หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


มันจริงหรอ ==> โปรดอดใจรอ.. เรือดำน้ำมิตซูบิชิ เรือพิฆาตฮิตาชิ เครื่องบินคาวาซากิ รถถังฮอนด้า อาวุธใหม่ไทย-เวียดนาม

โดยคุณ : absulation เมื่อวันที่ : 08/03/2015 11:00:34

ข่าวนี้มีเค้าโครงว่าจะเป็นจริงหรือไม่ครับ

http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000026107

โปรดอดใจรอ.. เรือดำน้ำมิตซูบิชิ เรือพิฆาตฮิตาชิ เครื่องบินคาวาซากิ รถถังฮอนด้า อาวุธใหม่ไทย-เวียดนาม
เรือฮามากิริ (JDS Hamagiri, DD-155) ซึ่งเป็นเรือชั้นอาซากิริ (Asagiri-class) ขนาด 4,900 ตัน ขณะแล่นเข้าขบวนกับเรือรบชั้นอื่นๆ ระหว่างการฝึกซ้อมครั้งหนึ่ง เป็นเรือพิฆาตที่ผลิตโดยกลุ่มมิตซูบิชิ หนึ่งลำในชั้นนี้มาเยือนสันถวไมตรีไทยปลายเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา จอดที่ท่าเรือคลองเตยเป็นเวลา 5 วัน ให้เจ้าหน้าที่และสาธารณชนทั่วไปได้ชม นักวิเคราะห์มองว่าการมาเยือนของเรือรบกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลแห่งญี่ปุ่นครั้งนี้มีความหมาย.
        
ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- วันนี้อาจจะยังไม่มีรถถังยี่ห้อฮอนด้าออกมาแล่น แต่ญี่ปุ่นก็มีรถถังหลักอย่างน้อย 2 รุ่น ที่ติดอันดับ "ท็อปเท็น" ของโลกและอย่างน้อยที่สุดเมื่อไม่นานมานี้บริษัทฮอนด้าประเทศญี่ปุ่นก็ผลิตเครื่องบินเล็กออกมาเป็นรุ่นแรก แต่ประเทศที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีก้าวหน้าที่สุดแห่งเอเชีย มีมากมายยิ่งกว่านั้นอย่างไม่ต้องสงสัย ปัจจุบันดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัยได้กลายเป็นแหล่งผลิตอาวุธชั้นนำอย่างไม่รู้เนื้้อรู้ตัว และ เรื่องที่น่าตื่นเต้นยิ่งกว่าก็คือ ญี่ปุ่นอาจจะส่งออกอาวุธได้เป็นครั้งแรกในเร็วๆ นี้ ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในภูมิภาคแบบกู่ไม่กลับ 
       
       เว็บไซต์ข่าวกลาโหมหลายแห่งเริ่มให้ความสนใจการเปลี่ยนแปลงนี้ และ จับตาการพัฒนาอุตสาหกรรมกลาโหมของญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น หลายคนเชื่่อว่าอาวุธยุทโธปกรณ์ "เมดอินแจแปน" สามารถที่จะกลายเป็น "เกมเชนเจอร์" ได้ในที่สุด กลายเป็นทางเลือกของบรรดาประเทศที่กำลังแสวงหาอาวุธในภูมิถาคนี้ ต่อหน้าสิ่งที่เรียกว่า "ภัยคุกคามจากจีน"
       
       หลายสำนักกำลังเฝ้าติดตามความคืบหน้า การเจรจาความตกลงระหว่างออสเตรเลียกับญี่ปุ่น เกี่ยวกับการซื้อ/ร่วมสร้างเรือดำน้ำเครื่องยนต์ดีเซล-มอเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 4,000 ตัน รุ่นหนึ่ง ที่เป็นกำลังหลักของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นในปัจจุบัน และ ว่ากันว่าเป็นเรือดำน้ำทันสมัยที่สุดรุ่นหนึ่งของโลกในระดับเดียวกัน
       
       สองฝ่ายเจรจาติดพันกันมาตั้งแต่ปี 2556 และ ถ้าหากบรรลุผลก็อาจจะหมายความประเทศไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไปจนถึงอินเดีย กับใครต่อใครทีเป็นมิตรประเทศ ก็สามารถซื้อมัจจุราชใต้น้ำชั้นโซรียู (Soryu) "มังกรเขียว" ได้เช่นเดียวกัน ไม่ต่างกับเครื่องบินตรวจการณ์-ปราบเรือดำน้ำ รถถัง รวมทั้งเรือพิฆาต และ ระบบจรวดนำวิถี "เมดอินแจแปน" อีกหลากหลายยี่ห้อ
       . 
 
