ากที่ ในช่วงท้ายสุด กล่าวถึงเรือดำน้ำ Dupuy de LÔme ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเรือดำน้ำขับเคลื่อนพลังงานไอน้ำ - ไฟฟ้า ลำสุดท้ายของประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ปี 1915 ต.ต. ได้ข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับเรือดำน้ำขับเคลื่อนพลังงานไอน้ำ ที่สร้างขึ้นหลังจากเรือดำน้ำลำนี้ (แต่เป็นของประเทศอังกฤษ) ซึ่งหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรือดำน้ำ ส่วนใหญ่ จัดให้เป็นเรือดำน้ำขับเคลื่อนพลังงานไอน้ำลำสุดท้ายของโลก จึงขอนำรายละเอียดคร่าวๆมากล่าวไว้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อท่านที่สนใจค้นคว้าในเรื่องนี้อยู่ ขอบคุณค่ะ
ก่อน อื่น ขอกล่าวถึงเรือดำน้ำ Dupuy de LÔme ก่อน :
Dupuy de LÔme นับเป็นเรือดำน้ำขับเคลื่อนพลังงานไอน้ำลำสุดท้ายของฝรั่งเศส ซึ่งในช่วงเวลานั้นเรือดำน้ำของชาติมหาอำนาจส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบขับ เคลื่อนเบนซิน หรือ ดีเซล - ไฟฟ้าแล้ว เรือดำน้ำลำนี้ถูกสร้างขึ้นในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยอยู่ในแผนการต่อเรือดำน้ำใหม่ของกองทัพเรือฝรั่งเศสซึ่งกำหนดไว้ตั้งแต่ ก่อนที่จะเกิดสงครามไม่นาน ในปี 1913 ปล่อยเรือลงน้ำในปี 1915 และเข้าประจำการในกองเรือโมรอคโค (Morocco Flotilla) ตั้งแต่ปี 1917 จนสิ้นสุดสงคราม จากนั้นได้มีการปรับปรุงตัวเรือใหม่ โดยถอดเครื่องจักรไอน้ำออก และติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล-ไฟฟ้า ซึ่งนำมาจากเรือดำน้ำเยอรมัน เข้าไปแทนที่ ส่งผลให้กำลังเรือเพิ่มขึ้นถึง 2,900 แรงม้า
เรือลำนี้ได้รับใช้ชาติยาวนาน 20 ปี จึงถูกปลดระวางไปในปี 1935 ชื่อของเรือลำนี้ ตั้งตามชื่อวิศวกรออกแบบเรือผู้มีชื่อเสียงเปี่ยมด้วยพรสวรรค์ ของฝรั่งเศส - นาย Stanislas Charles Henri Laurent Dupuy de LÔme ซึ่งมีชีวิตอยู่ระหว่างปี 1816 – 1885 บุคคลผู้นี้ได้ออกแบบเรือรบลำสำคัญๆให้กับฝรั่งเศส เช่น Napoleon – เรือรบขับเคลื่อนใบจักรลำแรกของโลก และ Gloire – เรือรบหุ้มเกราะสมบูรณ์แบบลำแรกในประวัติศาสตร์โลก โดย กองทัพเรือฝรั่งเศสและอิตาลีในยุคนั้น นิยมนำชื่อวิศวกรผู้ออกแบบเรือ และ รัฐบุรุษ-นักการเมือง มาตั้งเป็นชื่อเรือรบ
ภาพประกอบ เรือดำน้ำ Dupuy de LÔme ภาพจากเว็บไซด์ http://weaponsandwarfare.com/?p=25746
อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี 1915 ไล่เลี่ยกับอังกฤษ ได้สร้างเรือดำน้ำขับเคลื่อนพลังงานไอน้ำ - ไฟฟ้า ขึ้น 1 ลำ ชื่อ Swordfish เรือดำน้ำลำนี้ เป็นเรือดำน้ำขับเคลื่อนพลังงานไอน้ำลำแรกของราชนาวีอังกฤษ ปล่อยเรือลงน้ำในปี 1916 การสร้างเรือเป็นไปตามโครงการต่อเรือดำน้ำขนาดใหญ่ ความเร็วเรือสูง ของราชนาวีอังกฤษ ที่เริ่มวางแผนตั้งแต่ปี 1912โดยเรือดำน้ำที่ผลิตตามแผน จะต้องมีระวางขับน้ำพันตันขึ้นไป สามารถใช้ความเร็วเหนือน้ำได้ 20 น็อต (สอดคล้องกับแนวคิดการออกแบบเรือดำน้ำที่ได้รับความนิยม ในสมัยมหาสงคราม เน้นการแล่นเรือบนผิวน้ำ เป็นหลัก และจะดำลงใต้น้ำเมื่อหลบหนีศตรู หรือโจมตี รูปทรงเรือจึงเป็นแบบอานม้า ดาดฟ้าเรือกว้าง เพื่อให้แล่นบนน้ำได้เร็ว) ซึ่งจะเห็นได้ว่า เป็นความเร็วเรือที่ค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับสมรรถนะของเครื่องยนต์ในยุคนั้น
การที่อังกฤษ ซึ่งก้าวสู่ยุคเรือดำน้ำดีเซล - ไฟฟ้า แล้วในช่วงปี 1915 หวนกลับมาทดลองใช้เครื่องจักรไอน้ำในการแล่นเรือเหนือน้ำ แทนเครื่องยนต์ดีเซล แถมยังเป็นเรือดำน้ำขับเคลื่อนพลังงานไอน้ำลำแรกของประเทศเสียด้วย จึงสันนิฐานว่า เพื่อตอบโจทย์ความเร็วเรือดังกล่าว ในขณะที่ เรือดำน้ำ Dupuy de LÔme ของฝรั่งเศส รับใช้ชาติอย่างยาวนาน และ ปลดระวางประจการ ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1935 การสร้าง เรือดำน้ำ HMS Swordfish ของราชนาวีอังกฤษ (ซึ่ง หนังสือบางเล่มจัดให้เป็นเรือดำน้ำทดลอง หรือ Experimental Submarine ไม่ใช่เรือที่สามารถปฏิบัติงานได้สมบูรณ์จริง ) ไม่ประสบความสำเร็จ ราชนาวีอังกฤษ ปลดระวางเรือลำนี้ และขายต่อในปี 1922
ภาพประกอบ เรือดำน้ำ Swordfish แห่งราชนาวีอังกฤษ จากเว็บไซด์ http://militaryhistory.x10.mx/shippictures/swordfish.htm จะสังเกตุเห็นปล่องควันด้านบนของเรือด้วย
จาก นั้นราชนาวีอังกฤษได้ต่อเรือดำน้ำขับเคลื่อนพลังงานไอน้ำ - ไฟฟ้า อีก 2 ชั้น คือ เรือดำน้ำชั้น K จำนวน 17 ลำ และเรือดำน้ำชั้น K-26 จำนวน 1 ลำ : เรือดำน้ำชั้น K ต่อแล้วเสร็จในช่วงปี 1917 - 1918 ระวางขับน้ำของเรือเฉียด 2 พันตัน ในขณะที่เรือดำน้ำ K-26 ที่สร้าง แล้วเสร็จในปี 1926 มีขนาดใหญ่กว่าเรือดำน้ำ ชั้น K คือ ขนาดระวางขับน้ำ 2,566 ตัน โดยยังคงมีความพยายามที่จะสร้างให้เรือดำน้ำแล่นเหนือน้ำ ได้เร็วถึง 24 น็อต แต่อังกฤษได้พบข้อด้อยของเครื่องจักรไอน้ำ (ที่ทำให้ทุกประเทศเลิกผลิตเรือดำน้ำขับเคลื่อนพลังงานไอน้ำ นั่นคือ การใช้เวลาในการดำลงใต้น้ำช้าถึง 5 นาที (หากอยู่ในสมรภูมิรบจริง อาจถูกสอยได้ก่อนหนีทัน) การออกตัวของเรือ เพื่อแล่นเหนือน้ำช้า เพราะต้องรอให้น้ำเดือดเป็นไอก่อน เครื่องยนต์จึงจะทำงาน และขณะเครื่องยนต์ทำงานอุณหภูมิในเรือจะสูงมาก รวมทั้งปล่อยควันจากการเผาไหม้ออกมานอกตัวเรือ ทำให้เป็นที่สังเเกตุได้ง่าย)
