ไปเยี่ยมโรงงานประกอบ Su-30 งามตระการตาอย่าพลาดเชียว |
สำหรับผู้ที่พลาดมาก่อน นี่เป็นอีกโอกาสหนึ่งที่จะได้เห็นภายในโรงงานประกอบอากาศยานอีร์คุตซ์ (Irkutsk Aviation Plant) แหล่งผลิต Su-27/30 เครื่องบินรบอเนกประสงค์ชั้นเยี่ยมที่สุดอีกรุ่นหนึ่งของโลก โรงงานที่อยู่ทางตอนกลางของแคว้นไซบีเรียแห่งนี้ เพิ่งฉลองครบรอบ 80 ปีมาหมาดๆ และเป็นโอกาสเดียวที่ผู้สื่อข่าว กับช่างภาพรัสเซียจำนวนหนึ่งได้เข้าไปที่นั่น ตลอดหลายสิบปีที่๋ผ่านมา ยังมี Su-27/Su-30 อีกจำนวนหนึ่ง ประกอบที่โรงงานอีกแห่งหนึ่งในเมืองคอมโซมอลสค์-ออน-อามูร์ (Komsomolsk-on-Amur) ริมฝั่งแม่น้ำอามูร์ ทางตอนเหนือของเมืองท่าวลาดิวอสต็อก ที่อยู่ริมฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ทางภาคตะวันออกไกลสุดของประเทศ แต่ IAP แห่งนี้ใหญ่โตกว่า นอกจาก Su-27/30 แล้ว ก็ยังประกอบอีกหลายรุ่น ตั้งแต่ก่อตั้งมา มีการเข็นเครื่องบินออกจากที่นี่กว่า 7,000 ลำแล้ว โดยไม่ได้นับรวมกับเครื่องบินที่ส่งไปซ่อม ไปดัดแปลง หรือไปอัปเกรด ในด้านของการประกอบ และผลิต โรงงานอีร์คุตซ์ ทำกิจกรรมทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับ Su-27/30 ตั้งแต่ผลิตอะไหล่เองเกือบ 95% ของทั้งหมด จนถึงขั้นประกอบเข้าเป็นชิ้นๆ การติดตั้งระบบต่างๆ และขั้นตอนสุดท้ายคือ การทดสอบ จึงเป็นศูนย์รวมของสรรพสิ่ง ตามรายงานของสื่อรัสเซีย IAP จะส่ง Su-30MK2 ที่เหลืออีก 8 ลำ ให้เวียดนามภายในปลายปี 2558 นี้ เป็นล็อตที่เซ็นซื้อกัน 12 ลำ เมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งจะทำให้กองทัพอากาศของประเทศอาเซียนแห่ง นี้มีจำนวนทั้งหมด 36 ลำ และ 12 ลำสุดท้ายที่กล่าวถึงนี้จะติดเครื่องยนต์รุ่นที่มี Vectoring Control ทั้งหมด เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการจู่โจม หลบหลีก การปีนไต่ระดับ การลดระดับ การพลิกม้วน ฯลฯ ระบบอาจจะบอกได้ว่า เวียดนามสั่งสเปกนี้ไปเพื่อการใด ต้องย้อนความหลังกันสักนิด ในบรรดาประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนของเรา ไม่ได้มีเพียงเวียดนามเท่านั้นที่มี Su-30 ประจำการในกองทัพ ทัพฟ้าเสือเหลืองก็มีอยู่ 18 ลำ ติดเว็กเตอริ่งคอนโทรลทั้งหมด