CSOC นำเสนอข้อเสนอเรือดำน้ำ S26T Yuan Class เชื่อทร.กำลังออก RFP เร็ว ๆ นี้
วันนี้ บริษัท China Shipbuilding & Offshore International หรือ CSOC ได้เข้ามานำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเรือดำน้ำชั้น S26T Yuan Class ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นรุ่นที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับกองทัพเรือไทย โดยมีเสนาธิการทหารเรือเป็นประธานเข้ารับฟังข้อมูล
ปัจจุบันกองทัพเรือกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินโครงการจัดหาเรือดำน้ำ ซึ่งถือเป็นครั้งที่ 4 นับจากเรือดำน้ำลำสุดท้ายของกองทัพเรือถูกปลดประจำการไปเมื่อกว่า 60 ปีก่อน โดยมีแผนที่จะขออนุมัติจัดหาภายในปีงบประมาณนี้
สิ่งที่น่าสังเกตุคือ จากภาพที่ปรากฏในเพจของกองเรือดำน้ำ บริษัท CSOC ได้นำเสนอข้อเสนอเรือดำน้ำให้กับกองทัพเรือไทย (Proposal for Royal Thai Navy) ซึ่งอาจหมายถึงโครงการอาจมาถึงช่วงการเสนอแล้ว ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะมีการประกาศเลือกแบบ ซึ่งกองทัพเรืออาจออกคำร้องขอข้อเสนอหรือ Request for Proposal (RFP) แล้ว หรืออาจเป็นการเตรียมการของผู้เข้าแข่งขันเพื่อรับฟังความคิดเห็นเพื่อพร้อมที่จะนำเสนอข้อเสนอสุดท้ายเมื่อ RFP ออกอย่างเป็นทางการ
เชื่อว่าจะมีเรือดำน้ำจากเยอรมัน เกาหลีใต้ รัสเซีย สวีเดน จีน และฝรั่งเศสเข้าแข่งขันในโครงการนี้ของกองทัพเรือไทยที่ต้องการจัดหาเรือดำน้ำใหม่จำนวน 2 - 3 ลำ
http://www.thaiarmedforce.com/taf-military-news/54-rtn-news/373-cabinet-approve-type-206a-buy.html
บรรยายเรือดำน้ำ Yuan Class
เอาแล้วเว้ย ฮา ถ้าเกิดคิดจะรวบรัดอนุมัติภายในงบประมาณปีนี้ให้ได้อย่างที่ลือกันจริงๆ ก็คงจีนมาวันอย่างที่ป๋าจูลฟันธงแล้วแหละครับ นอกจากจะมีช็อกคนดู
S-26T น่าจะระวางเรือประมาณ 2,600 ตัน คงจะใหญ่กว่า S-20 แต่เล็กกว่า Type-039A Yuan class น่าจะเป็นรุ่นเสนอขายให้กับ ปากีสถาน ด้วย ของปากีสถาน รู้สึกจีนจะเสนอแบบเรือ S-26 กับ S-30 (3,000 ตัน)
ให้เดาว่า S = Submarine ส่วนตัวเลขตามหลัง จะหมายถึง ระวางเรือ
ถ้าระวางเรืออยู่ที่ประมาณ 2,600 ตัน ตามการคาด เดา...แบบเรือจีน จะใหญ่ เกินไป หรือเปล่า ?
และคาดว่า จีน คงถูกกำหนดเรื่อง สเปค ที่คงต้องมีระบบ AIP ซึ่งแบบเรือ S-20 จะไม่มีระบบ AIP จึงเสนอแบบ S-26 ที่คงมีการติดตั้ง ระบบ AIP ด้วย
โอ้ มาย....
