หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ส่วนตัวผิดหวังกับ Amos 155

โดยคุณ : น่าคิด เมื่อวันที่ : 24/04/2021 17:25:27

นานแล้วที่ผมไม่ค่อยได้โพส แต่ยังเข้ามาอ่านเรื่อยๆ
ตอนนี้ข่าวสุดฮ๊อตคือ "กองทัพบกไทยจัดหาปืนใหญ่อัตตาจร ATMOS 155 mm 6 ระบบ พร้อมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี จากอิสราเอล"
ในมุมมองส่วนตัว "ค่อนข้างผิดหวัง และไม่เห็นด้วย" ที่ทางกองทัพจัดซื้อปืนระบบนี้มาใช้
ผมไม่ได้ว่าปืนระบบนี้ "ไม่ดี" อย่าเข้าใจประเด็นผิด
คำถามในใจผมคือ
1. ทำไมกองทัพไม่เลือกบริษัทที่ผลิตปืนใหญ่ประเภทนี้มา เพื่อว่าจ้างให้ทำการปรับปรุงระบบปืนใหญ่ที่ ศอว.ศอพท. พัฒนาขึ้นเพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงตามความต้องการของกองทัพ ทั้งขนาด 155 ม.ม. และ 105 ม.ม.
2. คำว่า "พร้อมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี" ผมสงสัยว่า
 - เมื่อไหร่
 - อย่างไร
 - ผลจากการถ่ายทอดเทคโนโลยี กองทัพจะได้อะไรออกมาที่เป็นรูปกระทำ

คลิ๊ปตัวอย่างที่ผมนำมาลงเป็นการ renuvate ปืนใหญ่ขนาด 105 ม.ม. กับ รถบรรทุกขนาด 5 ตัน ดูแล้วกองทัพน่าจะเชิญบริษัทเข้ามาให้ข้อมูล หรือจ้างมาปรับปรุงระบบที่ ศอว.ศอพท. ได้เริ่มต้นไว้ให้สมบูรณ์ ใช้ได้จริง แทนที่จะซื้อระบบใหม่ อันไหนอยากให้มีก็ติดตั้งไป อันไหนไม่จำเป็นก็ถอดออก
สิ่งที่กองทัพจะได้
1. ระบบ 105mm self propelled howitzer ที่มีสมรรถนะตรงตามความต้องการของกองทัพ
2. องค์ความรู้ในการปรับปรุงระบบทั้งหมด
3. ประหยัดเวลา
4. ประหยัดเงิน


155 ศอว.ศอพท.


EVO 105





ความคิดเห็นที่ 1


แล้วภาพศพที่เห็น เห็นในที่เกิดเหตุหรือ ตอนเขาเก็บมาแล้วล่ะครับ 

โดยคุณ skysky เมื่อวันที่ 27/01/2015 11:42:53


ความคิดเห็นที่ 2


ของผมแค่ข่าวลือนะครับ อย่าคิดมาก คือ(ข้อ1)โมีคนบอกในFBว่า Elbitไม่แยกขายระบบคคย. ถ้าอยากจะเอาต้องซื้อระบบของเขาด้วย น่ะครับ

 

ปล.ATMOS (Autonomous Truck Mounted howitzer System) ครับ

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 25/01/2015 15:00:39


ความคิดเห็นที่ 3


ปัญหาน่าจะอยู่ที่ว่า เราไม่ซื้อของเค้าแล้วใครจะถ่ายทอดความรู้ให้ครับ

ถึงจะจ้างให้มาสอนและจ้างแพงๆแต่มันเป็น Know-how  ไม่น่าจะมีใครยอมถ่ายทอดให้ง่ายๆ

ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ การที่เราเริ่มจาก copy น่าจะเป็นวิธีที่ไวกว่า ถ้ามัวแต่ให้มาสอนแล้ว

คิดว่ากี่ปีถึงจะทำได้ 

โดยคุณ nesta เมื่อวันที่ 25/01/2015 18:43:10


ความคิดเห็นที่ 4


ถ้าข้อมูลของ TAF ถูก ซื้อ6ระบบ ส่งมา1 ประกอบเองในไทยอีก5 ผมว่าน่าจะเป็นการถ่ายทอดความรู้แล้วนะครับ แล้วทำไมคิดว่า ทบต้องการ อจ 105ล่ะครับ ผมว่าถ้าจะ อจ ทั้งที 155ไปก็ดีแล้ว ยิงไกลกว่า กระสุนมีให้เลือกมากกว่า คล่องตัวเท่ากัน

โดยคุณ skysky เมื่อวันที่ 25/01/2015 19:01:47


ความคิดเห็นที่ 5


เพราะถ้าไม่ซื้อของเค้าก็จะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้นะสิครับแต่นี้ได้ทั้งของใช่งานแล่วก็ได้รับการถ่ายทอดไม่รู้ว่ามากน้อยแค่ไหนอยากให้ได้เยอะๆซึ่งการที่จะมาปรับปรุงของเก่าให้มันดีขึ้นมันมีข้อจำกัดเสมอเค้าอาจรู็ถึงข้อจำกัดซึ่งอาจไม่คุ้มเท่ารอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีแล่วมาทำใหม่ทั้งหมดส่วนตัวคิดว่าอย่างั้นนะครับ

โดยคุณ parin1998 เมื่อวันที่ 25/01/2015 21:11:38


ความคิดเห็นที่ 6


การพัฒนามันมีขั้นตอนของมัน แรกๆ ก็c&d ไปก่อน จากนั้นค่อย r&d 

อย่าลืมว่า งบพัฒนามันน้อยอยู่แล้ว และเราประเทศเล็ก ความคุ้มค่าของการพัฒนาหรือการผลิตมันมีอยู่

ถ้ามันต้องผลิตในราคาที่แพงมากเพราะผลิตน้อย มันก็คงไม่คุ้มที่จะลงทุน

มัยมีปัจจัยให้คิดเยอะกว่านั้น

แต่ใช่ว่าเราจะหยุดพัฒนา แค่ผมหมายถึงว่า การพัฒนามันอาจจะดูช้าไปบ้าง แต่มันก็จะคงมีอยู่

จนกว่าที่ อาวุธเรามีเพียงพอเงินเริ่มเหชือำม่ได้ใช้ไปจัดหาอะไรแล้ว ถึงตอนนั้นงบพัฒนาก็น่าจะเพิ่มขึ้น

โดยคุณ delete เมื่อวันที่ 26/01/2015 01:50:57


ความคิดเห็นที่ 7


นำเข้าระบบเดียวและประกอบที่เหลือในประเทศก็น่าจะถือว่าเป็นการถ่ายทอดที่ดีมากแล้วนะครับ 

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 26/01/2015 04:01:37


ความคิดเห็นที่ 8


กว่าจะเป็นจรวดDTI ได้ ตามแผนหรือข้อมูลที่ลงไว้เราก็จัดหา WS-1 ของจีนตั้ง9ระบบไม่ใช่รึ?