อินโดนีเซียก็มีถึง 16 ลำ เมื่อนับรวมกับ Su-27 ที่อยู่ระหว่างอัปเกรด ไกลออกไปในภูมิภาคนี้ กองทัพอากาศอินเดีย มี Su-30 เวอร์ชันต่างๆ ประจำการกว่า 200 ลำ กองทัพประชาชนจีนอีกหลายสิบลำ นี่ยังไม่นับรวมพวกที่แปลงร่างกลายไปเป็น “J” ของจีนเองอีกหลายรุ่น จำนวนหลายร้อยลำ กลุ่มนาโต้ เรียก Su-27 ว่า “แฟล็งเคอร์” (Flanker) เรียก Su-30 ว่า “แฟล็งเคอร์-ซี” (Flanker-C) หากจะอธิบายกันสั้นๆ ตรงนี้เลยก็คือ Su-30 เป็นเวอร์ชัน 2 ที่นั่งของ Su-27 ก็ไม่ผิด แต่ก็ยังมีรายละเอียดอีกมากมายที่อธิบายกันข้ามวันก็ไม่หมด เป็นเวลากว่า 30 ปีมาแล้วที่ Su-27 ปรากฏตัวในน่านฟ้ากว่า 10 ประเทศทั่วโลก จนกระทั่งกลายมาเป็น Su-30 ในช่วงกว่า 20 ปีมานี้ ปัจจุบันกองทัพอากาศรัสเซียเองก็ยังใช้อยู่ และ ยังสั่งซื้อจากซูคอยเพิ่มขึ้นทุกปีๆ ถึงแม้ว่า จะทยอยนำ T-50 PAKFA เครื่องบินรบยุคที่ 5 ของค่ายนี้เข้าประจำการในอีก 2 ปีข้างหน้าก็ตาม จาก Su-27 เอวบางร่างน้อย ที่คล่องแคล่วคล่องตัวในทุกสมรภูมิ ได้กลายมาเป็น Su-30 รุ่นจัดหนัก สร้างขึ้นมาให้บรรทุกอาวุธต่างๆ ได้มากกว่า เพดานบินสูงกว่า และ บินได้ไกลกว่า คลุมน่านน้ำกับน่านฟ้าที่กว้างใหญ่ไพศาลได้ทั่วถึง ซึ่งเครื่องบินรบรุ่นเล็กทำแทนไม่ได้ หรือไม่เหมาะ เพราะฉะนั้น Su-30 ก็จะต้องติดเครื่องยนต์ที่ใหญ่กว่า และแรงกว่า ซดน้ำมันมากกว่า แต่ก็มีเครื่องหลายรุ่นให้เลือก รวมทั้ง “รุ่นท็อป” ที่สงวนเอาไว้ให้กองทัพอากาศรัสเซียเท่านั้น . . . ของรัสเซียรุ่นปัจจุบันพัฒนามาจนถึง Su-30SM ที่ติดตั้งเครื่องยนต์รุ่นใหม่ ระบบนำร่องใหม่ เรดาร์ใหม่ และระบบวิทยุ-สื่อสาร ฯลฯ ทุกอย่างดีกว่าเหนือกว่า และไม่อนุญาตให้ส่งออก แม้ว่า Su-30 รุ่นมาตรฐานของกองทัพ จะมีรัศมีทำการถึง 3,000 กิโลเมตร ทำความเร็วสูงสุดได้กว่า 2,100 กม./ชม. อยู่แล้วก็ตาม โรงงาน IAP แห่งนี้เป็นแหล่งผลิต Su-30SM ซึ่งราคาค่างวดลำละประมาณ 50 ล้านดอลลาร์ด้วย แพงกว่า Su-30 บางเวอร์ชันพื้นฐานเกือบเท่าตัว . |
||||
