ที่พระธาตุนภพลภูมิสิริ ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง กล่าวในระหว่างกิจกรรมมอบอุปกรณ์ป้องกันภัยหนาวให้กับชาวบ้านในพื้นที่ภาคเหนือว่า ในปี 2558 กองทัพอากาศได้รับอนุมัติงบประมาณในการจัดหากองทัพอากาศยังคงดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินทดแทนเครื่องบินขับไล่ฝึกแบบที่ 1 จำนวน 3700 ล้านบาท โดยจะทำการจัดหา 4 เครื่องก่อนในขั้นต้น เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ฝึกแบบ L-39ZA/ART ในภารกิจการฝึกนักบินเพื่อทำการบินกับเครื่องบินขับไล่ (Lead-In Fighter Trainer)
ทั้งนี้ แบบของเครื่องบินที่เข้าแข่งขันยังคงมาจากจีน อิตาลี รัสเซีย เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกาเช่นเดิม
ThaiArmedForce.com เชื่อว่าแบบเครื่องบินทั้ง 5 แบบที่กองทัพอากาศพิจารณาคือ Scorpion ของบริษัท Textron AirLand ประเทศสหรัฐอเมริกา M-346 Master ของบริษัท Alenia Aermacchi ประเทศอิตาลี TA-50 Golden Eagle ของบริษัท Korea Aerospace Industries ประเทศเกาหลีใต้และ Lockheed Martin ประเทศสหรัฐอเมริกา L-15 ของบริษัท Hongdu Aviation Industry Corporation ประเทศจีน และ Yak-130 ของบริษัท Yakovlev ประเทศรัสเซีย
ทั้งนี้ กองทัพอากาศมีแผนจะนำ L-39ZA/ART ไปประจำการยังกองบิน 41 เชียงใหม่เพียงแห่งเดียว และคาดว่า L-39ZA/ART จะยังคงประจำการในกองทัพอากาศไปอีกราว 10 ปี
http://thaiarmedforce.com/taf-military-news/55-rtaf-news/613-rtaf-l-39-replacement.html
ภาพ
ขอบคุณครับท่าน Nakarin
KAI เสนอ TA-50 ราคา 30 ล้านเหรียญ เป็นแบบเดียวที่มี radar ติดตั้งมาด้วย ราคาตรงงบพอดี หุ หุ หุ.......
30ล เหรียญ ต่อลำ สี่ลำ มันตก 3900 นะครับ ถ้าคิดที่ 32.8 บาท ต่อ ดอลล่า หรือจะเป็น บ อื่น
ผมก็เชียร์ Yak-130 เหมือนกันครับ เดียวเราเอามาโมดิฟาย ใช้เองเละผมเชื่อว่ากองทัพเรามีความสามารถ //ฮ่า
ตอนนี้ ค่าเงินรัสเซีย ยิ่งไม่สูงมากราคาลดแน่(มั้ง) หรือว่า ทอ.ซื้อ VIP3ลำมานี้ แอบตกลงอะไรกันด้วยหรือเปร่านะ -ิ -ิ
อีกเสียงครับ YAK-130 ถึงแม้จะเป็นของค่ายรัสเซียแต่การออกแบบระบบการเป็นเป็นแบบสถาปัตยกรรมแบบเปิด ทำให้สามารถอัพเกรด ปรับปรุง โมดิไฟร์ ได้ไม่ยากถ้าคิดจะทำ ประสพการณืที่เรามีกับเครื่องบิน L-39 น่าจะนำมาใช้ได้
เย้ รัสเซีย แหมท่านทูตก็บอกแล้ว ว่าเราจะเริ่มจากเครื่องบินกับเฮลิคอปเตอร์ก่อน อิอิ มันจะลุ้นขึ้นมั้ยเนี่ย เดี๋ยวต้องคนบอกว่าไม่มีทางเป็นไปได้เครื่องรัสเซียไม่เหมาะอีกแน่ๆเลย
yak-130 รุ่น compatable กับอาวุธ ก็ m346 ไงครับ แรงกว่าด้วย คนซื้อก็เยอะกว่าด้วย
ถ้าจะเอา yak มาโม เป็น บ ตะวันตก เอา M346 ไม่ดีกว่าเหรอครับ ไม่ต้อง โมด้วย
ผมก็เชียร์ Yak-130 อีกคนครับ
ถ้าซื้อ yak แล้วทำให้ได้ t-90 ผมขอเอาด้วยอีกคน ฮา
อ่านจากบทความข่าวเก๊่ยวกับ YAK-130 แล้วน่าสนใจทีเดียวครับ จุดเด่นที่ผมว่าเจ๋งคือผู้ใช้สามารถโปรแกรมให้เจ้า YAK-130มีการตอบสนองการบังคับโดยนักบินให้มีลักษณะการบินเหมือนเครื่องบินรุ่นต่างๆ ในข่าวกล่าวถึง SU30, F35เป็นต้น
http://rbth.com/defence/2014/08/09/the_yak-130_the_russian_armys_flying_iphone_38543.html
YAK130กับM346 ได้ยินว่าเป็นเครื่องบินรุ่นเดียวกัน
แตกต่างแค่ระบบ กับเครื่องยน สมมุตว่า ซื้อ YAK มาไช้ ครบ 10 ปี
ตอนจะโอเวอฮอล ก็เอาเครื่อง M346 มาไส่เลยก็น่าจะได้มั้ง
ส่วนระบบ ถ้าขอใช้ระบบยิวแต่แรก ก็น่าจะได้ล่ะนะ
เพราะของนาโต้ ใช้กับเจ้านี่ได้
ผมว่า YAK-130 คงมาแน่ล่ะ
ถ้าดูจากปัจจัยเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น
คงไม่ไหวครับคุณ fulscrum37 เพราะ yak 130 กับ M346 แม้จะมีพื้นานการออกแบบเหมือนกัน แต่เมื่อปรับให้เข้ากับระบบต่างๆ โครงสร้างภายในมันก็จะโดนปรับบางส่วนให้เข้ากับชิ้นส่นของมันไป yak 130 ใช้เครื่องยนต์ AL-222 ขนาดต่างกันกับ F-124 ใน M346 อยู่มาก(เส้นผ่านศูนกลางต่างกันเป็นฟุต) แต่ไม่ต้องกลัวเครื่องยนต์ยูเครนตัวนี้หรอกครับ เพราะมันประหยัดน้ำมันกว่า F-124 เยอะเลย(bypass ratio สูงกว่า)
ถ้าหากเราจะนำเครื่องนี้มาฝึกและใช้เป็นเครื่องโจมตีเบา ก็ง่ายครับ โมหน้าปัดเป็นอังกฤษ ระบบส่งข้อมูล วิทยุ ลงระบบอาวุธใหม่นิดหน่อยให้ยิง AAM IR seeker ของตะวันตกได้ จบครับ
ไม่ได้ง่ายขนาดนั้นมั้งครับ ผมไม่คิดว่าประเทศเราทำไหวนะคับในการรุ่น aam ที่ใช้เอง
ทำไมป๋าจูลถึงมองว่า 2 เครื่อลยนต์ได้เปรียบกกว่า (โดยเฉพาะการบำรุงรักษา)
2 เครื่องยนต์ไม่ใช้จ่ายสูงกว่าเหรอครับ
แล้วอย่างงี้ ผมฝันไปไกลถึง f15 ไว้รอเลยได้ป่ะครับ
เรื่องสามารถปรับให้เหมือนบินเครื่องแบบต่างๆนั่น เท่าที่เข้าใจคือเป็น pre-set ต่างๆให้เครื่องบินบิน+ตอบสนองเหมือนเครื่องรุ่นอื่นๆ
คือยัคตัวนี้ตามที่ออกแบบมาทำให้สามารถจำลองการบินของเครื่องของรัสเซียได้ยุคใหม่ได้ หลายรุ่น
ไอ้ข่าวที่บอกสามารถโปรแกรมเป็น f-35 ได้ นั่นมันเปรียบเปรยเฉยๆครับ เพราะรัสเซียจะไปเอาข้อมูลเชิงวิศวกรรม กับดาต้าที่เก็บจากการบินของเอฟ35 มาจากไหน
คือจะทำได้ต้องมีข้อมูลของเครื่องต้นแบบก่อนว่า character การบินเป็นอย่างไร การตอบสนองเป็นอย่างไร
ซึ่งระบบนี้จะมีประโยชน์กับเราเท่าไหร่ไม่รู้ เพราะเรามีเครื่อง f-16, jas-39 ซึ่งรัสเซียไม่มีข้อมูลตรงนี้แน่ๆที่จะมาทำ flgiht profile ของเครื่องบินตะวันตกนี้
คหสต. ด้วยงบประมาณที่ค่อนข้างจำกัด.....จัดมา 4 ลำก่อนก็ได้...ปีละ 4 ลำ รวม 10 ปี ที่จะปลดประจำการ ครบ 40 ลำพอดี 555
เเต่ใจยัง เชียร์ ค่ายรัซเซียYak-130 อีกคนครับ
13/12/2557 22.45 น. ThaiArmedForce.com - ผบ.ทอ.เผย ปี 58 ได้รับงบ 3.7 พันล้าน ซื้อบ.ฝึก 4 ลำ
ที่พระธาตุนภพลภูมิสิริ ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง กล่าวในระหว่างกิจกรรมมอบอุปกรณ์ป้องกันภัยหนาวให้กับชาวบ้านในพื้นที่ภาคเหนือว่า ในปี 2558 กองทัพอากาศได้รับอนุมัติงบประมาณในการจัดหากองทัพอากาศยังคงดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินทดแทนเครื่องบินขับไล่ฝึกแบบที่ 1 จำนวน 3700 ล้านบาท โดยจะทำการจัดหา 4 เครื่องก่อนในขั้นต้น เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ฝึกแบบ L-39ZA/ART ในภารกิจการฝึกนักบินเพื่อทำการบินกับเครื่องบินขับไล่ (Lead-In Fighter Trainer)
ทั้งนี้ แบบของเครื่องบินที่เข้าแข่งขันยังคงมาจากจีน อิตาลี รัสเซีย เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกาเช่นเดิม
ThaiArmedForce.com เชื่อว่าแบบเครื่องบินทั้ง 5 แบบที่กองทัพอากาศพิจารณาคือ Scorpion ของบริษัท Textron AirLand ประเทศสหรัฐอเมริกา M-346 Master ของบริษัท Alenia Aermacchi ประเทศอิตาลี TA-50 Golden Eagle ของบริษัท Korea Aerospace Industries ประเทศเกาหลีใต้และ Lockheed Martin ประเทศสหรัฐอเมริกา L-15 ของบริษัท Hongdu Aviation Industry Corporation ประเทศจีน และ Yak-130 ของบริษัท Yakovlev ประเทศรัสเซีย
ทั้งนี้ กองทัพอากาศมีแผนจะนำ L-39ZA/ART ไปประจำการยังกองบิน 41 เชียงใหม่เพียงแห่งเดียว และคาดว่า L-39ZA/ART จะยังคงประจำการในกองทัพอากาศไปอีกราว 10 ปี
