หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


Saab-DefTech

โดยคุณ : toeytei เมื่อวันที่ : 18/01/2015 09:42:11

น้ำตาจะไหล บริษัท DefTech จะมือกับซาบทำสัญญาความร่วมมือกัน โดยจะมีแผนให้บริษัทมาเลเซียรับซ่อมบำรุง gripen ในภูมิภาค ร่วมทั้งผลิตชิ้นส่วน ระบบต่างของกริเป้นและการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วย

ทั้งนี้บริษัททั้งสองกำลังจับมือกันส่ง erieye เข้าประกวดในการจัดหา AEW&C ของทอ.มาเลฯ

เราเป็นลูกค้ารายแรกในเอเชียแท้ๆ...

ข่าวนี่หาๆเอาตามเน็ทได้เลยครับ ผมยำๆข่าวของหลายเจ้ามา เสิร์ช Saab Deftech ก็ขึ้นละ 

มีอ้างอิงอันเดียวละกัน

http://www.janes.com/article/47866/saab-and-malaysia-s-deftech-sign-gripen-agreement





ความคิดเห็นที่ 1


เราเป็นลูกค้ารายแรกในอาเซียนก็จริง แต่ซื้อจำนวนไม่มากและไม่มีความชัดเจนจากผู้มีอำนาจในการตกลงด้านอื่นๆเท่าที่ควร และในอนาคตอาจจะรอซื้อจากค่ายอื่นๆ เพราะในกองทัพทุกเหล่าดูเอาเองครับว่ายุทโธปกรณ์ต่างๆ มีกี่ค่าย





โดยคุณ top4 เมื่อวันที่ 17/01/2015 12:12:07


ความคิดเห็นที่ 2


เราเป็นลูกค้ากริเป้นรายแรกในเอเชียนะครับ ไม่ใช่อาเซียน แล้วเราซื้อของซาบไม่ใช่แค่เครื่องบิน แต่อย่างอื่นๆด้วย โดยเฉพาะยุคหลังทร.นี่แทบจะเรียกได้ว่าซาบเหมาหมด เอะๆก็ซาบ เอะอะๆก็ซาบ

ถ้าเราฉวยโอกาสเป็นในการเป็นฮับซ่อมบำรุงเครื่องบินของซาบในภูมิภาคนี้ มาเลยฯ-ซาบไม่ได้เกิดหรอกครับ นอกจากนั้นเทคโนโลยีทรานสเฟอร์เยอะกว่านี้แน่นอน ความสามารถในการสร้างเครื่องบินเองสดใสกว่าเดิมเยอะ หรืออย่างน้อยแค่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศก็ก้าวเข้าสู่เวทีระดับนานาชาติ

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 17/01/2015 13:09:04


ความคิดเห็นที่ 3


ผมว่าโอกาศที่มาเลจะซื้อ Saab น้อยมาก เพราะ เท่าที่ดู มาเล มีเขตทะเลเยอะ เน้นแต่กำลังทางเรือ ซึ่งมองว่าต้องห่างฝั่งมากๆ  บ ก็เลือก บ ขนาดใหญ่ที่บินได้ไกล f18 mig29 อย่างงี้ saab เป็น ไซล์เล็ก พิสัยทำการใกล้ อาจจะไม่เหมาะเท่าไหร  ซาบเลยต้องเสนอโปรโมชันหนักๆ ถ้า saab จะเหมาะกับ มาเล ก็เรื่องราคาอย่างเดียว นอกนั้นผมว่าไม่ตอยโจทย์

ต่างจากเราที่ สนามบินเล็กๆเต็มไปหมด และเน้นการป้องกันอ่าวไทย แท่นขุดน้ำมันเราอยู่ชายแดนเขตทางทะเลยังแค่ 75 กม จากฝั่ง เอา กริปเป้น บินขึ้นจาก สนามบิน แป๊บเดียวก็ถึงล่ะ

โดยคุณ skysky เมื่อวันที่ 17/01/2015 13:55:01


ความคิดเห็นที่ 4


หรือต่อไปไทยต้องส่งเครื่องบินซาบไปซ่อมบำรุงที่มาเลเซีย  ผมว่าไทยควรพัฒนาสร้างเครื่องบินด้วยตัวเองเสียที เอาแบบอินโดก็ได้ที่เขาลงทุนสร้างเครื่องบินฝึกกับเกาหลีใต้ เริ่มจากของเล็กๆอย่างเครื่องบินฝึกก่อน 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

.