2 เครื่องบินก็ไม่ต่างกับรถยนต์ เมื่อประกอบลำตัวกับชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันเสร็จสรรพ ก็จะมีการติดตั้งระบบต่างๆ ทั้งระบบนำร่อง ระบบเรดาร์ และระบบควบคุมอาวุธ ฯลฯ แตกต่างกันไปตามลักษณะภารกิจที่จะนำไปใช้ Su-30 ก็จึงแตกออกไปเป็น Sub-type หรือ เรียกง่ายๆ ว่า “เวอร์ชัน” ต่างๆ มากมาย ตามความต้องการของผู้ใช้ จะใช้ในภารกิจทางทะเล หรือบนบกเป็นหลัก โจมตีทางอากาศหรือบินขับไล่ หรืออะไรก็ตามแต่ จากรุ่นส่งออกทั่วไปที่ใช้รหัส MK2 ก็กลายเป็น MKM สำหรับมาเลเซีย หรือ MKI สำหรับอินเดีย MKV สำหรับเวเนซุเอลา และ MK2V สำหรับเวียดนาม เป็นต้น เครื่องบิน Su-27/30 เป็นผลงานวิจัยและออกแบบ และพัฒนาระบบต่างๆ โดยกลุ่มบริษัทซูคอย (Sukhoi Company) ที่มีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่ยุคสหภาพโซเวียตจนถึงยุคใหม่ ก็จึงได้รหัสรุ่นของเครื่องบินเป็น Su เช่นเดียวกันกันรุ่นก่อน และรุ่นหลังของค่ายผู้ผลิตเดียวกัน และซูคอยก็ได้เครดิตแต่เพียงผู้เดียวล้วนๆ มาโดยตลอด ขณะที่แหล่งผลิตเป็นแหล่งต้องห้าม แทบจะไม่เป็นที่รู้จัก โรงงานประกอบอีร์คุตซ์แห่งนี้ จ้างคนงาน วิศวกร และช่างเทคนิคราว 12,500 คน อายุเฉลี่ยของพนักงานคือ 40 ปี แบ่งออกเป็น 7 แผนก ตั้งแต่ระบบไฮดดรอลิก ระบบเชื้อเพลิง เครื่องยนต์ ปีก อุปกรณ์ลงจอดบนพื้น ระบบเอวิโอนิกส์ต่างๆ และระบบอาวุธ 90% ของเนื้องานนั้น “ทำด้วยมือ” ทั้งสิ้น ซึ่งไม่น่าจะง่ายนัก ยกตัวอย่างเพียงรายการเดียว เช่น สายไฟที่ใช้ใน Su-30 แต่ละลำนั้นรวมกันยาวกว่า 70 กม. นี่เป็นโอกาสดีที่สุดที่จะได้เห็นการทำงานของแผนกต่างๆ ภายในโรงงาน ตั้งแต่ขั้นตอนที่ผลิตชิ้นส่วนหลายชิ้่นด้วยมือที่ชำนาญ หรือด้วยเครื่องมือพื้นๆ จนถึงส่วนที่ต้องใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์เข้าช่วย จนกระทั่งแล้วเสร็จครบวงจร และขึ้นบินได้ตามสเปกที่กำหนดทุกประการ ภาพทั้งหมดต่อไปนี้หลายคนยกย่องให้เป็น “ภาพศิลป์” มากกว่าจะเป็น “ภาพข่าว” และภาพต้นฉบับทั้งหมดเป็นผลงานของสเตปานอฟ สลาวา (Stepanov Slava) ซึ่งนำขึ้นขึ้นเผยแพร่ในเว็บไซต์ส่วนตัวตั้งแต่เดือน ก.ย.ปีที่แล้ว ก่อนจะปรากฏในเว็บไซต์อีกหลายแห่งในช่วงปลายปีมาจนถึงต้นปีนี้. . 80 ปีมีหนเดียว Stepanov Slava |
||||
3 |
||||
4 |
||||
5 |
||||
6 |
||||
7 |
||||
8 |
||||
9 |
||||
10 |
||||
11 |
||||
12 |
||||
13 |
||||
14 |
||||
15 |
||||
16 |
||||
