ช่วงนี้เรื่องเรือดำน้ำไทยกำลังมาแรง หลังจากที่ ผบ.ทร. ได้ให้สัมภาษณ์ว่าจะปัดฝุ่นโครงการจัดหาเรือดำน้ำอีกครั้ง เมื่อวันกองทัพเรือ 20 พ.ย.57 (มาแรงจริงรึเปล่า ทำไมข่าวเงียบจัง?) เลยขอแชร์เรื่องเกี่ยวกับเรือดำน้ำชุด ร.ล.มัจฉาณุ ที่ครบรอบปลดระวางประจำการในวันนี้เมื่อ 63 ปีที่แล้ว จาก เฟสบุคเพจกองเรือดำน้ำ ครับ
"ถ้ากรุงสยามมีเรือดำน้ำ จะเปนเครื่องป้องกันสำคัญมากหรือจะนับว่าเปนเครื่องป้องกันอย่างดีที่สุดก็ ว่าได้" - กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ 2 มีนาคม 2462
วัน ที่ 30 พฤศจิกายน เป็นครบรอบวันสำคัญอีกวันหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของเรือดำน้ำไทย โดยเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2494 กองทัพเรือได้ปลดระวางประจำการเรือดำน้ำชุด ร.ล.มัจฉาณุ จำนวน 4 ลำ ได้แก่ ร.ล.มัจฉาณุ ร.ล.วิรุณ ร.ล.สินสมุทร และ ร.ล.พลายชุมพล นับเป็นการปิดฉากเรือดำน้ำไทยหลังจากประจำการรับใช้ชาติอยู่เป็นเวลาเกือบ 13 ปี
กอง ทัพเรือได้เริ่มความสนใจในการจัดหาเรือดำน้ำเข้าประจำการตั้งแต่ปี พ.ศ.2453 ในเอกสารโครงการจัดสร้างกำลังทางเรือ พ.ศ.2453 โดยนายพลเรือตรี พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์ นายพลเรือตรี พระยาราชวังสรรค์ และนายพลเรือตรี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสิงหวิกรมเกรียงไกร ได้จัดทำขึ้นถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ และได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้กำหนดให้มีเรือ ส. (สับมะรีน หรือเรือดำน้ำ) จำนวน 6 ลำ และต่อมาในปี พ.ศ.2458 นายเรือโท พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ ได้ทรงจัดทำเอกสารรายงานความคิดเห็นเรื่องเรือ ส. ระบุถึงข้อมูลแนวทางการจัดหาเรือดำน้ำ การใช้งาน และสิ่งสนับสนุนต่างๆ โดยละเอียด
จน กระทั่งเป็นเวลาอีก 20 ปีต่อมา ในปี พ.ศ.2478 กองทัพเรือจึงได้เริ่มการจัดหาเรือดำน้ำ โดยได้ตกลงสร้างเรือดำน้ำจำนวน 4 ลำ จากอู่ต่อเรือมิตซูบิชิโกเบ ประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วย ร.ล.มัจฉาณุ ร.ล.วิรุณ ร.ล.สินสมุทร และ ร.ล.พลายชุมพล ซึ่งกองทัพเรือได้รับมอบเรือดำน้ำ 2 ลำแรก คือ ร.ล.มัจฉานุ และ ร.ล.วิรุณ เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2480 และต่อมากองทัพเรือจึงได้กำหนดให้วันที่ 4 กันยายนของทุกปีเป็น "วันเรือดำน้ำ"
เรือ ดำน้ำทั้ง 4 ลำ เดินทางถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2481 และกองทัพเรือได้ขึ้นระวางประจำการเรือทั้ง 4 ลำ ในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2481 โดยในระหว่างสงครามอินโดจีน หลังจากยุทธนาวีที่เกาะช้างเมื่อปี พ.ศ.2484 เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ได้ทำการลาดตระเวนบริเวณหน้าฐานทัพเรือเรียมของอินโดจีนฝรั่งเศส สร้างความหวั่นเกรงให้กับฝ่ายฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก ต่อมาในระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา โรงไฟฟ้าสามเสนและวัดเลียบได้ถูกทิ้งระเบิดจนไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ และกองทัพเรือได้รับการร้องขอให้นำเรือดำน้ำไปทำการจ่ายกระแสไฟฟ้า ทำให้รถรางในกรุงเทพสามารถวิ่งได้ตามปกติ
