เชิญสมาชิกพูดคุยเรื่องการต่อเรือ OPV กระบี่ในกระทู้นี้ได้เลยครับ
แต่ขอความร่วมมือสมาชิกไม่นำภาพที่อาจมีปัญหามาโชว์ครับ(เจ้าของภาพเขาขอมา)
เนื่องจากบางอย่างยังเป็นชั้นความลับ ---------------ขอบคุณครับ-----------------
ศักยภาพของคนไทยตอนนี้ทำอะไรก้ได้ครับ รถไฟฟ้าก็ประกอบได้ (รอดูที่ขอนแก่น) เราจะทำแกงหน่อไม้ ไม่จำเป้นต้องปลูกต้นไฝ่รอให้ออกหน่อแล้วตัดมาแกง แค่เราเดินไปตลาดซื้อส่วนประกอบทั้งหมดมาผสมกันก็แค่นั้น ไม่อร่อยก้จ้างกุ๊กมาชิมให้ อย่างรถไฟฟ้านี้ก็เหมือน Part แต่ละชิ้นเขาก็มีขายในท้องตลาดไม่ว่าจะล้อ ตัวรถ เครื่องยนต์ หรือ software แค่ซื้อมาประกอบ จ้างผู้เชียวชาญมาตรวจสอบในแต่ขั้นตอนแค่นั้นก้เสร็จแล้วครับ เพียงแต่คนไทยไม่ค่อยเชื่อมั่นกันเอง อย่างเรือหลวงกระบี่ CHO เป็นผู้บริหารงานกับแต่ละส่วนจนสำเร็จซึ่งก็เป็นตัวอย่างที่ดีมาก จริงๆ CHO ได้ License ของ BAE มาหลายอย่างนะครับน่าจะเอามาสานต่อ
คือ งี้ครับท่านนีโอ ที่ผมสงสัยคือ ณโ วันนี้ ทร พร้อม และ สามารถต่อเรือ รบ แท้ๆ ที่เป็น military spec ได้แล้วหรือ เพราะแบกของขนาดนั้นแล้วเป็น spec เรือ พานิช ผมว่าเสียของ และถ้า แบกของขนาดนั้น และเป็น military spec ราคา คงแพงกว่าเรือ กระบี่เยอะ และครับ
แต่คิด อีกแง่ ทร อาจจะได้รับความช่วยเหลือ จาก เกาหลี ในการต่อเรือลำนี้ด้วยก็ได้ เพื่อฝึกมือสำหรับ ต่อ ฟรีเกตุเอง
นี่ผมพลาดอะไรไปนี่...ภาพไหนลับภาพไหนไม่ลับผมแยกไม่ออก
ท่าน skysky อย่าพูดถึงรายละเอียดที่อ่านกันมาสิครับ ข้อมูลและภาพน่ั่นล่ะที่ทำให้โดนลบ ท่าทางพวกเราวิเคราะห์แม่นแฮะ แต่ยังไงผมก็ขอบอกว่าเป็นปลื้มที่สุดสำหรับความสามารถในการ mod เรือชั้นนี้จริงๆ ขอให้ประสิทธิภาพระดับ MEKO A-100 ล่ะเป็นใช้ได้ รับรองว่าเรือชั้นนี้จะทำให้ ทร. และอู่เรือที่เกี่ยวข้องดังเปรี้ยงไปทั่วโลกเลย 555555
อยากให้ทร.ทำสำเร็จ และต่ออกมา อีก 9-12 ลำ เพื่อใช้งานทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามันเลยครับ สเปกขนาดนี้ถ่วงดุลกับมาเลย์และพม่าที่กำลังขยายกำลังทางทะเลอย่างมากในเวลาสั้นๆได้สบาย เอาเป็นกระดูกสันหลังหลักไปเลย เพราะต่อเองราคาน่าจะถูกลงไม่น้อย 55555 หึ หึ หึ สเปกขนาดนี้ เรือฟรีเกตกลางเก่ากลางใหม่ในภูมิภาคนี้มีหนาวกันล่ะ
ปล. ขยายแบบให้มีขนาด 2,500 - 3,000 ตัน สำหรับภาระกิจ ASW frigate และ ฟรีเกตอเนกประสงค์ ได้เลยนะ ถ้าการ mod คราวนี้ผลออกมายอดเยี่ยม
สาธุขอให้การ mod คราวนี้ได้ผลยอดเยี่ยมด้วยเถอะ
มีโรงเก็บ ฮ มี SSM มี CIWS นี่มัน OPV หรือ คอร์เวต ครับเนี่ย
ปล กระทู้เก่าที่ถูกลบไม่กล้าเม้นเลย กลัวพี่แขนแดงมาหาถึงบ้าน
ทีมงาน TFC ยังไม่อยากไปทานข้าวกับทหารน้ำนะครับ ขอความกรุณาอย่าโพสภาพที่หลุดมาจากกระทู้ที่ถูกลบครับ
กรณีที่มีการนำมาโพสซ้ำ ระงับสมาชิกถาวรครับ/ ADMIN
นี่คงเป็นการเตรียมความพร้อมในการต่อเรือ เพื่อต่อเรือรบหลักของเราในอนาคต ที่ 1 ลำกำลังต่อที่เกาหลีใต้ อีก 1 ลำที่บ้านเรา
อยากเห็นเราต่อเรือแบบนี้ไปตลอดจัง...คงมีข่าวดีเร็วๆนี้และดีกว่านี้ขึ้นๆไปอีก
พระราชดำรัส
"เรือรบขนาดใหญ่มีราคาแพงและมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานสูง
กองทัพเรือจึงควรใช้เรือที่มีขนาดเหมาะสม และสร้างได้เอง
ซึ่งเมื่อสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ได้แล้ว
ควรขยายแบบเรือให้ใหญ่ขึ้น และสร้างเพิ่มเติม"
พระราชทานแก่ข้าราชการกองทัพเรือ ณ วังไกลกังวล วันที่ 15 เมษายน 2545
กำลังอ่านเพลินๆโดนอุ้มซะแล้ว....แซวเน้อ ^_^
ผมกะอยู่แล้วว่ามีแววโดนลบเพราะเขายังไม่ได้นำเสนอผ่านสื่อหลัก แต่ไม่เป็ยไรครับแค่เห็นแว๊ปๆก็ดีใจแล้วที่เราคิดจะสานต่อให้มันสำเร็จ และเรามีความสามารถที่จะยืนด้วยลำแข้งตัวเองถึงแม้เราจะต้องซื้อบางส่วนมาประกอบ
ถ้าตามสเปกที่แอบเห็น(กึ๋ย!เสียวว้อย) ถือว่ามันข้ามจาก OPV ไปนิดหน่อย
ถ้าใส่จรวดฮาร์พูนเข้าไปขี้หมูขี้หมาก็ต้องเรดาร์Sea Giraffe AMBล่ะครับเพราะมีระยะทำการมากเพียงพอ ราคาเฉพาะเรดาร์ปี2010อยู่ที่ประมาณ8ล้านเหรียญปีนี้ก็คงซัก9ล้านเหรียญ ถ้าเอารุ่น1Xก็คงถูกลงหน่อยแต่เป็นของใหม่เอี่ยมยังไม่มีลูกค้า และเป็นการเพิ่มแบบเรดาร์เข้าไปอีกก็ไม่รู้เหมือนกันว่าดีหรือเปล่า
ผมเป็นห่วงเหมือนเดิมคืองบประมาณที่ได้เท่าไหร่ เพราะถ้ามากกว่าเดิมนิดหน่อยก็คงไม่ได้อะไรมาก ประมาณโรงเก็บฮ.กับเป้าลวงรุ่นประหยัดอะไรแบบนี้ อย่าคาดหวังมากครับในที่ประมฃชุมมักเสนออะไรที่เกินตัวเป็นประจำ เวลามิตติ้งบริษัทผมทำเรื่องเสนอไปต่างประเทศทุกครั้งแต่ท้ายที่สุดไม่พัทยาก็ชะอำ
เรื่องการติด ฮาร์พูนแล้วให้ทำการยิงอย่างได้ผล
ถ้าเราไม่ติดเรดาห์แรงๆที่มีรัศมีการตรวจจับได้ไกล แต่ใช้ระบบData link ช่วยล๊อคเป้า ป้อนค่าเป้าหมาย (คลายๆที่ Gripen ไม่ต้องเปิดเรดาห์เอง แต่ใช้ข้อมูลจากลำอื่นเช่นSaab eri eye) จะทำได้หรือไม่ครับ หรือการติดเรดาห์แรงๆ ถึงแม้จะแพง แต่ก็ยังใช้ประโยชน์ด้านอื่นได้อีกมันจะคุ้มกว่า
เสียงแว่วๆ มาว่างบประมาณที่เตรียมไว้สำหรับ ตกก.ลำนี้ 5-6 พันล้านบาท...อุ๊ต๊ะ !!! สูงกว่า รล.กระบี่ตั้ง 2 เท่าเชียวรึนี่ มโน มโน สังโฆ ...
(จำได้ว่าโครงการ รล.กระบี่ใช้งบรวมทั้งสิ้นประมาณ 2 พันล้านกลางๆ นะครับ)
ตกลงที่ต่อที่เกาหลีเริ่มแล้วเหรอครับ แบบแก้เสร็จแล้วเหรอ
ผมหมายถึงที่กำลังจะต่อที่เกาหลี น่ะครับท่าน toeytei โทษทีครับ ที่อาจจะทำให้เข้าใจผิด
ขอถามไว้เป็นความรู้หน่อยครับ ว่า เรือมาตรฐานพาณิชย์ กับเรือรบแท้ๆ มันต่างกันที่ตรงใหนบ้างครับ? ผมสงสัยมานานว่า opv นี่ต่างจากเรือรบทั่วไปเช่นฟรีเกต ตรงใหนบ้าง 555 ขอบคุณครับ.
ราคาdatalinkเรือหลวงนเรศวร = 2x TIDLS datalink = 358 ล้านบาท นั่นคือชุดละ179 ล้านบาท หรือ 6ล้านเหรียญ เพิ่มอีก3ล้านได้AMB
ในปัจจุบันมีการใช้เรือเร็วโจมตีอาวุธนำวิถีขนาดเล็กรูปทรงstealth และรับข้อมูลการโจมตีจากdatalink กันมากขึ้นพอสมควร ผมยกตัวอย่างกองทัพเรือนอร์เวยแล้วกันนะครับ เขามีเรือฟริเกตติดเรดาร์SPY-1 และระบบเอจิสถึง5ลำด้วยกัน ทำให้มีศักยภาพในการตรวจจับเป้าหมายทั้งบนอากาศและผิวน้ำ คลอบคลุมพื้นที่ป้องกันของตนเองได้ดีมาก ขณะเดียวกันก็มีสถานีเรดาร์บนบกอีกเป็นจำนวนมากเชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย พร้อมกับของเล่นใหม่เอี่ยมคือเรือELINTชื่อ Marjata หน้าตาประมาณนี้
อันนี้เรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำของเขา แต่อะไรอยู่บนหลังคาเอ่ย
เพราะฉะนั้นเรือเร็วโจมตีหน้าตาสุดล้ำของเขาจึงมีข้อมูลค่อนข้างแน่นในการตัดสินใจโจมตี และคนที่สั่งโจมตีก็คือคนในศูนย์บัญชาการ โดยใช้เรือเป็นแขนขาเท่านั้น
เรดาร์เป็นสิ่งสำคัญมากที่สุดสำหรับเรือ และยิ่งเป็นเรือรบยิ่งสำคัญมากขึ้นทวีคูณ หันมาดูกองทัพเรือไทยบ้างก็จะเห็นว่าเราเทียบกับเขาไม่ได้เลย เรดาร์บนบกที่ทันสมัยหน่อยก็มีkronosที่เพิ่งสั่งซื้อมาใหม่และมีระยะตรวจจับไกลสุดที่180กม.เท่าAMB จะหวังพึ่งเอแวคขนาดเล็กเพียง2ลำคงลำบากแสนสาหัส ให้เขาไปคอยช่วยเหลือกริเพนดีกว่าไหมครับ
ถ้าแค่เรือตรวจการณ์ถึงขั้นติดตั้ง sea giraffe แบบที่ท่าน superboy ว่า ผมคงได้ฝันไกลกว่านั้นเยอะล่ะครับ ฝันเห็นว่าเอาเบาะๆมีท่อ Exls มา 4 ท่อยิง ติดตั้ง sea ceptor 16 ลูก ใช้ update module ส่งข้อมูลให้ลูกจรวดตลอดเวลาได้โดยไม่ต้องใช้ FCR เพราะ ยีราฟทะเลมี update rate พอเพียง ระยะยิง 25 km. หึ หึ หึ ไกลกว่าฟรีเกตหลายรุ่นในย่านนี้เลย
ถ้าฝันไกลแบบที่ท่าน TWG ได้ยินเรื่องงบขนาด 5-6 พันล้าน แบบว่าตัวเรือ ประมาณ 2000 ล้าน เกือบ 4000 ล้านบาท นี่ ราคาการ upgrade เรือชั้นนเรศวรเลยนี่นา ดังนั้นฝันไกลมากๆ แบบว่ามี ceros 200 มาให้ด้วย พร้อม VLS mk-41 8 cell ใช้ได้ทั้ง ESSM RAM block2 แถมยังมี ciws ที่เรือชั้นนเรศวรไม่มี ว้าว ว้าว
เอาเข้าจริง งบเหลือ 3000 ล้าน ฮา 555555 ได้ แค่ปืน 76 mm ติด sea giraffe มาให้ดูต่างหน้าเล่น แป๋ววววว...
ปล. รล.กระบี่ใช้งบทั้งหมดราวๆ 2,800 - 2,900 ล้านบาทนะถ้าผมจำไม่ผิด รวมระบบอาวุธและระบบตรวจจับครบแล้ว
AMBสเป็กไม่สุงเลยนะครับท่านนีโอ สิงคโปร์เอาติดบนเรือเร็วโจมตีของเขาตั้งนานแล้ว ที่ผมเอาตัวนี้มาพูดเพราะมันกลายเป็นเรดาร์สามัญของกองทัพเรือไปแล้ว(เหมือน76/62 และ DS-30M) แต่ถ้าไม่ติดจรวดใช้เรดาร์ thales variant เหมือนเดิมดีที่สุด นอกจากจะเปลี่ยนระบบอำนวยการรบด้วยอันนี้ไม่ว่ากัน
งบประมาณ6000ล้านต่อเรือหลวงกระบี่ได้2ลำ งบประมาณ6000ล้านต่อเรือหลวงปัตตานีได้4ลำ กองทัพเรือกำลังจะทำอะไรกันแน่เรือฟริเกตเล็กหรือเรือตรวจการณ์ใหญ่
อะไรมันเป็น ความมุ่งหมายหลักของ ทร ใน โครงการ นี้ครับ ระหว่าง จัดหา เรือ opv ให้มีจำนวนเพียงพอกับการใช้งาน กับ เพิ่มความสามารถในการต่อเรือ เพราะ เรือ opv ลำนี้ลำเดียว ก็ ต่อ กระบี่ได้ สองลำ หรือ ปัตตานี 4 ลำ ซึ่ง ทรมีความต้องการเรือ opv 6 ลำ ตอนนี้มีแล้ว สาม ยังขาดอีกสาม
ฝันสำหรับท่านที่ชอบสเปกของ THALES + SUMSUNG แบบว่า TACTICOS + Smart-S + stir1.2 อาจจะมี K-VLS สำหรับ K-SAAM ระยะยิงพอกันกับ RAM block2 seacpetor MICA-VL ก็อารมณ์ประมาณ Khareef class ได้มั๊ง เขาบอกว่าเป็น corvette แต่ผมว่าฟรีเกตมีหนาวใจเลยถ้าสเปกขนาดนี้
ปล. ทำให้นึกถึงรูปที่เพื่อนๆ TFC วาดลงเอาไว้แล้วผมเอามาดัดแปลงเอา SAAB ยกชุดมาแปะใส่ อารมณ์พวกชอบ SAAB นิยมสาวสวีเดน
ปล, 2 สำหรับสมัย 20 ปีที่แล้ว sea giraffe AMB นี่เป็นอะไรที่ร้อง อื้อหือ แล้วครับท่าน superboy แต่ผ่านมานานขนาดนั้นแล้ว ก็กลายเป็นสเปกธรรมดาสามัญ เรือ corvette สมัยนี้ก็ใหญ่ขึ้นมาเท่าตัว สเปกดีกว่าเรือฟรีเกต type 21 ที่ไปรบฟอร์คแลนด์เยอะเลบ แค่ krareef class corvette ก็ดีกว่า ลิเกียวไปซะแล้ว
ปล. 3 ปกติระบบในเรือตรวจการณ์ของ ทร.ไทยมักนิยมของ THALES แต่ระยะหลังผมเริ่มคิดเหมือนท่าน superboy ว่า ทร. อาจจะเปลี่ยนใจไปรักชอบ SAAB แทนซะแล้วหรือเปล่า ท่าทางจะมายกกองเรือแบบนี้
ปล. 5 สำหรับเทรนเรือ OPV ในหลายๆประเทส เช่นมาเลย์ ทั้งสองชั้น มันเป็นสเปกเรือ corvette ครับ แต่ MEKO A-100 กลับติดมาแค่ ปืน 76 mm 30 mm มาเท่านั้น แต่มีการเตรียมพร้อมในส่วนของพื้นที่ให้สามารถ upgrade โป้งเดียว ลิเกียวสะดุ้ฝเฮือก ส่วนที่ต่อจากเกาหลี จากราคาที่ทำกับ DSME ผมว่าระบบอาวุธและระบบตรวจจับอาจจะมาครบในการซื้อครั้งนี้เลย ซึ่งมันไม่ใช่ OPV แล้วล่ะครับ เพราะมันคือ corvette
ก็เหมือนเรือชั้นปัตตานี สเปกเรือ corvette type 056 แต่เอามาทำ OPV และตอนนี้คาดว่าหลังจบการ upgrade เรือชั้นนเรศวร ก็จะติดตั้ง ฮาร์พูนแล้ว ซึ่งประสิทธิภาพก็ไม่ใช่เรือตรวจการณ์อีกต่อไป แต่กลายเป็น corvette แทน
ก็คงเพราะการแข่งขันสะสมอาวุธกัน สเปกเดิมก็เลยต้องเปลี่ยน
ปล. 6 ราคา MEKO A-100 ตอนต่อมาจากเยอรมันถ้าจำไม่ผิดตกลำละ 6-7 พันล้านบาททีเดียว แต่ค่าเงินอ่อนกว่าตอนนี้ ทร.มาเลย์ได้มาแค่ ปืน 76 mm 30 mm กับระบบเรด้าร์ที่แย่กว่า sea giraffe ของเยอรมันนี่แพงได้ใจจริงๆ
ผมเสนอน่ะครับ เพื่อให้มั่นใจว่าเรือตรวจการณ์สามารถติดอาวุธเป็นเรือฟริเกตได้จริง ก็ต่อเลย2 ลำ เป็นตรวจการณ์ 1 และเป็นฟริเกต 1 ติดอาวุธเต็มตามที่ออกแบบ
ส่วนเหล็กที่ใช้ต่อเรือก็ใช้เกรดเรือรบไปเลยครับ แพงกว่าเกรดเรือทั่วไปแต่ผมว่าคุ้มน่ะ
สำหรับเรือ MSC ของมาเลย์ จากเวปของมาเลยเซียดีเฟนด์ เขาคาดการกันว่าราคาประมาณ 600 ริงกิตต่อลำ หรือ ประมาณ 6,000 ล้านบาทไทยต่อลำ ซึ่งเป็นราคาต่อลำของเรือ กระบี่ mod ลำนี้ที่ท่าน TWG ได้ข่าวมา
ลิ้งค์ http://www.malaysiandefence.com/?p=5246
Analysis
Although DSME only signed with the local agent, basically the deal is already a foregone conclusion. I believed the formal contract will be signed once the 11th Malaysian Plan is codified next June and a show contract signing will be held at DSA 16. The only questions remaining are how much is the cost of the project and the systems to be installed on the vessels. My guess-timate that each ship will cost around RM600 million inclusive of the sensors and weapons. The system and weapons fit will most likely mirror the LCS including the vDS. The gun will be a Oto Melara 76mm gun however. As for the combat system, DCNS I presumed will want to supply the SETIS CMS bound for the LCS. However I am pretty sure DSME will also want their own CMS installed – probably a Samsung/Thales one – which is of course a variant of the Tacticos.
ตามความคิดผมนะ ผมเดาว่า ก็คงเพราะโครงการจัดหาเรือ corvette 16 ลำของทร.มาเลย์เพื่อทดแทนเรือ FAC ตามกระทู้ของท่าน superboy เองนี่แหล่ะครับที่กระตุ้นเรา และข่าวการ upgrade เรือ MEKO A-100 ให้ติดตั้งทั้ง RAM และ NSM มันก็เลยมีความจำเป็นสำหรับเราที่จะต้องดิ้นรน
ตกลงโครงการ OPV 27 ลำของเขานี่จะเปลี่ยนเป็น คอร์เวต 16 ลำแทนไปแล้วหรือ สงสัยโครงการ OPV 9 ลำ ของเราเองคงต้องทบทวนใหม่แน่นอน หรือเพราะการแข่งขันและภัยคุกคามจากจีนจึงทำให้มาเลย์ต้องเปลี่ยนชนิดเรือจาก OPV ไปเป็น corvette ที่มีอำนาจการยิงสูงพอๆกับเรือฟรีเกตเบา เราจึงต้องดิ้นรนตาม
ถ้ายึดตามจำนวนที่เขาจัดหา เรือกระบี่ mod ชุดนี้คงได้จัดสร้างมาไม่น้อยกว่า 10 ลำสำหรับทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ว่าแต่ 6000 ล้านต่อลำนี่ ทร.ไทยขอให้ได้สเปกระดับเรือนเรศวรไปเลยนะครับ อย่างขั้นต่ำน่าจะประมาณ MEKO A-100 ของเขา สำหรับเขาได้ MSC จาก DSME 1800 ตัน 6 ลำ ตกลำละ 6000 ล้าน ก็ 36,000 ล้านบาท ไม่มี SAM มาให้ และตกลงว่าเรือ MSC ของเขามีโซน่าร์หรือไม่มีกันแน่ สับสนครับ เพราะถ้าเรือของเขามีโซน่าร์หัวเรือมาให้ เรือใหม่ของเราก็ควรต้องมี และควรต้องรองรับ ฮ. แบบ super lynx 300 ได้ด้วย เพราะเรือของเขาก็รองรับ MH-60 R และ super lynx 300 ได้เช่นเดียวกัน
เอ.....ชักเริ่มคิดว่ามันจะกลายเป็นเรือชั้นนเรศวรย่อส่วนไปซะแล้วนะ ถ้าคิดจะตามกองเรือมาเลย์ อ้าววว เราเป็นฝ่ายตามตูดเขาไปตั้งแต่เมื่อไหร่นี่
40ปีก่อนเรือขนาด2,000ตันถือเป็นเรือฟริเกต เรือขนาด3,000ตันถือเป็นเรือพิฆาต และเรือขนาด1,000ตันถือเป็นเรือคอร์เวต ปัจจุบันต้องเอา3คูณเข้าไปแล้วกระมังครับ ไม่ใช่เฉพาะเรือแบบใดแบบเดียว
ท่านนีโอพูดถึง Type 21 แล้วผมขอแก้ตัวแทนหน่อยพร้อมโยงมาที่เรือของเราด้วย แตะของรักของหวงได้ยังไงเนี่ย สเป็กเรือบนกระดาษมันดีมากเลยนะ เปลี่ยนเครื่องยนต์จากระบบไอน้ำใช้มือจุดไฟมาเป็นแก๊สเทอร์ไบแล้วด้วย ตอนออกรบก็ไม่ได้แย่อะไรทำผลงานได้ดีพอตัวเท่าที่อาวุธตัวเองมีอยู่ เพียงแต่ว่าอังกฤษต้องการสร้างในราคาถูกจึงลดสเป็กการก่อสร้างโดยใช้วัสดุไม่ดีเท่าไหร่ ทำเรือให้ติดไฟง่ายจนสุดท้ายกลายเป็นต้องสละเรือทิ้ง ขณะเดียวกันก็ยังดันทุรังใส่จรวดซีแคทไว้ป้องกันตัวซึ่งมันไร้ค่าโดยสิ้นเชิง เรดาร์ก็รุ่นประหยัดระบบเป้าลวงก็นะ ถ้าในตอนนั้นได้ซีวูลฟ์น่่าจะยิงเครื่องบินอาเจนได้มากกว่านี้ไม่ใช่โดนรุมทิ้งระเบิดจนงอมพระราม
จะเห็นได้นะครับว่าถ้าเรามีเรือรบที่ต่อขึ้นมาโดยไม่ได้มาตราฐานเรือรบจริงๆ ขณะเดียวกันก็ยังติดอาวุธและอุปกรณืในการป้องกันตัวไม่ดีพอหรือว่าเก่าโบราณตกยุคสมัย เมื่อเข้าไปในสนามรบแทนที่จะมีประโยชน์กลายเป็นตัวแถมลำบากชาวบ้านชาวช่อง โยงเข้ามาที่เรือOPVของเราที่กำลังพุดถึง ถ้าฝืนติดจรวดฮาร์พูนเข้าไปเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันตัวเช่น ระบบอาวุธต่อสู้อากาศยาน CIWS เป้าลวง ระบบสงครามอิเลคทรอนิคECM ESM และโซนาร์ เมื่อเข้าสนามรบคุณจะจมเป็นลำแรก ที่เขียนหมายถึงควรจะมีทั้งหมด แต่ถ้าไม่ไหวก็ควรจะได้ซัก80เปอร์เซนต์เอ้า
เรือชั้น Khareef class ผมว่าสวยและน่าใช้กว่าชั้นกระบี่น่ะครับ และเป็นเรือจาก BAE เหมือนกัน ทร. อาจจะต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งแบบเรือกระบี่สัก 2 ลำ และแบบ Khareef class (ที่ติดอาวุธแค่ปืน) เป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งสัก 2 ลำ ไว้เวลาต้องไปปฏิบัติการไกลมากๆ เช่น ปราบโจรสลัดโซมาเลีย เป็นต้น
ส่วนเรือฟริเกตเบา เรือ Khareef class ผมก็ชอบเพราะดูว่ามันต่อเนื่องจากเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง แบบจะไม่มากเกินไป ซ่อมบำรุงก็ไม่เปลือง แค่ติดอาวุธให้ครบ ที่จะติงคือ น่าจะเพิ่มโซนาหัวเรือ กับตอปิโด ไว้ต่อสู้เรือดำน้ำ และ CIW สัก 1 ระบบ จะทำให้ เรือ Khareef class เป็นเรือรบที่ครบเครื่องมากๆ เลยครับ เผลอๆจะน่ากลัวกว่าเรือฟริเกตสมรรถนะสูงที่กำลังต่อจากเกาหลีด้วย (กรณีไม่มี SM2 ไม่เพิ่ม MK41 เป็น 2 ชุด)
ศักยภาพคนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลกครับ
ผมลองนึกๆดู เรือหลวงที่ต่อในเมืองไทยนี่ก็ยอดเยี่ยมแล้ว เกิดได้ถูกติดตั้ง CMS ของไทยอย่าง TIRA อีก
จะน่าภาคภูมิใจขนาดไหน
โธ่ ท่าน rayong แซวแรงนะนี่ 555555 ...... อย่าไปว่าเขาน่า
ตัวอย่างเรือที่เป็นแบบท่าน superboy กล่าว ก็น่าจะใกล้ๆเรือชั้นปัตตานี ถ้าตัดสินใจจะให้มันเป็น คอร์เวต หรือฟรีเกตเบาในภายหลังได้ ผมว่าควรทำแบบจีนที่ตัดโรงเก็บฮ. ออกไปเลย แล้วจัดการพื้นที่บนดาดฟ้าเรือใหม่ ออกรุ่นต่างๆ 3-4 รุ่น แบบ type 056 ไปเลยดีกว่า เพราะสภาพแบบนี้มันครึ่งๆกลางๆ จะเรือตรวจการณ์ก็ไม่ใช่ จะคอร์เวตก็ไม่ใช่ จะฟรีเกตก็ไม่ใช่
ส่วนเรือกระบี่นั้น มาถึงตรวนี้ก็รู้แล้วว่ามันเรือทดลองต่อเพื่อหาความรู้ความชำนาญ และมันก็เป็นแค่ OPV แบบเต็มตัวไม่ครึ่งๆกลางๆ
จริง เรา ไม่น่าตามแนวคิดมาเลย์มาแต่แรกในเรื่องจัดหา OPV จำนวนมากเลย เพราะตอนนี้ภัยคุกคามแสดงให้เห็นว่ามันสมรรถนะไม่พอและกลายเป็นไม่คุ้มค่าไป แต่มาเลย์เขาตัดสินใจเอาเรือคอร์เวตมาเป็น OPV พอภัยคุกคามสูงมาก ก็สามารถแปลงกายได้ดีทีเดียว ชั่งมันเถอะครับต่อออกมาใช้แค่ 3 ลำเอง
ผมมองว่าเหตุผลที่ ทร และหลายๆชาติ เลือก opv เพราะ ราคามันถูก และค่าปฎิบัติการต่ำ สามารถออกทะเลได้บ่อยๆ ไม่เปลือง ส่วนเรือรบ แท้ๆ ก็จะ เป็น สิงเฝ้าท่า ไป คือ จะออกก็เพื่อฝึก หรือ มีข้อพิพาศ หนักๆ ค่อยออก
งานประมาณ ไล่จับเรือ ประมง น้ำมันเถื่อน เฝ้าแท่นขุดเจาะ ตรวจเรือ พานิช ไล่เรือ ล่าสมบัติ จะเอา opv ออกแทน
ทีนี้หากเอา opv มาแปลงโฉม อย่างที่ท่านๆ ว่า มันจะตอบโจทย์หรือเปล่า??