ส่วนที่ว่าถ้าเราทำเองผมว่าถ้างบสะดุดมันอาจจะทำให้โครงการล่าช้า

มีบริษัทไหนมั้ยที่มาพัฒนาให้เราได้  พอนึกออกได้ว่าไม่มี

Norinco เสนอชุดอักเกรด GHN-45 ติดตั้งบนรถบรรทุก

T-5-52 ของอินเดีย พัฒนาโดยดาเนล+ระบบของซีซาร์+สวีเดน

ง่ายๆว่าเหมือนสั่งของๆเขามาประกอบในบ้านเรานั้นแล  จะถูกจะแพงอยู่ที่อุปกรณ์ชองบริษัทนั้นๆ

ส่วนของไทยนั้น ประกอบติดตั้งเองจนถึงสั่งอุปกรณือำนวยการยิงมาปรับแต่งจนสามารถใช้งานได้ก็เจ๋งแล้วล่ะครับ

บางอย่างเราไม่มีภูมิความรู้ขนาดผลิตได้ทุกชิ้น ก็ควรเริ่มจากการสั่งของมาประกอบเองไปก่อน ไม่แปลกหรอกชาติรวยๆกว่าเราเขาก็ทำกัน ตรุกี อินเดีย เป็นต้น

 

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 26/01/2015 08:58:33


ความคิดเห็นที่ 9


โดยส่วนตัวปืนใหญ่105ควรจะมีขนาดกระทัดรัดแข็งแรงทนทานพอจะขนย้ายทางอากาศ เป็นระบบใช้งานง่ายไม่ทันสมัยวุ่นวายจนเกินไปแต่สามารถเชื่อถือได้ว่ามันจะยิงได้ในทุกสถานะการณ์ และในเมื่อเฮลิคอปเตอร์ยังยกไปไหนมาไหนได้ การจะเอาพ่วงท้ายรถยีเอ็มซีหรือรถบรรทุกพลเรือนเพื่อใช้ขับเคลื่อนจึงเป็นเรื่องง่ายดายใหญ่ ฉะนั้นไม่มีความจำเป็นจะต้องเอาปืนจำนวนมากไปติดบนรถบรรทุกเลย แทนที่จะคล่องตัวกลายเป็นขาดความคล่องตัวไปเสียนี่


ขอวิจารณ์Atmosและระบบอื่นที่คล้ายกันแบบคนที่ไม่รู้เรื่องเลย


ข้อดี : สวย มีอุปกรณ์ครบครันพร้อมใช้งานตลอดเวลา สามารถบรรทุกพลยิงไปได้ด้วย อาจจะบรรทุกกระสุนไปได้จำนวนหนึ่งและอาจจะมีระบบอัตโนมัติอะไรก็ว่าไป


ข้อปรกติ : เทียบกับรุ่นเดียวกันที่ใช้ลากจูงแล้ว ปืนใหญ่ก็ยิงได้ไกลเท่าเดิมแหละ ความแม่นยำก็เท่าเดิมเพราะระบบคคย.ก็รุ่นเดียวกัน (นอกจากใช้รุ่นใหม่ที่ดีกว่าและแพงกว่า)  เพียงแต่ติดระบบขับเคลื่อนเข้าไปเท่านั้นเองซึ่งก็ต้องเพิ่มการดูแลรักษาเข้าไปอีก เสียทั้งเงินทั้งเวลาทั้งคนเพิ่มและส่งผลกับความพร้อมรบของปืนใหญ่กระบอกนั้นๆด้วย มีใช้งานจำนวนหนึ่งผมว่าก็ดีนะเพิ่อรองรับสถานะการณ์ฉุกเฉิน แต่ไม่จำเป็นต้องมากมายนักก็ได้เพราะระบบแบบนี้ก็มีข้อด้อยที่ผมกำลังจะกล่าวถึง


ข้อด้อย : หลายๆคนรวมทั้งท่านน่าคิดอาจมองว่าเป็นปืนใหญ่ติดระบบขับเคลื่อน แต่ผมมองว่าเป็นรถบรรทุกติดปืนใหญ่ต่างหาก เพราะฉะนั้นจึงกลายเป็นการผูกตัวเองไว้กับตัวรถ ในการซ่อมบำรุงก็อย่างที่บอกว่ามันจะวุ่นวายกว่าระบบเดิม นอกจากนี้ยังมีระบบไฮโดลิคต่างๆโผล่ขึ้นมาให้ต้องดูแลอีก ถ้ามีระบบป้อนกระสุนปืนอัตโนมัติก็ต้องจัดการดูแลด้วย ทหารปืนใหญ่ที่เคยทำงาน1เท่าก็ต้องมาทำ3เท่าแทนหรือไม่ก็ต้องหาคนมาดูแลเพิ่ม ในเวลาปรกติก็ยังไม่เท่าไหร่หรอกแต่ในเวลารบมันวุ่นวายขนาดไหน บางคนอาจบอกว่ารถบรรทุกทหารออกแบบมาดีไม่ต้องดูแลมาก และอะไหล่บางอย่างสามารถใช้งานได้ตลอดชีวิตไม่ต้องไปแตะ แต่ผมกลับมองว่ายังไงเสียทั้งรถและปืนก็ต้องดูและให้มากกว่าระบบปรกติถึง2เท่าด้วยซ้ำ

 