ระบบขับเคลื่อนเรือ นอกจากจะติดตั้งเครื่องยนต์กังหันไอน้ำ (steam turbine) สำหรับการแล่นเรือเหนือน้ำ และมอเตอร์ไฟฟ้า สำหรับการแล่นเรือใต้น้ำแล้ว ชั้น K และ K-26 จึงติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลเสริม เพื่อใช้้ขับเคลื่อนเรือบนผิวน้ำ ขณะที่เครื่องยนต์กังหันไอน้ำพึ่งเริ่มสตาร์เครื่อง เรือดำน้ำทั้ง 2 ชั้น มีชื่อเสียงในด้านลบเสีย มาก เพราะพบข้อด้อยหลายประการ เช่น 1. แม้ว่าความเร็วเรือเหนือน้ำจะทำได้ตามเป้าที่คาดหวังไว้ โดยเรือดำน้ำส่วนใหญ่แล่นเหนือน้ำ ด้วยความเร็วประมาณ 23 น็อต แต่ ความเร็วเรือใต้น้ำ ต่ำมาก เพียง 4 - 5 น็อต และ 2. ความผิดพลาดในการดีไซน์โครงสร้างส่วนหัวเรือ ทำให้ต้องรื้อปรับปรุงใหม่ อย่างไรก็ตามเรือดำน้ำทั้ง 17 ลำ ร่วมรบในมหาสงคราม 4 ลำ ถูกทำลาย หรือชำรุดขณะทดสอบแล่นเรือ เช่น เรือดำน้ำ K-1 ชนกับ K-4 กลางทะเลนอกชายฝั่ง Danish Coast และหายสาบสูญไป มีเรือดำน้ำ ชั้น K รอดพ้นจากการทำลายในช่วงสงคราม 13 ลำ แต่ประสบปัญหาเครื่องยนต์ขัดข้องตลอดเวลา ทำให้เกิดการชนกันขณะแล่นเรือ สร้างความสูญเสียหลายครั้ง เรือดำน้ำทั้ง 2 ชั้น ปลดระวางประจำการในปี 1923
ภาพประกอบ เรือดำน้ำ K-22 หนึ่งในเรือชั้น K ภาพจากเว็บไซด์ http://www.modelwarships.com/.../350-cs-jb/jb-review.html
ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล
ใน ส่วนของรายละเอียดเกี่ยวกับคุณลักษณะเรือ ต.ต. จะโพสข้อมูลเพิ่มเติมให้ต่อไป ค่ะ
โดยสรุปก็คือ หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรือดำน้ำทั้วไป จัดให้เรือดำน้ำ ชั้น K และ K - 26 เป็นเรือดำน้ำขับเคลื่อนพลังงานไอน้ำ ชุดสุดท้ายของโลก แต่ในความคิดของ ต.ต. (ซึ่ง อาจจะต่างไป แต่อยากขอความเห็นแฟนคลับเรือดำน้ำท่านอื่นๆด้วย) เรือดำน้ำขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้ ลำสุดท้ายของโลก น่าจะเป็น Dupuy de LÔme ของฝรั่งเศสมากกว่า เพราะปลดระวาง ปี 1935 หลังเรือดำน้ำของอังกฤษ 10 กว่าปี นอกจากนั้น Swordfish ชั้น K และ K-26 เริ่มต้นการสร้างเป็นเรือดำน้ำทดลอง ในการพยายามเพิ่มความเร็วเรือเหนือน้ำ และยังต้องพึ่งพาเครื่องยนต์ดีเซลในการแล่นเรืออีกด้วยค่ะ
ภาพประกอบ เรือดำน้ำ K-26 ของราชนาวีอังกฤษ ซึ่งมีปัญหาการออกแบบส่วนดาดฟ้าเรือ จนต้องรื้อต่อใหม่ ภาพจากเว็บไซด์ คุณวิกิ http://en.wikipedia.org/wiki/British_K-class_submarine
ยินดีค่ะ คุณ hongse_c บทความเต็มของเรื่องนี้ เป็นบทความเก่าในนิตยสารทางทหาร ชื่อ Top Gun ค่ะ