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งมีความสำคัญต่อกองทัพเรือต่างๆ อย่างไร? |
|
ปัจจุบันทุกประเทศต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสิ่งแวดล้อม และการปกป้องคุ้มครองรักษาผลประโยชน์ ของชาติทางทะเลมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเขตเศรษฐกิจจำเพาะที่ห่างออกไปถึง ๒๐๐ ไมล์ทะเล ทำให้กองทัพเรือต่างๆ ทั่ว โลกหันมาพัฒนาเรือรบแบบใหม่ สำหรับใช้ในการลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเล ที่เรียกว่า เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ซึ่งสามารถ ทำการลาดตระเวนในน่านน้ำเขตเศรษฐกิจจำเพาะได้เป็นเวลานาน และด้วยภารกิจที่ต้องอยู่ในทะเลเป็นเวลานานๆ นี้เอง ทำให้ เรือประเภทนี้ ต้องมีขนาดที่ใหญ่เพียงพอ โดยปกติแล้วจะมีขนาดระวางขับน้ำมากกว่า ๗๐๐ ตันขึ้นไป เพื่อให้มีคุณลักษณะทาง ด้านระยะปฏิบัติการ และความคงทนทะเลเพียงพอต่อการลาดตระเวนในเขตทะเลลึก ที่ห่างไกลจากชายฝั่งมากขึ้น |
|
ทั้งนี้ กองทัพเรือใดที่มีพื้นที่ปฏิบัติงานในเขตแลตติจูดสูงๆ (ทั้งเหนือและใต้เส้นศูนย์สูตร) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความ สูงคลื่นมากกว่าที่อื่น ยิ่งต้องการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น ไปอีก ดังเช่น ประเทศอินเดีย มีพื้นที่ปฏิบัติการ ในทะเลที่มีคลื่นลมจัดมาก เรือ OPV ของอินเดีย จึงมีขนาดใหญ่ระวางขับน้ำมากกว่า ๒,๐๐๐ ตัน เป็นต้น เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง มักจะเป็นเรือที่สร้างขึ้นโดยใช้มาตรฐานของพลเรือน (Commercial Standard) และมีความเร็วต่ำกว่าเรือคอร์เวต และเรือ ฟริเกต (โดยทั่วไปมีความเร็วประมาณ ๒๐ นอต) อย่างไรก็ตาม ประเทศส่วนใหญ่จะสร้างเรือ OPV โดยให้มีการคำนวณน้ำหนัก และเนื้อที่เผื่อไว้สำหรับการติดตั้งอาวุธเพิ่มเติมในอนาคต เรือ OPV เหล่านี้มักจะสร้างให้มีตัวเรือและระบบรองรับการกระเทือน ตามมาตรฐานของกองทัพเรือด้วย ตามปกติเรือ OPV จะติดตั้งอาวุธขนาดเบา หรือปืนเรือขนาดกลาง (Medium-sized Gun) แต่ก็มีบางครั้งในยามสงครามอาจติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถี พื้น-สู่-พื้น หรืออาวุธปราบเรือดำน้ำเพิ่มเติมได้ เรือ OPV รุ่นใหม่ๆ ที่มี การสร้างกันปัจจุบันมักติดตั้งดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์ และโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการลาดตระเวน ด้วยความหมายของเรือ OPV ตามที่กล่าวไปแล้ว ทำให้มองเห็นได้ว่า การออกแบบตัวเรือสำหรับเรือคอร์เวตและเรือ OPV นั้นไม่มีอะไรแตกต่างกัน แต่สิ่งที่แตกต่างกันจะเป็นเรื่องระบบขับเคลื่อน และการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อใช้งาน เรือ OPV มีความเร็ว ที่ต่ำกว่า อาวุธน้อยกว่า มีเนื้อที่สำหรับเก็บเสบียงและการใช้สอยที่สะดวกสบายกว่า ทำให้มีระยะปฏิบัติการไกลและอยู่ใน ทะเลได้นานขึ้น |
ภารกิจโดยทั่วไปของเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง |
|
โดยทั่วไปกองทัพเรือประเทศต่างๆ จะกำหนดภารกิจให้กับเรือ OPV ดังนี้ |
|
ภารกิจหลัก |
|
- | ลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเล เฝ้าตรวจ และเข้าแก้ไขเหตุการณ์ต่างๆ |
- | คุ้มครองและป้องกันทรัพยากรและสิ่งก่อสร้างในทะเลระยะไกลฝั่ง |
- | ลาดตระเวนตรวจการณ์ และ เฝ้าตรวจพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะทางทะเล |
- | การอวดธง/การปรากฏตัวของประเทศ |
- | เข้าร่วมในการฝึกระหว่างประเทศ |
ภารกิจรอง |
|
- | เป็นเรือฝึก |
- | การบรรเทาภัยพิบัติ รวมทั้ง การอพยพประชาชนฉุกเฉินและทางสายการแพทย์ |
- | การค้นหาและช่วยชีวิต |
- | การรวบรวมข้อมูลด้านสภาพแวดล้อม |
- | การควบคุมมลภาวะ |
ข้อมูล ของ กองทัพเรือ ครับ
ผมขอโม้ต่อแล้วกันนะครับ ที่ท่านrayong เอาเรือ Khareef มาเทียบกับเรือDSMEผมว่ามันไม่ตรงเท่าไหร่ ในภาระกิจตรวจการณ์มีค่าใช้จ่ายถูกกว่าใช่ครับ แต่ถ้าในภาระกิจเรือรบKhareefสู้ไม่ได้เลย
เรือของเราติดเอาแค่จรวด ESSM ก็ยิงได้ไกล50กม.โดยมีเรดาร์ควบคุมการยิงคอยนำทาง ส่วนเรือ Khareef มีแค่จรวด VL-Micra ระยะยิง10กม.นำวิถีด้วยตัวเองซึ่งโดนแจมง่ายกว่า ถ้าจะทำให้เรือเขาเท่าเรือเราจะต้องใส่MK-41เข้าไปพร้อมFCS จำนวน2ตัวหน้า-หลัง และจะต้องติดเรดาร์ตรวจการณ์ระยะไกลแบบ3มิติเข้าไปด้วย ซึ่งไม่มีทางทำได้เพราะไม่มีจุดติดตั้ง เพราะฉะนั้นการป้องกันภัยทางอากาศแพ้ขาด
อาวุธต่อสู้เรือรบให้ยัดเท่ากัน8ลูกแต่เรดาร์LRRเรามีระยะตรวจจับไกลกว่าก็มีเวลาตัดสินใจนานกว่าอยู่ดี ส่วนเรื่องการป้องกันภัยทางใต้น้ำยิ่งห่างชั้นเข้าไปใหญ่ เรือเราติดโซนาร์หัวเรือตัวใหญ่รุ่น Atlas Elektronik DSQS-24C โดยส่วนตัวคิดว่าเรือKhareefติดไม่ไหวแต่ถ้าจะฝืนยัดเข้าไปก็คงได้ ปัญหาที่ตามมาของการติดระบบใหญ่บนเรือเล็กก็คือ เมื่อเปิดโซนาร์เรือจะสั่นมากจนถึงมากที่สุด ส่งผลถึงความเสถียรของเรือและรบกวนการทำงานระบบอื่นๆด้วย ยิ่งเปิดนานยิ่งกินไฟและร้อนมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้เรือยังมีเสียงดังมากขึ้นกว่าเดิมทำให้เรือดำน้ำจับสัญญานได้ง่ายมากขึ้น วิธีแก้คือใส่ของที่พอดีกับตัว ส่วนของที่เรามีแต่เขาติดไม่ได้ก็คือ Atlas Elektronik ACTAS ท้ายเรือซึ่งมีทั้ง Towed array กับ VDSในตัวเอง นอกจากนี้ยังมีระบบ datalinkเชื่อมโยงกับเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำขนาด10ตันและASW Suite ด้วย ระบบ3ตัวหลังนี่ผมว่าราคาปาเข้าไปที่40-50ล้านเหรียญแล้วนะ ยิ่งถ้าdatalinkเป็น Hawklink AN/SRQ-4ก็จะยิ่งดีและแพงเข้าไปอีก หวังว่าของเราจะได้ตัวนี้มานะครับ (เป็นของอเมริกาครับจากผมติ่งอิตาลี)
ปัญหาต่อมาเป็นปัญหาใหญ่สุดของการทำสงครามยุคนี้ก็คือ Khareef มีขนาดเล็กเกินไปที่จะออกปฎิบัติการณ์ทะเลลึก ยกตัวอย่างที่เรือType21ในสงครามฟอร์คแลนด์ปี1982อีกครั้ง เรือขนาด3,000ตันชั้นนี้ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการเข้าร่วมขบวนไล่ล่าเรือดำน้ำกลางมหาสมุทร เพราะเรือมีขนาดเล็กเกินไปสู้คลื่นแรงๆไม่ดี การบินขึ้นลงของของเฮลิคอปเตอร์ก็มีปัญหาพอสมควรเกือบตกไปหลายหน อีกทั้งยังต้องเติมน้ำมันก่อนเพื่อนทำให้ทั้งขบวนต้องช้าไปด้วยอย่างเสียมิได้ ยิงเรือดำน้ำรุ่นใหม่มีAIPแล้วเรือผิวน้ำที่ไล่ล่ายิ่งต้องลำใหญ่มากขึ้นทวีคูณเพื่อเอาปริมาณเข้ามาสู้ Khareefก็ยิ่งไม่เหมาะสมที่จะเข้าพื้นที่ทำการรบ เพราะเรือจะจมเป็นลำแรกสุดขึ้นอยู่กับระยะเวลาเท่านั้น วิธีการแก้คือเกาะติดเรือลำใหญ่เข้าไว้แบบเหาฉลาม ภาระของเพื่อนร่วมขบวนแท้ๆ
อาวุธและอุปกรณ์ต่างบนในยุคเดียวกัน ขนาดที่ใหญ่กว่าย่อมมีประสิทธิภาพสุงกว่าและมีค่าตัวกับค่าใช้จ่ายมากกว่าเสมอ Khareef ทำแบบเรือเราไม่ได้เลยในภาระกิจรบจริง แต่ถ้าภาระกิจตบเด็กเกรียนหรือโจรสลัดโอเคใช่จัดไป เพราะฉะนั้นเราใช้เรือให้ตรงกับคุณสมบัติของเขาจะดีที่สุดครับ
ถ้า OPV2 ได้งบ 6 พันล้านจริง มีทั้งจรวด ESM ทร.อาจจะเอาเจ้านี้ด้วยหรือเปล่า เราอาจจะเห็นภาพ Combat OPV แบบจัดเต็มในทร.ไทยก็ได้ เห็นรูปแผนที่ในวีดีโอก็เป็นแถวๆนี้ซะด้วย
ภาระกิจตบเด็กเกรียน...5555....กร๊ากกก มุขนี้ผมขอเอาไปใช้กับลูกๆได้ป่าวครับท่าน superboy แบบว่ามันแจ่มมาก...5555...
คอร์เวตเหมาะเอาไว้เฝ้าบ้านและเขตเศรษบกิจ แต่จะเข้ารบกับเรือพวกเรือเร็วโจมตี เรือคอร์เวต ฟรีเกตข้าศึกที่ติดตั้งอาวุธหนักกว่า OPV หรือร่วมขบวนเรือเพื่อรับมือกองเรือรบข้าศึกที่เข้ามาใกล้แนวเขตเศรษฐกิจทางทะเลของเรามากกว่าออกไปสุ้กันในมหาสมุทรกว้างๆ พูดง่ายๆคือ เป็นเรือรบหลักที่เอาไว้เฝ้าบ้าน
ส่วน OPv มันติดตั้งระบบอาวุธระบบตรวจจับเบากว่าเยอะ ไว้ไล่ตีหัวโจรสลัด พวกก่อการร้าย เรือขนของหนีภาษี แบบว่าทำหน้าที่ตำรวจในทะเลเขตเศรษฐกิจของเรา ถ้าเจอเรือคอร์เวต เรือเร็วอาวุธนำวิถีทันสมัยมากๆ มีเผ่นเหมือนกัน
กรณีมาเลย์ชัดเจนครับว่า เขาต้องเจอกับยักษ์ใหญ่ ดังนั้นไอ้ที่โผล่มากวนเขตเศรษฐกิจของเขาคงไม่ใช่เรือโจรสลัดแน่นอน หนักกว่านั้นเยอะ ดังนั้นการที่เขาเอา คอร์เวตมาทำ OPV น่ะถูกต้องแล้วครับ คิดเผื่อไว้น่ะถูกต้องเลย มาวันนี้ได้ใช้งานในฐานะคอร์เวตให้สมน้ำสมเนื้อกับภัยคุกคาม
ส่วนเรา ต้องถามตัวเองว่าจะเอายังไงครับ จะมี OPv ไว้รักษาเขตเศรษฐกิจทางทะเล หรือ จะเอาคอร์เวตมาถ่วงดุลเพื่อนบ้านที่กองเรือสำหรับรบจริงนั้นมีการขยายใหญ่โตอย่างรวดเร็ว ทั้งพม่า ทั้งมาเลย์ เงินมีจำกัดนะครับต้องเลือก
สำหรับผม ผมเลือกทำแบบมาเลย์ คือ เอา corvette มาทำหน้าที่ OPV แม้ว่ามันจะดูสิ้นเปลืองเกินไปหน่อยตรงที่ราคาเรือที่แพงกว่ากัน 2-3 เท่า ระบบอาวุธมันดีเกินไปสำหรับทำหน้าที่ตำรวจ แต่ก็ทำให้เพื่อนบ้านเกรงใจขึ้นมากเลย เพราะไม่งั้นถ้าเขาจะแหกประตูรั้วบ้านเราเข้ามา OPV คงรับมือไม่ไหวครับ
ส่วนค่าใช้จ่ายการปฏิบัติงานระหว่าง corvette กับ OPV ผมว่าไม่หนีกันมากนัก
แต่การที่จะจัดหาเรือคอร์เวตรวดเดียว 16-20 ลำทหน้าที่ ทั้งตรวจการณ์และรบหลัก มันคงต้องใช้เงินมหาศาลเลย ตัวเลขวิ่งวนแถวๆ 100,000 ล้านบาท! ทีเดียว OPV อาจจะใช้เงินน้อยกว่ามาก อาจจะแค่ 40,000 - 50,000 ล้านบาท แต่คงถ่วงดุลเพื่อนบ้านไม่ไหว เพราะถ้าเขาพังประตุรั้วเข้า เราแย่ครับ
ผมมีแนวคิดว่า ทำไมไม่เรื้อฟื้นเรือจำพวก escord aircraft carrier ราคาถูกๆขึ้นมา ระวาง 7 - 8 พันตัน ยาวสักแค่ 140 - 150 เมตรก็พอ มี arresting gear มี catapluse ขนาดเล็กสัก 1 ชุด ราคาคงไม่แพง มีระบบตรวจจับอย่างดีก็แค่ smart-s หรืออะไรทำนองนั้น มี ciws 2 ชุดพอ ผมว่าราคาก็คงแถวๆคอร์เวตดีๆ 1 ลำเท่านั้น หรือประมาณ รล. อ่างทอง
ปฎิบัติการณ์ด้วยเครื่องบินเบา ด่าใช้จ่ายต่ำๆ แบบพวก yak-133 IB (ถ้ามีการผลิตขึ้นมา เพราะมีรุ่นใช้งานบนเรือบรรทุกบ.ด้วย) หรือ supertucano หรือ อะไรก็ได้ที่แบกพวกจรวด เพนกวิน มาเวอริครุ่นใช้งานต่อตีเรือรบ อะไรทำนองนั้น แล้วจัดหาคอร์เวตมาคุ้มกันมันแค่ 4 - 6 ลำก็พอ เอาไว้รับมือพวกเรือคอร์เวต ฟรีเกตเบาทั้งหลายของเพื่อนบ้าน ถ้าเกิดจะยกขโหยงกันมาหมดกองเรือ เพราะเรือพวกนี้ AAW ยังด้อยกว่าฟรีเกตเต็มตัวมาก
แนวๆพวก CVE แบบ aventure หรือ audacity ที่บรรทุกเครื่องบินแค่ 15-16 เครื่องเท่านั้น และเป็นเครื่องรบขนาดเบา พวก poket carrier นี่เหมาะเฝ้าบ้านมาก ราคาถูกไม่แพง ต่อใช้งานด้วยเวลาไม่นาน สร้างได้ทีละเยอะๆ มีแค่ 1-2 กองเรือ CVE พวกคอร์เวต ฟรีเกตเบา 10-20 ลำนี่คิดหนักพอดูถ้าต้องมาเจอกัน
ส่วนหน้าที่ตรวจการ์ก็จัดหา OPv แท้ๆมาทำหน้าที่ตรวจการณ์ ไล่จับโจรกันไป
หรือให้ ฮ. โจมตีประเภท Ka-52 ประจำบนเรือ CVE ก้ได้ กองเรือเดียวคงทดแทนคอร์เวตได้เป็นสิบกว่าลำ ผมว่าสู้กันได้
ผมเห็นค้านคุณ neo สุดลิ่มทิ่มรูถูเลยครับ
ประเด็นแรก ระหว่าง opv กับ corvette ผมเห็นตามป๋าจูลเลยว่าเอาเรือมาให้ถูกภารกิจดีกว่า มันออกแบบมาให้ optimize มาเพื่อภารกิจนั้นๆ
การเอาคอร์เวตมาใช้ในการรักษากฏหมายทงาทะเลก็อารมณ์เหมือนเอารถถังมาให้ตำรวจจับโจร แข็งแรงกว่ารถตำรวจ อำนาจการยิงสูง แต่จับโจรหรือคนทำผิดกดหมายแต่ควบคุมตัวไม่ได้เพราะไม่มีที่ในรถ
อย่างที่ป๋าจูลยกมาก็เป็นตัวอย่าง เช่นโอพีวีออกแบบมาให้เก็บเสบียงและใช้สอยได้สะดวกสะบายกว่าเพื่อให้อยู่ในทะลและระยะปฏิบัติการมากขึ้น
ส่วนที่บอกเราต้องเลือกซักอย่างเพราะตังไม่พอ ผมว่าไม่เลือกก็ไม่พอครับ ลำพังต่อโอพีวีให้ได้ครบที่ต้องการยังหืดจับ ถ้าจะเปลี่ยนเป็นคอร์เว็ตคงหมดหวัง หรือถ้าไม่เอาเงินมาเป็นประเด็นงั้นขอเป็นฟริเกตจำนวนมากแทนเลยดีกว่าครับ ไม่ต้องปรับปรุงเวลามีภัยคุกคามด้วย โหดมาเต็มแต่แรก
ประเด็นสอง เรื่องการย้อนยุคเอา escort aircraft carrier มาใช้ ผมว่าของที่มันจะตกยุคหมดคุณค่าทางยุทธการ/ยุทธศาสตร์ มันก็มีเหตุครับ ถ้ามันดีจริงแล้วสามารถตอบโจทย์ได้มันไม่ศูนย์พันธุ์หรอกครับ
เรือขนเครื่องบินแบบเบๆ มีแค่ ciws สองตัวผมว่ามาล่อเป้าดีๆนี่เอง ผมว่าคุณ neo ตีราคาต่ำไปครับ ไม่ได้นับรวมราคาเครื่องบินเลย ซึ่งถ้าเป็นเครื่อง yak สิบกว่าเครื่องราคาคอมเซ็ปท์ เรือขนบ.เบา+คอร์เว็ตคุ้มกัน 4-6 ลำ ราคาจะแพงกว่าคอร์เว็ต10ลำเอานะครับ ความยืดหยุ่นหรืออเนกประสงค์ก็น้อยกว่า ไปไหนต้องไปเป็นกอง อีกย่างเรือคอร์เว็ตข้าศึกระบบ aaw ไม่ดีก็จริงแต่กองเรือเราก็หน่อมแน้มพอกัน เพราะใช้คอร์เว็ตเหมือนกันแถมยังมีตัวถ่วงเป็นเรือขนเครื่องบินช้าๆล่อเป้าอีก คอนเซ็ปท์นี้จะจะมีประโยชน์ก็สำหรับโจมตีทางบกมากกว่า สนับสนุนทางอากาศใกล้ชิด หรืออาจะใช้ได้แบบเฉพาะกรณีข้าศึกมีแต่คอร์เว็ต เพราะถ้าเจอฟริเกตดีๆซํกลำทั้งกองเรือจะตายก่อน เพราะระยะตรวจจับก็สู้ไม่ได้ ระบบป้องกันภัยทางอากาศพึ่งไม่ได้ เครื่องบินที่จะออกไปก็ต้องเตรียมโดนสอยอีก ในขณะที่เรือฟริเก็ตที่ระบบป้องกันภัยทางอากาศดีๆก็ยังมีหวังรอดจากการโจมตีจากเครืองบิน หรือฮ.นี่หวานหมูเลย เพราะงั้นการจัดหาอาวุธหรือวางยุทธศาสตร์สำหรับอนาคตต้องมีความยืดหยุ่นพอ ไม่ใช่เอาไว้จัดการหม่าเหลงๆ คนเดียวแต่พอเจอภัยคุกคามที่ต่างออกไปกลายเป็นไร้ประโยชน์
อีกอย่างอนาคตยุทธวิธีแบบ swarm จะอันตรายมากขึ้น มีการนำมาใช้มากขึ้น ผมว่าเทรนด์การสร้างะไรใหญ่ๆแบบล่มทีล่มทั้งกองทัพเป็นอะไรที่เสี่ยงอันตรายเปล่า
ผมเห็นด้วยกับท่าน superboy นะ และขอค้านท่าน neo นิดหนึ่ง ผมมองว่า บ แบบ supertucano ไม่น่าจะเหมาะกับ ไปสู้กับเรือรบที่มีการป้องกันภัยทางอากาศ บินก็ช้า เรือมีระบบป้องกันภัยทางอากาศโดีไม่ได้ โดนสอยเอาง่ายๆ จริงๆ บ แบบ ทูคาโน เอาไปรบกับกองทัพประจำผมว่าโดนสอย เพราะกองทัพประจำมี เรด้าและระบบป้องกันภัยทางอากาศ แต่ถ้ารบกับ ผู้ก่อการร้าย นะได้ เพราะไม่มีระบบป้องกันภัยทาางอากาศ
ผมเห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่า เราสามารถใช้ บ จัดการกับ เรือ รบข้าศึก ได้ แต่ไม่เห็นด้วยกัแนวคิด ต่อเรือ บรรทุกเครื่องบินเบา ถ้าจะใช้แนวคิดนั้นจริงๆ ใช้ บ ทอ บิน ออกจาก ฝั่งดีกว่าครับ ง่ายกว่าถูกกว่าเยอะ ซื้อ กริปเป่นเพิ่มให้ครบฝูง หรือ จะหา f18 มือ 2 มาใช้ก็น่าจะถูกกว่า ต่อเรือบรรทุกเครื่องบินเบา หรือจะจัดหา บ เติมน้ำมันทางอากาศอีกสักลำก็ได้ ก็ยังน่าจะถูกกว่า เพราะผมว่า ถ้าแค่ปกป้อง อ่าวไทย เครื่องบิน บินออกจากฝั่งก็พอ
ผมเข้าใจที่ท่านนีโอพูดมานะเห็นภาพชัดเจนมาก แต่มันไม่ค่อยเหมาะกับเราและยุคสมัยนี้เท่าไหร่ และเทคโนโลยีการต่อเรือมันเดินทางผ่านสงครามโลกครั้งที่1มานานแล้ว ส่วนเรือคอร์เวตผมว่ามันเหมาะกับประเทศที่มีชายฝั่งไม่มากนักเช่นตะวันออกกลางมากกว่า
Escort Aircraft Carrier ระวางขับน้ำ7,000ตันยาว150เมตร ถ้าจะต่อใหม่ด้วยมาตราฐานเรือรบเป็นไปไม่ได้เลยครับ เพราะเรือหลวงจักรีที่เป็น Offshore Patrol Helicopter Carriers ติดสกีจัมป์ขนาดเล็กที่สุดในโลก ก็ยัง11,000ตันเข้าไปแล้ว ในยุคปี80มีแบบเรือจำพวกนี้ออกมาเป็นจำนวนมากแต่สุดท้ายก็ไม่มีใครต่อขึ้นมาใช้งาน เพราะหลังจากคำนวนดูหลายตลบแล้วมันเสียค่าใช้สุงเกินไปเมื่อเทียบกับผลลัพท์ที่ได้มา อาจจะเป็นเพราะว่าสงครามฟอร์คแลนด์บอกให้รู้ว่าเรือเล็กเกินไปในการรบจริงก็ได้
เรือบรรทุกอากาศยานแท้ๆขนาดเล็กที่สุดที่ผมเคยเห็นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2 ก็น่าจะเป็น Bremen Vulcan HC500PC กระมังครับ ตามชื่อจะมีระวางขับน้ำ5,000ตันแต่ลำจริงคงซัก6,000ตันได้ เป็นญาติแท้ๆกับรุ่นที่กองทัพเรือสั่งสร้างแต่บริษัทล้มละลายไปก่อน ผมคิดอยู่บ่อยๆถ้าเราเริ่มโครงการก่อนซัก2ปีแล้วเลือก HC500PC เลยโดยไม่ต้องติดอาวุธหนัก ป่านนี้เราอาจจะมีเรือแบบนี้2ลำและบริษัท Bremen Vulcan ก็อาจจะไม่ล้มละลาย อยากได้จังเลยเรือเยอรมัน ชอบๆๆๆ
ผมว่าต่อแบบเรือหลวงกระบี่เดิมน่ะดีแล้ว ไม่ต้องไปเปลี่ยนแปลงอะไรเพิ่มมากนัก หากไม่จำเป็นจริงๆ หรือ มีข้อบกพร่องจากเรือชุดกระบี่ เผื่อติดอาวุธเพิ่มในอนาคตไว้สักนิด ผมว่ามันน่าจะเพียงพอและเหมาะสมต่อการดูแลผลประโยชน์ทางทะเลของประเทศไทย เหมาะสมต่อค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการ บำรุงรักษา และค่าใช้จ่ายในการต่อเรือของไทยในขณะนี้ ต่อเพิ่ม OPV ชั้นกระบี่ 3 ลำ และ เรือหลวงชั้นอ่างทอง เพิ่มอีก 1 ลำ (ต่อแค่นี้คิดว่า งบประมาณ 15,000 ล้านบาทน่าจะพอ จะแบ่งต่อปีละลำก็ได้) ส่วนหน้าที่รบหลักควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเรือฟริเกตไป เอาเงินงบประมาณไปทุ่มกับการจัดหาเรือดำน้ำน่าจะดีกว่า
ไปๆมาๆเสปกเรืออารมณ์ลำนี้แหงๆ +ssmอีก 1 ระบบ
โอ้ยยยยย พิมพ์ตอบไปตั้ง 40 นาทีเยอะมากเวลาส่งหายหมด
เอาแบบนี้ตอบทีละสั้นๆหลายความเห็น เซ็ง เรามาสมมุติสถานะการ์เล่นๆกันครับ
เข้าใจแล้วครับในเรือ CVE ผมก็มองแต่เรือ คอร์เวตแต่เพียงอย่างเดียว เพื่อนบ้านมีเรือฟรีเกตหลักประสิทธิภาพดีๆอยู่ด้วย เวลาขนมาก็คงมีเรือฟรีเกตคุ้มกันภัยทางอากาศมาให้ด้วย
เอาล่ะเข้าเรื่อง กรณีเราพิจารณาว่า เราจะเอาเรือที่ตรงภาระกิจมาใช้งานก็แล้วกัน ไปออกแบบเรือ OPV เอาเองมาหนึ่งแบบ กะต่อ 10 ลำ รวมของเก่า 3 ลำ เป้น 13 ลำ เพียงพอตรวจเขคเศรษฐกิจ ไล่จับโจร เรือมีแค่ปืน 76 mm 30 mm อย่างดีก็มี ฮ.ตรวจการ์กู้ภัยราคาไม่แพงอย่าง EC-645 ไปด้วย ราคารวม ฮ. ก็ไม่เกิน 3,000 ล้าน 10 ลำ ก็ 30,000 ล้านบาท ว่าแล้วก็ฝึกกำลังพลเพื่อการนี้โดยเฉพาะ
มาที่มาเลย์ เรือคอร์เวตที่ต่อออกมาแต่เอาไปทำหน้าที่ OPV เปลืองจัง แพงมากเลยแต่ละลำ แค่เอามาไล่จับโจรนี่นะ คนจ่ายภาษีย่นอุบ
แต่จู่ๆภัยคุกคามจากจีนพุ่งปรี๊ดเข้ามาหา เฮ้ยยย เอาไม่อยู่ เอาเรือกลับมาเข้าอู่ด่วน ติดตั้งระบบอาวุธแล้วแปลงร่างกลายเป็นเรือคอร์เวตชั้นดีซะบัดเดี๋ยวนี้ ส่วนพวกลูกเรือชุดนี้ เอ็งไปฝึกการรบแบบเรือรบหลักทันที ณ บัดนาวววว
เมื่อเรือทั้งหมดกำลังพลทั้งหมดพร้อม จู่ๆก็มีสถานะการณ์ขั้นรุ่นแรงและเกิดมีปัญหากับเราขั้นมา สมมุติเล่นๆนะครับ อย่าจริงจัง ว่าแล้วก็เอาเรือฟรีเกตและคอร์เวตรวมกว่า 20 ลำ..! ประกอบกำลังกันมา 2-3 กองเรือ พังประตูรั้วเข้าไปเลยยยย
OPV ไทยที่หน้าด่าน จ๊ากกกก รายงานๆๆๆ มีคนบุก สู้ไม่ไหวกลับบ้านดีกว่า
กองเรือรบหลักของเรา รวมกันสักครึ่งเดียวของเขาได้มั๊งเพราะเงินไม่มี เอาไปซื้อ OPV หมดแล้ว ออกรบด่วน เออ แต่ว่าเขามากันกว่า 20 ลำ ประสิทธิภาพดี ถึง ดีเยี่ยม เอาไงดี....ว่าแล้วก็มองหน้ากันตาปริบๆ ส่วนกองเรือ OPv ไม่กล้าสบตา อย่ามองมาทางนี้ จะเอาผมไปร่วมด้วยคงไม่ไหวมั๊ง เรือก็มาตรฐานพานิชย์ อาวุธก็มีแค่นี้เอง กำลังพลก็ถูกฝึกมาไล่จับโจร ไม่ได้สำหรับออกรบเต็มรูปแบบ พวกคุณเป็นเรือหลัก ประสิทธิภาพดี ไปลุยกันเถอะ
กองเรือรบหลัก มองหน้ากัน เออ.........เอาไงดี......มองไปที่กองเรือ OPV แล้วเกิดรู้สึกเสียดายเงิน กำลังพล และเวลาขึ้นมายังไงก็ไม่รู้
ในสายตาผม สำหรับสถานะการณ์รอบด้านในขณะนี้ เรือ OPV เองก็กลายเป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีความยืดหยุ่นรองรับสถานะการณ์ในปัจจุบันไปแล้ว ใช้ได้ในสถานะการณ์เดียวเช่นกันครับ
เอางี้ดีกว่าไหม กลับไปใหม่ตอนยังไม่ต่อ OPV ทั้ง 10 ลำ
มีคนค้านแนวคิด และไม่เห็นด้วย ทำการสมมุติสถานะการณ์รอบด้านในขณะนี้ขั้นเพื่ออธิบายว่า OPV ไม่ยืดหยุ่นอย่างไร แล้วเสนอว่า
ท่าน ผบ. ครับ ผมว่าเอางี้ไหม เราต่อเรือคอร์เวตชั้นดีไปเลยดีกว่า 5 ลำรวด ฮ. ก็เอา super lynx 300 มาแค่ 5 ลำเช่นกัน ติดอาวุธมาเต็มๆไปเลย มี AAW ดีพอๆกับเรือชั้นนเรศวรไปเลยดีกว่าไหมครับ จะได้ไม่ต้องพึ่งพาเรือฟรีเกตคุ้มกันอีกทีแบบเรือของเขา อย่างน้อยก็ลดความต่างชั้นกันลงไปได้ไม่น้อยเลยนะครับ
คนสนับสนุน OPV ก็ลุกขึ้นพูดทันทีว่า อ้าว แล้วพื้นที่ทางทะเลขนาดนั้น ใช้เรือแค่เท่านี้มันพอตรวจที่ไหนในยามสงบ
คนสนับสนุน corvette พูดสวนทันที แล้วยามสงครามกับเพื่อนบ้านจะทำอย่างไรล่ะ
ผบ. เอามือกุมหัว .......