อย่าง ไรก็ดี หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ทำให้ไม่สามารถสนับสนุนอะไหล่ให้กับเรือดำน้ำทั้ง 4 ลำของไทยได้ นอกจากนี้หลังจากเหตุการณ์กบฎแมนฮัตตัน เมื่อปี 29 มิถุนายน พ.ศ.2494 ทำให้กองทัพเรือถูกปรับลดโครงสร้างและถูกจำกัดงบประมาณเป็นอย่างมาก โดยกระทรวงกลาโหมได้ลงคำสั่งยุบหมวดเรือดำน้ำเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2494 และกองทัพเรือได้ปลดระวางประจำการเรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ในที่สุดเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2494 นับเป็นการปิดฉากเรือดำน้ำไทยตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ภาย หลังจากปลดระวางประจำการ ตัวเรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ได้ถูกขายให้กับบริษัทปูนซีเมนต์ คงเหลือแต่หอบังคับการ อาวุธปืน และกล้องตาเรือ โดยกองทัพเรือได้สร้างสะพานเดินเรือจำลองเพื่อเป็นอนุสรณ์ ณ พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ หน้าโรงเรียนนายเรือ และที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า จังวัดสมุทรปราการ
ที่มาภาพและข้อมูลจาก:
- เรือดำน้ำกับกองทัพเรือไทย โดย พล.ร.ต.ช่อฉัตร กระเทศ
- 4 กันยายน "วันเรือดำน้ำไทย" โดย พ.อ.อ.รัชต์ รัตนวิจารณ์ (http://rach1968.blogspot.com/2014/09/blog-post_5.html)
เกิดยาก... พอมีแล้ว นำไปใช้ ในทาง ที่ ผิด...คนที่มาจาก เลือกตั้งเลยกลัว...เป็นมานาน..จน เก็บไว้เป็น บทเรียน ทุกสมัย...ตราบใดที่ กฎหมาย ปว... ใช้ไม่ได้ผล... เราต้อง กล้า พูดความจริง กัน... เรือดำน้ำ ไม่ได้แพงอย่าง ที่คิด.. แต่สิ่งที่ยาก คือ การไว้ใจ การเคารพ...การแยกแยะหน้าที่ ออกจากคำว่า พวกพ้อง... ตัดตรงนนี้ออกได้ เราจะมีกองเรื่อดำน้ำ ที่ดีกองหนึ่ง จะเกิดงานให้กับ คนอีกหลายคน...จะเกิดอาชีพที่มั่นคง ให้กับทหารเรือ..../ ส่วนตัวนะครับ...จริง ครับ
ขอทราบข้อมูลเป็นความรู้หน่อยนะครับ (และไม่ได้คิดจะการเมืองนะครับ แต่ถ้าแอดมินเห็นว่าไม่เหมาะสมก็สุดแล้วแต่) คือเมื่อพูดถึงเรื่องเรือดำน้ำ ก็เคยเห็นความเห็นในทำนองเดียวกับท่าน nidoil ประมาณว่าเราเคยมีเรือดำน้ำ และนำไปใช้ในทางที่ผิด กับเหมือนจะชี้นำโยงไปเกี่ยวกับการทำปฏิวัติรัฐประหาร แต่ก็ไม่มีรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งเท่าที่ผมเคยศึกษามาก็มีแต่ ร.ล.ศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเรือปืนหนักที่ทหารเรือในยุคนั้นใช้ควบคุมตัวจอมพล ป. ในเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน และถูกจมลงในแม่น้ำเจ้าพระยาในที่สุด โดยไม่น่ามีความเกี่ยวข้องกับเรือดำน้ำแต่อย่างใด (ส่วนทหารบกก็ใช้รถถังทำรัฐประหารอยู่บ่อยครั้ง ก็ไม่เห็นจะส่งผลกับการจัดหารถถังใหม่)
ส่วนเรือดำน้ำ ถ้านับตามอายุแล้วก็มีอายุ 12 ปีกว่า ในเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน เมื่อปี พ.ศ.2494 ซึ่งภายหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ.2488 (6 ปีก่อนหน้ากรณีแมนฮัตตัน) กองทัพเรือก็ไม่สามารถบำรุงรักษาและเปลี่ยนแบตเตอรี่เรือดำน้ำได้ เนื่องจากไม่สามารถจัดหาอะไหล่จากญี่ปุ่นได้ ทำให้แบตเตอรี่หมดอายุการใช้งานไปนานแล้วและไม่น่าจะสามารถนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์อย่างอื่นได้ ซึ่งเรื่องของการใช้งานเรือดำน้ำผิดวัตถุประสงค์เท่าที่เคยอ่านเจอมา ก็น่าจะเป็นการนำเรือดำน้ำไปปั่นไปแทนโรงไฟฟ้าวัดเลียบในช่วงสงครามโลก และก็ไม่น่าเกี่ยวกับการเกิดโครงการเรือดำน้ำในยุคหลังๆ
แต่ถ้าท่านใดมีข้อมูลมากกว่านี้ก็กรุณานำมาแบ่งปันและช่วยชี้แนะด้วยครับ
