การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 ไม่ได้มีผลต่อความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังมีส่วนสำคัญต่อมิติทางด้าน "ความมั่นคง" ซึ่งหมายรวมถึงความมั่นคงเพื่อรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลด้วย โดยเฉพาะบริบททางความมั่นคงที่เปราะบางจากความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ที่มีมหาอำนาจจีน และหลายชาติในอาเซียนเข้าไปเกี่ยวข้อง
ขณะที่โครงสร้างหลักในการบูรณาการภารกิจในการรักษาความมั่นคงทางทะเลของไทยเป็นหน้าที่ของ "ศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล" หรือ "ศรชล." ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านความมั่นคงที่ขึ้นตรงต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2540 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการประสานงานด้านการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
ศรชล. มีภารกิจเป็น "ศูนย์กลาง" การดำเนินกิจการทางทะเลในทุกๆ ด้านระหว่างส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับงานทางทะเลเพื่อให้การปฏิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่ซ้ำซ้อน และมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันอย่างต่อเนื่อง โดยมี "กองทัพเรือ" เป็นศูนย์กลางในการประสานงาน ช่วยเหลือ และสนับสนุนการปฏิบัติของหน่วยต่างๆ
ทั้งนี้ เมื่อเดือนตุลาคม 2557 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ให้ความเห็นชอบในหลักการของร่างยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล พ.ศ.2558-2562 โดยให้สมช.ปรับปรุงร่างยุทธศาสตร์เป็น "แผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล พ.ศ.2558-2564" เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ความมั่นคง ความมั่งคั่ง และความยั่งยืน ในการก้าวสู่การเป็นชาติทะเล (Maritime Nation) อย่างแท้จริง
นอกจากนี้ ยังมีการยกระดับ “ศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล" เป็น “ศูนย์อำนวยการในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล" ขึ้นตรงต่อสำนักนายกรัฐมนตรี มีบทบาทเป็นองค์กรในการอำนวยการ กำกับการ และประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลกับหน่วยราชการอื่นๆ และระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
ต่อมา เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2557 พล.ร.อ.ธนะรัตน์ อุบล เสนาธิการทหารเรือ ในฐานะผู้อำนวยการ ศรชล. ได้เป็นประธานการประชุม ศรชล. ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2558 ณ โรงแรมพัทยา ดิสคัฟเวอรี่ บีช เมืองพัทยา ร่วมกับเลขาธิการสมช., ผอ.ศรชล. เขต 1, 2 และ 3 และหัวหน้าส่วนราชการในศรชล.