เพราะอะไรนะเหรอครับ? เพราะปืนใหญ่เป็นอาวุธสำคัญมากในการรบปัจจุบัน ถ้าคุณทำรถถังพังอย่างดีก็เสียหายแค่กองร้อยหรือแนวรบด้านนั้น แต่ถ้าปืนใหญ่ยิงไม่ได้ตายกันหมดเลยนะครับ นอกจากทหารจะตายแล้วพลเรือนยังตายไปด้วยเป็นความสูญเสียมากเกินจะยอกมรับ เพราะฉะนั้นการเอาปืนใหญ่ไปติดบนรถบรรทุกคุณจะต้องมั่นใจอย่างถึงที่สุดว่าทั้งปืนระบบไฮโดลิคควบคุมและรถบรรทุกพร้อมรบ100เปอร์เซนต์ แล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าระบบที่เราพัฒนาเองจะสามารถทำสำเร็จได้จริงตามที่โม้ ตรงตามเวลาที่กล่าวอ้าง และสามารถใช้งานในสนามรบได้จริง โดยมีอายุการใช้งานปรกติเหมือนระบบทั่วไป ดีลAmosผมว่าก็เหมาะสมแล้วกับความสามารถของเราในปัจจุบัน

 

ยกตัวอย่างกรณีพื้นๆแล้วกัน สมมุติต้องเคลื่อนปืนใหญ่ไปอีก20กม.แต่ขับไปกลางทางรถบรรทุกเกิดยางแตกหมดเพราะโดนตะปู, เกียร์พังขับเคลื่อนไม่ได้,หม้อน้ำระเบิดหรือขับหลบหมาจนตกคูเพลาหัก ไอ้ปืนใหญ่ที่แบกไปด้วยก็ไปไหนต่อไม่ได้แล้ว ถ้าจะเอาไปต่อก็ต้องลากไปทั้งระบบจนถึงที่หมาย(ส่วนจะถึงหรือเปล่าไม่รู้นะ) แต่ถ้าเป็นระบบลากจูงก็แค่หารถคันใหม่มาเปลี่ยนเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นโครงการปรับปรุงระบบปืนใหญ่ที่ ศอว.ศอพท. พัฒนาขึ้นผมว่าก็ดีอยู่นะแต่อย่าไปอะไรนักเลย ทหารปืนใหญ่ต้องการแค่ปืนใหญ่ที่ยิงได้จริงมีประสิทธิภาพตามคำโม้ของผู้ผลิตเท่านั้นแหละ จะเป็นของจีน รัสเซีย ยูเครน เชก ไม่มีปัญหา จะได้ส่งไปให้บ้านบางระจันซัก4กระบอก ตัวข้าเองหมั่นใส้กรุงศรียิ่งนัก ชะเอิงเอย...

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 26/01/2015 09:16:04


ความคิดเห็นที่ 10


องค์ความรู้เกี่ยวกับระบบอาวุธสมัยใหม่เราไม่มีเลยถ้าพัฒนาเองจะต้องใช้เวลากี่สิบปีครับกับเงินวิจัยอีกเท่าไหร่ที่จะต้องทุ่มลงไปไว้รอเรามีนักวิจัยและอุปกรณ์วิจัยที่ครบถ้วนค่อยพัฒนาเองก็ไม่สายนะครับ

โดยคุณ Batnight เมื่อวันที่ 26/01/2015 09:30:13


ความคิดเห็นที่ 11


จริงๆเราคงมองไปไกลว่า ทบ.ต้องสร้างจำนวนมากๆ ผมว่าคงไม่ใช่ สิ่งที่ทบ.ต้องการคือสร้างทดแทน ผลิตเองแทนของเก่าได้ในอนาคต

ตอนนี้ ทบ.มีอัตราจรอย่างM-109และCeasar จำนวนน้อยนิดเท่านั้น หากอนาคตปลด การจัดหาใหม่คงใช้งบประมาณมาก

การที่เราสร้างเองได้สามารถเติมเต็มความต้องการในด้านยุทธวิธีและยุทธศาสตร์ เป็นตัวเลือกระยะยาวที่ประหยัดงบและได้ความรู้เก็บไว้

อีกอย่างระบบอัตตาจรและลากจูงต่างก็มีข้อดีต่างกันไป คงไม่สามารถทดแทนกันได้ทั้งหมดหรอกครับ  อย่างในกรณีพิพาทเขมรล่าสุด ซ๊ซาร์และM-198 ต่างก็ทำหน้าที่ของตัวเองได้ดี

เคยอ่านผ่านๆตาเหมือนในหน่วยทหารม้าก็มีแนวคิดปืนใหญ่อัตตาจรไว้สนับสนุนอยู่

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 26/01/2015 10:18:05


ความคิดเห็นที่ 12


เห็นด้วยกับท่าน superboy ครับ

โดยคุณ skysky เมื่อวันที่ 26/01/2015 11:10:19


ความคิดเห็นที่ 13


   ความเห็นของท่าน superboy ก็มีเหตุผลครับ แต่ผมว่าออกจะมองโลกในแง่ร้ายเกินไปหน่อย เพราะปืนใหญ่จะเป็น อัตตาจร หรือลากจูง มันก็เสียเป็นกันทั้งนั้น ในกรณีรถเสียแต่ปืนไม่เสีย ปืนลากจูงสามารถหารถคันอื่นมาลากได้ แต่ก็อาจจะไม่มีรถมาเปลี่ยนก็ได้ เช่น มีรถลาก ออกปฏิบัติภารกิจจำนวนที่พอดีกับปืน ไม่มีรถเปลี่ยนก็ต้องรอเหมือนกัน เคลื่อนย้ายด้วยเฮลิคอปเตอร์ ฮ. อาจจะตกก็ได้  ผมมองเรื่องเหล่านี้มันเหตุสุดวิสัย จะอาวุธอะไรมันก็เกิดขึ้นได้ ถ้ามีเหตุอะไรขึ้นก็ต้องแก้ไขกันไปตามสถานการณ์   

 

   อีกประเด็นคือ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่การตรวจจับวิถีการยิงจากเรดาร์ต่างๆ มีความแม่นยำและรวดเร็วมาก ดูอย่างกรณี BM-21 ของประเทศข้างๆ เป็นรถล้อยางมีความสามารถที่จะเคลื่อนที่ได้รวดเร็วเพื่อจะหลีกเลี่ยงการตอบโต้ จากฝั่งไทยได้ แต่ก็ยังโดนปืนใหญ่ไทยยิงทำลายได้ ผมไม่แน่ใจทางนั้นเค้าไม่เคลื่อนที่เอง หรือเคลื่อนไม่ทันกันแน่ แต่ก็นั่นแหละประเด็นคือการตอบโต้ปืนใหญ่ในสมัยนี้นั้นทำได้รวดเร็วและแม่นยำขึ้น ดังนั้น การ Shoot and Scoot หรือยิงแล้วย้ายที่ตั้งยิ่งทำได้เร็วยิ่งดี ซึ่ง ปืนลากจูง ยังไงก็ช้ากว่าแน่นอน ได้ข่าวว่าประเทศเพื่อนบ้านก็เตรียมจัดหาเรดาร์หาพิกัดที่ตั้งปืน มาสู้เหมือนกันแล้วเราจะย่ำอยู่กับที่ได้ยังไง