โดยคุณ zakuIII เมื่อวันที่ 17/01/2015 16:34:52


ความคิดเห็นที่ 5


จริงอย่างที่คุณจขกท.ว่าเลยครับ ถ้ามาเลย์จัดหาจริงๆ ผมว่าอย่างมากน่าจะจัดหา Gripen E/F ยิ่งมาเลย์ก็พัวพันเขตทะเลจีนใต้ด้วย สงสัยละครนี้คงยาวนะครับ

เอาเป็นว่า ถ้าหากมาเลย์จัดหาจริงๆ เราคงต้องจัดหาตระกูลซู30 ไม่ก็ 35 ดีกว่า ไม่แนะนำมิคนะครับ 555+

@zakuIII เราก็วิจัยอยู่นะครับ บ.ทอ.6 ก็คือจุดเริ่มต้น

โดยคุณ Nakarin เมื่อวันที่ 17/01/2015 17:37:14


ความคิดเห็นที่ 6


เราก็ตบหน้า ซาบด้วยการซื้อ กิโล! แล้วประกาศสร้างอู้ซ่อมเรือดำน้ำรัสเซีย ในไทยไปเลย! 

//โดนตบ

โดยคุณ aomphet เมื่อวันที่ 17/01/2015 17:59:55


ความคิดเห็นที่ 7


โดยปรกติสัญญาร่วมทุนพวกนี้จะมีออปชั่นอยู่ว่าสามารถยกเลิกได้ถ้า บลาๆๆๆ และถ้ามาเลเซียไม่ซื้อกริเพน18ลำขึ้นไปและอีรีย์อายอีก3ลำผมว่าดีลนี้ไม่เกิดหรอก มันเป็นอะไรที่มักจะมาก่อนการขายของอยู่เสมอๆ และมักจะหายไปกับสายลมและสองเราเสมอๆ เหมือนกรณี MK-48/MK-56 for ESSM ที่เคยมีข่าวจะมาตั้งฐานที่มาเลด้วยคอนฟิกรูปแบบใหม่ใช้FCSตัวใหม่ แต่เมือพวกเขาโดนบังคับให้เลือกVL-micra ข่าวเรื่องนี้ก็เงียบเป็นเป่าสาก(เพราะไม่มีคนซื้อแล้วนี่)

 

แต่ผมอยากให้เกิดนะเพราะอยากรู้เหมือนกันว่ามาเลจะหาลูกค้าจากไหน SAABขายเครื่องบินได้กี่ลำกันเชียวยิ่งในเอเชียยิ่งน้อยใหญ่ Gripen NG ราคาแพงระยับจะหาลูกค้าจาก ฟิลิปปินส์ อินโด ตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย ผมมองไม่เห็นซักดีลเลย ลูกค้าเจ้าใหญ่คือบราซิลที่มีสิทธิผลิตขายบางประเทศได้เองด้วยซ้ำ

 

สมมูติว่าบริษัทนี้เกิดและมีลูกค้าเช่นซาอุเอ้า! จะมีพนักงานจากSAABเห่กันมาทำงานเป็นOUTSOURCE กินฟรีอยู่ฟรีกันเพียบเรียกว่ายกกันมาทั้งบริษัทเลยก็ได้ เพราะถ้าเป็นคนมาเลทั้งหมดใครจะมากล้าใช้บริการผมคนหนึ่งล่ะที่ไม่เอา ส่วนคนมาเลเองก็เป็นได้แค่ลูกหาบได้ความรู้ระดับพื้นฐานไปเท่านั้นเอง SAAB ไม่ใช่บริษัทเพื่อสังคม การถ่ายโอนเทคโนโลยี การเปิดสายการผลิตชิ้นส่วนในมาเลมันก็แค่ลมปาก อีกประการหนึ่งที่สำคัญมากก็คือชิ้นส่วนของกริเพนก็เป็นของต่างชาติเสียส่วนใหญ่โดยเฉพาะอังกฤษ แล้วมาเลจะผลิตอะไรของกริเพน???