17 |
||||
18 |
||||
19 |
||||
20 |
||||
21 |
||||
22 |
||||
23 |
||||
24 |
||||
25 |
||||
26 |
||||
27 |
||||
28 |
||||
29 |
||||
30 |
||||
31 |
สำนักข่าวนี้ชอบนัก กับการเอารูปไม่ตรงคำบรรยาย ฮา บ่อยจัด
เรียน ท่าน Absolution ถ้ามองในประเด็นที่ว่าโรงงานรถยนต์มีอุปกรณ์/เครื่องมือ/สายพาน/หุ่นยนต์/ออโตเมชั่น ต่างๆ มากกว่าที่เห็นในโรงงานผลิต บ ทางทหาร อันนี้น่าจะเปรียบเทียบกันยากนะครับ เพราะปริมาณการผลิตต่างกันเยอะ กระบวนการผลิตก็แตกต่างกันมาก เครื่องบินต้องใช้รีเวตต์ในการประกอบแพแนลต่างๆเข้าด้วยกัน ในขณะที่รถยนต์ใช้การเชื่อม หรือ spot welding
เปรียบกันตรงๆยากครับ
อย่าลืมเครดิตที่มานะครับ เดี๋ยวจะกลายเป็นเกลียดตัวกินไข่เอา
http://manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9580000019684
เพิ่งจะได้อ่านบทความว่าโรงงานนี้เพิ่งเชิญนักบินทดสอบจากค่ายตะวันตกซึ่งเป็นคนแรกที่ให้ไปบินทดสอบกับ Su-35 แล้วเค้าก็ได้ไปที่โรงงาน Irkut นี่ด้วย นักบินคนนั้นให้สัมภาษณ์ว่าโรงงาน Irkut แห่งนี้ มาตรฐานสูงกว่าโรงงานผลิตเครื่องบินรบของค่ายตะวันตกหลายๆแห่งเลยทีเดียว
สุดยอดเลยครับ ชอบๆ ที่ว่ามาตรฐานการผลิตสูงกว่าของประเทศตะวันตกบางประเทศนี่ ก็พอจะรู้ล่ะครับ
เด๊่ยวนะครับ? Su-35ผลิตในโรงงานของKnAAPOไม่ใช่เหรอครับ ส่วนIrkutทำSu-30
หรือมันไม่เกี่ยวกับที่ไปลองSu-35
ปล.ว่าแต่ สื่อค่ายนี้ไม่ใช่เหรอ ที่เคยเอาSu-30มาอัดภาพให้เป็นเครื่องบินอ้วนๆน่าเกลียดๆ ตอนต้นๆโครงการบ.ข.20 แล้วด่าเอาๆว่าเป็นเครื่องบินห่วยๆน่ะ
ขอบคุณที่หามาให้ชมกันครับ
ชอบมากๆ เลย ภาพภายในโรงงานและสายการผลิต บ.รบ
ซู-27/30 เป็น บ. ที่มีสายการผลิตยาวนาน ผู้ผลิตเองก็พัฒนาปรับปรุงสเปค บ. และกระบวนการผลิตจนน่าจะเข้าที่หมดแล้ว เรื่องความน่าเชื่อถือของ บ. คงไม่ใช่ประเด็นที่ต้องกังวลอีกต่อไป อยู่ที่ความพร้อมของอะไหล่และการซ่อมบำรุงที่ผู้ใช้ต้องเอาให้อยู่ ซึ่งจะง่ายหรือสะดวกคุ้นมือเหมือน บ. ตะวันตกทั่วไปหรือไม่เป็นสิ่งที่ผู้ที่ไม่เคยมีบ. รัสเซียใช้ต้องคำนึงถึง
ซื้อเลยครับ อิ อิ...
เปล่าครับ แค่มาบ่นนิดหน่อย เพราะเจ้านี้ล่ะที่เคยเป็นตัวเต็งต่อต้านSu-30....บ่นผจก.น่ะครับไม่ได้บ่น จขกท.