กลุ่มไม่เข้าข้างใคร ยกมือขั้นขอแสดงความเห็นบ้าง เอางี้ไหมครับ กองเรือตรวจการณ์ทั้งสองฝั่งทะเลนั้น ตั้งแยกออกเป็นหน่วยยามฝั่งไม่ขึ้นกับกองทัพเรือไปเลย เป็นหน่วยงานต่างหาก ให้รัฐบาลจ่ายแทน ส่วนเราก้สงวนเงิน กำลังพล เวลา ไปกับการจัดหาเรือรบหลัก ฝึกคน จะดีกว่าไหมครับ
รัฐบาล ที่เป็นคนออกตังค์นั่งฟังอยู่ข้างๆ สะดุ้งเฮือก เฮ้อ ..... คนจ่ายภาษีด่าตรูอีกแล้วววว
นิยายเรื่อง OPV vs corvette ยังไม่จบนะครับ ขอเข้านอนก่อน ค่อยว่ากันใหม่ในตอนต่อไป
เรื่องสมมุตต่อจากท่าน neosiamese2 เราก็ทำตามแบบในภาพที่ผมวาดไปก็เท่านั้นเอง : D และหลังจากเหตุการณ์ในภาพก็เปิดโอการ ให้จีนเครียร์ปัญหากับมาเล โดยมีOPV ของเรา13ลำ เป็นกองสนับสนุนจีนอยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ แค่นั้นเอง จบนิยาย ฉลับตัดจบของผม //โดนท่านneosiamese2 บีบคอ
อิอิ ล่อเล่นนะครับเชิญต่อเลยครับท่าน neosiamese2
ภาพใหญ่: http://upic.me/i/f4/c5f52.jpg
(ไฟร์ภาพไม่ขึ้นก็ copy ชื่อไฟร์เปิดอ่านเอานะครับ)
เรือ OPV ป๋าจูล ได้ บอกแล้วว่า ให้แยกออกจากเรือ รบ ถ้าแยกแล้วจะเคลียร...
ประโยชน์การใช้งานคืออะไร ถ้าแยกไม่ออกก่อมั่วในด้านความคิดครับ ท่านทั้งหลาย
ต่อมาเยอะๆๆครับ จะได้ ปราบปราม คุ้มกัน ลาดตระเวน ทั่วน่านน้ำ สักที ภาษี ที่หายไป จากการลักลอบ หลีกเลี่บง
นั้นเยอะมากจนต่อเรือได้อีกเยอะแยะจริงๆนะ ฮิๆๆ เอามาสักโหล
เรื่องเรื่อ รบนั้น ใจเย็น รอ อีกหน่อย ต่อใช้เองครับ มีหลากหลายขนาน หลายแบบให้เลือก ไม่ตกใจ ถ้าตามแปลนที่ว่า ( พี่ตุ้มบอกมาครับ) ปล่อยเพื่อนบ้านเขาไปก่อนครับ ต่อให้เขาก่อน ช้าๆๆได้พร้าเล่มงาม
ต้องกลับมามองรับว่าหน้าที่หลักของกองทัพเรือคืออะไร
ควรต่อเรือให้ตามภาระกิจ ไม่ใช่อยากได้เรืออะไร
อะไรสำคัญสุด
โดยส่วนตัวผมคิดว่าเรือมาตราฐานOPVขนาด1,500-1,800ตัน ติด76/62และ30มม.พร้อมลานจอดและโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์(จะแบบไหนก็เถอะ)ก็น่าจะซัก2พันล้านบาท ถึงจะต่อออกมา10ลำก็แค่20,000ล้านบาทไม่ได้แพงเลยเอาไปซื้อเรือคอร์เวตได้ไม่เกิน4ลำ เรือหลวงกระบี่ผมว่าแพงไปนิดจะด้วยว่าแบบเรือแพงหรืออุปกรณ์ เรายังไม่พร้อมทำให้เสียเงินเสียเวลามากขึ้นก็ตามเถอะ
เรือOPVมีประโยชน์มหาศาลก็จริงแต่เราเองก็ไม่ได้ต้องการมากเท่าไหร่ ข้อดีก็คือออกทะเลได้นาน ทนทานกับคลื่นใหญ่และเอาเฮลิคอปเตอร์ไปได้ด้วย ซึ่ง6ลำผมว่าก็เยอะมากเพียงพออยู่แล้ว เพราะในอีกหลายภาระกิจเหลือเกินที่เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งมีความคล่องตัวมากกว่าและค่าใช้จ่ายประหยัดกว่า ตีง่ายๆว่า12กิโลเมตรจากชายฝั่งเราก็ยังต้องใช้เรือเล็กอยู่ดี ราคาเรือM58อยู่ที่700ล้านบาทต่อออกมา10ลำก็แค่7,000ล้าน ถ้าได้ล๊อตหลังนี้มาด้วยจะเป็นแก้ปัญหาที่ตรงจุด บรรดาเรือรบแบบอื่นที่ต้องเอามาลาดตระเวณจับน้ำมันเถื่อนปราบโจรสลัดก็จะได้กลับไปทำหน้าที่ตัวเอง เช่นเรือคอร์เวตชั้นรัตนโกสินทร์ที่ควรจะแสตนบายรอรับภัยคุกคามที่แท้จริง หรือเรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำชั้นคำรณสินธุที่ควรจะคอยตรวจตราบริเวณท่าเรือสำคัญๆว่ามีเรือดำน้ำขนาดเล็กแวะมาเยี่ยมเยียนหรือไม่
เพราะฉะนั้นถ้าเรือมีเรือตรวจการณ์ทั้งไกลฝั่งและใกล้ฝั่งมากเพียงพอต่อความต้องการมันจะแก้ทุกปัญหาในตอนนี้ได้ การฝึกใช้อาวุธและกำลังพลก็จะทำได้ดีมากกว่านี้เพราะเรือได้ทำหน้าที่อย่างถูกต้อง
ที่ท่านนีโอพูดถึงเรื่องคอร์เวตทำหน้าที่ได้ทั้งตรวจการณ์และทำสงครามมันก็จริงอยู่ครับ แต่ปัจจุบันมีวิธีการแก้ไขปัญหาที่ว่านี้แล้ว ในประเทศใหญ่ๆจำนวนมากและเพื่อนบ้านเราอีกหลายชาติเช่นมาเลเซียเวียตนาม แยกหน้าที่ตรวจการณ์ไปให้กับหน่วยยามฝั่งที่ขึ้นตรงกับรัฐบาล ส่วนกองทัพเรือจะมีแต่เรือรบจริงๆรองรับภัยคุกคามขนาดใหญ่อย่างเดียว ซึ่งเป็นวิธีที่ดีมากทั้งเรื่องหน้้าที่ที่ไม่ซ้ำซ้อนและการใช้งานอุปกรณ์ เรือของพวกเขาติดแค่ปืนกลอัตโนมัติทำให้ราคาเรือถูกลงอีก แต่มีอุปกรณ์ช่วยชีวิตหรือกู้ภัยมากขึ้นซึ่งมันได้ใช้งานจริงๆ เพราะฉะนั้นพวกเขาจึงไม่ต้องมีอุปกรณ์เผื่อเหลือเผื่อขาดไว้ใช้งาน จีนกับเวียตนามทะเลาะกันทุกวันก็ยังแค่เอาปืนฉีดน้ำไล่ฉีดกันเท่านั้นเอง แต่ถ้าเอาเรือOPVของไทยติดจรวดฮาร์พูนเข้าไปไล่ฉีดน้ำดูบ้างสิ ความรุนแรงจะขยายตัวมากขึ้นและภาพที่ออกมาเราจะกลายเป็นผู้ร้าย เรือที่ไม่มีอาวุธก็สามารถป้องกันประเทศได้ครับ
เรือDSMEที่กองทัพเรือมาเลเซียซื้อ คือรบรบจริงๆที่ราคาถูกที่สุดที่รับกับข้อเสนอของเขาได้เขาจึงเลือก(ต่อเองในประเทศจำนวนหนึ่ง) ถ้ากองทัพเรือมาเลเซียยังต้องรับหน้าที่ตรวจการณ์แบบเต็มๆเหมือนเก่าเรือของเขาจะติดอาวุธน้อยกว่านี้แบบเรานี่แหละ และเรือOPVชุดก่อนหน้านี้มันก็แค่เล่นคำให้ดูอ่อนลงมาบ้างเท่านั้นเอง เพราะmeko100ติดโซนาร์มาตั้งแต่เริ่มสร้าง พร้อมใส่ตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำ,จรวดNSMและจรวดRAMได้ตลอด24ชั่วโมง
แต่ทว่าประเทศไทยยังไม่มีหน่วยยามฝั่งและคงไม่มีหน่วยามฝั่งอย่างแน่นอน คือมีหน่วยงานอยู่น่ะนะแต่ถูกดองเค็มเป็นต้นบอนไซ เรื่องมันเลยเอวังด้วยประการล่ะฉะโน้น
คือตามแผนเราจะต่อโอพีวีแค่หกลำไม่ใช่เหรอครับ เพราะงั้นที่ผมบอกต่อเรือให้ตรงภารกิจก็หมายความตามนั้น ไม่ได้บอกต่อโอพีวีแทนคอร์เว็ต เพราะงั้นไม่มีความจำเป็นที่จะต่อออกมาสิบลำยี่สิบลำ หรือต่อทดแทนเรือรบ
มเข้าใจแนวความคิดของท่านนีโอนะ และอันที่จริงในช่วงสงครามเย็นเกือบทุกประเทศก็ยังคงใช้แนวคิดนี้ แต่ในปัจจุบันเปลี่ยนกันไปเกือบหมดแล้ว จะด้วยภัยคุกคามที่เปลี่ยนหน้าตาไปและหรือประสบการณ์ในการทำสงคราม โดยปรกติแล้วทหารไม่มีใครอยากฆ่าคนหรอกครับ(ไม่เหมือนไอ้พวกนรกแถวภาคใต้) การทำศึกก็แค่ตามยุทธวิธีเลี่ยงได้ก็เลี่ยงปล่อยได้ก็ปล่อย ยิ่งเป็นทหารเรือที่ค่อนข้างเครพกฎหมายทะเลสากลเพราะจำเป็นต้องใช้ในการเดินเรือมานานตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ การหยุดยิงเรือฝ่ายตรงข้ามที่สละเรือแล้ว การไม่ยิงเรือที่ไม่ได้เข้าร่วมรบ หรือการปล่อยให้เรือไม่มีอาวุธเข้ามาช่วยเหลือเรือที่กำลังจม เป็นสิ่งที่ทุกชาติต้องปฎิบัตินอกจากจงใจเลี่ยงอันนี้ว่ากันไม่ได้
มาที่เรือคอร์เวตของท่านนีโออีกครั้ง เป็นแนวคิดในการใช้เรือทุกลำเข้าปะทะกับศัตรูเพื่อป้องกันประเทศแบบถวายหัว ไม่ชนะก็ละลาย ประมาณว่าถ้าไม่ได้ศพกลับมาก็เอาศพถมเขาไปอีก อย่างที่ผมบอกถ้าใช้ตบเด็กเกรียนมันก็ไม่มีปัญหาอะไรหรอก แต่ถ้าต้องปะทะกับกองเรือขนาดใหญ่จากชาติใหญ่ที่ต้องการบุกประเทศ เมื่อการรบยุติลงไม่ว่าจะแพ้หรือชนะท่านนีโอจะไม่เหลือเรือใช้งานได้อีกเลย (บางลำจมบางลำเสียหายมากน้อยว่ากันไป) และถ้ามีสงครามก๊อก2หรือหลังจากจบสงครามไปแล้วทหารเรือก็ทำได้แค่เอาขวด เบียร์ไล่ตีหัวเท่านั้นเอง
แต่ถ้าเป็นการจัดเรือตามหน้าที่แยกกัน ออกไป เมื่อมีสงครามให้เอาเรือรบเข้าปะทะและเก็บเรือตรวจการณ์ทั้งหมด แนวความคิดนี้คือการเซฟยุทธปัจจัย เซฟตัวเรือและที่สำคัญก็คือเซฟทหารเรือที่มีความสามารถสุงให้มากที่สุดเท่า ที่จะทำได้ ไม่ว่าผลจะแพ้หรือชนะก็ตามผมก็ยังมีเรือใหญ่เหลืออยู่อีกตั้ง6ลำด้วยกัน ในตอนนี้แหละที่ผมจะเอามาติดจรวด ตอร์ปิโด CIWS หรืออะไรก็ว่ากันไป เพราะฉะนั้นในสงครามก๊อก2หรือหลังจากจบสงครามไปแล้ว ทหารเรือของผมก็ยังคงมีเขี้ยวเล็บอยู่ และทหารเรือเก่งๆก็ยังพอมีอยู่ทำให้สามารถป้องกันประเทศได้ต่อ(อย่างน้อยก็ อีกซักพักล่ะฟระ)
ทำสงครามกันจริงๆถ้าอีกฝ่ายมีเรือฟริเกตมา50ลำผมจะเปิดทางให้และเอาเรือรบทุกลำไปหล่นซ่อนไกลๆเลย เพราะสงครามทางเรือเป็นเพียงส่วนหนึ่งแต่ไม่ใช่ตัวตัดสินผลแพ้ชนะในการรบ ถ้าผมจะยึดประเทศมาโดปินม่าผมจะต้องยิงเรือที่ติดจรวดทุกลำทิ้งไม่ว่าเล็กหรือใหญ่เพราะถือเป็นภัยคุกคาม แต่เรือที่ติดปืนกลจะปล่อยเอาไว้อย่างน้อยก็เอาไว้ใช้ป้องกันเรือที่จอดอยู่ในท่า ไม่อย่างนั้นจะต้องเสียเรือของตัวเองในการทำหน้าที่พวกนี้ไปด้วย
จะบอกเหมือนคุณ superboy ครับว่าถ้าจะสู้กับเจ้าใหญ่อย่างจีนอินเดียสหรัฐฯ รัสเซีย มีเท่าไรก็ไม่เหลือ ดังนั้นอย่าสู้ให้เจ็บตัวดีกว่า เหมือนคติการทำสงครามของสหรัฐฯ ที่ควรเอาเยี่ยงอย่างว่า ถ้าไม่ชนะก็อย่าสู้ ถ้าจะสู้ ต้องมั่นใจว่าจะชนะ ไม่งั้นสหรัฐฯคงเปิดหน้าบู๊ล้างเกาหลีเหนือไปนานละ
ส่วนเรื่องเพื่อนบ้านเราซึ่งไม่ใช่ยักษ์ใหญ่ ผมคิดว่ากองทัพเราไม่ว่าจะน้ำฟ้าบกก็ทำการประเมิณมาตลอดและใช้เป็นเกณฑ์ในการวางแผนกองทัพในอนาคตตลอด ดังนั้นคงไม่มีการเซอร์ไพรส์มาเลย์ยกเรือรบห้าสิบลำบุกแน่นอน เพราะหากมาเลย์หรือประเทศอะไรก็ตามทำการประกอบเรือรบเราต้องรู้และหาวิธีรับมือ เพราะต่อเรือลำละหลายปีนะครับ ดังนั้นมาเลย์เริ่มจัดหา เราก็ต้องเริ่มจัดหาอาวุธมารับมือไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม (เช่นติดอาวุธปราบเรืออากาศสู่พื้นผิวได้ ไม่จำเป็นต้องเรือบั๊มพ์กับเรือ)
ผมไม่คิดว่าโลกเราตอนนี้อยู่ในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนขนาดที่อาจจะต้องมีการเกณฑ์เรือจับโจรสลัดมาต่อสู้กับเรือรบข้าศึกโดยฉุกละหุกไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้า ถ้าสถาณการณ์เป็นเช่นนั้นจริง การจัดหาคอร์เว็ตมาตรวจการณ์โดยไม่เหลือบมอง opv โดยสิ้นเชิงก็อาจจะเหมาะสม แต่หากไม่ใช่แล้วการประหยัดเงินด้วยการต่อ opv จะคุ้มในการสั่งสมกำลังทหารที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าหากอุณหภูมิความขัดแย้งเพิ่มขึ้น
ทำไมมองมาเลเป็นภัยคุกคามล่ะครับ ผมยังมองไม่ออกว่าเรากับมาเลจะรบกันเรื่องอะไร พรมแดน บกทะเลก็แบ่งกันเรียบร้อยแล้ว มาดูเรื่องการใช้งบทางทหาร จะเห็นว่า มาเลไม่ได้กังวลกับเราเลย มาเลทุ่มงบให้กับกำลังทางเรืออย่างเดียว เรือรบอย่างเดียวเลย ทอ มาเล ไม่มีงบไปฝึก pitch black แต่ ทอ เราไปได้ กำลังทางบก ทางอากาศเขาไม่เน้นเลย
ในรูปแบบแนวคิดที่มาเลจะขนกองเรือ มารบกับเราแบบเต็มๆ ผมว่าถ้าขนาดนั้นมันคงเป็น Total war ทบ ทอ เราก็ต้องขนกำลังบุกมาเลกันแล้วล่ะครับ
แหม ผมก็แค่ยกตัวอย่างเฉยๆ ครับคุณ skysky ผมก็เห็นด้วยกับคุณนะครับว่าถ้าว่ากันตามตรงเลยที่เราบ่นๆ ว่าประเทศเรากองทัพง่อยๆ แต่เมื่อมองแถวๆ บ้านเราตอนนี้ก็ถือว่าเราไม่ได้น่าเกลียดอะไรเลย เพราะเพื่อนบ้านง่อยเหมือนกัน ฮา ดังนั้นเรายังถือว่าการจัดสรรอาวุธของเราเทียบต่อจีดีพีก็ถือว่าไม่ได้น่าห่วง เพราะเรื่องอื่นๆ ที่น่าห่วงมีเยอะกว่า แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นประเทศเราเป็นฟิลิปปินส์ก็จะเห็นได้ว่าง่อยกว่าเราเยอะ และต้องเร่งสร้างเต็มที่ เพราะต้องมาง้างกับจีน แม้แต่เวียดนามก็ต้องลงทุนพอสมควรเลยเพราะจีนเช่นกัน ดังนั้นตามหลักเราไม่ต้องกลัวเวียดนามยกกำลังมาอัดเราหมดบ้านเพราะเท่ากับเปิดประตูหลังให้ใครๆ เผาบ้านสบายเลย
สรุปว่าการคานอำนาจระหว่างประเทศที่ไม่ได้มีอาวุธเหลือเฟืออย่างมหาอำนาจก็ประมาณว่าถ้าตีกันอาวุธหมดบ้านทั้งสองฝ่ายไม่มีการก๊อกสองก๊อกสาม ซึ่งทำให้ไม่มีใครกล้าตีกันเท่าไร อย่างมากก็ฮึ่มกันไปกันมา ปะทะเล็กๆ น้อยๆ แค่แผลถลอก แต่ไม่มีการตีกันอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งก็สามารถมองเป็นเรื่องดีนะครับ เพราะส่งผลให้แรงจูงใจในการก่อสงครามน้อยลง
@คุณ skysky
ทั้งหมดที่เขาคุยๆกันมา เรายกตัวอย่าง อย่างเช่น มาเลเซีย ครับไม่ได้มองว่า มาเลเป็นภัยจริงๆแค่ยกตัวอย่างเท่านั้นครับ
เป็นการยกตัวอย่างครับท่าน skysky แค่ต้องการให้เห็นภาพ ไม่ได้มองมาเลย์เป็นศัตรู
สังเกตดีๆ บทสนทนาใกล้จบตอน มีตัวละครพูดถึงเรื่องการแยกกองเรือตรวจการณ์ทั้งสองฝั่งตั้งแยกออกมาจากกองทัพเรือเป็นหน่วยยามฝั่ง แล้วให้รัฐบาลจ่ายทุกอย่างเกี่ยวกับหน่วยงานนี้ ส่วนงบประมาณของกองทัพเรือ และ กำลังพล จะได้ไม่ต้องไปเสียที่ตรงนี้อีก แต่ห้ามลดงบประมาณกองทัพเรือลงนะ จำนวนเรือในความรับผิดชอบลดลงได้ กำลังพลบางส่วนที่ประจำเรือพวกนั้นจะสงวนเอาไว้เพื่อฝึกรองรับเรือรบหลักใหม่ๆก็ได้ ผมว่าเป็นทางแก้ที่ดีมากทางหนึ่งทีเดียว
ในประวัติศาตร์การรบ เมื่อรบกับเพื่อนบ้านขั้นรุนแรงถึงขนาดส่งทัพบุกทะลวงกันเข้ามาแล้ว ผู้แพ้จะไม่เหลือเรือสักลำใช้งานเช่นกันครับ เพราะเขาจะต้องริดรอนเราทุกทาง จะเสียทุกอย่างที่เคยมีเคยได้ครับ ถึงสงวนเรือเอาไว้ก้อก 2 3 4 ก็จะกลายเป็นว่าถูกริบเป็นค่าปฎิกรรมสงครามทั้งหมดครับ
สภาพที่ทร.ต้องแบกรับกองเรือตรวจการ์ทั้งหมดนั้น มันกินเงินงบประมาณในส่วนการพัฒนากองเรือรบหลักลงไปเป็นอันมากเลยครับ ในส่วนตัวของผมมองว่า ถึงเวลาแยกหน่วยนี้ออกไปได้แล้วครับ
ในสายตาผมเองมองว่า ขณะนี้เราเริ่มเข้าสู้สงครามเย็นบทใหม่มาหลายปีแล้วครับ ยิ่งมีกรณียูเครน ยิ่งเป็นตัวกระตุ้น ยิ่งมีการโจมตีทางเศรษฐกิจกันเต็มสูบแบบนี้ยิ่งเร่งภาวะสงครามเย็นรุนแรงยิ่งขึ้นครับ
M-58 M-65 น่าสนใจมากนะครับ น่าจะมี M 75 OPV หรือ M 85 OPV มาให้เลือกใช้บ้างนะ ส่วน M 150 เอาไว้แจกกำลังพลเอาไว้ดื่มชูกำลังกัน
ราคา OPV ในบทละครสั้น เอามาจากเรือชั้นกระบี่ที่ลดขนาดลง + ฮ. แบบ EC-645 ครับ
ย้อนกลับไปก่อนหน้านั้นหลายปีก่อนการพิจารณาการต่อ OPV หรือ corvette harrier รุ่นเก่าถูกปลดประจำการกันหมดแล้ว มีคนเริ่มพูดว่าทำไมเราไม่จัดหา harrier GR 7-9 หรือ harrier 2 หรือ 2+ มาทดแทน เพราะเรือจักกรีถูกออกแบบมาเพื่อมันโดยเฉพาะ และจากสงครามฟอร์แลนด์ มันโชว์ให้เห็นว่าสู้กับ mirage 3 ได้ดุเดือดถึงลูกถึงคนผิดคาด
นอกจากนี้เรือบรรทุกเครื่องบินเบาขนาดเล็กของอาเจนติน่าได้แสดงอำนาจการยิงอย่างประจักษ์แล้วว่า สามารถเกือบจมเรือบรรทุกบ. หลักของกองเรืออังกฤษได้ ถ้านักบินไม่หลงคิดว่าสัญญารแรงๆที่เห็นเป็นเรือบรรทุกบ. แล้วรีบจวกทันที แต่ไปเลือกอีกเป้าแทน รับรองมีเฮ ซึ่งเรือบรรทุกบ. ของอเจนติน่านั้นก็ดัดแปลงมาจาก Escord carrer ให้รองรับเครื่องเจ๊ตใหม่ๆ แถมเรือก็เก่าสุดๆด้วย ไม่มีใครคิดว่าอำนาจการยิงจากมันจะรุนแรงได้ใจขนาดนี้
ดังนั้นอำนาจการยิงจากจักรีนั้นน่าจะหนักหน่วงไม่แพ้ เดอเมโย ที่ส่ง ซุปเปอร์ เอตองดาร์ทออกไป จมแอตแลนติคคอนเวเยร์ ที่อยู่ไม่ไกลจาก อินวิสิเบิลมากนัก เกือบมีเฮ
พอกลุ่มที่ไม่เข้าข้างใครทำการเสนอให้แยกกองเรือตรวจการณ์ออกไปเป็นหน่วยยามฝั่ง และบีบรัฐบาลว่าห้ามลดงบ ทร. ลงด้วยนะ แม้ว่าจำนวนเรือและกำลังพลบางส่วนจะลดลงไป ทร. จะได้มีเงินเหลือพอสำหรับการพัฒนากำลังรบหลัก
กลุ่มที่เคยฝันถึง harrier 2+ ก็เลยลุกขึ้นเสนอบ้าง โดยเห็นด้วยกับแนวคิดก่อตั้งหน่วยยามฝั่งทันที และเสนอข้อเสนอเพิ่มขีดความสามารถของกองเรือรบหลักให้ก้าวกระโดดในเวลาสั้นๆ เพราะเริ่มเห็นภัยคุกคามจากพี่เบิ้มและเกมสงครามเย็นบทใหม่กำลังเริ่มร้อนระอุขึ้นเรืื่อยๆ และเริ่มคืบคลานใกล้ตัวเข้าทุกขณะ
กลุ่มนี้รีบยกมือขึ้น
กลุ่มผมนิยม กบร.ให้กลับมายิ่งใหญ่ดังเดิมครับ ขอเสนอว่า การจะต่อเรือ corvette ใหม่ๆอีกหลายลำ มันต้องใช้เวลาหลายปี ระยะห่างระหว่างเรากับเพื่อนบ้านมันชักจะห่างกันเกินไปแล้ว กลุ่มผมขอเสนอว่า เรือจักรีนั้นอำนาจการยิงยังไม่สมบูรณ์ครับ มีไม่ถึงครึ่งแล้ว ตอนนี้ได้ข่าวว่าอเมริกาจะปลด Harrier 2+ เร็วขึ้น 5 ปี ระหว่างนี้น่าจะไปเล็งๆเอาไว้ได้แล้วนะครับ เพราะได้ข่าวว่าของจะโล๊ะทิ้งกว่า 100 เครื่อง ดังนั้นมีให้เลือกเฟ้นเพียบ ทำแบบคราวจัดหา A-7 ไงครับ คุ้ม คุ้มจริงๆ คุ้มที่แฟลตปลาทอง เอ้ย ไม่ใช่ ซื้อมาในราคารถเบนซื 1 คันเอง 40 ตัว ใช้จริง 20 ตัว ที่เหลือเป็นอะไหล่ A-7 model เลยครับท่าน
แถมด้วย ฮ. MH-60 ที่ติดตั้งกระเปาะเรด้าร์ vigilant ที่ทำหน้าที่ AEW สัก 3 ลำ ซึ่งอันนี้คงต้องลงทุนมากหน่อย แบบนี้ครบเครื่อง ใช้เวลาจัดหาไม่นาน อำนาจการยิงสูงลิบ ไม่ต้องพึ่งพา กริเปนจาก ทอ. อีกต่อไป
แม้ว่าฝ่ายเราจะมีจำนวนเรือรบหลักน้อยกว่าเขา 1 เท่าตัว แต่ด้วยอำนาจการยิงของเรือจักรีที่มีเครื่องบินพร้อมรบ กองเรือ 20 กว่าลำก็มาเถอะ ไม่มีทางได้เห็นหน้ากองเรือเราเลยด้วยซ้ำ แต่จะโดนเรายำแต่ฝ่ายเดียวครับ เพราะฝ่ายโน้นไม่มีเครื่องบินรบคุ้มกัน เพราะเครื่องบินรบของเขากำลังติดพันกับเครื่องบินรบฝ่ายเราแบบดิ้นไม่หลุดอยู่ครับ
ข้อเสนอนี้เรียกเสียงฮือฮาไปทั้งห้องประชุม
กลุ่มไม่เข้าข้างใคร และ กลุ่มนิยม กบร. หันมาส่งยิ้มให้กันพร้อมยกนิ้วโป้งขึ้น
ปล. ก่อนเข้านอน
ในสายตาผมมองว่า Escord carrier นั้นยังมีคุรค่าอยู่มากสำหรับชาติที่มีฐานะปานกลางอย่างเราอยู่ เพียงแต่ว่า ทร.มหาอำนาจนั้นไม่มีใครออกแบบเครื่องเจ๊ตขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพสูงๆเพืื่อใช้งานกับมันอีกต่อไป เพราะพวกพี่เบิ้มเขานิยมเรือบรรทุกบ.โจมตีขนาดกลางถึงหนักกัน และกองเรือต้องปฎิบัตการณ์ในมหาสมุทรอันกว้างไกลห่างชายฝั่งเป็นอันมาก ดังนั้นเครื่องบินประจำเรือจึงต้องมีขนาดใหญ่ ระยะบินไกลมากๆ บรรทุกอาวุธได้เพียบ
มีอยุ่ช่วงหนึ่งเท่านั้นที่อเมริกาได้ผลิตเครื่องบินรบขนาดเบาประสิทธิภาพสูงใช้งานในทร.ตนเอง นั่นคือ A-4 skyhawk ครับ
และเนื่องจากมันสามารถขึ้นลงจากเรือบรรทุกบ.ขนาดเล็กที่ดัดแปลงมาจาก Escord carrier หรือ เรือบรรทุกบ.เบาขนาดต่ำกว่า 20,000 ตัน ซึ่งก๊วนของอเมริกานั้นมีหลายประเทศยังคงประจำการเรือบรรทุกบ.เบาเหล่านั้นอยู่ในเวลานั้น เช่น เรือบรรทุกบ.เมลเบิล เรือบรรทุกบ. คาบอร์ท เป็นต้น
ปัญหาใหญ่ๆในปัจจุบันสำหรับเรือ CVE ทั้งหลาย มาจากการไม่มีแบบเครื่องบินรบขนาดเบาเจ๋งๆ ค่าใช้จ่ายในการปฎิบัติการต่ำ ราคาถูก แบบ A-4 skyhawk ให้เลือกใช้อีกต่อไป มีแต่เครื่อง VSTOL ราคามหาโหดและเป็นเครื่องขนาดกลางด้วยแบบ F-35 B ซึ่งดูไม่เหมาะสมกับทร.ชาติฐานะปานกลางสักเท่าไรเลย
หรือต้องไปรอ FA-50 เวอร์ชั่นใช้งานบนเรือบรรทุกบ.อีกที เฮ้อ...... กิมจิมาอีกแล้ว
ปล. 2 A-4 skyhawk เป็นเครื่องบินรบในดวงใจที่ผมชอบมากที่สุดครับ ผลงานเพียบ ทั้งตะวันออกกลาง ทั้งสงครามฟอร์คแลนด์ เล็ก เผ็ด แสบ หมัดหนัก ราคาย่อมเยาว์ แต่ประเทศเราไม่เคยซื้อมันใช้เลย แปลก....