สำหรับบทความและภาพภารกิจของผู้บัญชาการทหารอากาศที่จังหวัดเชียงใหม่ซึ่ง TAF ติดตามไปด้วยกัน จะนำมาเสนอในโอกาสต่อไปครับ
สมาชิกที่สนใจสามารถร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ที่กระทู้ดังต่อไปนี้ในเว็บบอร์ด
MERGED: L-39ZA/ART และเครื่องบินทดแทน
http://www.thaiarmedforce.com/distribution/viewtopic.php?f=7&t=3532
ยินดีด้วยครับ จะได้เครื่องบินใหม่ ผมว่าดีลนี้สาวลูกครึ่งเกาหลี น้องสาวคนละแม่ของ F16, F22 กับ F35 น่าจะเอาไปกินแน่ครับ แต่ถ้าจะมีการพลิกล็อค ขอเดาว่าจะเกี่ยวกับการถ่ายทอดเทคฯ ขั้นสูงอย่างเดียวเลยครับ แบบว่าให้ลิขสิทธิ์ประกอบเครื่องบินและเครื่องยนต์ไอพ่นที่ TAI ของเราเอง และถ้าจะมีพลิกล็อคจริงๆ ก็คงเป็นจีนอีกนั่นแหละครับ เพราะงบฯเราจำกัด แต่ไม่รู้จะเป็นรุ่นไหนระหว่าง L-15 กับ FTC2000 อุตสาหกรรมการบินของไทยจะก้าวกระโดดได้หรือไม่ ต้องมาลุ้นกันครับ ขอเอาใจช่วยทุกท่านที่เกี่ยวข้องครับ
ความจริง ผมเชียร์ M-346 แหล่ะครับ แต่คราวนี้ ลองดูงบประมาณ นะครับ
ประมาณ 120 ล้านเหรียญ ในจำนวน 4 ลำ (ถ้าเอาอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน ก็ต่ำกว่านี้ แน่นอน)
1. M-346 จะสามารถจบ ดีล ที่ 120 ล้านเหรียญ หรือเปล่า ? ถัวเฉลี่ย ลำละ 30 ล้านเหรียญ ในขณะที่ ประเทศอื่นจัดหามา ในราคา ถัวเฉลี่ย 32 ล้านเหรียญขึ้นไป ซึ่ง รวมถึง การ Support ในเรื่องต่าง ๆ ด้วย
2. ประสบการณ์การจัดหา อาวุธ จากค่ายประเทศอิตาลี่ โดยเฉพาะ กองทัพเรือ จะพบว่า เขาเสนอแข่งแบบ และไม่เคยลดราคาลงให้อยู่ในงบประมาณเลย
3. ถ้า อิตาลี่ ยอมจบดีล เท่ากับเจ้าอื่น ๆ อันนี้ แหล่ะครับ ที่คงต้องเชียร M-346 แบบ สุดลิ่ม ทิ่มประตู
4. จาก ข้อ 1. ถึง 3. ถ้า M-346 แพ้ทางในเรื่อง งบประมาณ แล้วจะเหลือ ตัวเลือก ที่จะน่าเชียร์ ? ก็คงเหลือ T-50, Yak-130 และ L-15
5. T-50 เพิ่งชนะดีล เพียง 2 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ ซึ่งพอจะเข้าใจในเหตุผลได้ว่า อินโดฯ ต้องการในเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี่ และการเข้าร่วมโครงการ เครื่องบินขับไล่ เพื่ออุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ เป็นส่วนสนับสนุนที่สำคัญในส่วนหนึ่งด้วย ส่วน ฟิลิปปินส์ ก็ในส่วนที่ งบประมาณมีน้อยและต้องการเครื่องบินขับไล่ เป็นหลัก ไม่ใช่ความหมาย เป็น เครื่องบินฝึก อย่างเดียว ซึ่ง T-50 ก็ตอบโจทย์ของ ฟิลิปปินส์ ในส่วนนี้
6. Yak-130 ก็คือ แบบเครื่องที่เป็น สายพันธ์ของ M-346 มีการจัดหาใช้งานอยู่ในหลายประเทศ ในราคางบประมาณดังกล่าว ค่อนข้างเชื่อว่า ถ้าใช้แบบมาตรฐาน จะได้จำนวนที่มากกว่า 4 ลำ แน่นอน...แต่ก็ค่อนข้างเชื่อว่า แม้ ทอ.จะเลือก Yak-130 หรือ L-15 ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบเอวิโอนิค แน่นอน...ซึ่งผมมองว่า ถ้า Yak-130 เป็นระบบ กลาสค้อทพิท การปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงในส่วนนี้ คงไม่ยุ่งยากกับ บ. จากค่ายรัสเซีย เท่าไหร่ เพราะมันคงเป็น เรื่องระบบ ซอฟท์แวร์ เท่านั้น ซึ่ง Yak-130 คงได้เปรียบในเรื่องนี้ กับ L-15 ไปเต็ม ๆ ซึ่ง ผมมองเป็นข้อได้เปรียบของ Yak-130 ที่ว่า รัสเซีย อาจจะเสนอให้ปริมาณที่มากกว่า 4 ลำ ก็ได้ (เป็นความเห็นส่วนตัวครับ)
7. T-50 จะได้เปรียบกับ Yak-130 และ L-15 ในเรื่อง มาตรฐานเป็นระบบตะวันตก และค่ายเกาหลี ก็คงสามารถขายให้อยู่ภายในงบประมาณได้ไม่มีปัญหา แต่ในส่วนเรื่อง การซ่อมบำรุง และความสิ้นเปลือง มันก็คล้าย ๆ กับ เอาเครื่องยนต์ F/A-18 จำนวน 1 เครื่อง มาใช้ฝึก และก็ต้องมีข้อสังเกตุว่า เครื่องยนต์ที่ใช้กับ T-50 คือ เครื่องยนต์ที่ บ.ซัมซุง ผลิตเอง ไม่ใช่ ของต้นฉบับโดยตรง ซึ่งปัจจุบัน เราน่าจะยังไม่ทราบปัญหาในอนาคต ว่า สุดท้าย เครื่องยนต์ เมคอินเกาหลี จะสิ้นเปลืองเทียบเท่า รัสเซีย หรือไม่ครับ ? และ เกาหลี จะผลิตได้เหมือนต้นฉบับขนาดไหน ? และในอนาคตการซ่อมบำรุง และอะไหล่ ก็ต้องใช้จาก บ.ซัมซุง ไม่ใช่ GE
8. ตอนนี้ ผมเลยค่อนข้างจะเชียร์ว่า ถ้า ทอ. ไม่ได้ ดีล M-346 ก็น่าจะใช้ Yak-130 แทน...และถ้าจะบอกว่า มาตรฐานระบบการบิน มันของตะวันออก จะสร้างปัญหาให้ นักบิน....อันนี้...คงต้องให้ดูที่ L-39 ที่มีใช้ทั่วโลก หลายพัน ลำ รวมถึง ทอ.ไทย และมีใช้กับ ประเทศทั้ง 2 ฝั่ง ก็ไม่เห็นจะสร้างปัญหาให้นักบินอย่างไร...ซึ่งผมคิดว่า การปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับ เครื่องบินรบหลัก ของแต่ละประเทศ นั้น คงไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ของเครื่องบินฝึก ที่แต่ละประเทศเสนอขาย...มิเช่นนั้น...L-15 ของ ประเทศจีน คงตกกระป๋อง ตั้งแต่ รอบแรกเลย...อิ อิ อิ
แล้ว scorpions ไปไหนล่ะ ท่าน จูดาส เห็นเขาโฆษณาว่า ราคาไม่เกิน 20 ล เหรียญโแถมใช่อะไหล่ที่หาซื้อได้ทั่วไปในตลาด จริงๆ ถ้าซื้อ Yak แล้วต้องมาเปลี่ยนแปลงอะไรอีก อาจเป็นได้ว่าจะได้ 4ลำครับ เพราะต้อง กันเงินส่วนหนึ่งไปให้พี่ยิวแกเปลี่ยนหรือเปล่า ว่าแต่ที่ ผบ ทอ ท่านบอกว่า ปี 58 ได้ งบ ท่านหมายถึง ปีงบประมาณ หรือเปล่า ตอนนี้ปี งบประมาณ 57 ไม่ใช่เหรอ ครับ เราพูดกันคือหลังตุลาหน้าใช่ไหม ???
ผมว่า ตอนนี้ คงไม่ใช่เวลาของ ตลาด Scorpion ครับ....เท่าที่ดู ยังเป็นเพียงการ บิน ได้ เบา ๆ เท่านั้นเลย....ซึ่งคิดว่า น่าจะเป็นเพียงการโฆษณาของ บริษัทผู้ผลิต...แต่ Scorpion ถ้าเป็น บ.โจมตีเบา ๆ...ผมว่า ก็ดูดี ในความเห็นส่วนตัว ถ้า ไม่สามารถจัดหา ฮ.โจมตี สนับสนุนได้...การใช้ Scorpion ก็น่าจะทดแทนได้...แต่ผมว่า Scorpion ดูแล้ว ยังสู้ Alpha Jet ไม่ได้เลย....ปีก เหมือน U-2 เลย...ตรง ๆ ไม่เป็นปีกลู่ เท่าไหร่...ยังสงสัยว่า จะทำความเร็วได้ประมาณไหนครับ ?
เครื่องบินฝึกที่ได้มานอกจากฝึกนักบินเครื่องบนรบขั้นสูงแล้วต้องสามารถรองรับการฝึกเครื่องบินรบยุค 5 ได้ด้วยและที่สําคัญต้องมีหน้าที่สามารถโจมตีทางอากาศได้และผมว่ามันจะเหนือกว่าอัลฟ่าเจ็ตแน่นอน
เครื่องยนต์ AL-222-25 ของ Yak-130 อายุการใช้งานเป็นอย่างไรบ้างครับ จะเหมือนรุ่นอื่นๆของค่ายหมีขาวหรือเปล่า รวมไปถึงอะไหล่ซ่อมบำรุงในอนาคต
อยากได้ ฮ. ขนส่งจากพี่หมี ได้ปริมาณมากกว่าตะวันตกแน่นอน แทน chinook น่าสนใจมาก เพราะรู้สึก ฮ.ม้างานจะเลือก Lakota ไปแล้ว
ทำแผ่นภาพ สรุป การจัดหา บ.ฝึกขั้นสูง
โดยในกลุ่มแรก ที่ ไฮไลท์สีฟ้า หมายถึง ประเทศที่มีการสั่งซื้อ F-35 เข้าประจำการ และสั่งซื้อ Advance Jet Trainer ชุดใหม่เข้าประจำการ
ส่วนกลุ่มที่ไม่มี ไฮไลท์ หมายถึง ประเทศที่ไม่มีแผนการจัดหา F-35 เข้าประจำการ แต่ ไม่ได้หมายความ รวมถึง บ.รบ ยุคที่ 5 แบบอื่น ๆ เช่น รัสเซีย
สมัยก่อนทูตจากรัสเซียที่มาประจำการในไทยจะสำคัญมากและต้องเป็นคนระดับสุงจากหน่วยข่าวกรองเคจีบี เพราะไทยเป็นแหล่งศูนย์กลางของงานข่าวสายลับและแหล่งข่าวสำคัญในแถบอาเซียน นอกจากนี้ยังเป็นคนคุมปฎิบัติการณ์ทั้งหมดในลาว กัมพูชา พม่า เลยไปจนถึงเวียตนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย เรียกว่าเก่งฉลาดโหดและสำคัญเหมือนในหนังฮอลลีวูด แต่มาในปีนี้ท่านเอกอัคราชทูตต้องกลายมาเป็นพ่อค้าขายอาวุธเสียแล้ว โธ่รัสเซียของผม....