 

   สรุปคือ จะปืนใหญ่แบบไหนก็มีประโยชน์ในตัวมันเองผมว่าก็สมควรจัดหาให้เพียงพอตามแต่ความต้องการ ไม่ต้องมากมายนักก็ได้

 

โดยคุณ GT500 เมื่อวันที่ 26/01/2015 12:03:11


ความคิดเห็นที่ 14


ผมไม่ได้บอกว่าATMOSหรือระบบที่เหมือนกับATMOSไม่ดี ถ้าตามข่าวคือทั้งหมด18ระบบผมว่าก็ยอดเยี่ยมแล้ว ของเก่าก็มีอยู่จำนวนหนึ่งยังไงก็เพียงพอต่อการใช้งาน ก็อย่างที่รู้นะครับว่าหัวใจหลักของการทำสงครามปืนใหญ่คือความแม่นยำและความน่าเชื่อถือ ระบบขับเคลื่อนหรือความคล่องตัวเป็นองค์ประกอบรอง ซึ่งการเอาปืนใส่รถบรรทุกเป็นทั้งข้อดีและข้อด้อย

 

BM-21 คือคำตอบของทุกอย่างในเรื่องการใช้อาวุธวิถีโค้ง จรวดหลายลำกล้องมีอัตรายิงสุงมากมีรัศมีทำลายวงกว้างมากและรุนแรงพอสมควร ขณะเดียวกันเขายังสามารถเคลื่อนที่หลบหลีกได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัวอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งถ้าเขายิงแม่นจริงๆหรือใกล้เคียงต่อให้เอาปืนใหญ่ติดรถเฟอร์รารี่ก็ขับหนีไม่พ้น  แต่ก็อย่างที่รู้นะครับว่าผลสุดท้ายอีกฝ่ายละลายทรัพย์ จะอ้างว่าเขาไม่เคลื่อนหรือยังไงมันฟังไม่ขึ้นหรอก แต่หลักฐานที่บ่งบอกก็คือความคล่องตัวแพ้ความแม่นยำโดยสิ้นเชิง เพราะฉะนั้นถ้าปืนเราไม่แม่นยังไงก็ไม่รอดหรอกช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง

 

ที่ ผมเป็นห่วงคือโครงการวิจัยที่ท่านน่าคิดพูดถึงมากกว่า คือถ้ามันยังไม่ได้เรื่องก็อย่าเข็นออกมาใช้งานเลยนะครับ เพราะปืนใหญ่เป็นอาวุธที่ต้องพร้อมทำงาน100เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นการซื้อ ATMOS จากพี่อิสก็สมควรกับเหตุและผลแล้ว

 

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 26/01/2015 19:19:32


ความคิดเห็นที่ 15


ที่คุณ superboy กล่าวมาก็ถูกนะ แต่มันก็ดูมองโลกในแง่ร้ายไปบ้างบางส่วน แต่ส่วนที่น่าเป็นห่วงก็มีเช่น

ถ้าตัวรถเสีย = เราเสียปืนไปกระบอกนึงเลย ถ้างั้น เราก็แก่ปัญหาง่ายๆแค่ทำให้ตัวรถกับปืนมันไม่ติดกันซะ

ทำเป็นรถหัวลาก+ปืนใหญ่บนฐานล้อสำหรับต่อรถหัวลาก มีตัวค้ำยันไฮโดรลิคแยก แต่สามารถพ่วงไฟและระบบเข้ากับหัวรถได้

แต่แบบนี้มันจะทำให้เกิดปัญหาความคล่องตัวในการเคลื่อนที่ขึ้น ตัวรถยาวขึ้น และระบบฐานค้ำยันต้องแข็งแรงขึ้นจากเดิมที่มีติดฐานบนตัวรถเลยทำให้ทั้งคันช่วยรับแรง กลายเป็นตัวฐานปืนต้องรับแรงเอง

แถมยังไม่มีเจ้าไหนทำแบบที่่ามาเลยอนุมานไว้ก่อนว่าข้อเสียมันน่าจะมากกว่าแบบปกติ

โดยคุณ markrura เมื่อวันที่ 26/01/2015 15:02:31


ความคิดเห็นที่ 16


เดียวผมว่าATMOS คันที่2-5 ถ้าประกอบในประเทศเอง ผมว่าเป็นไปได้ว่า จะเอารถมิซูบิชิ แบบพิเศษของ ทบ. มาย่ำร่วมกัน หรือถ้าต้องการแบบเหมาะๆเลย ก็จ้าง ชัยเสรี ออกแบบรถบรรทุกเฉพาะไปเลย  ส่วนเครื่องยนต์ก็ว่ากันไป รถเสียเราก็มีซ่อมได้ เวลาดูแลรถถ้าเป็นรถ มิซูบิชิ เราก็เอาช่าง เอาคนที่ ที่ดูแลรถจำพวกนี้ในกองทัพมาก็ได้ครับ เห็นมีตั้ง2000คันไม่ใช้รึ ปืนใหญ่ก็ว่ากันไป 

(อันนี้ตอบแบบไม่มีความรู้เรื่อง ปืนใหญ่อัตตราจรนะครับ)

โดยคุณ aomphet เมื่อวันที่ 26/01/2015 18:46:52


ความคิดเห็นที่ 17


ชื่อของมันก็บอกคุณสมบัติที่โดดเด่นในตัวเอง อันเป็นวัตถุประสงค์เริ่มแรกในการพัฒนามันขึ้นมา และเป็นเหตุผลสำคัญที่ทบ.ทุ่มงบประมาณจัดหามาใช้ ผมงงที่ทำไมถึงเอาไปเปรียบเทียบกับระบบลากจูง...??? จุดเด่นของ ATMOS คือมันสามารถเคลื่อนที่เข้าที่ตั้งยิง และสามารถเตรียมพร้อมทำการยิงได้เกือบจะอัตโนมัติ จึงมีความรวดเร็วมากๆ รวมทั้งการถอนตัวด้วย หากเป็นระบบลากจูงย่อมไม่สามารถทำได้เช่นนี้ และลองคิดดูว่าหากปรับเปลี่ยนระบบต่างๆ ทั้งหมดของมันให้มาอยู่บนแคร่ลากจูงแล้ว จะมีขนาดและน้ำหนักมากแค่ไหน จะลากได้อย่างไรครับ ???
โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 26/01/2015 20:21:28