ขอโทษครับ ลงภาพผิดความเห็นและไม่ต่อเนื่อง
ความเห็นสุดท้ายข้างบนผมต้องลงภาพ เรือบรรทุกบ.เบา de mayo พร้อม เครื่องบินประจำเรือทั้ง A-4 ทั้ง ซุปเปอรืเอตองดาร์ท
ผมว่าทุกคนในนี้น่าจะเห็นด้วยนะครับว่าเราควรจะมี coast guard ขี้นตรงกับกระทรวงมหาดไทยหรืออะไรก็ว่าไป เพราะเป็นการสิ้นเปลืองกำลังพลและค่าใช้จ่ายของทหารเรือโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ยังลดปัญหาเรื่องการทับซ้อนของหน้าที่ทั้งกรมเจ้าท่า ทหารเรือ กรมศุลกากร ฯลฯ ทั้งยังช่วยให้การรักษากฎหมายทางทะเลมีประสิทธิภาพมากขี้นอีกด้วย
เรื่องสงครามฟอล์กแลนด์หากอาร์เจนตินาเอาเรือดำน้ำออกล่าอังกฤษคงไม่ต้องพึ่งเอ็กโซเซท์เลยมั้งครับ แต่ด้วยความทะเล่อทะล่าของอาร์เจนตินาที่เอาเรือดำน้ำวิ่งหัวโด่สบายใจเฉิบจนโดนอังกฤษรุมสะกรัมจบข่าว ส่วนอีกลำก็พังๆ เนื่องจากซ่อมบำรุงผิดพลาด ดังนั้นยิงตอร์ปีโดไปไม่เกิดอะไรขี้นเลย และที่ยิงไปได้ยังโดน anti-torpedo อังกฤษรอดตัวไปได้ ซึ่งก็ชัดเจนถึงความสำคัญของเรือที่จะเอาชีวิตรอดจากภัยคุกคามทั้งสามมิติ
ดังนั้นการจะมีกองเรือรบไปล่ออีกฝ่ายได้ต้องไปทั้งฝูง นอกจากมีเครื่องบินแล้วยังต้องมีเรือคุ้มกันอากาศ เรือดำน้ำ เรือปราบเรือดำน้ำ ซึ่งเมื่อนับๆ ดูราคาก็ย่อมพุ่งกระฉูด ซึ่งถ้าเมีเรือฟริเกตสามมิติลำเดียวก็รักษาชีวิตได้ แต่เรือขนเครื่องบินที่สามมิติจริงๆ โดยไม่พึ่งอากาศยาน ยังไม่มี กล่าวคือถ้าอากาศไม่ดี เครื่องบินหรือฮ.ขี้นบินไม่ได้ ถ้าไม่มีกองเรือคุ้มกันก็โทรจองเมรุได้เลย เดอมาโยก็กรณีนี้เลยส่งเครื่องบินไม่ได้ สงครามฟอล์กแลนด์นี่ก็แสดงได้ชัด อาร์เจนตินาเจอเรือดำน้ำอังกฤษล่อทีเดียวถอยเข้าอู่ปิดประตูเงียบเลย เอตองดาร์ทที่จมเรือรบอังกฤษด้วยมิสไซล์เอ็กโซเซ่นั้นบินจากฝั่งมาครับ เนื่องจากเรืออาร์เจนตินาเข้าฝั่งกันหมดหลังจากโดนเรือดำน้ำอังกฤษล่อไป
สรุปว่าถ้าประเทศเรามีกองเรือเอสคอร์ตครบเซ็ตไหวก็เอา
เปลือกเรือต่อ นาน สายบังคับบัญชา นาน ฝึกกำลังพล นาน แต่ ติดระบบอาวุธ แปบเดียว ติดเรดาห์ แปบเดียว การฝึกใช้อาวุธ แปบเดียว ในยามปกติ มีเปลือกเรือ ติดอาวุธเบา แต่แบบต้องรองรับการ ติดอาวุธ ติดเรดาห์ แบบฟลูพาวเวอร์ ตามประเภทเรือ ประหยัดและพร้อมกว่า ด้วยจำนวนลำมาก ดีกว่ามีเรือจำนวนลำน้อยแต่ฟลู แถม ถ้าต้องแยกกำลังออกไปจาก ทร. ไปเป็นยามฝั่ง ใครชัวร์บ้างว่า งบ ทร.จะเท่าเดิม ไม่ใช่โดนหั่นโอนไปให้ยามฝั่งด้วย
อุสาพิม หายหมด เอาสั้นๆล่ะกัน ท่าน นีโอ ก็บอกเองว่า บ ขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพดีๆ และลงจอดบนเรือ บันทุกเครื่องบินขนาดเล็กได้มันไม่มี แล้วจะต่อเรือทำไมละครับ ในเมื่อมันไม่มีเครื่องบิน อีกอย่าง แนวคิด กบร มี บโจมตี แบบa7 หรือ เอฟ18 ผมว่าไม่เกิดแล้วครับ ในเมื่อ ทอ มี jas ที่สามารถยิง antiship missile ได้
การแยก หน่วยยามฝั่งออกจากทร โดยไม่ตัดงบเลย ยิ่งเป็นไปไม่ได้ คนลด ภารกิจลด จะเอาเงินเท่าเดิมหรือ รัฐบาลจะไปเอางบจากไหนมาให้หน่วยใหม่ แล้วถ้าแยกจริง มันไม่ได้ไปเฉพาะเรือนะครับ กรมพลา กรมอู่ กรมสรรพาวุธ ก็ต้องแยกบางส่วนไปให้เขาด้วย ดีไม่ดีต้องสร้าง อาคาร ท่าเรือ อู๋เรือ ต่างๆให้เขาใหม่อีก แทนที่จะใช้ร่วมกันได้ต้องแยกกัน ยังไม่นับหน่วยงานด้านธุรการอีกนะ กรมการเงิน สำนักปลัดบัญชีอีก ที่ต้องตามไปดูแล ถ้าแยกจริง ผมว่า ทร อาจจะแย่เอา อาจจะมีกำลังทางบก มากกว่ากำลังทางเรือ ทั้ง สอรฝ ทั้ง นย อาจจะกินงบมากกว่า กองเรืออีกเพราะ หากแยกไป เรือ ทร แทบไม่ได้ออกจากท่า นอกจากไปฝึก
ต้องลุ้นกันสุดตัววล่ะครับท่าน tongwarit ว่าทร.เสนอจัดหาเรือดำน้ำคราวนี้จะผ่านไปได้ด้วยดีหรือไม่ เพราะเรือฟรีเกตหลักก็เริ่มทำการปรับปรุงมาแล้ว ส่วนเรือฟรีเกตใหม่ก็ได้งบประมาณแล้ว จะขาดก็แต่เรือดำน้ำนี่แหล่ะตัวสำคัญ ถ้าผ่าน ทร.ก็พร้อมทำการรบ 2 มิติได้เต็มที่ คือ ใต้น้ำ และผิวน้ำ เพราะถ้าไม่มีเรือดำน้ำ เรือบรรทุกบ. ก็เหมือนออกรบโดยไม่มีเกราะกำบัง อันตรายมาก
ส่วนมิติสุดท้ายคือกำลังอากาศนาวี ที่เราเคยมีพร้อมเต็มที่ที่สุดในภูมิภาค
ราคาเครื่องมือสองอย่าง harrier 2+ ผมว่ามันไม่ได้แพงมากแน่ๆ เอาแบบว่าเขาขายให้เราแบบเต็มราคาเลยล่ะก็ ที่ผ่านๆมาอเมริกามักจะขายในราคาที่เคยสร้างขึ้นมาในครั้งแรก เช่น harrier2 เคยเสนอขายเรามือหนึ่งในราคาประมาณ 500 -550 ล้านบาท (แต่ค่าเงิน 25 b/d) ดังนั้นถ้าเราซื้อมือสองและทำการซ่อมคืนสภาพใหม่ ราคาก็ตกประมาณ 500 -550 ล้านบาทต่อเครื่อง ดังนั้น 12 -16 ลำ ราคาก็ยังถูกกว่าเรือฟรีเกตที่ต่อมาใหม่ 1 ลำเลยท่าน
แต่ถ้าเป็นการขายแบบช่วยเหลือ หรือ ขายซากทิ้ง หรือให้ฟรีแต่ต้องซ่อมคืนสภาพเอง ก็อีกราคา จะราคาต่ำมากๆแบบเรือ OHP จะแพงก็แต่ระบบ AEW นี่แหล่ะที่แพง ดังนั้นการที่จะทำให้ทร.กลับมาใช้งานกำลังทางอากาศจากเรือบรรทุกบ.ได้ มันอยู่วิสัยที่จะทำได้ถ้ากล่อมรัฐบาลสำเร็จ
ปัญหาจะอยู่ที่ค่าใช้จ่ายในการฝึกและปฎิบัตืการของกำลังทางอากาศนี่แหล่ะ สูง จนทร.เองเคยบ่นเมื่อครั้งยังมีทั้ง แฮริเออร์และ A-7 ครบ
ส่วนการแยกหน่วยยามฝั่ง โดย ทร. จะถูกตัดงบประมาณลง หรือ ไม่ งานนี้ต้องพูดจากันอย่างหนัก ต่อรองกันอย่างหนัก
ปล. กรณีที่ราคาเรือ full option มันแพงเป็น 2 เท่าของราคาเรือที่ติดแค่ปืน 76 mm 30 mm แล้วเลยเลือกต่อแบบมาไม่เต็มระบบ 2 ลำ แทน full option 1 ลำ ปกติทร.นิยมทำแบบนั้นเสมอไม่ใช่หรือครับ แล้วมักจะโดนบ่นกันเสมอว่าต่อแบบนี้ทำไมควรจัดเต็มให้ระบบมาครบทุกอย่าง
มาคราวนี้ทร.ไม่ทำแบบเก่าแล้วนี่ครับ งบขนาดนี้น่าจะจัดเต็ม ก็น่าจะดีไม่ใช่หรือ เสียงบ่นแบบเก่าจะได้หายไป
ปล 2 ผลเสียจากการที่ผลิตเครื่องบินรบตามความต้องการและเหมาะสมกับตัวเองไม่ได้ ก็คือสิ่งนี้แหล่ะครับ ถึงแม้เครื่องขับไล่โจมตีเบาและเรือ CVE จะเหมาะสมกับการมีกำลังทางอากาศสนับสนุนแค่ไหน แต่ผลิตเองไม่ได้ก็จบ ได้แต่มอง หรือไม่ก็ต้องขี้ตามช้างแบบ ออสเตเรีย อิตาลี สเปน อังกฤษ ที่ถังแตกแล้ว แต่อเมริกันสร้างแบบนี้มา ก็ต้องใช้แบบนี้เหมือนกันจ่ายแหลก
ปล 3 เคยมีการพูดคุยกันใน TAF แล้ววิเคราะห์กันแล้วครับว่า ให้ jas-39 กับทีม ทำการคุ้มกันมันช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่มันไม่เวิร์คสุด ถ้าจะเหมาะสมที่สุด ทร.ควรมีกำลังทางอากาศปฎิบัติการจากกองเรือของตัวเองเป็นดีที่สุดครับ
ขอบคุณครับ ผมจำผิดเองว่า ซุป้เปอร์เอตองดาดขึ้นจากเรือ เดอเมโย หรือขี้นจากฐานบินบนบก แต่ถ้าทั้ง a-4 super atendard บินโจมตีจากเรือบรรทุกบ และได้รับมอบจรวดเอ็กโซเซ่มาดดว่านี้ สงครามคราวยั้นตงมันกว่านี้มาก
ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงมีความคิดว่าจะเอาเรือหลวงกระบี่ มาอัฟเป็นเรือควอเวต เพื่อติดตั้ง SSM
จริงๆอยากจะบอกว่า เรือรบของเราที่ติดตั้ง ระบบอาวุธจรวด SSM มีเพียงพอแล้วสำหรับกองเรือรบของไทยเราในขณะนี้
ตอนนี้ที่เรายังขาดและใกล้จะขาดหนักขึ้นไปอีกถ้ายังหาเรือทดแทนเรือชั้น knox เรือหลวงพุทธยอดฯและพุทธเลิศฯก็คือระบบโซน่าห์และระบบอาวุธต่อต้านภัยคุกคามจากเรือดำน้ำต่างหากที่ต้องรีบจัดหาโดยด่วนเพิ่มจากโครงการเรือฟรีเกตสมรรถนะสูง
คือจะไปเสียงบประมาณกับระบบ SSM เพื่อเรือหลวงกระบี่ (OPV) กันทำไมหนักหนา ขนาดเรือหลวงปัตตานีมาก่อนและใหญ่กว่าแท้ๆยังเงียบเชียบในเรื่องของการอัพเกรดอาวุธแล้วเรือหลวงกระบี่จะได้หรือ????
งบ 5 พันล้านไม่ใช่น้อยๆนะครับ เก็บเอาไว้เป็นค่าใช้จ่ายไปเข้าสมทบกับโครงการเรือดำน้ำและพัฒนาเทคโนโลยีปราบเรือดำน้ำจะดีกว่านะครับ
ทำไมถึงคิดว่าการแยกหน้าที่โคสต์การ์ดออกจากหน้าที่ของทร. จะทำให้ทร.โดนลดงบล่ะครับ มันไม่เห็นจะเกี่ยวกับงบกองทัพนี่ครับ ตอนดอนเมืองโดนยึดมาเปิดสนามบินพาณิชย์มันทำให้ทอ. โดนตัดงบไหมละครับ โคสต์การ์ดหน้าที่จะคล้ายๆ ตม. ทางน้ำครับ การแยกหน้าที่ไม่ได้หมายถึงเอากองทัพเรือมาแบ่งทรัพย์สินมรดกกัน แต่หมายถึงตั้งหน่วยงานใหม่เลย แล้วโอนหน้าที่ครับไม่ใช่โอนทรัพย์สิน นอกเสียจากกรณีหน่วยเก่าจะไม่จำเป็นต้องใช้แล้วหลังการปรับโครงสร้าง เช่นศุลกากรอาจจะไม่ต้องการเรือแล้วก็โอนมาให้โคสต์การ์ด ซึ่งการสรรหางบเผลอๆ ง่ายกว่าทร เองด้วยซ้ำ เพราะคำพูดที่ว่ากองทัพมีไว้ทำไมจะไปรบกับใครวะหรืออะไรเทือกนั้นเวลากองทัพของบจะไม่สามารถนำมาพูดกับโคสต์การ์ดได้
ผลประโยชน์ที่เกิดกับเศรษฐกิจทางอ้อม(ความมั่นคงกับเสถียรทางท้องทะเล) และทางตรง (ปราบปรามของเถื่อน) ก็จะสามารถรับรู้โดยตรงได้มากกว่าทร.ลาดตระเวณเอง เพราะนี่จะเป็นหน้าที่อันดับหนึ่งของโคสต์การ์ดอยู่แล้ว รวมถึงการกู้ภัย ฯลฯ ทางทะเลด้วย ดังนั้นจะไม่ต้องเอาซีฮอว์ก R หรูๆ ไปใช้ให้สิ้นเปลือง แต่ซื้อฮ. พลเรือนที่ราคาถูกกว่าเยอะมาใช้ได้
อีกประเด็นคือการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานพลเรือนการต่อต้านมันน้อยกว่าซื้อฮ. ทหารอยู่แล้วครับ ลองว่าเป็นสังกัดทหารซื้ออากาศยานพลเรือนยังโดนตรวจสอบเลย เพราะการจัดหาทางทหารว่ากันตามตรงมันทุจริตได้ง่ายกว่าและตรวจสอบยากว่าการจัดซื้อโดยพลเรือน เนื่องด้วยความมั่นคงชาติบางอบ่างก็ไม่ควรเปิดเผยมาก และการจัดซื้อต้องรวดเร็วเพราะความมั่นคงเป็นเรื่องรอช้าไม่ได้ ฝ่ายพลเรือนทุจริตงานรัฐจนกลับประเทศไม่ได้ก็เยอะแยะถมเถ แต่การใช้งบของทหารต่อให้มีความน่าเคลือบแคลงก็แทบไม่มีการไล่บี้เอาผิดเหมือนพลเรือนและไม่คิดว่าเคยมีการสอบสวนจริงๆ จังๆ แต่จะซาๆ ไปและไม่มีใครโดนลงโทษแม้แต่เอกชนคู่ค้าก็เถอะ(เพราะถ้าเอกชนโดนทหารคงโดนด้วย) ดังนั้นผมจึงเชื่อว่าการแยกหน้าที่มาให้หน่วยงานพลเรือนจะง่ายและมีประสิทธภาพกว่ารูปแบบนปัจจุบันที่มีทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ซึ่งระบบ dispatch เชื่อมกันหรือเปล่ายังไม่รู้เลย
โส่วนใครที่กลัวกองทัพเรือจะมีกองกำลังทางบกที่ใหญ่กว่าทางน้ำ ผมขอบอกเลยว่าไม่มีทาง ยุทโธปกรณ์ของนาวิกฯ นับชิ้นได้เลยครับ ยิ่งที่สภาพพร้อมใช้งานเต็มร้อยยิ่งน้อย ไม่ต้องห่วง
ทำไมมองว่างบกองทัพเป็นเอกเทศล่ะครับ สุดท้ายงบทั้งหมดมันก็ไปรวมกันเป็นงบรายจ่ายประจำปีของงบประมาณอยู่ดี รัฐจะดึงเมื่อไหร่ก็ได้ หรือ จริงๆแล้วกลาโหมจะดึกก็ได้ เวลางบมา มาแต่ตัวเลข เงินจริงๆอยู๋ที่สำนักงบ แล้วทำไมคิดว่ากรมศุลกากร เขาจะยอมยกเรือให้? ในเมื่อ อำนาจของหน่วยงานต่างๆ ประมง ตำรวจน้ำ เจ้าท่า อยู่ที่ 12 ไมล์ทะเล แต่กฎหมายศุลการกร อยู่ที่ 200 ไมล์ทะเล
สมมุติ บริษัทหนึ่ง เดิมเซลกับ มาเก็ตติ้งอยู๋แผนกเดียวกัน วันหนึ่ง มาเก็ตติ้งบอกว่า แยกๆแผนกเซลออกไปเถอะ กินงบมาเก็ตติ้ง เอาไปตั้งใหม่เลยนะ ห้ามเองงบไป ค่าน้ำมันที่เซลใช้ไปหาลูกค้า ค่าโทรศัพย์ที่เซลใช้โทรหาลูกค้าก็อย่าเอาไปนะ เอาไว้ให้มาเก็ตติ้งใช้ คิดว่า ผู้บริหารจะยอมไหมครับ อย่าเอาดอนเมืองมาเทียบครับ เพราะการเอาดอนเมืองให้เอกชนใช้ หรือ เอาอู่ตะเภาให้เอกชนใช้ ไม่ได้ลดภารกิจของทอ ทร ลงไป แต่ถ้าแยก ยามฝั่งออกมา กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยามฝั่ง ศรชล ยุบ
ส่วนเรื่องตรวจสอบ ผมก็ไม่เห็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดนสอบอะไรเท่าไหร เรื่อง คนต้านเพราะกลัว คอรับชั้นยิ่งแล้วใหญ่ เพราะโครงการของรัฐ ใหญ่ๆก็โดนกล่าวหาทุกโครงการ ในเวปนี้ยังมีเลยพวกที่ชอบบอกว่า ซื้อของนอกแล้วได้ค่า คอม มากกว่าสร้างเอง เลยไม่สร้าง พูดทั้งๆที่ไม่มีหลักฐานมาแสดง
ที่ท่าน นีโอบอกว่าต้องคุยกันหนักๆว่าอย่าดึงงบทรไป ผมถามจริงๆ ท่านจะคุยกับใคร รัฐบาลเปลี่ยนทุก 4 ปีถ้าไม่ยุบสภาก่อนนะ รมต กลาโหมเปลี่ยนถี่กว่านั้น คนที่รับปากเดี๋ยวเขาก็เปลี่ยนไป
ผมว่าเรื่องเงินไม่ใช่ปัญหาใหญ่ที่สุดหรอก มาเลเซียกับเวียตนามยังสามารถแยกหน่วยยามฝั่งออกไปได้โดยขนาดกองทัพเรือไม่ได้เล็กลง แต่ทุกคนจะเห็นว่าหลังจากแยกออกไปแล้วเขายังสามารถจัดหาอาวุธหนักเข้ามาใส่แทบจะตลอดเวลา(เรือดำน้ำ เรือฟริเกต เรือคอร์เวต แถมด้วยเปิดอู่ต่อเรือในประเทศเพิ่ม) ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภัยคุกคามมาจ่อตูดด้วยยังไงรัฐบาลก็ต้องให้งบประมาณไปป้องกันประเทศ ส่วนเรื่องเรือรบไม่ได้ออกฝั่งถ้าไม่ฝึกซ้อมหรือทำภาระกิจก็ถูกแล้วนี่ครับ เพราะมันก็เป็นแบบนี้ทั่วโลกและเป็นมานานแล้วด้วย ปัญหาคือ?
อันว่าเรือรบเนี่ยโดยปรกติทั่วไปเขาจะใช้งานกัน6เดือนแล้วก็เข้าซ่อมบำรุงตามวงรอบที่ท่าอีก6เดือนสลับกันไปมา เรือหลวงสีชังก็เคยเข้าซ่อมบำรุง12เดือนมาแล้วเรียกว่าลืมไปเลยก็ว่าได้ แต่ล่าสุดนี่เรือหลวงปัตตานีเข้าซ่อมบำรุงทาสีใหม่1อาทิตย์แล้วก็ออกไปทำงานต่อเลยเพราะเรือOPVเรามีน้อย(แล้วมันจะไหวไหมครับพี่น้อง) ที่บอกเรือจีนอายุสั้นผมว่ามันอยู่ที่การใช้งานด้วยยิ่งเรือOPVไม่ได้ต่อด้วยมาตราฐานเรือรบก็ยิ่งอายุสั้นลงอีก เพราะฉะนั้นถ้าแยกหน่วยามฝั่งออกไปการใช้งานเรือรบจะน้อยลงเรือก็จะมีเวลาซ่อมบำรุงมากขึ้นทำให้มีความพร้อมรบมากกว่าเดิมรวมถึงอายุการใช้งานด้วย
ประเทศไทยกับหน่วยยามฝั่งคงยากที่จะเกิดฉะนั้นเราก็ต้องอยู่กับความเป็นจริงไปก่อน ผมเล็งเห็นความพยายามของท่านนีโอในเรื่องเรือคอร์เวตแล้ว ฉะนั้นหลังจากได้เรือOPVอีก3ลำ m58 6ลำ ต.111 6ลำ และติดอาวุธทันสมัยให้เรือชั้นเรือหลวงหัวหินทั้ง3ลำ ผมอนุมัติให้ต่อเรือคอร์เวตเองในประเทศ (ใหญ่โตจริงนะมรึง) แต่ผมขอให้มีอาวุธและอุปกรณืป้องกันตัวครบครันตามภาพนะครับ โดยเฉพาะโซนาร์ลากท้ายจะรุ่นไหนก็ตามเถอะสำคัญมาก เพราะลำพังแค่โซนาร์หัวเรือมันทำอะไรแทบไม่ได้เลยนอกจากป้องกันตัวเองในระยะประชิด แต่เรือบรรทุกเครื่องบินผมยังไม่ให้ผ่านนะเพราะไม่รู้จะไปซื้อจากที่ไหนมาให้นอกจากจะเอาคิตตี้ ฮอร์ค ของอเมริกา
อา่นข่าวนี้แล้วเหมือนกับว่าแถวๆบ้านเรา โจรสลัดจะจี้ปล้นเรือบรรทุกน้ำมันมากขึ้นนะครับ
สำนักงานการเดินเรือระหว่างประเทศ (ไอเอ็มบี) เปิดเผยในรายงานโจรสลัดประจำปีเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2558 ว่า โจรสลัดจี้เรือบรรทุกน้ำมันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น แม้การโจมตีทางทะเลทั่วโลกจะลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 8 ปี ในปี 2557 ที่ผ่านมา
โดยมีเรือที่บรรทุกสินค้าหลักเป็นเชื้อเพลิงของเรือขนส่ง 15 ลำ ถูกโจมตีในน่านน้ำของมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทยและช่องแคบมะละกา อย่างไรก็ตามจำนวนเหตุการณ์ที่ได้รับรายงานทั่วโลกลดลงเหลือ 245 ครั้ง ซึ่งต่ำกว่าช่วงเวลาสูงสุดที่โจรสลัดออกปฏิบัติการอย่างแพร่หลายในน่านน้ำโซมาเลียเมื่อปี 2554 ถึง 44 เปอร์เซ็นต์
ทั้งนี้ ช่องแคบมะละกาถือเป็นเส้นทางเดินเรือที่สั้นที่สุดระหว่างตะวันออกกลางกับจีน รัฐบาลสหรัฐระบุว่า เส้นทางนี้ถือเป็น 1 ในจุดยุทธศาสตร์ที่มีการสัญจรหนาแน่นที่สุดในโลก โดยไอเอ็มบีระบุว่า โจรสลัดมีปฏิบัติการโจมตีที่ใช้ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่บริเวณดังกล่าว ยักย้ายถ่ายเทสินค้าจากเรือขนส่งที่ขึ้นมาปล้นไปไว้ที่เรืออีกลำหนึ่ง
ข่าวจาก http://www.marinerthai.net/forum/index.php?topic=5451.0
http://www.matichon.co.th/matichon/
ที่จะสื่อคือ
1. หากมีการจัดตั้งยามฝั่งต่างหาก โดยแจกงานยามฝั่งออกจากทร จะทำให้ภารกิจของทร น้อยลง การใช้งบประมาณดำเนินการต่างๆน้อยลง เพราะเรือรบหลักไม่ค่อยได้ออก เรือที่ออกเป็นเรือของยามฝั่งแทน ซึ่ง อาจเป็นเหตุให้ ถูกลดงบประมาณลงตาม ซึ่งตรงนี้ไม่มีใครการันตีได้
2. OPV ควรเป็น OPV ทร ต้องการเรือที่ ออกได้บ่อย ค่าใช่จ่ายต่ำ ดังนั้นการที่จะทุ่มงบ 5-6พันล้านเพื่อเรือ opv ลำเดียว ไม่คุ้ม เพราะเงินจำนวนเดียวกันสามารถต่อเรือ แบบกระบี่หรือ ปัตตานีได้ 2-3ลำ เรียกว่า งบ 5-6 พันล้านนี้ จบเลยสำหรับโครงการ OPV
3. แต่หาก ทร บอกว่า โครงการณ์นี้ตือ โครงการต่อเรือ คอร์เวท นั้นก็อีกเรื่องหนึ่งครับค่อยว่ากัน ว่าโอเคหรือไม่อย่างไร
ผมบอกแล้วว่าโคสต์การ์ดไม่ใช่การแยกหน่วยออกมาจากทหารเรือ ทำไมไม่มองว่าลดงบกรมเจ้าท่าละครับ? ทำไมไม่คิดว่าลดงบตำรวจน้ำ? เห็นไหมครับเป็นเพราะเราพูดถึงประเด็นนี้ในบอร์ดเกี่ยวกับทหาร ดังนั้นหากมีการเสนอการจัดตั้งโคสต์การ์ดเชื่อว่าไม่มีใครนึกถึงงบทร.เป็นอย่างแรกหรอกครับ? ส่วนศรชลนั้นถามจริงๆ ว่าได้งบปีละเท่าไร ไม่ได้เสี้ยว ดังนั้นจะไปตัดตรงไหนได้เท่าไรกันเชียวหากคิดจะตัด?
