ผบ.ทอ.เผย จีนส่งนักบินร่วมฝึกสองประเทศ ตามนโยบายกระทรวงกลาโหม ด้านความร่วมมือกับมิตรประเทศ ด้านโฆษก ทอ.ชี้มีอุปสรรคในการสื่อสารต่างภาษา
วันที่ 10 พ.ย. ที่กองบัญชาการกองทัพอากาศ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและรมว.กลาโหม พร้อมด้วย พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม และ ผบ.ทบ.พร้อมคณะเดินทางตรวจเยี่ยม บก.ทอ.โดยมีพล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง ผบ.ทอ.ให้การต้อนรับโดยมีพิธีตรวจแถวกองทหารเกียรติ 3 เหล่าทัพจากนั้นเข้าฟังการบรรยายสรุปการทำงานและอุปสรรคของกองทัพอากาศ
ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ได้เน้นย้ำให้กองทัพอากาศสนับสนุนภารกิจของรัฐบาล และ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) การเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ การมุ่งเน้นการช่วยเหลือประชาชนในเรื่องความเหลื่อมล้ำ สร้างความปรองดอง กับประชาชน พร้อมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน นอกจากนี้ พล.อ.ประวิตร ยังเน้นย้ำความร่วมมือกับมิตรประเทศ โดยเฉพาะการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปี 2558 และช่วยกันนำพากองทัพไปสู่ความเชื่อมั่นและได้รับความไว้วางใจจากประชาชน เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงของชาติ
อย่างไรก็ตาม กองทัพอากาศยังได้แสดงวิสัยทัศน์การมุ่งกองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค โดยเฉพาะในปี 2559-2562 จะทำให้กองทัพอากาศไทยเป็นกองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค One of The best in Asain พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง ผบ.ทอ. เปิดเผยถึงการจัดซื้ออาวุธยุทโปกรณ์ของ ทอ.ว่า เป็นไปตามนโยบายของ รมว.กลาโหม เพื่อให้กองทัพอากาศนำไปสู่ความทันสมัย ส่วนการฝึกระหว่างกองทัพอากาศไทยกับกองทัพอากาศจีนขณะนี้ยังอยู่ในขั้นการเตรียมการ โดยสิ้นเดือน พ.ย.กำลังพลกองทัพอากาศจีนจะเข้ามาร่วมฝึกเพื่อเรียนรู้การฝึกเครื่องบิน ซึ่งยังไม่มีการตั้งรหัสการฝึก เบื้องต้นจะเข้ามาเป็นผู้สังเกตการณ์เป็นนักบินที่ 2 เพราะการฝึกบินได้จะต้องใช้เวลาเรียนรู้ร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ส่วนจะใช้อากาศยานอย่างไรต้องหารือกัน หากใช้เครื่องบินของสหรัฐฯ หรือเครื่องบินกริฟเพ่นของสวีเดน จะต้องแจ้งรายละเอียดไปยังประเทศนั้นๆ เนื่องจากมีข้อกำหนดอยู่
พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร โฆษกกองทัพอากาศ กล่าวว่า การฝึกร่วมไทยกับจีน เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงกลาโหมทั้งสองประเทศ เบื้องต้นให้นักบินจีนเข้าร่วมสังเกตการณ์การบินในที่นั่งหลังจำนวน 4 นาย ซึ่งไม่ใช่การเข้าร่วมทำการบิน ส่วนอนาคตจะฝึกเข้มข้นถึงขั้นทำการบินร่วมได้หรือไม่จะต้องมีการตั้งคณะทำงานร่วมระดับกองทัพไทยและ ทอ.เพื่อพิจารณาเพิ่มกิจกรรมการฝึกในอนาคตที่จะเป็น goodwill visit เพราะการทำการบินได้ต้องสื่อสารเข้าใจก่อนซึ่งขณะนี้ทางจีนยังติดขัดในเรื่องภาษา.
http://www.thairath.co.th/content/462529
ก็คือ เหลือ แบบ. L-39 กับ A-Jet สำหรับ นักบินที่นั่งหลังจาก ประเทศจีน...
ส่วนแบบอื่น ๆ เช่น F-16 กับ Jas-39 ผมว่า ไทย ก็ไม่ควรจะทำ...อย่าไปสร้างความหวาดระแวง โดยใช่เหตุ...
ประเทศจีนเอง ก็มี เทคโนโลยี่ทางการบิน สูงกว่า ไทย อยู่แล้ว...ถ้าต้องการอยากสัมผัส บ.ขับไล่ จากฝั่งตะวันตก...
ก็คงไม่เกินความสามารถของประเทศจีน ที่จะเชื่อมความสัมพันธ์กับ ประเทศต้นกำเนิด บ.ขับไล่ เหล่านั้นได้...
ไม่ควรจะมาเป็น ภาระของ ไทย...ที่จะ กระอักกระอ่วน ใจ...
