https://www.congress.gov/bill/113th-congress/senate-bill/1683/text
WASHINGTON – It took the better part of two years, but Congress has finally approved the potential transfer to Taiwan and Mexico of six frigates being decommissioned by the US Navy.
The move means negotiators have permission to make a deal for transfer of the ships, four of which are still in service.
Signed into law Thursday by President Barack Obama, the Naval Vessel Transfer Act of 2013 authorizes the transfer of the frigates Curts and McClusky to Mexico on a grant basis.
The act also authorizes the sale of the frigates Taylor, Gary, Carr and Elrod to Taiwan.
All the ships are of the Oliver Hazard Perry class, now being phased out of the US Navy. All remaining frigates are to be decommissioned by the end of September.
ยินดีกับทั้ง2ประเทศด้วยครับ เพราะเรือฟริเกตที่ได้ไปล้วนมีความสำคัญในการใช้งานด้วยกันทั้งสิ้น เม็กซิโกมีเรือOPVเยอะมากและส่วนมากกองทัพเรือต่อเองด้วยซ้ำ แต่พวกเขาไม่มีเรือฟริเกตใหม่ๆเลย อายุน้อยสุดก็คือเรือฟริเกตุชั้นKNOXที่ยังต้องจุดหม้อต้มทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ ส่วนไต้หวันก็อย่างที่รู้ๆว่ากองทัพเรือจีนมาเคาะประตูเรียกแขกอยู่หน้าบ้าน ได้เรือรบไปเพิ่มจะเก่าหรือใหม่เป็นผมก็เอาทั้งนั้น เขาเองก็มีเรือชั้นนี้ใช้งานอยู่แล้วติดอาวุธมากกว่าต้นฉบับเสียอีก จึงไม่เป็นการยากเลยที่จะใช้งานเรือใหม่ได้อย่างรวดเร็ว
ทั้ง2ประเทศมีเงื่อนไขการได้รับเรือที่แตกต่างกัน เม็กซิโกได้รับการโอนเรือไปโดยมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมประมาณ20-40ล้านเหรียญต่อลำ ส่วนไต้หวันเป็นการขายในราคาพิเศษตัวเลขก็น่าจะอยู่แถว80-100ล้านเหรียญ แต่ก็แลกกับเรือลำใหม่ที่จองไว้ก่อนแล้วและการปรับปรุงซ่อมแซมที่น่าจะมากกว่ากัน ทั้งนี้เมื่อได้รับการเซ็นอนุมัติก็จะกลายเป็นกฎหมายของอเมริกาทันที คงต้องดูกันต่อว่าไต้หวันจะจัดหาครบจำนวนทั้ง4ลำจริงหรือเปล่า
USS CURTS FFG-38 ว่าที่เรือฟริเกตลำใหม่ของเม็กซิโก เข้าประจำการ 8 October 1983 ปลดประจำการจากกองทัพเรืออเมริกา 25 January 2013
ที่มันล่าช้าไปนานพอสมควรก็มีที่มาที่ไปอยู่นะครับ เริ่มจากบิลแรกสุดมีชื่อตุรกีอยู่ด้วยเลยไม่ผ่านสภา (ไม่แน่ใจว่าสภาไหน) มีการนำเสนอในวันที่ 1มกราคม 2013
http://www.gpo.gov/fdsys/pkg/BILLS-112hr6649rds/html/BILLS-112hr6649rds.htm
(a) Transfers by Grant.--The President is authorized to transfer vessels to foreign countries on a grant basis under section 516 of the Foreign Assistance Act of 1961 (22 U.S.C. 2321j), as follows: (1) Mexico.--To the Government of Mexico, the OLIVER HAZARD PERRY class guided missile frigates USS CURTS (FFG-38) and USS MCCLUSKY (FFG-41). (2) Thailand.--To the Government of Thailand, the OLIVER HAZARD PERRY class guided missile frigates USS RENTZ (FFG-46) and USS VANDEGRIFT (FFG-48). (3) Turkey.--To the Government of Turkey, the OLIVER HAZARD PERRY class guided missile frigates USS HALYBURTON (FFG-40) and USS THACH (FFG-43). (b) Transfer by Sale.--The President is authorized to transfer the OLIVER HAZARD PERRY class guided missile frigates USS TAYLOR (FFG-50), USS GARY (FFG-51), USS CARR (FFG-52), and USS ELROD (FFG-55) to the Taipei Economic and Cultural Representative Office of the United States (which is the Taiwan instrumentality designated pursuant to section 10(a) of the Taiwan Relations Act (22 U.S.C. 3309(a))) on a sale basis under section 21 of the Arms Export Control Act (22 U.S.C. 2761).