รัสเซีย เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส สวีเดน(สมัยบรรหารเป็นนายกฯ) จีนเสนอให้ไทยแล้ว แต่ผมไม่ค่อยวางใจของจีนเล๊ยยยย 555+ ยิ่งทัพเรือเคยมีประสบการณ์ไม่ดีของจีนมาแล้วด้วย อย่างกรณีเรือหลวงนเรศวรได้เลย
ไม่รู้นะ ผมว่า ของจีนควรเป็นตัวเลือกท้ายๆ เพราะ
1. ดูจากประสบการณ์เรือ ของทรแล้ว อาจจะไว้ใจของจีนไม่ได้สักเท่าไหร่ แต่ก็ไม่เคยมีข่าวเรือดำน้ำจีนประสบอุบัติเหตุนะ ของรัสเซียที่อินเดียใช้เห็นเคยมีข่าวไฟไหม้
2. เหมือนผบ ทร ท่านที่แล้วจะบอกว่า เนื่องจากไทย ใกล้ชิด กับ สรอ จีนจะต้องลด เสป๊กเรือ ดำน้ำที่จะขายให้ไทยลง เพื่อป้องกันความลับ
ตามความเห็นผมนะครับ....ถ้า ทร. เลือก เรือดำน้ำ จีน...ผมให้น้ำหนัก เป็น ใบสั่ง มากกว่า ความต้องการหรืออุปสรรคทางงบประมาณ...
ส่วนตัวมองว่าศักยภาพในการพัฒนาเรือดำน้ำรุ่นใหม่ของจีนยังน้อยไป และดูจากกำลังหลักเรือดำน้ำดีเซลจีนในตอนนี้เป็นช่วงรอยต่อและลูกผสมระหว่างเทคโนโลยีเรือดำน้ำชั้น Kilo-877+636
ถ้าสร้างแบบถอดแบบจากเรือชั้นKiloหรือหยวนแท้ๆ ก็คงพอเข้าใจ........แต่การสร้างเรือใหม่ทั้งลำ ยังน่าเป็นห่วงครับในประสิทธิภาพระยะยาว
ถามว่าอย่าง Armur รัสเซียก็ยังไม่ได้สร้าง.......แต่ศักยภาพและประสบการณ์ในการพัฒนาเรือดำน้ำของจีนและรัสเซียต่างกันมากนะครับ รัสเซียก็พัฒนาเรือดำน้ำรุ่นใหม่เรื่อยมาตั้งแต่ช่วงสงครามเย็นจนปัจจุบัน
พวกระบบโซนาร์และเครื่องยนต์จีนน่าจะดีกว่ารัสเซียตรงที่มีเทคโนโลยีตะวันตกผสมเข้าไปด้วย อย่างเครื่องยนต์MTU โซนาร์ฝรั่งเศส
ถึงจะใบสั่งนะครับ ทร.ก็คงต้องเอาไว้ เพราะดีกว่าไม่มีเลย
ส่วนตัวผม ชอบ ของสวีเดนมากที่สุดแต่ ถ้ามีจีนให้เลือกแค่ตัวเลือกเดียว ถ้าผมเป็นทร. ผมก็คงเอาไว้ใช้ก่อนล่ะครับ ดีกว่าไม่มีเลย
.............. ผมขอเดาว่า หวยน่าจะออกที่ "กิมจิ".......เพราะ"กิมจิ" นี้ .........คนทำเป็น คนเกาหลี ..........แต่ผักนำมาจากเยอรมัน ......เครื่องปรุงนำมาจาก ฝรั่งเศส.....และคนในกลาโหม...ชอบกิน "กิมจิ".......(เนื่องจาก เรือฟรีเกตสมรรรถนะสูงก็ มาจาก "กิมจิ" และเครื่องบินที่จะมาแทน บ.L 39 ก็มี บ.KAI T 50 จาก "กิมจิ" มีกระแสข่าวว่ามาแรงมาก).....ส่วนข่าวปล่อยเรื่อดำน้ำจีน นั้น..... ผมว่าเป็นการสลับขาหลอก เพื่อขู่ให้จำยอมตามใจเขา ต่างหาก..............ครับ/สกายนาย
ผมว่านะ ถ้าได้ เรือดำน้ำจีีน...ผมขอ ไม่มี ดีกว่าครับ...รอเวลาอีกนิด...คงจะได้ตามที่ต้องการ มากกว่า...
แต่ถ้าได้ เรือดำน้ำ เกาหลี จริง ๆ...ก็น่ายินดี....ความรู้ที่ สั่งสม มาจากการฝึก จะได้ไม่สูญเปล่า...น่าจะนำมาใช้ได้ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลา นับหนึ่งใหม่ กับ มาตรฐาน เรือดำน้ำจีน ที่ไม่รู้ว่า ทร. เคยทำความรู้จักกับมันเลยหรือไม่ครับ...