เห็นด้วยกับป๋าจูลเลย
คือถ้าจะให้เป็นการเชื่อมสัมพันธ์เป็นเชิงสัญลักษณ์เฉยๆมันก็โอแล้ว
ถ้าเข้าถึงความลับหรือข้อมูลเชิงเทคนิคมันจะเกินไป
เคยอ่านในนิตยสารทางการทหารของไทยเล่มนึง เรื่องผลัดกันนั่งหลังผมว่า นักบินรัสเซีย กับ สหรัฐ เคยแลกเปลี่ยนกันนั่งหลังมาแล้วตอนนั้นก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไรนะครับ ยังมีรายวานด้วยซ้ำไปว่า นักบินรัสเซียประทับใจกับระบบการควบคุมของเครื่องบินสหรัฐมาก ในขณะที่นักบินสหรัฐงุนงงกับระบบที่ซับซ้อนของเครื่องรัสเซีย ผมว่ามันก็ไม่แน่นะใช่ว่าจีนจะขึ้นมาสปายเราได้ฝ่ายเดียวซะเมื่อไหร่ เราก็ได้ขึ้นเครื่องเขา แถมเรายังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐ จีนก็น่าจะกลัวสหรัฐมาขอดูข้อมูลเราเหมือนกัน
คงไม่ใช่เรื่องความลับทางเทคโนโลยี่ ระหว่าง ไทย กับ จีน ครับ...
แต่เป็นเรื่องความลับทางเทคโนโลยี่ ระหว่าง สหรัฐ และ สวีเดน กับ จีน ครับ...
ซึ่งก็คงเป็นข้อกำหนด ของ ประเทศผู้ผลิต แหล่ะครับว่า...ห้าม เผยแพร่ (น่าจะคนละอย่างกับคำว่า เปิดเผย) เทคโนโลยี่ใด ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาติ โดยเฉพาะประเทศที่มีผลกระทบกับประเทศเจ้าของเทคโนโลยี่ แหล่ะครับ...
ซึ่ง การได้นั่งหลัง มันเป็นการได้สัมผัส การได้เข้าถึง เสมือนการได้ทดสอบกลาย ๆ น่ะครับ...
ผมก็ไม่ได้หมายถึง ไทยกับจีนนะครับ ผมก็หมายถึงสหรัฐ กับจีนนั่นแหละ
ขอเสริมคุณ GT500 นิดนึงครับ
ตามที่คุณ GT500 ได้บอกว่าเคยอ่านเรื่องการแลกเปลี่ยนกันขับเครื่องบินรบนั้น ไม่แน่ใจว่าที่คุณ GT500 อ่าน
เป็นอันเดียวกับที่ผมเคยอ่านรึเปล่า
ผมเคยอ่านสมรภูมิ เมื่อ สิบกว่าปีมาแล้ว เกี่ยวกับการซ้อมรบของ ของ ทอ. 2 ประเทศ
ประเทศนึงอยู่ฝ่ายตะวันตก (จำไม่ได้ว่านอร์เว หรือ สหรัฐ) และ อีกประเทศนึงสังกัดอยู่ในเครือสหภาพโซเวียตในอดีต
มีการแลกเปลี่ยนกันขับ F-16 และ Mig29 ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายต่างชื่นชอบสมรรถนะเครื่องบินของอีกฝ่ายหนึ่ง
โดยนักบินฟากสหภาพโซเวียตเดิม จะชื่นชอบ F-16 ในเรื่องทัศนวิสัยของห้องนักบิน , ระบบอำนวยความสะดวกต่างๆ
ที่ช่วยให้นักบินทำการรบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยถึงกับระบุว่าเป็นเครื่องบินในฝันของนักบินรบ
ในขณะที่นักบินของทางฟากตะวันตก ก็ชื่นชอบ Mig-29 ในเรื่องกำลังขับของเครื่อง และ สมรรถนะในการบิน
แต่ไม่มีประเด็นเรื่องกลัวความลับรั่วไหล เพราะตอนนั้นประเทศสหภาพโซเวียตเก่าก็เริ่มจะเอียงมาทางฟากตะวันตกซะมาก
แต่ปัจจุบัน ถ้าเป็นกรณีแลกเปลี่ยนกันขับเครื่องบินรบกับ ทอ.จีน (ซึ่งผมเองก็อยากจะให้มีเหมือนกัน)
ผมว่าอเมริกาน่าจะตาเขียว เหมือนที่หลายๆท่านได้บอกไว้
ถ้าจำไม่ผิด น่าจะเป็นเครื่อง mig-29 ของกองทัพอากาศเยอรมัน
เครื่องมิกที่ว่าเป็นเครื่องของอดีตกองทัพอากาศเยอรมันตะวันออกสมัยที่เพิ่งรวมประเทศกับเยอรมันตะวันตก