พล.ร.อ.ธนะรัตน์ ย้ำถึงความสำคัญของการประชุมว่า เป็นการจัดทำแผนปฏิบัติงานของ ศรชล. ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งการรองรับแผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล พ.ศ.2558-2564
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ส่วนราชการ และภาคเอกชนได้เข้าใจยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล พ.ศ.2558-2564 มากขึ้น สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และกองทัพเรือ จึงได้ร่วมกันจัดให้มีการประชุมเพื่อชี้แจงแผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล (พ.ศ.2558-2564) ในวันที่ 26 ธันวาคม 2557 เวลา 10.00 น. ณ ห้องเจ้าพระยา หอประชุมกองทัพเรือ
โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน และจะจัดให้มีการอภิปรายกลุ่ม เรื่อง “แผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล จะนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนได้อย่างไร"
มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ นายพรชาติ บุนนาค รองเลขาธิการสมช. ศ.ดร.ชุมพร ปัจจุสานนท์ ประธานอนุกรรมการด้านกฎหมายและองค์กรในการรักษาผลประโยชน์และความมั่นคงของชาติทางทะเล รศ.ดร.เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ อนุกรรมการและเลขานุการ คณะอนุกรรมการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พล.ร.ท.จุมพล ลุมพิกานนท์ เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านการให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์และความมั่นคงของชาติทางทะเล
การประชุมดังกล่าวถือว่ามีความสำคัญทั้งมิติด้านความมั่นคง และผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 12 ล้านล้านบาทต่อปี ในปี 2553 เป็น 24 ล้านล้านบาทต่อปี ในปี 2557 ซึ่งนับได้ว่าเป็น "เส้นเลือดใหญ่" ทางเศรษฐกิจทั้งของประเทศไทย และประชาคมอาเซียน ที่จะทวีความสำคัญยิ่งขึ้นในทุกๆ ปี
---------------------------
ข่าวจาก http://www.komchadluek.net/detail/20141211/197499.html
คือผมว่า เอาเงินไปพัฒนาระบบรางดีกว่า เพราะตอนนี้ประเทศต้องการใช้ระบบรางในการขนส่ง คราวละมากๆและลดต้นทุน อาวุธซื้อมา20-- 30-40 ปีก็ปลดระวางแต่โครงสร้างพื้นฐาน ถนน สนามบิน ทางรถไฟ ทั้งรถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูงรถไฟในเมือง ของพวกนี้อยู่ได้หลายร้อยปีแค่เปลี่ยนขบวนรถเท่านั้น สนามบิน ตัวสนามบินยังอยู่แต่เปลี่ยนแค่เครื่องบินรุ่นใหม่
ถ้าหวังจะซื้ f-35 ควรลุ้่นให้รัฐบาลลงทุนระบบรางให้มากพอครับถ้าลงทุนได้ก็ปลดเปลื้องการคลังไปได้เยอะแถมสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจอีก
ความมั่นคงคงก็ต้องมีแต่อาวุะดีควรซื้อมาน้อยๆแต่ประสิทธิภาพสูงอย่างเครื่องบินรบมีสัก 18ลําเรือดํานํา 2ลําพอเราลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดีๆมากพอค่อยซื้ออาวุธดีๆแบบเยอะได้ตามใจ
