสิทธิภาพสูง

 

โดยคุณ paoo เมื่อวันที่ 27/03/2015 10:54:37


ความคิดเห็นที่ 75


เอาปืน DS30 ไปติด option พวกนี้เพิ่มก็สิ้นเรื่องแล้วครับ หมดปัญหา E/O คุมได้ทีละกระบอกด้วย เดี๋ยวนี้เรือรบรุ่นใหม่ๆ เค้าพยายามให้ปืนพวกนี้เป็น standalone  ในการป้vงกันภัยคุกคามในระยะสายตาถือว่าเหลือเฟือ และถูกกว่าการไปติดฟาลังซ์ 2 ชุด ซึ่งแพงมากๆ และเป็นการลดภาระ EOS500 กับ Ceros200 ด้วย (เอาไปคุม76 mm Harpoon ESSM คุ้มกว่า)

-Electro Optical Sensor 

-Thermal Imager

-Colour TV Camera

- Laser Range Finder

http://www.msi-dsl.com/our_products/weapons/

โดยคุณ aonestudio เมื่อวันที่ 27/03/2015 11:07:48


ความคิดเห็นที่ 76


   กรณี  uss cole  เป็นกรณีที่คลาสสิกแบบไม่คาดฝันว่าจะเกิดขึ้นกัยเรือสุดยอดไฮเทคได้     น่าคิดเหมือนกัน

       เอาเป็นว่าผมเสนอแบบนี้แล้วกัน    ย้ายปืน  30 mm MSI  ไปที่ตำแหน่งปืน  12.7 mm   หลังสะพานเดินเรือ      เอา  EOS 500     มาติดด้้านข้างเสากระโดงหลักทั้งสองข้างแทน   เหนือตำแหน่งปืน 30 mm    ซึ่งต้องไปซื้อ  EOS 500  มาเพิ่มอีกชุด    เพื่อควบคุม  30 mm  MSI  คนละตัวไปเลย   จบปัญหาและน่าจะจ่ายเพิ่มไม่มาก    เพราะถ้า EOS 500  สามารถควบคุมได้ทีละแท่นยิง    ในเมื่อมี 2 แท่นยิงก็มีกล้องเล็งแท่นละตัวไปเลย     เท่านี้ก็สามารถป้องกันปัญหาไม่คาดฝันอบบ  USS  cole ได้ครับ

ปืน  12.7 mm   ก็ต้องย้ายกลับไปที่เดิมครั้งแรกสุดอีกครั้ง  คือ  ข้างเสาเรด้าร์  LRR ................   แล้วจะย้ายทำไมเนี่ย

 

วิธีของท่าน  aonestudio ก็เป็นทางออกที่ดีมากครับ      แต่  EOS 500   ก็จะเหลือใช้      แต่เอาไปใช้กับเรือที่กำลังออกแบบใหม่ก็ได้   เพราะลำนั้นก็ต้องใช้  EOS 500  เพื่อควบคุมการยิง  30 mm  MSI  เหมือนกัน   ไม่เสียของ

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 27/03/2015 13:27:21


ความคิดเห็นที่ 77


บังเอิญไปเจอ เอกสารเพื่อการศึกษา ของ หน่วยงานใน ทร. เข้า...เกี่ยวก้บ EOS-500

ดูแล้ว ลักษณะของการตรวจจับ จะเป็นไปในแนวที่ ท่าน paoo ว่าไว้ ครับ...

และดูเหมือนว่า EOS-500 เป็นระบบตรวจจับแบบหนึ่ง ที่เหมือนกับ CEROS-200 เพียงแต่ไม่มีเสาเรดาร์ แต่มีความแม่นยำ หรือ สามารถแยกแยะเป้าหมาย พิสูจน์ทราบ ได้ดีกว่า...เพียงแต่ ไม่ได้ ล็อคเป้าให้ มิสไซด์ เท่านั้น...สามารถควบคุมการยิงของ ปืน ได้ทุกแบบ รวมถึงปืน 76 ม.ม.

โดยจับเป้าหมายทั้ง อากาศ และ ผิวน้ำ...