 

ทีนี้มาดูประเทศที่ทำแบบนี้แล้วมีลูกค้าจริงๆนั่นก็คือตุรกี เครื่องบินF-16ของปากีสถานได้รับการปรับปรุงใหญ่โดยบริษัท Turkish Aerospace Industries ในวงเงิน 5.1พันล้านเหรียญ (โดยรับงานต่อจากบริษัทแม่อีกที แบ่งๆเงินกันไป) ปัจจุบันนี้ถ้าคุณจะทำอะไรมันต้องใหญ่และครบวงจรทั้งหมด เพื่อที่คุณจะได้มีความรู้ทั้งหมดจริงๆไม่ใช่มีคนสอนแบบกั๊กๆแล้วคิดเงินแพงๆ เริ่มจากการประกอบเครื่องบินทั้งลำ ซ่อมบำรุงเครื่องของตัวเองแล้วจะมีลูกค้าชาวต่างชาติเข้ามาในภายหลัง เมื่อพวกเขาได้รับบริการแล้วประทับใจก็จะกลับมาอีก มาอีกและมาอีก แต่ถึงลูกค้าจะไม่มาแค่เครื่องบินของกองทัพตัวเองก็ต้องมีงานเพียงพอเลี้ยงโรงงานและบริษัทให้อยู่รอดได้ ถ้ามาเลทำได้แบบนี้ผมค่อยยอมซูฮกให้ เพราะอินโดนีเซียที่อุตสาหกรรมการบินเจริญรุ่งเรื่องมาเป็นสิบๆปียังทำไม่ได้เลย

 

อุปมาอุปมัยก็เหมือนมาตั้งโรงงานประกอบและซ่อมบำรุงรถยนต์ลัมโบกีนี่ในอาเซี่ยน จะรุ่งหรือจะเจ๊งคงไม่เดากันหรอกมั้งครับ และถ้ามาเลเปิดบริษัทนี้จริงๆคิดว่าไทยจะเป็นลูกค้าอย่างนั้นหรือ ทั้งๆที่F-16 ของเราที่ซื้อจากอเมริกา(ประเทศที่เพื่อนๆกล่าวสรรเสริญทุกครั้งหลังอาหาร)ยังMLUในบ้านตัวเองเลย ถ้ากริเพนไทยไปซ่อมมาเลงานนี้คอมมิสชั่นล้วนๆครับผม

 

 

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 17/01/2015 21:12:49


ความคิดเห็นที่ 8


   โห.....ท่าน superboy  พูดตรงเผงแบบขวานผ่าซากเลย   ลูกเล่นทางธุรกิจเพื่อล่อใจให้ซื้อ  เหมือนข่าวที่เคยลงใน TFC ที่ว่าดัสโซลจะยอมให้มาเลย์ผลิตชิ้นส่วนของ ราฟาลบางส่วนถ้ามาเลย์จัดซื้อ พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้

  บราซิลทำได้  เพราะพื้นฐานพร้อมมากๆ  แถมซื้อเยอะพอควร   และอาจจะจัดซื้อเพิ่มในอนาคตด้วย  หรืออาจจะหาตลาดเพิ่มได้  เพราะอยู่ในอุตสาหกรรมนี้อยู่แล้ว  ไอ้ที่น่าอิจฉาสุดๆก็บราซิลเนี่ยะแหล่ะ   เพราะผมอย่างให้เราปั้นนิคมอุตสาหกรรมอากาศยานโดยบริษัทญี่ปุ่นวางรากฐานให้เรา  แล้วเราก็ให้บริษัทญี่ปุ่นผลิตชิ้นส่วนกริเปนให้เราแทน  แล้วมาประกอบที่ TAI     เสียดายไม่มีใครคิดสานต่ออีก    บราซิลรับของดีๆไปเต็มๆ

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 17/01/2015 23:22:48


ความคิดเห็นที่ 9


ที่คุณ superboy พูดก็อาจจะจริงเรื่องว่าต้องชนะดีล

แต่เรื่องว่าทำแล้วจะมีลูกค้าไหม ถ้าอ่านข่าวนะ มันไม่ได้แค่ทำที่เกี่ยวกับกริปเป้น แต่ระบบต่างๆของซาบอย่างอื่นด้วย เช่นเรดาร์ อีทีซี

สำหรับเรือสำหรับอะไร

 

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 18/01/2015 09:42:11