ผมว่า คงไม่ใช่ว่า เรือรุ่นที่เราไม่ชอบ นะครับ...
แต่มันจะหมายถึง หลาย ๆ อย่าง เช่น มาตรฐานการใช้งานเรือดำน้ำ ระบบอาวุธ ยุทธภัณฑ์ อะไหล่ต่าง ๆ และเรือดำน้ำ จะต้องคงอยู่กับ ทร. ไปอีก 30 ปี...
แล้วต่อจาก 30 ปี...ถ้าเราพบว่า มันไม่มีประสิทธิภาพตามที่เราต้องการ ปัญหามันมี...การจะเปลี่ยนแปลงหลังจากนั้น ก็เสมือนการ เริ่มต้นใหม่ จัดหาระบบใหม่ เรียนรู้กันใหม่อีกครับ...
อย่างเช่น เกาหลีใต้ ที่เขาจัดหาเรือดำน้ำจาก เยอรมัน...ต่อจากนั้น ก็คือ เขาใช้มาตรฐานเรือดำน้ำ เยอรมัน ต่อเนื่องต่อไป...เช่นเดียวกับ อินโดนีเซีย ก็ยังต้องกลับมาซื้อ เรือดำน้ำ จากเกาหลีใต้ ที่มีพื้นฐานมาจาก มาตรฐานเรือดำน้ำ เยอรมัน...หรือ แม้แต่ สิงคโปร์ เมื่อจัดหา เรือดำน้ำจาก สวีเดน...ก็เป็นผลต่อเนื่องที่จัดหา เรือดำน้ำ จาก สวีเดน อย่างต่อเนื่อง...
ผมว่า เรือดำน้ำ เป็นระบบอาวุธ ที่ต้องใช้ ทักษะการรบ ค่อนข้างสูง...การสู้รบ ต้องใช้ ข้อมูลเป็นหลัก มาสู้รบกัน...เพราะ เป็นอาวุธ ที่ไม่สามารถมองเห็นศัตรูได้...ไม่สามารถใช้ ตา เพื่อตัดสินใจได้...การตัดสินใจ จะต้องใช้ ข้อมูลต่าง ๆ บนเรือ กับ การคำนวณ การประมวล ที่ผมว่า มันต้องใช้ ทักษะ สูง...
ดังนั้น การเปลี่ยนแบบ หรือ การเปลี่ยนมาตรฐาน จากของเดิม...คงไม่ใช่ เรื่องง่าย เท่าไหร่นักครับ...
ผมถึง มีความเห็นว่า ถ้าได้ เรือดำน้ำจีน ไม่มี ดีกว่าครับ...แล้ว รออีกนิด ให้ได้ตามที่ ทร. ต้องการจริง ๆ...
เพราะยังไง..ทร. ก็ต้องมี เรือดำน้ำ ครับ...เพราะ ประเทศรอบข้าง เขามีกันหมด ประเทศบังคลาเทศ ที่รายได้น้อยกว่าประเทศไทย เขายังจัดหาแล้ว...ในอนาคต เป็นเรื่อง ปฏิเสธ ไม่ได้อยู่แล้วครับ...ผมประเมินลักษณะนี้ครับ...
เศรษฐกิจ มันต้องเติบโตไปพร้อมกับ ความมั่นคง ทางการทหาร ผมว่าเป็นเรื่องปกติ...อย่างเช่น มาเลเซีย เขาก็ผูกการพัฒนากองทัพ กับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ทั้ง 2 แผนนี้ จะเดินคู่กันไป...คล้าย ๆ กับ รัฐบาลในอดีตของประเทศไทย ที่ให้ กองทัพทำแผนพัฒนา 9 ปี เพื่อรัฐบาลจะได้ทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ควบคุ่กับไป...
การจัดซื้ออาวุธ มันเป็นรายจ่ายที่สูญเสียออกไป ไม่ใช่ การจ่าย ลงทุน...
