หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


มาแล้วกิจกรรมความเคลื่อนไหวของ สทป [ DTI ]

โดยคุณ : 461 เมื่อวันที่ : 20/11/2014 19:56:47

จาก http://www.nationtv.tv/main/content/social/378432589/

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) กระทรวงกลาโหม ทำการยิงสาธิตจรวดขนาด 122 มม.ระยะยิงไกลสุดที่ 10 กิโลเมตร โดยการสาธิตการยิงจรวดจากฐานยิงจรวด 2 แบบคือ

 

1. จากฐานยิงแบบลากจูงติดตั้งชุดท่อยิงแบบ POD จำนวน 20 ท่อยิงโดยการตั้งขาหยั่งควบคุมการยิงด้วยระบบไฮดรอลิกที่สามารถปรับมุมทิศทางการยิงสาธิตจำนวน 2 นัดแบบต่อเนื่องระยะยิง 4 กิโลเมตร 

2. จากรถฐานยิงจรวด DTI1 (มีระยะยิงไกลสุด180กิโลเมตร) ซึ่งเป็นจรวดและรถฐานยิงที่ สทป. ได้ทำการวิจัยพัฒนาทั้งดินขับจรวด หัวรบและพวงหางโดยสาธิตการยิงจรวดขนาด122มม. ที่บรรจุภายในท่อรองในขนาด 302 มม.จำนวนท่อยิงจำนวน 4 นัดแบบต่อเนื่องระยะยิง 4 กิโลเมตร 

 

ณ สนามยิงปืนใหญ่เขาพุโลน ศูนย์การทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี /

ภาพโดย ปราโมทย์ พุทไธสง

 






อันนี้ DTI-1 ยิงด้วยจรวดเล็ก




ความคิดเห็นที่ 1


ส่วนอันนี้ใครรู้บ้างเอยว่าปืนอะไร มีการแสดงการย้ายด้วยปีกหมุนด้วย

 

 


ส่วนนี้ไม่รู้ว่ามีการวิจัยจรวดอากาศสู้พื้นด้วยหรือเปล่า



โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 14/11/2014 20:19:11


ความคิดเห็นที่ 2


ทำไมระยะยิงมันสั้นปานนั้น

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 14/11/2014 21:37:05


ความคิดเห็นที่ 3


ผมว่าอยู่ที่คำนี้ครับ

ทำการยิงสาธิตจรวดขนาด 122 มม.ระยะยิงไกลสุดที่ 10 กิโลเมตร โดยการสาธิตการยิงจรวดจากฐานยิงจรวด

 

น่าจะเป็นการเลือกยิงที่ระยะ 4 กิโลเมตรจากพิสัย 10 กิโลเมตรเท่านั้นมั้งครับ  และมันเป็นการสาธิตด้วยนะ

โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 14/11/2014 22:23:17


ความคิดเห็นที่ 4


ถ้าอ่านตามนั้นเหมือนระยะยิงไกลสุดจรวดแค่ 10 กิโลเมตร (นี่แหละที่ผมว่าสั้น) แต่ทดสอบยิง 4 กิโลเมตร
ดูจากขนาดและความยาวลูกจรวดกับรถยี่สิบท่อนั้น เหมือนมาแทน รสพ 85 ที่ยิงจรวดได้ระยะแค่ประมาณนี้แหละ (จำระยะไม่ได้)

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 15/11/2014 03:49:01


ความคิดเห็นที่ 5


ว่ากันตามแบบ MLRS ระยะสั้นไม่เกิน15ก.ม. มีการสร้างและผลิตกันถึงยุค1990 เลยก็ว่าได้

อินโดนีเซียก็พึ่งทดสอบM-51 ขนาด130มม. ในปี2012

 

ของจีนก็มี Type-63 ขนาด107 มม. ติดตั้งบนรถATV

น่าจะเรียกว่าเป็นอาวุธสนับสนุนทางยุทธวิธี น้ำหนักเบา หวังผลทำลายในแนวหน้าได้ดี




โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 15/11/2014 08:27:49


ความคิดเห็นที่ 6


น่าจะเอา GHN 45 มาร่วมฝึกด้วย ผมชอบมากเลยกระบอกนี้ เห็นว่าทหารเขมรกระเจิงเพราะเจ้ากระบอกนี้

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%99-45


โดยคุณ Woot1980 เมื่อวันที่ 15/11/2014 09:40:40


ความคิดเห็นที่ 7


ขอบคุณภาพจาก http://www.thaiarmedforce.com/taf-military-news/58-other-thai-news/78-ds09-dti-missile-program.html

