หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


RIM-7 Sea Sparrow ปฐมบทจรวดต่อสู้อากาศยานประจำเรือรบแนวคิดใหม่

โดยคุณ : superboy เมื่อวันที่ : 17/10/2014 14:09:18

http://thaimilitary.blogspot.com/2014/10/rim-7-sea-sparrow.html

RIM-7 Sea Sparrow ปฐมบทจรวดต่อสู้อากาศยานประจำเรือรบแนวคิดใหม่    

 

    หลังสงครามโลกครั้งที่2จบลงในปีคศ.1945 วิทยาการทางด้านการทหารได้เจริญรุดหน้าไปพร้อมๆกับสงครามเย็นที่ก่อตัวขึ้น จากประเทศรักสันโดษแยกตัวออกจากประชาคมโลกมุ่งแต่ทำมาค้าขาย อเมริกาก็กลับกลายมาเป็นประเทศผู้นำของค่ายตะวันตกเนื่องจากอังกฤษและ ฝรั่งเศสอ่อนแอลง และได้เข้าร่วมกับองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้ด้วย ทั้งยังมีการส่งทหารจำนวนมากเข้ามาประจำการในเยอรมันตะวันตกและยุโรป ขณะที่ฝ่ายตะวันออกนำโดยสหภาพโซเวียตและประเทศในองค์การสนธิสัญญาวอร์ซออีก7ประเทศ ต่างเร่งเสริมกำลังรบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อเตรียมรับสงครามครั้งใหม่ที่กำลังมาเยือนถึงหน้าบ้านตนเอง

 

    หนึ่งในวิทยาการด้านการทหารที่อเมริกาพัฒนาขึ้นมาก็คือจรวดต่อสู้อากาศยานประจำเรือรบ จรวด RIM-2 Terrier เริ่มเข้าประจำการในปี1953 มีความเร็ว3มัคยิงได้ไกล32กิโลเมตรที่ระดับความสุง8หมื่นฟิต จากนั้นในปี1958จรวดRIM-8 Talos ที่ยิงได้ไกลถึง92กิโลเมตรก็เข้าประจำการเป็นรุ่นถัดไป จรวดทั้ง2แบบใช้แท่นยิงแบบคู่สามารถบรรจุจรวดจาก แม็กกาซีนด้วยระบบกลไกมีความทันสมัยมากที่สุด แต่เนื่องจากขนาดของจรวดและอุปกรณ์ทั้งหมดค่อนข้างใหญ่ จึงสามารถติดตั้งบนเรือลาดตระเวณหรือเรือประจัญบานระวางขับน้ำหลายหมื่นตัน เท่านั้น เพราะจรวด RIM-2 Terrierพร้อมแท่นยิงและจรวด144นัดมีน้ำหนัก 127ตันโดยประมาณ ขณะที่ RIM-8 Talosพร้อมแท่นยิงและจรวด46นัดมีน้ำหนักมากถึง185ตัน

                                                RIM-2 Terrier

                                                                  

                                                RIM-8 Talos

 

       อเมริกาพยายามพัฒนาจรวดต่อสู้อากาศยานให้มีขนาดโดยรวมเล็กลงกว่าเดิม เพื่อที่สามารถติดตั้งบนเรือรบขนาดเล็กลงโดยกินพื้นที่ใช้สอยน้อยกว่าเดิมได้ ปี1970จรวดต่อสู้อากาศยานนำวิถีเรดาร์ขนาดที่เล็กที่สุดของเขาก็คือ RIM-24 Tartar ตัวจรวดมีความยาว4.57เมตร นำหนัก 594กิโลกรัม วิ่งด้วยความเร็วสุงสุด1.8มัคได้ไกลสุดที่16-32กิโลเมตร แต่ทว่าแท่นยิงและแม็กกาซีนบรรจุจรวดก็ยังคงเป็นปัญหาใหญ่เหมือนเดิม RIM-24 Tartarใช้แท่นยิงได้หลายแบบและขนาดที่เล็กที่สุดก็คือรุ่นMK-22 GMLS แท่นยิงแขนเดี่ยวรุ่นนี้เป็นแฝดผู้น้องของMK-13 GMLS โดยแม็กกาซีนที่อยู่ด้านล่างสามารถบรรจุจรวดได้เพียง16นัดส่วนMK-13บรรจุได้ถึง40นัด  แต่ MK-22 ก็ยังมีน้ำหนักรวมมากถึง42ตันขณะที่MK-13อยู่ที่60ตันเลยทีเดียว แม้จะมีน้ำหนักน้อยลงมามากแล้วก็ตาม แต่ยังคงต้องใช้พื้นที่จำนวนมากและระบบบรรจุจรวดที่ทันสมัยซับซ้อน เรื่องนี้ได้สร้างปัญหาให้พอสมควรทั้งเรื่องราคาในการจัดซื้อและการซ่อมบำรุงในภายหลัง ทั้งยังส่งผลให้มีเรือรบอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถติดตั้งจรวดต่อสู้อากาศยานได้