ความคิดเห็นที่ 18


ปืนใหญ่อัตตาจรล้อยางก็คือรวมความคล่องตัว+ความแม่นยำ เข้าไว้ในระบบเดียว เคลื่อนที่และเตรียมยิงได้ไว เดี๋ยวนี้ระบบอัตโนมัติเต็มสูบอย่างNora B-52 Archer แทบไม่ถึง2นาทีเลยด้วยซ้ำ ยิงและถอนตัว

อย่างที่บอกข้างต้นระบบปืนใหญ่และMLRS มีข้อดีต่างกัน  การจะทำลายฝ่ายตรงข้ามให้ได้ผลก็ต้องประกอบด้วยการค้นหาและชี้เป้ามากกว่า ยิงครอบคลุมได้พื้นที่กว้าง แต่ลงไม่ตรงเป้าก็ไม่มีประโยชน์

มองว่าลากจูงกับอัตตาจรใช้คนล่ะงาน อัตตาจรเหมาะแก่การยิงทำลายเครื่องยิงฝ่ายตรงข้าม 

MLRS เหมาะแก่การทำลายเป้าหมายที่เคลื่อนตัวไม่ได้และวางกำลังเป็นกลุ่มกว้างๆอย่างลากจูงมากกว่า

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 26/01/2015 20:54:50


ความคิดเห็นที่ 19


นาทีที่8.11 การเคลื่อนกำลังของ Ceasar ตอนปะทะชายแดนเขมร จะเห็นว่ามีขนาดการเคลื่อนกำลังที่เล็กมาก 

การที่มีทั้งความแม่นยำ+คล่องตัวสูง ย่อมทำให้การดำเนินยุทธวิธีได้มากในการทำลายเป้าหมาย  โดยที่การตอบโต้ของเป้าหมายทำได้ยาก 

https://www.youtube.com/watch?v=WCT6GU7HXyU

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 26/01/2015 21:21:23


ความคิดเห็นที่ 20


คือ ไทยเราชอบเล่นใหญ่ตลอดครับ ผมไม่รู้เรื่องราคานะครับ(ใครรู้ให้ข้อมูลได้เลย) แต่ประมาณได้ว่า ปืนใหญ่ กับ ปืนใหญ่อัตราจร ราคาห่างกันหลายเท่าตัว หรือ แม้จะเทียบ ปืนใหญ่อัตตาจรกับจรวดหลายลำกล้อง ก็ราคาห่างกันครับ(เมื่อเทียบขนาดหัวรบ ในรุ่นที่ใกล้ๆกันนะครับ) ในความเป็นจริงแล้ว ผมคิดว่า ทบ. เรา การพิสูจน์ทราบเป้าหมาย การประเมินการยิง ยังอ่อน อะครับ ไม่ได้จะว่านะครับ(แต่ขอยกเป็นตัวอย่างในการเปรียบเทียบนะครับ) ในกรณีปะทะบริเวณเขาพระวิหาร นอกจากตัวเลขอัตราสังหารของฝ่ายเราที่ทำลาย T54 T55 BM21 รวมกันเป็น สิบๆแล้ว ที่ทาง ทบ. หรือ ข่าวช่องหลักของเรารายงานให้ทราบกันแต่ตัวเลขแล้ว ก็ไม่มีหลักฐานใดๆให้เห็นกันเลยนะครับ เพราะไม่ใช่แค่นักข่าวในไทยที่ไปทำข่าวกันก็หลายร้อยแล้ว ก็ยันมีนักข่าวต่างประเทศอีกหลายร้อยทั้งฝั่งเราและฝั่งเขมรตามข่าวกันอยู่ ถ้าฝ่ายเราที่ว่าใช้ปืนใหญ่แม่นๆแมพๆทำลายได้อย่างแม่นยำ และชัดเจน ผู้ประเมินการยิง น่าจะพิสูจน์ทราบผลการยิงได้ไม่ยากจริงไหมครับ อย่างภาพหลักฐานคงมีเต็มไปหมดอะ แต่ต่อให้มันลับยังไง มันก็หลายปีแล้ว ผมก็ยังไม่เห็นมีนะครับ นี้ยังไม่รวมข้อมูลจากแหล่งข่าว ทั้งภายนอกและภายในนะครับ ไม่ว่าจะเป็น ตำแหน่ง ภาพ ซากรถถัง รถบรรทุก เครื่องยิง หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่เป็นเหมือนหลักฐานได้ว่า ยุทธพันธ์นั้นๆได้ถูก ทำลาย หรือ เสียหายจนต้องจำหน่ายออก ไม่มีปรากฎให้เห็นเลยนะครับ แถมมันไม่ใช่ของที่จะเคลื่อนย้ายได้โดนง่ายด้วย ผมจึงสรุปว่า การพิสูจน์ทราบเป้าหมาย การประเมินการยิง ของ ทบ.เราในพื้นที่นั้น ไม่ได้แมพอย่างที่เราคิดครับ (อย่าพึ่งว่าผมนะครับ) เพราะเขมรเองก็ไม่เห็นผลงานเหมือนกันครับ จะโทษก็ต้องโทษภูมิประเทศอาจไม่เอื้ออำนวยในการรบโดยใช้ปืนใหญ่ครับ

 

ถ้าเรารู้แล้วว่าประเทศเรามันไม่ได้มีแต่ที่ราบ ที่ทัศนวิสัยดี หรือ ระบบการพิสูจน์ทราบเป้าหมาย ที่เทพๆ อย่างประเทศๆที่เรานิยมซื้ออาวุธจากเค้า ไม่สู้หาอะไรที่ไม่ซับซ้อนเป็นทางเลือกไม่ดีกว่าเหรอ

 

ก็เหมือนถ้าเราจะยิงงูในก่อหญ้าอะครับ เป็นคุณจะเลือก ปืนลูกซองที่ยิบมาปุ๊บ ก็ยิงได้เลย ลูกปลายกระจายสุ่มทั้งบริเวณ ไม่แม่นก็จริงแต่ทั่วถึง หรือจะเลือก ปืนไรเฟิลติดสโคป ยิบมาปรับกล้องนิดหน่อยก่อน แต่ยิงแม่นสุดๆ ไปยิงงูในก่อหญ้า จะให้เปรียบปืนลูกซองก็เหมือนจรวดหลายลำกล้อง ปืนไรเฟิลติดสโคปก็เหมือนปืนใหญ่นั้นแหละ ผมว่าปืนใหญ่อัตตาจร ไม่ใช่คำตอบของโจทย์การรบโดยปืนใหญ่ในไทยอะครับ