ผมก็ไม่เคยได้ยินว่าเอาเรือดำน้ำไปรัฐประหารนะครับ เพราะในทางปฏิบัติเรือดำน้ำทำไม่ได้ครับ ไม่ได้มีปืนใหญ่ระดมยิงฝั่งได้ จรวดสมัยนั้นก็ไม่มี คือไม่สามารถเอามาทำการรัฐประหารทางตรงได้เลยแม้แต่น้อย
ส่วนตัวเข้าใจว่าเป็นการรวมๆ คนที่เก๋ามีอำนาจจริงในกองทัพไทยซึ่งก็คือผบ.ทบ.พยายามจำกัดขนาดกองทัพเรือเพื่อป้องกันการกระด้างกระเดื่อง
แต่พอมาพูดเรื่องนี้มันก็ฟังไม่ขี้นแล้วครับสมัยนี้ เพราะไม่งั้นคงต้องจำกัดเรือผิวน้ำมากกว่านะครับ
ส่วนที่ว่าทำไมรถถังถึงไม่โดนเพราะว่าเอามารัฐประหารทุกครั้งก็คงต้องบอกว่าคนที่ก่อรัฐประหารสำเร็จเขาก็มาจากทบ.เกือบหมด ดังนั้นจะทำการบอนไซตัวเองก็ฟังแปลกๆ อยู่
ไม่มีทางที่ตัวเรือดำน้ำจะทำให้ ทบ หรือ รัฐบาลไหนกลัวหลอกครับ เพราะมันวิ่งบนถนนราชดำเนินไม่ได้ ถ้าจะเอาเรือดำน้ำมายึดอำนาจคงต้องเอาเรือเข้าคลองหลอดมายึดทำเทียบ ถ้า ทบ จะจำกัดกำลัง หรือ เรียกว่า บอนไซ ทร จริง ทำไมให้ขยาย กำลัง นย จาก กรม เป็น กองพล ได้ หรือ ทำไมปล่อยให้ มี ศอ รฟ ที่มี ปืนใหญ่ขนาดกลางได้
แต่เหตุผลที่เรือดำน้ำไม่เกิด เพราะเหตุผลทางการเมือง ในลักษณะที่ถ้ารัฐบาลไหนจะซื้อ เรือดำน้ำจะถูก กลุ่มผู้ไม่ชอบทหาร จะฝ่ายตรงข้ามโจมตีทันที เพราะ
1. เรือดำน้ำเป็นยุทโธปกรณ์ที่ มีราคาต่อหน่วยแพง และการซื้ออะไรแพงๆมักจะโยงไปที่การทุจริต น้ำร้อนน้ำชา
2. การรบทางทะเลของทรไทย หลังจากยุคสงครามอเเชียบูรภาแล้วแทบไม่เป็นข่าว ในขณะที่ ทบ ยังปะทะกับเวียดนามถึงปี 30 และปะทะกับเขมรล่าสุดไม่กี่ปีนี่เอง และการ รบทางบก มีพยานเยอะกว่า ประชาชนเดือนร้อนเยอะกว่า ทำให้คนยอมรับการซื้อรถถังได้มากกว่า เรือดำน้ำ
3. ทร ไม่สามารถอ้างได้ว่า เรือดำน้ำสามารถใช้ช่วยเหลือ ประชาชน เวลาเกิดภัยพิบัติ ช่วยชาวประมง ไล่จับเรือประมงต่างชาติ จับน้ำมันเถื่อน
4. ที่ผ่านมา ใน อดีต เพื่อนบ้านเราไม่มีใครมีเรือดำน้ำ ทำไมไทยต้องมี (ยุค ที่จะซื้อ Gotland) มายุค A206 ประชาชนก็ไม่รู้อีกว่า มาเล มีเรือดำน้ำ
5 สุดท้าย ตลอดการณ์ อ่าวไทยมันตื้นนนนนนนนนนนนนน เรือดำน้ำแล่นไม่ได้ อันนี้ ทร แก้ตัวยังไงก็ไม่สำเร็จ ซักที
ทั้ง5 ข้อจึงเป็นที่มาของการโจมตีโครงการณ์ เรือดำน้ำ จนไม่มีรัฐบาลไหนกล้า อนุมัติ
เรื่อง การเมือง ผมว่า ตัดออกไปได้เลย ไม่ได้เกี่ยวกับ การเมือง เลย
เรือดำน้ำมีการอนุมัติ ครั้งแรก โดยนายกฯ ชื่อ นายบรรหาร ศิลปอาชา แต่ก็ถูกโจมตี เรื่องค่านายหน้า โดยพรรคฝ่ายค้าน โดยมีกลุ่มนายทหารเรือ ให้ข้อมูลโจมตี...
เรือดำน้ำล่าสุด นายกฯ ชื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และ รมว.กลาโหม ชื่อ พล.อ.อ.สุกำพล นั่งรออนุมัติ และรอสภากลาโหม ส่งเรื่อง แต่สภากลาโหมไม่ยอมส่งเรื่อง จนนายกฯ โดนแซว ที่ตอนแรกออกข่าวว่าอนุมัติจัดซื้อเรือดำน้ำ Type-206A แต่กลับกลายเป็น ฮ. แทน
จน พล.ร.อ.กำธรฯ ผบ.ทร. โกรธ ว่ามีปัญหาอะไรกันนักหนา...
คนขัดขา คือ คนของ กลาโหม เอง...ไม่ใช่ คนการเมือง...และไม่เคยมี นายกฯ จากฝ่ายทหาร อนุมัติการจัดหาเรือดำน้ำเลย สักครั้ง...โครงการ เรือดำน้ำ มีการอนุมัติ และรอการอนุมัติจาก นายกฯ ฝ่าย พลเรือน ทั้งสิ้น..
ขอเสนอหนึ่งประเด็นครับ
เป็นไปได้หรือไม่ว่า ความกังวลต่อเรือดำน้ำในทางการเมือง เป็นเพราะ แม้เรือดำน้ำจะไม่ใช่อาวุธที่สามารถยึดอำนาจได้ แต่ก็สามารถพาคนที่ต้องการ "หลบหนี" ไปจากคณะยึดอำนาจได้ง่ายที่สุด หากหลบหนีทางบก ก็ยากที่จะผ่านจุดตรวจต่างๆได้ และถึงทำได้ ก็ต้องใช้เส้นทางไม่ปกติ ซึ่ง "VIP" ที่ต้องการพาหนี อาจเดินทางด้วยไม่ไหว หากเป็นการหลบหนีทางอากาศ คงจะไปไม่รอดเพราะจะถูกตรวจจับได้ง่าย เพราะการขึ้นเครื่องบินก็ต้องมีสนามบิน แค่คุมจุดขึ้นเอาไว้ ก็หนีไม่ได้แล้ว