 

    ปัญหาเรื่องนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แต่กับกองทัพเรืออเมริกาเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงหลายชาติในองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้ ที่ต้องการจรวดต่อสู้อากาศยานเพื่อป้องกันกองเรือของตนเองด้วย ออสเตรเลีย, เยอรมัน,ฝรั่งเศส, อิตาลี, สเปน, เนเธอร์แลนด์ รวมถึงญี่ปุ่น ต้องสั่งซื้อจรวด RIM-24 Tartarพร้อมแท่นยิง MK-13 หรือMK-22 หลายประเทศสั่งซื้อเรือทั้งลำพร้อมอาวุธครบเซตเพื่อความสะดวกในการใช้งาน แต่เรือรบที่เหมาะสมกับจรวดควรจะมีระวางขับน้ำอยุ่ที่4,000ตันหรือมากกว่านั้น แม้กองทัพเรืออเมริกาจะสามารถติดแท่นยิง MK-22บนเรือฟริเกตชั้น Brookeที่มีระวางขับน้ำสุงสุดเพียง3,426 ตัน แต่ด้วยขนาดที่เล็กเกินไปจึงไม่สามารถใช้งานได้ตามความคาดหมาย และจำเป็นต้องลดการสร้างจากเดิมตามแผน19ลำเหลือเพียง6ลำในท้ายที่สุด ปัญหาเรื่องแท่นยิงและแม็กกาซีนของจรวดต่อสู้อากาศยานจึงเป็นเรื่องสำคัญมากพอสมควร

 

                                  เรือฟริเกตชั้น Brooke

               RIM-24 Tartarพร้อมแท่นยิง MK-22 GMLS

 

 

 





ความคิดเห็นที่ 1


      ในการแก้ปัญหาดังกล่าวกองทัพเรืออเมริกาได้พยายามพัฒนาระบบป้องกันเฉพาะจุดที่มีขนาดเบาลง (lightweight  point defense weapon) หนึ่งในหลายแนวคิดก็คือการนำจรวดอากาศสู่อากาศที่ติดตั้งอยู่บนเครื่องบินรบมาใช้บนเรือรบบ้าง หลังปี1960เป็นต้นไปได้มีการศึกษาและสรุปผลในที่สุด มีจรวดอยู่2แบบด้วยกันที่มีความเป็นไปได้คือ จรวดนำวิถีอินฟาเรด AIM-9 Sidewinder  และจรวดนำวิถีเรดาร์ RIM-7 Sea Sparrow ในปี1965กองทัพบกอเมริกาเริ่มมีระบบจรวดต่อสู้อากาศยานรุ่น MIM-72 Chaparral.เข้าประจำการ ตัวจรวดพัฒนามาจาก AIM-9Dติด ตั้งอยู่บนรถหุ้มเกาะขนาดกระทัดรัดสามารถคุ้มครองทหารที่อยู่แนวหน้าได้เป็น อย่างดี กองทัพเรืออเมริกาจึงทดลองจับมาใส่บนเรือดูบ้างโดยใช้เรดาร์ควบคุมการยิง ช่วยเสริมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่สุดท้ายโครงการนี้ต้องถูกยกเลิกอาจเป็นเพราะระยะยิงสั้นเกินไป อีกทั้งตัวจรวดมีความแม่นยำน้อยเกินไปที่จะติดบนเรือเนื่องจากระบบนำวิถีอิน ฟาเรดในตอนนั้นต้องยิงตามหลังเป้าหมายถึงจะได้ผลที่ดี โครงการ Sea Chaparral ถูกขายให้กับไต้หวันแบบยกเซต ในปัจจุบันนี้ก็ยังมีเรือรบรุ่นใหม่ของไต้หวันติดจรวดรุ่นนี้อยู่ด้วย