เป็นการ ผสาน การทำงาน ระหว่าง CEROS-200 แล้วมี EOS-500 ช่วยเสริมในการพิสูจน์ทราบ โดยผ่าน 9LV CMS...

ดังนั้น CEROS-200 ที่หน้าเรือ จึงสามารถส่งข้อมูลเป้าหมายให้กับ ปืน 30 ม.ม. ได้เช่นกัน เพียงแต่ การพิสูจน์ทราบเป้าหมาย การแยกแยะเป้าหมาย จะสู้ EOS-500 ไม่ได้...ในขณะเดียวกัน EOS-500 ก็สามารถส่งข้อมูลเป้าหมายให้ปืน 76 ม.ม. หน้าเรือ ได้เช่นกัน

น่าจะเป็นที่มาว่า ทำไมมี CEROS-200 แล้วต้องมี EOS-500...แลtน่าจะเป็นของคำตอบว่าทำไม ทร. ไม่จัดหา ปืน 30 ม.ม. ที่มี EO ติดมาพร้อมในตัว...เพราะทั้ง CEROS และ EOS ก็ทำหน้าที่เหมือนกัน สำหรับปืนเรือ...เพียงแต่ EOS ไม่มีเสาเรดาร์ แต่มีความแม่นยำกว่า...และสามารถทำการ Seach & Rescue ได้..

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 27/03/2015 17:19:01


ความคิดเห็นที่ 78


ตามที่คุณ paoo ว่าล่ะครับ
ไอ้ eos-500 นี่มันเป็นระบบ serveilance/search and track ไม่ใช่ระบบควบคุมการยิงโดยตรง หน้าที่หลักคือใช้ตรวจการณ์ทั่วไป เหมือนเรดาร์ตรวจการณ์แต่เป็นในย่านความถี่ visual/infrared/laser range ซึ่งก็สามารถเอาข้อมูลมาใช้ในการ integrate กับระบบควบคุมการยิงได้

อย่างเรือใหม่ๆระบบนี้จะเป็นแบบ static มีหลายๆตัวติดครอบคลุม 360 องศา รอบเสากระโดงตัวใดตัวหนึ่ง ไม่ใช่แบบกล้องหมุนๆแบบนี้อารมณ์เดียวกับเรดาร์ phased array แทนแบบหมุนติ้วๆ

ตัวอย่างก็ในเรือชั้น FREMM ไม่แน่ใจว่า type 45 ด้วยหรือเปล่านะ กับเสา i-mast ของ thales

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 27/03/2015 21:38:52


ความคิดเห็นที่ 79


ไม่แน่ใจว่าเอกสารนี้ เป็นเอกสารเดียวกับที่ท่าน juldas เจอละเปล่าแต่มีรายละเอียดของ EOS500 ค่อนข้างสมบูรณ์เลยทีเดียว

http://fcsorm.dyndns.org/fcsorm/images/pdfdata/pdfbooks/anotherrefer/EOS_500_Director88.pdf

ถึงเพิ่งรู้ว่า Eos500 ใช้ใส้ในจากหลายเจ้าเหมือนกัน

Electro optical Sensors ใช้ AD Aerospace รุ่น LS-1300

IR Camera ใช้ Sagem Matis STD 3rd Generation ๓-๕ หรือ ๘-๑๒ ไมโครเมตร InSb Focal Plane Array

Laser Range Finder ใช้ Thales CELT-HR20K Low Hazard

 

และจากเอกสารดังกล่าวระบุข้อแตกต่างระหว่าง ceros200 กับ Eos500 ดังนี้ครับ

ข้อเหมือน

- cPCI Cabinet

- cPCI CPUs

- cPCI I/O Boards

- IR Camera

-TV Camera

- Video Tracker

- การออกแบบ ServoและTracking Filter

- Director Control Software ทั้งในส่วนของ Interface กับระบบ CMS และ HMI

- ฟังก์ชันการใช้งานในระบบ 9LV

ที่แตกต่าง

- ระบบ EOS 500 ใช้ Electrical Motor ในส่วนของแท่นฐาน ในขณะที่ระบบ CEROS 200ใช้ Hydraulic Drive

