หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


กองทัพเรือจะผลักดันโครงการเรือดำน้ำอีกครั้งครับ

โดยคุณ : repeatafterme เมื่อวันที่ : 07/12/2014 05:32:12

กองทัพเรือจะผลักดันโครงการจัดหาเรือดำน้ำอีกครั้ง

พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ กล่าวต่อผู้สื่อข่าวในวันกองทัพเรือ เมื่อ 20 พ.ย.57 ว่าได้เสนอแผนพัฒนากองทัพเรือ ซึ่งประกอบด้วยโครงการจัดหาเรือดำน้ำ ต่อ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระหว่างการตรวจเยี่ยมกองบัญชาการกองทัพเรือเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ซึ่ง พล.อ.ประวิตร ได้สั่งการให้กองทัพเรือ ทำการศึกษารายละเอียดความต้องการเรือดำน้ำเพื่อนำเสนอต่อไป

กองทัพเรือมีความพยายามในการจัดหา เรือดำน้ำจำนวนหลายครั้ง นับตั้งแต่ปลดระวางประจำการเรือดำน้ำชุด ร.ล.มัจฉาณุ จำนวน 4 ลำ เมื่อกว่า 60 ปีที่ผ่านมา โดยล่าสุดกองทัพเรือได้เสนอโครงการจัดหาเรือดำน้ำชั้น 206A มือสองจำนวน 6 ลำ (พร้อมใช้ 4 ลำ) เมื่อปี พ.ศ.2553 พร้อมกับได้จัดตั้งกองเรือดำน้ำขึ้นเพื่อเตรียมการรองรับโครงการเรือดำน้ำ ดังกล่าว แต่โครงการได้ถูกต่อต้านและไม่ถูกนำเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี

ต่อมาในปี พ.ศ.2555 กองทัพเรือได้อนุมัติการจัดส่งกำลังพลไปศึกษาความรู้เกี่ยวกับเรือดำน้ำ ณ ต่างประเทศ จำนวนรวม 28 นาย เพื่อเตรียมองค์ความรู้สำหรับโครงการจัดหาเรือดำน้ำในอนาคต และกองทัพเรือได้ทำพิธีเปิดอาคารกองบัญชาการกองเรือดำน้ำอย่างเป็นทางการ เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

http://www.bangkokpost.com/…/…/navy-renews-push-for-sub-plan





ความคิดเห็นที่ 1


เฮ้อ...มาให้ความหวังอีกแล้ว

อย่าเรียกว่าโครการถูกต่อต้านเลย เรียกว่าติดตอหรือถูกสกัดขาดีกว่า

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 22/11/2014 17:54:38


ความคิดเห็นที่ 2


มาผลักดันยุคนี้ คงได้เรือดำน้ำจีนมาแน่ พม่า ยังไม่เอา ถ้า ไทย จะเอา ด้วยเหตุผล มี ดีกว่า ไม่มี ผมว่า ไม่มี ดีกว่า เปลืองเงิน เทียบได้กับ T-69 สุดท้าย สิ่งที่ได้ ก็คือ ปะการังเทียม ในขณะที่ M-41 ยังประจำการอยู่ ตราบเท่าที่ OPLOT จะมีความสามารถมาประจำการได้
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 22/11/2014 18:02:18


ความคิดเห็นที่ 3


ผมว่าจะได้จากประเทศไหนให้ดูว่าทั้ง 25 คน ทร. ส่งไปฝึก ดูงานที่ไหน  ส่วนตัวคิดว่าเกาหลีน่าจะมาแรง อาจเป็น U209  1 ลำก็ได้

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 22/11/2014 19:28:18


ความคิดเห็นที่ 4


ความเห็นส่วนตัวครับ....ว่า ทำไม ผมถึงมองว่า ถ้า กรณี มีการจัดหา เรือดำน้ำ ภายในปี 2559 จะเป็น เรือดำน้ำจาก ประเทศ จีน ครับ...ซึ่งจากเหตุการณ์ปัจจุบันทั้ง เศรษฐกิจ และการเมือง ผมเองก็มองว่า ทร. ยังไม่น่าจะได้รับอนุมัติ การจัดหา เรือดำน้ำ ภายในโดยเร็ว...ยกเว้น มันเป็นกรณีพิเศษ เท่านั้น...

 

 

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/11/2014 07:04:49


ความคิดเห็นที่ 5


กับอีกแนวทางหนึ่ง คือ

การใช้วิธี ทร. เช่า เรือดำน้ำ มาเพื่อฝึกเท่านั้น ซึ่งจะใช้งบประมาณจำนวนไม่มาก...

ถ้าเป็นลักษณะนี้ ตัวเต็ง ก็คงเป็น เรือดำน้ำจากประเทศ สวีเดน...

ลำดับรองลงมา คือ จากประเทศจีน (เคยเกิดขึ้น สมัย รองนายกฯ ชวลิต...เคยเสนอแนวคิดการเช่าเรือดำน้ำ โดยข่าวในขณะนั้น น่าจะเป็น เรือดำน้ำจากประเทศจีน)

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/11/2014 07:10:27


ความคิดเห็นที่ 6


ผมให้น้ำหนักโอกาสเป็นเกาหลี 60%  จีน 30% สวีเดน 10% เหตุผล

     สวีเดนโอกาสน้อยสุดเพราะโครงการเรือดำน้ำใหม่ A26 ล้มไปแล้ว และเพิ่งมีเรือดำน้ำไม่ปรากฏสัญชาติมารุกถึงเมืองหลวง ทำให้ทางสวีเดนคงไม่พร้อมขายหรือให้ไทยเช่าแน่