จรวดต่อสู้อากาศยานSea Chaparral บนเรือฟริเกต Kang Dingของไต้หวัน

 

       ในช่วงเวลาดังกล่าว นอกจากอเมริกาแล้วอังกฤษก็ยังเป็นยักษ์ใหญ่อันดับ1ในด้านการทหารของยุโรป สินค้าจากเมืองผู้ดีที่ขายดีไปทั่วโลกคือจรวดต่อสู้อากาศยาน Sea Cat จรวดถูกดัดแปลงมาจากจรวดต่อสู้รถถังรุ่น Malkaraของออสเตรเลีย แม้ความแม่นยำค่อนข้างต่ำและระยะยิงสั้นแค่เพียง5กิโมเตรก็ตาม แต่จรวดนำวิถีคลื่นวิทยุมีขนาดกระทัดรัดทั้งตัวจรวดและแท่นยิง สามารถติดกับเรือรบระวางขับน้ำไม่ถึง2000ตันได้อย่างสบายมาก เรดาร์ควบคุมการยิงก็สามารถใช้งานได้หลายแบบ ทำให้ขายดีมากรวมมาถึงกองทัพเรือไทยบนเรือหลวงมกุฎราชกุมารด้วย หลังจากนั้นไม่นานนักอังกฤษได้พัฒนาจรวดต่อสู้อากาศยานรุ่นใหม่ขึ้นมานั่นคือ Sea Wolf  จรวดมีความทันสมัยมากกว่าเดิมมีระบบนำวิถีที่แม่นยำมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

 

      แต่ในตลาดโลก Sea Wolf แทบขายไม่ออกเอาเสียเลย เนื่องมาจากแม้จะเป็นจรวดรุ่นใหม่แต่มีระยะยิงหวังผลอยู่ที่5กิโลเมตรเท่านั้นเอง แท่นยิงแบบแผด 6(GWS-25 sextuple launcher )ก็มีขนาดใหญ่มากและมีน้ำหนักถึง13.5ตัน ระบบเรดาร์ควบคุมการยิงมีรูปร่างใหญ่จนน่าตกใจและต้องใช้ของอังกฤษเท่านั้น แม้ในเวลาต่อมาพวกเขาจะพัฒนาจรวดรุ่นที่ยิงจากท่อยิงแนวดิ่งได้และมีระยะยิงเพิ่มเป็น10กิโลเมตรแล้วก็ตาม แต่ก็มีลูกค้าน้อยมากเรียกว่าบังคับซื้อกันเลยก็น่าจะได้

                             จรวดต่อสู้อากาศยาน Sea Cat
 

                             จรวดต่อสู้อากาศยาน Sea Wolf

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 16/10/2014 08:36:09


ความคิดเห็นที่ 2


       ความนิยมในอุตสาหกรรมการทหารจากเมืองผู้ดีกำลังร่วงโรยลงไปเรื่อยๆ แสงแห่งความหวังจากเมืองลุงแซมก็เริ่มสว่างไสวมากขึ้นตามลำดับ โครงการพัฒนาจรวด RIM-7 Sea Sparrow มีความก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ และเริ่มเข้าประจำการในกองทัพเรืออเมริกาอย่างเป็นทางการในปี1976 แท่นยิง Mk 25 Basic Point Defense Missile System สามารถใส่จรวดได้8นัดโดยมีนำหนักรวมอยู่ที่14.3ตันเท่านั้น เบากว่าแท่นยิงแขนเดี่ยวMK-22พร้อมแม๊กกาซีนและจรวดRIM-24 Tartar16นัดถึง 27.7ตัน ทั้งยังไม่ได้ใช้ระบบการบรรจุจรวดที่ซับซ้อนหรือพื้นที่ด้านล่างตัวเรือแต่อย่างใด นั่นทำให้สามารถติดตั้งบนเรือรบขนาดเล็กกว่าเดิมได้รวมถึงเรือช่วยรบที่มีพื้นที่จำกัดด้วย เรือลำแรกที่เริ่มใช้งาน RIM-7 Sea Sparrow ก็คือเรือฟริเกตชั้น Knoxตามด้วยเรือสนับสนุนการยกพลขึ้นบกชั้นTarawa เป็นเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำรุ่นแรกๆของโลกที่มีการติดตั้งจรวดต่อสู้อากาศยานระยะกลาง แม้ในตอนนั้น Sea Sparrow จะถูกกำหนดเป็นเพียงระบบการป้องกันเฉพาะจุดก็ตาม แต่ด้วยระยะยิง10ไมล์ทะเลหรือ18.5กิโลเมตร ก็เป็นการสร้างมิติใหม่ของจรวดต่อสู้อากาศยานบนเรือรบอย่างแท้จริง