ไม่อยากให้เอาเรื่อง operation cost มาตัดสินใครนอกจากว่าจะมีตัวเลขที่ชัดเจน บางคน(ไม่ใช่ในเว็บนี้)ก็ว่าใกล้เคียงกับF-16ไปโน่น แต่ก็ไม่เคยมีใครมีตัวเลขที่แท้จริงเหมือนกัน สงสารลำที่โดนเพราะเขาพูดไม่ได้เลยแก้ข่าวไม่ได้ ส่วนลำที่โดนอวยก็คงนึกขำอยู่ในใจอาจมีเหน็บแนมกันบ้างเวลาบินผ่าน
เรื่อง เครื่องบินจะเป็นแบบไหนต้องถามว่าทอ.กำหนดความต้องการไว้แบบไหน เป็นเครื่องบินฝึกเพื่อจะต่อยอดให้นักบินไปยังF-35, เป็นเครื่องบินฝึกและใช้ทำการรบได้ในระดับหนึ่ง, เป็นเครื่องบินฝึกที่สามารถนำชิ้นส่วนเข้ามาประกอบในประเทศได้, หรือเป็นเครื่องบินฝึกที่ซื้อเพราะอยากสานสำพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ไม่อยากให้คิดว่าเอามาแทนL-39เลยต้องมีสเป็กเหมือนกัน เพราะเครื่องบินรุ่นนี้ตกบ่อยอุปกรณ์ความปลอดภัยมีน้อยก็ตามราคานั่นแหละครับ ยุทธศาสตร์การใช้กำลังรบก็เปลี่ยนไปแล้วจากแต่ก่อน ในอดีตถ้าบอกว่าเราจะซื้อเครื่องบินขับไล่สวีเดนคงมีแต่คนหัวเราะจนตกเก้าอี้
ในกรณีนี้เมื่อเปิดหน้าออกมาว่าจะทยอยซื้อทีละ4ลำ มันก็เป็นตัวกำหนดเงื่อนไขกลายๆไปแล้ว เพราะถ้าซื้อไปแล้ว4ลำและต้องการซื้ออีก แต่ความสำพันธ์ระหว่างประเทศเปลี่ยนไปสิ้นเชิงจะด้วยอะไรก็แล้วแต่ ทางนั้นเกิดไม่ต้องการขายให้แล้วเราจะทำอย่างไรได้ล่ะฮึ เรื่องเปาะบางพวกนี้ดูไม่มีความสำคัญเลยและไม่มีใครพูดถึงเลย แต่ถึงเวลาเข้าจริงๆโดนกับตัวแล้วจะร้อง ไอ๊หยา!!! กรณีเก่าๆก็มีเยอะนะครับทั้งมิราจ เอ๊กโซเซต์ จนมาถึงเรือLPDลำบักเป้ง
ในเวลานี้รัสเซียกำลังมีปัญหาเรื่องแซงชั่น เพื่อนผมบางคนในยุโรปก็พลอยงานน้อยเงินน้อยไปด้วยเพราะตลาดรัสเซียถูกปิดตาย(มีเวลาวาดรูปเยอะเลยคุณ เหอๆๆๆ) แต่ไหนแต่ไรรัฐบาลรัสเซียเองไม่ค่อยให้ความสนใจเราเท่าไหร่นัก ปูตินเองก็ไม่ปลื้มเรานักในกรณีคดีดังระดับโลกและเรื่องหลังบ้านอย่างมาเฟียในพัทยา ผมไม่คิดว่าเราจะได้รับดีลที่ดีเท่าไหร่นักหรอก และการบริการที่ดีก็จะไม่ตามมาถ้าเงินไม่ถึงเหมือนกันทุกบริษัทในโลก
ซื้อเครื่องบินใหม่เอี่ยมราคา900ล้านมาโมดิฟายใหญ่ผมว่ามันฟังดูแปลกๆ ก็ต้องจ้างต่างชาติมาทำอีกนั่นแหละเพราะในไทยไม่มีใครทำได้กลายเป็นเสียเงินหลายต่อ และถ้าสินค้าหมดประกันหรือทำแล้วมันไม่ได้ดั่งใจนึกใครจะรับผิดชอบ ถึงจะเป็นงบประมาณของกองทัพอากาศแต่ก็มีจากภาษีทุกคนฉะนั้นทุกคนควรมีส่วนรับรู้ ซื้อเครื่องบินที่สามารถใช้งานได้ตามความต้องการเลยดีกว่าไหมครับ อย่าสนใจเรื่องโมดิฟายนักเลยและอย่าหวังพึ่งอิสราเอลมากนัก ก็ยังมองไม่เห็นเหตุผลดีๆว่าเราจะโมดิฟายเครื่องบินฝึกไปเพื่ออะไร ในเมื่อเครื่องบินรุ่นใหม่ๆหลายลำมันปลั๊กอินได้ตามงบประมาณแล้ว
โดยส่วนตัว M-346 หรือ T-50 ก็ได้ผมมองไม่เห็นความแตกต่าง แต่ถ้าเป็นลำอื่นนั่นหมายถึงไม่ได้เอาภาระกิจมาเป็นหลักในการกำหนดเงื่อนไข ว่าแต่อิรัคซื้อT-50หรือยังครับท่านจูดาส 24ลำเชียวนะเออ
ผมเพิ่งรู้เนี่ยแหล่ะครับ...ว่า อิรัก สั่งซื้อ T-50 ก็เลยลองหาข้อมูลดู ก็ดูเหมือน อิรัก จัดหาในลักษณะเป็น บ. Light Attack
Dec 13, 2013Bradley Perrett | Aerospace Daily & Defense Report
Though Iraq’s aircraft are designated T-50IQ, an industry official says the aircraft will be built to the design of the FA-50 light attack variant of the T-50 family. Powered by a single General Electric F404 engine, the T-50 is a contender for the U.S. Air Force’s T-X trainer requirement.
จากข้อมูลข้างต้น KAI คาดว่า ตลอดอายุการใช้งาน 20 ปี จะมีรายได้รวมประมาณ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับ T-50IQ จำนวน 24 ลำ...ก็พอจะประเมินคร่าว ๆ ว่า ถ้า T-50 เป็นรุ่น FA ค่า Support ต่าง ๆ ตลอดช่วงอายุใช้งาน 20 ปี จะประมาณ 900 ล้านเหรียญ รวม ๆ ออกมาประมาณ 80 ล้านเหรียญต่อลำ เลย (ยังไม่รวมค่าน้ำมัน นะจ๊ะ)...
ส่วนเรื่อง การถูกแซงซั่น ของรัสเซีย นั้น...ผมมองว่า มาเลเซีย กับ อินโดนีเซีย เขายังไม่ กลัวครับ...ถ้าเราจะ ดำรงใน ฐานะเป็นกลางจริง ๆ...
ก็เช่นกันครับว่า เรื่อง โมดิฯ ฟายด์ เครื่อง...ทั้ง M-346 ทั้ง T-50 ก็ไม่ได้มีระบบที่เหมือนกัน เทคนิคการบิน ก็คงไม่เหมือนกัน...คงเป็นเรื่องมาตรฐาน การอ่านค่า ที่จะอาจจะเหมือนกัน...แต่ Yak-130 กับ M-346...ผมมองว่า มันจะมี สมรรถนะการบิน ที่ใกล้เคียงกัน เทคนิคทางการบิน ที่ใกล้เคียงกัน...สิ่งที่จะต่างกัน ก็อาจจะเป็นเรื่อง มาตรฐานการอ่านค่า...ซึ่งผมมองว่า ถ้า Yak-130 มันเป็นกลาส ค้อทพิท...ซึงคงเป็น จอคอมพิวเตอร์แบบสัมผัสเปล่า ๆ...ในเรื่องการอ่านค่า มันคงแก้ไขในเรื่อง ซอฟท์แวร์ มากกว่า ฮาร์ทแวร์...คือ ให้ซอฟท์แวร์ มันออกค่าหน้าจอ ให้ได้เหมือนกับ ระบบตะวันตก...
ค้อทพิท Yak-130
ค้อทพิท M-346
ค้อทพิท T-50
อินโดนีเซียใช้อาวุธรัสเซียและค่ายตะวันตกร่วมกันมาหลายสิบปีแล้วครับ ทั้งเครื่องบิน รถถัง เรือรบ ตั้งแต่สมัยที่ตัวเองยังผลิตอะไรไม่ได้ ทั้งแบบของใหม่เอี่ยมและของมือสองซื้อยกโหลก็จัดมาหมดทั้ง2ค่าย แม้ในระยะหลังจะจัดหาอาวุธจากค่ายยุโรปมากหน่อยด้วยว่าต้องการนำมาผลิตเองในประเทศ แต่ก็ยังปันใจซื้ออาวุธรัสเซียมาตลอดมากบ้างน้อยบ้างก็ว่ากันไป
แต่อินโดแทบไม่ได้โมให้ใช้อาวุธพวกนี้ร่วมกันเลย เรือรบรัสเซียมีอาวุธรัสเซียเต็มลำ ส่วนเรือรบยุโรปก็มีอาวุธยุโรปเต็มลำ จะมีก็เรือฟริเกตเก่าจากฮอลแลนด์ที่ผ่าเหล่าผ่ากอติดจรวดรัสเซียเข้าไปแบบVLSเสียด้วย แต่ก็นะเรือลำนี้ไม่ปรกติเลยเพราะถึงขนาดเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่มาแล้วด้วยซ้ำ (จะว่าไปเป็นเราก็ต้องทำเพราะหมดจากนี่ก็ไม่มีเรือใหญ่ขนาดเรือฟริเกตแล้ว ประเทศเรายังถือว่าดีมากนะครับที่มีเรือฟริเกตจำนวนพอสมควรมาโดยตลอด) ผมอยากเห็นเรือซิกม่าหรือNakhoda Ragamติดจรวดปราบเรือดำน้ำRBU-6000 และหรือเรือคอร์เวตรัสเซียติดจรวดเอ็กโซเซ่ต์เหมือนกันนะ พี่อิเหนาจัดให้ผมที
เครื่องบินรบรถถังยานเกราะก็เหมือนกัน เขาก็ใช้ไปตามประสิทธิภาพที่ตนเองได้คัดเลือกมาแล้ว เพราะเขาเลือกที่จะผลิตหรือประกอบเองในประเทศมากกว่า และเป็นการเลือกที่ถูกต้องเหมาะสมที่สุดที่เราควรจะเดินตาม ฉะนั้นถ้าเราจะซื้อY-130 จะด้วยอะไรก็ตามเถอะอย่าไปคิดไปฝันถึงเรื่องโมดิฟายมันให้ใช้อาวุธจากค่ายตะวันตกเลย ใช้ไปตามสมรรถนะของเขาที่เราพอใจแล้วถึงได้ซื้อดีที่สุดครับ
โครงการ M-346 ของ อิสราเอล หรือ ปัจจุบันเรียกว่า Lavi
TEL AVIV — Starting in January, Israel Air Force (IAF) cadets will take to the skies in new Lavi advanced trainers, the Alenia Aermacchi M-346 jets slated to replace A-4 Skyhawks by 2016 in Flying Tiger Squadron 102.