     จีนโอกาสพอมีหากไทยขาดงบประมาณจริงๆ  แต่ ทร. คงไม่เสี่ยง หากจำเป็นต้องใช้ของจีนคงเลี่ยงไปใช้อาวุธอื่นๆ เช่น เรือผิวน้ำ ฮ. ปราบเรือดำน้ำแทน

     เกาหลีมีโอกาสสูงสุด เพราะ อาจขาย/ให้เช่าเรือเก่าชั้นชางโบโก (U209) เพราะ ถึงแม้จะไม่เก่ามากนักและเกาหลียังมีเรือไม่พอใช้ แต่เทคโนโลยี U209 เก่าแล้ว รุ่นเก่าก็ไม่มี API  แถมว่าผมสงสัยส่งทหารเรือไป 29 คนไปดูงานเรือดำน้ำอะไรตั้งนานสองนานอาจมีข้อตกลงกันแล้วบางอย่างเช่น ลงไปฝึกในเรือจริงๆ แล้วประเมินผลหากเป็นที่พอใจก็ทีมนั้นจะเป็นทหารเรือดำน้ำชุดแรกมากับเรือมือสองลำแรกก็เป็นได้ ทั้งนี้เกาหลีคงวางหมากไว้ว่าหากไทยซื้อลำแรกแล้วต้องมีซื้อเรือลำต่อๆไป อาจเป็น DW1400 ก็ได้  ประการสุดท้ายเป็นเทคโนโลยีเยอรมันที่ไทยต้องการซะด้วย

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 23/11/2014 10:02:54


ความคิดเห็นที่ 7


ถ้า A26 ไม่ล้มนะ ฟ้า ผิวน้ำ ใต้น้ำ สวีเดนหมดเลย น่าจะเชื่อมต่อกันเสียรดีนะครับ

 

เอาความจริง ตอนนี้ส่งไปดูงานที่ไหนก็คงเป็นเรือจากที่นั่นครับ จะเช่าก่อนน่าจะพอเป็นไปได้ที่สุด ต่อไปมีออปชั่นซื้อขาด หรือคืนแล้วสั่งซื้อรุ่นใหม่ก็ว่ากันไป

 

แต่ประเด็นอยู่ที่ตอนส่งทหารเรือไปเรียนนั้น ขั้วอำนาจมันเปลี่ยนแปลงไม่เหมือนเดิม อาจจะมีโอกาสไม่น้อยเหมือนกันที่จะมาจากพี่จีนครับ

โดยคุณ Freedom เมื่อวันที่ 23/11/2014 11:50:52


ความคิดเห็นที่ 8


ผมมองว่า อาจจะมีกรณีที่ 3 สำหรับเรือเกาหลีหรือเรือ ตะวันตกครับ คือ อนุมัติและจัดหา ในรัฐบาลนี้แต่มีการส่งมอบหลังเลือกตั้ง เพราะถ้ารอมีรัฐบาลใหม่ค่อยจัดหา ผมว่าไม่เกิด 

โดยคุณ skysky เมื่อวันที่ 23/11/2014 11:53:44


ความคิดเห็นที่ 9


ประเทศที่เสนอไทยไปแล้วตอนนี้ก็มีแค่

รัสเซียเสนอ Amur,Kilo

จีนเสนอ S20(หรือ Kilo เมด อิน ไชน่า)พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยี

เกาหลีใต้(Daewoo Dw1400t)

ส่วนสวีเดน สเปนยังไม่ได้เสนอ(แต่ก็มีคนบางคนพูดว่าจะเกิดหรือเปล่า)

อย่าให้โครงการจัดหาเรือดำน้ำถูกกลุ่มการเมืองบอยคอตก็แล้วกัน ที่ผ่านมาแห้วมาพ่แแล้ว T_T

โดยคุณ Nakarin เมื่อวันที่ 23/11/2014 14:04:14


ความคิดเห็นที่ 10


รัฐบาลนี้

งบประมาณตอนนี้

ทหารเรือ

เรือดำน้ำจีนมาแน่ๆ ถึงจีนจะเสนอเรือS-20 แต่มีนัยว่าจะได้เรือชั้นซ่ง(039)ปรับปรุงระบบAPIและระบบอำนวยการรบใหม่ ที่เคยเสนอมาแล้วในปี2007

รุ่นนี้สเป็คระบบไปทางยุโรป ใช้เครื่องMTU-16V396 SE8 มาตราฐานเยอรมัน  ตอนนี้น่าจะผลิตโดยบริษัทShanxi Diesel

 

 

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 24/11/2014 09:53:33


ความคิดเห็นที่ 11


ทำไมกระทู้เงียบจังปรกติถ้าเป็นเรื่องเรือดำน้ำมันต้องhotมากกว่านี้หลายเท่าเลยนะ :( ผมแวะมาแสดงความเห็นบ้างดีกว่า อันที่จริงกองทัพเรือไทยเคยส่งคนไปฝึกอบรม(ไม่น่าใช้คำว่าดูงาน)หลักสูตรเรือดำน้ำหลายครั้งแล้วนะ เดี๋ยวกลับมาว่าทีหลังแต่ขอไปเรื่องการฝึกอบรมก่อน

 