 

ปล. ผมเห็นด้วยกับ ท่าน น่าคิด นะครับ ที่ว่า ไอ้การถ่ายทอดเทคโนโลยี อันนี้มันคืออะไร ผมสงสัยมาแสนนานแล้ว (ว่ามันใช้ของกินอะเปล่า)

โดยคุณ potmon เมื่อวันที่ 27/01/2015 09:54:10


ความคิดเห็นที่ 21


ถ้าจะยืนยันด้วยภาพ งั้นผมว่าไม่มีการปะทะครับ เพราะข่าวไม่เห็นภาพการปะทะเลย มีแต่ภาพเคลื่อนกำลัง ภาพผู้อบพบ 

โดยคุณ skysky เมื่อวันที่ 27/01/2015 10:22:01


ความคิดเห็นที่ 22


ถึง ท่าน skysky นะครับ

ผมเห็นภาพศพทหารไทย ในข่าว ตอนปะทะ เป็นหลักฐาน ได้ไหมครับ

โดยคุณ potmon เมื่อวันที่ 27/01/2015 11:25:45


ความคิดเห็นที่ 23


ตอนเพื่อนทหารนำกลับมาแล้วครับ เพราะทหารอาจรอดก็ได้นะครับถ้าได้รับการรักษาที่รวดเร็วไงครับ

โดยคุณ potmon เมื่อวันที่ 27/01/2015 11:52:59


ความคิดเห็นที่ 24


    มีใครทราบบ้างว่าตอนที่มีเรื่องที่เขาพระวิหาร ทางเราได้ใช้  SLC-2 counter battery radar รึเปล่าแล้วมันไม่แม่นจริงมั้ย ทำไมหนอกองทัพไทยนี่ช่างกุข่าวไม่มีภาพยืนยันซะหน่อย.... ว่ายิง BM21 ได้

โดยคุณ GT500 เมื่อวันที่ 27/01/2015 12:17:00


ความคิดเห็นที่ 25


เออ ขออนุญาตท่านที่ถกกันอยู่ให้ความเห็นครับ คือว่าส่วนตัวมองว่า ทั้งปืนใหญ่ปืนเล็กลากจูงอัตตาจรล้อยางตีนตะขาบ ต่างก็มีข้อดีข้อด้อยต่างกันไป แน่นอนว่าขึ้นอยู่กับสถานการณ์ภูมิประเทศสภาพกำลังของฝ่ายตรงข้ามและการวางหมากว่าแผนการรบของท่านผู้เกี่ยวข้อง ไม่มีอะไรดีหรือเหมาะกับทุกสถานะการณ์หรอกครับ

เรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี่ ก็ขึ้นอยู่กับการเจรจากับเจ้าของเทคโนดลยีนั้นๆ จะซื้อมาบางส่วนแล้วที่เหลือประกอบสร้างโดยการดูแลแนะนำของผู้ผลิต หรือซื้อเฉพาะโนวฮาวล้วนก็ว่ากันไป แน่นอนว่าราคาย่อมไม่เท่ากัน ต้องมาดูเป็นกรณีๆ ไปว่าอันไหนคุ้มค่ากว่ากัน

เรื่องการประเมินผลการยิง ยืนยันว่ามีภาพหลักฐานตั้งแต่ก่อนจะยิงจนถึงตอนลากกลับไปพนมเปญ คือเราพล๊อตที่ตั้งกลุ่มรถถัง ยานยนต์หุ้มเกราะ ปืนใหญ่ ฯลฯ ไว้ พอได้ยินเสียงตูมเข้าใจผิดว่าเค้าเอา ถ. ยิงเข้ามาเราก็ใส่ทันที ก็ละลายทั้งหมวด ส่วนบีเอ็ม-21 ก็ใช้ตอนย้ายที่ตั้งและรีโหลดถล่มเอา ทั้งหมดมีภาพประกอบแต่ไม่สามารถเอามาโชว์ได้ ฉะนั้น ให้มั่นใจได้ว่า พล.ป. เราปัจจุบันก้าวหน้าไปมากๆๆๆ เพียงแต่จะประชาสัมพันธ์ได้แค่ไหนเท่านั้น (ปัจจุบันยังยันกันอยู่เลยครับ เพียงแต่เรากินพื้นที่ที่เคยเป็นบั๊บเปอร์เข้ามาอีกเยอะเลย)

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 27/01/2015 12:26:41


ความคิดเห็นที่ 26


เราใช้ TPQ-36 ร่วมกับอุปกรณ์บางอย่าง กำหนดพิกัด บีเอ็ม-21 ตอนย้ายที่ตั้งใหม่ ซัดหงายเก๋งไปหลายคันอยู่ครับ

คงต้องรออีกหลายสิบปีแหละครับถึงจะมีภาพออกมาให้ดู ของอยู่ในฝั่งเค้าเราซัดซะหมอบ ออกสื่อตอนนี้มันจะไม่งามครับ

เค้าสูญเสียหลักร้อย พร้อมยุทโธปกรณ์ใหม่ๆ ที่เพิ่งได้มา เราเสียหลักสิบ เก่งกว่าชำนาญกว่าพร้อมกว่าก็ใช่ว่าจะไม่มีเจ็บมีตาย ไม่ยิงกันดีที่สุดครับ

ปล. โชคดีอย่างหนึ่งของเราคือเรารบกับกองกำลังจากส่วนกลางพร้อมอาวุธใหม่ๆ ความชำนาญพื้นที่ยังไม่มี การฝึกศึกษาอาวุธที่ได้มาใหม่ก็ยังไม่เกิด กำลังที่เคยอยู่ประจำชายแดนและคุ้นเคยกับอาวุธเก่าๆ แต่ชำนาญโค-ตร ถูกถอนออกไป เป็นเรื่องการเมืองภายในเขมร ลูกชายอยากโชว์พาวว์ ผลจึงออกมาอย่างที่เห็น