บิลในนี้ไม่ผ่านและเงียบไปเกือบ10เดือน จนกระทั่งในวันที่12พฤษจิกายน2013 ก็มีการเปลี่ยนบิลใหม่ไปเลยโดยการตัดตุรกีออกแล้วใส่ปากีสถานเข้าไปแทน (ยังดีว่าไม่ใช่ลำเดียวกันไม่งั้นตุรกีมีเคือง) แต่เหมือนหนีเสือปะจระเข้ ปากีสถานเองก็ทำความยุ่งยากใจให้กับบิลใบใหม่ใบนี้อีกครั้ง แล้วเรื่องนี้ก็เงียบหายไปกับสายลมและสองเราเหมือนเช่นเคย
(c) Transfer to Pakistan by Grant Upon Certifications.-- (1) Authority.--The President is authorized in each of fiscal years 2014 through 2016 to transfer to the Government of Pakistan one of the OLIVER HAZARD PERRY class guided missile frigates USS KLAKRING (FFG-42), USS DE WERT (FFG-45), and USS ROBERT G. BRADLEY (FFG-49) on a grant basis under section 516 of the Foreign Assistance Act (22 U.S.C. 2321j), 15 days after certifying to the appropriate congressional committees that the Government of Pakistan is--
http://0-www.gpo.gov.librus.hccs.edu/fdsys/pkg/BILLS-113s1683rs/html/BILLS-113s1683rs.htm
เมื่อเจอปัญหาเข้าไปถึง2หนติด คณะผู้จัดทำจึงต้องรัดกุมให้มากกว่าเดิม โดยการตัดปากีสถานออกเหลือแต่ชาติที่ซี้ย่ำปึ๊กและไม่มีทางมีปัญหาแน่ๆ วันที่8เมษายน2014 บิลใบใหม่จึงมีแค่เพียง เม็กซิโก ไทยแลนด์ และไต้หวันเท่านั้น
102.
Transfer of naval vessels to Taiwan
(a)
Transfer by sale
The President is authorized to transfer the OLIVER HAZARD PERRY class guided missile frigates USS TAYLOR (FFG–50), USS GARY (FFG–51), USS CARR (FFG–52), and USS ELROD (FFG–55) to the Taipei Economic and Cultural Representative Office of the United States (which is the Taiwan instrumentality designated pursuant to section 10(a) of the Taiwan Relations Act (22 U.S.C. 3309(a))) on a sale basis under section 21 of the Arms Export Control Act (22 U.S.C. 2761).
Transfer of naval vessels to certain other foreign recipients
201.
Findings
(a)
Relating to Mexico
(b)
Relating to Thailand
https://www.govtrack.us/congress/bills/113/hr3470/text
แต่ให้ตายเถอะโรบิ้น ด้วยเรื่องวุ่นภายในประเทศไทยทำให้บิลใบนี้มีปัญหาอีกครั้ง แม้บิลใบนี้จะผ่านสภาผู้แทนราษฎรแล้วก็ตามก็ยังมาดองอยู่ที่วุฒิสภาเพราะเรานี่แหละ (เหอๆๆๆ) 4 ธันวาคม 2014 จึงมีบิลใบใหม่ล่าสุดเกิดขึ้นมาเป็นครั้งที่(เท่าไหร่แล้วเนี่ย) โดยเหลือแค่เพียงเม็กซิโกและไต้หวันเท่านั้น และใช้เวลาแค่เพียงแค่เพียง2เดือนนิดๆท่านโอบามาก็ลงนามอนุมัติให้ในท้ายที่สุด
ผมชอบอเมริกาที่มีการเปิดเผยข้อมูลทางราชการเท่าที่เผิดเผยได้กับประชาชนทั่วไป เพราะเป็นสิ่งที่ไม่มีวันเกิดขึ้นในประเทศนี้