และhttp://www.thaiarmedforce.com/taf-gallery/43-other-thai-photos/717-dti-2-firing-demo.html

 

 

เคยถามแล้วว่าปืนอะไร ดูในภาพนี้คงชัดขึ้นมาก แล้วมีคนรู้ไหมเนี้ยว่าปืนอะไร




โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 15/11/2014 13:25:04


ความคิดเห็นที่ 8


เตรียมตัวก่อนยิง








โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 15/11/2014 13:29:50


ความคิดเห็นที่ 9


ใครคิดว่าตรงไหนต้องเพิ่มเติมไหม ส่วนตัวผมว่าน่าจะใช้สีเดียวทั้งรถน่าจะสวยกว่านะ





โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 15/11/2014 13:32:40


ความคิดเห็นที่ 10


จัดหนักไป  ได้เวลายิงแล้ว ปล.ภาพสวยจริงๆ








โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 15/11/2014 13:37:09


ความคิดเห็นที่ 11


สุดท้ายภาพที่คิดว่าถึงใจสุดคงเป็นเจ้าภาพนี้


โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 15/11/2014 13:38:54


ความคิดเห็นที่ 12


ขอขอบพระคุณภาพจาก TAF อีกครั้งหนึ่งครับ

 

อันนี้เป็นภาพถ่ายใกล้ๆของ ระบบจรวดSAM ของ สทปในอีก 10 ปี ดูไปดูมาทำไมคล้ายๆ Iris-ts จังวะ


โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 15/11/2014 13:43:24


ความคิดเห็นที่ 13


เพิ่มเติมภาพจาก http://dti.or.th/index.php/th/news-dti/new-activity/978-dti-2


โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 19/11/2014 10:34:36


ความคิดเห็นที่ 14


เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 ผ่านมา ถือเป็นอีกหน้าประวัติศาสตร์หนึ่งของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทป. และแวดวงอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย เนื่องจากทาง สทป. ได้ทำการทดสอบและสาธิตการยิงจรวด DTI-2 ขนาด 122 มิลลิเมตรให้กับนายทหารและนักศึกษาจากหลักสูตรต่าง ๆ ของกองทัพได้ชมเป็นผลสำเร็จในวันรวมอำนาจการยิงของศูนย์การทหารปืนใหญ่ ที่สนามยิงปืนใหญ่เขาพุโลน ศูนย์การทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี

 

             DTI-2 เป็นจรวดที่ทำขึ้นด้วยฝีมือของคนไทย 100% โดยใช้เทคโนโลยีส่วนหนึ่งที่ได้รับจากถ่ายทอดเทคโนโลยีในโครงการ DTI-1 รวมเข้ากับประสบการณ์และเทคโนโลยีของนักวิจัย สทป. ที่สั่งสมขึ้นมาใช้ในการออกแบบและทดสอบผลิตจรวด DTI-2 ซึ่งนำมาสู่การทดสอบการยิงดังกล่าว โดยการยิงนั้นทำการยิงจากเครื่องยิงแบบลากจูงซึ่งสามารถติดกระเปาะหรือ Pod ที่บรรจุจรวด DTI-2 ได้หลายนัด แต่ในวันนั้นบรรจุจำนวน 2 นัด และอีกส่วนหนึ่งทำการยิงจากรถยิง DTI-1 ที่ติดตั้งท่อรองในเพื่อทำให้สามารถยิงจรวด DTI-2 ที่มีขนาดเล็กกว่าได้ โดยทำการยิง 4 นัดแบบซัลโว  

           การติดตั้งท่อรองในบนรถยิง DTI-1 จะทำให้รถยิง DTI-1 ที่ปรกติจะใช้ยิงจรวดขนาด 302 มม. ทำการยิงจรวด DTI-2 ขนาด 122 มม. เพื่อใช้ในการฝึก เนื่องจากจรวด DTI-1 นั้นมีระยะยิงที่ไกลมากและมีราคาแพงกว่า แต่ถ้าใช้จรวด DTI-2 ที่มีราคาถูกกว่ามากและมีระยะยิงที่ใกล้กว่าก็จะทำให้กำลังพลสามารถฝึกได้อย่างต่อเนื่องและสมจริงตามวงรอบการฝึกของกองทัพบก  

     เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว จรวด DTI-1 ซึ่งเป็นจรวดขนาดใหญ่ที่มีระยะยิงถึง 180 กิโลเมตรจะถูกใช้งานในระดับยุทธการ ส่วนจรวด DTI-1 ที่มีระยะยิงสั้นกว่าคือ 40 กิโลเมตรจะถูกใช้งานในระดับยุทธวิถี ซึ่งการพัฒนาจรวดทั้งสองแบบนี้นอกจากจะเป็นการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญที่นักวิจัยและนักพัฒนาของ สทป. มีให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว ยังทำให้ สทป. สามารถสนับสนุนกองทัพบกให้มีจรวดทั้งในระดับยุทธวิธีและระดับยุทธการที่สอดคล้องกับภัยคุกคามที่มีอยู่ในปัจจุบันและในอนาคตได้อีกด้วย

        ในส่วนของเครื่องยิงแบบลากจูงนั้น ก็เป็นการพัฒนาโดยนักวิจัยของ สทป. เองเช่นกัน ซึ่งแท่นยิงดังกล่าวสามารถติดตั้งกระเปาะบรรจุจรวด DTI-2 จำนวน 20 ลำกล้องได้ 2 กระเปาะ ทำให้รวมแล้วสามารถยิงจรวดได้ถึง 40 ลูกทีเดียว DTI-2 นั้นจะมีระยะยิงทั้งหมด 3 ระยะคือ 10 กิโลเมตร 30 กิโลเมตร และ 40 กิโลเมตร ซึ่ง สทป. ได้ทำการพัฒนาทั้งในส่วนของดินขับ หัวรบ และชุดพวงหาง และทำการผลิตองค์ประกอบของจรวดในประเทศทั้งหมด ซึ่งในวันรวมอำนาจการยิงที่ผ่านมา จรวดทั้ง 6 ลูกสามารถทำลายเป้าหมายเป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างออกไป 4 กิโลเมตรได้ถูกต้องตามที่คำนวณเอาไว้  

     

 โดยในอนาคต สทป. กับกองทัพบกกำลังจะลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันเพื่อพัฒนาจรวด DTI-2 และนำส่งให้กองทัพบกไปทดลองใช้ ซึ่งรวมถึงการส่งมอบท่อรองในที่ใช้งานในการยิงครั้งนี้ให้กองทัพบกนำไปทดลองใช้ การพัฒนาจรวดระยะยิง 40 กิโลเมตรเพื่อใช้งานกับจรวดหลายลำกล้อง SR-4 ที่กองทัพบกจัดซื้อจากต่างประเทศ และการติดตั้ง DTI-2 บนรถสายพานลำเลียงพล Type-85 ทดแทนจรวดหลายลำกล้องขนาด 130 มม. ที่มีระยะยิงสั้นกว่าอีกด้วย

     

       หลังจากนี้ สทป. จะทำการทดสอบและปรับปรุงจรวด DTI-2 ให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งยังต้องทำการยิงทดสอบอีกเป็นจำนวนมากก่อนที่จะพร้อมผลิตเข้าประจำการต่อไป แต่ผลลัพธ์ที่ได้จากการพัฒนา DTI-2 ด้วยฝีมือคนไทยนั้นเริ่มแสดงให้เห็นแล้วว่า ในวันที่คนไทยสามารถพัฒนาอาวุธเพื่อใช้งานได้เอง ก็จะทำให้ประเทศลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ทำให้กองทัพสามารถใช้งานจรวดที่ผลิตขึ้นได้ในประเทศโดยไม่ติดข้อจำกัดการนำเข้าอาวุธ สามารถประหยัดงบประมาณที่ต้องใช้ในการจัดซื้ออาวุธ และรวมถึงเป็นการสร้างเทคโนโลยีซึ่งสามารถต่อยอดไปยังการพัฒนาจรวดแบบอื่น ๆ ได้ต่อไป

โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 19/11/2014 10:38:05


ความคิดเห็นที่ 15


จากแหล่งเดียวกัน

 

 

 

โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 20/11/2014 19:32:53


ความคิดเห็นที่ 16


ยิง DTI-2 จากรถ DTI-1

บรรยากาศวันงานสั้นๆ

โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 20/11/2014 19:46:30


ความคิดเห็นที่ 17


ยิง DTI-2 จากรถ DTI-1 ภาพจากด้านข้าง คลิปสั้นๆ

โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 20/11/2014 19:48:38


ความคิดเห็นที่ 18


จากสำนักข่าวเนชั่น บรรยากาศวันงานโดยรวม  มีการยิงืนใหญ่อัตตราจรบนรถด้วย

ส่วน DTI ของเราซัลโวตอนท้าย

โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 20/11/2014 19:51:30


ความคิดเห็นที่ 19


จากสปริงนิวส์  ไม่มีอะไรพิเศษ จุดต่างจากคลิปอื่นๆอยู่ที่ การสัมภาษ รอง ผอ. สทป. ในช่วง  1.19

โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 20/11/2014 19:56:47