แบบแรกสุดมันก็เหมือนกับอบรมword excel นั่นแหละคือมีตั้งแต่ระดับเริ่มต้น ปานกลาง ขั้นสุง ไปจนถึงทดลองใช้งานจริง โดยปรกติก็จะมีเอกชนเปิดอบรมอยู่หลายแห่งถูกบ้างแพงบ้างก็ว่ากันไป ที่ราคาไม่แพงนักก็น่าจะเป็นตุรกีนะครับ กองทัพเรือบังคลาเทศได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรเรือดำน้ำจากตุรกีมาเรื่่อยมาตั้งแต่ปี2004 แล้วในปีที่แล้วนี้เองเขาก็ได้ตัดสินใจซื้อเรือดำน้ำ Type 035G Ming classอายุ20ปีในราคารวมที่204 ล้านเหรียญ นั่นหมายถึงการฝึกอบรมกับการซื้ออาวุธไม่ไ่ด้มาจากแหล่งเดียวกัน

 

รูปแบบที่2ของการฝึกอบรมก็คือได่รับความร่วมมือจากกองทัพเรือประเทศนั้นๆเป็นพิเศษ กองทัพเรือพม่าเริ่มฝึกการใช้เรือดำน้ำแล้วที่ประเทศปากีสถานในปีที่แล้ว โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทัพเรือปากีสถาน มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เพื่อจำลองการฝึกอบรมการดำน้ำ/การขับเคลื่อน/การใช้โซนาร์ ด้วย Agosta-90 BS เรือดำน้ำชั้น Khalid โดยหวังว่าในอนาคตกองทัพเรือพม่าจะซื้อเรือดำน้ำของตัวเองไปประจำการ แต่ข่าวในปีนี้ก็คือพม่าสนใจเรือดำน้ำกิโลของรัสเซีย2ลำ FBกองทัพเรือพม่า(น่าจะไม่แท้)บอกว่าภายในปีหน้าจะได้รับเข้าประจำการแล้ว

 

รูปแบบที่3ก็คือทั้งเอกชนและรัฐบาลประเทศนั้นๆร่วมมือกันเพื่อขายของ มาเลเซียซ์้อเรือดำน้ำเก่าของฝรั่งเศส1ลำมาใช้ฝึกในช่วงแรกๆก่อนจะซื้อเรือดำน้ำใหม่เอี่ยมราคาแพงจากเอกชนฝรั่งเศสจำนวน2ลำในเวลาต่อมา รู็สึกว่าดีลนี้จะตรงเผงที่สุดแล้วแฮะ ยิ่งกว่าสิงคโปร์ที่ใช้เรือดำน้ำมือ2สวีเดนมาแล้ว2รุ่น แต่สุดท้ายก็เลือกเรือดำน้ำใหม่เอี่ยมจากเยอรมันมันเสียแบบนั้น

 

 อบรมจากเรือแบบหนึ่งแต่สุดท้ายเลือกเรืออีกแบบหนึ่งจะมีปัญหามากไหม คงต้องถามท่านกับตันนีโมอีกแล้วเพราะผมไม่มีความรู้ (ไอ้ที่เขียนไปทั้งหมดถ้าปล่อยไก่ไปบ้างอย่าว่ากันนะ) มันก็เลยโยงมาถึงกองทัพเรือไทยที่เคยส่งคนไปอบรมหลักสูตรในเยอรมันและเกาหลีใต้มาแล้วถ้าจำไม่ผิด พิจารณาจากเพื่อนบ้านที่มีความมั่นคงทางการเมืองแล้วแต่ก็ยังไม่แน่นนอน ผมสรุปได้ว่าเรือดำน้ำของเรายังพลิกได้อีก8ตลบครับ โดยส่วนตัวถ้าเรือใหม่ไม่เชียร์ใครเลยเพราะไม่เข้าตาซักลำ  ยังคงอยากได้เรือมือ2ของสเปนหรืออิตาลีที่เขากำลังจะปลดประจำการไว้ฝึกไปก่อนซัก1ลำแล้วค่อยถอยป้ายแดงรุ่นใหม่ที่แจ่มกว่านี้ในอนาคต

 

http://www.thaifighterclub.org/webboard/18937/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8--Type-035G-Ming-class-.html

 

http://www.thaifighterclub.org/webboard/17882/%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%9D%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7.html

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 24/11/2014 15:28:28


ความคิดเห็นที่ 12


ยิ่งอ่าน ก็ยิ่งเสียดาย ดีล เรือเยอรมัน u206a ได้ตั้ง 6 ลำ ในราคาไม่แพง ถ้าจำไม่ผิดตอนนั้นกองทัพเรือ จะใช้วิธีโยกงบประมาณของตัวเองด้วยซ้ำ เท่ากับรัฐไม่ต้องเสียงบประมาณเพิ่มแต่อย่างใด ตอนนั้นเบื่อการเมืองจริงๆ

โดยคุณ tommy เมื่อวันที่ 24/11/2014 15:48:31


ความคิดเห็นที่ 13


ท่านใดพอมีข้อมูลเรือแต่ล่ะรุ่นว่ามีสมรรถนะอย่างไรมาเปรียบเทียบให้สมาชิกได้ศึกษาบ้างครับ
โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 24/11/2014 21:18:02


ความคิดเห็นที่ 14


ข่าวดีครับ ก้าวแรกเริ่มแล้ว แต่จะสำเร็จหรือเปล่า จะเป็นรุ่นไหนก็ยากจะเดาได้ครับ ต้องคอยเชียร์คอยลุ้นกันต่อไป สำหรับคำถามของท่าน Rayong ผมเคยทำตารางไว้กระทู้หนึ่ง แต่ไม่รู้อยู่ไหนแล้ว จำไม่ได้ด้วยเอาไว้ไหน ก็ขอร่วมปันข้อมูลใหม่และออกความเห็นตามความเข้าใจส่วนตัวนะครับ สมาชิกท่านอื่นๆ ถ้ามีข้อมูลอะไรก็มาเล่าสู่กันฟังนะครับ