ดังนั้น รัฐบาลที่มีวิสัยทัศน์ เขารู้อยู่แล้ว ยิ่งเศรษฐกิจโต ก็ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันประเทศ เพราะต้องคุ้มกันทุนต่างประเทศ ที่มีภัยคุกคามจากความขัดแย้งของประเทศเขา ไม่ให้มากระทบกับประเทศไทย...
ดังนั้น ถ้าเขารู้ว่า มันรายจ่ายที่ต้องจ่ายอยู่แล้ว และมีจำนวนสูง ซึ่งมันไม่ก่อให้เกิดรายได้...จึงควรจะต้องวางแผน วางประมาณการ เพื่อจะได้หารายได้ให้มันมาสอดคล้อง...หรือ การเปลี่ยนแปลงจากรายจ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้...มาเป็น รายจ่าย ที่ก่อให้เกิดรายได้ทางอ้อม เช่น บาร์เตอร์เทรด...หรือ เปลี่ยนแปลงการจัดหาอาวุธบางอย่าง เป็น รายจ่าย การลงทุน...คือ การผลิตอาวุธเอง และพัฒนาเพื่อขายในอนาคต...
ถ้าผมจำไม่ผิด ประเทศสิงคโปร์ หรือ มาเลเซีย ไม่แน่ใจ ในสมัยช่วงเขาพัฒนากองทัพใหม่ ๆ ในอดีต เขาใช้ นักบัญชี หรือ นักการเงิน เนี่ยล่ะครับ เป็น รมต.กลาโหม...เพื่อ คอนโทรล การพัฒนากองทัพ ควบคู่ไปกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ...
ขอบคุณครับท่่าน skysky เรือชั้น A-19 ก็กว่า 20 ปีและใกล้ปลดประจำการแล้ว จริงๆในอุตสาหกรรมต่อเรือจะต่างจากเครื่องบินที่เมื่อปิดสายการผลิตไปแล้วจะเปิดสายการผลิตใหม่นั้นเป็นเรื่องยาก เพราะเครื่องบินต้องมีสเกลที่มากเพียงพอเพื่อให้ถึงจุดคุ้มทุน ไม่งั้นราคาแพงโลด แต่สำหรับเรือ เราสามารถขอแบบเรือรุ่นเก่าเอามาต่อใหม่ได้ครับ แต่ระบบอิเลคทรอนิด ระบบขับเคลื่อนก็คงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่คต้องมีการทดสอบระบบแบบใหม่กับเรือแบบเก่ากันก่อน
เห็นในเวปต่างๆ แม้แต่เวปนี้เองมีคนเชียร์ A-19 อยู่ไม่นอยเลยครับ และคราวที่เราแห้วเรือชั้นนี้ 2 ลำ เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ผมเซ็งจิตสุดๆยิ่งกว่า แห้ว type 206A มากๆเลย type 206A แค่เสียดายบ้าง
ตอนนี้ผู้เข้าแข่งขันก็น่าจะครบแล้วนะครับ ผมว่าคำถามที่น่าสนใจตอนนี้น่าจะเป็นว่า ระหว่างการได้เรือรุ่นที่เราไม่ชอบมากที่สุด กับ การไม่มีเรือเข้าประจำการต่อไปอีกอย่างไม่มีกำหนด เราควรจะเลือกอะไรกันดี ก็คงต้องชั่งใจกันให้ดีครับ และจากการที่ S26T เป็นเรือรุ่นส่งออกของ เรือชั้น Yuan (Type 041) ผมจึงขออนุญาตนำเสนอข้อมูลของ เรือชั้น Yuan แทนไปก่อนเช่นเคยนะครับ สำหรับเพื่อนที่ไม่มีเวลาหาข้อมูลครับ :)