อย่างเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน จีนเค้ากล้าซื้ออาวุธเยอะเพราะเค้ามีระบบโครงสร้างพื้นฐานดีพอแล้ว
ตอนนี้ประมูลรถไฟฟ้าหมอชิตสะพานใหม่ คูคตเสร็จแล้วของพวกนี้อยู่ได้หลายร้อยปี แต่อาวุธไม่นานก็ปลด เหอๆ
http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000142184
http://www.efinancethai.com/hotnews/hot/index.aspx?name=h_091214h&release=y
หลายร้อยปีก็เวอร์ไป นานขนาดนั้นก็ปรับปรุง โอเวอร์ฮอลได้ละ
เห็นด้วยอย่างมากในการก่อตั้ง ศรชล. ไม่ถือว่าสายเกินไป ต่อไปอาเซียนสมควรจะมีแผนรักษาความมั่นคงร่วมคล้ายๆ ยุโรปที่มีการบูรณาการ ทำให้การจับของเถื่อนหรือปราบโจรสลัดจะมีประสิทธิภาพมากขี้น และยังเป็นการสรั่งความแน่นแฟ้นเป็นปึกแผ่นทางการทหารในภูมิภาค ส่งผลให้เกิดความมั่นคงและนำไปสู่มูลค่าที่เพิ่มขี้นจากความเสี่ยงในการทำธุรกิจที่ลดลง
มันไม่ใช่การตั้งกองทัพหรือการซื้อาวุธใหม่หรืออะไรนะครับ เป็นการทำให้เกิดประสิทธิภาพในด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจที่พึ่งพิงท้องทะเลเป็นสำคัญ เพราะปัจจุบันหน้าที่ยังกระจัดกระจายยังกับอะไรดี
ระบบรางมันคนละเรื่องแล้วบ้านเราเอาจริงๆ เงินไม่ได้ขาดแคลนขนาดต้องโยกงบฯ อื่นมาทำระบบราง มันอยู่ที่ความตั้งใจจริงและการบริหารครับ ทำดีๆ ก็ออกพันธบัตรหนี้ได้สบายๆ ครับ
แล้วโครงสร้างซีเมนต์อายุเฉลี่ยปกติประมาณร้อยปีครับ แต่ถ้าเป็นตึกสูงๆ หรือโครงสร้างขนาดใหญ่เช่นสะพานยักษ์ๆ มักจะสรัางให้คงทนกว่านั้นอีก แต่ที่คุณบอกว่าสร้างรางรถไฟแล้วใช้ได้เป็นร้อยๆ ปีนั่นมั่วแล้วครับ แม้แต่สะพาน ถนน อะไรทั่วๆ ไปยังต้องซ่อมใหญ่ทุกหลักสิบปี ไม่ใช่หลักร้อยครับ รางรถไฟกับถนนนี่ก็ซ่อมกันทั้งปีเปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ แม้แต่บีทีเอสอะไรก็ต้องซ่อมแซมทุกวัน (เป็นเหตุให้ไม่สามารถวิ่ง 24 ชม.) ที่รถไฟเมืองไทยตกรางเป็นประจำก็สาเหตุนึงคือรางเสื่อมด้วยครับ
ที่ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน เขาซื้อาวุธได้ดีๆ เยอะๆ เพราะว่าบ้านเขาไม่ได้คดโกงทุจริตงบฯ หรือบริหารทุจริตแบบไทยครับ อะไรที่มันควรทำเขาก็อนุมัติ ด้งนั้นไม่มีการดึงเรื่องนู่นนี่ให้ไม่เกิดเพราะตัวเองไม่ได้รับผลประโยชน์ครับ ไม่อย่างนั้นเมืองไทยรถไฟฟ้าคงไม่เปลี่ยนแผนเป็นสิบๆ รอบในรอบไม่กี่ปีหรอกครับ เล่นทีพวกอสังหาที่ซื้อที่ดินเตรียมสร้างคอนโดติดรถไฟฟ้าซวยกันเป็นแถบๆ
สุดท้ายแล้วทั้งระบบขนส่งทางราง กับศรชล. มันก็ไม่ได้เกียวพันกันโดยตรงหรือมีผลกระทบอีกอันโดยตรง ดังนั้นการปฏิบัติตามแผนทั้งสองโครงการมันไม่ได้เกี่ยวข้องหรือกระทบอะไรกันเลย
รางรถไฟเรานี่ไงครับ ร้อยปีไม่ได้ซ่อม ตอนนี้ ตกรางกันเป็นว่าเล่น อิอิ