พูดถึงประเภทของ เรือ ส. ผมว่าน่าจะแบ่งได้หลายแบบ เช่น เรือแบบใช้พลังงานนิวเคลียร์ หรือ เรือแบบใช้เครื่องยนต์ดีเซลไฟฟ้า แต่ที่น่าจะมีประโยชน์กับเราตอนนี้ ก็คงเป็นแบ่งตาม Generations คล้ายกับเครื่องบินขับไล่นั่นล่ะครับ สำหรับ เรือ ส. ล่าสุดน่าจะเป็น Generation 4 (ส่วน Gen 5 เห็นรัสเซียเพิ่งจะเริ่มๆ ทดลอง) ที่นี้มาดูว่า Gen4 มีสาวงามคนใดบ้าง

เรือ ส. Gen4 เท่าที่ผมทราบก็น่าจะ เช่น  1) U214, 2) Amur 1650, 3) A26 (เห็นว่ากำลังเสนอขายให้ออสเตรเลีย), 4) Scorpene (เดาว่าอยู่ใน Gen4)

ส่วน เรือ Gen 3 ที่น่าจะคุ้นกันดีก็พวก 1) U209, 2)(Silent deadly) Kilo, 3) A19, 4) Song/Type039

แล้วก็อาจจะมีพวกนอกเหนือจากนี้ ผมขอเรียกว่า เรือ Gen 3.5 คือ ออกแบบใหม่แต่ใช้พื้นฐาน เรือ Gen 3 แต่ก็ยังไม่ทันสมัยเท่า Gen4 เช่น DW1400T, S20 อะไรทำนองนี้นะครับ :)

สำหรับรุ่นใดเหมาะที่สุด ก็คงต้องเดาใจ ทร. และผู้เกี่ยวข้องครับ แต่ส่วนตัวคิดว่ารุ่นไหนจะเหมาะก็คงต้องดูว่า เราจะเอา เรือ ส. ชุดนี้มาใช้ทำอะไรเป็นหลักนะครับ จริงๆแล้วอาวุธทุกชนิดก็ใช้ได้ทั้งรุกและรับนะครับแต่เราจะใช้เรือ ส. ชุดนี้ เพื่อรุกหรือเพื่อรับเป็นหลัก ถ้าจะใช้เพื่อการรุก ผมว่าเรือคงต้องใหม่ล่าสุด อุปกรณ์คงต้องทันสมัยที่สุด เพราะจะเอาไปบุกบ้านเขา แต่ก็คงได้ลำสองลำเท่านั้น (หมดงบ) แต่ถ้ามุ่งหวังเพื่อรับเป็นหลักก่อนสำหรับเรือชุดนี้ และจะใช้การรบแบบบูรณาการณ์กับเรือผิวน้ำ ตั้งรับแถวบ้านเราเอง ผมว่าอาจไม่จำเป็นต้องใหม่ล่าสุดก็ได้ แต่ต้องมีจำนวนที่เพียงพอทั้งสองฝั่งทะเล โดยเฉพาะอันดามัน ลองหันไปมองมีแต่เซียนเรือ ส. ทั้งนั้นเลยครับ

ผมเคยอ่านเว็บไซต์ของเพื่อนบ้านเกี่ยวกับเรื่อง เรือ ส. บางทียังเห็นบ่นกันอยู่ว่า งบประมาณที่ไม่ต่างกันมาก เขาได้เรือ Scorpene 2 ลำ แต่อีกประเทศได้ Kilo 6 ลำ เขาก็ยังคงต้องอธิบายกันต่อไปนะครับ (ผมก็ไม่แน่ใจว่างบฯไม่ต่างกันมากจริงรึเปล่า) ส่วนเราถ้าจะเน้นจำนวนและการถ่ายทอดเทคฯ ขั้นสูง ผมว่า Gen3 หรือ 3.5 น่าจะดูมีโอกาสมากกว่า เพราะ Gen4 น่าจะยังไม่ปล่อยเทคฯ ง่ายๆแน่ครับ แต่ถ้าได้ Gen4 ด้วย ถ่ายทอดเทคฯขั้นสูงด้วยก็สมบูรณ์แบบเลยครับ... ทั้งหมดก็มาช่วยกันคิดแบ่งปันความเห็นกันนะครับ ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยนะครับ :)

โดยคุณ Oversea เมื่อวันที่ 28/11/2014 06:50:26


ความคิดเห็นที่ 15


Silent Deadly Kilos

โดยคุณ Oversea เมื่อวันที่ 28/11/2014 06:54:05


ความคิดเห็นที่ 16


ความเห็นส่วนตัว นาน ๆ ๆ  ๆ ๆ ๆ มากแล้วครับ

พอดีมี สมาชิกไปโพสให้ postjung

ระวางเรือ น่าจะมีผลในระดับความลึก สำหรับ อ่าวไทย

ถ้าดูถึง คุณสมบัติแล้ว เรือฝั่ง เยอรมัน หรือ สวีเดน หรือ เกาหลีใต้ ดูจะเหมาะสม มากที่สุด

http://board.postjung.com/571695.html

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/11/2014 08:21:35


ความคิดเห็นที่ 17


ข้อมูลเก่า เคยทำไว้นานแล้วครับ ช่วงปี 2549 ที่ ทร. จัดทำแผนพัฒนากองทัพระยะ 9 ปี โดยกำหนดคุณสมบัติการจัดหาเรือดำน้ำไว้ ตามบันทึกที่ 9

 