เรือ ส. ชั้น Yuan ได้ชื่อตาม ราชวงศ์หยวน ของจีน ซึ่งกษัตริย์พระองค์แรกคือ กุบไล ข่าน หลานชายของ เจงกิส ข่าน... ใช่แล้วครับ ราชวงศ์หยวนเป็นราชวงศ์แรกของประเทศจีนที่ไม่ใช่ชาวจีน แต่เป็นชาวมองโกล ซึ่งได้ปกครองจีนอยู่ราว 97 ปี (คศ. 1271-1368) อาณาเขตของจีนสมัยราชวงศ์หยวนนั้น กว้างใหญ่ไพศาล และอาจมีพื้นที่ถึง 14 ล้าน ตร.กม. (wiki) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาณาเขตทางใต้ได้แผ่ลงมาถึงเขตสิบสองพันนา พม่า และบางส่วนของลาว แต่ว่ากันว่าทัพม้าอันเลื่องชื่อของมองโกลต้องหยุดแค่นั้น เมื่อเจอกับป่าฝนเขตร้อนและทัพช้างของ พญามังราย ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา ผู้สร้างเมือง นครพิงค์เชียงใหม่
การออกแบบและผลิต เรือชั้น Yuan เป็นการสร้างเรือ ส. เองของจีนอีกรุ่นหนึ่งต่อจาก เรือชั้น Song ซึ่งในเวลาเดียวกันจีนก็จัดหา เรือชั้น Kilo ของรัสเซียเข้าประจำการด้วย ดังนั้นการออกแบบเรือชั้น Yuan จึงเป็นการผสมผสานข้อดีของ เรือชั้น Song ของจีนเอง และ เรือชั้น Kilo โดยเฉพาะเทคโนโลยีลดการเกิดเสียงและลดการตรวจจับต่างๆ ของรัสเซีย และที่สำคัญ เรือชั้น Yuan (SSP) ยังมีการติดตั้งระบบ AIP ที่จีนพัฒนาขึ้นเองด้วย และเมื่อไม่นานนี้ยังมีข่าวอีกว่า Yuan ได้รับการปรับปรุงระบบโซน่าเป็นรุ่นใหม่จากเยอรมันแล้วด้วยครับ และที่น่าสนใจอีกอย่างคือ เชื่อกันว่า Yuan อาจจะสามารถยิงได้ทั้ง Sub C-801 ของจีน และ Club S ของรัสเซีย (Globalsecurity.org) ถ้าเป็นจริงก็ไม่เบาครับสำหรับสาวลูกผสมจีนรัสเซียลำนี้ :)
แต่อย่างไรก็ตาม S26T ไม่ใช่ Yuan นะครับ ก็คงต้องรอข้อมูลว่าจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง แต่ขนาดระวางเรือคิดเหมือนท่าน Juldas ว่าน่าจะประมาณ 2,600 ตัน ดูเทียบจากรหัส S20 ที่มีขนาดราว 2,000 ตัน นอกจากนี้ยังเป็นการลดขนาดจาก 3,600 ตันของ Yuan จึงไม่แน่ใจว่าจะมีผลด้านใดหรือไม่ แต่ส่วนตัวไม่ว่า ทร. จะเลือกรุ่นใดก็ตาม ถ้าเป็นไปได้อยากเห็นการถ่ายทอดเทคฯ สร้างในไทยครับ เพราะแม้ว่าเราจะได้รับการถ่ายทอดเทคฯ สร้างเรือ ส. ขนาดใหญ่เป็นพันตัน แต่คงไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องต่อเรือ ส. ขนาดใหญ่สถานเดียวเท่านั้นใช่มั้ยครับ และสุดท้ายถ้าลองมองกันดีๆ ผมว่า ทร. ก็ไม่ได้เลือกเรือที่ราคาถูกอย่างเดียวหรอกนะครับ ไม่งั้นเรือฟริเกตสมรรถนสูงของเราก็คงต่อในจีนไปแล้ว ;) (ข้อมูลผิดพลาดประการใดช่วยแก้ไข เพิ่มเติมกันนะครับ)
อย่าง ฮา... 5555... ครับท่านสกายนาย กด Likeให้
