เรื่องยานเกราะของ DTI ครับ ตามภาพ กลางปี 2558 คงได้เห็นพร้อมกันครับ
จาก Facebook Defence Technology Institute
https://www.facebook.com/dtithailand
จาก Facebook Defence Technology Institute
อิอิ ข่าวดีที่รอคอย แต่อยากให้เสร็จเร็วๆนะ ตอนนี้สถานการณ์ทางตะวันออกของยูเครนยังไม่สงบ คงเป็นโอกาสที่ดีที่เราต้องเปิดสายผลิต แต่คงต้องรอไปก่อน
กลัวจะมีแค่ต้นแบบแล้วก็ไม่ผลิตจริง
แค่ลุ้นให้ม๊อคอัพกลายสภาพเป็นรถต้นแบบยังเหนียวเลยครับ
รอให้ 4 เหล่าทัพยอมโยนงบของตนลงมาแชร์ในโครงการก่อนครับ ใช้ของเหมือนๆ กัน ต่างกันในจุดปลีกย่อยตามภารกิจ รับรองรถเกราะเมดอินไทยแลนด์เกิดแน่
การออกแบบพัฒนาและตั้งโรงงานผลิต ปัจจุบันผมว่าไม่ใช่เรื่องยาก
ตั้งแต่การออกแบบ จ้างสำนักออกแบบผู้เชี่ยวชาญทำได้ ไม่ต้องคิดเองทั้งหมด เอาให้ตรงกับความต้องการในการใช้งานของเรา
การสร้างรถต้นแบบ อันนี้สมควรทำเอง รวมทั้งการทดสอบจนได้รุ่นสำหรับเปิดสายการผลิต
การผลิตสร้าง ให้เอกชนไปทำ เอาสัญญาให้เค้าพร้อมจำนวนผลิตที่คุ้ม เป็นใครๆ ก็อยากแจมด้วย ยิ่งเป็นเอกชนที่มีความคุ้นเคยกับสินค้ารถเกราะอยู่แล้วอย่างชัยเสรี ฯลฯ
เคลียร์เรื่องงบกันก่อน ยอมลงขันร่วมกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำต่างใช้งบกันเอง มันเป็นเบี้ยหัวแตก ไม่สามารถสร้างความคุ้มค่าในการผลิตได้ ที่เรียกอีโคโนมี่ออฟสเกล นั่นแหละครับ อย่างนี้อีกกี่ชาติเราถึงจะสร้างรถเกราะดีๆ ไว้ใช้งานในราคาที่สมเหตุสมผลได้
ปล. 1 ผลิตเองได้ไม่ได้แปลว่าทั้งคัน 100% นะครับ ขอแค่โลคัลคอนเทนต์สัก 40% ขึ้น ก็หรูแล้วครับ เครื่องยนต์ เกียร์ ปืน อุปกรณ์สื่อสาร แผ่นเกราะ ฯลฯ ต้องนำเข้า แล้วมาประกอบเป็นคันที่เสร็จสมบูรณ์ในโรงงานบ้านเรา ขืนหวัง 100% คงได้แค่ม๊อคอัพอย่างคันที่ DTI มีอยู่ก็ได้ครับ
ปล. 2 รถเกราะ DTI คลับคล้ายว่าสั่งจากสิงค์โปร์หรือไงเนี่ย ถ้าผิดพลาดต้องขออภัยไว้ด้วยนะครับ
ผมมองต่างนิดนึงนะครับ
การพยายามซื้อของร่วมกันทุกเหล่าทัพบางทีก็กลายเป็นแพงกว่าได้เหมือนกัน อเมริกานี่เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนเลย โครงการทุกอย่างเป็น joint นู่น joint นี่ ผลคืออาวุธยุทโธปกรณ์นั้นๆต้องตอบสนองได้ทุกเหล่าทัพ ถ้าความต้องการตรงกันก็ดีไป ถ้าต่างกันมากก็กลายเป็นว่าต้องพยายามออกแบบยุทโธปกรณ์ที่แพลตฟอร์มเดียวสามารถรองรับความต้องการหลายแบบ ถ้ามันยากมากก็จะกลายเป็นว่าแพงกว่าการทำของใครของมันให้ตรงความต้องการตัวเอง เนื่องจากค่าพัฒนาวิจัยสูงขึ้นบานเบอะ