ความคิดเห็นส่วนตัว
ผมคิดว่าโรงงานประกอบรถหรือโรงงานทำชิ้นส่วนรถของบ้านเราผมว่าดูดีและทันสมัยกว่านีเยอะเลยครับ
ผมคิดว่าท่าทางรัฐบาลพลักดันอุตสหกรรมทางด้านนี้ดีๆผมว่าไปไกลแน่ๆ ผมเชื่อในศักยภาพแรงงานบ้านเรา
งานที่ต้องใช้ความละเอียดและต้องคำนึงถึงความปลอดภัยมากๆต้องใช้คนเท่านั้นครับ ที่เรายังไม่สามารถผลิตเครื่องบินรบได้เพราะอากาศยานผู้ผลิตและแรงงานต้องมีknow-howสูงมากๆเพราะถ้าพลาดหมายถึงชีวิตของผู้นำไปใช้และความน่าเชื่อถือของผู้ผลิต Robotทำงานได้เร็วจริงครับแต่Tolerancesต้องกว้างพอสมควรและมีโอกาสเกิด defect สูงและเป็นจำนวนมากแต่งานที่Tolerancesแคบมากๆต้องอาศัยมนุษย์อยู่ดี เพราะเครื่องจักร inspection defect ได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดใว้ล่วงหน้าเท่านั้น ถ้าเกิด defect นอกเหนือจากที่กำหนดใว้ล่วงหน้า ชิ้นส่วนหรือชิ้นงานที่เป็น defect จะหลุดการตรวจสอบทันทีซึ่งเป็นความเสี่ยงที่อันตรายต่อชีวิตมาก ที่พูดมานี้จากประสบการณ์จริงเนื่องจากทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ต่อให้โรงงานไฮเทคแค่ไหนยังไงก็ต้องพึ่งVisual inspection อยู่ดี
มีพี่คนหนึ่งทำงานด้วยกันแกเคยทำโรงงานทำPart(คิ้วซุ้มล้อ)ส่งบ.รถยนต์เจ้าตลาดเจ้าหนึ่งเคยถูกขอให้ลด quality การพ่นสีลงเพราะมันเด่นกว่าสีของตัวถังรถ(ซุ้มล้อพ่นด้วยมือ ตัวถังพ่นด้วยRobot)แกก็ใจร้ายบอกว่าไม่ลดผมละเงิบเลย
ปล.รถ Lamboghini ราคาหลายสิบล้านยังประกอบด้วยมือแทบทุกขั้นตอนแม้กระทั่งพ่นสี
ฝันว่าสักวันประเทศเราจะทำแบบในคลิปนี้บ้าง
http://www.clipmass.com/movie/1465225836315628
คงได้แค่ฝัน
เฮ้อ......ผมถอดใจเรื่องโครงการนิคมอุตสากรรมการบินแล้วครับท่าน absulation คงล้มไม่เป็นท่าแบบโครงการ Submicron ทั้งที่มีประโยชน์มหาศาลและจังหวะเวลาที่เหมาะสม โอกาสทางธุรกิจก็ดี
เราไม่ได้เป็นฟันเฟืองตัวใหญ่ในสังคมที่จะสามารถกำหนดทุกอย่างได้ดังหวัง ไม่รู้จะบอกต่อลูกหลานเรายังไงดีเมื่อลูกๆถามว่า ทำไม....
เฮ้อ......ผมถอดใจเรื่องโครงการนิคมอุตสากรรมการบินแล้วครับ คงล้มไม่เป็นท่าแบบโครงการ Submicron ทั้งที่มีประโยชน์มหาศาลและจังหวะเวลาที่เหมาะสม โอกาสทางธุรกิจก็ดี
เราไม่ได้เป็นฟันเฟืองตัวใหญ่ในสังคมที่จะสามารถกำหนดทุกอย่างได้ดังหวัง ไม่รู้จะบอกต่อลูกหลานเรายังไงดีเมื่อลูกๆถามว่า ทำไม....