- EOS Baseline Laser มี PRF ที่ต่ำกว่า

- ระบบ EOS 500ไม่มีเรดาร์เหมือนกับระบบ CEROS 200

โดยคุณ paoo เมื่อวันที่ 27/03/2015 23:52:28


ความคิดเห็นที่ 80


   ขอบคุณมากครับท่านเปา  ละเอียดและเข้าใจดีมากครับ  

ถ้าแบบนั้น  คงต้องติดตั้งอุปกรณ์เสริมของ  MSI เข้าไปต่างหากสำหรับแท่นยิงใครแท่นยิงมัน   ก็จะทำแบบที่ท่านจูลดาสต้องการได้เลย   และ EOS 500  ก็เก็บไว้เสริม  CEROS 200  ไป     จุดบอดของเรือก็ลดลง

แบบดูจะค่อยๆลงตัวไปเรื่อยๆ    ดูข่าวต่อไปครับว่าจะมีการแก้ไขอะไรเพิ่มเติมอีก  

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 28/03/2015 00:35:39


ความคิดเห็นที่ 81


ใช่แล้วครับ ท่าน paoo เป็นเอกสารชุดเดียวกัน

ท่าน neosiamese2 ทั้ง CEROS และ EOS ทำหน้าที่ FCS ให้กับ MSI-30 แล้ว...คงไม่ต้องมีอะไรเพิ่มเติมแล้วครับ...

เพราะถ้ามีอะไร ที่หลุดมาเกินระยะของ SAM...ทั้ง CEROS และ EOS คงทำหน้าที่ชี้เป้าให้กับ ปืนเรือ รวมกับ 76 ม.ม. และ 30 ม.ม. บวกด้วย ฟาลังซ์...

แต่ก็ยังมีความเสี่ยงในบริเวณหน้าเรือ โดยยกกรณี USS COLE ข้างต้น ที่ CEROS อาจจะจับเป้าไม่ได้ ด้วยระยะประชิดเกินไป ซึ่งถ้าใช้ EOS อาจจะมีประสิทธิภาพกว่า แต่ก็เป็นไปได้ว่า ระยะความสูงของ CEROS หน้าเรือ ถ้าใช้การตรวจจับในมุมต่ำ อาจจะได้ครอบคลุมระยะประชิด บริเวณหน้าเรือ ก็เป็นได้ครับ....แล้วทำการยิง ผ่านระบบ 9LV ด้วย 30 ม.ม. ท้ายเรือ...

แต่ก็เช่นเดิม ครับ...ผมก็มองว่า ระบบปืนรอง กับ ระบบป้องกันตัวระยะประชิด ไปอยู่ที่เดียวกันหมด...ถ้ามีความเสียหาย เกิดขึ้นในบริเวณนั้น เช่น โดนถล่มด้วย RPG จากการก่อการร้าย ก็ทำให้การป้องกันเรือในระยะประชิด สูญเสีย ทั้งหมด...ในมุมมองผมนะครับ..

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/03/2015 07:40:36


ความคิดเห็นที่ 82


ของเพื่อนบ้านบ้าง ข่าวออกมาหลายเดือนแล้วแต่พึ่งมีรูปโผล่มา

http://www.janes.com/article/45499/indodefence-2014-india-s-bel-installs-hms-x-sonars-on-myanmar-missile-frigate

http://www.janes.com/article/45504/indodefence-2014-india-pitches-hms-x2-sonar-for-southeast-asian-navies

India's BEL installs HMS-X sonars on Myanmar missile frigate
 


โดยคุณ aonestudio เมื่อวันที่ 28/03/2015 09:48:25


ความคิดเห็นที่ 83


เช็ดดดดด....  ใส้ในEOSเป็นแบบนี้เลยรึ Ceros200ก็คงไม่ต่างกันสินะ

โดยส่วนตัวผมชอบแบบนี้ครับ หมายถึงระบบคุมปืนของใครของมันนะ ส่วนไอ้ที่กำลังพ่นกระสุนอยู่ช่วยหลับตาแป๊ป