 

          

 

      หลังจากนั้นไม่นานนักอเมริกาก็พัฒนาแท่นยิง Mk 29 ขึ้นมาสำเร็จ แท่นยิงรุ่นใหม่สามารถโหลดจรวดได้8นัดเท่ากันแต่มีขนาดเล็กลงกว่าเดิมโดยมีน้ำหนักรวมอยู่ที่6.39ตันเท่านั้น ระบบเรดาร์ควบคุมการยิงมีการพัฒนาใหม่ โดยเปลี่ยนจากMK-115ซึ่งเป็นระบบกึ่งอัตโนมัติมาเป็นMK-95ที่ทันสมัยมากขึ้น เรือบรรทุกเครื่องบินของเขาทุกลำได้รับการติดตั้งแท่นยิง Mk 29 และจรวด RIM-7 Sea Sparrow แทบจะทันที อเมริกาก้าวผ่านเงาของตัวเองสำเร็จอย่างงดงาม หลังจากใช้ความพยายามอย่างหนักและลองผิดลองถูกอยุ่เป็นเวลาพอสมควร ตรงข้ามกับอังกฤษที่ยังคงยึดแนวทางเดิมจนหลุดออกวงโคจรออกไป

  

     ผลจากความสำเร็จครั้งนี้ได้ส่งผลไปยังทั่วโลกทันทีด้วย หลายประเทศที่อยู่ในโครงการNATO SEASPARROW Project Office (NAPO) ต่างเริ่มทยอยติดตั้งจรวดบนเรือรบของตนเอง RIM-7 Sea Sparrow ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Nato Sea Sparrow Missile หรือ NSSM และกลายเป็นจรวดต่อสู้อากาศยานแบบมาตราฐานของกองทัพเรือในค่ายยุโรปตะวันตกต่อไป หนึ่งในนั้นคือประเทศอิตาลีผู้ไม่ยอมหยุดนิ่งอยู่กับที่ พวกเขานำ RIM-7 Sea Sparrowมาพัฒนาต่อตามความต้องการของตัวเอง แล้วในที่สุดก็เกิดเป็นจรวดต่อสู้อากาศยานรุ่น  Aspide Mk.1 ขึ้นมาในปี1983 แม้จะมีระยะยิงน้อยกว่ากันเล็กน้อยความแม่นยำหายไปนิดหน่อย แต่มีราคาถูกกว่าพอตัวและขายดีมากถึง17ประเทศรวมทั้งกองทัพเรือไทยด้วย 

                  เรือหลวงรัตนโกสินทร์กับจรวดต่อสู้อากาศยาน Aspide แบบ8ท่อยิง

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 16/10/2014 08:38:11


ความคิดเห็นที่ 3


       จนถึงปัจจุบันนี้ Sea Sparrow ก็ยังได้รับการพัฒนาต่อยอด Evolved Sea Sparrow missile (ESSM) มีระยะยิงไกลถึง50กิโลเมตรด้วยความเร็ว4มัค สามารถยิงจากท่อยิงแนวดิ่งได้โดย1ท่อบรรจุจรวดได้มากถึง4นัด RIM-162 ESSM block II ที่กำลังพัฒนาอยู่จะมีระยะยิงเพิ่มขึ้นมาบ้างและมีระบบค้นหาเป้าหมายถึง2ระบบในตัว ทำให้มีความแม่นยำสุงมากขึ้นไปอีกจัดการกับจรวดที่เป็นเป้าหมายได้ดีมากยิ่งขึ้น ESSM block II อาจเป็นจุดสุงสุดของจรวดรุ่นนี้แต่ผมอยากย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นเสียก่อน การมาของ Sea Sparrow เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของกองทัพเรือหลายสิบประเทศ เพราะจรวดมีประสิทธิภาพสุงและแท่นยิงมีขนาดกระทัดรัดมาก อีกทั้งยังสามารถใช้เรดาร์ควบคุมการยิงได้หลากหลายแบบแล้วแต่ความต้องการแต่ละประเทศ