โปรดอดใจรอ.. เรือดำน้ำมิตซูบิชิ เรือพิฆาตฮิตาชิ เครื่องบินคาวาซากิ รถถังฮอนด้า อาวุธใหม่ไทย-เวียดนาม
เรือดำน้ำชั้นโซรียู (Soryu-class) ระหว่างเข้าร่วมการฝึก RIMPAC ครั้งหนึ่งที่ฐานทัพเรืออ่าวเพิร์ล รัฐฮาวาย นี่คือเรือดำน้ำโจมตี ที่กำลังเป็นศูนย์กลางแห่งความสนใจของวงการกลาโหมระดับโลก ถ้าหากการเจรจาซื้อขายกับออสเตรเลียประสบความสำเร็จ ก็จะเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ที่ญี่ปุ่นขายอาวุธยุทโธปกรณ์ให้กับประเทศหนึ่ง ซึ่งจะเป็นบรรทัดฐานการส่งออกสินค้ากลาโหมระดับคุณภาพ ที่หลายประเทศรวมทั้งไทยกำลังแสวงหา.
       
       วันเสาร์ 28 ก.พ. ที่เพิ่งจะผ่านมาหยกๆ เรือพิฆาตของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น 2 ลำ เพิ่งถอนสมอจากจากท่าเรือคลองเตยของไทย หลังจอดที่นั่นเป็นเวลาหลายวัน ให้เจ้าหน้าที่ราชนาวีไทยและประชาชนทั่วไปสามารถขึ้นชมได้
       
       นักวิเคราะห์จำนวนหนึ่งไม่ได้มองแต่เพียงผิวเผินว่า การเยือนสันถวไมตรีไทยของเรือชั้นฮัตสุยุกิ (Hatsuyugi) กับเรือชั้นอาซากิริ (Asagiri) เป็นแค่กำหนดการที่เตรียมกันมาล่วงหน้าปราศจากวาระซ่อนเร้น แต่มองว่าเรือพิฆาตทั้งสองลำแล่นเข้ามาโบกธงในทะเลอ่าวไทยและภูมิภาคนี้ ในขณะที่หลายประเทศรวมทั้งไทย อยู่ระหว่างจัดหาเรือฟริเกตอีก 2-3 ลำ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันตนเอง
       
       ทั้งสองชั้นเป็นเรือพิฆาตติดจรวดนำวิถีรุ่นเล็กที่สุดของนาวีญี่ปุ่น ถ้าหากจะเรียกเป็นเรือฟริเกตก็ไม่ผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรือฮัตสุยูกิ ที่มีระวางขนาด 4,000 ตันเท่านั้น กองกำลังทางเรืออันใหญ่โตของญี่ปุ่น ยังมีเรือพิฆาตอีกหลายชั้นรวมจำนวนกว่า 30 ลำ ตั้งแต่เล็กสุดจนถึงขนาด 5,000-7,000 ตัน และ 9,000-10,000 ตัน นั่นก็คือระดับเรือลาดตระเวณ (Cruiser) ของกองทัพเรือสหรัฐ
       
       ปัญหาของญี่ปุ่นก็คือ รัฐธรรมนูญแนวสันติที่ใช้มาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่อนุญาตให้รัฐบาลสร้าง/ผลิต มีไว้ในครอบครอง รวมทั้งห้ามส่งออกอาวุธเพื่อใช้ในการโจมตีทุกชนิด แต่เมื่อความขัดแย้งกรณีเกาะเซ็นกากุ (หรือ "เตี่ยว-อวี้" ที่ฝ่ายจีนเรียก) ปะทุขึ้น ก็ทำให้รัฐสภาต้องตีความรัฐธรรมนูญมาหลายครั้ง และ ยังจะมีการตีความกันอีกหลายครั้ง เกี่ยวกับนิยามของ "อาวุธป้องกัน" และ "อาวุธโจมตี"
       
       กองกำลังนาวีญี่ปุ่นยังมีเรือพิฆาตอีกชั้นหนึ่งที่ติดระบบเรดาร์/ระบบอาวุธเอจิส (AEGIS) สุดทันสมัย ทัดเทียมกับรุ่นที่ติดตั้งบนเรือพิฆาตชั้นอาร์ลีห์เบิร์ก (Arleigh Burke-class) ของกองทัพเรือสหรัฐ หลายลำยังติดจรวด SM-3 ยิงทำลายขีปนาวุธโจมตีพิสัยกลาง-ไกลของจีนและเกาหลีเหนือได้ เนื่องจากถือว่าจรวด SM-3A2 ที่ญี่ปุ่นผลิตเองภายใต้สิทธิบัตร เป็นอาวุธป้องกัน
       
       แต่เรือพิฆาตล้ำยุคของญี่ปุ่นยังไม่สามารถติดตั้งจรวดโทมาฮอว์ก (Tomahawk) เหมือนเรือพิฆาตของสหรัฐได้ ทั้งนี้ก็เนื่องจากคณะกรรมาธิการตีความรัฐธรรมนูญกับรัฐสภามองว่า จรวดโทมาฮอว์กเป็นอาวุธเพื่อใช้โจมตีนั่นเอง
       
       ปัจจุบันญี่ปุ่นมีเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ยกพลขึ้นบกประจำการอยู่หลายลำ เช่นเดียวกันกับกองทัพเรือและกองกำลังนาวิกโยธินสหรัฐ แต่กว่าจะมีสิ่งนี้ได้ ก็ผ่านการถกเถียงในรัฐสภา หรือ "ไดเอ็ท" มาหลายปี จนกระทั่งสรุปได้ว่า เรือบรรทุก ฮ. ไม่ใช่เรือเพื่อการโจมตี หากมีไว้เพื่อป้องกันประเทศ
       . 