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/11/2014 09:17:24


ความคิดเห็นที่ 18


แผ่นภาพนี้ การจัดหาเรือดำน้ำของ ทร. จัดทำช่วงปี 2554

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/11/2014 10:41:13


ความคิดเห็นที่ 19


เรื่องอาเซียนตอนนี้จะข่มเพื่อนบ้านต้องคุยเรื่องบอลครับ ฮา

คิดว่าดีลมาเลเซียมีการทุจริต แต่ถึงไม่มีราคาอาวุธปกติรัสเซียก็ต่ำกว่าอยู่พอสำควร (แต่เครื่องบินนี่เห็นลูกค้าที่ซื้อไปสั่งกราวนด์หลายรอบจัง หลายประเทศด้วย)

เรื่องถ่ายทอดเทคโนโลยีผมว่าทร.ไม่หวังหรอกครับตอนนี้ ขอแบบเบสิคๆ มาไม่ต้องลีลามาก ขอให้ได้ไว้ก่อน อย่าลืมว่าเราขาดหายไปนานมาก จนเกือบจะกลายเป็นไม่เคยมีมาก่อน แต่ทร.อาจใส่เรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปเพราะเดี๋ยวโดนด่าว่า เอะอะๆก็ซื้อ...เอะอะๆก็ซื้อ...

 

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 28/11/2014 10:43:54


ความคิดเห็นที่ 20


วันนี้ขออนุญาตนำเสนอข้อมูลตัวเต็งอีกลำบ้างนะครับ ก็คือ เรือชั้น Song จากจีน ที่คิดว่าเป็นตัวเต็งลำหนึ่ง ก็เพราะเราเคยเกือบจะซื้อแล้วเมื่อปี 2007 และหลังๆมาก็จะมีสองประเทศนี้แหละ ที่นำเสนอสินค้า ราคาและออปเซต ได้โดนใจ ทร. ที่สุด จนเป็นคู่ชิงดำกันเสมอ ก็ดูได้จากดีลเรือฟริเกตล่าสุดของเรานะครับ

เรามารู้จักกับ เรือชั้น Song กันครับ สำหรับเพื่อนๆ ที่ยังไม่มีเวลาหาข้อมูลจะได้มีไว้พิจารณากัน (ข้อมูลไหนผิดพลาดหรือไม่ชัดเจน ช่วยเสริม ช่วยแก้กันด้วยนะครับ)

เรือ ส. ชั้น Song ถูกตั้งชื่อตาม ราชวงศ์ซ่ง ของจีน ซึ่งปกครองจีนอยู่ราว 300 ปี ในช่วง คศ. 960-1279 ว่ากันว่า ในยุคราชวงศ์ซ่งนี้ ได้มีการค้นพบวิธีการใช้ดินปืนและเข็มทิศเป็นครั้งแรกด้วย (Wikipedia)

รายละเอียดของเรือชั้น Song (Military-today.com)

เรือชั้น Song จัดอยู่ในประเภท เรือดำน้ำโจมตีแบบดีเซลไฟฟ้า ซึ่งเป็นความพยายามออกแบบและผลิตด้วยตนเองของจีน (ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแทน เรือชั้น Ming) และเริ่มเข้าประจำการในปี 1999

ชื่อเรือ Song หรือ Type039

ระวางขับน้ำ 1,700 ตัน (บนผิวน้ำ) และ 2,250 ตัน (ขณะดำ)

ลูกเรือ 60 คน

ดำน้ำลึก 300 เมตร (Wiki)

ความเร็ว ผิวน้ำ 15 knots และ ขณะดำ 22 knots

เครื่องยนต์ดีเซล MTU 6090 hp จำนวน 4 เครื่อง และ มอเตอร์ไฟฟ้า 1 เครื่อง

ท่อยิงตอร์ปิโด 6 ท่อ ขนาด 533 มม. สามารถยิงจรวดต่อต้านเรือผิวน้ำแบบ YJ-82 (Sub C-801) และตอร์ปิโดแบบ YU-4 และ YU-1 รวมทั้งทุ่นระเบิดราว 36 ทุ่น

ระบบอำนวยการ SRW209 และระบบโซน่า H/SQG-04 ของจีน

อย่างไรก็ตาม Song ก็มีข่าวว่าไม่สมบูรณ์ด้านการออกแบบในช่วงแรกๆ คือ รุ่นรหัส Type039 ว่ากันว่ามีเสียงดังเกินไปขณะดำ เพราะว่าตรงหอคอยเรือออกแบบเหมือนเป็นรอยบากแบบขั้นบันได ต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขเป็นรุ่น Type039G และ Type039G1 ซึ่งรวมถึงการทำให้ไม่มีรอยบากขั้นบันไดนั้นด้วย และได้มีการผลิตเข้าประจำการทั้งหมดราว 11-14 ลำ แต่ก็ยังเชื่อกันว่ากองทัพจีนไม่ค่อยพอใจกับ Song เท่าไรนัก ดูได้จากการจัดหาเรือชั้น Kilo ของรัสเซียมาใช้อีกราว 10 ลำ แม้จะผลิต Song ได้แล้ว แต่ผมว่าก็ยังสรุปแน่ชัดไม่ได้ เนื่องจากจีนอาจต้องการเรือ ส. จำนวนมากโดยเร็ว แต่สามารถผลิตเองได้เพียงปีละ 2 ลำเท่านั้น (แหล่งข้อมูลออนไลน์แต่จำไม่ได้) และการจัดหา Kilo อาจเกี่ยวกับการพัฒนาเรือ ส. รุ่นถัดไปคือ ชั้น Yuan ของจีนก็ได้ด้วยครับ นอกจากนี้ เรือชั้น Song เคยมีข่าวเรื่องการส่งออกให้กับประเทศกำลังพัฒนาแห่งหนึ่งแถวอินโดจีน ในปี 2007 ด้วยครับ