Five of 30 aircraft on order arrived here in recent months, along with the first of four ground-based training systems to be co-located at the service’s Hatzerim base in the Negev desert.
Over the past year, an initial group of seasoned IAF pilots was trained and certified at Alenia Aermacchi’s M-346 facility near Varese, Italy. Follow-on groups began training in Israel last summer and, once certified, will supplement IAF cadres of certified instructors.
In January, the IAF’s first class of cadets will begin parallel ground- and air-based training on the new trainers that will replace 42-year-old Skyhawks within two years.
“Skyhawk has served us well for nearly a half-century, but it was not initially designed as a trainer,” said Capt. Erez, deputy commander of Squadron 102. His surname was not allowed for publication
“With its all-glass cockpit, advanced computers and training systems embedded in the aircraft and on the ground, the Lavis [Hebrew for lion] will efficiently prepare our forces for operational missions in F-16Is, F-15Is and soon the F-35,” Erez said.
Each Lavi features onboard- and helmet-mounted avionics simulators that allow in-flight training on a host of sensors and weapons that pilots and weapon systems officers will have to operate once they graduate into front-line fighters.
Developed by Elbit Systems and integrated into M-346 aircraft by Alenia Aermacchi, the embedded virtual avionics (EVA) suite simulates electronic warfare, radar, electro-optic sensors and weaponry.
“The EVA suite is designed to ease the transition from trainer aircraft to fourth- and fifth-generation fighters,” said Alon Afik, vice president for training and simulation at Elbit’s Aerospace Division.
“It essentially transforms the aircraft into a virtual fighter and allows trainees to achieve an essential experience in operating a spectrum of advanced subsystems while flying,” he said.
Further augmenting the training is Elbit’s patented Targo helmet mounted avionics system, which allows pilots to plan, rehearse, fly and be debriefed using their personal helmets.
Visual information from EVA-generated subsystems appears on cockpit displays via a communications link developed by Israel Aerospace Industries (IAI). Through blue-tooth connection, information is sent directly into helmet-mounted displays.
Ground and air elements of Israel’s advanced trainer force are part of a nearly $3 billion trade package involving the Israeli, Italian and US governments and a dozen aerospace firms from North America, Europe and Taiwan.
Under a 2012 reciprocal trade deal between Italy and Israel, Israel selected the Italian trainer over the Korean-US T-50 in exchange for Rome’s purchase of two airborne early warning aircraft and an imaging satellite, both built by IAI.
The 30-aircraft M-346 contract with Alenia Aermacchi is estimated at $600 million. It is accompanied by an estimated $735 million Israeli MoD contract for 60 F124 engines for the trainers, funded by US grant aid to Israel. That MoD contract was awarded to Israel’s TOR Advanced Flight Training, a subsidiary of Elbit and IAI; and the International Turbine Engine Co., a joint venture between US-based Honeywell and two state-owned firms from Taiwan.
The entire Lavi training program will be supported under an estimated $603 million contract between the Israeli MoD and TOR, the Elbit-IAI company that will provide flight simulators, avionics and 20 years of fully maintained, flight-worthy M-346 trainers on a power-by-the-hour basis.
TOR also is responsible for 20-year maintenance of ground-based training systems, which include two operational flight simulators interlinked with two full mission simulators based on Elbit’s SkyBreaker technology.
Partners include CAE, Alenia Aermacchi, and Selex ES, which, like Alenia, is part of Finmeccanica.
“This project is based on extensive and extraordinary cooperation and it is being executed exactly according to plan,” said Ilan Harel, TOR executive officer and general manager.
“Over the past two years, we were busy with the ramp-up phase, and starting early next year, the IAF will start to fade out old aircraft as we bring in new Lavis,” Harel said.
Erez, the IAF officer, also cited “enormous international cooperation” driving the new M-346 Lavi Flight Training Center at Hatzerim Air Base.
He noted that the program caps nearly two decades of IAF flight training modernization that started with Grob 120A preliminary screeners and segued into Texan T-6 basic trainers.
“We’re excited to enter a new realm of advanced training where graduates of the M-346 will rapidly transition into our front-line operational fighters,” he said. โ�
Email: bopallrome@defensenews.com.
ตามข้อมูล ค่าตัวเครื่อง 600 ล้านเหรียญ ค่าเครื่องยนต์ 60 เครื่อง 735 ล้านเหรียญ ค่าโปรแกรมการฝึกและส่วนสนับสนุนอื่น ๆ ตลอดระยะเวลา 20 ปี มูลค่า 603 ล้านเหรียญ รวมทั้งโครงการ ตลอดอายุใช้งาน 20 ปี ประมาณ 1,938 ล้านเหรียญ หรือ ถัวเฉลี่ย 65 ล้านเหรียญ ต่อ ลำ
จากข้อมูล ทั้ง 2 แหล่ง ทั้งจาก อิรัก ซื้อ T-50 และ อิสราเอล ซื้อ M-346 จะเป็นข้อมูลอายุใช้งาน 20 ปี รวมถึง ทอ. เพิ่งจัดงานฉลองอายุใช้งาน L-39 ครบ 20 ปี ไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ และมีการปรับฝูง โดยรวมแบบ L-39 ไปอยู่ฝูงเดียวกันหมด
จึงพอจะประเมินได้ว่า เครื่องบินฝึก อายุใช้งานคงอยู่ประมาณที่ 20 ปี ซึ่งจะแตกต่างจาก เครื่องบินรบ ที่อายุใช้งานจะอยู่ประมาณขั้นต่ำ 25-30 ปี ก็น่าจะคงด้วยเป็นเรื่อง ชั่วโมง การบิน ที่จะมีความถี่และมากกว่า เครื่องบินรบปกติ เพราะใช้การบิน ฝึกนักบิน ตลอดเวลา
อย่าคิดอะไรแบบเดิมๆเลยครับเชื่อผมเถอะ ถ้าซื้อเครื่องบินใหม่เอี่ยมมาแล้วปรับปรุงใหม่เหมือนเดิมก็จะเสียเวลาไปอีก20ปีโดยไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน
ถ้าคิดว่ายังไม่พร้อมและอยากได้ advanced trainer aircraft รุ่นมาตราฐานตะวันตกก็เลือกT-50 หรือ M-346 ไปเถอะ งบประมาณที่ได้อาจจะน้อยไปนิดสำหรับตัวหลัง แต่ก็แค่นิดเดียวสามารถต่อ รองได้เพราะฝ่ายนั้นก็อยากขายเต็มที หรือถ้าจะเอาเครื่องบินจีน รัสเซีย จริงๆก็ควรจะได้โปรโมชั่นนำเข้ามาประกอบภายในประเทศได้แล้ว เริ่มต้นจากเครื่องบินเจ๊ตฝึกที่ยังไม่ซับซ้อนมากนักนี่แหละถูกต้องที่สุด จะเป็นก้าวแรกที่มั่นคงและแข็งแรงในอนาคต
ผมไม่ติดใจเรืองงบประมาณหรือแบบเครื่องบินหรอก เพราะของทุกอย่างมีราคาของมันและจะลำไหนก็เป็นเครื่องบินฝึกเหมือนกัน เพียงแต่ไม่ชอบอะไรประมาณว่า โอ๊ย เราทำได้อยู่แล้ว สุดยอดเลยครับพี่น้อง คิดแล้วก็น้อยใจแทนทร.เหมือนกันนะเนี่ย ซื้อเรือฟริเกตติดระบบทันสมัยใหม่เอี่ยมคนดันบอกว่าเป็นหนูทดลองยาไปซะงั้น แต่พอทอ.จะซื้อเครื่องบินฝึกดันเชียร์ให้เอาเครื่องรัสเซียมาให้อิสราเอลใส่อุปกรณ์ตะวันตกเพราะเราทำได้
ก็คงต้อง รอดูแหล่ะครับว่า ทอ. จัดหา บ.ฝึกขั้นสูง แบบใหม่นี้ จะเป็น Lead-In Fighter Trainer สำหรับรองรับ บ.ขับไล่ในอนาคต ที่จะเป็นแบบ รุ่นที่ 4.5 ขึ้นไป ถึง รุ่นที่ 5 หรือ เพียงเป็นแค่ เครื่องบินฝึก ที่มาทดแทน L-39 เฉย ๆ ครับ
อันนี้เป็น แผ่นภาพ ที่เคยประมาณ 1-2 ปีแล้ว ตอนที่มีข่าวใหม่ ๆ เกี่ยวกับโครงการ เครื่องบินฝึกชั้นสูง ตอนนี้ ผมก็ ปรับปรุงข้อมูลในปัจจุบันเข้าไปบางส่วน
และความหมายของ Lead-In Fighter Trainer ในปัจจุบัน
ผมมองว่าตัวเลือกที่จะถูกตัด ไป ตัวแรกคือ จีน ตัวที่สอง นี่ ลุ้น ระหว่าง M346 กับ Yak นี่แหละครับ (m346 งบไม่น่าพอ นอกจากทอ ขอเปลี่ยนเป็น 3 ลำ) YAK นี่ ราคาใน วิกิ บอก 15 ล ถ้าเอามาให้ พี่ อิสโม ผมว่าราคาอาจเกินงบได้
ตามข้อมูลปัจจุบัน ที่ คาดหมายว่า ทอ. จะปรับปรุงและอัพเกรด F-5T ฝุง 211 เพื่อยืดอายุใช้งานออกไปอีก และการรวมแบบ บ. L-39 เป็นฝุงบินเดียว คือ 411 เลยลองประมวลผล เป็นภาพ ในความเห็นส่วนตัว ครับ
จึงมองภาพว่า ฝูง 401 การจัดหา บ.ฝึก LIFT น่าจะเพื่อ รองรับกับ ฝุง 403 และ 701 รวมถึง 102 ในอนาคต ที่ บ.ขับไล่ จะเป็น บ.ยุค 4+ ขึ้นไปถึง ยุคที่ 5
ในสถานะปัจจุบัน จึงมองภาพว่า นักบิน จากฝูง 102 103 211 231 และ 411 ถ้าจะเปลี่ยนแบบไป ฝูง 403 และ 701 ก็จะมาฝึกที่ ฝูง 401 ก่อน
และใน อนาคต ที่ไม่น่าจะนานเท่าไหร่ ฝุง 102 ที่น่าจะมี บ.แบบใหม่ เข้าประจำการ โดยคาดหมายว่า น่าจะเป็น บ.ยุคที่ 4.5 ขึ้นไป ก็จะมองภาพว่า ฝูง 401 จะรองรับ สำหรับ นักบินฝูง 102 403 และ 701 และน่าจะขยายอัตราจำนวนในอนาคตอีก เมื่อ ฝูง 103 มี บ.แบบใหม่เข้าประจำการทดแทน F-16 A/B
ตัวเลือกเครื่องบินจีนผมว่าโยนลงขยะไปก่อนเลยครับ ไม่น่าจะเวิร์กอย่างแรง เพราะไม่ได้มีข้อดีกว่าด้านไหนเลย อยากถูกก็เอารัสเซียยังจะดีกว่า ของจีนเจ้า L-15 เป็นของใหม่ที่ตอนจีนทำดีเลย์แล้วดีเลย์อีก ปัญหาเยอะไปหมด
เรื่องที่ว่าจะต้องให้เครื่องสามารถฝึกบ.ยุคที่ห้าผมว่าไม่ต้องหรอกครับ วก่าเราจะมีบ. ยุคที่ห้าพวกนี้ก็คงหมดอายุไปเยอะแล้วครับ
หนึ่งในฟีเจอร์สำคัญของ Yak-130 ที่ควรพูดถึงคือคำว่า Open architecture ซึ่งถ้าแปลตามนิยามของคำๆนี้หมายความว่า สถาปัตยกรรมแบบเปิด ซึ่งจะให้แปลอีกทีคือดังนี้
Open architecture is a type of computer architecture or software architecture that is designed to make adding, upgrading and swapping components easy.