 
โปรดอดใจรอ.. เรือดำน้ำมิตซูบิชิ เรือพิฆาตฮิตาชิ เครื่องบินคาวาซากิ รถถังฮอนด้า อาวุธใหม่ไทย-เวียดนาม
       
 
โปรดอดใจรอ.. เรือดำน้ำมิตซูบิชิ เรือพิฆาตฮิตาชิ เครื่องบินคาวาซากิ รถถังฮอนด้า อาวุธใหม่ไทย-เวียดนาม
ภาพจากทวิตเตอร์โดย "กู้ภัยนาวา 003 ป่อเต็กตึ๊ง" เรือยูกิริ (JDS Yugiri, DD-153) เรือพิฆาตชั้นอาซากิริ (Asagiri-class) ขนาด 4,900 ตัน กับเรือมัตสุยูกิ (JDS Matsuyuki, DD-130) ซึ่งเป็นเรือชั้นฮัตสุยูกิ (Hatsuyuki-class) ขนาด 4,000 ตัน ทั้งสองลำนี้ผลิตโดยกลุ่มบริษัทมิตซูบิชิ จอดที่ท่าเรือคลองเตยวันที่ 28 กพ.ที่ผ่านมา เป็นวันสุดท้ายของการเยือนสันถวไมตรีไทย ซึ่งมีขึ้นในขณะที่ประเทศเจ้าภาพกำลังมองหาเรือฟริเกตทันสมัยอีก 2-3 ลำ.
       
       อุตสาหกรรมต่อเรือของประเทศนี้มีชื่อเสียงและเจริญรุ่งเรืองมานาน ไม่น้อยกว่าประเทศใดในโลก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองกำลังนาวีแห่งองค์พระจักรพรรดิไม่ได้เป็นสองรองใครแม้แต่น้อย กองทัพเรือในยุคโน้นมีเรือประจัญบาน (Battleship) และเรือบรรทุกเครื่องบินหลายลำ
       
       แล้ว.. จะมีเรือบรรทุกเครื่องบินทันสมัยได้อีกหรือไม่? ผลิตเครื่องบินรบได้หรือไม่?
       
       สำหรับกองกำลังป้องกันทางอากาศ เป็นที่ทราบกันดีว่า ญี่ปุ่นได้ทำการวิจัยและผลิตต้นแบบเครื่องบินรบยุคที่ 5 "สเตลธ์" ของตัวเองมาไกลแล้ว เคย "รั่ว" ภาพออกมาให้เห็นกันแล้ว และ ในเมื่อปัจจุบันรัฐสภาอนุญาตให้ซื้อและครอบครองเครื่องบินรบทันสมัยที่สุดของโลกเช่น F-35 "ไล้ท์นิ่ง" หรือ F-22 "แรปเตอร์" ที่ผลิตในสหรัฐได้ โดยไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แล้วเหตุไฉนจึงจะไม่สามารถผลิตเครื่องบินรบใช้เองและส่งออกได้? จะต้องดูกันต่อไปเป็นหนังเรื่องยาว
       
       กลุ่มมิตซูบิชิเฮฟวี่อินดัสตรี ไม่ได้ผลิตเพียงแค่รถอีโคคาร์ รถเอสยูวีสเปซวากอน ปิ๊กอัพไทรตัน หรือ พีพีวีปาเจโรสปอร์ต เช่นที่เห็นกันอยู่ในตลาดบ้านเราเท่านั้น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มิตซูบิชิเป็นผู้ผลิต "ซีโร่" (A6M "Zero") เครื่องบินขับไล่โจมตีประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน ที่ร่วมสร้างตำนาน "กามิกาเซ" อันเลื่องลือ รวมทั้งเครื่องบินทิ้งระเบิด G4M .. ในทันทีที่มีการตีความรัฐธรรมนูญออกมาอย่างชัดเจน กลุ่มอุตสาหกรรมใหญ่นี้คงไม่รีรอ ที่จะผลิตเครื่องบินรบออกมาอีกครั้งหนึ่ง.. ใหม่และทันสมัยยิ่งกว่า อาจมีทั้งเครื่องบินรบยุคที่ 5 และ 6 ก็เป็นได้
       
       เมื่อพูดถึงเครื่องบินญี่ปุ่นก็ต้องมองไปยังเวียดนาม .. ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ได้เริ่มเจรจาอย่างจริงจังมาตั้งแต่ปีที่แล้ว เกี่ยวกับการซื้อ P-3 "โอไรออน" (Orion) ปลดระวางจากกองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งว่ากันว่าพร้อมจะขายให้ถึง 6 ลำ เป็นโอกาสดีอีกครั้งหนึ่งที่กองทัพประชาชนของประเทศคอมมิวนิสต์ จะได้เข้าถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ของโลกตะวันตก กระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพาโซเวียต/รัสเซีย มาตลอด
       