ก็เอาข้อมูลมาฝากกันนะครับผมว่าประเทศเราจะจัดหาอะไรก็คงรอบคอบอยู่แล้ว เพราะมีงบฯจำกัด ผลิตภัณฑ์จีนก็มีทั้งดีและไม่ดี พูดแล้วก็นึกถึง เรือหลวงสิมิลันกับเรือหลวงบางปะกง ไปลุยถึงโซมาเลีย และจวรด DTI-1 ขึ้นมาเลย :)

โดยคุณ Oversea เมื่อวันที่ 30/11/2014 05:49:56


ความคิดเห็นที่ 21


สำหรับวันนี้ผมขออนุญาตนำเสนอม้ามืดอีกซักหนึ่งลำนะครับ (ถ้ามีข้อมูลใดผิดพลาดคลาดเคลื่อน ช่วยเสริมช่วยแก้ด้วยนะครับ) นอกเหนือจากเกาหลีใต้และจีน ผมว่าม้ามืดของเราน่าจะเป็น เรือจากรัสเซียคือ (Silent Deadly) Kilo หรือ เจ้าหลุมดำแห่งท้องทะเล แต่ทว่า...วันนี้ผมจะขอนำเสนอ ม้าศึกที่มืดกว่าและเงียบกว่า Kilo หลายเท่า นั่นคือ Amur ครับ

หากแนวคิดของ ทร. คือ การรบทางทะเลเต็มรูปแบบ โดยใช้กองเรือขนาดใหญ่เข้าปะทะกันนั้น เป็นไปได้ยากในยุคปัจจุบัน แต่การปะทะกันตามแนวชายแดนแบบตัวต่อตัว หรือ 2 ต่อ 1 (แบบเงียบๆ ปิดข่าว) มีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่า ดังนั้นการจัดหาเรือ ส. ของเรา อาจจะเน้นไปที่ประสิทธิภาพสูงสุดของเรือก็เป็นได้นะครับ :)

เรือชั้น Amur คือ เรือ ส. Generation 4 รุ่นส่งออกของรัสเซียที่ปรับปรุงจาก เรือชั้น Lada (Project 677) ที่ว่ากันว่ามันคือ เรือ ส. ที่เงียบที่สุดและอันตรายที่สุดรุ่นหนึ่งที่เคยมีการสร้างมา

เรือชั้น Amur ได้ชื่อตาม แม่น้ำ Amur ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดอันดับที่ 10 ของโลก ทอดตัวยาวเหยียดเป็นเส้นแบ่งพรมแดนระหว่างจีนกับรัสเซีย และเป็นที่อยู่ของปลาน้ำจืดที่ว่ากันว่าใหญ่ที่สุดในโลกคือ เจ้า Kaluga ซึ่งเจ้าปลายักษ์นี้อาจมีความยาวมากสุดได้ถึง 20 ฟุต และหนักสุดได้ถึง 1,500 กก. (Wiki)

เรือชั้น Amur/Lada ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อทดแทนเรือ ส. Gen3 ชั้น Kilo ซึ่งเรือรุ่นใหม่นี้ถูกออกแบบมาให้ปฏิบัติการได้ทั้งทะเลตื้นและลึกในทุกสภาพอากาศ และที่สำคัญเน้นความเงียบและการตรวจจับได้ยากเป็นประเด็นหลักในการออกแบบ โดยทางรัสเซียกล่าวว่า เรือรุ่นนี้มีการเคลือบตัวเรือแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการลดการตรวจจับของ Sonar เป็นพิเศษ รวมทั้งลดการปล่อยเสียงต่างๆ ออกจากตัวเรือ และเรือยังมีระบบ Sonar รุ่นใหม่ประสิทธิภาพสูง ซึ่งสามารถใช้ตรวจจับเสียงที่เบากว่าและไกลกว่าเรือ Gen3 หลายเท่า

อีกทั้งยังติดตั้งระบบอำนวยการรบรุ่นใหม่ (Litiy) และมีความสามารถในการจัดการกับหลายเป้าหมายในเวลาเดียวกัน โดยการใช้ Missiles (Club-S ระยะทำการ 300 กม.) และ Torpedoes… พร้อมทั้งมีระบบป้องกันตนเอง โดยใช้ Electronic Support Measures (ESM) (จาก naval-technology.com) เรือมีระยะเวลาปฏิบัติการที่นานและปฏิบัติการได้ไกล ทำให้มันอันตรายมากขึ้นกว่าเรือ ส. (ดีเซลไฟฟ้า) ที่เคยมีการสร้างขึ้นมา

ระบบ AIP แบบเซลพลังงานออกซิเจน-ไฮโดรเจน ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะติดตั้งหรือไม่ เพื่อเพิ่มระยะเวลาในการดำให้นานขึ้น จาก 15 วัน เป็น 45 วัน (จาก naval-technology.com) และที่สำคัญยังสามารถติดตั้งแท่นยิงจรวดแนวดิ่ง (VLS) ได้ด้วย (จาก deagel.com) หากมีความต้องการครับ :)