แต่ถ้าเป็นเรือดำน้ำ หากต้องการจะช่วย แค่พาคนที่ต้องการหนีไปที่ชายทะเลที่ใดก็ได้ แล้วนั่งเรือเร็วออกไปในทะเลตรงจุดที่ได้นัดแนะกันไว้ เรือ ส. ลอยลำขึ้นมารับ แล้วดำหาย เอาคนที่ต้องการไปส่งสิงคโปร์ แล้วต่อเครื่องหนีไปที่อื่นได้
เอ่ นิยายเกินไปหรือเปล่าครับ
http://topicstock.pantip.com/writer/topicstock/W3460177/W3460177.html
บันทึกของคนเดินเท้า
เรื่องของเรือดำน้ำ
เรื่องราวของเรือดำน้ำนั้น ได้รับการกล่าวขวัญถึงกันอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๘ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุที่กองทัพเรือได้มีความประสงค์จะจัดหาเรือดำน้ำ มาเพิ่มเขี้ยวเล็บให้แก่ราชนาวีไทย จำนวน ๒ ลำเท่านั้น
แต่มีทั้ง ผู้ประสงค์ดี และประสงค์ร้าย ตลอดจนผู้ที่รู้น้อยพลอยรำคาญ พากันออกมาให้ความเห็นอย่างมากมายหลายแง่หลายมุม โดยเฉพาะพวกกลุ่มหลัง ที่เห็นว่าประเทศไทยไม่ควรจะมีเรือดำน้ำให้ล้ำหน้าเพื่อนบ้าน ก็จะให้ความเห็นว่าอ่าวไทยนั้นตื้น ดำแล้วอาจจะติดโคลนไม่โผล่ หรือไม่จำเป็นเพราะเราไม่ได้ไปรุกรานใคร หรือว่า เรือดำน้ำที่เคยมีมาแล้ว ก็ไม่เห็นได้ทำอะไร ได้แต่จอดเฉย ๆ จนสนิมแดงอยู่ที่หน้ากรมอู่ เป็นต้น
และไม่ว่ากองทัพเรือในปัจจุบัน จะจัดหาเรือดำน้ำได้สำเร็จหรือไม่ก็ตาม แม้ว่าจะมีเรื่องที่เกี่ยวกับเรือดำน้ำ อย่างชนิดที่มีหลักฐานชัดเจน ลงพิมพ์ในวารสารของทหารเรือ เช่น นาวิกศาสตร์ ของราชนาวิกสภา อยู่อย่างสม่ำเสมอ เกือบจะทุกเดือนกันยายนของทุกปีแล้วก็ตาม
บุคคล ที่ยังไม่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเรือดำน้ำ ก็คงยังไม่รู้อยู่เช่นเดิม เพราะไม่เคยสนใจจะอ่าน และกลับเชื่อตามความเห็นผิด ๆ นั้น อย่างงมงายต่อไป
เรื่องของเรื่องก็คือว่า ผมมีเพื่อนบ้านเป็นทหารเรือดำน้ำอยู่ถึง ๒ คน ตั้งแต่เมื่อหลายสิบ กว่าปีมาแล้ว ท่านทั้งสองนั้นคือ จ่าโท อุทัย สุนทรสิงห์ และ จ่าโท รัตน์ พุ่มพวง ทั้งคู่เป็นทหารเรือดำน้ำ
ท่านแรกประจำเรือหลวงวิรุณ เป็นพรรคนาวินเหล่าปืน ครั้งสุดท้ายมียศเป็นนาวาโท ได้เกษียณอายุ และย้ายภูมิลำเนาไปจากหมู่บ้านของผมนานแล้วด้วย
อีกท่านหนึ่งประจำ เรือหลวงสินสมุทร เป็นพรรคนาวินเหล่าปืนเช่นกัน ยศครั้งสุดท้ายเรือเอก แต่ได้ลาออกจากราชการเมื่อ อายุได้ ๕๑ ปี จนถึงขณะที่ผมชวนคุยเรื่องเรือดำน้ำ ท่านก็ยังแข็งแรงดีอยู่
ท่านได้เล่าถึงวีรกรรมของเรือหลวงวิรุณ ซึ่งจอดอยู่ที่หน้าท่าราชวรดิษฐ์ ในขณะที่เครื่องบินสัมพันธมิตร บินมาทิ้งร่มบรรจุเวชภัณฑ์ที่ท้องสนามหลวง ในตอนปลายสงครามโลกครั้งที่สอง คราวนั้นมีการสั่งพร้อมรบบนเรือ ทางเครื่องบินขับไล่สองลำตัวที่คุ้มกันเครื่องบินทิ้งร่ม จะคิดอย่างไรไม่ทราบ ได้จิกหัวดิ่งลงยิงกราดด้วยปืนกลมายังเรือดำน้ำที่จอดทอดทุ่นอยู่เป็นคู่
เรือของท่านถูกกระสุนปืนของเครื่องบิน ถากลำกล้องปืนสามนิ้วที่หัวเรือ เป็นรอยบากให้เห็นได้ถนัด
ท่านเล่าว่าท่านเป็นนักเรียนจ่าทหารเรือเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗ เรียน ๒ ปี
สำเร็จออกรับราชการ พ.ศ.๒๔๗๙
ได้รับยศ จ่าตรี
และประจำเรือหลวงรัตนโกสินทร์
ท่านได้ออกเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งกองทัพเรือไทยได้สั่งต่อเรือดำน้ำไว้ ๔ ลำ
ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๙
ระหว่างรอเรือก็ได้ฝึกศึกษากับเรือดำน้ำญี่ปุ่น
จน ถึง พ.ศ.๒๔๘๑ เรือดำน้ำทั้ง ๔ ลำจึงสำเร็จเรียบร้อย ให้ทหารเรือไทยลงประจำเรือเพื่อฝึกหัดทั้งบนผิวน้ำและใต้น้ำ รวมทั้งการใช้อาวุธ