       เครื่องบินตรวจการณ์ติดระบบเรดาร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทันสมัย ติดอาวุธปราบเรือดำน้ำ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการลาดตระเวณ กับการเตือนภัยล่วงหน้าของเวียดนาม โดยไม่ต้องสงสัย ประเทศนี้มีฝั่งทะเลยาวถึง 3,000 กิโลเมตร เหตุพิพาทเกี่ยวกับแท่นขุดเจาะน้ำมันของจีนเมื่อปีที่แล้ว เป็นสิ่งเตือนว่าเวียดนามจำเป็นจะต้องมีเครื่องบินตรวจการณ์ประสิทธิภาพสูง ซึ่งจะมีประโยชน์ใช้สอยอีกหลายด้าน รวมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติการของเรือดำน้ำชั้นคิโล (Kilo-class) ที่ซื้อจากรัสเซียทั้ง 6 ลำด้วย
       
       แต่ปัญหาก็คือ กฎหมายของสหรัฐอนุญาตให้กระทรวงกลาโหม ขายให้เวียดนามได้เฉพาะ "อาวุธที่ไม่เป็นภัยร้ายแรง" เท่านั้น นั่นก็คือขาย P-3C ปลดระวางให้ได้ แต่ไม่สามารถขายระบบตอร์ปิโดกับจรวดยิงเรือดำน้ำให้.. ทำให้เวียดนามกลืนไม่เข้าคายไม่ออก
       . 

 
โปรดอดใจรอ.. เรือดำน้ำมิตซูบิชิ เรือพิฆาตฮิตาชิ เครื่องบินคาวาซากิ รถถังฮอนด้า อาวุธใหม่ไทย-เวียดนาม
เครื่องบินตรวจการณ์-ปราบเรือดำน้ำคาวาซากิ พี-1 (Kawasaki P-1) ติดเทอร์โบแฟน ไอพ่น 4 เครื่องยนต์ ซึ่งอาจจะเป็นทางเลือกของเวียดนาม ที่กำลังเจรจาซื้อ พี-3 "โอไรออน" (P-3 Orion) ปลดระวางจากกองทัพเรือสหรัฐ ซื้อได้แต่เครื่องบิน กับระบบเอวิโอนิกต่างๆ ที่จะต้องอัปเกรด แต่สหรัฐไม่สามารถจะขายระบบอาวุธที่ติดตั้งบนเครื่องบินชนิดนี้ให้ได้.
       
 
โปรดอดใจรอ.. เรือดำน้ำมิตซูบิชิ เรือพิฆาตฮิตาชิ เครื่องบินคาวาซากิ รถถังฮอนด้า อาวุธใหม่ไทย-เวียดนาม
เครื่องบินทะเล (Seaplane) แบบ "ชินเมวา" (ShinMaywa US-2) ที่ผลิตโดย Kawasaki Heavy Industry อินเดียขอซื้อและกำลังเจรจาในขั้นตอนสุดท้ายกับญี่ปุ่น นอกจากจะใช้ในการขนส่งลำเลียงพล-ยกพลขึ้นบก แล้วก็ยังนำไปใช้งานค้นหากู้ภัยทางทะเลได้อีกด้วย หากขายให้อินเดียได้ ก็ย่อมขายให้มิตรประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ได้เช่นกัน. -- ภาพ: En.Wikipidea.Org
       
 
โปรดอดใจรอ.. เรือดำน้ำมิตซูบิชิ เรือพิฆาตฮิตาชิ เครื่องบินคาวาซากิ รถถังฮอนด้า อาวุธใหม่ไทย-เวียดนาม
เครื่องบินขับไล่โจมตีแบบซีโร่ (A6M3 Zero) รุ่นประจำการบนเรือบรรทุกเครื่องบินในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ผลิตโดย Mitsubishi Heavy Industry ทั้งมิตซูบิบิชิและคาวาซากิ ยี่ห้อที่คุ้นเคยกันดี ล้วนมีภูมิหลังผลิตเครื่องบินรบมาแล้วทั้งสิ้น ไม่แปลกอะไรหากจะฟื้นฟูงานเก่าๆ ที่ถนัดอีกครั้งหนึ่ง รอเพียงให้มีความชัดเจนทางกฎหมายเท่านั้นเอง.
       
       P-3 "โอไรออน" ผลิตโดยบริษัทล็อกฮีดมาร์ติน กองทัพสหรัฐใช้งานมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 คือช่วงปีแรกๆ ของสงครามเวียดนาม ติดเครื่องยนต์ใบพัดเทอร์โบพร็อพ ปัจจุบันอยู่ในสภาพเก่าเหลาเหย่ เวียดนามอาจจะใช้เรื่องนี้เป็นเหตุผลที่ดี ในการแสวงหาตัวเลือกอื่น ตัวเลือกที่ดีที่สุดเป็นไปได้มากที่สุดในขณะนี้ รวมทั้ง "คาวาซากิ พี-1" (Kawasaki P-1) เครื่องบินตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำที่ผลิตโดยกลุ่มคาวาซากิเฮฟวี่อินดัสตรี (Kawasaki Heavy Industry) ที่ผลิตรถจักรยานยนต์คาวาซากิออกมาแล่นให้เห็นตามท้องถนนทุกวันนี้
       