ตรงนี้รู้สึกทาง yakolav เองก็เอามาเป็นจุดขายว่าเครื่อง yak-130 เนี่ยมันสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความต้องการของแต่ละกองทัพได้อย่างง่ายดาย หรือแม้แต่ระบบนำร่องต่างๆ ที่รัสเซียมาตรบอกความสูงเป็นเมตร บอกความเร็วเป็นกิโลเมตร เจ้า yak-130 ก็สามารถปรับเป็นแบบตะวันตกที่ใช่มาตรวัดที่บอกความสูงเป็น ฟุต หรือบอกความเร็วเป็น น็อต ได้ทันที ไม่ต้องไปจ้างใครมาเปลี่ยนให้ (ตรงนี้ผมไม่มีความรู้นะแต่เว็ปที่ผมไปอ่านมามันว่างี้)
ผมเห็นด้วยกับท่าน Judas ที่ว่าถ้าจะมีการปรับจริงๆ มันก็น่าจะปรับแค่ตัว Software ซะมากกว่า เผลอๆอาจจะปรับมาให้จากโรงงานเลยด้วยซ้ำไม่ต้องไปจ้างใครปรับอีก อีกอย่างยุคใหม่สมัยใหม่ อะไรๆ มันก็เป็น Plug&Play กันหมดแล้ว ประเภทซื้อมาแล้วเสียบแล้วใช้ได้เลยเยอะแยะไป ธุรกิจมันสำคัญตรงยอดขาย ถ้าจะออกแบบสินค้ามาใช้ฉพาะกลุ่มขายได้เฉพาะกลุ่ม มันจะไม่คุ้มค่าวิจัยนะผมว่า
ประเด็นสุดท้ายเรื่องที่หลายๆท่านกังวลว่ามันจะไม่คุ้มหากต้องซื้อมาปรับอีกผมก็เห็นด้วยนะหากการปรับเปลี่ยนมันต้องยุ่งยากและไปจ้างคนอื่นทำให้ผมก็ไม่เห็นด้วย แต่ถ้ามันทำได้ง่ายๆเหมือนที่เค้าโฆษณา ผมว่า Yak-130 มันก็น่าพิจารณา
Yak130 ถ้าได้ลิขสิทธิมาผลิตเองจะดีมากแต่ต้องอาศัยหลายประเทศต่อรองครับ ไทย เวียดนาม มาเลเซีย ส่วนของระบบนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละประเทศครับ
yk 130 มาแน่ ครับ deal นี้บอกได้ นอนมาแน่ เมือ vip มา แล้วไหนเลย น้องเล็กจะไม่ ตามอย่าลืม ดูเหตุการอย่างนี้ บรรยากาศ อย่างนี้ พี่หมีใจปลำ้แน่นอน...และจะตามมาอีก..จะทำให้เราเป็น เจ้าที่ สาม เลย รองจากพม่า อินโด...อย่าลืม ช่างไทยเก่งมาก...นี่คือเรื่องจริง...ปัญหาอย่างอื่น ไม่มีแน่นอน... ถึงตอนนั้น จะลามถึง ทร... คอยดู ดีลนี้.
..https://www.youtube.com/watch?v=s0KNTfqkm3E
https://www.youtube.com/watch?v=BV2d5QKCtOM
yak-130 ดูแล้วงานนี้เรื่องมาตรวัดคงไม่ต้องโมดิไฟด์ แต่กลัวม้ามืดอย่าง L-39NG ซึ่งเจ้านี้มีความสัมพันธ์อันดีกับ saab จะมาแซงเอาโค้งสุดท้าย
แต่ถ้า yak-130 รองรับพวกนี้ได้คงแจ้ม AIM-9, IRIS-T ,Python,AGM-65 Maverick ,Mk.82, Mk.83,GBU 16, GBU 24
The Yak-130 was developed as an aircraft to be used specifically for the training of future pilots. Its highly reliable KRET integrated control system (ICS) with its reprogramming capability allows the pilot to prepare not only for flights in the Su-30 and MiG-29, but also in the F-16, F-15, Rafale and Typhoon, the F-22, and the F- 35.
http://rostec.ru/en/news/4515204
Rostec กับ AgustaWestland ได้เป็นหุ้นส่วนร่วมกัน
ซึ่งRostec เสนอการถือครองส่วนแบ่งหุ้นร้อยละ25 กับ AgustaWestland
Rostec เป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลสหพันธรัฐรัสเซียซึ่งถือครองบริษัทย่อยๆในองค์กรหลายบริษัททางด้านอุตสาหกรรม Technology ขั้นสูงโดยมีราว 8บริษัทที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมด้านความมั่นคง เช่น Russian Helicopters ,Concern Radio-Electronic Technologies (KRET) ในกลุ่ม Oboronprom
อ้างอิง http://aagth1.blogspot.com/2014/06/rostec-agustawestland.html
@nidoil ไม่เข้าใจครับ ไทยเป็นที่สามจากไหนครับ หมายถึงเป็นลูกค้ารายใหญ่อันดับสามของรัสเซียเหรอครับ แล้วเวียดนามไม่ควรอยู่อันดับแรกตามด้วยอินโดเหรอครับ พม่าผมไม่เห็นซื้ออะไรรัสเซียเท่าไหร่ ซื้อแต่ของจีน เรื่องช่างไทย ช่างไทยเก่งครับ แต่ช่างไม่ได้เป็นคนซื้อครับ ฮา
@sam ทำไมต้องใช้หลายประเทศต่อรองครับ ด้วยเหตุผลอะไร หรือหมายถึงเป็นโปรเจ็คร่วม ผมก็ยังไม่เห็นว่าถ้ามาเลฯ เวียดนามอยากผลิตเครื่องรุ่นนี้เองด้วยจะมีผลต่อการที่รัสเซียจะขายลิขสิทธิ์+ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เรา
ผมเห็นด้วยกับคุณ superboy เรื่องเราเก่งอย่างนู้นอย่างนี้ ถ้าเราเก่งแบบนั้นจริงป่านนี้บ.ทอ.6 คงแอดวานซ์กว่านี้หรือผลิตเร็วกว่านี้เยอะ หรือเอฟห้าเราคงไม่ต้องจ้างอิสราเอลโมฯ อัพเกรดระบบต่างๆให้ ทำเองมันเลย
ฟังการวิเคราะห์ Yak - 130 จากเพจ นี้กันบ้างครับ น่าจะชัดเจน ขึ้นในหลายๆเรื่อง (http://aagth1.blogspot.com/2014/12/yak-130-l-39.html) วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ความคืบหน้าล่าสุดหลังจากที่ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง ไปทำภารกิจที่พระธาตุนภพลภูมิสิริ ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่นั้น
ผอ.ทอ.กล่าวว่ากองทัพอากาศได้รับการอนุมัติงบประมาณจากคณะรัฐมนตรีจำนวน ๓,๗๐๐ล้านบาท($112.67 million) สำหรับการจัดหาเครื่องบินฝึกใหม่ทดแทน บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ฝูง๔๐๑ ชุดแรก ๔เครื่อง
ประเทศที่ส่งแบบเครื่องเข้าพิจารณามี ๕ประเทศเช่นเดิมคือ สหรัฐฯ อิตาลี เกาหลีใต้ รัสเซีย และจีน แต่เครื่องที่มีการคาดการณ์และกระแสข่าวมากว่าเป็นตัวเต็งคือ Alenia Aermacchi M-346 และ KAI T-50
เหตุผลที่ตัดเครื่องจีนเช่น Hongdu L-15 เข้าใจได้ไม่ยากครับ เพราะจากการที่จีนนำเครื่องมาแสดงสาธิตที่ไทยหลายครั้งในช่วง๒๐ปีมานี้
เจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศไทยดูไม่พอใจในสมรรถนะของอากาศยานรบจีนที่ล้าสมัยและคุณภาพการผลิตไม่ดีนัก ซึ่ง L-15 เองก็ยังมีความล่าช้าในการพัฒนาผลิตขึ้นเพียงไม่กี่เครื่องและยังไม่มีประเทศลูกค้าที่ชัดเจนในขณะนี้
ด้านเครื่องของสหรัฐฯก็เห็นจะมี Textron AirLand Scorpion ซึ่งตอนนี้มีเพียงเครื่องต้นแบบเพียงเครื่องเดียว มีประเทศที่สนใจบ้างเช่นสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
แต่แบบแผนของ Scorpion เป็น บ.โจมตีเบามากกว่า บ.ฝึกซึ่งทาง Textron AirLand มีแผนจะพัฒนา Scorpion รุ่นสำหรับฝึกบินในอนาคตโดยลดปีให้สั้นลงและใช้เครื่องยนต์แรงขับสูงขึ้น แต่ก็ยังไม่มีลูกค้าในขณะนี้
ฉะนั้นแบบแผนที่เป็นตัวเต็งก็มีแค่ M-346 กับ KAI T-50 เช่นเดิมอยู่ดีครับ
ถ้าดูแนวโน้มความต้องการของกองทัพอากาศที่ต้องการเครื่องในลักษณะเครื่องบินขับไล่ฝึกแล้ว ก็มีข่าวออกมามากกว่า KAI T-50 กำลังได้คะแนนนำอยู่ โดยมี M-346 ซึ่งกองทัพอากาศสิงคโปร์จัดหาไป ๑๒เครื่องตามมา
ซึ่ง บ.ตระกูล KAI T-50 ก็สามารถส่งออกให้กองทัพอากาศใน ASEAN หลายประเทศแล้ว เช่น T-50i(T-50)กองทัพอากาศอินโดนีเซีย ๑๖เครื่อง และ T-50PH(FA-50) กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ ๑๒เครื่อง
ล่าสุดทางเกาหลีใต้เสนอ FA-50 ให้บรูไนตามที่เคยได้เสนอข่าวไปอีกประเทศ ซึ่งกองทัพอากาศบรูไนเคยมีแผนจะจัดหาเครื่องบินไอพ่นเข้าประจำการเช่น BAE Hawk มาก่อนแต่ก็ไม่ได้จัดหาเสียที
ซึ่งจะเห็นได้จากช่วงหลังมานี้กองทัพอากาศบรูไนอยู่ระหว่างการเสริมสร้างกำลังทางอากาศเป็นจำนวนมาก ทั้งการจัดหา ฮ.ลำเลียง S-70i(UH-60M ผลิตในโปแลนด์) ๑๒เครื่อง
เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล CN-235MPA ๓เครื่อง และเครื่องบินลำเลียง C-130J จากสหรัฐฯ ๑เครื่อง