เรือ Gen4 นี้ได้เข้าประจำการใน ทร.รัสเซีย แล้ว 1 ลำ เมื่อปี 2010 คือ เรือ Saint Petersburg แต่อย่างไรก็ตามว่ากันว่ามีปัญหาเช่นกัน เมื่อปลายปี 2011 โดยหลังการทดสอบ ทร.รัสเซีย เห็นว่าเรือมีประสิทธิภาพไม่ถึงเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เพื่อเข้าประจำการ ทำให้ต้องหยุดการผลิตไปช่วงหนึ่ง แต่ในช่วงกลางปี 2012 ก็ได้เริ่มผลิตและแก้ไขแบบอีกครั้งหนึ่ง ณ อู่ต่อเรือ Admiralty Shipyard เมือง Saint Petersburg และกำลังอยู่ระหว่างการต่อเรืออีก 2 ลำ โดยรัสเซียมีแผนจะต่อเรือชั้นนี้ทั้งหมด 8 ลำ เพื่อทดแทนเรือชั้น Kilo และขณะนี้อินเดียและจีนกำลังมีข่าวจัดหา Amur กันอย่างเอาจริงเอาจังกันทีเดียวครับ :)

Amur 1650



โดยคุณ Oversea เมื่อวันที่ 04/12/2014 19:48:32


ความคิดเห็นที่ 22


แล้ว Amur 950  ล่ะครับ น่าสนใจไหม  ผมว่ามันเล็กกว่า Amur 1650  จึงน่าจะเหมาะกับระดับความลึกของอ่าวไทยมากกว่า แต่มีข้อเสียที่ระยะทำการ กับระยะเวลาที่ดำน้ำที่น้อยไปนิด ครับ   โดยถ้าหากเลือก Amur 950  ก็น่าจะเจรจาลดจำนวนท่อยิงแนวดิ่งจาก 10 เหลือสัก 6 ท่อ  แล้วเอาที่ว่างสำหรับติดตั้ง AIP  ขนาดเล็กๆ   โดยในระยะที่ 1 อาจจะซื้อมาสัก 2 ลำก่อน พ่วงด้วยการข้อเสนอสินค้าต่างตอบแทนกับทางรัสเซีย เช่น ไก่สดแช่แข็ง  ผลไม้กระป๋อง  ยางพาราอัดแท่ง แป้งข้าวจ้าว ก็ได้   ตามด้วยระยะที่ 2 หากใช้ดีไม่มีปัญหาก็สั่งซื้ออีก 2-4 ลำ อาจพ่วงด้วยการขอนำชิ้นส่วนมาประกอบในประเทศก็ได้  ซึ่งผมว่าทางรัสเซียน่าจะเจรจาง่ายกว่าประเทศอื่นๆ  

สำหรับเรื่อง link ต่างๆ  อาจจะปรับปรุงในประเทศติด Thai link เข้าไปก็น่าจะเพียงพอในการประสานงานร่วมกับเรือรบ  เครื่องบินรบ ได้

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 06/12/2014 16:45:05


ความคิดเห็นที่ 23


ถ้าได้ Amur ก็เยี่ยมเลยครับ ก็ต้องตามลุ้นกันต่อไปครับ

โดยคุณ Oversea เมื่อวันที่ 07/12/2014 05:25:46


ความคิดเห็นที่ 24


วันนี้มาถึงเต็งหนึ่งของเรากันบ้างครับ DW1400T หรือ U209  จากเกาหลีใต้ครับ :)

ส่วนตัวคิดว่า การจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญมากนั้น ส่วนใหญ่การเมืองระหว่างประเทศเป็นเรื่องที่สำคัญและหลีกเลี่ยงได้ยาก เพราะมันหมายถึง อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทุกอย่างตลอดอายุการใช้งานของยุทโธปกรณ์นั้น จะเป็นรายได้ของประเทศผู้ขายและเครือข่ายทั้งหมด (ถ้าไม่ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยี) และยังอาจหมายถึง ประเทศผู้ขายจะมีอิทธิพลที่เหนือกว่าของประเทศผู้ซื้อได้ด้วย เช่น จะอนุญาตให้ทำการอับเกรดหรือไม่ หรือจะขายอะไหล่ เครื่องกระสุนหรือ Missiles ให้หรือไม่อีกด้วย ล่าสุดนี้เราได้เริ่มเรื่องรถไฟความเร็วเกือบสูงกับจีนไปแล้ว ถ้าเราตกลงเลือกจัดหา เรือ ส. จากจีนหรือรัสเซียอีกครั้ง ผมว่าฝ่ายตะวันตกก็อาจจะงอนเราบ้างไม่มากก็น้อยครับ แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่า ขณะนี้เรากำลังพึ่งพิงอิทธิพลทางฝั่งไหนมากกว่ากันอยู่ และมันเอียงไปฝั่งใดฝั่งหนึ่งอยู่หรือไม่ แต่อยากให้เป็นกลางเข้าไว้ เพราะน่าจะเหมาะกับเราที่สุดครับ

กลับมาที่เรื่องเรือกันต่อครับ เรือ DW1400T ตัวอักษร DW น่าจะมาจากคำว่า Daewoo คือชื่อของอู่ต่อเรือที่ออกแบบเรือรุ่นนี้ อู่นี้มีชื่อเต็มว่า Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering (DSME) ตั้งอยู่บริเวณอ่าว Okpo บนเกาะ Geoje ทางตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งก็กำลังต่อเรือฟริเกตให้เราอยู่นั่นล่ะครับ ส่วน 1400 น่าจะเป็นระวางขับน้ำ 1400 ตัน ส่วนตัว T ข้างหลังน่าจะเป็นรหัสอะไรซักอย่างครับ ไม่แน่ใจอาจเป็นชื่อประเทศ เช่น Tibet หรือ Tunisia