    เรือคอร์เวตชั้น Descubierta ของสเปนมีระวางขับน้ำเพียง1,480ตัน เป็นเรือลำเล็กที่สุดที่ติดตั้งแท่นยิง Mk 29พร้อมจรวด Sea Sparrow 8นัด(เล็กที่สุดเท่าที่ผู้เขียนค้นหาเจอ) แต่ถ้านับรวมจรวด Aspide ของอิตาลีเข้าไปด้วย เรือคอร์เวตชั้น Laksamana ขนาด675ตันของมาเลเซียติดแท่นยิง4นัดถือว่ามีขนาดเล็กที่สุด และถ้านับเฉพาะรุ่นแท่นยิง8นัด เรือหลวงรัตนโกสินทร์จากกองทัพเรือไทยครองแชมป์ที่ระวางขับน้ำ962 ตัน  Sea Sparrow ทำให้จรวดต่อสู้อากาศยานประจำเรือรบไม่ใช่ของสุงขั้นเทพที่ได้แต่ชะเง้อคอแอบมองอีกต่อไป 

                    เรือคอร์เวตชั้น Descubierta ของสเปน กับจรวด Sea Sparrow แบบ8ท่อยิง

 

                                                RIM-7 Sea Sparrow  Surface-to-air missile


General Characteristics:
Primary Function: Air-to-air and surface-to-air radar-guided missile
Contractor: Raytheon Co., General Dynamics, and Hughes Missile Systems
Date Deployed: 1976
Unit Cost: $165,400
Propulsion: Alliant TechSystems (Hercules) MK-58 solid-propellant rocket motor
Length: 12 feet (3.64 meters)
Diameter: 8 inches (20.3 cm)
Wingspan: 3 feet 4 inches (one meter)
Weight: Launch weight is approximately 500 pounds (225 kg)
Speed: approx. 4250 km/h
Range: 10 nautical miles (18,5 km)
Guidance System: Raytheon semi-active on continuous wave or pulsed Doppler radar energy
Warhead: Annular blast fragmentation warhead, 90 pounds (40.5 kg)

 

 -----------------------------------------------------------------------------------------------

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 16/10/2014 08:39:55


ความคิดเห็นที่ 4


ช่วงนี้รู้สึกตัวเองไร้ค่ายังไงพิกล ราวกับว่าเอ็งเกิดมาทำไมในโลกนี้ฟระ ผมจึงพยายามเขียนบทความพอมีสาระอยู่บ้างให้มากขึ้นอย่างน้อยก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย อาทิตย์เจอกันกับเรื่องต่อไปเตรียมไว้แล้ว ขอเตรียมตัวค้นหาข้อมูลเพิ่มก่อนแต่คิดว่าสนุกและไม่มีดราม่าแน่นอน บทความที่เขียนไม่ได้เจาะลึกในรายละเอียดแบบเป๊ะๆ ฉะนั้นตัวเลขที่ปรากฎอาจคลาดเคลื่อนไปบ้างอ่านพอขำๆแล้วกันนะครับ :)

 

ปล. พบปัญหาเล็กน้อยเกี่ยวกับการโพสบทความน่ะครับ ถ้าในครั้งแรกก๊อปปี้มาวางจะมีการจัดเรียงตัวอักษรและย่อหน้าตามเดิมไม่มีผิดเพี๊ยน แต่ถ้าผมแก้ไขเพิ่มเติมแม้แต่ตัวเดียวแถวที่เรียงไว้ทั้งหมดจะไม่ตรง เหมือนคห.ที่1พยายามเข้าไปแก้ใขแล้วแต่ในโหมดแก้ไขมันดันตรงเนี่ยสิ ลบทิ้งแล้วก๊อปปี้มาใส่ใหม่ก็ยังมีค่าเท่าเดิม ส่วนในคห.3ผมแก้ไขเพิ่มเติมเช่นกันแต่ดันไม่เป็นอะไร วิธีแก้ไขที่ได้ผลชัดเจนคงต้องทำต้นฉบับไม้ให้มีข้อผิดพลาด >_<