ซึ่งมีตอร์ปิโดในท่อหัวเรือ ๔ ท่อ ขนาด ๔๕ ซ.ม.และอะไหล่อีก ๔ ลูก กับมีปืนขนาด ๓ นิ้วตั้งอยู่บนดาดฟ้าหัวเรือกับปืนกลขนาด ๘ ม.ม.อีก ๑ กระบอกด้วย มีทหารประจำเรือประมาณ ๓๐ คน ความเร็วเรือประมาณ ๑๐ น็อต ดำได้ลึก ๖๐ เมตร ดำได้นานประมาณ ๒๔ ชั่วโมง รัศมีทำการไกล ประมาณ ๔๐๐๐ ไมล์
เรือหมายเลข ๑ ชื่อ มัจฉาณุ เป็นชื่อลูกชายของหนุมาณ กับนางมัจฉาในเรื่องรามเกียรติ์
หมายเลข ๒ วิรุณ ซึ่งมาจากชื่อยักษ์วิรุณจำบังในเรื่องรามเกียรติ์เช่นเดียวกัน
หมายเลข ๓ สินสมุทร จากเรื่องพระอภัยมณี
หมายเลข ๔ พลายชุมพล จากเรื่องขุนช้างขุนแผน
ซึ่งต่างก็เป็น ผู้มีฤทธิ์เดชในเรื่องดำน้ำดำดินทั้งสิ้น
เมื่อฝึกจบแล้วทหารเรือไทยก็ได้นำเรือดำน้ำทั้ง ๔ ลำ เดินทางกลับประเทศไทย โดยแล่นบนผิวน้ำตลอดทางและได้แวะที่ใต้หวันก่อน แล้วจึงมุ่งตรงมายังประเทศไทย
ระหว่าง พ.ศ.๒๔๘๑ - ๒๔๘๓ ทหารเรือดำน้ำทั้ง ๔ ลำ ก็ได้ทำการ ฝึกการเดินเรือทั้งผิวน้ำและใต้นำ และการใช้อาวุธตลอดจนยุทธวิธีของเรือดำน้ำ ซึ่งจะทำการฝึกบริเวณเกาะคราม จังหวัดชลบุรี ถ้าถึงฤดูมรสุมก็ย้ายไปฝึกทางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ตอนเกิดยุทธนาวีที่เกาะช้าง เมื่อ ๑๗ มกราคม ๒๕๘๓ ในสงครามอินโดจีน เรือหลวงสินสมุทรจอดอยู่ที่สัตหีบ พอได้รับโทรเลขทราบข่าวการรบ ก็ได้รับคำสั่งให้ออกเดินทางไปยังเกาะช้าง แต่ต้องใช้เวลาทั้งวัน จึงไปถึงยุทธภูมิเมื่อเวลาเย็น ได้เห็นแต่เรือหลวงธนบุรีเกยตื้นอยู่
แต่หลังจากนั้นก็เคยได้ออกลาดตระเวนทางทิศตะวันออก ไปจนถึงอ่าวเรียมฐานทัพเรือของฝรั่งเศส โดยไม่ได้โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำเลย บางครั้งถึง ๑๒ ชั่วโมง ซึ่งนับว่านานที่สุดเท่าที่เคยดำมา แต่ก็ไม่ได้ปฏิบัติการอย่างใด เพราะได้รับคำสั่งว่าญี่ปุ่นเข้ามาไกล่เกลี่ยให้หยุดยิงแล้ว
ขณะที่ทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกในประเทศไทย เมื่อ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ เริ่มสงครามมหาเอเซียบูรพานั้น เรือหลวงสินสมุทรได้จอดอยู่ที่หน้ากรมสรรพาวุธบางนา พอทราบข่าวรัฐบาลไทยก็ตกลงใจ ยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นผ่านประเทศไทยได้แล้ว ตลอดระยะเวลาของสงครามโลกครั้งที่ ๒ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๕ - ๒๔๘๘ เรือดำน้ำก็ไม่ได้ออกไปปฏิบัติการในทะเลหลวงเลย คงอยู่ภายในอ่าวไทยเท่านั้น
จนกระทั่งสงครามสงบลง ประเทศญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม เรือดำน้ำก็ไม่สามารถจะดำน้ำได้ เพราะแบตเตอรี่หมดอายุใช้งาน โดยปกติเมื่อเรือแล่นบนผิวน้ำ เครื่องยนต์ก็จะอัดประจุไฟฟ้า ลงในหม้อแบตเตอรี่ ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นพิเศษเก็บเอาไว้ ถึงเวลาดำน้ำก็ใช้ไฟฟ้าในแบตเตอรี่นั้น เดินเครื่องยนต์ดีเซล แบตเตอรี่ก็เป็นของญี่ปุ่น ประเทศไทยยังทำเองไม่ได้ และไม่สามารถจะหาซื้อได้จากที่อื่น
แม้เมื่อกองทัพไทยได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา ก็ไม่มีการสนับสนุนแบตเตอรี่ ของเรือดำน้ำชนิดนี้อีกด้วย
และ นี่คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้เรือดำน้ำของราชนาวีไทยทั้ง ๔ ลำ ต้องจอดทอดทุ่น อยู่ที่ท่าราชวรดิษฐ์ตลอดเวลา เพราะแม้จะแล่นบนผิวน้ำได้ แต่ก็ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะเรือยาวเพียง ๕๑ เมตร ใช้บรรทุกอะไรก็ไม่ได้ จึงไม่ได้ใช้งาน