       เครื่องบินของคาวาซากิ เป็นไอพ่น 4 เครื่องยนต์ ติดระบบเรดาร์และระบบอีเล็กทรอนิกส์ทันสมัย มีระยะปฏิบัติการถึง 8,000 กม. ใหม่กว่า ทันสมัยกว่า P-3C "Orion" ไม่ต้องสงสัย และ ได้ครบเครื่องด้วยราคาลำละประมาณ 140 ล้านดอลลาร์ หรือ หากจะซื้อเครื่องบินเปล่า ราคาก็จะถูกลงเกือบครึ่ง ด้วยเครื่องบินของญี่ปุ่นรุ่นนี้ เวียดนามสามารถเลือกระบบเอวิโอนิก กับระบบอาวุธจากโลกตะวันตกได้มากมาย เช่นเดียวกับคราวที่ซื้อเรือคอร์แว็ต 2 ลำจากเนเธอร์แลนด์ 2 ปีที่แล้ว ซึ่งนำมาสู่การติดตั้งระบบอาวุธของฝรั่งเศส รวมทั้งจรวดเอ็กโซเซ่ต์บล็อกล่าสุดด้วย
       
       ข่าวคราวระหว่างญี่ปุ่นกับออสเตรเลีย ยังถูกจับตาอย่างใกล้ชิดจากหลายประเทศ รวมทั้งอินเดียและกลุ่มตะวันออกกลางด้วย อินเดียที่พึ่งพาเรือดำน้ำของโซเวียต/รัสเซีย มานานหลายทศวรรษ ได้แสดงความสนใจเรือดำน้ำชั้นโซรียูซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านกลาโหมกล่าวว่า เหนือกว่าเรือชั้นคิโลทุกทาง แต่อินเดียตั้งเงื่อนไขว่า จะต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี และ แบ่งไปผลิตในประเทศด้วย ซึ่งออสเตรเลียก็กำลังต่อรองในเรื่องเดียวกันนี้
       
       สื่อในอินเดียรายงานเมื่อไม่นานมานี้ว่า กระทรวงกลาโหมยังสนใจเครื่องบินขนส่ง-ยกพลขึ้นบกของญี่ปุ่นอีกรุ่นหนึ่ง
       
       ความเป็นไปทั้งหลายทั้งปวง ยังเกิดขึ้นในช่วงที่กองทัพไทยเพิ่งจะได้งบประมาณมาปลายปีที่แล้ว เพื่อจัดหาเรือดำน้ำ 2-3 ลำ ข่าวนี้ทำให้จีนรีบเสนอเรือชั้นหยวน (Yuan-class) รัสเซียยื่นเสนอเรือชั้นคิโลแบบเดียวกันกับเวียดนามและอินเดีย และเกาหลีส่งเรือ 309 ชังโบโก (Chang Bogo) เข้าประกวด เป็นเรือที่ร่วมออกแบบและผลิตกับ Howaldtswerke-Deutsche Werft จากเยอรมนี
       
       ชั้น "หยวน" เป็นชื่อในนิยามของกลุ่มนาโต้ ซึ่งก็คือ Type 039C ตามรหัสของจีน สร้างโดยอู่ต่อเรืออู๋ชัง (Wu Chang) เมืองอู่ฮั่น (Wuhan) เป็นเรือที่จีนพัฒนาต่อจาก Type 039 หรือ ชั้นซุง/ซ้อง (Song-class) และ เมื่อสืบค้นจนถึงที่สุดก็จะพบว่า จีนได้ลอกเลียนเอาลักษณะของเรือชั้นคิโลที่ซื้อจากรัสเซีย ไปใช้ในการออกแบบ Type 039 กับ 039C ในหลายจุด ขนาดก็ 3,600 ตัน ใกล้เคียงกับเรือรัสเซียต้นแบบ
       
       ส่วนเรือชังโบโกของเกาหลีออกแบบต่อเนื่องมาหลายรุ่น มีขนาดตั้งแต่ 1,200-1,400 ตัน ผลิตเพื่อใช้ในกองทัพเรือ กับอีก 3 ลำ "รุ่นปรับปรุง" จำหน่ายให้กองทัพเรืออินโดนีเซีย ราชนาวีไทยก็แสดงความสนใจเรือดำน้ำเกาหลี ซึ่งไม่มีอะไรที่จะเทียบชั้นกับเรือ "มังกรเขียว" ของญี่ปุ่นได้เลย 

 
โปรดอดใจรอ.. เรือดำน้ำมิตซูบิชิ เรือพิฆาตฮิตาชิ เครื่องบินคาวาซากิ รถถังฮอนด้า อาวุธใหม่ไทย-เวียดนาม
รถถัง Type10 "ฮิโตมารุ" (Hitomaru) ของกลุ่มมิตซูบิชิ พัฒนาต่อจาก Type 90 ที่มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย ทั้งสองรุ่นได้ชื่อเป็นรถถังหลัก (Main Battle Tank) ชั้นนำของโลก เทียบชั้นเลโอพาร์ด 2 (Leopard II) ของเยอรมนี ใช้ปืนใหญ่ 120 มม. ที่ผลิตจากแหล่งเดียวกัน ก่อนญี่ปุ่นจะพัฒนาต่อมาใช้ระบบปืนของตนเอง เว็บไซต์ข่าวกลาโหมบางแห่งระบุว่า รถถังหลักของญี่ปุ่นใช้ระบบเกราะป้องกันแบบเดียวกับรถถังเลอแคลร์ (Leclerc) ของฝรั่งเศสอีกด้วย.
       
       ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ก็คือ ราชนาวีไทยเคยมีกองเรือดำน้ำก่อนใครๆ ในภูมิภาคนี้ เคยมีถึง 4 ลำ เป็นเรือชั้น "มัจฉานุ" และ เรื่องราวที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันอย่างบังเอิญก็คือ เรือทั้ง 4 ลำต่อโดยมิตซูบิชิแห่งญี่ปุ่นในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1930
       
       ปัจจุบันไทยเป็นศูนย์กลางการประกอบรถยนต์ญี่ปุ่นหลากหลายยี่ห้อ รถปิ๊กอัพจากที่นี่ส่งขายไปทั่วโลก เป็นไปได้หรือไม่ในอนาคตอันไม่ใกล้ไม่ไกล โรงงานสักแห่งหนึ่งในประเทศไทย จะเป็นศูนย์การประกอบรถถังหลัก Type 90 หรือไม่ก็ Type 10 "ฮิโตมารุ" (Hitomaru) ของกลุ่มมิตซูบิชิ
       
       เป็นไปได้ไหมที่อู่ต่อเรือในประเทศไทยแห่งหนึ่ง จะเป็นศูนย์ประกอบเรือดำน้ำยี่ห้อญี่ปุ่น... รวมทั้งเรือโซรียูซึ่งก็เป็นของมิตซูบิชิ กับ เรือพิฆาตชั้นฮัตซูยูกิ/อาซาการิ ของกลุ่มฮิตาชิ ฯลฯ เพื่อให้ราชนาวีไทยได้เป็นเจ้าของกองเรือดำน้ำอีกครั้งหนึ่ง และ มีเรือพิฆาตประจำการเป็นครั้งแรกในรอบศตวรรษ. 




ความคิดเห็นที่ 1


ข่าวญี่ปุ่นส่งออกอาวุธ ก้คงตามนั้นน่ะครับ

แต่ข่าวไทยประกอบเรือด.โซยุ หรือ ถ. Type10 คงฝันกลางวันแน่ๆ

โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 05/03/2015 10:18:09


ความคิดเห็นที่ 2


ผมว่าถ้าจะซื้อ Type10 มิซูบิชิ ผมว่า T-84 OM ของเรา ณ ตอนนี้น่าสนใจกว่ามาก แต่อาวุธญี่ปุ่นที่ผมสนใจก็คือพวก ปลย.M16 made in Japan สะมากกว่านะครับ ครงน่าจะดีกว่า M4จากจีน พอสมควร(แต่จากจีนดีอีกอย่างคือ เราจะก็อปM4 มาทำเอง USAไม่น่าจะเอาเรื่องได้เพราะเราบอกไปว่าก็อป CQ(M4) ของจีนมา )

//น่าจะได้ละมั้งนะ ฮ่าๆๆๆ

โดยคุณ aomphet เมื่อวันที่ 05/03/2015 10:50:26


ความคิดเห็นที่ 3


รถถังของ กองกำลังป้องกันตนเองของ ญี่ปุ่น มีพื้นฐานมาจาก เยอรมัน...

ถ้าเทียบระหว่าง เกาหลีใต้ กับ ญี่ปุ่น..ผมว่า รถถัง ญี่ปุ่น ดูจะมีมาตรฐานกว่า...

ส่วนเรือรบ ญี่ปุ่น...ถ้าจะมีโอกาส คงเป็น เรือรบมือสอง...มากกว่า...ที่มีข่าวมานานหลายปีแล้วว่า ญี่ปุ่น มีความต้องการขายเรือที่กำลังจะปลดระวาง...ซึ่ง เคยมีข่าวกับ กัมพูชา แบบ แว๊ป ๆ...แต่ตอนนี้...ถ้าจะมีการขายเกิดขึ้น...อาจจะมองที่ ฟิลิปปินส์ เป็นตลาดเปิดเรือรบมือสองของ ญี่ปุ่น น่าจะมีโอกาสสูงสุด...

สำหรับ เรือดำน้ำ คิดว่า คงมีเพียง ประเทศออสเตรเลีย เท่านั้น...ที่ ญี่ปุ่น จะขายเรือดำน้ำให้...เพราะดูแล้ว ญี่ปุ่น ก็กลัวการถูกล้วง เทคโนโลยี่ หรือ ประสิทธิภาพ จากประเทศจีน หรือ เกาหลีใต้ อยู่เหมือนกัน...