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 28/03/2015 10:36:33


ความคิดเห็นที่ 84


  ตามที่ท่าน  aonestudio เสนอ   คือ  ติดตั้งไอ้ตัวนี้เสริมให้  30 mm  MSI  ของใครของมัน   เอาไปติดข้างเสากระโดงหลัก 2 ข้างก็ได้ครับ   แท่นยิงของใครของมัน   ย้าย 30 mm  มาข้างเสากระโดงหลัก 2 ข้างหลังสะพานเดินเรือ  แทนเป้าลวง

EOFCS  ของ MSI   ควบคุม 30 mm  MSI   option เสริม


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 28/03/2015 15:51:29


ความคิดเห็นที่ 85


USS Cole นี่เทียบท่าผูกทุ่นอยู่เลยไม่ใช่เหรอครับ...แถมไม่ใช่ที่คลองสุเอซด้วย

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 28/03/2015 16:27:33


ความคิดเห็นที่ 86


ก็แล่น่มาจากคลองสุเอช มาน่ะครับ แล้วแวะเติมน้ำมันที่ เยเมน


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/03/2015 19:48:36


ความคิดเห็นที่ 87


2วันนี้มีแต่ข่าวเรือดำน้ำจีน เบื่อ เลยมาอัพกระทู้นี้แทน พอดีช่วงนี้วุ่นวายอยู่กับเรือลาฟาแยคเห็นภาพนี้เข้าน่าสนใจดี เป็นภาพเรือชั้นลาฟาแยตเวอร์ชั่นของไต้หวันครับซึ่งเป็นเรือStealthของแท้ เนื่องมาจากใส่เสากระโดงร่วมกับปล่องควันเลยทำเสาสีดำดุดันมากชอบเลย   เรือติดเรดาร์หลักตัวใหญ่ด้านหน้าแล้วเอาเรดาร์ตัวเล็กไปอยู่เสาหลังแทน แปลกจากชาวบ้านดีแท้แต่ผมชอบแฮะทำให้เรือดูใหญ่กว่าเดิมบ้าง

 

ด้านหน้ามีปืน76/62กับจรวดต่อสู้อากาศยานSea Chaparal ซึ่งก็คือไซด์ไวน์เดอร์นั่นเอง กลางเรือตีปิดตลอดแนวเจอาะแค่ช่องเรือเล็กออกบนหลังคาติดจรวดพื้นสู่พื้น8นัด แต่ด้านหลังมีอาวุธมากองรวมกันเพียบเลย เริ่มจากฟาลังซ์CIWSบนหลังคาโรงเก็บฮ. ขนาบข้างด้วยปืนรองขนาด40/70มมทั้ง2ด้าน มีเรดาร์ควบคุมการยิง1ตัวน่าจะใช้คุมปืนรอง2กระบอกนี่แหละ (เพราะSea Chaparal นำวิถีอินฟาเรด) ด้านข้างลานจอดฮ.มีแท่นยิงตอร์ปิโดเบาแฝด3ติดอยู่2ด้าน (ตำแหน่งติดแปลกดี) ท้ายเรือมีโซนาร์ลากท้ายactive towed array ด้วย เข้าประจำการตั้งแต่ปี1996แล้ว

 

มีข่าวว่าจะปรับปรุงครึ่งอายุเปลี่ยนจรวดต่อสู้อากาศยานเป็นรุ่นใหม่ แต่เรือติดเรดาร์และเซนเซอร์ของฝรั่งเศสทั้งลำขณะที่ทร.ไต้หวันใช้จรวดต่อสู้อากาศยานของอเมริกา เลยเป็นที่น่าสนใจมากว่าจะออกมารูปแบบไหนกันแน่ รวมทั้งเรือOHPมือสองที่ซื้อต่อจากอเมริกาจะติดอาวุธอะไรบ้างกันนะ ทร.ประเทศนี้ยังมีเรื่องเรือดำน้ำที่น่าสนใจอีกเพราะอยากซื้อใหม่แต่ไม่มีใครกล้าขาย อู่ต่อเรือในประเทศเขาเองเคยต่อเรือOHPมาแล้วก็น่าจะรองรับเรื่องต่อเองได้ถ้ามีเทคโนโลยี ก็ต้องรอดูกันไปล่ะครับว่าไทยกับไต้หวันใครจะได้เรือดำน้ำใหม่ก่อนกัน

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 30/03/2015 12:36:46