จนกระทั่งปลดระวางออกจากประจำการ ประมาณ พ.ศ.๒๔๙๔ แล้วก็จอดอยู่อย่างนั้นต่อไป โดยทาสีกันสนิมไว้อย่างเดียวจนมองดูเหมือนเรือขึ้นสนิม และต่อมาอีกหลายปีจึงได้ขายทอดตลาดเป็นเศษเหล็กไป
แต่มีอยู่ลำหนึ่ง ซึ่งไม่ทราบว่าชื่ออะไร ทางกองทัพเรือได้เก็บหอบังคับการเรือ กับปืนประจำเรือ ไปตั้งไว้ที่หน้าพิพิธภัณฑ์ทหารเรือสมุทรปราการ อยู่จนถึงบัดนี้
ส่วนเรือหลวงธนบุรีนั้น ทางกองทัพเรือกู้ขึ้นมา แต่ซ่อมไม่คุ้มค่า จึงยกหอบังคับการและป้อมปืนหน้า ขึ้นไว้บนบก ที่หน้าโรงเรียนนายเรือสมุทรปราการ เช่นกัน
เรือเอก รัตน์ พุ่มพวง ร.น.นั้น เมื่อพ้นจากเรือหลวงสินสมุทรแล้ว ก็ได้ไปรับเรือหลวงลิ่วลม จากสหรัฐอเมริกา เมื่อกลับมาก็ได้เลื่อนยศเป็นนายทหารสัญญาบัตร ต่อมาได้ย้ายไปประจำเรือหลวงบางปะกง แล้วจึงได้ขึ้นบกไปรับราชการ ที่ฐานทัพเรือสัตหีบ จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้รับเงินเดือนเต็มขั้นชั้นยศเรือเอก และมีวันทวีคูณในฐานะนักดำสิบกว่าปี จึงขอลาออกจากราชการเพื่อรับบำนาญ
กองทัพเรือได้กำหนดให้วันที่ ๔ กันยายน เป็น วันเรือดำน้ำ ซึ่งทหารเรือที่เคยประจำการในเรือดำน้ำทั้ง ๔ ลำ ก็ได้มาพบปะสังสรรค์กันเป็นประจำทุกปี จนถึงปัจจุบัน เรือเอก รัตน์ พุ่มพวง ร.น.ก็ไปร่วมงานด้วยทุกครั้งไม่เคยขาด เพิ่งจะเว้นไปตั้งแต่ ๔ กันยายน ๒๕๓๘ เนื่องจากสุขภาพไม่อำนวย ครั้งสุดท้ายก็ยังได้พบกันประมาณ ๓๐ กว่าคน
สุดท้ายท่านได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรือดำน้ำว่า เมื่อครั้งก่อนนั้นกองทัพเรือตั้งใจจะมีกองเรือดำน้ำทั้งกอง แต่ได้เริ่มจัดหามาเพียง ๔ ลำ เพื่อใช้เป็นเรือฝึกก่อน พอดีเกิดสงคราม
ปัจจุบัน นี้กองทัพเรือก็ควรจะมีเรือดำน้ำอย่างน้อย ๔ ลำเท่าเดิม เพราะเรือดำน้ำไม่ใช่จะเป็นอาวุธในเชิงรุกเท่านั้น แต่ยังสามารถตั้งรับ ป้องกันอ่าวไทยโดยจอดซุ่มอยู่ใต้น้ำที่ไหนก็ได้ ไม่มีใครรู้ตำแหน่งแห่งที่ แต่แม้ว่าจะต้องการเพียง ๒ ลำเท่านั้น ก็ดูเหมือนจะยากเย็นเต็มที มีแต่อุปสรรคขัดขวางตลอดเวลา
ท่านอยากจะเห็นเรือดำน้ำในราชนาวีไทยอีกสักครั้ง แต่ก็คงจะไม่สมปรารถนา
เรือเอก รัตน์ พุ่มพวง ร.น. ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เมื่อ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ อายุประมาณ ๘๐ ปีเศษ.
การศึกษาการมี เรือดำน้ำ ประจำการ เมื่อประมาณ 100 ปี ในเรื่องความจำเป็น และความมีประสิทธิภาพ
โดยได้แบ่ง เรือดำน้ำ ออกเป็น 2 ขนาด คือ ขนาด 200 ตัน จะอยู่น่านน้ำเขตใน และเรือดำน้ำ ขนาด 1000 ตัน จะอยู่น่านน้ำเขตนอก
ซึ่งเป็นการศึกษามองในลักษณะ การรักษาอ่าวไทย จากประสบการณ์การถูกปิดปากน้ำ ร.ศ.112
ผมว่าทุกท่านมีสิทธิที่จะออกความเห็นตามข้อมูล ความคิดและประสบการณ์ของตนเองนะครับ แต่ถ้าทำได้ก็ควรมีข้อมูลหลักฐานประกอบด้วยก็จะดีครับ สิ่งที่ผมเห็นด้วยกับท่าน Nidoil ก็คือ เรือ ส. ไม่ได้มีราคาแพงมากจนเกินความสามารถของไทยที่จะจัดหาเข้าประจำการครับ ตามข้อมูลจาก Worldbank ในปีที่แล้ว (2013) ประเทศไทยเรามีค่า GDP อยู่ราว 387,000 ล้าน USD เป็นอันดับที่ 29 ของโลก จาก 192 ประเทศทั่วโลก
ค่า GDP เราติด 1 ใน 30 ของโลก ซึ่งใน 30 ประเทศนี้ มีแค่เรากับอินโดนิเซียเท่านั้นที่มาจาก ASEAN ประเทศอื่นใน ASEAN ที่มีเรือ ส. มีค่า GDP ต่ำกว่าเราหมด โดยเฉพาะเวียดนาม ค่า GDP อยู่ราว 170,000 ล้าน USD ได้จัดหาเรือไปแล้ว 6 ลำ แต่อย่างไรก็ตามประเทศเราไม่ได้ขาดเฉพาะ เรือ ส. เท่านั้น ยังมีอีกหลายอย่างที่จำเป็นต้องใช้งบฯ แม้แต่ในเหล่าทัพด้วยกันเองก็ตาม..