ผมว่า สองเรื่องนี้ ไม่เกี่ยวข้องกันหรอกครับ ผมเห็นด้วยว่าการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานก็สำคัญ แต่จะไม่ให้พัฒนาด้านอื่นเลย เอาแต่เรื่องนี้ด้านเดียวก็คงไม่ไหวเหมือนกันครับ
หลายร้อยปี "ผมนี่ยืนขึ้นเลย"
เรื่องระบบรางตอนก็เริ่มเจรจาลงทุนแล้วนะครับ
บร๊ะ หลายร้อยปี พี่มาจากยุคไหนครับเนี่ย รถไฟมันเพิ่งมามีหลังปฏิวัติอุสาหกรรมเองไม่ใช่เรอะ
"อาวุะดีควรซื้อมาน้อยๆแต่ประสิทธิภาพสูงอย่างเครื่องบินรบมีสัก 18ลํา"
เครื่องบิน18ลำ จะไปเอาอะไรกินครับ ผมให้เอาF-22มา18ลำเลยครับ เจอกองทัพอากาศเวียดนามขับMiG-21มาร้อยลำกับSu-30อีกสี่สิบลำก็ไม่รอดครับ หรือไทยก็ได้F-5สามสิบลำ F-16ห้าสิบกว่าลำ Gripenอีกสิบสองลำ ไม่รวมอัลฟ่าเจ็ตกับL-39อีกร่วม60ลำนะ หรือสิงคโปร์พี่แกเอาF-16มาหกสิบลำ F-15มาสี่สิบลำ
ระบบรางบ้านเราที่มันห่วยแตกไม่ได้เกี่ยวข้องกับงบพัฒนากองทัพเลย ต่อให้เอาเงินมาถมซัก3ล้านล้านบาท แต่ถ้าคนในองค์กรนี้ยังเหมือนเดิมอีกไม่นานก็เจ๊งเหมือนเดิมโอโจ้ด้วย
อันที่จริงศรชลเป็นการช่วยประเทศทำมาค้าขายมากกว่าท้ารบเขาไปทั่วนะ เพราะคุณจะขนของไปขายต่างประเทศยังไงก็ต้องใช้เรือล่ะฟระ ถ้า "เส้นเลือดใหญ่" โดนโจรสลัดแห่งเกาะโลซิ่นปล้นเอาบ่อยๆมันก็ไม่ไหวนา อ่านในข่าวไม่มีอะไรใหม่เลยแต่ภาพประกอบมันชวนเรียกแขกเท่านั้นเอง
ดีนะเจ๊แตงไม่ไ่ด้เล่นเว็บนี้ เหมือนแกจะแกมีความหลังกับ911 ฮ่าๆๆๆ
ดูกันยาวๆนะครับ ของแบบนี้ คนเห็นด้วยย่อมมีคนไม่เห็นด้วย
แต่ที่น้ากลัวที่สุดคือ กลัวกลุ่มการเมืองจะ Anti น่ะครับ ยิ่งการเมืองเราไม่เสถียรนิดนึง(ขออภัยทุกท่านด้วยที่พาดพิงการเมือง)
ผมว่าอย่างน้อยๆ ก็น่าจะลดเรื่องโจรสลัดได้พอตัวเลยละมั้งครับ(มั้งนะ)
มันต้องพัฒนาควบคู่กันไปครับไม่ใช่ว่าเน้นทำอย่างได้อย่างหนึ่ง ไม่อย่างนั้นจะเข้าอีหร็อปแบบของฟิลิปปินส์ ก่อนหน้านี้มุ่งพัฒนาประเทศอย่างเดียวแต่ลืมพัฒนากองทัพ สุดท้ายโดนจีนเข้ามารุกพื้นที่เศรษฐกิจที่ควรจะเป็นของตนเอง สุดท้ายก็มาเร่งจัดหาอาวุธกันทีหลังมันก็สายเกินไปแล้ว
ฟิลิปินส์ไม่ได้มีปัญหาเพราะมัวแต่พัฒนาเศรษฐกิจโดยไม่พัฒนากองทัพครับ
ปัญหาคือมัวแต่ทุจริตจนไม่มีตังพัฒนากองทัพ เศรษฐกิจก็ไม่ได้พัฒนาอะไรครับ แย่สุดๆ
ศรชล ไม่ได้จะไปรบกับใครนิครับ รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ออกแนว จับเรือประมงต่างชาติ ที่รุกล้ำน่านน้ำ จับต่างชาติหลบหนี้เข้าเมืองทางทะเล จับของหนีภาษี จับน้ำมันเถื่อน พูดง่ายๆคือเป็นผู้รักษากฎหมายในทะเล
งบฯคนละกอง คนละกระทรวง ถึงทร.ไม่ต่อเรือเพิ่มก็ไม่สามารถย่อยไปเป็นรางรถไฟได้หรอกครับ...ระบบรางคงเป็นภาระของคมนาคมต้องไปหาเงินมาสร้างครับ จะกู้ จะออกพันธบัตรในนามรัฐบาล จะร่วมทุน ก็ว่ากันไป
เรือพาณิชย์ขนส่งสินค้าไทยกับเรือประมงโดนโจรสลัดในช่องแคบมะละกาจู่โจมบ่อยครับ(ดูเหมือนว่าจะหมายหัวเรือประเทศไทยโดยเฉพาะ