เรือOHPมีการคุยกันบ่อยมาก ดูในกระทู้เก่าก็ได้ครับท่านจูดาสอธิบายไว้ละเอียดดี
Oliver Hazard Perry เป็นเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำขนาด4,100ตัน สร้างขึ้นระหว่างปี1975-2004 เป็นจำนวนถึง71ลำด้วยกัน
ROCS Tian Dan (FFG-1110) ของไต้หวันคือเรือลำท้ายสุดเข้าประจำการในปี2004โดยไต้หวันต่อเองในประเทศ มีการปรับปรุงติดปืนกลรองขนาด40/70ซึ่งเป็นอาวุธมาตราฐานของเขา จรวดพื้นสู่พื้นรุ่น Hsiung Feng II เพิ่มอีกจำนวน8นัด และใช้จานเรดาร์ควบคุมการยิงสำหรับจรวดต่อสู้อากาศยานที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม
USS Elrod (FFG-55) คือ1ใน4ลำที่มีชื่อขายให้กับไต้หวัน เริ่มเข้าประจำการในวันที่ 21 September 1985 (ก่อนเรือหลวงรัตนโกสินทร์ของเรา1ปี) ปลดประจำการเมื่อ10วันก่อนหรือวันที่ 30 January 2015 เท่ากับอยู่ในราชการไม่ถึง30ปีเต็ม จากข่าวเก่าไต้หวันขอซื้อเรือโดยมีการปรับปรุงด้วยจำนวน2ลำในวงเงิน240ล้านเหรียญ เมื่อขอเพิ่มอีก2ลำก็น่าจะมีวงเงินอยู่ที่480ล้านเหรียญ ใกล้เคียงกับราคาเรือฟริเกตรุ่นใหม่ของไทยและมาเลเซียจำนวน1ลำพอสมควร
จากนี้ไปคงต้องรอดูกันต่อไปว่า อเมริกาจะทำอย่างไรกับเรือที่ปลดประจำการไปแล้วและยังคงเก็บรักษาอยู่ แต่ดูจากเรื่องยุ่งๆคงต้องเป็นชาติที่ไม่มีปัญหาทั้งภายในประเทศและกับอเมริกาเอง อย่างน้อยก็ในช่วงเวลานั้นๆล่ะครับ
แปลว่า อด
ข่าวเก่านำมาเล่าใหม่
เมื่อวันที่ 6 ก.พ. ที่ท่าเรือแหลมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ ทร.)มห้สัมภาษณ์ถึงโครงการจัดซื้อเรือฟริเกตสมรรถนะสูงของกองทัพเรือ ว่า ได้เสนอ TOR หรือเอกสารระเบียบข้อตกลงในการจัดซื้อไปแล้ว ตอนนี้ก็รอดูว่า จะมีประเทศใดเสนอกลับมาบ้าง คาดว่า ภายในปลายเดือนมีนาคม นี้จะรู้ว่า มีประเภทไหน ที่มีคุณสมบัติอยู่ในข่ายที่กองทัพเรือไทยกำหนดไว้บ้าง ส่วนที่ นิตยสาร Jane’s Defence เสนอข่าวว่า กองทัพเรือไทยจะซื้อเรือโจมตีชายฝั่ง LSC (Littoral Combat Ship) จากสหรัฐอเมริกา ในราคาพิเศษ เพราะไทยเป็นสมาชิกนอกนาโต้นั้น ตนยืนยันว่า ไม่มีเรื่องนี้ ไม่มีการเสนอมา และ กองทัพเรือก็ไม่มีแผนซื้อจากอเมริกาแต่อย่างใด แต่ถ้า เป็นเรือฟริเกต ของสหรัฐ- และอยู่ในคุณสมบัติที่เราเสนอไป เช่นระวางขับน้ำ 3-4 พันตัน เราก็จะพิจารณา แหล่งข่าว กล่าวว่า ข่าวนี้อาจสับสน เพราะที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาเคยเสนอขาย เรือฟริเกตชั้น Perry Class จำนวน2 ลำให้ไทย แต่เป็นเรือมือสอง ทร.ไทย จึงปฏิเสธ เพราะต้องการเรือใหม่
ที่มา : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1360148256&grpid=03&catid=03
ตามข่าวของ ท่าน skysky น่าจะเป็นเรือ OHP คนละ ล็อต กันครับ...