เมื่อเปรียบเทียบกับการแยกเซลและมาร์เก็ตติ้งนั้น มันจะเป็นกรณีนี้มากกว่า กล่าวคือที่ผ่านมาบริษัทเอางานเซลมาให้มาร์เก็ตติ้งทำโดยไม่ค่อยมีการจัดสรรค่าโทรศัพท์ค่าน้ำมัน ฯลฯ มาให้ (ค่าโทรศัพท์มันเป็นงบฯ ออกก่อนเหรอครับ? ไม่ได้เบิกเอาทีหลังหรอกเหรอครับ?) ทำให้บุคลากรแผนกเซล&มาร์เก็ตติ้งเรียกว่าต้องออกค่าโทรกันเองหรือเอาค่าน้ำของออฟฟิศมาใช้โทรศัพท์ (น้ำไปซื้อกันเอง) ดังนั้นการแยกเซลออกจากมาร์เกตติ้งและจะมาเรียกเงินค่าโทรศัพท์ที่ก็แทบไม่เคยให้อยู่แล้วคืนได้อย่างไร ก็มันไม่มีนี่หว่า
เรื่องการจัดสรรงบนั้นมันเปลียนได้ทุกปี โดยพิจารณาจากความจำเป็นที่หน่วยงานต้นสังกัดเสนอมา ไม่ได้ตายตัวแต่อย่างใด โดยงบที่ไม่ใช่รายจ่ายประจำปีจะเป็นส่วนที่มีความเคลื่อนไหวสูงเช่นถ้าปีไหนกรมทางหลวงมีโปรเจ็กท์เยอะๆ งบกระทรวงคมนาคมก็อาจจะเยอะตามหากครม.อนุมติโปรเจ็กท์เหล่านั้น ส่วนทร.นั้นไม่เห็นว่ามีเสนองบตามโครงการศรชล.เป็นพิเศษ ดังนั้นต่อให้แยกไปก็คงไม่มีงบอะไรจะโยกไปให้ จะให้โยกเงินเดือนเจ้าหน้าที่ก็ไม่ใช่ เพราะไม่ได้โอนเจ้าหน้าที่ไปด้วย เจ้าหน้าที่ก็ไปทำหน้าที่อื่นของทร. และกินเงินเดือนทร. ไปตามปกติ
และเวลารัฐบาลมีการจัดตั้งหน่วยงานใหม่หรือกระทรวงใหม่ก็มีการจัดสรรงบมาให้ใหม่ตลอด โดยอาจจะลดทอนจากหน่วยอื่นๆ ที่เห็นสมควรหรือเห็นว่าเกินความจำเป็น เช่นการตั้งรฟม.ขี้นมารฟท.ก็ไม่ได้โดนตับงบไปให้รฟม.หรือการจัดตั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทยก็ไม่ได้ไปกระทบกับกรมทางหลวงแต่อย่างใด
ดังนั้นถ้าอยากวิตกเราก็ควรจะไปวิตกแทนศุลกากรกับ กรมเจ้าท่า กรมประมง และตำรวจน้ำว่าจะโดนตัดงบมากกว่านะครับ ตำรวจน้ำจะเหลือแค่ในกทม. กับภาคกลางตามจังหวัดที่มีแม่น้ำใหญ่ที่มีการใช้งานมาก เช่นเจ้าพระยา แม่กลองฯลฯ กับแม่น้ำโขงเท่านั้น ส่วนตามเกาะแก่งและท้องทะเลจะยกให้โคสต์การ์ดหมด (ตำรวจเองก็ปฏิรูปบ้างก็ดี ฮา)
นอกจากนี้ผมก็บอกแล้วไงครับว่าเปลียนแปลงโครงสร้างหน่วยงานรัฐให้ศุลกากรไม่ต้องวิ่งเรือแล้ว ไม่ต้องใช้แล้วจะหวงอะไรล่ะครับ โคสต์การ์ดไม่ได้แค่มาแทนที่การลาดตระเวณในหน้าที่ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการทหารของทร. นะครับแต่จะมาเป็นผู้ดูแลคนเดียวหน่วยงานเดียว
ส่วนทอ.ยกดอนเมืองให้รัฐวิสหกิจจัดการนั้น หน้าที่ในการดูแลบำรุงอาคารสถานที่ถนนหนทาง ฯลฯ นั้นก็ไม่มีแล้ว ดังนั้นก็สามารถบอกว่าภาระและต้นทุนเหล่านี้ไม่มี จึงสมควรถูกตัดงบ ได้ครับถ้าจะพูดอย่างนั้น ส่วนอู่ตะเภายังเป็นทร. ดูแลดังนั้นมันตัดงบไม่ได้อยู่แล้ว
เรื่องสำนักงานตำรวจไม่โดนตรวจสอบจริงครับ แถมซื้อฮ.ซื้อเครื่องบินคนก็ไม่ด่า ผมถึงบอกไงว่าทหารโดนเพ่งเล็งและต่อต้านการจัดซื้อหาอาวุธ ดังนั้นมันถึงเป็นผลดีโดยรวมเพราะการจัดซื้อจัดหาของโคสต์การไม่น่าจะมีการต่อต้านมากเหมือนกับทร.
ความเป็นไปได้ที่จะมีผลเสียที่จะกระทบกับการจัดสรรงบพิเศษเพื่อซื้ออาวุธของทร. ก็คือคนอาจจะคิดว่าไม่ต้องมีอาวุธไว้รักษาความสงบทางทะเลแล้ว(ให้โคสต์การ์ดทำ) ซึ่งไม่เป็นจริงเพราะโคสต์การ์ดไม่มีผลต่อความมั่นคงระหว่างประเทศหรือน่านน้ำสากล เรียกว่าลดการดูแลความสงบเรียบร้อยภายในอย่างเดียวดีกว่า แต่เรื่องของความมั่นคงยังจำเป็นที่จะต้องมีฟริเกต เรือดำน้ำ ฯลฯ ซึ่งตอนนี้ทหารก็ใช้เรื่องหน้าที่รับผิดชอบในด้านพลเรือน(ซึ่งไม่ควรจะต้องมาลำบากทำ)นี้แหละเป็นข้อสนับสนุนในการจัดหาอาวุธ เช่นว่าต้องไปอพยพคนจากเกาะเวลามีพายุ ฯลฯ
สรุปเลยว่าประเด็นในการตั้งโคสต์การ์ดนี้คือเพื่อให้เรามีหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพมาบังคับใช้กฎหมาย รักษาความปลอดภัย กู้ภัย และดูแลความสงบเรียบร้อยทางทะเล เป็นการตั้งหน่วยงานขี้นมาทำหน้าที่ที่ยังไม่มีใครทำอย่างทั่วถึง และรวบรวมหน้าที่จิปาถะของหลายๆ หน่วยงานอื่นๆ ที่คาบเกี่ยวมาไว้ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยเดียวเพื่อประสิทธิภาพ ความประหยัด และความเป็นเอกภาพในการปฎิบัติงาน ในส่วนของทร.นั้นเป้าหมายหลักไม่ใช่เพื่อที่ทร.จะได้โอนงบประมาณด้านนี้ (ซึ่งก็ไม่ได้มี) มาซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์เรือดำน้ำ ฯลฯ แต่เพื่อให้เอางบที่ไม่ได้มีฟุ่มเฟือยไปทำสิ่งที่ควรจะทำ ไม่ต้องเจียดมาทำเรื่องที่ไม่ใช่หน้าที่ ไปซ่อม aav ของนาวิกให้ใช้ได้หมดทุกคันก็ได้เอ้า ไม่ต้องมาจ่ายค่าน้ำมันในการลาดตระเวณจับยาบ้า ดังนั้นจะไม่มีการเอา ร.ล.บางปะกง ร.ล.สุโขทัย ไปกู้ภัยให้สิ้นเปลืองค่าน้ำมันและให้เรือเสื่อมไวๆ เก็บไว้ให้ทหารเรือได้สามารถฝึกกันอย่างเต็มประสิทธิภาพ
แล้วอย่างที่ท่าน superboy กล่าวไว้ไม่ทราบว่าคุณ skysky ได้ทันเห็นหรือเปล่าคือเรือทร. ไม่ใช่วันๆ จอดแช่ มันต้องมีการฝึกซ้อมฯลฯ รวมถึงเข้าบำรุงตามวงรอบ ซึ่งหากเรือที่ไม่ได้ซ่อมมาวิ่งลาดตระเวณจับน้ำมันเถื่อนกันตลอดเวลามันจะกระทบกับความพร้อมรบของกองทัพครับ นอกจากนี้เรือกองทัพการซ่อมบำรุงมันแพงกว่าเป็นธรรมดา ค่าน้ำมันก็มากกว่าเป็นธรรมดาด้วยสมรรถนะของเครื่องที่สูง
ผมก็เห็นด้วยว่า การแยกหน่วยยามฝั่ง ออกจาก กองทัพเรือ ไม่มีผลกระทบกับงบประมาณ กองทัพเรือ ครับ
โดยส่วนใหญ่ หน่วยยามฝั่ง จะสังกัด สำนักนายกรัฐมนตรีฯ ไม่ได้ สังกัด กระทรวงกลาโหม ครับ...เพียงแต่ กองทัพเรือ มีหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้เท่านั้น..คือ ภายใต้ การดูแลของ กองทัพเรือ...งบประมาณก็จะเป็นของ สำนักนายกรัฐมนตรีฯ...ไม่ใช่ งบประมาณของ กองทัพเรือ...
มันคือ การเติบโตของ หน่วยงานราชการ ตามปกติ ครับ...ที่ ความรับผิดชอบมากขึ้น งานมีความซับซ้อนมากขึ้น ก็จะแยก หน่วยงานออกมา เป็น กรม หรือ กอง ออกไป ครับ...มันจะไม่กระทบกับ กระทรวงเดิม...เช่น กระทรวงพัฒนาสังคม ที่แยกออกมาจาก กระทรวงมหาดไทย หรือสมัยก่อนที่มี ทบวงมหาวิทยาลัย ที่แยกตัวออกมาจาก กระทรวงศึกษาฯ เป็นต้น...
แต่ที่ ไม่ได้แยกออกไป น่าจะเป็นเรื่องของ กองทัพเรือ เอง มากกว่าครับ...ที่ว่า ถ้าแยกออกมา แล้วการเติบโตในเรื่องตำแหน่งของบุคคลากรในกองทัพเรือ ก็อาจจะสะดุดหยุดลงบางส่วน เพราะบุคคลากรส่วนหนึ่งจะถูกแยกตัวออกจาก กองทัพเรือไป เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงกับ สำนักนายกรัฐมนตรีฯ ไม่ได้ สังกัด กระทรวงกลาโหม...ซึ่ง คงไม่มีใครอยากจะมา...
ในความเป็นจริง งานลดลง เงินที่สนับสนุนก็ต้องลดลงด้วยจริงไหมครับ ไม่ว่าจะกับหน่วยงานไหน ทร.เค้าไม่ได้สมมุติตัวเลขแล้วไปของบประมาณประจำปีนะครับ เค้าต้องใช้กับอะไร งานไหน เมื่อไร จำนวนเท่าไร เค้าต้องบอกครับ ถึงจะได้เงินมา บอกไปน้อย(งานลดว่างั้น) ก็ได้เงินน้อยครับ
อืมม์.. ถ้าขุดคลองกระจริง สนับสนุนครับให้สัมปทาน PSA ของสิงค์โปร์มาบริหารเฉพาะคลอง เฉพาะเรื่องพานิชย์ ไม่เกี่ยวข้องกับโครงการแลนด์บริดจ์จำพวกโรงงานและแท้งค์ฟาร์มตลองลำคลอง รวมถึงท่าเรือทั้งสองฝั่งคลอง คือให้บริหารและดูแลหาลูกค้ามาใช้คลองและท่าเรือนะครับ
และถ้าแยกยามฝั่งออกไปเป็นอีกหน่วยงาน งบของ ทร. ไม่น่าจะลด เพราะปัจจุบัน ทร. เองมีงานที่ต้องใช้งบเยอะแต่ยังทำไม่ได้เต็มที่เพราะงบไม่พอ ไม่ว่าจะเป็นโครงการจัดหาเรือแบบต่างๆ ทดแทนของเก่าที่มีไม่พอเพราะต้องปลด หรือมีไม่เต็มแผนแต่แรก รวมทั้งเรือใหม่ๆ อย่างเรือ ส. ที่รอกันมานาน
ว่าแต่งานค้นหาและกู้ภัยพลเรือน ควรจะขึ้นอยู่กับใครเอ่ย ? อยากเห็นเครื่องที่มาแทน ซีแอล-215 เร็วๆ อยากเห็นเจ้าภาพที่มีอำนาจหน้าที่และศักยภาพเต็ม 100% เพราะหากจะให้หน่วยงานหลายๆ หน่วยมาบูรณาการทำงานร่วมกัน แลดูว่ามันไม่ค่อยจะเวิร์คนะครับ
ส่วนการตรวจสอบการ ซื้อยุทธโธปกรณ์ ความโป่งใส หรือโดนเพ่งเล็งจากประชาชน ผมว่าไม่เกี่ยวกันเท่าไรอะครับ ไม่ว่าเรื่องไหน(จะภาคทหารหรือพลเรือน) งบตัวไหน ก็ควรโดนตรวจสอบและเพ่งเล็งจากประชาชน ถึงจะดีครับ การแยกหน่วยยามฝั่งไป เพื่อให้ ทร.ซื้อ อาวุธยุทธโธกรณ์ ง่ายขึ้น ผมว่าไม่ใช่เรื่องเลย
อีกอัน คือ เรื่องงบประมาณเมื่อแยก ทร.(งบ 100 บาท) กับ ยามฝั่ง(งบ 30 บาท) ถ้าแยกแล้วงบเท่าเดิม หรือ เพิ่ม มันก็ดีครับแยกกันทำงานเฉพาะด้านมันดีกว่าอยู่แล้ว แต่มันจะเป็นไปได้เหรอครับ ถ้าคิดง่ายๆ ประเทศเรามีงบเพิ่ม จนสามารถแยก ยามฝั่งได้ โดนไม่กระทบ ทร. มันก็ดีนะครับ แต่มันจะดีสู้ เอางบยามฝั่งที่จะได้มาเพิ่มให้ ทร.(เป็น ทร.ได้ 130 บาท) หรือเปล่าครับ นี้ผมยังไม่ได้พูดในกรณีที่ประเทศอาจเข้าสู่สภาวะสงครามทางทะเลนะครับ ถ้า ทร.มีงบ 130 บาท ทร.มีอำนาจใช้ งบ 30 บาท กำหนดแบบต่อเรือ และบุคคลกร ที่ปกติเป็น opv เบา(เรือยามว่างั้น) แต่ รองรับการติดระบบอาวุธหนักในยามสงครามได้ แต่ถ้าแยกแล้ว ทร.มีสิทธิไปกำหนดแบบเรือให้ แยมฝั่งไมครับ ต้องมองในด้านการสำรองกำลังรบด้วยนะครับ เราไม่ใช่ประเทศที่รวยอะไรมากมาย ไว้พรุ่งนี้จะเขียนเรื่อง อายุการใช้งานเรือที่ประเทศพัฒนาแล้วเค้ากำลังนี้ยมกัน (แนวคิดใหม่ว่างั้น) ที่เค้าไม่ได้คิดแบบเก่าอย่างเราแล้วนะครับ
คุณ potmon ได้อ่านที่คนอื่นๆ เขาเขียนกันมาหรือเปล่าครับเนี่ย?
เรื่องการของบมันก็ควรโดนตรวจสอบหมด แต่ผมพูดเรื่องกระแสกดดันต่อต้านจากส่วนต่างๆ ไม่ว่านักการเมืองที่เสียประโยชน์หรือประชาชนครับ ตรวจสอบกับต่อต้าน สองคำสองความหมาย แล้วที่ว่าโดนเพ่งเล็งมากไม่เสียหาย ก็ชวดได้เรือดำน้ำไปหลายรอบนี่ยังไม่เรียกว่าเสียหายอีกเหรอครับ?
นอกจากนี้อ่านแล้วต้องตีความให้แตกนะครับ ไม่ได้บอกนะครับว่าแยกยามฝั่งแล้วทร. จะซื้ออาวุธได้ง่าย แต่อุปกรณ์เช่นเรือและฮ.โดยร่วมจะเพิ่มขี้น (ยามฝั่งขออาวุธได้ง่าย ไม่ใช่ทร.ครับ ทร. ก็เหมือนที่ผ่านๆ มา)
ณ ปัจจุบัน ทร. ไม่ได้ทำหน้าที่ของยามฝั่งได้ครอบคลุมอย่างที่ควรจะเป็น การตั้งหน่วยงานใหม่ทำให้ความเป็นไปได้ในการมีคนทำหน้าที่นี้อย่างเต็มรูปแบบจะมีสูงขี้น
การวางแผนเพื่อรับมือกับความเสี่ยงหรือความมั่นคงในอนาคตนั้นทร. กองทัพไทย กลกาโหม ทำอยู่แล้วครับ เรื่องที่บอกว่าต้องมีเรือพร้อมเสียบจรวดเผือรบ อย่างนี้ต้องให้ทร. ไปออกแบบเรือพาณิชย์ด้วยเลยมั๊ยครับ เผื่อมีสงครามจะได้ติดจรวดได้แล้วเวิร์ก เพราะเกิดสงครามจริงก็อาจจะต้องเรียกเรือพาณิชย์มาช่วยรบ นี่มองด้วยหลักการเดียวแบบคุณเลยครับ เรือของทร.เองยังไม่ต้องออกแบบให้ต่อเติมติดอาวุธได้ทุกลำ นับประสาอะไรกับเรือของหน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่ทร. ครับ
ถึง คุณ tongwarit นะครับ ผมก็อ่านหมดนะครับ อ่านจนงงไปหมดอะ
เรื่องต่อต้านจากส่วนต่างๆ ผมก็ว่ามันดีนะครับ เพราะถ้ามันดีเลิศประเสริฐศรี ใครเค้าจะหาเหตุผลมาต่อต้านได้แหละครับ ในทุกๆเรื่องมีทั้งมุมดี ไม่ดีทั้งนั้นครับ แค่เราได้รับรู้ หรือไม่ได้รับรู้เท่านั้น ยิ่งหากลวีธีใดๆให้ประชาชน หรือนักการเมือง ไม่ให้ต่อต้าน ก็เหมือนเป็นการบังคับ ไม่ให้ได้รับรู้ ไม่ให้ได้เห็น ก็คือไม่ฟังเสียงประชาชนนั้นเอง จริงไหมครับ
อีกอัน เรื่องการเพ่งเล็ง เรื่องเรือดำน้ำเยอรมัน ไม่ดีตรงไหนครับ แล้วเสียหายตรงไหนครับ จะออกว่าคนที่เพ่งเล็งเค้าไม่มีเหตุผลเหรอครับ ถ้ายังจำกันได้ ผมเป็นคนหนึ่งที่คัดค้านเรื่องการซื้อเรือดำน้ำในครั้งนั้น ด้วยเหตุผลที่ว่า ในทางวิศวกรรมต่อเรือแล้วการออกแบบสำหรับการแตกหักเนื่องจากความล้าไม่น่าจะเข้าเกณฑ์ในอ่าวไทยในอายุการใช้งานอีกสิบปีครับ ซึ่งก็ไม่เห็นมีใครโต้แย้งในเรื่องนี้ หรือมีข้อมูลมาหักล้าง เห็นไหมครับ ถ้าไม่มีการเพ่งเล็งจากภาคประชาชน หรือองค์กรที่มีความรู้ต่างๆ ก็ไม่มีใครได้รู้ข้อมูลในอีกแง่มุมหนึ่ง จริงไหมครับ ถ้ารู้ตามข่าว หรือ จาก ทร.ก็ รู้แค่ว่า เรือดำน้ำถูก เยอรมันเค้าเลิกใช้แล้ว เท่านั้น แล้วอย่างนี้ จะให้ประชาชนเลิกเพ่งเล็งกองทัพหรือครับ ไม่ใช่ว่าการมาอ่านมาเขียนกระทู้ในบอร์ดนี้ เราเองก็กำลังเพ่งเล็งกองทัพอยู่ไม่ใช่หรือครับ
อีก อัน ผมก็ไม่เข้าใจจริงๆนั้นแหละครับว่า ถ้าแยก ยามฝั่งออกไปแล้ว มีโครงการซื้อของแปลกๆไม่โดนใจผม ไอ้ยามฝั่ง มันจะไม่โดนผมสวดเหมือนที่สวด ทร. อะครับ ไม่ให้ผมด่า วิจารณ์ หรือคัดค้าน จะเป็นไปได้เหรอครับ(ส่วนการอนุมัติงบของ สำนักนายกรัฐมนตรีฯ หรืออะไรก็แล้วแต่ ผมก็ไม่รู้นะครับว่ามันจะง่ายดายจริงๆอย่างที่คุณว่ามาหรือเปล่า แต่ที่แน่ๆ ครม.เค้าต้องฟังประชาชนมั่งครับ) ไงๆถ้าไม่โดนใจผมที่เป็นประชาชนคนหนึ่งก็คัดค้านแน่อยู่แล้ว ไม่ว่าจะองค์กรไหนๆของภาครัฐ ในทางกลับกันตัว ทร.เองก็เหมือนกัน ผมไม่คิดว่า คนปกติเค้าจะตั้งแง่กับตัวองค์กรครับ แต่เค้าสนใจการปฎิบัติของตัวองค์กรมากกว่าครับ
เสริมนิดนะครับ ตัวอย่างการแยกแบบเห็นๆอันหนึ่งนะครับ มหาดไทย กับ ตำรวจ แต่ก่อน ตำรวจอยู่ใต้ มหาดไทย งบมหาดไทยเยอะมากครับ แต่ปัจจุบันตำรวจแยกออกไป งบมหาดไทยก็ลดลงไปตามหน้าที่ที่ลดลงครับ หรือก็คือโอนไปให้กรมตํารวจแห่งชาติแทนจริงไหมอะครับ
ผมว่าทหารโดนแรงกดดันน้อยกว่าพลเรือนนะครับ สังคมมองจริงบ่นจริง แต่ก็เห็นจัดหาได้ตลอด โดยเฉพาะกองทัพบก ยิ่งอุปกรณ์ที่ สามารถใช้บรรเทาสาธารณะภัยด้วยแล้ว ยิ่งไม่มีปัญหา เช่น ฮ หรือแม้นกระทั่งเรือ อ่างทองก็ไม่มีปัญหา พวกยุทโธปกร์ที่ใช้รบอย่างเดียวจะโดนโจมตีมากหน่อย เช่น รถถังปืนใหญ่ เครื่องบินรบ และเรือดำน้ำ แต่ส่วนมากก็ผ่านมาได้
ซึ่งเรือดำน้ำ ผมว่าไม่เกี่ยวกับกระแสต้าน แต่ทร lobby ไม่ได้เอง ช่วงใกล้ๆกัน มี อนุมัติทั้ง รถถัง และ ฮโ ติดอาวุธ ยังอนุมัติผ่านมาได้
ผมว่าผมเห็นด้วยกับท่าน potmom นะว่า แทนที่จะเอาเงินไปตั้ง ยามฝั่ง เอาเงินมาให้ ทรดีกว่า การแยกงานยามฝั่งออกไป เทียบไม่ได้กับยกดอนเมือง ให้ รัฐวิสาหกิจดูแล หรือ การตั้ง รฟม ครับ ดอนเมืองนับเป็น % น้อยมากในงานของทอ แล้วส่วนที่แบ่งไปก็ไม่ใช่ทั้งหมด ส่วน รฟม ไม่ได้ดึง ภาระงานจาก รฟท ไป ถ้า ทอ ยกงาน บินลำเลียงทั้งหมดให้การบินไทย สิ ค่อยเปลี่ยบเทียบได้ ต้องถามว่า งานยามฝั่งคิดเป็นภาระกิจกี่เปอร์เซ็น ทรในปัจจุบัน งานนี้มันออกแนว ตำรวจ ยกงานดับเพลิงไปขึ้นกับ กทม แต่ก็นั้นแหละ งานดับเพลิงคิดเป็นกี่ % ของงานตำรวจ แล้วอีกอย่าง มันคนละกระเป๋ากัน รัฐบาลกลางจ่ายให้เท่าเดิม ไปกินงบท้องถิ่นแทน
ถ้าทร อยากดึงงบมาหาเรือ ผมว่า ส่งภารกิจ นปข ให้ ทบเขาไป เพราะเป็นทางน้ำในแผ่นดิน หรือ ยุบ กรมปืนใหญ่ นย หรือยุบโรงเรียนพยาบาล มันจะง่ายกว่าครับ อยู่ในอำนาจ ทร เลย
ปล จริงๆแล้ว ผมว่า ตัว ทร นั้นแหละไม่อยากโอน ไม่ได้ติดที่ใครเท่าไหร่ อาจจะเพราะกลัวโดนลด งบ หรือ กลัว อัตรา หาย หรือ กลัวย้ายไปแล้วไม่โตอย่างที่ ท่าน จู ว่า
อีกอัน เรื่องออกแบบเรือพาณิชย์ช่วยรบ ก็ไม่เลวนะครับ(ถ้าได้ออกแบบเรือในราชการหมดแล้วอะนะ) ไงๆต่างประเทศเค้าก็กำลังพัฒนาโมดูลอาวุธแบบพร้อมเคลื่อนที่กันเยอะแล้ว อย่างในคอนเทนเนอร์ หรือกล่องลังที่บรรทุกได้บนรถ 6 ล้อ ไม่เฉพาะเรือในราชการนะครับ เรือสินค้า เรือพาณิชย์ เค้าช่วยรบมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกแล้ว อย่าง เรือใบปืนพาณิชย์ฝรั่งเศส ที่ได้รับอนุญาตให้โจมตี กองเรือรบอังกฤษ ต่อมา อย่างกองเรือบรรทุกเครื่องบินญี่ปุ่น มีกี่ลำกันครับ ที่ไม่ได้ดัดแปลงจากเรือพาณิชย์ หรือ พวกรบสำรองรบ อย่าง อเมริกา อังกฤษ เรือบรรทุกเครื่องขนาดเล็กลำไหนบ้าง ไม่มีดัดแปลงมาจาก เรือพาณิชย์ มายุดหลังๆ อย่างสงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ เรือพาณิชย์บรรทุกทั้งเครื่องบิน ฮ. ทหารราบ ยุทธปัจจัย ออกรบนะครับ ไม่ใช่ผมเป็นคนคิดคนแรกของโลกนะครับ เค้ามีกันมานานแล้ว ผมก็ไม่รู้ว่าการเตรียมพร้อม ไม่ว่าจะในด้านจำนวนเรือสำรองรบ(เรือที่พร้อมติดอาวุธ) อู่ หรืออุตสาหกรรมในยามสงคราม มันไปเดือดร้อนใคร ที่ไหน อย่างไรอะครับ ผมก็เห็น ทร.เองก็ทำอยู่ ทั้ง เรือ ทั้ง อู่ ส่วนที่บอกว่า เรือของทร.เองยังไม่ต้องออกแบบให้ต่อเติมติดอาวุธได้ทุกลำ ก็จริงครับ ถ้ามันไปกระทบกับหน้าที่หลักของเรือ แต่ถ้าไม่กระทบกับหน้าที่หลัก ทำไมจะออกแบบให้รองรับระบบอาวุธไม่ได้อะครับ มันอยู่ที่การออกแบบครับ ใช้สมองให้มากก็จะได้เรือที่ทำหน้าที่ได้มากกว่าหนึ่งอย่างอะครับ อย่างที่เห็นๆกันประจำในเว็บนี้ อย่างรีวิว เรือกระบี่ ที่ติดอาวุธครบ 3 มิติ(จริงๆคงต้องดัดแปลงแบบอีกนิด) มันมีความเป็นไปได้ใช่ไหมครับ ทั้งที่ตอนนี้แค่ติดอาวุธเบา แต่ในยามสงครามอาจติดอาวุธหนักอื่นๆอีกได้ ทำไมเรือยามฝั่งจะทำแบบเรือกระบี่ไม่ได้ มันไปเดือดร้อนใครอะครับถ้าเกิดมันจะรองรับการติดอาวุธอื่นๆ แปลกคน
ที่เขียนค้างไปเมื่อวานครับ "อายุการใช้งานเรือรบ" แนวใหม่
เห็นหลายคนดูเหมือนอยากให้เรือรบจริงๆเรา เฝ้าท่า ขยับตัวให้น้อย(ทำงานน้อยว่างั้น) อายุจะได้ยืนๆ(เราชอบอาวุธโบราณอะ ดูมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ดี) จริงๆแล้วก็เป็นแนวคิดปกติสามัญนะครับ ดีที่สุดในแบบของเราแล้ว
แต่ก็มีพวกทะลึ่งแหวกแนว บอกว่า เรือรบต้องใช้งานให้หนัก อายุการใช้งานน้อย(บ้าไปแล้ว) มีอยู่นะครับ อย่างออกแบบให้ใช้คนประจำเรือน้อยลง วนรอบการซ่อมบำรุงยาวนานขึ้น การซ่อมบำรุงรวดเร็วขึ้น เพื่อให้สามารถใช้งานเรือได้หนักขึ้น แถมอายุการใช้งานน้อยลงอีก งงใช้ไหมอะ เอาตัวอย่างดีกว่า