อย่างไรก็ตามสำหรับ M346 และ KAI T-50 นั้นสำหรับงบประมาณจัดหาที่กองทัพอากาศได้รับเพียง ๓,๗๐๐ล้านบาทสำหรับ ๔เครื่องนั้นก็ไม่ทราบว่าจะเพียงพอหรือไม่
เพราะนอกจากตัวเครื่องยังต้องรวมถึงการจัดหาระบบสนับสนุน อะไหล่ และระบบการฝึกภาคที่ตั้งพื้นดินด้วย
โดยส่วนตัวเองก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมช่วงหลังมานี้กองทัพอากาศถึงเลือกรูปแบบการจัดหาอากาศยานมาทีละ ๒-๔เครื่อง แทนการจัดหามาทีละครึ่งฝูงอย่างโครงการ Gripen หรือเต็มฝูงไปเสียแต่ทีแรก
เพราะถ้าดูจากจำนวนความต้องการจัดหาเครื่องแทน L-39ZA/ART ในฝูง๔๐๑ ที่คาดว่าน่าจะอย่างน้อย ๑๒เครื่องแล้ว
การจัดหาจะต้องแบ่งเป็นอย่างน้อยสามระยะที่จะทยอยจัดหาทีละ ๔เครื่องจนกว่าจะครบฝูง ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้ก็อีกนานกว่าจะครบฝูงครับและกว่าทั้งฝูงจะพร้อมรบเต็มอัตราก็นานหลายปีด้วย
ซึ่งดูเหมือนกับว่างบประมาณโครงการผูกผันต่อเนื่องที่อนุมัติให้กองทัพอากาศได้ในแต่ละปีงบประมาณสำหรับโครงการจัดหาอากาศยานนั้นน้อยลงไปอย่างมาก
ทั้งๆที่เป็นโครงการจำเป็นที่จะต้องแทนเครื่องเก่าที่ใช้งานมานานจนใกล้หมดอายุโครงสร้างอากาศยานและล้าสมัย ทั้ง ฮ.๑๑ EC725 แทน ฮ.๖ UH-1H และ L-39 ในโครงการนี้ที่จะใช้ต่ออีกไม่เกิน ๑๐ปี
ตรงนี้เป็นที่มาของการนำเสนอว่ากองทัพอากาศควรจะเลือก Yak-130 ซึ่งมีราคาถูกสามารถจัดหาได้หลายเครื่องกว่า M-346 และ KAI T-50 อีกทั้งยังเป็นเครื่องแบบแผนเดียวกับ M-346 หรือไม่
เพราะกองทัพอากาศก็ได้เลือกจัดหาเครื่องบินโดยสาร Sukhoi Superjet 100 ๓เครื่องสำหรับเป็นเครื่องรับส่งบุคคลสำคัญไปแล้ว
สำหรับเรื่องการจัดหา Sukhoi Superjet 100 นั้นตอนนี้เห็นมีแต่แหล่งข่าวจากสื่อต่างประเทศโดยเฉพาะรัสเซียที่นำเสนอมาเท่านั้นครับ แต่ทางกองทัพอากาศยังไม่ได้ออกมาประกาศหรือชี้เแจงใดๆอย่างเป็นทางการเลย
ซึ่งตอนที่ส่วนตัวได้ข่าวครั้งแรกนั้นแปลกใจมากครับ เพราะที่ผ่านมากองทัพอากาศจะจัดหาเครื่องบินโดยสารพระราชพาหนะและ VIP จากบริษัทตะวันตกมาตลอด
เช่นของ Boeing หรือ Airbus ในฝูง๖๐๒ รวมถึง ATR72 ในฝูง๖๐๓ก็เป็นของบริษัทยุโรปตะวันตก ตรงนี้อาจจะต้องรอติดตามข่าวความชัดเจนที่แท้จริงต่อไปว่าเป็นอย่างไร
ส่วนโอกาส Yak-130 ของในกองทัพอากาศไทยนั้นส่วนตัวมองว่ามีไม่มากถ้าเทียบกับตัวเต็งอย่าง M-346 และ KAI T-50 ครับ แต่ก็สูงกว่า Scorpion และ L-15
เหตุผลหลักคืออากาศยานรบระบบรัสเซียแท้นั้นดูจะไม่เหมาะกับกองทัพอากาศไทยครับ
ข้อมูลจากบทความในนิตยสาร Tango ฉบับเดือนธันวาคม ๒๕๕๗ ซึ่ง Yak-130 ขึ้นปกลงไว้ว่า
Yak-130 นั้นสามารถปรับแต่งการแสดงผลข้อมูลของจอ HUD และเครื่องวัดประกอบการบินในจอ MFD ให้แสดงผลแบบมาตรฐานเครื่องบินตะวันตกได้(เช่นแสดงหน่วยวัดเป็น Feet Knots เป็นต้น)
รวมถึงการเปลี่ยนระบบควบคุม HOTAS ให้ใช้ Joystick และ Throttle ที่เหมือนกับเครื่องบินขับไล่ตะวันตกแทนแบบรัสเซียด้วย
นั่นทำให้ Yak-130 สามารถใช้ในการฝึกนักบินพร้อมรบสำหรับกองทัพที่ใช้เครื่องขับไล่หลักเป็นระบบตะวันตกมาตรฐาน NATO อย่างกองทัพอากาศไทยที่ใช้ F-16 และ Gripen ได้
แต่อย่างไรก็ตามระบบอาวุธที่ติดตั้งกับเครื่องได้ก็ยังเป็นระบบรัสเซียเหมือนเดิม เพราะทางรัสเซียคงต้องการที่จะขายระบบอาวุธและอุปกรณ์ของตนเองมากกว่า
โดยระบบที่ใช้ร่วมกันได้กับ L-39 ก็เห็นจะมีแต่ปืนใหญ่อากาศ 23mm แฝดสองเท่านั้นที่ L-39ZA/ART ติดใต้เครื่องความจุ ๑๕๐นัด ส่วน Yak-130 เป็นกระเปาะ SNPU-130
นอกนั้นตั้งแต่ระเบิดตระกูล FAB, KAB จรวดอากาศสู่พื้น S-8 S-13 และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ R-73E ต้องจัดหาจากรัสเซียใหม่หมด
จะใช้ระเบิดตระกูล Mk80s จรวด 2.75" FFAR และ AIM-9 Sidewinder ที่ L-39ZA/ART ใช้ในตอนนี้ไม่ได้เลย
ในขณะที่ M-346 และ KAI T-50 สามารถติดตั้งใช้งานระเบิด Mk80s จรวด 2.75" FFAR AIM-9 Sidewinder และ AGM-65 ที่กองทัพอากาศไทยมีใช้ได้ทั้งหมด
ซึ่ง M-346 นั้นยังติด IRIS-T ที่ Gripen C/D และ F-16A/B eMLU ติดตั้งใช้ได้ด้วย
แล้วการว่าจ้างให้บริษัทจากอิสราเอลทำการปรับปรุง Yak-130 ให้เป็นมาตรฐานตะวันตกเช่นเดียวกับที่เคยทำกับ บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART มาแล้วเล่า
ส่วนตัวมองว่าแนวทางนี้มีความเป็นไปได้น้อยมากครับ
กองทัพอากาศอิสราเอลนั้นได้เลือก M-346 เป็น บ.ฝึกไอพ่นและโจมตีเบาแบบใหม่แทน A-4 Skyhawk ที่ใช้มานานมาก โดยเพิ่งจะได้รับเครื่องชุดแรกจากโรงงานประมาณ ๒เครื่องในปีนี้
โดย M-346 ที่ประจำการในกองทัพอากาศอิสราเอลจะถูกเรียกว่า Lavi ซึ่ง Elbit และ IAI ได้รับสัญญาในการติดตั้งอุปกรณ์ย่อยต่างๆตามที่กองทัพอากาศอิสราเอลต้องการด้วย
ถึงแม้ว่า M-346 และ Yak-130 ทั้งสองแบบเมื่อมองจากภายนอกเครื่องทั้งสองแบบจะเหมือนกันมากเพราะมีที่มาจากแบบแผนเครื่องแบบเดียวจากความร่วมมือระหว่าง Yakolev และ Aermacchi ในช่วงปี 1990s
แต่ในความเป็นจริงนั้นถ้าลงไปในรายละเอียดภายในจะพบว่ M-346 มีการปรับเปลี่ยนแบบแผนภายในเครื่องต่างไปจาก Yak-130 ค่อนข้างมาก
ซึ่งตั้งแต่ Alenia Aermacchi ยุติความร่วมมือกับ Irkut/Yakolev ในช่วงปี 2000s การพัฒนา Yak-130 กับ M-346 ก็เริ่มแยกออกจากกันนับแต่นั้น
โดยเครื่องทั้งสองแบบมีโครงสร้างภายในทั้งในส่วนเครื่องยนต์และระบบ Avionic Cockpit และระบบควบคุมที่แตกต่างกันตามความต้องการของกองทัพอากาศรัสเซียและกองทัพอากาศอิตาลี
ดังนั้นถ้าให้บริษัทอิสราเอลมาทำการปรับปรุง Yak-130 ให้ใช้ระบบ Avionic และระบบอาวุธตะวันตกจะเป็นคนละงานกับการติดตั้งระบบกับ M-346 ไม่เหมือนกันเลยเสียทีเดียว
ทั้งนี้ทางรัสเซียเองก็มีนโยบายที่ต่างไปจากสาธารณรัฐเชคที่ Aero Vodochody ร่วมพัฒนากับ Elbit อิสราเอลพัฒนา L-39ZA/ART ขายให้กองทัพอากาศไทย ๓๖เครื่องเมื่อปี ๒๕๓๗ ด้วย
เพราะตอนนั้นเชคมีนโยบายเข้าหาตะวันตกหลังการทำลายกำแพง Berlin และการล่มสลายของสหภาพโซเวียตแล้ว ซึ่งเครื่องที่พัฒนาต่อมาคือ L-159 ก็เป็นระบบตะวันตกทั้งเครื่อง
แต่ในส่วนเครื่องของรัสเซียที่ใช้ระบบตะวันตกบางส่วนติดตั้งกับเครื่องไม่ว่าจะเป็น Su-30MKI ของอินเดียที่มีระบบของอิสราเอลในเครื่อง หรือ Su-30MKM ของมาเลเซียที่ติดตั้งระบบของ Thales เป็นต้นนั้น
ทั้งหมดเป็นเครื่องที่สร้างโดยบริษัท Irkut Corporation เจ้าของเดียวกับ Yak-130 ซึ่งไม่มีเครื่องไหนเลยที่สามารถติดตั้งระบบอาวุธตะวันตกได้ โดยยังใช้ระบบอาวุธของรัสเซียเช่นเดิม
และด้วยสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับชาติตะวันตกในปัจจุบัน ความร่วมมือด้านการบูรณาการระบบถึงจะให้อิสราเอลทำคงจะเป็นไปได้ยากด้วย
ทั้งหมดที่กล่าวมาถ้ากองทัพอากาศไทยเลือกที่จะจัดหา Yak-130 จริงก็คงจะถูกกองทัพอากาศกำหนดแบบเป็น บ.ฝ.๒๑ ครับ เพราะคงจะใช้เป็น บ.ฝึกอย่างเดียวไม่ติดอาวุธสำหรับภารกิจโจมตีเหมือน บ.ฝ.๑๙ PC-9
แต่กองทัพอากาศต้องการเครื่องบินฝึกขับไล่ที่ทำภารกิจโจมตีเป็นภารกิจรองได้ด้วย(น่าจะกำหนดแบบเป็น บ.ขฝ.๒) เพราะฉะนั้นตัวเลือกที่มีโอกาสสูงและเหมาะสมกว่ายังคงเป็น KAI T-50 กับ M-346 มากกว่าอยู่ดี
ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลที่ Yak-130 อาจจะไม่เหมาะกับกองทัพอากาศไทยครับ
M346 1
Yak-130 1
Yak-130 2
ค่าเงิน RUB อ่อนลงมามาก น่าจะใช้ช่วงนี้พิจารณาสินค้าจากรัสเซียเป็นพิเศษก็ดีนะครับ
รัสเซียอยากขาย เราก็ได้ของถูกลง
กรณี Yak-130 ราคาที่เราจ่ายถูกลงอาจจะแปลงเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นก็ได้นะ
@ คุณ Freedom ครับ ผมว่าการซื้อขายคงจะใช้เงินสกุลกลางๆเช่น USD ครับ ไม่งั้นโรงงานตายแน่เลยครับ
เปิดเข้าไปดูผ่านๆ มาครับ บางทีอาจจะเป็นเจ้าตัวนี้ก็ได้นะ ครับ เริ่มติดต่อเข้ามาแล้ว
http://www.janes.com/article/47112/aero-vodochody-in-talks-with-thailand-over-l-39-replacement
โดยส่วนตัวถ้าเป็น L39NG นี่พอรับได้น่ะครับ เพราะ มีการปรับปรุงเทคโนโลยีใหม่ๆเข้าไปแล้ว สามารถจัดหาได้ในจำนวนที่มากกว่าเครื่องแบบอื่นๆ , มีความสามารถทำภารกิจฝึกและโจมตีได้ดี และทำให้สามารถนำเงินส่วนที่เหลือไปใช้ในโครงการเครื่องบินรบหลัก เช่น Jas39 F16MLU ได้ นอกจากนี้อาจจะสามารถต่อรองนำมาประกอบได้ประเทศ หรือถ่ายถอดเทคโนโลยีได้
ที่เลือก yak130 เพราะราคาถูกกว่าประกอบกับองค์กรการค้ายุโรปเริ่มที่จะตัดสิทธิสินค้าเกษตร ประมง ด้วยข้อหาละเมิดสิทธิมนุษย์ชนในการใช้แรงงาน
อ่านเพลินเลย กระทู้นี้ ขอเอาเข้ากระทู้แนะนำครับ
ทอ.. ท่านมีแผนแบบ วาง stepbystep หาก yk130 มา การที่ จะทำไลน์ประกอบ จะง่ายกว่า ฝั่งยุโรป เพราะ deal บางdeal รัสเชีย ใจปั๊มกว่า ไม่หยุมหยิม ..ทอ. ท่านก็รู้ พยายาม หนี us แต่ได้ ของไมาแตกต่าง...เครื่องฝึก บฝ...ไม่จำเป็นต้อง us pro - yk 130 หรือ l..ng ก็ไปโลดแล้ว....
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับท่านคุณคนไทย
ขี้เกียจพูดมาก yak-130 ผมเองก็เชียร์กรณีที่งบประมาณไม่พอ และก็เชียร์มาตั้งแต่เวปเก่า มากกว่า M-346 ที่ราคาแพงเว่อร์มากกกกก ราคาที่รัสเซียจัดหาต่ำก็จริง แต่ถ้าต้องโมก็คงแพงขึ้น และก็ตามเหตุผลของท่านคุณคนไทยเลย คงไม่ง่ายแบบ L-39 ชุดก่อน
M-346 เกินงบแน่นอน ฮุ ฮุ ฮุ .....รอฟังข่าวดี.....เต็งจ๋ามาสองตัวขนาดนี้
ปล. L-39 NG ก็ดีนะท่าน rayong แต่ไม่ทราบราคาที่เสนอก็ไม่รู้ว่าค่าตัวเกิน 30 ล้านเหรียญไหมและก็ไม่ได้อยู่ในลิสต์การแข่งคราวนี้ด้วย ถ้าได้ L-39 NG ก็ไม่เลวเลย เชียร์ L-39 NG ตามท่านระยองอีกคนเอ้า
งั้นT-50ก็เกินงบด้วยสิครับ เพราะT-50ที่เสนอโปแลนด์ แพงกว่าM-346 แล้วก็แพ้ไป
ไม่มีอะไรมาก แค่ขอเข้ามาตามเรื่องนี้ด้วยคน
บินผ่านไม่มีใครสนใจ เชอะ
มองว่า Kai T50 น่าจะมาวินครับ
เพราะจัดซื้อที่ละ 4 เครื่องน่าจะทำการจัดซื้อไปอีกหลายครัง(หลายปี)กว่าจะครบฝูง ครบตามจำนวนที่ต้องการ การที่จะไปซื้อของจากอิตาลี่หรือรัสเซียที่อาจจะมีปัจจัยทางการเมืองมาเกี่ยวข้องอาจจะทำให้การจัดซื้อในอนาคตมีปัญหา แต่ถ้าจัดซื้อจากเกาหลียังไงก็ไม่มีปัญหาทางการเมืองแน่นอน เกาหลีขายให้เสมอไม่ว่าไทยจะเกิดอะไรขึ้น และเรายังอาจจะสามารถยื้มอะไหร่จากเพื่อมบ้านอืนโดนีเซียได้ด้วยในยามฉุกเฉิน
ผมว่า T-50 คงไม่เกินงบหรอกครับท่านภู เพราะราคาที่ลงในวิกิ บอกว่า T-50 ราคาในปี 2008 ขายที่ 21 ล้านเหรียญ ส่วนดีลที่อินโดจัดหา 16 เครื่อง 400 ล้านเหรียญ ตกเครื่องละ 25 ล้านเหรียญ เป็นราคาที่ลงนามในปี 2011 ดังนั้นมาถึงปีนี้ ราคาอาจจะป้วนเปี้ยนแถวๆ 27-28 ล้านเหรียญก็เป็นได้ ไม่เกิน 30 ล้านเหรีญยต่อเครื่องแน่นอน
กรณีของพี่ปินส์เขา จัดหารุ่น FA-50 12 เครื่อง 420 ล้านเหรียญ ตกเครื่องละ 35-36 ล้านเหรียญ มันเป็นเวอร์ชั่นเครื่องบินรบครับ ราคาจึงแพงกว่า
กรณีดีลของโปแลนด์นี่เพื่อนในเวปนี้เคยลงให้อ่าน ผมไม่แน่ใจว่าเกาหลีเสนอรุ่น T-50 หรือ TA-50 หรือ FA-50 แต่ที่แน่ๆ M-346 ราคาเกิน 40 ล้านเหรียญ แค่เครื่องตระกูล T-50 เสนอแพงกว่าซะด้วยซ้ำ ซึ่งถึงจะเป็นรุ่น FA-50 ก็ถือว่าแพงกว่าที่ควรจะเป็น ก็ถ้าเกาหลีไปทำแบบนี้ สมควรแพ้แล้วครับ และก็ไม่มีรายละเอียดว่าการเสนอทั้งหมดนี้รวมค่าอะไรอย่างอื่นมาเพิ่มอีกหรือไม่ และน่ามาจากการเมืองด้วย เพราะตอนนั้นมีกรณียูเครน ซึท่าทีคุกคามจากรัสเซียนั้นสูงมาก ไม่แปลกครับที่โปแลนด์จะเลือกเครื่องฝึกจากยุโรป เพราะโปแลนด์เองก็เพิ่งลงนามกับ NATO ให้คุ้มหัวตัวเองด้วยเลย
ก็ถ้าทอ. ไม่เอาเรด้าร์ติดมาด้วย คือเลือกรุ่น T-50 แทนที่จะเป็น TA-50 ก็คงอยู่ในงบแบบสบายๆ M-346 จากดีลหลายๆดีลในกระทู้เก่าๆ เกินงบไปมากแทบทุกดีล ส่วนดีลของอิสราเอลที่ว่าตัวเปล่านะ ระบบอิเลคืรอนิคไม่มีไม่ใช่หรือครับ เพราะ ทอ อิสราเอลจะเอาระบบของเอลบิท ต่างหาก ซึงถ้าต้องรวมระบบของเอลบิทราคาน่าจะสูงทีเดียว
แปะลิงค์ราคาดีลทอ.อินโด
http://www.flightglobal.com/news/articles/indonesia-receives-first-pair-of-t-50i-advanced-jet-390512/
พี่ปินส์
http://rpdefense.over-blog.com/tag/fa-50/
หรือถ้าทอ.จะเอารุ่น TA-50 ราคาจากวิกิในส่วนต่าง ตกประมาณ 4 ล้านเหรียญ แต่คนละปีกัน คือ T-50 ปี 2008 21 ล้านเหรียญ และ TA-50 ปี 2011 25 ล้านเหรียญ ดังนั้นในความเห็นส่วนตัวของผม ราคาเรด้าร์น่าจะตกตัวละ 2-3 ล้านเหรียญ ดังนั้นราคา TA-50 เองในปี 2014 ผมคาดการณ์ว่าราคาตกประมาณเครื่องละ 29-32 ล้านเหรียญ ซึ่งก็ยังอยู่ในงบหรือเกินงบมานิดเดียว ก็อย่างว่าคนอยากขาย ต่อรองได้อยู่แล้วสำหรับ TA-50
แปะลิงค์ราคาในวิกิ
http://en.wikipedia.org/wiki/KAI_T-50_Golden_Eagle
ผมเห็นด้วยกับท่าน kitty70 ในเรื่องการเมืองระหว่างเรากับพี่เบิ้มทั้งหลาย น่าจะเป็นเหตุผลที่เปลี่ยนการจัดหาจาก 400 ล้านเหรียญสำหรับ 16 เครื่อง เล่นตามอินโดเลย มาเป็น 4 เครื่อง 3700 ล้านบาท
ผมว่าออกแนวว่าถ้ามีการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองระหว่างประเทศ ถ้าจัดเครื่องระบบใดๆมาแล้วเกิดหลิกกระทันหัน เราก็ยอมเสียไปแค่ 4 ตัวเท่านั้น เหมือนดูความแน่นอนทางการเมืองกันมากกว่าว่าจะออกหัวหรือก้อย ซึ่งมันก็เปลี่ยนกันไม่ได้ง่ายๆซะด้วย
และในความเชื่อส่วนตัว ผมยังเชื่อมั่นว่า TA-50 น่าจะชนะในโครงการ TX เหนือเครื่องทุกแบบที่เข้าแข่ง เพราะหุ้นส่วนของ KAI ก็ เป็นผู้ผลิต F-35 เองด้วย ซึ่งต้องออกแบบให้ตรงตามความต้องการของอเมริกันให้มากที่สุด ให้เข้ากัยระบบการฝึกเพื่อเปลี่ยนแบบไปเป็น F-35 F-22 มากที่สุด ก็ LM ออกแบบ F-35 F-22 T-50 เองทั้งหมดนี่ครับ
ถ้า ทอ. จะเลือก บขฝ. 2 มาเพื่อรองรับเครื่องยุคที่ 5 แบบ F-35 ที่ ทอ พูดออกสื่อหลายครั้งแล้วว่าต้องการมากที่สุด มันก็ควรต้องเป็น T-50 ครับ
และกรณีพลิกล็อคในอีก 20 ปีข้างหน้า F-35 ไม่มาจอดที่ไทย แต่กลายเป็น KFX-E หรือ KFX c-103 ยังไงก็ต้อง T-50 อยู่ดี เพราะทั้ง KFX และ T-50 ก็ออกแบบจาก KAI ทั้งคู่อยุ่ดี ผมว่ามันลงตัวแบบไม่มีฟลุ็คนะ เหมือนมีการวางแผนการตลาดที่ยอดเยี่ยมรองรับมาก่อนลงมือลุยโครงการ T-50 กัน ระหว่างบริษัทเกาหลีและอเมริกัน วิน วิน ทั้งคู่
แถมการ upgrade ในอนาคตก็มีแผนงานออกมาต่อเนื่องในส่วนของระบบเรด้าร์ AESA ที่มีทั้งของอเมริกัน และของ sumsung thales แม้แต่ของอิสราเอล ดูแล้วอุปกรณ์เสริมวันข้างหน้ามีอีกเพียบรออยู่ ทั้งยังมีรุ่นย่อยให้เลือกหลากหลายในอนาคต ตามแต่ลูกค้าต้องการ โดยเฉพาะรุ่นขับไล่เบา FA-50 F-50 และคาดว่าเมื่อ F-16 ปิดสายการผลิต TA-50 A-50 FA-50 F-50 น่าจะสามารถยิง AMRAAM ได้สักที กั็กมาตลอด ซึ่งจะทำให้รุ่นขับไล่เบามีช่องทางการตลาดที่ยอดเยี่ยม และจะเป็นผลักดันให้รุ่นฝึกได้รับความนิยมมากขึ้นในอนาคตด้วย