ตามที่ อดีต ผบ.ทร. พูดถึง น่าจะหมายถึง เรือ OHP เมื่อหลายปีก่อน น่าจะช่วงปี 2548 หรือ 2549 ที่ ทร.ต้องการเรือรบผิวน้ำเพิ่มเติม
โดยพิจารณาจากเรือมือสอง และเรือใหม่ (ใช้ บาร์เตอร์เทรด) ในขณะนั้น จะมีเรือมือสองจากประเทศอังกฤษ กับ เรือชั้น Knox จาก ไตหวัน ที่เสนอขายให้ไทย ด้วย...และเป็นช่วงที่ สหรัฐ เสนอขายเรือ OHP รุ่นท้ายสั้น ให้กับประเทศต่าง ๆ โดยเรือล็อตนี้ น่าจะเป็นช่วงที่ โปแลนด์ กับ ปากีสถาน ซื้อไปครับ....ซึ่ง ข่าว OHP ที่สหรัฐ เสนอขายให้ ไทย เคยมีพูดคุยกันก่อนที่จะเกิด โครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ครับ...น่าจะเป็น OHP ในส่วนของ EDA ที่อาวุธเหลือใช้...
สำหรับเรือชุดนี้ เป็นเรือที่ สหรัฐ บริจาคให้ โดย ทร.ไทย จะตอบรับ หรือไม่ตอบรับ ก็ได้ แต่ต้องเสียค่าซ่อมบำรุงเอง...ซึ่งน่าจะใช้ เงื่อนไข การช่วยเหลือทางการทหาร ฉบับปี 1952 ที่ ทร.ไทย ได้ชุดเรือชั้นท่าจีน และชั้นพุทธฯ มา จำนวนแบบละ 2 ลำ...และไทย ต้องชำระค่าปรับปรุงเรือเอง....
น่าจะคนละ ล็อต กันครับ...
คิดว่าสำหรับเจ้า OHP สองลำที่อเมริกาจะส่งให้ไทยเราแบบฟรีๆ คงต้องรอหลังจากมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเรียบร้อยไปแล้วครับ
สำหรับปีนี้และปีหน้าคงยังไม่ได้แหง่ๆ (ยังต้องรอต่อไป)
งั้นก็ผูกทุ่นรอเราไปก่อนละกัน รับรองไม่เกิน 2 ปี ถ้ารักกันจริงอย่าเพิ่งยกไปให้ใครน่ะ
แท่นยิงแซม (มาร์ค 13 ใช่ไหม ?) ด้านหน้าไม่มีแล้วไม่เป็นไร เหลือฟาลังค์ กับปืน 76.2 และท่อ ต.ปราบ ด. กับโซนาร์ลากท้าย (มีใช่ไหม) ไว้ละกันครับ เอาไว้ลากขู่เรือ ด. รอบๆ บ้านเราไปพรางๆ จนกว่าเราจะมีเรือ ส. ไว้ต่อต้าน เรือ ส. ด้วยกัน สิบเบี้ยใกล้มือเอาแผนระยะสั้นไว้ก่อน ระยะยาวเกิดยากค่อยว่ากันอีกที
อนาคตมีหรือไม่มีเรือ ส. ผมก็ยังอยากให้ ทร. มีเรือ OHP คู่นี้ไว้ใช้งานนะ จะต้องมีปรับปรุงดัดแปลงอะไรเพิ่มเติมตามภารกิจก็ว่ากันไปตามประสาเรือมือสองม๊อด
โดยความเห็นส่วนตัวว่า ทร.ไทย คงไม่มี OHP ประจำการ ส่วนคนที่จะได้ คือ มาเลเซีย ซึ่งเคยเสนอซื้อจาก สหรัฐ และรอการตอบรับ ซึ่ง ผมมองวิเคราะห์ว่า ที่มาเลเซียจัดหา จะไม่เกี่ยวกับ ชุดเรือ LCS และ OPV แต่คือ การเสริมอัตร่ เรือชุด ลิเคียว
เรืออังกฤษมือสองนี่ เรืออะไรเหรอครับ Type22?