สมมุติ อ่าวไทยต้องการเรือรบเฝ้าอ่าว 20 กะต่อปี เรือรบมาตรฐาน เราออกได้ 1 กะต่อปี อายุการใช้งาน 50 ปี แสดงว่าจะเฝ้าอ่าวไทยต้องใช้เรือรบ 20 ลำ จะสามารถเฝ้าอ่าวไปได้ 50 ปี
ในกรณีเดียวกัน อ่าวไทยต้องการเรือรบเฝ้าอ่าว 20 กะต่อปี เรือรบเด๊กแนว เราออกได้ 2 กะต่อปี อายุการใช้งาน 25 ปี แสดงว่าจะเฝ้าอ่าวไทยต้องใช้เรือรบ 10 ลำ จะสามารถเฝ้าอ่าวไปได้ 25 ปี
เรือรบเด๊กแนว กับ เรือรบมาตรฐาน ต่างกันอย่างไรดูได้ง่ายๆก็ตรง จำนวนกะ(ปริมาณการทำงานนั้นแหละ) และ อายุการใช้งาน(กำหนดการปลดประจำการนั้นเอง) เรือรบเด๊กแนวมีข้อได้เปรียบเรือรบมาตรฐาน ตรงใช้ งานหนัก(ออกปฎิบัติการมากกว่า) ออก 2 กะใช้คนประจำเรือ 2 ชุด วิ่งรอบเหมือนแท็กซี่ ทำให้เรือไม่ต้องจอดจมอยู่ท่าเปล่าๆ ไม่เกิดประโยชน์ และใช้เรือจำนวนลำน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเรือรบมาตรฐานในภารกิจเดียวกัน การซัพพอร์ทจึงทั่วถึงกว่า แถมได้เปรียบตรง เมื่อใช้งานหนักๆอายุก็จะสั้นเป็นธรรมดา การออกแบบ เรือที่อายุการใช้งานสั้น ออกแบบง่ายกว่า เรือที่อายุการใช้งานยาวๆ และประหยัดทรัพยากรในการสร้างมากกว่า และในด้านระบบอาวุธก็ได้เปรียบกว่าตรงเมื่อเรือเด๊กแนวมีอายุการใช้งานน้อย ก็มีการปลดและการสร้างเข้าประจำการทดแทนด้วยระยะเวลาสั้นกว่า ระบบอาวุธที่ออกแบบมาประจำเรือเด๊กแนวก็อัพเดทกว่า และทันสมัยกว่า เมื่อเปรียบกันเรือรบมาตรฐาน
สุดท้าย จะเห็นได้ว่าเด๊กแนว ไม่ได้ลดการใช้งานเรือรบ เพื่อให้เรืออายุยืนยาวขึ้น อย่างที่หลายๆคนแนะนำ ทร. หรือแนะนำให้ไปใช้บริการจากหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้เรือรบเราจอดจมอยู่กับท่าไปชัวลูกชัวหลาน แต่ตรงข้าม คือ ของใหม่มาของเก่าไป เด๊กแนวในที่นี้หลายๆคนรู้อยู่แล้วว่าคือประเทศอะไรบ้าง
ปล.ขอบคุณที่ติดต่อนะครับทุกคน โดยเฉพาะ คุณ skysky ที่เข้าใจแนวคิดผม
การเตรียมรบในภาวะสงครามมันจะไปเหมือนยามสงบได้ไงล่ะครับ ขืนให้เรือเดินสมุทรทุกลำต้องพร้อมแปลงมารบอย่างมีประสิทธิภาพกันหมด รับรองท่าเรือในเมืองไทยเจ๊งหมด เศรษฐกิจส่งออกล่ม เพราะบริษัทเดินสมุทรคงเตลิดเปิดเปิงไปประกอบการในสิงคโปร์ มาเลย์ เวียดนามกันหมด
การไปเทียบกับเรือ privateer สมัยโบราณนั้นก็เหมือนมีเรือเดินสมุทรขนาดเล็กติดปืนเรือกระบอกหนึ่งนั่นแหละ(ให้จินตนาการภาพเรือของกองทัพเรือฟิลิปปินส์ไปด้วย) หากปะกับเรือรบจริงๆ เรือprivateer แทบจะโดดลงน้ำหนีกันไม่ทัน มันเอาไว้สำหรับบริษัทเอกชนตีกันเท่านั้น ไปรบกับทัพเรือจริงๆ ไม่ได้
ความพยายามในการจัดหาเรือดำน้ำนั้นไม่ได้มีแค่ครั้ง u206 และที่ว่าเรือจะเจ๊งอย่างรวดเร็ว เดี๋ยวผมจะดูว่าโคลัมเบียจะใช้ได้นานเท่าไร
ผมว่าสรุปแล้วเราเห็นไม่ตรงกันตรงประเด็นที่ว่าการที่ทหารเรือไม่ต้องทำหน้าที่โคสต์การ์ดจะทำให้โดนตัดงบหรือไม่เนี่ยแหละ
แต่ผมเห็นด้วยนะครับว่ามีความเป็นไปได้ว่าทหารเรือก็คงไม่อยากต้องลดอำนาจตัวเองในด้านนี้
เรื่องทฤษฎีเรือรบเด็กแนวนั้น ประเด็นมันไม่ใช่แค่ใช้งานเยอะกว่าสองเท่า แต่มันคือการไม่บำรุงตามระยะหรือเปล่า เหมือนรถยนต์ควรจะเปลี่ยนของเหลว ยาง ฯลฯ ทุก 30,000 กิโลเมตร และการเข้าอู่นั้นใช้เวลาพอสมควร ถ้าหากเล่นขับทีละ 60,000 กิโลเมตรแล้วเข้าอู่ทีอายุของรถเด็กแนวมันไม่ได้เหลือแค่ครึ่งหนึ่งของรถมาตรฐานโดยวิ่งระยะเท่ากันขณะหมดอายุ แต่มันจะเหลือ 1/3 ของรถมาตรฐานโดยที่วิ่งไปได้ระยะทางแค่ครึ่งเดียวมากกว่า เพราะการวิ่งโดยสภาพไม่สมบูรณ์จะเป็นการเร่งให้อายุการใช้งาน(ชม. กม. อะไรก็ว่าไป)สั้นลงไปอีก เพราะอัตราการเสื่อมต่อ กม. มันจะเพิ่มยกกำลังมากกว่า
ดังนั้นปัญหาที่เราพูดกันคือการที่เรามีเรือไม่พอทำให้ไม่ได้รับการบำรุงและต้องทู่ซี้ใช้ไปอย่างนั้นหรือเปล่า (เหมือนการมีรถตำรวจเพียงคันเดียวจึงต้องวิ่งลาดตระเวณโดยที่ไม่เคยเปลี่ยนน้ำมันเครื่องจนรถเจ๊งอย่างไวเลยทีเดียว) ไม่ใช่เข้าอู่ไปนอนเล่นนั่งเล่นเพื่อยืดอายุด้วยการไม่ใช้งาน
แนวคิดเรื่องเรือเด็กแนวต้องดูปริมาณด้วย
เพราะเรือรบหน้าที่หลักสำหรับประเทศที่ไม่ได้ออกจ๊อบตลอด ระรานเขาไปทั่วแบบพวกมหาอำนาจ ไม่ได้เอาไว้วิ่งโชว์ แต่เป็นการถ่วงดุลย์อำนาจกันครับ
เพราะฉะนั้นเราจำเป็นที่จะต้องมีเรือพร้อมรบในจำนวนหนึ่ง (ซึ่งจะเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับดุลย์อำนาจในภูมิภาค) เป็นกำลังรบขึ้นต่ำ จำนวนลำครับ ไม่ใช่กะ
เอาจากตัวอย่างของคุณก็ได้ครับ สมมติมาเลย์มีเรือฟริเกต 20 ลำ
ประเทศไทยมีตังแค่พอซื้อเรือ 20 ลำใน 50 ปี ให้เลือกระหว่างมีเรือพร้อมรบแค่ 10 ลำตลอด 50 ปีนี้ โดยแบ่งเป็น 10 ต่อ 25 ปี หรือมี 20 ลำทั้ง 50 ปี
ถ้าเลือกข้อแรกก็หมายความว่ากำลังรบเราจะมีแค่ครึงหนึ่งของข้าศึก ตลอดศกนะครับ
อีกอย่างที่คุณบอกว่าเรืออายุใช้งานสั้นออกแบบง่ายกว่า อันนั้นก็ถูกครับ แต่อายุการใช้งานก็แปรผันตามความถี่ในการใช้งานด้วย
สมมติเรืออกแบบมาให้อายุใช้งาน 40 ปี ในโหลดการใช้งานปกติ เอามาใช้งานหนักสองเท่าก็จะเหลืออายุ 20 ปี กับเรือเด็กแนวออกแบบมาให้ใช้งานแค่ 20 ปี แต่เอามาใช้งานหนักสองเท่าให้ตรงคอนเซ็ปท์เด็กแนว เรือก็เหลืออายุ 10 ปีไงครับ ไม่ใช่ 20 ปี
ผมว่าเรือพานิช เอามารบมันไม่ค่อยwork นะครับ เรือรบมันต้อง โดนยิงแล้วยังไปต่อได้ อย่าง OHP คือโดยยิง โดนระเบิดยังแล่นต่อ หรือ รบต่อได้ หากโดนโป้งเดียวจอด ตายยกลำก็ไม่ไหวนะครับ
วันนี้เงียบไปหน่อยผมจึงช่วยแอดมินปั่นกระทู้ เอ๊ย! อัพเดทข้อมูลใหม่ๆ นอกจากเรือหลวงปัตตานีจะต้องทำภาระกิจของตัวเองแล้ว ในเวลานี้ยังใช้เป็นเรือฝึกสำหรับนักเรียนนายเรือด้วย ภาพจากFB เรือครับ
ผู้บังคับการเรือหลวงปัตตานี กล่าวต้อนรับและให้โอวาทแก่นักเรียนนายเรือชั้นปีที่ ๑-๔
นักเรียนนายเรือพรรคกลินฝึกประจำสถานีต่างๆ
อาหารหลุม คิดถึงสมัยเรียนรด.จัง นั่นมันชาเชียวใช่ไหม
เรื่องแยกงาน coast guard มันควรจะทำมาตั้งนานแล้วครับ
ทร. ไม่ควรจะทำทุกงงาน มันซ้ำซ้อน สิ้นเปลือง โดยใช่เหตุ
งาน coast guard ในตำรวจน้ำ ก็มีเหมือนกัน ก็ต้องโดนดึงออกไปด้วย
แต่พอดึงแล้ว เงินงบประมาณก็ต้องไปด้วย อันนี้ มันเมกเซนซ์อยู่แล้ว
แต่ปัญหาคือ งานมี แต่เงิน แน่ใจเหรอว่ามี แน่ใจเหรอว่าพอ แน่ใจหรือว่าจัดเงินมาให้แล้ว
ผมว่างานcoast guard มันถูกละเลยมาโดยตลอด
ในทำนองเดียวกันกับงานแพทย์ฉุกเฉิน ที่เป็นงานหนัก หมอเฉพาะทางไม่มี รถพยาบาลไม่มี ต้องไปเอากู้ภัยอาสามาร่วม
งานมันมี แต่เงิน ผมไม่เห้นนะ มันไปไหนอ่ะเงิน เม่อไหร่จะจัดงบให้งานแพทย์ฉุกเฉินมั่งก้ไม่รู้
บ.ของประเทศไหนดูเอาอะครับ
อันนี้เป็นตอนปะทะ เรือสินค้า นาทีที่ 0.35 นะครับ เป็น ฮาพูน
ถึงท่าน tongwarit,toeytei นะครับ ผมหายไป 2 วันเลย ไม่ได้ใช้เน็ตเลย เด๋วช่วยปั่นให้ถึง 100 ไปเลยกระทู้นี้
อ้างอิงอันนี้ก่อนนะครับ "การเตรียมรบในภาวะสงครามมันจะไปเหมือนยามสงบได้ไงล่ะครับ ขืนให้เรือเดินสมุทรทุกลำต้องพร้อมแปลงมารบอย่างมีประสิทธิภาพกันหมด รับรองท่าเรือในเมืองไทยเจ๊งหมด" ท่านครับ มันไม่ได้โอเวอร์ขนาดที่ท่านคิดหรอกนะครับ เรือพาณิชย์ช่วยเรือ ไม่ได้แปลนให้เป็นเรือรบหลักในยามสงครามนะครับ มันช่วยรบ ไม่ได้เป็นแนวหน้าในการรบทางทะเลนะครับ หน้าที่หลักมันเป็นเรือพาณิชย์ ตราบได้ที่การออกแบบมันไม่กระทบหน้าหลักของเรือและทรัพยากรของเรือ มันก็ออกแบบได้ครับให้เรือพาณิชย์รองรับความสามารถในการรบ ตัวอย่างเรือพาณิชย์ที่ กลายเป็นเรือรบแนวหน้าเลย ก็ อย่างเรือบรรทุกเครื่องบิน เรือยิงจรวดหลายลำกล้อง ในสงครามโลก
ไงๆผมก็แปะคลิปมาให้ดูกันแล้วขออธิบายหน่อยนะครับ อย่างโมดูลเคลื่อนที่ ในคลิปที่1 จะเห็นได้ว่าเรือคอนเทนเนอร์(ขนาดประมาณ 50-70 คอนเทนเนอร์ คอนเทนเนอร์สั้นนับ1 ยาวนับ2 นะ) และเรือสินค้าเทกอง ขนาดเล็ก มีความสามารถรบทางทะเลได้เมื่อติดโมดูลเคลื่อนที่ เรือพาณิชย์ช่วยรบในความคิดผมไม่ได้เปลี่ยนแปลนเรือ ไม่ได้บังคับเอกกชนให้ทำเรือในแปลนที่กองทัพกำหนด แต่เป็นการสนับสนุนอุตสหากรรมการต่อเรือภายในประเทศ และได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น การต่อเรือคอนเทนเนอร์ขนาด 50-70 คอนเทนเนอร์(ต่อมาแล้ว 2-3 ลำโดยฝีมือคนไทยล้วนๆ แต่ข่าวเงียบสุดๆ ภาครัฐไม่มีการสนับสนุน ภาษีเต็มๆ ใช้ขนของจากภาคใต้มาแหลมฉบัง แทนใช้รถขนคอนเทนเนอร์) ง่ายๆแค่สนับสนุน ให้ความรู้ แก่เอกชนที่จะต่อเรือพาณิชย์ที่เข้าเกณฑ์ เรือพาณิชย์ช่วยรบ ก็สุดยอดแล้วครับสำหรับไทย และในคลิปที่ 2 ฮาพูนไม่ได้มีอำนาจทำลายเรือสินค้า มากไปกว่า เรือรบจริงๆเลยนะครับ เรื่องที่ว่าเรือพาณิชย์บอบบางกว่าเรือรบมากๆ ผมว่าไม่ใช่แล้ว เราเลยยุคสงครามโลกมากแล้วนะครับ
คือ ความหนาของเหล็กก็เป็นส่วนหนึ่งนะครับที่แตกต่างระหว่างเรือรบรบแท้ๆกับเรือพานิช แต่ระบบป้องกันความเสียหายเนี่ยเรือพานิชจะมีไหม งานนี้เหมือนเอา รถปิคอัพติดปืน 20 มม ไปเทียบกับ IFV ถามว่ารบได้ไหม ปิคอัพเอาปืนยิง ใส่ IFV พังไหมก็พัง แต่กำลังพลภายในอาจได้รับอันตรายน้อยกว่าโอกาศอยู่รอดมากกว่า คือถ้าไม่มีทางเลือกก็ต้องทำ แต่ถ้าเป็นไปได้ก็เลี่ยงเถิด
อีกอัน คือ เรื่องเรือรบ เด๊ดแนว ผมว่าผมอธิบายได้ดีพอสมควรแล้วนะครับ แต่จะอธิบายเพิ่มเติมดู จาก
"สมมุติ อ่าวไทยต้องการเรือรบเฝ้าอ่าว 20 กะต่อปี เรือรบมาตรฐาน เราออกได้ 1 กะต่อปี อายุการใช้งาน 50 ปี แสดงว่าจะเฝ้าอ่าวไทยต้องใช้เรือรบ 20 ลำ จะสามารถเฝ้าอ่าวไปได้ 50 ปี
ในกรณีเดียวกัน อ่าวไทยต้องการเรือรบเฝ้าอ่าว 20 กะต่อปี เรือรบเด๊กแนว เราออกได้ 2 กะต่อปี อายุการใช้งาน 25 ปี แสดงว่าจะเฝ้าอ่าวไทยต้องใช้เรือรบ 10 ลำ จะสามารถเฝ้าอ่าวไปได้ 25 ปี "
จะเห็นได้ว่า เรือรบเด๊กแนว และ เรือรบมาตรฐาน ใช้งาน 50 กะ ตลอดอายุการใช้งาน เท่ากันนะครับ สรุปใช้งาน ทำงาน เท่ากันโอเค
อีกอันก็เรื่องการบำรุงรักษา อ้างอิง"เรื่องทฤษฎีเรือรบเด็กแนวนั้น ประเด็นมันไม่ใช่แค่ใช้งานเยอะกว่าสองเท่า แต่มันคือการไม่บำรุงตามระยะหรือเปล่า" ผมไม่ได้เขียนนะครับว่า เรือรบเด็กแนวเป็นเรือรบมาตรฐานที่โดนบังคับให้ออก 2 กะ(งั้นผมก็เขียนเป็น เรือรบมาตรฐานที่โดนบังคับให้ออก 2 กะ ไปเลยไม่ดีกว่าเหรอ) ในความหมายผม เรือรบเด๊กแนว และ เรือรบมาตรฐาน ได้รับการซ้อมบำรุงตามวนรอบแล้วนะครับ(ไม่รู้จะเล่นคำทำไม) แต่โดยการออกแบบ เรือรบเด๊กแนว ออกได้ 2 กะ คนเรือ 2 ชุด ต่อปี เรือรบมาตรฐาน 1 กะ ต่อปี โอเคนะครับ
อีกอัน เรื่อง การถ่วงดุลย์อำนาจ ขออ้างอิง "แนวคิดเรื่องเรือเด็กแนวต้องดูปริมาณด้วย
เพราะ เรือรบหน้าที่หลักสำหรับประเทศที่ไม่ได้ออกจ๊อบตลอด ระรานเขาไปทั่ว แบบพวกมหาอำนาจ ไม่ได้เอาไว้วิ่งโชว์ แต่เป็นการถ่วงดุลย์อำนาจกันครับ
เพราะ ฉะนั้นเราจำเป็นที่จะต้องมีเรือพร้อมรบในจำนวนหนึ่ง (ซึ่งจะเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับดุลย์อำนาจในภูมิภาค) เป็นกำลังรบขึ้นต่ำ จำนวนลำครับ ไม่ใช่กะ
เอาจากตัวอย่างของคุณก็ได้ครับ สมมติมาเลย์มีเรือฟริเกต 20 ลำ
ประเทศ ไทยมีตังแค่พอซื้อเรือ 20 ลำใน 50 ปี ให้เลือกระหว่างมีเรือพร้อมรบแค่ 10 ลำตลอด 50 ปีนี้ โดยแบ่งเป็น 10 ต่อ 25 ปี หรือมี 20 ลำทั้ง 50 ปี
ถ้าเลือกข้อแรกก็หมายความว่ากำลังรบเราจะมีแค่ครึงหนึ่งของข้าศึก ตลอดศกนะครับ "
เล่นสมมุติให้เรือเด๊กแนวของผมน้อยกว่าแบบนี้ก็แย่สิครับ เหมือนผมดูไม่รู้เรื่องทางทหารเลยอะ ทำไม ไม่สมมุติให้ ไทยเรือเด๊กแนว 20 ลำ มาเลเรือมาตรฐาน 20 ลำ อะครับ ผมจะได้บอกได้ว่างานที่สามารถทำได้เพิ่มมาของเรือเด๊กแนว ก็ไปใช่ในส่วนของยามฝั่งไงครับ ในการออกแบบให้เรือใช้งานได้มากขึ้น มันก็เสนอประโยชน์มากขึ้นครับ ไหนๆก็ดราม่า ยามฝั่ง แล้วขอยกตัวอย่างเลยแล้วกัน
สมมุติ ทร.เวียดนาม(ไม่เอามาเลแล้วเด๋วเยอะกว่าไทยอีก)
ทร.เวียดนามมีเรือรบมาตรฐานเฝ้าทะเล 20 ลำ 1กะต่อปี ยามฝั่ง.เวียดนามมี 20 ลำ 1กะต่อปี ทะเลเวียดนามหนึ่งปีมีเรือเฝ้า 40 กะ ทั้งหมดอายุยืนถึง 50 ปี ใน 50 ปี ต้องซื้อเรือเปลือกเรือ 40 ลำ(ซ้อมบำรุงตามวนรอบปกติ)
ทร.ไทยมีเรือรบเด๊กแนวเฝ้าทะเล 20 ลำ 2กะต่อปี ยามฝั่ง.ไทยโดนท่านpotmon ระงับ 0 ลำ 0กะต่อปี ทะเลไทยหนึ่งปีมีเรือเฝ้า 40 กะ ทั้งหมดอายุสั้นแค่ 25 ปี ใน 50 ปี ต้องซื้อเรือเปลือกเรือ 40 ลำ(ซ้อมบำรุงตามวนรอบปกติ เรือเด๊กแนวออกแบบมาแบบนี้นะครับ และเรือรบเด๊กแนวบนเรือจะมีคนรู้กฎหมายทางทะเลซัก 1 คนคงไม่ตายมั่งครับ)
ผมสรุปให้ครับ กำลังรบทางทะเล เท่ากันครับ คือ เรือรบไทย 20 ลำ ต่อ เรือรบเวียดนาม 20 ลำ(ไงๆหลายท่านก็บอกกันอยู่แล้วว่า เรือช่วยรบ เรือสำรองรบ มันอ่อน ไม่มีประโยชน์ ผมเลยขอไม่นับเรือแยมฝั่งนะครับ) ค่าใช้จ่ายและการเฝ้าระวังทะเลเท่ากันคือ 40 กะ กำลังพลเท่ากัน 40 ชุด เปลือกเรือที่ต้องซื้อในรอบ 50 ปี เท่ากันคือ 40 ลำ ผมว่าเรือเด๊กแนวประหยัดกว่า และทันสมัยกว่า เพราะมันเปลี่ยนใหม่ทุกๆ 25 ปี ไม่ใช่ทุกๆ 50 ปี
ขอเรื่อง เรือรบเด๊กแนว อีกนิดนะครับ
คือผมไม่ได้บอกนะครับว่า เรือรบเด๊กแนวมีแล้วในไทย หรือไทยต่อได้ซื้อได้ รองรับได้ แต่ผมอยากจะบอกว่าโลกกำลังเปลี่ยนไปในทิศทางนี้ครับ คนไทยเราไม่มีความจำเป็นต้องย่ําอยู่กับที่(สำหรับคนอื่นๆผมไม่รู้นะ แต่ผมว่าคนเรามันต้องพัฒนาตัวทุกๆวันอะ) การเตรียมพร้อมสำหรับสิ่งที่จะเกิด ไม่เป็นการฉลาดกว่าเหรอครับ หรือจะเอาแบบโบราณเค้าว่ามายังไง ก็ทำมันต่อไปอย่างนั้นแบบไม่มีเหตุผลรองรับเหรอ เรื่องเรือเด๊กแนวอีกไม่นานมันมาแน่ครับ เรือที่ซ้อมบำรุงน้อย ใช้งานหนัก 2กะ อายุสั้น ไทยเราจะมั่วแต่ปิดหูปิดตาไม่รับรู้อะไร ไปเพื่อ ผมไม่เข้าใจ
จริงๆตัวอย่างเรื่อง เรือรบเด๊กแนว ผมตั้งใจชี้ให้เห็นว่าการที่เรา จะตั้งยามฝั่ง เพื่อลดการใช้งานเรือรบของ ทร. ให้มันใช่งานน้อยๆ จะได้อยู่ไปนานๆ มันไม่สมเหตุสมผลกับยุคสมัยครับ เพราะการตั้งหน่วยงานรัฐใหม่ ควรจะเพื่อตอบเสนอความต้องการใหม่ๆ แนวคิดสมัยใหม่ๆ ไม่ใช่แนวคิดโบราณอะครับ
อีกอัน อ้างอิง จาก
"อีกอย่างที่คุณบอกว่าเรืออายุใช้งานสั้นออกแบบง่ายกว่า อันนั้นก็ถูกครับ แต่อายุการใช้งานก็แปรผันตามความถี่ในการใช้งานด้วย
สมมติ เรืออกแบบมาให้อายุใช้งาน 40 ปี ในโหลดการใช้งานปกติ เอามาใช้งานหนักสองเท่าก็จะเหลืออายุ 20 ปี กับเรือเด็กแนวออกแบบมาให้ใช้งานแค่ 20 ปี แต่เอามาใช้งานหนักสองเท่าให้ตรงคอนเซ็ปท์เด็กแนว เรือก็เหลืออายุ 10 ปีไงครับ ไม่ใช่ 20 ปี"
ถูกต้องนะครับ เรือรบเด๊กแนว 2 กะต่อปี อายุ 25 ปี ความถี่ 50 (25x2) กะ และ เรือรบมาตรฐาน 1กะต่อปี อายุ 50 ปี ความถี่ 50 (50x1) กะ ตัวอย่างผมอายุการใช้งานก็แปรผกผันตามความถี่อยู่แล้วนี้ครับ แล้วทำไมต้องให้เรือเด๊กแนว"มาใช้งานหนักสองเท่าให้ตรงคอนเซ็ปท์เด็กแนว เรือก็เหลืออายุ 10 ปี"ด้วยอะครับ มันถูกออกแบบมาให้ใช้งาน 2กะอยู่แล้ว จะไปใช้สองเท่า 4กะ ทำไมอะครับ
ส่วนเรื่องการออกแบบของที่ใช้งานยาวนานกว่า(อายุยืนกว่า) คุณก็น่าจะทราบอยู่แล้ว อย่างเกรดเหล็ก รูปร่าง ความหนา ความความแข็งที่ลดลงแปรผกผันกับเวลา ความล้าสะสม เด๋วมันจะไปทางวิศวกรรมเกินไปยืดยาว ตัวอย่างง่ายๆเห็นเป็นรูปธรรมอย่าง เรือรบเด๊กแนว 2 กะต่อปี อายุ 25 ปี ความถี่ 50 (25x2) กะ แต่ท่าสีใต้ท้องเรือ 25 ครั้ง ท่าสี 1 ครั้งต่อปี ประหยัดกว่า เรือรบมาตรฐาน 1กะต่อปี อายุ 50 ปี ความถี่ 50 (50x1) กะ แต่ท่าสีใต้ท้องเรือ 50 ครั้ง ท่าสี 1 ครั้งต่อปี เรือเด๊กแนวประหยัดกว่า เมื่อเทียบกับการใช้งานจำนวนกะเท่ากันด้วยจำนวนครั้งที่ทาสีน้อยกว่า เพราะสีมันไม่เหมือนยางล้อรถยนต์ครับ มันไม่ได้เสื่อมสภาพแปรผันตามระยะทางหรือกะที่เรือเดิน แต่มันเสื่อมสภาพตามเวลาโดยผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมครับ
ช่วยยกตัวอย่าง"โลก" ที่กำลังเปลี่ยนไปทางเด็กแนวหน่อยครับ ที่เราใช้นานๆเพราะเราไม่มีตังไงครับ เลยต้องใช้ของเก่าต้องยืดอายุ
ผมไม่เห็นเทรนด์ประเทศไหนที่เน้นต่อเรือน้อยใช้อายุสั้นๆเลย ส่วนใหญ่ก็ต่อไปตามที่งบมี ยิ่งสมัยหลังๆของยิ่งไฮเทคยิ่งแพงต่อกันไม่ค่อยได้จำนวนตามที่วางแผนกันทั้งนั้น งบฯไม่พอ
--ทำไม ไม่สมมุติให้ ไทยเรือเด๊กแนว 20 ลำ มาเลเรือมาตรฐาน 20 ลำ อะครับ-- ไม่เข้าใจที่ผมบอกเหรอครับ ก็ 20 ลำเท่ากัน แต่ของไทยเราทำตามเด็กแนวไงครับ คือต่อจำนวนน้อยกว่ากึ่งหนึ่ง อายุใช้งานสั้นกว่าเท่านึง พอไปครึ่งนึงของอายุประจำการเรือมาเลย์ที่ใช้ฟริเกตมาตรฐานเราก็ต่อใหม่ รวมกันก็เท่ากันนั่นแหละ นี่คือผมเอาตามสมมติฐานแรกของคุณเลยครับ
--สมมุติ อ่าวไทยต้องการเรือรบเฝ้าอ่าว 20 กะต่อปี เรือรบมาตรฐาน เราออกได้ 1 กะต่อปี อายุการใช้งาน 50 ปี แสดงว่าจะเฝ้าอ่าวไทยต้องใช้เรือรบ 20 ลำ จะสามารถเฝ้าอ่าวไปได้ 50 ปี
ในกรณีเดียวกัน อ่าวไทยต้องการเรือรบเฝ้าอ่าว 20 กะต่อปี เรือรบเด๊กแนว เราออกได้ 2 กะต่อปี อายุการใช้งาน 25 ปี แสดงว่าจะเฝ้าอ่าวไทยต้องใช้เรือรบ 10 ลำ จะสามารถเฝ้าอ่าวไปได้ 25 ปี--
ตามตัวอย่างคุณก็เปรียบเทียบเรือ 10 ต่อ 20 ลำเหมือนกัน แต่คุณเทียบ 25 กับ 50 ปี ของผมก็แค่เปรียบเทียบทั้งห้าสิบปี ก็เป็น 20 เท่ากัน