งานนี้เกาหลีมีเหนื่อย.....2600 ตัน มีระบบ AIP แบบจีน เอ่อ ..... เรือใหญ่พอดูทีเดียว ลำเบิ่มๆ
ผมให้ตัวเต็งตามลำดับแล้วกัน
1 เกาหลี DW-1400T พร้อมระบบ AIP
2 type 210 mod class ถ้ามีระบบ AIP ราคาคง ซี๊ดดดด
3 AMUR 950 หรือ 1650 พร้อมระบบ AIP แบบรัสเซีย
4 A-19 อีกสักครั้งจากสวีเดน
5 S-26 T ม้ามืด
a19 จาก sweden จะมาได้ยังไงครับ เรือไม่อยู่ในสายการผลิต แถมของเก่าก็ปรับปรุงใช้ต่ออีกหลายปี
ตอนนี้วิ่งกันจน เพลีย มีอยู่สองกลุ่มเอง ใครจะเข้าวินมาดูกัน น่าจะให้ประชาชนผู้เสียภาษี มีส่วนร่วม โหวตนะ อุ้ย ขำ ๆๆ รอดูหวยที่ออกครับ
ถึงแม้จะไม่ชอบเกาหลีแต่ถ้าได้เรือเกาหลีก็ดีกว่าของจีนแน่นอน ของจีนใหญ่ไปและใหม่ไป ส่วนเจ้าอื่นทั้งรัสเซีย ฝรั่งเศษ สวีเดน คงยากยกเว้นม้ามืดที่มาแบบมืดๆ
เรือดำน้ำแบบ 209/1400
เรือดำน้ำจีนก็น่าสนนะ แต่ปัญหาคือ คุณภาพนี่สิ
เรือจีนถ้าจำเป็นจริงๆ ก็น่าจะรับได้ และเพื่อความสบายใจของคนใช้งาน ควรจะต้องให้ทางจีนรับประกันเรื่องคุณภาพวัสดุ คุณภาพการสร้าง และควรเปิดให้ไทยส่งทหารเรือไปทดลองฝึกในเรือจีนเพื่อจะได้รู้ว่าดีแค่ไหน จะได้มั่นใจเวลาใช้งาน นอกจากนี้จีนอาจต้องมีที่ปรึกษาประจำในไทยในช่วงปีแรกๆเพื่อคอยช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆของเรือ ครับ
การที่จีนส่งเข้าแข่งขันเป็นเรื่องที่ดีที่สุด
ถึงแม้สุดท้ายเราจะไม่ซื้อของจีน แต่จีนทำให้ราคาของชาติอื่นๆ ต้องปรับลดต่ำลงอย่างแน่นอนไม่มากก็น้อย
ดูตัวอย่างตรุษกี ทั้งสหรัฐและยุโรป ต่างยินยอมลดราคาลงบ้าง ถ้าตรุษกียกเลิกการซื้อจรวดจากจีน
เอ ตุรกีเขาจะเลิกซื้อมิสไซล์จีนเพราะจะโดนนาโต้รุมกระทืบมากกว่ามั้ง เพราะตุรกีเองก็เป็นสมาชิกนาโต้ ขืนเอาอาวุธมาอินติเกรทกับระบบจีนมีหวังความลับนาโต้รั่วกระจาย นอกจากนี้บริษัทจีนที่ผลิตมิสไซล์ยังโดนคว่ำบาตรอยู่เนื่องจากขายอาวุธให้ทั้งอิหร่านเกาหลีเหนือ ฯลฯ และมูลค่าดีลครั้งนี้มหาศาลพวกนาโต้/สหรัฐฯ ก็คงอยากได้บ้างแหละเป็นธรรมดา อิอิ ยิ่งตุรกีอยากจะเข้าอียูทั้งๆ ประเทศก็ไม่ชัดเจนว่าอยู่ในยุโรป พูดตรงๆ ก็คืออย่ากวนทีนมาก ดังนั้นสุดท้ายงานนั้นจีนก็คงแห้วไป รวมๆ ก็คือมันเรื่องการเมืองล้วนๆ ครับ
อย่างกรณีเราการเมืองระหว่างประเทศไม่ได้ชัดเจนและหนักหน่วงขนาดนั้น เพราะเราไม่ได้เป็นสมาชิกนาโต้ที่ระบบสงครามเน็ทเวิร์กข้อมูลเชื่อมกันทั้งระบบครอบคลุมทุกมิติ แต่ก็คงส่งผลบ้างแน่นอน เช่นการขอความร่วมสหรัฐฯ เรื่องการเชื่อมโยงเน็ทเวิร์กก็อาจจะเจองอนเอาได้ ฮา ดังนั้นแนะนำว่าไหนๆ ก็ไหนๆ แล้วมาทางซ้าบให้สุดซอยเลย แล้วจะเน็ทเวิร์กยังไงก็คงไม่มีใครว่าละครับ