สำหรับ ประเทศในกลุ่ม อาเซียน หรือ AEC...ผมมองว่า ตลาดเครื่องบิน น่าจะมีโอกาสเปิดตลาดมากกว่า ระบบการรบอื่น...และลำดับรองลงมา คือ เรือรบมือสอง...

 

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 05/03/2015 11:36:57


ความคิดเห็นที่ 4


ข่าวผิดหลายจุดบวกmisleadingบางส่วนตามสไตล์manager เหอๆๆๆๆ

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 05/03/2015 14:28:01


ความคิดเห็นที่ 5


Frigate มือสอง พี่ยุ่น มีฟาลังค์ มีฮาพูน ติดมาด้วย พอไหวไหมครับ

มาแทนเรือชั้นพุทธ 

 

โดยคุณ delete เมื่อวันที่ 05/03/2015 18:16:47


ความคิดเห็นที่ 6


ถ้าญี่ปุ่นทำ อะไรก็เอา

จะแต่งง่าย ซ่อมง่าย โมง่าย แบบรถรึป่าวน่า...

โดยคุณ sammagag9 เมื่อวันที่ 05/03/2015 20:00:32


ความคิดเห็นที่ 7


ar-15 มันสิทธิบัตรหมดอายุไปนานแล้วครับ ใครอยากก๊อป มีปัญญาก๊อปเขาก็ทำไรไม่ได้ครับ

ความจริงถ้าเราอยากผลิตก็ไม่ได้ยากเลย มาเลฯก็ยังซื้อสิทธิ์ในการผลิตมาหยกๆ (m-4 หรือ m-16a4 นี่แหละ)

@juldas พื้นฐานรถถังเยอรมันนี่คือสมัยไหนเหรอครับ

คือผมไม่เคยหาอ่านจริงจังแต่นึกว่าน่าจะพื้นฐานมาจากอเมริกามากกว่าหรือเปล่าหลังจากสงครามโลก

ส่วนทิศทางผมว่าในอนาคตเกาหลีน่าสนใจกว่า เพราะอาวุธหลายๆตัวจะร่วมมือกับยักษ์ใหญ่ในการพัฒนา หรือง่ายๆก็คือเอาเทคโนโลยีคนอื่นมาต่อยอดหรือปรับเปลี่ยน ขณะที่ญี่ปุ่นเน้นทำเองหมด

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 06/03/2015 08:16:36


ความคิดเห็นที่ 8


ของญี่ปุ่นที่จะเกิดในไทย จงลืมเถอะ เพราะมันเป็นไปไม่ได้เลย 555+

โดยคุณ Nakarin เมื่อวันที่ 06/03/2015 10:17:56


ความคิดเห็นที่ 9


อาวุธโดยส่วนใหญ่ของญี่ปุ่นในปัจจุบันแทบทั้งหมดเป็นการmodify จากสหรัฐอเมริกาครับ ทั้งรูปแบบและเทคโนโลยี หรือแม้แต่การซื้อเทคโนโลยีมาผลิตเองเ  ถ้าให้เปรียบเทียบเทคโนโลยีของญี่ปุ่นและเกาหลี ผมยังยกเครดิตให้ญี่ปุ่นมากกว่าครับ เพราะผมเชื่อว่าถึงแม้ญี่ปุ่นจะไม่ได้เน้นการสร้างกองทัพขนาดใหญ่เหมือนในยุคสงครามแต่ผมคิดว่าประเทศนี้น่าจะแอบพัฒนาเทคโนโลยีอาวุธหลักแบบลับๆเอาไว้ล่วงหน้าแล้วหลายสิบปี ตอนนี้ก็เพียงแค่รอเวลาแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น
อีกทั้งเรื่องงานอุตสาหรรมอาวุธทั้งประสิทธิภาพและคุณภาพผมยังยกให้ญี่ปุ่นเป็นอันดับหนึ่งของเอเซียอยู่ดีแหละครับ (ถ้าจะเปรียบญี่ปุ่นในยุคปัจจุบันก็เปรียบได้กับยักษ์ที่หลับไหลมานานตั้งแต่ยุคหลังสงคราม แค่รอเวลาเท่านั้น)

ในส่วนความคิดเห็นด้านอาวุธระหว่างไทยเรากับญี่ปุ่นในอนาคตต้องรอการแก้ไขรัฐธรรมนูญจากญี่ปุ่นก่อนครับ ตอนนี้ยังสรุปอะไรไม่ได้หรอก ต้องรดูกันต่อไปครับ

 

โดยคุณ ObeOne เมื่อวันที่ 06/03/2015 10:45:43


ความคิดเห็นที่ 10


ผมไม่เห็นด้วยว่าของญี่ปุ่นแทบทั้งหมดเป็นการโมดิฟายของอเมริกานะครับ

เพราะญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีที่ indigenous หรือเป็นของตัวเองจริงๆ ถึงแม้จะซื้อของอเมริกามาเพื่อเรียนรู้เป็นต้นแบบการพัฒนา คือคำว่าพัฒนากับโมดิฟายต่างกันนะครับ โมดิฟายคือการแก้ไขดัดแปลง แต่การพัฒนาคือการเอาองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์สร้างของใหม่