 

ปล2.พบข้อผิดพลาดเล็กน้อยในคห.3 เรือของเราไม่ใช่เรือหลวงรัตนโกสินทร์ต้องเป็นเรือหลวงสุโขทัยนะครับชื่อติดหลังเรือเต็มๆ(เมื่อคืนง่วงไปนิด) ผมไม่เข้าไปแก้นะครับเดี๋ยวแถวล้ม

 

                                

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 16/10/2014 08:47:15


ความคิดเห็นที่ 5


ขอบคุณครับ สำหรับบทความดีๆ 

โดยคุณ Odin เมื่อวันที่ 16/10/2014 09:28:20


ความคิดเห็นที่ 6


ขอบคุณครับท่าน "superboy" แล้วผมจะรออ่านบทความต่อไปน่ะครับ 

โดยคุณ kaewmusik เมื่อวันที่ 16/10/2014 09:33:35


ความคิดเห็นที่ 7


บทความแบบนี้เป็นประโยชน์มากครับท่าน superboy สำหรับสมาชิก

โดยคุณ fantom เมื่อวันที่ 16/10/2014 09:36:04


ความคิดเห็นที่ 8


เยี่ยมเลย อ่านเพลิน เรื่องข้อมูลเยอะ ภาพประกอบเพิ่มอรรถรสดีด้วย 

ท้วงนิดนึงตอนต้นเรื่องที่บอกอเมริกาก่อนสงครามโลกสันโดษทำมาค้าขายไม่จริงนะครับ

พี่แกเริ่มขยายอำนาจตั้งแต่ศตรรษที่ 18-19 แล้ว แต่ไม่เด่นดังเท่าคนอื่นเพราะมาทีหลังแล้วแถวแปซิฟิคที่แกไล่กินก็ไม่ได้รุ่มรวยอะไร อย่างกรณีพันธมิตรแปดฝ่ายรุมกินโต๊ะจีนอเมริกาก็อยู่ หรือการบีบญี่ปุ่นเปิดประเทศก็อเมริกานี่แหละ สรุปแกไม่ได้รักสงบเน้นค้าขายอะไรอยู่แล้ว

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 16/10/2014 10:19:26


ความคิดเห็นที่ 9


ชอบกระทู้เหล่านี้ครับ  ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นมาก  ขอบคุณอีกคนครับ

โดยคุณ jaidee เมื่อวันที่ 16/10/2014 11:14:13


ความคิดเห็นที่ 10


ผมรีเควสให้ท่านเขียนของค่าย...โซเวียตด้วยครับ เอาเป็นจรวดต่อต้านอากาศยานเหมือนกันก็ได้ ถ้าได้ตามอ่านคงได้อรรถรสไม่น้อย

โดยคุณ GT500 เมื่อวันที่ 16/10/2014 11:20:02


ความคิดเห็นที่ 11


โอ้ อ่านสนุกมากเลยครับท่าน superboy สอบเสร็จกลับมานั่งอ่านคลายเครียดได้เลยครับ ได้สาระอีกด้วย  ขอบคุณสำหรับบทความดีๆนะครับจะรออ่านอีกเรื่อยยๆ  ^____^

โดยคุณ maritime เมื่อวันที่ 16/10/2014 12:09:48


ความคิดเห็นที่ 12


ยอดเยี่ยมครับ เป้นกระทู้คุณภาพอีกระทู้หนึ่งเลย

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 16/10/2014 13:40:55


ความคิดเห็นที่ 13


นอกเรื่องนิดนึง วันนี้เข้าไปดูเวปของ DSME แล้วไปเจอรูปนี้มาครับ

สรุปเราย้ายฟาลังซ์ไปไว้ข้างท้ายแล้วหรือ หรือว่าไม่ใช่เรือเราหว่า???