ส่วนที่ เรือ ส. เกิดยาก ก็เห็นด้วยครับว่ายากจริงๆ ยากจะคาดเดาสาเหตุด้วย แต่ถ้าสาเหตุเป็นอย่างที่ท่าน Nidoil กล่าวจริงๆ ก็ชวนให้นึกถึงเรื่อง บางระจันขอปืนใหญ่กรุงศรีฯ ขึ้นมายังไงไม่รู้ แต่ผมว่าไม่มีใครกลัว เรือ ส. ขนาดนั้นหรอกครับ มันดำลงไป ถึงเวลาหิวข้าวก็ต้องโผล่ขึ้นมาอยู่ดี ว่ามั้ย :)
แต่เรากำลังตั้งอยู่บนความประมาทหรือไม่ ที่ยังไม่มี เรือ ส. ก็เป็นคำถามที่น่าคิด... มีใครบอกได้บ้างว่าอะไรจะไม่เกิดขึ้น เช่น ถ้า 2 ปีก่อนหน้านี้ มีคนมาบอกว่า ไครเมียร์ จะเป็นของรัสเซีย ใครจะเชื่อครับ? หรือย้อนไปหน่อยอย่างเช่น ติมอร์ หรืออิรักบุกคูเวต เรื่องแบบนี้ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่มีใครรับประกันได้บ้าง หรือต้องรอให้มันเกิดก่อนแล้วค่อยจัดหา ผมว่ามันอาจจะช้าเกินไปนิดนึงนะครับ :)
เห็นด้วยครับว่าไม่ใช่เรื่องการเมืองเลย เรื่องราคาก็ไม่ใช่เพราะตอน u206 ถูกยังกับขี้ แล้วที่ประวิตรสะกัดก็ไม่ได้มีเหตุผลที่มีน้ำหนัก แถมยังโม้ว่าเล็งเกาหลี u209 (แล้วทหารเรือเขาพิจารณาแล้วจะเอาแบบนี้ยังไปชะลอแล้วศึกษาใหม่เพื่อ?) ซึ่งก็รู้อยู่ว่าหาเรื่องอู้ชัดๆ เพราะไม่ได้มีความคืบหน้าเลยแม้แต่น้อยในเรื่อง u209 เป็นปีๆ จนคนอื่นเอา u206ไปกินหมด พูดแล้วขี้น ฮา แล้วสุดท้ายเรื่องก็ค่อยๆ เงียบหายไป
เรื่องพาคนหนีออกประเทศก็ไม่น่าจะเกียวอีกเพราะหนีทางอืนง่ายกว่าเยอะครับ จะหนีทางเรือดำน้ำต้องไปขี้นเรือดำน้ำให้ได้ก่อน ลำบาก บ้านเราเมืองเรามีเหตุการณ์พลิกผันทางการเมืองมานับครั้งไม่ถ้วนก็หนีกันได้ทุกครั้ง หลบได้เป็นส่วนใหญ่
ทั้งประวิทย์ทั้งสุกำพลเลยครับ a206 นะ สองรัฐบาล สองรมต กห สองขั้ว ไม่มีใครเอาสักคน
เรื่องการหนีการยึดอำนาจมันมีหลายแบบ ถ้าไล่ตามประวัติศาสตร์นับจากหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง สมัยแรกๆสุดจับตาย ต่อมาเป็นการจับควบคุมตัว ตอนหลังพัฒนามาเป็นการกระซิบเตือนๆกันว่าไปเถอะพี่ ให้เรื่องมันสะดวกๆไม่ยุ่งยาก ฮา
พอเข้าใจแล้วครับ ทีแรกผมก็นึกว่ากระแสต่อต้านเรือดำน้ำเป็นเพราะกลัวกองทัพเรือจะทำรัฐประหารและจับตัวนายกรัฐมนตรีลงเรือดำน้ำดำหายไปซะอีก 55555
แต่ตามความเห็นส่วนตัว มองว่าเป็นเรื่องผลประโยชน์มากกว่าครับ เนื่องจากเรือดำน้ำเป็นอาวุธที่มีราคาสูง (เทียบกันจริงๆ แล้วก็สูงกว่าเรือฟริเกตไม่มาก เพียงแต่เราใช้ของถูกจากจีนจนชิน) และจัดหาในจำนวนน้อย กับมีอายุการใช้งานนานและโอกาสที่จะแบ่งเค้กจัดหาเรือหลายแบบหลายรุ่นเป็นไปได้ยากเพราะติดเรื่องระบบสนับสนุนและการซ่อมบำรุง ทำให้ผู้ที่เสียประโยชน์จากการแพ้โครงการหมดโอกาสไปอีกหลายสิบปี จนเกิดกรณีข้าไม่ได้เอ็งก็อย่าได้ไปเลย และมีการตีป่วนทำให้โครงการล่มมาตลอด
ผมว่าไม่น่าจะเกียวเรื่องราคา หรือเรื่องแบ่งเค้กระหว่างคนรับงาน เพราะอย่างกรณี u206 คิดว่าไม่ได้มีการประกวดนะครับ แค่เยอรมันที่ความสัมพันธ์ทางทหารเรือเราและเขาดีเกิดเสนอมาแล้วเรารับ แต่เ ือกโดนตันตอน ดังนั้น u206 ไม่ได้ฆ่านายหน้าคนไหนหรอกมั้งครับ
เพื่อลดบรรยากาศ เกรงว่าจะออกทะเล ไป การเมือง...
เลยขอ เบาสมอง ด้วย โมเดล เรือดำน้ำชั้น มัจฉาณุ ขนาดสเกล 1/350
ผลิตจาก ประเทศญี่ปุ่น เป็นเรซิ่น
เริ่มจาก การรีวิว โมเดล...ซึ่งสงสัยว่า เขาจะทำ เครื่องยนต์ มาทำไม ? ในเมื่อประกอบเสร็จ ม้นก็ไม่เห็นอยู่ดี...
หรือ เผื่อไว้ สำหรับ มือเทพ ๆ ทำเห็นภายในลำเรือ ?
และเมื่อ เปรียบเทียบ กับ เรือชั้นต่าง ๆ ใน สเกล 1/350 ที่เท่ากัน....
เลยชัก สงสัยว่า...โมเดล มัจฉาณุ สเกล 1/350 จากประเทศญี่ปุ่น เขาทำ โอเว่อร์ สเกล ไปหรือเปล่า ? 5 5 5 5 5
แต่ มุม ถ่าย ก็มีส่วนทำให้ ภาพออกมา ลำหน้า จะใหญ่เกินจริง กับ ลำหลัง เพราะมันมีระยะของ สายตา...ของใกล้ ย่อมเห็นภาพที่ใหญ่กว่า ของไกล...
จาก แบบจำลองของ โมเดล...เมื่อมองมายัง โลกแห่งความเป็นจริง...
ก็พอจะตัดสินใจได้ว่า...U-212 เนี่ยยยย....มันเล็ก กระทัดรัด ประสิทธิภาพ เกินตัว ช่างเหมาะสมกับ สภาพอ่าวไทย เป็นยิ่งนัก...
มิน่า...ทำไม อิสราเอล ยอมเป็น หนี้ เป็น สิน กับ เยอรมัน เพื่อจัดหาเรือดำน้ำชุด ดอลฟิน....ซึ่งก็เป็นแบบเรือดำน้ำ สายพันธ์จาก U-212 เหมือนกัน...