ถ้าขืนให้เรามีเรือ 20 ลำใน 25 ปีแรก แล้วต่ออีก 20 ลำ ใน 25 ปีหลัง ก็เท่ากับซื้อเรือทั้งสิ้น 40 ลำใน 50 ปีครับ อย่างนี้ก็ต้องให้มาเลย์มีเรือ 40 ลำสิครับ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นเราก็ยังมีอัตรากำลังรบแค่ครึ่งหนึ่งของมาเลย์ตลอดศก
ถึงท่าน tongwarit,toeytei นะครับ
ผมอึ่งนิดๆนะครับที่ ยังไงๆท่านก็จะให้ เรือรบ ทร.มาเลมากกว่า เรือรบไทยอยู่ดีอะครับ เราสองคนโยนความกันมาตั้งแต่ แยกยามฝั่งนะครับ ที่ท่านจะให้ยามฝั่ง มี เรือ กำลังพล งบของตัวเอง ในว่า ทร.ทำงานไม่ทัน(งานเยอะว่างั้น) ผมก็บอกว่าแนวคิดสมัยใหม่แบบเด๊กแนว(เรือรบเด๊กแนว)ก็มีนะ แถมทันสมัยกว่า ทำงานได้เยอะกว่า ประหยัดกว่า เมื่อเทียบกับการแยกงบไปเป็นยามฝั่ง โดยเอางบยามฝั่งมาใช้ใน ทร. แทนไงครับ(เงินที่จะซื้อเรือช่วง2 หลัง 25ปีแรกไงครับ เงินยามฝั่งทั้งกรมนั้นแหละ เพราะเรือเด๊กแนวทำหน้าที่ยามฝั่งได้ด้วยไงครับ) แล้วก็มายกตัวอย่างเทียบกับ ทร.และยามฝั่งของเวียดนาม(ผมว่าผมก็อธิบายโอนะ) ผมไม่ได้บอกนะครับว่า เราต้องทิ้งเรือมาตรฐานเก่าของเราหมด แล้วมาใช้เรือรบเด๊กแนว(ตังไม่มีก็เห็นกันอยู่) ผมบอกว่าถ้าไทยมีงบเยอะจนแยกยามฝั่งได้ เอาเงินตรงนี้ไปให้ ทร.ต่อเรือรบ จัดกำลังพล ให้เพียงพอ กับงานที่เยอะอยู่ตอนนี้ แล้วผมก็ยกแนวคิดเรือรบเด๊กแนว มาใช้ดีกว่าไหม ทำงานได้เยอะกว่า ประหยัดกว่า และทันสมัยกว่า เพื่อแก้ปัญหาที่ท่าน tongwarit บอกว่า ทร. มีงานเยอะอยู่ในขณะนี้ไงครับ แต่ถ้าไม่มีตังผมจะไปว่าอะไรได้ครับผม(รอได้เป็นนายกก่อนค่อยดู) ผมพูดถึงตอนมีตังอะครับ
สรุป ผมมีปัญญาอธิบายให้ ท่าน tongwarit,toeytei ได้เท่านี้นะครับ ท่านเข้าใจได้แค่ไหนก็ตามกำลังท่านเลยครับในเรื่องของ เด๊กแนว (ไม่เข้าใจวัยโจ๋เลยอะ)
ถึงท่าน toeytei นะครับ
อีกอันคือ ผมอึ่งนิดๆนะครับที่ คนเก่าแก่ในบอร์ดนี้ ไม่รู้ว่ามีแนวคิดแบบเรือรบเด๊กแนวเค้าอยู่ แนวคิดค้อนข้างใหม่ครับคนรุ่นก่อนๆคงไม่ทันอะมั่ง จริงๆไม่อยากโยนไปหา ทร.ไหนนะครับ(เด๋วโดนว่าโปร โน้น โปรนี้ อีก) ลองไปตามดูกันเองนะครับ ตามกำลังของท่านเลย ในยูทูปก็มีนะ อย่าง Freedom class LCS-1 LCS-3 Independence LCS-2 Zumwalt Trident Class Ohio class ทำงานเป็นกะ มี 2 กะ นะครับ เป็น blue crew กับ gold crew ส่วนโปรอื่นๆ จำไม่ได้ เพราะไม่ค่อยได้ดูโปรอื่นๆเท่าไร ใครเชี่ยวชาญโปรอื่น แนะนำ ท่าน toeytei ทีนะครับ ผมเองก็จะได้รู้ด้วย ขอบคุณครับ
ปล. เกือบลืม อันที่เด่นเลย เรื่องใช้งานอายุสั้นๆ ที่สุดก็น่าจะเป็นเจ้า Independence อะครับ ใช้งานหนัก งานเสี่ยง หลากหลายภารกิจ ใช้จนคุ้ม ถ้าจำไม่ผิดอายุประจำการ 20 ปี ด้วยอายุการใช้งานที่น้อย ผู้ออกแบบสามารถเลือกใช้อะลูมิเนียมเป็นโครงสร้างหลักของเรือได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงความล้าสะสมยาวนานเหมือนเรือเหล็กแบบอื่นๆ เพราะอะลูมิเนียมไม่มีค่า Endurance Limit ทุกๆแรงกระทำจะเกิดความล้าสะสมครับ แต่เมื่อเป็นเรือที่มีอายุการใช้งานน้อย ข้อจำกัดนี้จึงไม่ส่งผลกระทบเท่ากับเรืออายุการใช้งานนานๆครับ และเมื่อใช้อะลูมิเนียมมันก็เบากว่าจริงไหมครับ เมื่อเทียบอะลูมิเนียมกับเหล็กที่น้ำหนักเท่ากัน อะลูมิเนียมรับแรงได้สูงกว่า แข็งกว่า กันกระสุนได้ดีกว่าว่างั้น เบากว่าก็สามารถสร้างให้มีพื้นที่มากกว่าเรือเหล็กได้จริงไหมครับ แถมกินน้ำก็ตื้นกว่า และที่สำคัญที่สุดมันสวยกว่าอะครับ ไม่บู้บี้ยับทั้งลำเหมือนเรือเหล็ก การลดการสะท้อนเรดาห์ก็ต้องดีกว่า จริงไหมครับ อันอื่นๆไม่ขอยกตัวอย่างนะครับ เริ่มยาว
- "อีกอัน เรื่องออกแบบเรือพาณิชย์ช่วยรบ ก็ไม่เลวนะครับ (ถ้าได้ออกแบบเรือในราชการหมดแล้วอะนะ") จากนั้นคุณก็เปลียนบอกว่า "ไม่ได้บังคับเอกกชนให้ทำเรือในแปลนที่กองทัพกำหนด"
ตกลงจะออกแบบหรือไม่ออกแบบล่ะครับ ผมชักสับสน คือถ้าไม่บังคับก็คงไม่มีใครทำหรอกครับ
"ตราบได้ที่การออกแบบมันไม่กระทบหน้าหลักของเรือและทรัพยากรของเรือ"
มันจะไม่กระทบได้ไงครับ? ก็ในเมื่อตอนนี้การออกแบบเรือพาณิชย์ก็เพื่อประสิทธิภาพในหน้าที่ที่ดีที่สุด การไปเปลี่ยนแปลงมันย่อมลดทอนและกระทบต่อหน้าที่หลักอยู่แล้ว
การแปลงเรือพาณิชย์เพื่อมารบในช่วงสงครามนั้นมันเป็นเพราะมันไม่ทางเลือกครับ มันเป็นเพราะเรือรบหมดประเทศแล้ว ไม่ใช่การเตรียมพร้อมยามสงบเพราะว่ามันเข้าที
และการต่อเรือคอนเทนเนอร์ทั่วไป ผมก็ไม่เห็นว่ามันจะมีผลต่อความมั่นคงขนาดที่กองทัพหรือรัฐบาลต้องไปสนับสนุนในการสร้างนะครับ เอาเงินและทรัพยากรมาสนับสนุนในทางตรงเช่นต่อเรือรบดีกว่าไหม
- "เรื่องที่ว่าเรือพาณิชย์บอบบางกว่าเรือรบมากๆ ผมว่าไม่ใช่แล้ว เราเลยยุคสงครามโลกมากแล้วนะครับ"
ในคลิปนั้นยิงตูมเดียว เราไม่รู้ว่าลำไหนจมบ้างหรือว่าลำไหนจมเร็วจมช้า เรือรบมีการออกแบบซอยเป็นห้องๆ เยอะมากทำให้การโดนอาวุธแล้วยังไม่จมขณะที่เรือสินค้าแบ่งเป็น compartment ในจำนวนที่น้อยกว่ามาก ดังนั้นไม่ใช่แค่ผิวนอกใครหน้ากว่ากันเท่าไรแค่นั้น
เรื่องที่ว่าเรือเด็กแนวนั้นทำให้กองทัพมีเรือที่ทันสมัย ผมว่าจริงๆ แทบไม่เกี่ยว เพราะเรืออายุเมื่อถึงจุดนึงก็เปลียนอาวุธอัพเกรดอยู่แล้ว เหมือนเรือฟริเกตของเราที่อัพเกรดทั้งหกลำ ดังนั้นอาวุธมันก็ทันสมัยไม่ต่างกันเท่าไรมั้ง? และการอัพเกรดระบบอาวุธกับการต่อเรือใหม่หมดผมว่าอย่างหลังราคาน่าจะมากกว่าอย่างแรกเกินเท่าตัว ซึ่งเท่ากับการมีเรื่อน้อยกว่าเท่านึง(ตามทฤษฎีเด็กแนว)นอกจากจะไม่ส่งผลให้มีเรือที่ทันสมัยกว่าแล้วยังไม่ได้ประหยัดเงิน และทำให้มีเรืออยู่ในกองทัพ ณ เวลาหนึ่งน้อยกว่ากันเท่าตัว
ถ้าการใช้เรือเก่าให้เจ๊งๆ ไปและซื้อเรือใหม่ทันสมัยมันง่ายขนาดนั้นสหรัฐคงโยน ticonderoga ทิ้งหมดทั้ง 27 ลำแล้วซื้อ CG(X)หมดแล้วครับ แต่ตอนนี้ไม่มีเงินต้องเตรียมอัพเดท tico อยู่ ซึ่งถ้าคนที่ลงทุนทางทหารเยอะอย่างสหรัฐฯ ทำไม่ได้ ผมก็ไม่เห็นว่ามีใครทำได้
ดังนั้นไม่แน่ใจว่าสหรัฐฯ ใช่เด็กแนวจริง หรือว่าเรือ LCS อายุมันสั้นด้วยความจำเป็น(ทำออกมาต่ำกว่าสเป็ก) ไม่ใช่เพราะความต้องการให้สั้น(เพื่อสนองทฤษฎีเด็กแนว)แต่อย่างใด นอกจากนี้ในหลายๆ เอกสารระบุว่าสหรัฐฯวางแผนถึงการอัพเกรด LCS ในอนาคตซึ่งกำลังเป็นปัญหาว่ามันจะไหวไหม เพราะตามปกติเวลามีอาวุธใหม่ๆ มาติดน้ำหนักจะมากขี้น ซึ่งกองทัพเรือสหรัฐฯ เขาต้องคำนึงถึงตั้งแต่ตอนออกแบบ ซึ่งเรือสหรัฐฯ เขาต้องออกแบบเผื่อมาร์จินน้ำหนักสำหรับอาวุธอนาคตกันทั้งนั้น
ซึ่งเรือตัวต่อๆ มา (LCS-3,5) ชั้น freedom class ก็สามารถสลัดน้ำหนักไปได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงแก้ไขส่วนต่างๆ (คือไม่เด็กแนวแล้ว ว่างั้น) ส่วนเรือชั้น independence ทุกลำ (LCS-2,4,6) ยังไม่ใกล้เคียง (ยังเด็กแนวอยู่) ซึ่งตอนนี้ตัว LCS-2 นั้นน้ำหนักเกิน เรือจึงเสื่อมเร็ว แถมเวลาวิ่งนานๆ (endurance= 3,500 ไมล์ทะเลที่ 14 น็อต) เรือจะไปก่อนไวอันควรและสมรรถนะลดลงทุกด้าน ซึ่งแปลว่าตอนนี้ LCS-2 ที่สร้างเสร็จไปแล้วก็ต้องปฏิบัติงานโดยห้ามโหลดเต็ม (นน. จะเกินไป 16 ตัน) เจริญเลย(เด็กแนวกำลังสอง อิๆ) หรือไม่ก็ต้องห้ามเติมน้ำมันเต็มซึ่งจะเป็นปัญหาเช่นตอน LCS-1 มาสิงคโปร์นั้น เพื่อป้องกันน้ำมันหมดกลางทางจึงต้องใช้เครื่องยนต์ประหยัด ทำให้วิ่งตามเพื่อนๆ เกือบไม่ทัน
นอกจากนี้ 20 ปีของ LCS นั้นเป็น minimum lifespan (ซึ่งยังไม่แน่ว่าจะทำได้ เหมือนกรณี f-16 ที่ต้องอัพ mid life กัน) ไม่ใช่เป้าหมาย (ดูในเอกสารจากลิงค์ที่สองของ gao) และจะห้ามโมดิฟายหรือปรับปรุง (น้ำหนักจะเกินเอา)
เรื่อง LCS เป็นตัวอย่างเด็กแนวจึงสรุปได้ว่าไม่จริง หรือถ้าจริงก็โดยจำใจและทร. สหรัฐฯ กำลังพยายามอย่างหนักในการสลัดสถานะเด็กแนวดังกล่าว ไม่ใช่ว่าเป็นเด็กแนวเพราะมันมีประโยชน์หรือเข้าท่า (ซึ่งก็คงเปล่านั่นแหละ) และความที่เรือ LCS กำลังมีโรคเด็กแนว(เสื่อมก่อนไวอันควร)นั้นเป็นเพราะเรือมันพัฒนาออกมาต่ำกว่าสเป็กแต่ทัพเรือสหรัฐฯ ดันปืนไวอยากซื้อมากเลยสั่งต่อเอาๆ โดยที่ไม่รู้ว่ามันจะห่วยหรือดีเพราะยังทำการทดสอบ trial ไม่เสร็จ เลยถือว่าเป็นกรรมของทัพเรือไปเพราะปรากฏว่าห่วยกว่าที่นึก ต้องมานั่งตามล้างตามเช็ดกันตอนนี้นั่นเอง (สังเกตได้ว่าอารมณ์ไม่ต่างกับโครงการ F-35 เท่าไร)
เรื่อง gold crew/blue crew ของสหรัฐฯ นั้นมันเพื่อให้เรือไม่ต้องวิ่งกลับ home port ให้เสียเวลาแต่ใช้วิธีนั่งเครื่องบินมาสลับกัน เพราะสหรัฐฯ ฐานทัพกระจัดกระจายทั่วโลก จะให้อยู่ยาวกันทั้งปีไปเลยก็สงสารลูกเรือ ไม่ได้เกียวกับว่าเพื่อให้เรืออยู่อู่น้อยลงและใช้งานมากขี้น เพราะมันก็เข้าอู่ซ่อมเท่าเดิมและอยู่ในน้ำเท่าเดิมนั่นแหละ
สรุปผมว่าคุณจับแพะชนแกะไปหน่อยครับ
http://archive.defensenews.com/article/20140224/DEFREG02/302240026/Pentagon-Changes-Course-Halts-LCS-32-Ships
http://www.gao.gov/assets/670/665114.pdf
โครงการ lcs สหรัฐจะยกเลิกแล้วครับ ไอเดียไม่เวิร์ค ตัดยอดสั่งซื้อเหลือตึ๋งนึง
จะเปลี่ยนเป็นโครงการชื่อ surface combat ship มั้งนะ ง่ายๆก็คือเรือรบธรรมดาๆนี่แหละ คล้ายๆ lcs แต่ ไม่ต้องเปลี่ยนโมดุลไปมา เพราะมันไม่เวิร์คเหมือนที่จินตนาการไว้ แล้วก็ติดอาวุธให้มันเป็นผู้เป็นคน เป็น configuration ไปแบบถาวร เพราะปัจจุบันระบบโมดุลเหมือนจะเท่แต่ปรากฏว่าไปๆมาๆมีแต่ ปืน 25 มม. ฮา
ข่าวล่าสุดอเมริกาอาจจะเปลี่ยนมาเรียกLCSว่าเรือฟริเกตเพราะว่ามันเป็นเรือฟริเกต และก็น่าจะมีการติดอาวุธหนักให้เหมือนเรือฟริเกตแบบชาวบ้านชาวช่องเขาทำกัน ส่วนออปชั่นที่เหลือเช่นหน้าที่กวาดทุ่นระเบิดคงสร้างเรือกวาดทุ่นระเบิดจริงๆมาใช้งาน ซึ่งผมก็ว่าดีนะเพราะตัวเรือก็ทำจากวัสดุไม่เหมือนกันแล้ว เรื่องคิดอะไรให้ยากเข้าไว้พอทำไม่ได้ค่อยยกเลิกลุงแซมแกถนัดนักล่ะ แต่ข้อดีก็คือไม่รั้นเกินไปต่อไม่ได้ก็รู้จักแพ้รู้จักถอย เป็นการสร้างคนให้คิดไปข้างหน้าอย่างน้อยก็รู้วิธีที่ไม่ถูกต้องล่ะครับ
โดยปรกติแล้วเรือขนส่งขนาด6หมื่นตันโดนจรวดลูกเดียวไม่จมหรอก(นอกจากบรรทุกน้ำมันไปด้วยเต็มลำ) เพราะขนาดมันใหญ่กว่าเรือหลวงนเรศวรของเราตั้ง20เท่าเชียวนะคุณ อาจจะใหม้นานและเยอะกว่าเรือรบเพราะไม่มีระบบป้องกันไฟ แต่ถ้าใต้ท้องเรือไม่เป็นอะไรมันก็ยังไม่จมอยู่ดี(ต่อให้superstructureใหม้หมดเลยก็ตาม) ในสมัยสงครามโลกที่จมกันเยอะๆเพราะโดนตอร์ปิโดเข้าที่ใต้ท้องเรือ พอน้ำเข้าเรือก็จมเป็นปรกติของธรรมชาติ ไม่มีใครในโลกนี้คิดเอาเรือพาณิชย์มาติดอาวุธเพื่อใช้เป็นเรือรบหรอกครับ แม้กระทั่งฟิลิปปินส์ที่ขาดแคลนเรือรบลำใหญ่เหลือเกิน และมีทั้งจีนกับใต้หวันคอยหาเรื่องอยู่ตลอดเวลา ยังใช้วิธีซื้อเรือรบมือ2มาใช้งานไปก่อนเลย ส่วนในสงครามโลกมันเป็นเพราะความจำเป็น และส่วนหนึ่งก็เพราะความทะเยอะทะยาน เช่นญี่ปุ่นดัดแปลงเรือขนส่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินเป็นต้น(สุดท้ายก็โดนยิงจมทั้งหมด)
ในทะเลถ้าเรือจมคนก็จมตามไปด้วยความสูญเสียเรื่องนี้มีค่ากว่าราคาเรือด้วยซ้ำ กว่าเราจะฝึกทหารให้มีความรู้ความสามารถมากพอปกป้องประเทศได้ ต้องใช้งบประมาณและระยะเวลายาวนานเหลือเกิน แยกเรือรบกับเรือพาณิชย์ออกจากกันเถอะครับต่างคนต่างทำหน้าที่ของตัวเองดีกว่า
ถึงท่าน tongwarit นะครับ ผมตอบที่ละย่อหน้านะครับ
อ้างอิง"
- "อีกอัน เรื่องออกแบบเรือพาณิชย์ช่วยรบ ก็ไม่เลวนะครับ (ถ้าได้ออกแบบเรือในราชการหมดแล้วอะนะ") จากนั้นคุณก็เปลียนบอกว่า "ไม่ได้บังคับเอกกชนให้ทำเรือในแปลนที่กองทัพกำหนด"
ตกลงจะออกแบบหรือไม่ออกแบบล่ะครับ ผมชักสับสน คือถ้าไม่บังคับก็คงไม่มีใครทำหรอกครับ"
อันแรก ผมบอกว่าไม่เลวนะครับ ตกลงผมว่า ควรออกแบบนะ แล้วเอกชนที่อาสาจะทำ ก็คงเป็นคนดีมั่ง แบบไม่เป็นคนถ่วงความเจริญยึดอคติของตนเองแบบไม่มีหัวคิด ต่อโครงการเรือพาณิชย์ช่วยรบแบบ ไม่มีเหตุผล ทั้งที่คนออกแบบสามารถออกแบบให้ไม่กระทบหน้าที่หลักและทรัพยากรของเรือได้ ผมว่าน่าจะมีเยอะนะครับ คนดีอะ คงมีเยอะกว่าคนใจแคบ ไร้ความคิด แน่นอนผมฟันธง
อ้างอิง"
"ตราบได้ที่การออกแบบมันไม่กระทบหน้าหลักของเรือและทรัพยากรของเรือ"
มัน จะไม่กระทบได้ไงครับ? ก็ในเมื่อตอนนี้การออกแบบเรือพาณิชย์ก็เพื่อประสิทธิภาพในหน้าที่ที่ดีที่ สุด การไปเปลี่ยนแปลงมันย่อมลดทอนและกระทบต่อหน้าที่หลักอยู่แล้ว"
อันต่อมา ผมว่าทำได้ครับ ออกแบบเรือพาณิชย์ช่วยรบให้ไม่กระทบหน้าที่หลักและทรัพยากรของเรือได้ คนที่มีสมอง ใจกว้าง(อันนี้สำคัญสุด) คิดได้แน่นอนง่ายๆด้วย ผมฟังธง แต่พวกสมองน้อย ใจแคบก็ว่าไปอย่างอะครับ มันจะกายเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ทันที แต่ตรงกันข้าม คนดี ใจกว้าง ไม่ต้องทำอะไร ก็สามารถอยู่ในเกณฑ์ต่ำสุดของเรือพาณิชย์ช่วยรบได้ คือไม่ต้องเปลี่ยนอะไรเลยไงครับ เข้าเกณฑ์ขนาดก็โอแล้ว
อ้างอิง"การ แปลงเรือพาณิชย์เพื่อมารบในช่วงสงครามนั้นมันเป็นเพราะมันไม่ทางเลือก ครับ มันเป็นเพราะเรือรบหมดประเทศแล้ว ไม่ใช่การเตรียมพร้อมยามสงบเพราะว่ามัน เข้าที "
อันต่อมา ก็เพราะไม่เตรียมพร้อมอย่างที่ผมว่ามาไงครับ เรือรบเลยหมดประเทศไง แล้วเรือสำรองรบ เรือในราชการ อย่างเรือยามฝั่ง ไม่รองรับระบบอาวุธ ไม่ก็เลยต้องปุปะเรือพาณิชย์เหมือนที่ท่านพูดมิใช่เหรอ
อ้างอิง"และ การต่อเรือคอนเทนเนอร์ทั่วไป ผมก็ไม่เห็นว่ามันจะมีผลต่อความมั่นคงขนาดที่กองทัพหรือรัฐบาลต้องไปสนับ สนุนในการสร้างนะครับ เอาเงินและทรัพยากรมาสนับสนุนในทางตรงเช่นต่อเรือรบดีกว่าไหม"
อันนี้ ผมเห็นว่ามีอะ คุณคิดให้กว้างๆ ใจกว้างๆเจอแน่นอน คือมันไม่ได้ใช้ ทรัพยากรอะไรนักหนานี้ครับ เอกชนเค้าต่อเรือกันเองอยู่แล้ว เต็มที่ก็ขอความรวมมือจากผู้มีความรู้ ใน ทร. แบบหนักๆเลยก็เสียค่า เบี้ยเลี้ยงอาหารกลางวันทหารที่ไปให้ความรู้ ค่าน้ำมันรถ ค่ากระดาษเอ4 โอ้อันหลังนี้แหละมันใช้งบสูงมาก เอาแฟลชไดรฟ์ไปเสียบไปประหยัด เอาจริงๆลดภาษีให้เค้าหน่อยในการสร้างเรือเองภายในประเทศ สำหรับเรือที่เข้าเกณฑ์ เอกชนเค้าก็ดีใจตายแล้วครับ ถือว่าทำบุญให้อุตหกรรมต่อเรือไทยเถอะครับ คนใจกว้างอย่าง ทร.เค้าทำได้อยู่แล้วผมว่า แต่คนใจแคบไม่น่าทำได้นะครับผม
อ้างอิง"
- "เรื่องที่ว่าเรือพาณิชย์บอบบางกว่าเรือรบมากๆ ผมว่าไม่ใช่แล้ว เราเลยยุคสงครามโลกมากแล้วนะครับ"
ใน คลิปนั้นยิงตูมเดียว เราไม่รู้ว่าลำไหนจมบ้างหรือว่าลำไหนจมเร็วจมช้า เรือรบมีการออกแบบซอยเป็นห้องๆ เยอะมากทำให้การโดนอาวุธแล้วยังไม่จมขณะที่เรือสินค้าแบ่งเป็น compartment ในจำนวนที่น้อยกว่ามาก ดังนั้นไม่ใช่แค่ผิวนอกใครหน้ากว่ากันเท่าไรแค่นั้น"
อันนี้ ผมก็ไม่ได้บอกนะครับว่า เรือพาณิชย์มันแข็งกว่าเรือรบแท้ๆ ผมบอกมันไม่ได้เหมือนสมัยสงครามโลก ที่เรือรบติดเกราะหนา กับ เรือพาณิชย์ธรรมดา(เรือมันบางอยู่แล้วแถมไม่มีเกราะ) กับเรือรบปัจุบันที่ไม่ติดเกราะ ความห่างมันก็ลดลงไงครับ แล้วคุณก็บอกเองว่าไม่รู้ลำไหนจมไม่จม เด็กก็ยังรู้ครับว่าเรือรบ มันออกแบบมาให้รับการโจมตี มันก็ต้องจมยากกว่าเรือพาณิชย์อยู่แล้ว ไม่งั้นจะมีทำไมครับ เรือรบ ถามไม่คิด หรือคิดไม่ถามอะครับผม
อ้างอิง"เรื่อง ที่ว่าเรือเด็กแนวนั้นทำให้กองทัพมีเรือที่ทันสมัย ผมว่าจริงๆ แทบไม่เกี่ยว เพราะเรืออายุเมื่อถึงจุดนึงก็เปลียนอาวุธอัพเกรดอยู่แล้ว เหมือนเรือฟริเกตของเราที่อัพเกรดทั้งหกลำ ดังนั้นอาวุธมันก็ทันสมัยไม่ต่างกันเท่าไรมั้ง? และการอัพเกรดระบบอาวุธกับการต่อเรือใหม่หมดผมว่าอย่างหลังราคาน่าจะมากกว่า อย่างแรกเกินเท่าตัว ซึ่งเท่ากับการมีเรื่อน้อยกว่าเท่านึง(ตามทฤษฎีเด็กแนว)นอกจากจะไม่ส่งผลให้ มีเรือที่ทันสมัยกว่าแล้วยังไม่ได้ประหยัดเงิน และทำให้มีเรืออยู่ในกองทัพ ณ เวลาหนึ่งน้อยกว่ากันเท่าตัว"
เรื่องที่ว่าเรือเด็กแนวนั้นทำให้กองทัพมีเรือที่ทันสมัย ผมว่าเกี่ยวอะ ถามว่างบอัพเกรด มันเป็นการซื้อระบบอาวุธมาติดเรือใช่ไหมครับ ถ้าไม่ถอดของเก่าออกติดได้ไหม ส่วนยืดอายุการใช้งานเสียตังไหม ยืดอายุการใช้งานแปลว่าของเดิมใช่ไหม ผมถามระบบอาวุธสมัยใหม่ ในวันนี้ วิศวกรรมที่ออกแบบเรือในอดีตหลายสิบปีก่อน ได้ทำนายอนาคต(เป็นหมอดูอีทีทุกคน)ออก แบบเรือให้รองรับระบบอาวุธในวันนี้ใช่หรือไม่ ถ้าไม่ ต้องปุปะเรือเก่าเราใช้ไหม ดีไซน์เรือในวันนี้ไฮเทคน้อยกว่าเมื่อหลายสิบปีก่อนหรือเปล่า รวมค่าถอด ค่าติดตั้ง ค่าอัพเกรด หรือยืดอายุ ค่าปุปะเรือ ค่าปวดลูกกะตา ผมฟันธงการอัฟเกรดมันมีมูลค่า(แพง)มากกว่า ค่าติดตั้งระบบอาวุธ ของเรือใหม่ ที่ออกแบบมาให้ติดอาวุธระบบนี้โดยตรงเยอะอะ ส่วนค่าเปลือกเรือใหม่มันคุ้มค่า และถือว่าเป็นค่าใช้จ่าย ในการที่มันออกปฎิบัติการได้เป็น 2 เท่า ของเรือเก่าอัฟเกรดอาวุธใหม่(ดีไม่ดีทรัพยากรของเรือก็อัพเกรดไม่ได้ ต้องเลือกอันกระจอกๆมาอัพแทนอีกอนาจ) ดูไงๆก็โคตรคุ้มค่ากว่าเยอะกับเรือรบเด๊กแนว ทั้งประหยัดกว่าและทันสมัยกว่า ส่วนเรื่องตัวเลขเรือที่ท่านบอกน้อยกว่าเท่าตัว ผมอธิบายไปสุดความสามารถแล้วในการยกบัวขึ้นจากต่ม ได้แค่ไหนก็แค่นั้นเนาะ