ปล. เสียงที่ชาวบ้านชายแดนมักจะได้ยินและเข้าใจว่าเป็นเสียงระเบิดนั้น หลายครั้งเกิดจากพี่ๆ ทอ. เค้าเล่นโซนิคบูมโชว์เพื่อข่มขวัญครับ ฝ่ายเขมรนึกว่าโดนลูกยาวก็เลยสวนเรามา ทีนี้ก็ล่อกันนัวไปหมด พวกที่อยู่ในที่พื้นก็มีทั้งพวกสวดชยันโตพี่ๆ ทอ. และพวกที่ฝากขอบคุณ ที่ทำให้ได้ซัดลูกค้างลำกล้องสักที ก็ว่ากันไปครับ

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 27/01/2015 13:54:14


ความคิดเห็นที่ 27


ที่แท้เป็น TPQ-36 เอง เห็นว่าได้ของจีนมา นึกว่าจะได้ทดสอบ อิอิ

โดยคุณ GT500 เมื่อวันที่ 27/01/2015 14:17:24


ความคิดเห็นที่ 28


ขอบคุณพี่เสือใหญ่ครับสำหรับข้อมูล :)

โดยคุณ 8iam เมื่อวันที่ 27/01/2015 17:03:34


ความคิดเห็นที่ 29


ภาพความเสียหายของฝ่ายตรงข้าม ย่อมต้องออกมาจากทางฝ่ายตรงข้าม

ในส่วนของท่านน่าคิด ก็น่าคิดอีกนั่นล่ะ

อนาคตคงมีความจำเป็นต้องเพิ่มบุคลากรในส่วนของการวิจัยและพัฒนาให้มากขึ้น

โดยคุณ fantom เมื่อวันที่ 28/01/2015 10:54:18


ความคิดเห็นที่ 30


ทำเอง สัก 100 ระบบ เอาไปรบกับไครละ ถ้าขายได้ ก็รอดไป ความน่าเชื่อถือละมีมั้ย ถ้าจะทำเอง กองทัพไทยอย่างมาก 100-150 ระบบ เหลือเฟือ ใช้เวลา 3-5 ปีกว่าจะสร้างเสร้จ

แล้วใช้คนเท่าใหล่ละ 500-1000 คนในการสร้าง  และถ้าโปรเจ็คนี้หมดลง คนงานที่เหลือต้องตกงานหรอ คิดให้ดีก่อนบอกว่าจะทำเอง

 

 

โดยคุณ ponglong เมื่อวันที่ 28/01/2015 14:55:41


ความคิดเห็นที่ 31


ขอตอบคุณ ponglong 

100ระบบเอาไปรบกับเพื่อนบ้านนี้ละครับ ไม่งั้นมันจะมีมาทำไมละครับ ฮ่าๆๆๆครงไม่รบไกลๆบ้านหลอกครับ  ฮ่าๆๆ //โดนตบ

ส่วน ถ้าทัพไทยต้องการถึง 100-150ระบบ ใน3-5ปี... โครงการอื่นไม่ต้องทำกันไปเลยละครับ บำรุงทัพก็ตัดไปเลยครับ... ถ้าต้องการขนาดนั้น... แบบต้องการเร่งด่วนสุดๆ เช่นเกิดภาวะ สงครามระหว่างประเทศก็ว่ากันไป 150ระบบ จิ้บๆครับ ไม่กี่เดือนก็เสร็จ เพราะ ทั่วประเทศก็มีโรงงานที่สามารถจะทำชิ้นส่วนต่างๆ แล้วนำมาประกอบที่โรงงาน ทบ.อีกที่ก็ว่าไป รถถึงตอนนั้นก็ประยุกใช้เอา 

"แล้วใช้คนเท่าใหล่ละ 500-1000 คนในการสร้าง  และถ้าโปรเจ็คนี้หมดลง คนงานที่เหลือต้องตกงานหรอ คิดให้ดีก่อนบอกว่าจะทำเอง"

Ans:  ทบ.ครงจะจ้างคนมาแค่ประกอบ ชิ้นๆไป และก็จ้างในรูปแบบไม่ประจำสะมากกว่า ถ้าจ้างมาแค่ประกอบอะนะ หรือจ้างโรงงานอะไร ประกอบปืนใหญ่เสร็จสับไปเลยครับ เพื่อมันจะลดปัญหาต้องจ้างคน นั้นเละ... 

 

โดยคุณ aomphet เมื่อวันที่ 28/01/2015 21:45:19


ความคิดเห็นที่ 32


ผมคิดว่าเรื่องงานสำหรับคนงานโรงงานสร้างอาวุธปืนใหญ่ไม่น่าเป็นปัญหา ครับ  พวกเครื่องจักรต่างๆส่วนใหญ่เค้า made to order คือ ทำเมื่อมีคำสั่งสร้างล่วงหน้าแล้ววางแผนผลิต อาจจะ 100 ระบบใน 5 ปี 10 ปี ก็ว่ากันไป  และนอกจากนี้ เค้าก็ไม่ได้ผลิตสินค้าแบบเดียว เช่น ปืนใหญ่ 155 มม. อย่างเดียว  ยังมีปืนแบบอื่นๆ เยอะแยะ เช่น ปืนใหญ่ 105 มม.  ปืนใหญ่รถถัง  ปืน ค.   ซึ่งคนงานสามารถทำงานได้หลากหลาย ตัวเครื่องจักรที่ใช้ทำก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ เช่น เครื่องทำลำกล้องปืนใหญ่ ก็สามารถปรับได้ว่าจะทำลำกล้องขนาดเท่าไหร่ ครับ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 28/01/2015 22:45:46


ความคิดเห็นที่ 33


   มาม่าถ้าทำรสไก่รสเดียวตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำขาย ป่านนี้มาม่าก็คงเจ๊งไปแล้วล่ะมันต้องมีการต่อยอดผลิตภัณฑ์ออกรสใหม่มาเรื่อยๆ มีรสหมูสับ รสต้มยำกุ้ง รสอะไรไปเรื่อย เมื่อก่อนมีแบบห่อแบบเดียวเดี๋ยวนี้มีทั้งถ้วยเล็กถ้วยใหญ่ เลยเถิดไปมาม่าโจ้กคัพ

    เข้าใจที่ผมยกตัวอย่างกันมั้ยครับ เครื่องจักรมีแล้ว คนงานมีแล้ว ทักษะฝีมือแรงงาน องค์ความรู้มีแล้ว ก็พัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อสิครับ วันนี้ทำ 155 มม. ภายใต้สิทธิบัตรได้ก็เชื่อมโยงองค์ความรู้ไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่นๆ หรือพัฒนาของเดิมให้ดีกว่าเก่าได้นิครับ