มาถึงตรงนี้ผมก็เห็นด้วยกับท่าน tongwarit ว่า จะอเมริกา จะจีนรัสเซีย มันดูสุดโต่งไปนะ เอาแบบพวกสวีเดน เกาหลี ยูเครน ดีกว่า
ทำแผ่นภาพ เรือดำน้ำ ในภูมิภาค เอเชีย จากอ่าวเบงกอล มา ทะเลจีนใต้ ยกเว้นประเทศมหาอำนาจ อินเดีย และ จีน
จะเห็นภาพ การจัดหา เรือดำน้ำ ชุดต่อเนื่องจาก ชุดแรก จะเป็น เรือดำน้ำ มาตรฐานจากแบบเดิม
ซึ่งแม้แต่ อินโดนีเซีย ที่มีข่าวว่าจะจัดหา เรือดำน้ำ จาก รัสเซีย ก็ยังไม่มีความคืบหน้าอย่างมีน้ำหนักว่าจะทำการจัดหา มีแต่ โครงการ สร้างเรือดำน้ำเอง โดยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี่จาก เกาหลีใต้ ซึ่งก็คือ เรือดำน้ำแบบ Type-209/1400 โดยตามโครงการ เรือดำน้ำของ อินโดนีเซีย มีเป้าหมายจะมีเรือดำน้ำ รวมทั้งสิ้น 12 ลำ ซึ่งก็คาดว่า ก็น่าจะเป็นเรือดำน้ำแบบ Type-209/1400 ที่สร้างโดย อินโดนีเซีย เอง ในอนาคต
จึงมองภาพว่า การจัดหา เรือดำน้ำ ของ ทร.ไทย จะส่งผลถึงในอนาคตว่า เมื่อในครั้งนี้ มีการจัดหาเรือดำน้ำจาก สัญชาติใดแล้ว...ในอนาคต เรือดำน้ำชุดต่อไป ไม่ว่าการจัดหาเพิ่มให้เต็มอัตรากำลัง หรือ หลังจากชุดปัจจุบัน ปลดประจำการ ก็น่าจะคงจัดหา เรือดำน้ำ จากสัญชาติเดิม ในลักษณะต่อเนื่อง...
ไปๆมาๆคิดว่า เรือกิมจิ กับ หมีขาว น่าจะได้ลุ้นกันสุดตัว
รายนึงทันสมัย ระบบคุ้นเคย ราคาน่าจะพอคบได้
รายนึงเก๋าประสบการณ์และคุณภาพ แต่ไม่คุ้นระบบในราคาที่พอคบได้
มองดูไปคล้ายกรณี ท.อ. เลือกบ.ข. ที่SU-30 ถูกดึงมาเป็นตัวเลือก แล้วกรีเพ้น เข้ามาในแบบราคาไม่แพง ทันสมัย+ของแถมเพียบ
วันนี้รัสเซียมาเสนอครับ
บริษัท Rosoboronexport สหพันธรัฐรัสเซีย เข้ามาบรรยายสรุปข้อมูลเรือดำน้ำชั้น Kilo (Project 636) และ Amur 1650 โดยมี พล.ร.ท.ประดิษฐ์ ศิริคุปต์ รองเสนาธิการทหารเรือ เป็นประธานเข้ารับฟัง เมื่อ 16 ม.ค.57
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=837946006243415&id=222887361082619
ผมว่าเราน่าจะเลิกเรียกดีลกริพเพนว่าของถูกของแถมแล้วนะครับ น่าจะเรียกว่าดีลแพ็คเกจดีกว่า เพราะถ้านับว่าเป็นของแถมอย่างนั้นเครืองที่เราซื้อโคครแพงเลยครับ
เชียร Lada 677 ครับ แม้ระบบจะไม่เขากัน แต่เชื่อ มือพี่หมี กับคนไทย ที่มีสวีเดนค่อยช่วยเหลือ คงไม่อยากมากในการเชื่อมต่อ ระบบให้เขากัน มาดูกันหวยจะออกที่ใคร (ถ้าพี่จีนมา ไอหย่า ตัวใครตัวมันครับ55) ข่าวลวง เยอะนิด สับขากดราคา เอาข้อตกลงที่สุด เดียวมี่ เงิบ