เรื่องอังกฤษโมือสอง ข่าวจากไหนครับ
ปล type 22 น่าจะไม่เหลือแล้วครับ ถ้าใช่น่าเป็นเป็น type23 มากกว่า เพราะ อังกฤษเริ่มปลดแล้ว
ข่าวหลายปีแล้วครับ ช่วงมี บาร์เตอร์เทรด สินค้าเกษตรแลกอาวุธ น่าจะช่วง 2547 -2549 ซึ่งเป็นช่วงยุคเรือรบมือสอง กำลังบูม ผมพอจะจำได้ ช่วงนั้น ผมทำภาพตัดต่อเรือ Type -42 มาโพสเล่นๆ กันอยู่
โ
ขอแจมเรื่องเรือมือ2อังกฤษด้วยคนพร้อมงานด่วน ถ้ากองทัพเรือไทยเริ่มโครงการภายในปี2004 ก็น่าจะเป็นType 22 Batch II นะครับ เพราะในช่วงนั้นอังกฤษเร่ขายเรือปลดระวางจำนวน6ลำอยู่และขายได้3ลำ ถ้าไทยสั่ง1ลำจะได้เรือF93 Beaver และถ้าสั่ง2ลำจะได้ F94 Brave หรือ F92 Boxer ซักลำนี่แหละ แต่ถ้าเริ่มโครงการหลังปี2004จะเหลือแค่ F93 Beaver ลำเดียว อังกฤษอาจเสนอขายBatch III ที่ยังประจำการอยู่ให้แทน ซึ่งเป็นรุ่นที่มีการปรับปรุงข้อด้อยต่างๆจนดีเลิศมีระวางขับน้ำถึง5,300ตัน ติดปืน4.5นิ้วด้านหน้าและเปลี่ยนมาใช้ฮาร์พูนแทนเอ็กโซเซ่ต์แล้ว
แต่ผมสงสัยอยู่อย่างว่าทำไมเรือ Type 22 Batch II ทั้งของโรมาเนียและชิลีในปัจจุบันไม่มีจรวดซีวูลฟ์เลย ทั้งที่Batch I ของบราซิลเองก็ยังใช้งานอยู่นะเออ ก็อาจเป็นไปได้ว่าจรวดที่แถมมาหมดอายุภายใน5ปีหรือไม่ก็ไม่ได้ติด เรือชิลีเปลี่ยนมาติดปืน76/62 จรวดฮาร์พูนและบารัค1แทน ส่วนของโรมาเนียมีแค่76/62กลายเป็นเรือOPVเครื่องยนต์gas turbines and gas turbines ระวางขับน้ำ4,800ตันไปแล้ว
ว่าแล้วก็ลองจิ้นเรือไทยดูหน่อย โดยเรือลำแรกF93 Beaverเอามาติดอาวุธจีนและใช้เป็นเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำ ติดปืน76/62ใช้ Type 347G ควบคุมการยิง ติดจรวดHQ-7จำนวน1แท่นยิง8นัดใช้Type 345ควบคุมการยิง ตรงกลางติดจรวดC-802จำนวน8นัด ท้ายเรือติดปืน37มม.Type 76A แท่นคู่และใช้ Type 347G ควบคุมการยิง เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ2ลำ ตรงกลางมีDS-30M 2กระบอกและปืน20มม.อีก2กระบอก ใช้เป้าลวงType 945G 26ยิงแบบเดียวกับเรือจีนอีก6ลำ
ส่วนลำที่2F94 Brave ใช้เป็นเรือฟริเกตต่อต้านอากาศยานรุ่นOTOP เลยลดเฮลิคอปเตอร์ลงเหลือ1ลำและติดจรวดHQ-7จำนวน2แท่นยิง16นัดแทน แบบนี้พอไหวไหมท่านภู ;)
ปล.เรือกินน้ำมันไม่ไปน้อยกว่าOHPแน่ๆ เพราะไม่มีเครื่องยนต์ดีเซลและระวางขับน้ำมากกว่าเห็นๆ
เรือ ohp คงไม่มาแล้ว คราวนี้คิดใหม่ ถ้าเป็นอาวุธเก่าเหลือใช้ที่มูลค่าไม่มากที่ไม่ต้องผ่านสภาจะพอมีโอกาสไหม เช่น ขอพวก ฟาลังค์เก่า มาติดเรือรบเก่าของเรา เรือนเรศวร ตากสิน เราเสียค่าติดตั้งปรับปรุงเอง หรือพวกระบบปราบเรือดำน้ำเก่ามาติดเรือเก่าของเราที่ขนาดเรือไม่ใหญ่เกินไป อย้างนี้พอมีหวังไหมครับ