    คำถามที่ว่าขายใคร?  ก็ต้องถามว่ามันดีมั้ยล่ะครับ ถ้ามันดีก็มีคนซื้อ อย่าบอกเลยครับว่าเรายังไม่พร้อมถ้าคิดแบบนี้ชาตินี้ทั้งชาติก็ไม่พร้อมหรอกครับ   ชัยเสรีเฟิร์สวิน ทำต้นแบบตั้ง 4-5 คันใช้เวลาเป็น 10 ปี กว่าจะมาเป็นเฟิร์สวินคันนี้ ถามว่าในวันแรกที่เค้าคิดจะทำคิดว่าเค้าพร้อม 100% เหรอครับ  

 

 

 

 

 

โดยคุณ GT500 เมื่อวันที่ 29/01/2015 00:02:30


ความคิดเห็นที่ 34


ผมว่าเรื่องปืนอัตตาจรไม่เกินความสามารถครับเราทำปืนใหญ่เองมาแล้วทำมานานแล้วด้วย เปลี่ยนลำกล้องเองก็ทำมาแล้ว รถยนต์เราก็มีโรงงานซ่อมสร้างคือรื้อมาประกอบเป็นคันใหม่เองได้อยู่. หากประกอบปอัตตาจรครบ 100กระบอก. คนก็ย้ายกลับไปโรงงานซ่อมสร้าง หรือ โรงงานสรรพาวุธเหมือนเดิม. ของอื่นมีให้ซ่อมอยู่แล้วนี่เอาแบบไม่คิดว่าจะผลิตอะไรเพิ่มเลยนะ. ถ้าจะไปผลิต จลก ก็ย้ายคนไปผลิต จลก ต่อ แต่จริงๆแล้วผมมองว่า ทหาร ไม่ควรทำเอง ให้เอกชนทำจะworkกว่า

โดยคุณ skysky เมื่อวันที่ 29/01/2015 08:55:55


ความคิดเห็นที่ 35


ผมค้นหา เเต่พอดีไปเจอบทความนี้ บอกตามตรงว่า เพิ่งเคยอ่าน ครับของท่าน ~~Yothin Manaboon (http://chaoprayanews.com/blog/yotin/2014/10/21/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95/)

~~**ผลจากการนำปืนใหญ่อัตราจร ซีซาร์ (Caesar) ปืนใหญ่ลากจูงแบบ M-198 ขนาด 155/39 mm.  และ แบบ GHN-45 ขนาด 155/45 mm. ซึ่งมีระยะยิง 39.6 กิโลเมตร กอปรกับการนำอากาศตรวจการณ์ไร้คนขับหรือ UAV มาใช้ ปรากฏในการรบกรณีพิพาทไทย-กัมพูชาจากข้อขัดแย้งเขตแดนบริเวณเขาพระวิหาร ทำให้กองทัพกัมพูชาสูญเสียทหารประมาณ ๔๐๐ นาย จรวด BM-21 อีกหลายระบบ ยานยนต์อีกจำนวนหนึ่ง ด้วยอำนาจการยิง (Fire Power) ที่เหนือกว่า การดวลกันด้วยการใช้ปืนใหญ่กับสภาพที่กองทัพเขมรมีปืนใหญ่นั้นเป็นเรื่องที่คิดผิด อาจเป็นเพราะว่า น่าจะไม่เข้าใจเรื่องการวางแผนและสั่งการในการรบ เพราะทหารปืนใหญ่ นั้นมีชื่อเรียกกันว่าราชาแห่งสนามรบ (King of the Battle) การระดมยิงด้วยปืนใหญ่ในสนามรบเป็นเรื่องที่น่าสพรึงกลัว เพราะอำนาจทำลายล้างสูงมาก ถ้ามีอำนาจการยิงจากอาวุธยิงสนับสนุน (เครื่องยิงลูกระเบิด ปืนใหญ่ ขีปนาวุธ และระเบิดจากเครื่องบิน) ไม่เพียงพอแล้ว กัมพูชาซึ่งมีน้อยกว่าจึงเสียเปรียบในทันที

และปืนใหญ่อัตตาจรแบบล่าสุดของกองทัพบกไทยคือ ATMOS-2000 อิสราเอล โดยการนำปืนใหญ่ M-71 SOLTAM ซึ่งซื้อมาจากอิสราเอลเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ไปดัดแปลงจำนวน ๖ ระบบ**

ATMOS 2000 /M-71 SOLTAM


โดยคุณ konthai3 เมื่อวันที่ 29/01/2015 09:18:55


ความคิดเห็นที่ 36


ไปเจออันนี้ใน ยูทูป  มีช่วงนึงที่ในวิดิโอแสดงให้เห็นถึงโมดูลต่างๆที่ประกอบเข้ากับปืนใหญ่  ผมมองว่าการเอาป์นใหญ่มาวางลงบนรถบรรทุกน่ะ ทาง ทบ เราก็ทำมาแล้ว  ไอ้ตัวที่จะทำให้มันมีประสิทธิภาพสูงขึ้น  ไว ขึ้น มันอยู่ที่โมดูลพวกนั้นล่ะครับ

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 29/01/2015 14:03:06


ความคิดเห็นที่ 37


พี่ผมบอกว่า พาราดิน ปลดเมื่อไร ตัวนี้มาแทนครับ อิอิ เอาใจสาวก ยิงรัวๆ




โดยคุณ repeatafterme เมื่อวันที่ 29/01/2015 14:51:06


ความคิดเห็นที่ 38


อ้าวไม่ขึ้น

1


3



โดยคุณ repeatafterme เมื่อวันที่ 29/01/2015 14:54:12


ความคิดเห็นที่ 39


ถ้าดัดแปลงเป็นATMOSหมด เหลือแต่แครปืนใหญ่ปล่าวๆเสียดาย น่าจะเอาลำกล้องปืนใหญ่155มม.52คาลิเบอมาใส่ถ้าจะได้อยู่ เพราะปืนใหญ่M-71มันเป็นปืนใหญ่ขนาดหนัก(แต่ลำกล้องแค่39คาลิเบอเองเลยยิงได้ไกลสุด30กม.)น่าจะเอา52คาลิเบออยู่

โดยคุณ sepia เมื่อวันที่ 24/04/2021 17:25:27