กรณีรถเกราะของไทยนั้น ผมว่าจุดชี้ขาดคือทบ. ถ้าเหล่าทัพอื่นจะเอาแต่ทบ.ไม่เอา ให้ตายยอดก็ไม่พอที่จะผลิตคุ้มทุน ในทางกลับกันถ้าทบ.สั่งเป็นเรื่องเป็นราว แค่เหล่าทัพเดียวก็พอเปิดสายพานผลิตแล้ว
ทำเองก็ใช่ว่าจะถูกไปกว่าซื้อครับ ตัวอย่างชัดๆ เรวากับ first win อีกอย่าง สมมุติ ทบ ใช้คนเดียว เอาแบบเต็มที่เลยนะ 400-500คัน ผลิตปีล่ะ 50 คันพอ 8- 10 ปี ผลิตเสร็จออกมาแล้วหลังจากนั้นล่ะโรงงานจะทำอะไรต่อไป
m113 เอย ถ 41 เอย ใช้กันตั้งแต่ พ่อพึ่งจบโรงเรียนนายร้อย จนลูกจะเกษียญ ยังไม่ปลดเลย เหล่าทัพเราใช้ของกันนานมากก
ปล ที่ อาวุธนะบ่นกันจังว่าทำไมต้องซื้อ ทำไมไม่ทำเอง ที คอมพิวเตอร์ ไม่เห็น บ่นมั่งว่าทำไม ICT ไม่ทำเอง เห็น หน่วยราชการซื้อทุกปี และใช้กันทุกหน่วยราชการ
มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับแค่ราคาว่าถูกกว่าหรือแพงกว่าหรอกครับ อาวุธบางอย่างที่เราใช้นานเป็น 40-50 ปี ไม่ใช่ว่ามันดีมาก แต่เราไม่มีเงินซื้อใหม่เลยต้องใช้ไปเรื่อยๆอย่างที่เห็น ความจำเป็นบังคับ ยังดีที่รอบบ้านเราแต่ก่อน(ย้ำนะครับ แต่ก่อน) มีแต่ T-54,T-55 M41 เรายังพอไหว แต่ตอนนี้ไม่ใช่แบบนั้นแล้ว ลองมองมุมนี้ดูครับ
หลายคนมองว่า เมื่อผลิตครบจำนวนแล้วโรงงานจะทำอย่างไรต่อไป เรื่องนี้ถ้าจะให้ตอบยาวมากครับ เอาสั้นๆ อย่าง BTR-3E1 ที่เราไปซื้อจากยูเครน เขาทำยังไง?? ทุกโรงงานเขาบริหารอย่างไรตอนไม่มีออเดอร์.. ตอบสั้นๆ ลดกำลังผลิตลง พูดง่ายๆปลดพนักงานบางส่วนออกครับ คงเหลือแค่ที่สำคัญเช่นคงเหลือกำลังผลิตขั้นต่ำ คงความสามารถของการซ่อมบำรุงหลังจากการขาย และ การผลิตอะไหล่ (ต้องผลิตอะไหล่สนับสนุนกี่ปีว่าไป) เมื่อมีออเดอร์ก็เพิ่มกำลังผลิต จ้างคนเพิ่ม โรงงานทำแบบนี้ละครับ
อีกอย่าง การสร้างไม่จบแค่การสร้างเสร็จครบจำนวนนะครับ นี่ยังไม่รวมการพัฒนาต่อยอดA1 A2 A3 A4 การวิจัย การสร้างรุ่นใหม่ขึ้นมาทดแทนรุ่นเก่า ฯลฯ ยกเว้นว่าจะเป็นโรงงานแบบรับจ้างสร้างนะครับ แต่ถ้าแบบนี้ไม่ต้องห่วงครับ DTI วิจัยเสร็จ จ้างโรงงานสร้าง จบงาน โรงงานก็ไปหาจ็อบใหม่