เพราะสภาพน่านน้ำของ อิสราเอล ก็คงไม่แตกต่างจาก อ่าวไทย สักเท่าไหร่....
มองในมุมกลับกัน ผมถึงได้คิดว่าโครงการ 206A ล่มเพราะไม่มีใครได้ค่านายหน้านี่แหละครับ พอไม่มีใครได้ประโยชน์ (นอกจากกองทัพกับประเทศชาติ) ก็เลยไม่มีใครสนับสนุน
กลับมาเรื่องโมเดล เป็นมัจฉาณุจริงๆ ด้วย น่าสนใจนะครับที่เขาทำเรือรุ่นนี้มาจริงๆ แต่น่าจะลองจับมาเรียงแถวเทียบกับรุ่นอื่นทั้งหมดทีเดียวเลย เทียบทีละรุ่นแบบนี้เหมือนเรือมัจฉาณุยืดได้หดได้ ;-)
ผมมองต่างครับ ผมมองว่า หาก กห ส่งผ่านไปที่ ครม พิจารณา ครม ก็ลำบากใจที่จะให้ผ่านเพราะกระแสต้าน จาก ปชช และสื่อต่างๆเยอะ มาก ไม่ว่าจะเป็น เรือดำน้ำเชียงกง ฯลฯ เรียกว่าผ่านไปก็โดนถล่มเละจากฝ่ายตรงข้าม หากครมจะไม่อนุมัติก็เป็นการหักกับกองทัพเรือ จึงจำต้องให้ฝังมันไว้ที่ กห จึงทำให้ สอง รมต ขั่วพรรคการเมืองไม่ให้ผ่าน
เห็นด้วยว่า u212 เหมาะมาก เป็นลำครบเครื่องที่เล็กที่สุดลำนึง ที่สำคัญเชื่อมั่นคุณภาพ
เรื่องครม.กลัวโดนถล่มจากปชช. ผมว่าไม่จริงครับ การสร้างความเข้าใจทำได้ ทีบางเรื่องยังดันทุรังกันได้แบบไม่แอบไม่ซ่อนกันเลย เรื่องกลัวหักกับกองทัพผมก็ว่าไม่ใช่ เพราะถ้าการเมืองไปสั่งให้ กห เบรกเรื่องไว้ มันก็ไม่ต่างกันหรอก เพราะกองทัพก็ไม่ได้กินหญ้า ถ้าเราๆคิดได้กองทัพก็คิดได้ แถมการข่าวเขามีมูลกว่าเราๆที่นั่งมโนกัน
เทียบทุกแบบครับ
ยังขาด A-19 และ Type-209/1400 กับ Type-206A...สงสัย ต้องไป จัดหา มาซะแหล่ะ....
ท่านจูดาส มีเทียบกับ gotland ไหมครับ
นี่คอลเล็กชั่นส่วนตัวป๋าเหรอครับ? ทำไมมันเยอะเหลือเกิน
เก็บสะสมมาครับ...ช่วงที่ เรือดำน้ำ กำลังฮ๊อท...แค่ประกบบางลำ แล้ววางทิ้งไว้เป็นปี แล้วครับ...
ส่วน Gotland มันเป็น เรซิ่น ครับ ราคาค่อนข้างสูง เลยยังไม่ได้ซื้อมา...แต่ตอนนี้ เริ่มหาซื้อแล้วครับ...เพราะ เศรษฐกิจ ช่วงนี้ ไม่ดีเกือบทั้งโลก...
กระทบถึง พวกโมเดล พวกนี้ ด้วยครับ...เว๊ปขาย โมเดลเรือชั้นนำ ทะยอยปิดตัวเองลง ไปเรื่อย ๆ...ผสมกับอายุคนผลิตโมเดล เรซิ่น ก็มากขึ้นเรื่อย ๆ...อนาคต น่าจะค่อย ๆ หายไป...เลยต้องรีบหา เพื่อเป็นของสะสม และจะเป็นของหายากในอนาคต ครับ
อนาคต พวกโมเดลแบบแปลก ๆ ก็คงต้องรอบริษัทฯ พลาสติก ผลิต อย่างเดียวครับ...ซึ่งไม่รู้ว่าจะมาเมื่อไหร่...
ท่าน Juldas จัดหาเข้าประจำการมาไว้แล้ว ผมก็พออุ่นใจแล้วครับ ดูแล้วเหมือน Ming จะมีความสูงใกล้เคียงเรือเรามากที่สุดหรือเปล่าครับ
ท่าน juldas ลองทำแบบนี้ซักลำมั้ยครับ (สุดยอดโมเดลเรือดำน้ำ Type VII C ไปเจอในเนตมา)
เครดิต http://www.dargies.de/Modellbau/BilderU564/u564.html
ท่าน จูดาส รวยนะเนี่ย model submarine กล่องหนึ่งราคาขายอย่างต่ำก็ 1000 บาทขึ้นไป
จากข่าวล่าสุด คือ ทร.ต้องรอไปก่อนครับ งบไม่มีครับ http://www.komchadluek.net/detail/20141215/197730.html
ที่รอคือทั้งเรือดำน้ำและ บ.ขึ้นลงแนวดิ่ง
ความเห็นส่วนตัว บ.ขึ้นลงแนวดิ่งไม่น่าสนใจเท่าไหร่แล้วครับ เพราะถ้าเกิดมีงบจัดหาจริงๆ มันก็จะเป็นเครื่องมือ 3 ที่อายุการใช้งานเหลือน้อยเต็มที เอาเรือดำน้ำมาก่อนจะดีที่สุด ส่วน บ.ปีกตรึงผมว่า F/A-18 มาต่อยอดจาก A-7 จะเหมาะที่สุดครับ ส่วน ร.ล.จักรี น่าจะเป็น ฮ.ปราบเรือดำน้ำแบบ ฟลูออฟชั่นครับ ( ตอนนี้ได้แต่ฝันแบบนี้ครับ)