ถึงท่าน tongwarit นะครับ ผมตอบที่ละย่อหน้านะครับ
อ้างอิง "ถ้าการใช้เรือเก่าให้เจ๊งๆ ไปและซื้อเรือใหม่ทันสมัยมันง่ายขนาดนั้นสหรัฐคงโยน ticonderoga ทิ้งหมดทั้ง 27 ลำแล้วซื้อ CG(X)หมดแล้วครับ แต่ตอนนี้ไม่มีเงินต้องเตรียมอัพเดท tico อยู่ ซึ่งถ้าคนที่ลงทุนทางทหารเยอะอย่างสหรัฐฯ ทำไม่ได้ ผมก็ไม่เห็นว่ามีใครทำได้ "
ทำได้ ง่ายขนาดนั้นแหละครับ เมกาเค้าฉลาดไงครับ เค้าค่อยๆเป็น ค่อยๆไป มีแนวคิดดีๆก็เริ่มทำ แล้วทำเพิ่ม ทำมันไปเลื่อยๆ คงไม่ฉลาดน้อย ใจแคบ ทำตัวถ่วงความเจริญ เหมือนอย่างที่ท่านคิดจะให้เค้าทิ้งเรือ 27 ลำ ต่อเรือรบนะครับ ไปใช่พับเรือกระดาษ มันจะมาทีละ 27 ลำ ไม่ต้องทดสอบว่างั้น พับมาตั้งแต่เด็กๆแล้ว เหรอ คำถามไม่มีสาระแถมใช้อารมณ์แบบนี้ ถามมาเถอะครับ ก็โดนผมสวนหมดอะ อายุท่านก็คงไม่น้อยแล้ว ทำตัวให้สมอายุเถอะครับ
อ้างอิง "ดัง นั้นไม่แน่ใจว่าสหรัฐฯ ใช่เด็กแนวจริง หรือว่าเรือ LCS อายุมันสั้นด้วยความจำเป็น(ทำออกมาต่ำกว่าสเป็ก) ไม่ใช่เพราะความต้องการให้ สั้น(เพื่อสนองทฤษฎีเด็กแนว)แต่อย่างใด นอกจากนี้ในหลายๆ เอกสารระบุว่าสหรัฐฯวางแผนถึงการอัพเกรด LCS ในอนาคตซึ่งกำลังเป็นปัญหาว่ามันจะไหวไหม เพราะตามปกติเวลามีอาวุธใหม่ๆ มาติดน้ำหนักจะมากขี้น ซึ่งกองทัพเรือสหรัฐฯ เขาต้องคำนึงถึงตั้งแต่ตอนออกแบบ ซึ่งเรือสหรัฐฯ เขาต้องออกแบบเผื่อมาร์จินน้ำหนักสำหรับอาวุธอนาคตกันทั้งนั้น"
ท่าน โอเวอร์ไปแล้วครับ น้ำหนักหรืออะไรก็แล้วแต่เกินมาไม่ถึง 5 เปอร์เซ็น(แถมเป็นการคาดการณ์โดยไม่รวม safety factor อีกไปดูเอกสารดีๆครับ) อายุเรือหายไปครึ่งจากเรือปกติ เป็นไปได้เหรอครับ แล้วต่อให้จริงมันก็เป็นความผิดพลาดในขั้นทดสอบครับ เรือประเภทนี้ต่อหลายสิบลำ 55 ลำได้มั่ง มันแก้ไขได้ครับเมื่อผลิตจริง อีกอย่างผมยังไม่รู้เลยว่าแบบประกวดไหนชนะ มันแก้ไข เปลี่ยนแบบยันได้เลย อย่าง f18 รุ่นแรก ทร.เค้าก็สวดยับ ไงละ ลองรุ่นซูเปอร์ ดียันปัจจุบัน อย่างโอเวอร์ครับ คนที่รู้จักพัฒนาเค้าเรียนรู้จากความผิดพลาดครับ เปิดใจกว้างๆหน่อยครับอย่างใจแคบ เอกสารที่ท่านให้มามันเป็นสรุปการทดสอบเรือที่เป็นต้นแบบครับ ไม่ใช่เอกสารทดสอบเรือรุ่นผลิต
อ้างอิง "ซึ่ง เรือตัวต่อๆ มา (LCS-3,5) ชั้น freedom class ก็สามารถสลัดน้ำหนักไปได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงแก้ไขส่วนต่างๆ (คือไม่เด็กแนวแล้ว ว่างั้น) ส่วนเรือชั้น independence ทุกลำ (LCS-2,4,6) ยังไม่ใกล้เคียง (ยังเด็กแนวอยู่) ซึ่งตอนนี้ตัว LCS-2 นั้นน้ำหนักเกิน เรือจึงเสื่อมเร็ว แถมเวลาวิ่งนานๆ (endurance= 3,500 ไมล์ทะเลที่ 14 น็อต) เรือจะไปก่อนไวอันควรและสมรรถนะลดลงทุกด้าน ซึ่งแปลว่าตอนนี้ LCS-2 ที่สร้างเสร็จไปแล้วก็ต้องปฏิบัติงานโดยห้ามโหลดเต็ม (นน. จะเกินไป 16 ตัน) เจริญเลย(เด็กแนวกำลังสอง อิๆ) หรือไม่ก็ต้องห้ามเติมน้ำมันเต็มซึ่งจะเป็นปัญหาเช่นตอน LCS-1 มาสิงคโปร์นั้น เพื่อป้องกันน้ำมันหมดกลางทางจึงต้องใช้เครื่องยนต์ประหยัด ทำให้วิ่งตามเพื่อนๆ เกือบไม่ทัน"
อ่านแล้วงงอะครับ น้ำหนักเกินไม่เกินมันเกี่ยวอะไรกับ เรื่องความเป็นเรือรบเด๊กแนวของผมอะครับ ใจความเด๊กแนวคือ ปฎิบัติการ 2 กะ ประหยัด ทันสมัย อายุใช้งานน้อย แค่นี้เองครับ ส่วนปัญหาในการออกแบบ หรือปัญหาในช่วงทดสอบ ที่คุณกล่าวมาทั้งหมด(ไม่ได้เกี่ยวเลย) มันเป็นปัญหาด้านวิศวกรรมครับ ผู้ผลิตก็ต้องแก้ไขให้ตอบสนองแนวคิดแรกเริ่มให้ได้ครับ ไม่งั้นก็แพ้ประมูล เรื่องเรือตามไม่ทันชาวบ้านเค้าก็เหมือนกัน มันเป็นปัญหาด้านวิศวกรรมครับ ที่ท่านเขียนมาทำให้ผมรู้เลยนะครับเรื่อง บัว4เหล่า คนเรามันพัฒนาให้ข้ามเหล่าไม่ได้จริงๆ เป็นท่านเคยออกแบบอะไรซักอย่างทีเดียว แล้วดีเลิศเลยใช้ไหมครับ เพราะท่านไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงใช่ไมอะครับ เดิมๆดีเลิศ ไม่ต้องเปลี่ยนแปลง สุดยอด
อ้างอิง "นอกจากนี้ 20 ปีของ LCS นั้นเป็น minimum lifespan (ซึ่งยังไม่แน่ว่าจะทำได้ เหมือนกรณี f-16 ที่ต้องอัพ mid life กัน) ไม่ใช่เป้าหมาย (ดูในเอกสารจากลิงค์ที่สองของ gao) และจะห้ามโมดิฟายหรือปรับปรุง (น้ำหนักจะเกินเอา)
เรื่อง LCS เป็นตัวอย่างเด็กแนวจึงสรุปได้ว่าไม่จริง หรือถ้าจริงก็โดยจำใจและทร. สหรัฐฯ กำลังพยายามอย่างหนักในการสลัดสถานะเด็กแนวดังกล่าว ไม่ใช่ว่าเป็นเด็กแนว เพราะมันมีประโยชน์หรือเข้าท่า (ซึ่งก็คงเปล่านั่นแหละ) และความที่เรือ LCS กำลังมีโรคเด็กแนว(เสื่อมก่อนไวอันควร)นั้นเป็นเพราะเรือมันพัฒนาออกมาต่ำ กว่าสเป็กแต่ทัพเรือสหรัฐฯ ดันปืนไวอยากซื้อมากเลยสั่งต่อเอาๆ โดยที่ไม่รู้ว่ามันจะห่วยหรือดีเพราะยังทำการทดสอบ trial ไม่เสร็จ เลยถือว่าเป็นกรรมของทัพเรือไปเพราะปรากฏว่าห่วยกว่าที่นึก ต้องมานั่งตามล้างตามเช็ดกันตอนนี้นั่นเอง (สังเกตได้ว่าอารมณ์ไม่ต่างกับโครงการ F-35 เท่าไร)"
ปัญญาน้อยอะ ครับท่านนะ ต้องขอว่าตรงๆ ย่อหน้าแรกท่านเขียนไม่รู้เรื่องรอดูกันเลยดีกว่าว่าทำได้ไม่ทำได้ เพราะมันยังเป็นรุ่นทดสอบอยู่ไม่ใช่รุ่นผลิต แต่ LCS มันเป็นตัวอย่างเด๊กแนวแน่นอนครับ ปฎิบัติการ 2 กะ ประหยัด ทันสมัย อายุใช้งานน้อย มีอันไหนไม่ตรงบ้าง และผมฟันธงบอกได้เลยครับว่าเค้าตั้งใจออกแบบ ไม่ใช่จำใจ ถ้าปัญญาน้อยคิดว่า LCS จำใจปฎิบัติการ 2 กะ จำใจประหยัด จำใจทันสมัย จำใจอายุใช้งานน้อย ต้องบอกว่าบัว4เหล่ามีจริง และท่านไม่มีทางได้เห็นแสงตะวัน ส่วนที่ท่านบอก "ทัพเรือสหรัฐฯ ดันปืนไวอยากซื้อมากเลยสั่งต่อเอาๆ" ปัญญาน้อยอีกแล้วนะท่าน เค้าทั้งเสนอแบบ(แบบเทพๆหลายบริษัทคัดเหลือ 2) ทดสอบแบบ(สร้างมันไปเลย3ลำ ทดสอบว่ามันดีมันด้อยตรงไหน จะได้แก้ถูก) ประกวดแบบ(เอาอันดีที่สุดของทั้ง2แบบ มาตัดสินเอาอันดีที่สุด สร้างในรุ่นผลิต) ปืนไวสุดๆอะครับเมกา กี่ปีแล้วยันไม่ได้ประกวดเลย อย่าให้ผมดู(ได้)ถูกสติปัญญาท่านเลยนะครับ อย่างการเอา F-35 มาเทียบ(มันกากมากครับ ชาวบ้านจองซื้อเป็นสิบชาติแล้ว ถ้าได้มาอ่านกระทู้ท่าน มีหวังเลิกซื้อกันหมดไปแล้ว คุณพระช่วย) รอดูเอาครับ เรื่อง LCS กับ F-35 มันจะไปได้สวย อย่างที่ผู้เชี่ยวชาญในกองทัพสิบกว่าชาติเค้าหวัง หรือ จะสู้ท่าน ผู้รอบรู้ชี้แนะไม่ได้หว่า ในส่วนตัวผมไม่เชื่อท่านเลยอะ
อ้าง อิง"เรื่อง gold crew/blue crew ของสหรัฐฯ นั้นมันเพื่อให้เรือไม่ต้องวิ่งกลับ home port ให้เสียเวลาแต่ใช้วิธีนั่งเครื่องบินมาสลับกัน เพราะสหรัฐฯ ฐานทัพกระจัดกระจายทั่วโลก จะให้อยู่ยาวกันทั้งปีไปเลยก็สงสารลูกเรือ ไม่ได้เกียวกับว่าเพื่อให้เรือ อยู่อู่น้อยลงและใช้งานมากขี้น เพราะมันก็เข้าอู่ซ่อมเท่าเดิมและอยู่ในน้ำเท่าเดิมนั่นแหละ"
ไม่จับ แพะชนแกะเลยครับท่าน ท่านเล่นเลี้ยงแกะอย่างเดียวอะเลย มันเลยไม่ชนกัน นั่งเครื่องบินกลับในว่าคิดถึงบ้าน ไม่ต้องเรือรบหลอกครับ เรือพาณิชย์เค้าก็ทำกัน เมกาเรือรบที่เค้าทำงานกะเดียวในพื้นที่ทั่วโลกเค้าก็ทำกัน ทั้งแปซิฟิก ทั้งแอตแลนติส ทำกันมาแต่โบราณแล้ว เหมือนท่านจะบอกว่าถ้า gold crew ออกเรือทำงานเสร็จ แล้วบินกันบ้านก็ให้ blue crew บินมานั่งดูเรือมันลอยอยู่ที่ท่าว่างั้น "ไม่ได้เกียวกับว่าเพื่อให้เรือ อยู่อู่น้อยลงและใช้งานมากขี้น เพราะมันก็เข้าอู่ซ่อมเท่าเดิมและอยู่ในน้ำเท่าเดิมนั่นแหละ" ผมว่าไป(ถึงขั้นสุดยอด)หมดแล้วสติปัญญาท่าน ไม่ได้คิดวิเคราะห์เลย ฉลาดซะ ผมขอบอกนะครับว่า ท่านมั่วมาก gold crew กับ blue crew เค้าผลัดกัน ผลัดละ 4 เดือนครับ ถ้าไม่ชนรอบซ้อมบำรุง เค้าก็ออกเรือต่อกันเลย(ผมประมาณได้ว่า 4เดือน gold crew อีก 4เดือน blue crew ซ้อมบำรุง 4เดือน ครบปี จริงๆซ้อมบำรุงมันน้อยกว่า 4 เดือนอีก) เรือ LCS-1 ออกทะเลจากฐานซานดิเอโก 10 เดือน กลับฐาน และ LCS-3 ออกทะเลจากฐานซานดิเอโก 18 เดือนกลับฐาน ส่วนประจำการในสิงคโปร์ก็เป็นท่าที่ซ้อมบำรุงในภูมิภาคครับ นอกจากจะให้เรือได้ออก 2 กะแล้ว คนประจำเรือทั้ง 2 ชุด ยังมีเวลาฝึกภาคพื้นดินด้วย ที่ปัจจุบันพลประจำเรือรบเมกาแบบกะเดียวไม่ค่อยมีเวลาฝึกอีกด้วย ไม่ใช่หวังแต่กลับบ้านครับ แล้วเรื่องเข้าอู่ซ่อมเท่าเดิมและอยู่ในน้ำเท่าเดิมก็ไม่จริงครับ LCS พัฒนาระบบอำนวยการรบ และระบบจัดการให้ดีขึ้นครับ เป็นคอนเซ็ปต์ของ LCS เลยก็ว่าได้ เพื่อรองรับการปฎิบัติการจากลูกเรือ 2 ชุด เวลาเข้าอู่ซ่อมต้องออกแบบให้น้อยลงแน่นอน จาก 2 แบบ อันไหนไม่เข้าเกณฑ์ในการประกวดก็ไม่ผ่านไปเป็นรุ่นผลิต
สรุปผมว่าคุณไม่ได้จับแพะชนแกะเลยนะครับ แค่เลี้ยงแกะอย่างเดียวเอง
กลับเข้าเรื่องเรือ OPV กันต่อเถอะครับ
ผมว่าผมพอดีกว่าตามคุณ nok ว่าละกัน ความจริงผมอยากชี้ fact หลายๆ อย่างที่คุณนำเสนอผิดพลาดแต่ไม่อยากต่อความยาวสาวความยืด
ผมคิดว่ามีสิ่งสำคัญที่ผมควรชี้ให้เห็นในที่นี้ คือผมคิดว่าคุณกำลังของขี้นจนเป็นเหตุมีการโจมตีส่วนบุคคลด้วยซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเวลาดีเบทกันอย่างผู้มีอารยะ การโจมตีไอเดียและความคิดเป็นสิ่งที่ปกติ เช่นคุณอาจจะบอกว่าความคิดผมไม่เข้าท่า มันไม่เวิร์ก(เพราะว่า ก. ข. ค.) อย่างนั้นใครๆ ก็รับได้ไม่มีปัญหา แต่สมมุติคุณโจมตีผมว่าสมงสมองผมไปหมดแล้ว หรือว่าผมเริ่มจะปัญญาอ่อน ผมโง่ อย่างนี้ไม่ถูกต้องครับ มันกลายเป็นการโจมตีส่วนตัวแล้วครับ มันเป็นการด่ากัน ซึ่งผมก็สามารถด่าคุณได้เหมือนกัน แต่มันจะไร้สาระเพราะว่าใครๆ ก็ด่ากันได้ และมันไม่ได้มีประโยชน์อะไรเพราะการด่ากันมันไม่ได้พิสุจน์ข้อเท็จจริงอะไรได้ทั้งนั้น
(เผลอๆ การด่ากันผิดกฎบอร์ดนี้ด้วยซ้ำ)
ดังนั้นผมว่าเราต้องแยกให้ดีระหว่างการโจมตีแนวคิดกับโจมตีบุคคลด้วยครับ
ผมขออนุญาตชี้แจงนิดนะครับ ก่อนอื่นๆต้องขอโทษทุกคนนะครับ ที่คงใช้อารมณ์ในตอนท้ายๆไปหน่อย วุฒิภาวะผมมีแค่นี้อะครับ ขออธิบาย (จริงๆผมไม่อยากโจมตีใคร หรือ อ้างชื่อใครหรือหน่วยงานไหนด้วยซ้ำ) ถ้าถามตอบอย่างสร้างสรรค์ในประเด็น ผมไม่มีปัญหานะครับ แต่ถ้าผมรู้สึกว่าคำถามมันเริ่มเบี่ยงประเด็นไป อย่างจงใจเลี่ยง ไปในประเด็นอื่นๆเพื่อการประชดประชันแดกดันแล้ว ก็อย่าที่เห็นๆว่าช่วงท้ายผมเป็นไง ผมไม่แก้ตัวนะครับเรื่องใช้อารมณ์ และผมก็คิดว่าผมสมควรใช้ครับ ลองไปอ่าน คห.ของ ผม กับ ท่าน tongwarit ดูนะครับ ในหัวข้อ
แยกยามฝั่ง ที่ผมว่าแยกแล้วงบ ทร. ลดลง ,ท่าน tongwarit ว่าแยกแล้ว งบ ทร. ไม่ลดลง
ต่อเนื่องมาถึง เรื่อง เรือสำรองรบ(opv เบา) ที่ผมคิดว่าควรมี ,ท่าน tongwarit ว่าไม่เห็นด้วย
ในเรื่องนี้ผมยกตัวอย่าง เป็นเรือยามฝั่งครับ(opv เบา) ที่มันยาวไป เรือพาณิชย์ช่วยรบก็เป็น ท่าน tongwarit ถามผมแบบที่ผมคิดว่ากวนเท้าผมอะครับ ผมก็ประชดบอกไปว่ามันมีอยู่และยกตัวอย่างเพราะมันก็มีอยู่ และมีจริงๆในประวัติศาสตร์(จริงๆมันน่าจะถามต่อเรื่อง opv เบา นะ)
ต่อเนื่องมาถึง ผมเสนอแนวคิดเรือรบเด๊กแนว เป็นทางเลือก ทร.ในการเสริมการปฎิบัติหน้าที่ให้ทั่วถึง(คือไม่สนับสนุนแนวคิดแยกยามฝั่ง)
ต่อเนื่องมาถึง เรื่อง เรือพาณิชย์ช่วยรบ ที่ท่าน tongwarit คิดว่าทำไม่ได้ ,ส่วนผมก็ให้ข้อมูลว่าทำได้ และมีอยู่(จริงๆผมว่าจะเขียนเรื่อง opv เบานะ แต่คิดว่าท่าน tongwarit ไม่รู้จริงๆว่า เรือพาณิชย์ช่วยรบได้ ก็เขียนตอบไป)
ต่อเนื่องมาถึง ที่ท่าน tongwarit อ้างอิง คห.ผม และเขียนถามผมว่า **"อีกอัน เรื่องออกแบบเรือพาณิชย์ช่วยรบ ก็ไม่เลวนะครับ (ถ้าได้ออกแบบเรือในราชการหมดแล้วอะนะ") จากนั้นคุณก็เปลียนบอกว่า "ไม่ได้บังคับเอกกชนให้ทำเรือในแปลนที่กองทัพกำหนด"
ตกลงจะออกแบบหรือไม่ออกแบบล่ะครับ ผมชักสับสน คือถ้าไม่บังคับก็คงไม่มีใครทำหรอกครับ **
อันนี้ผมถือว่าท่านกวนเท้าผมแล้ว ประชดประชันผมมาตั้งแต่เริ่มเรื่องเรือพาณิชย์ช่วยรบ และคำถามต่อๆมา ก็กวนประมาณนี้ด้วย นอกจากจะเป็นคำถามที่มันเริ่มเบี่ยงประเด็นไปจาก เรือสำรองรบ(opv เบา)ที่ควรจะเป็นของยามฝั่ง ยันจงใจเลี่ยงไป เรื่องโครงสร้าง ทรัพยากรของเรือพาณิชย์เทียบกับเรือรบอีก(มันเทียบกันไม่ได้ตั้งแต่ต้นแล้ว ในการสงคราม) จงใจไปในประเด็นอื่นๆเพื่อการประชดประชันแดกดันแบบนี้ ผมถือว่ากวนเท้าผมแล้ว
ต่อเนื่องมาถึง แนวคิดเรือรบเด๊กแนว ที่ท่าน tongwarit และเขียนถามผมว่า
"ถ้า การใช้เรือเก่าให้เจ๊งๆ ไปและซื้อเรือใหม่ทันสมัยมันง่ายขนาดนั้นสหรัฐคงโยน ticonderoga ทิ้งหมดทั้ง 27 ลำแล้วซื้อ CG(X)หมดแล้วครับ แต่ตอนนี้ไม่มีเงินต้องเตรียมอัพเดท tico อยู่ ซึ่งถ้าคนที่ลงทุนทางทหารเยอะอย่างสหรัฐฯ ทำไม่ได้ ผมก็ไม่เห็นว่ามีใครทำได้"
คำถามอันนี้ถือว่ากวนเท้าผมแล้ว ประชดประชัน "ขายทิ้ง" "โยนทิ้ง" แล้วเอาของรุ่นทดสอบมาแทน เป็นคนไม่มีความรุ้ด้านนี้จริงๆ ผมไม่โกรธ แล้วจะอธิบายให้อย่างดีด้วย แต่เป็นคนมีความรู้ด้านนี้อยู่แล้ว ผมต้องด่ากับคำถามไม่สร้างสรรค์แบบนี้(เห็นเรื่องแบบนี้มาตั้งแต่กระทู้ F-35 แล้ว)
ต่อเนื่องมาถึง แนวคิดเรือรบเด๊กแนว ที่ท่าน tongwarit ชี้ให้เห็นปัญหาทางด้านวิศวกรรมของ LCS ที่ยังอยู่ในขั้นทดสอบ และอธิบายเทียบแนวคิดเรือรบเด๊กแนวเทียบ ตอนแรกผมไม่คิดบอกชื่อโครงการ และรุ่นเรือ แต่ผมตั้งชื่อใหม่และเสนอเป็นแนวคิดเพียงอย่างเดียว เป็นเรือรบเด๊กแนว ไม่อยากเอาปัญหาอื่นๆมาปนกับแนวคิด เพราะกลัวมีคนไม่มีความรู้ด้านนี้จริงๆถามนอกประเด็น อย่างปัญหาทางด้านวิศวกรรมเทียบกับแนวคิด ซึ่งมันเทียบกันไม่ได้ แต่กลับมีคนที่มีความรู้ด้านนี้ อย่าง ท่าน tongwarit จงใจเบี่ยงประเด็นไปคนละประเภทปัญหาที่เกิดกับ LCS และ แนวคิดเรือรบเด็กแนวนี้ ไปเป็นปัญหาด้านวิศวกรรมของ LCS ที่เป็นเรือต้นแบบทดสอบแบบประชดประชันแดกดัน ไม่มีสาระเลย ถือว่ากวนเท้าผมอีก
สุดท้าย ผมผิดนะครับที่ใช้อารมณ์ แต่ใช่ผมคนเดียวหรือเปล่าครับที่ผิด นี้เป็นคำถาม ขอบคุณครับ
คุยเรื่อง OPV ทีไร ก็มักเป็นแบบนี้ละครับ ความคิดหลากหลาย แม้กระทั่งตอนเรือกระบี่แล้ว จนจะมีลำที่สอง แต่ก็ชื่นชมทุกท่านครับ
ก่อนอื่นผมเคยคิดง่ายๆว่า ตกก.คือยามหมู่บ้าน อาวุธคือกระบองกับวอ พาหนะคือจักรยาน ไม่มีหน้าที่ปะทะโดยตรง เจอคนลักเล็กขโมยน้อยถ้าพอปะทะได้ก็ปะทะจับกุมตัวไว้ก่อน หากขโมยมีอาวุธแปรสภาพเป็นโจร...งานนี้ต้องหนีก่อน แล้ววอแจ้งสน.ท้องที่
ตอนนี้แนวคิดเปลี่ยน ถ้ายามมีอาวุธก็จะไม่ต้องเสียเวลาเรียกท้องที่ ที่อาจมาไม่ทัน แนวคิดเปลี่ยนไปแล้ว
ถ้าดูตามงบที่ให้ราว 6000 ล้านบาท 1 ลำ ผมคิดว่าคงไม่ใช่เรือตรวจการไกลฝั่งแล้วล่ะครับ น่าจะเป็นเรือรบติดอาวุธครบชุดมากกว่า แต่เวลาใช้จริงคงถอดพวกจรวดเก็บในคลังสำหรับภาระกิจกตรวจการไกลฝั่ง หากมันใช้ดีก็อาจสั่งต่อเพิ่มอีกแต่คราวนี้คงไม่มีอาวุธจรวด คือ ใช้ร่วมกันกับลำแรก เช่น ต่อเรือสัก 2-3 ลำ แต่เตรียมพวกจรวดไว้ใช้หากจำเป็นสำหรับเรือ 1 ลำ เท่านั้น ถามว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้น คำตอบคือสถานการณ์ในภูมิภาคเปลี่ยนไปเป็นมีแนวโน้มมีความขัดแย้งมากขึ้น ทำให้มีแนวโน้มว่าเรือรบที่มีอาจไม่เพียงพอ หรือ ไม่มีเวลาพอสำหรับสั่งซื้ออาวุธมาดัดแปลงเรือตรวจการไกลฝั่งเก่า จึงต้องเตรียมอาวุธสำรองไว้จำนวนนึงให้พร้อมติดตั้งได้ทันที 1 ลำ โดยเลือกลำที่พร้อมที่สุด 1 ลำ
มีอีกหนึ่งคำถามที่ผมสงสัย คือ ว่า เรือชั้นเจ้าพระยาไม่มีลานจอด ฮ. แต่เรือชั้นกระบุรีถูกดัดแปลงมีลานจอด ฮ. คราวนี้ผมคิดว่าหากเรือชั้นเจ้าพระยาจำนวน 2 ลำ จรวด C801 ปลดไปแล้วและไม่คิดปรับปรุงติด C802 แต่เปลี่ยนเป็นถอดปืนใหญ่ด้านหลังออกแล้วดัดแปลงเป็นลานจอด ฮ. เปลี่ยนภาระกิจจากเรือรบ ไปเป็นเรือตรวจการไกลฝั่งจะดีกว่าหรือเปล่า เพราะ เทคโนโลยีในเรือก็เก่ามากแล้ว อาวุธป้องกันตัวก็มีแต่ปืนเก่าก็ไม่น่าจะเอาไปรบให้เสี่ยงเปล่าๆ แล้วเอางบประมาณไปต่อเรือรบพวกคอเวต ฟรีเกตเบาจะดีกว่า
วิธีนี้จะได้เรือตรวจการไกลฝั่งที่มีขนาดใหญ่พอสมควร 2 ลำ โดยเสียค่าปรับปรุงน้อยกว่าต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งใหม่ แต่ต้องเสียงบสร้างเรือรบใหม่ 2 ลำ ที่มีขีดความสามารถสูงกว่าเดิม 2 ลำ (ตีว่าเรือรบใหม่ขนาดไม่เกิน 2700 ตัน ติด จรวดต่อต้านเรือ, จรวดต่อสู้อากาศยานระยะใกล้ , CIW ลำล่ะ 6000 ล้าน จำนวน 2 ลำก็ 12000 ล้านบาท)
วิธีนี้เราจะมีเรือตรวจการไกลฝั่งรวม 5 ลำ ชั้นปัตตานี 2 ( ขนาด 1300 ตัน) กระบี่ 1 (ขนาด 1700 ตัน) เจ้าพระยา 2 (ขนาด 1900 ตัน) และ อาจต่อชั้นกระบี่อีก 1 เพื่อให้ครบ 6 ลำ จะพบว่าเราจะมีเรือตรวจการไกลฝั่งที่มีขนาดต่างกัน 3 ขนาด เหมาะสมระยะปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน
ส่วนเรือรบ เราจะมี เรือนเรศวร 2 (3000 ตัน) เรือฟริเกตจากเกาหลี 2 (3800 ตัน) เรือฟริเกตเบาทดแทนเรือเจ้าพระยา 2 (2500-2700ตัน) เรือกระบุรี 2 (1900 ตัน) เรือสุโขทัย 2 ( 1000 ตัน) รวม 10 ลำ ส่วนเรือฟริเกตเก่าอื่นๆผมไม่ขอนับเพราะเวลารบจริงคงไม่มีประโยชน์เพราะมีแต่ปืนเรือ ไม่ต่างจากเรือตรวจการณ์ ซึ่งเป็นผมคงจะทยอยปลดไป ไม่ต่อใหม่
จะเห็นว่าเราจะมีจำนวนเรือทั้งตรวจการไกลฝั่ง และเรือรบที่ถือว่าพอดีๆ ไม่มากไม่น้อยเกินไป สามารถหมุนเวียนทำภาระกิจได้