เรือ DW1400Tเป็นเรือใหม่ของเกาหลีใต้ที่ยังไม่เคยสร้างใช้งานมาก่อน แต่มีพื้นฐานการออกแบบมาจาก U209 ชั้น Chang Bogo ที่เกาหลีใต้ซื้อลิขสิทธิ์ จากเยอรมันไปต่อใช้เองหลายลำแล้ว เรือ DW1400T จึงน่าจะมีลักษณะใกล้เคียงกับ U209 ชั้น Chang Bogo ของเกาหลีใต้ ก็เลยขอเทียบเคียงนำเสนอข้อมูลของ เรือ U209 แก้ขัดไปก่อนครับ สำหรับท่านที่ยังไม่มีเวลาหาข้อมูลครับ

เรือ U209 หรือที่หลายครั้งถูกเรียกว่า เรือดำน้ำมาตรฐาน เพราะมักถูกนำไปใช้เป็นเกณฑ์เปรียบเทียบกับเรือรุ่นใหม่ๆ ว่าเรือใหม่นั้นดีกว่าหรือด้อยกว่า U209 อยู่เสมอ การที่จะได้ชื่อว่าเป็น เรือมาตรฐานนั้น โดยทั่วไปแล้วก็ต้องเป็นเรือที่ได้รับความนิยมมากที่สุด และมีการจัดหาเข้าประจำการอย่างแพร่หลายมากที่สุดทั่วโลกด้วยครับ

U209 คือ เรือ ส. รุ่นส่งออกของเยอรมัน ซึ่งพัฒนาแบบมาจาก เรือ U205/206 โดย U209 ได้รับความนิยมอย่างมากและเริ่มมีการส่งออกตั้งแต่ต้นยุค 70 ซึ่งลำแรกต่อให้กับกรีก ปัจจุบันได้ผลิตไปแล้วทั้งสิ้นราว 60 ลำ ให้กับ 14 ประเทศทั่วโลก ล่าสุดผลิตให้กับโปรตุเกส และส่งมอบไปเมื่อ 2010 นี่เองครับ… เรือมีหลายขนาดให้เลือก เช่น 1100, 1200, 1300, 1400 และ 1500 ตัน :)

เรือ U หรือ U-boat ย่อมาจากคำเต็มภาษาเยอรมันคือ Unterseeboot แปลว่า เรือใต้น้ำ/เรือดำน้ำ

เรืออูของเยอรมันมีประวัติโชกโชน โดยเฉพาะในสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นอาวุธหลักอันหนึ่งของกองทัพเยอรมัน ว่ากันว่าฝ่ายพันธมิตรใช้เวลาอยู่นานเพื่อรุมปราบเรืออู และเมื่อจำกัดอำนาจของเรืออูลงได้ ก็นำไปสู่การยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี และปราบกองทัพเยอรมันได้ในที่สุด นี่แหละครับคือ พลานุภาพของกองเรือดำน้ำ

สำหรับประวัติ เรือ U209 โดยตรงนั้น ก็น่าจะเป็นในสงครามฟอล์คแลน ในยุค 80 ระหว่างอังกฤษกับอาร์เจนตินา โดยอาร์เจนตินามีเรือ U209 ขนาด 1200 ตัน ชื่อ San Luis ที่ใช้ปฏิบัติการได้เพียงลำเดียวในขณะนั้น แต่ได้สร้างความปั่นป่วนอย่างมากให้กองเรืออังกฤษและเกือบจะจมเรืออังกฤษได้หลายครั้ง แต่โชคดียังเป็นของอังกฤษ (แต่อาจเป็นโชคไม่ดีของอาร์เจนตินา) ที่ระบบตอร์ปิโดของ San Luis เกิดขัดข้องไม่ทำงาน นี่แหละครับ พลานุภาพของเรือดำน้ำหนึ่งลำ

ส่วน DW1400T ของเกาหลี ดูเหมือนจะเป็นเต็งหนึ่งของเราตอนนี้ ซึ่งก็อาจจะเป็นข้อดีก็ได้ครับ เพราะเราน่าจะได้รับการถ่ายทอดเทคฯ สร้างเรือในประเทศด้วย (อ้างอิงจากกรณีอินโดนิเซีย) และถ้าเป็นไปได้ก็อาจติดตั้งระบบของ U214 รุ่นใหม่เพิ่มเติมเข้าไปบ้าง เช่น ระบบ Sonar, AIP, และอื่นๆ ตามความเหมาะสม เพราะระบบต่างๆ ของ U214 ก็เชื่อกันว่าดีที่สุดในโลกด้วย หรืออาจจะเป็นระบบของ A26 มาโมดิฟายใส่เพิ่มเข้าไปด้วยได้หรือไม่ ซึ่งถ้าทำได้ผมว่าก็น่าจะเพิ่มขีดความสามารถของเรือได้อีกพอสมควร

สุดท้ายถ้าเป็นตัวเลือกนี้ก็อาจจะเป็น เรือ DW1400T จากเกาหลีใต้ แต่ระบบต่างๆ เป็นแบบผสมผสานระหว่างระบบของเกาหลีใต้และตะวันตกขึ้นอยู่กับงบประมาณ ก็เดาล้วนๆ โม้ไปเรื่อยตามเคยครับ ยังไงก็ต้องตามลุ้นกันต่อไป ขอเอาใจช่วยทุกท่านที่เกี่ยวข้องครับ (ผิดพลาดอย่างไร ขออภัยด้วย ช่วยๆ กันไปครับ)....    :)

(ข้อมูลจาก deagel.com/military-today.com) (ข้อมูลด้านล่างเป็นของ เรือชั้น Chang Bogo ครับ)

S Korea AIP


โดยคุณ Oversea เมื่อวันที่ 07/12/2014 05:32:13