ส่วนความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ก็มีระบบลิมิตเตอร์อยุ่ไม่ใช่หรือครับ จะได้เปลืองน้อยลง และเครื่องยนต์เดียวก็เสียค่าบำรุงรักษาน้อยกว่า 2 เครื่องยนต์ และ 2 เครื่องยนต์รัสเซียนี่ค่าใช้จ่ายน่าจะพอดูและอายุการใช้งานอีกต่างหาก แต่เครื่องยนต์ของยูเครนน่าสนใจจริงๆครับสำหรับ yak-130 น่าจะอุดรูโหว่ตรงนี้ของ yak-130 ได้ดีทีเดียว
ส่วนเครื่องที่เหลือ L-39 alphajet F-5 ที่คาดว่าจะปรับปรุงแบบเดียวกับ F-5m (ผมว่าดีลนี้ตัดสินใจดีนะ ถ้าข่าวที่ออกมานั้นเป็นการปรับปรุง F-5 ของ ทอ. ไทย) ซึ่งเครื่องทั้งหมดจะทยอยปลดในอีก 10-15 ปี ข้างหน้า ก็ต้องมาลุ้นกันต่อว่าใครจะมาแทนทั้ง yak-130(ถึงเวลานั้นก็น่าจะมี yak-133 IB มาให้เลือกอีกตัว) T-50 TA-50 A-50 L-39 NG น่าสนใจทั้งหมดเลย
ในส่วนตัว เครื่องที่มาแทน F-5 ไหนๆก้ jas-39 แล้ว ก็ควร jas-39 ต่อไป มือหนึ่งหรือมือสองก็ว่ากันไป ยกเว้นว่า FA-50 หรือ F-50 มีอุปกรณ์เสริมเพียบแบบเทพๆและราคาเป็นมิตรมากๆ แบบว่าไม่เกิน 50-60 ล้านเหรียญ แบบนี้น่าคุย เพราะ Jas-39 NG มันก็ดันทะลุ 100 ล้านเหรียญไปไกลทีเดียว แทบจะซื้อ F-35 ได้แล้ว
ปล. F-5m ก็มีประสิทธิภาพในการรบ BVR พอๆกับ FA-50 แต่ยังด้อยกว่าในด้านความสามารถในการโจมตีภาคพื้นดิน
KFX-E นี่ก็เป็นเวอร์ชั่นเสตลทธ์ ของ FA-50 อีกที ออกมาดักตีหัวเครื่องบินขับไล่เบาในอนาคตเลย แบบว่าเครื่องของข้า มีทุกรุ่นที่ครอบคลุมความต้องการของตลาด กะเบียดคู่แข่งให้ตาย ยังกะโทรศัพท์มือถือเลยวุ้ย
ภาพเชื่อมโยง KFX-E และ FA-50
jas-39 นี่ถ้าไม่ได้ดีลจากบราซีล มีหนาวใจมากมาย มี F-50 และ KFX-E ดีก รอตีหัว ถ้า KFX-E ราคาไม่แรงมาก ไม่เกิน 100 เหรียญต่อเครื่อง มีหนาวสะท้าน
ถ้าครองตลาดเครื่องขับไล่เบาได้มาก เครื่องฝึกก็มีโอกาสขายได้สูงตามไปด้วย ผมรอฟังผลในดครงการ TX ถ้า T-50 ชนะ จะเป็นการจุดพลุของเครื่องตระกูลนี้เลยทีเดียว รับรองดังเป็นพลุแตก ผมว่ายังไงอเมริกันก็เข้าข้างเครื่องของตนเองนะ เหมือนเขียนช้อตต่อๆไปรอเอาไว้เลยยังไงไม่รู้
อาศัยจังหวะชุลมุนเข้ามาอัพเดทข่าวนิดหน่อย ไม่ได้เกี่ยวกับบ้านเราหรอกแต่เกี่ยวกับเครื่องบินนี่แหละ
1 เครื่องบินA-5 ของบังคลาเทศปลดประจำการไปแล้วเมื่อเดือนก่อน โดยลำใหม่ที่มาแทนก็คือ Yak-130 บังคลาเทศสั่งเครื่องบิน24ลำจากรัสเซียในวงเงิน800ล้านเหรียญ ขณะเดียวกันพวกเขาก็เพิ่งได้รับเครื่องบินฝึก Hongdu JL-8 จากจีนจำนวน4ลำและเข้าประจำการในเดือนนี้ และอีก5ลำอยู่ระหว่างสั่งซื้อ
ลำบนของแถม ลำจริงอยู่นี่
2 เครื่องบินFA-50 ลำแรกจากสายการผลิตเข้าประจำการแล้วในวันที่4ธันวาคม
December 4, 2014:
In October the South Korean Air Force accepted into service the first squadron of 20 locally made FA-50 fighter-bombers. These were ordered in 2012, cost $30 million each and are equipped with South Korean, American, and Israeli electronics. The first FA-50 was delivered in 2013 and the rest arrived by mid-2014. The single engine, single seat aircraft is intended to eventually replace South Korea's aging fleet of F-5 fighters. But the first FA-50 squadron will have to show what they can do in active service.
The FA-50 is the combat version of the South Korean designed and manufactured T-50 jet trainer. This aircraft began development after 2000 and all this cost of over two billion dollars. The first test flight of the T-50 took place in 2002. The 13 ton aircraft is actually a light fighter and can fly at supersonic speeds. With some added equipment (radars and fire control) the T-50 becomes the FA-50, a combat aircraft. This version carries a 20mm auto-cannon and up to 4.5 tons of smart bombs and missiles. The T-50 can stay in the air about four hours per sortie and has a service life of 8,000 hours in the air.
Meanwhile, the F-5 is another Cold War relic that still manages to find work, especially in South Korea. Over 2,200 F-5s were built between the late 1950s and 1987. The F-5 is a 12 ton fighter roughly similar to the 1950s era MiG-21 and is a contemporary of that Russian fighter. The F-5 was built mainly for export to nations that could not afford the top-line Western fighters but did not want the MiG-21s. The F-5 is normally armed with two 20mm cannon and three tons of missiles and bombs. The FA-50 is, to many observers, an updated and much improved F-5.
Then there is the elderly F-4. South Korea has been retiring its 222 F-4s for over a decade now. Many countries continue to use F-4s because the aircraft are sturdy and still effective as bombers. Of the 5,195 F-4s manufactured, some eight percent are still in service, plus a hundred converted to be unmanned targets for the U.S. Air Force. South Korea still has 68 F-4Es in service. The F-4 is a 1950s design that, for its day, was quite advanced. The two seat, 28 ton F-4 is still a credible fighter bomber, able to carry eight tons of bombs and missiles. Normal combat radius is about 700 kilometers. The average sortie lasts about two hours. The F-4 was also one of the first jet fighters to be quite safe to fly. The F-4 has been in service for over half a century and will probably hit 60 before the last of them are gone. South Korea wants to retire its F-4s before that day comes and put into service a local design that will last as long.
3 เรือดำน้ำKiloลำที่3ของเวียตนามเดินทางออกจากรัสเซียแล้วในวันที่5ธันวาคม ป่านนี้คงนอนเกาพุงกันสบายแฮไปแล้ว ส่วนในภาพคือลำที่4และลำที่5ในรัสเซียครับ ข่าวนี้ไม่เกี่ยวแต่เห็นท่านรมต.ออกมาจุดประเด็น(อีกแล้ว)เลยลงแถมให้
สงสัยผมต้องด้อมๆมองๆสเป้ค YAK-130 บ้างละ ชายตามองสาวคู่แฝดที่พลัดลากไปแดนมะกะโรนีซะตั้งนาน แฝดอีกนางทีอาศัยแดนหมีชักน่าลุ้น
ขอบคุณครับท่าน superboy
ราคาตกเครื่องละประมาณ 33 ล้านเหรียญ หรือถ้าเทียบกับโครงการที่อินโดจัดหา และครั้งแรกที่เราตั้งโครงการ คือ 400 ล้านเหรียญจะได้ 12 เครื่องสำหรับ yak-130 คงไม่ใช่ราคาตัวเปล่า
ถ้าจะเปลี่ยนขั้วการเมืองระหว่างประเทศ ก็คงต้องไปใช้ระบบของรัสเซีย จีนทุกเหล่าทัพล่ะครับ แบบนั้น yak-130 ก็เข้าวิน แบบนั้น ทร.ก็น่าจะซื้อ type 054A มา 4 ลำไปเลยตั้งแต่แรก
ปล. จากดีลนี้ เดาว่าราคาตัวเปล่าของ yak-130 ไม่น่าจะน้อยกว่า 20 ล้านเหรียญต่อเครื่อง น่าจะอยู่ในช่วง 20-25 ล้านเหรียญต่อเครื่อง