ขณะที่เกาหลีหลายอย่างเป็น collaboration หรือการร่วมมือ เช่นโครงการเครื่องบินมีการจับมือกับ lockheed martin หรือ airbus หรือเรื่องเรดาร์จับมือกับ thales เป็นต้น

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 06/03/2015 11:08:06


ความคิดเห็นที่ 11


เริ่มต้นจาก Type-74 ครับ แล้วพัฒนาต่อมาเป็น Type-90 โดย ญี่ปุ่นเอง ก็ได้ ไลเซ่นต์ ผลิตปืนรถถังขนาด 120 ม.ม. แบบ Rheinmetall

ภาพเปรียบเทียบ Type-90 กับ Leopard-2

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 06/03/2015 11:40:29


ความคิดเห็นที่ 12


เห็นรูป Type90 ข้างบน อยากให้กองทัพบกมีบ้างจัง สร้างเองก็ได้ไม่น่ายาก

-หมายถึง ชุดต่อเติมด้านหลังป้อมปืนน่ะครับ ใส่ใน M48A5 M60 หรือ OPLOT แล้วพาคนนั่ง...555555

โดยคุณ fefee1717 เมื่อวันที่ 06/03/2015 15:24:57


ความคิดเห็นที่ 13


ขอบคุณครับทุกๆท่าน ได้ความรู้เพิ่งอีกเยอะเลย

โดยคุณ absulation เมื่อวันที่ 06/03/2015 16:29:05


ความคิดเห็นที่ 14


ผมว่า type 90 กับ leo 2 ไม่น่าเกี่ยวกัน ถึงหน้าตาจะคล้าย ถ้าดูดีๆก็ไม่เหมือนซะทีเดียว เพราะ type 90 พัฒนามาจาก type 74 ซึ่งเก่ากว่า leo 2 อีก

ส่วนปืน rheinmetall นั้นก็ใช้กันหลายประเทศ ถือเป็นปืนมาตรฐานของรถถังมาตรฐานนาโต้ก็ได้ 

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 08/03/2015 05:09:21


ความคิดเห็นที่ 15


ถ้าบอกว่ารถถังญี่ปุ่นสร้างโดยอาศัยพื้นฐานทั้งหมดจากรถถังอเมริกันหรือเยอรมันลย ก็คงไม่ใช่ คือถ้าเป็นType74จะอาศัยแบบพื้นฐานหลักจาก M46 M47 และM60 แล้วปรับแต่งให้เป็นตามความต้องการของญี่ปุ่นคงใช่ แต่Type90 Mitsubishi (ชื่อตอนเปิดตัวในปี1990)เกิดจากการผสมจุดเเด่นของรถถังค่ายตะวันตกหลายแบบเข้าด้วยกัน เช่น ปืน120 + รูปทรงแบบLeopard2ที่น่าจะป้องกันดีกว่าM1 (ในตวามคิดของญี่ปุ่น) ใช้ autoloader จึงไม่ได้ยึดติดกับพื้นฐานรถถังอเมริกันทั้งหมดครับ แต่พอเลือกเอาจุดเด่นมาผสมกันเพื่อสร้างประกอบกับการผลืตจำนวนน้อยเลยทำให้Type90ในเวลานั้นเป็นรถถังที่แพงที่สุดในโลกครับ

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 08/03/2015 09:57:27


ความคิดเห็นที่ 16


 Type-90 กับ Leopard-2 ปืนเหมือนกันโดยลิขสิทธิ์ อย่างอื่นๆยังไม่เจอเอกสาร

 

 

Leopard_2A4



โดยคุณ fantom เมื่อวันที่ 08/03/2015 10:00:55


ความคิดเห็นที่ 17


อีกอย่างครับ FCSของType90 ทางMitsubishi พัฒนาให้ดีกว่าที่ใช้ในLeopard2ในเวลานั้นครับ(งานก๊อปเกรด Aรึเปล่าไม่รู้ แต่บอกแค่ว่าดีกว่า เพราะทีมออกแบบของMitsubjshiทำงานร่วมกับทีออกแบบLeopard2จากKrauss-MaffeiและMak) ในอดีตญี่ปุ่นมักจะไม่ค่อยให้ข้อมูลการพ้ฒนาอาวุธของตนเองครับ จะบอกแค่Spec.กับบอกว่าอะไรบ้างดีกว่ารถถังในค่ายตะวันตกด้วยกันกับราคาที่แพงกว่า (ที่เหลือให้ชาวบ้านเดาเอาเอง) 55555

 

 

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 08/03/2015 10:26:00


ความคิดเห็นที่ 18


ของญี่ปุ่นที่แพงไม่เกี่ยวกับว่าดีไม่ดีเลยครับ เกี่ยวกับว่าพยายามทำทุกอย่างในประเทศมากที่สุด ใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาเองมากที่สุด

ของญี่ปุ่นแพงทุกอย่างครับ เครื่องบินเอย อะไรเอย

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 08/03/2015 11:00:34