 

 


โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 16/10/2014 13:46:45


ความคิดเห็นที่ 14


ชอบครับ อ่านสนุกอ่านเพลิน 

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 16/10/2014 14:11:45


ความคิดเห็นที่ 15


ภาพของท่านMIGGERS เป็นเรือฟริเกตFFX-I Batch II ของเกาหลีใต้ที่จะต่อโดยอู่เรือDSMEน่ะครับ สังเกตได้ว่าจะไม่มีเรดาร์LRRที่ด้านท้ายและใช้ปืนหลักขนาด5นิ้ว จัดว่าเป็นเรือฝาแฝดของเราก็ได้เพราะคล้ายกันมากเหลือเกิน

 

ผมตั้งใจจะเขียนเรื่องของโซเวียตอยู่เหมือนกันนะ แต่ยังติดอยู่ว่าคนเขียนบทความรัสเซียมักจะเขียนด้วยภาษารัสเซียซึ่งผมแปลไม่ออก ขณะเดียวกันระบบอาวุธของเขามีชื่อเรียกและการจัดลำดับที่แตกต่างออกไป รออีกนิดนะครับกับพระเอกที่มาจากรัสเซียรวมทั้งด้านมืดของอเมริกา เอามันdarkตั้งแต่ต้นเรื่องเลยอ่านจบไม่ปวดหัวก็ความดันขึ้น

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 16/10/2014 14:56:01


ความคิดเห็นที่ 16


อ่านเพลินดีครับ...แต่เดี๋ยวนี้ ตา ผม ยังไม่ไหวแล้ว เล่นเว๊ปแบบอ่านตัวหนังสือ ได้ไม่นาน...เวลาโพส หรือ อ่าน เดี๋ยวนี้ ต้อง Ctrl + หน้าจอแร่ะ....5 5 5 5 5 5 5...เดี๋ยวนี้ เวลาหาข้อมูล ทำเอาตาลอยเลย....

รออ่านท่าน Superboy ดีกว่า...

ท่าน Miggers รูปนั้น น่าจะเป็น โฆษณาแบบเรือ มากกว่าครับ คงไม่ใช่ เรือฟริเกตใหม่ของไทย เป็นแบบเรือ  น่าจะดัดแปลงจาก  Inchon Batch 2 ไม่แน่ใจว่าจะเป็น Inchon Batch 3 หรือเปล่า ?

The class will reportedly be built in several batches. Six vessels will be built as Batch I (similar to head of class Incheon),

eight Frigates will be built as Batch II by Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering,

and Batch III is also planned for the future.

Batch I น่าจะเป็น Patrol Frigate

Batch II รู้สึกจะเป็น ASW คือ ติดท่อ K-VLS สำหรับยิง K-ASROC อย่างเดียว

ส่วน Batch III เข้าใจว่า จะติด ท่อยิง VLS สำหรับยิง SAM

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 16/10/2014 15:03:09


ความคิดเห็นที่ 17


Batch III คงจะใช้ K-VLS ติด K-SAAM (ค่อยตรงกับ กระทู้หน่อย 5 5 5 5 5)

SAM ของ เกาหลีใต้

 

This is an exterior view of the K-VLS that will hold K-SAAM, as well as other vertically launched weapons like Hyunmoo-3 LACMs and the Red Shark ASROC. It is also equipped on KDX-II PIP and KDX-III; basically, every frigate and destroyers that have been modified to use Hyunmoo-3 and Red Shark now have K-VLS, leaving the MK41 VLS free to hold SAMs.



Aside from its inherent defensive capabilities, K-SAAM shows promising potential as a technology demonstrator and basis for future Korean interceptor systems. For land use, it can work both as a land-based SAM that fills the gap between KM-SAM and the SHORAD, and as a C-RAM system like Iron Dome. For air use, it can be a hybrid radar/IR-guided AMRAAM like Mica. Using a dual-mode seeker universally improves K-SAAM's accuracy and tracking ability against many different types of threats. K-SAAM has primarily been a naval project due to the urgent need to build a credible defense against sea-skimming anti-ship missiles, rockets, UAVs and small craft that are increasingly becoming more numerous and capable. But the Korean government has also recently been paying a lot of attention to improving air defense of ground and air forces, that can take advantage of K-SAAM's efficient dual-seeking technology (for more information on this, see the Korean SHORAD thread).

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 16/10/2014 15:19:51


ความคิดเห็นที่ 18


เป็นกระทู้ที่ให้ความรู้ดีมากเลยครับ คุณSUPERBOY ถ้ามีโอกาสน่าจะรวบรวมข้อมูลจรวดฝั่งตะวันตก (นอกจากอเมริกากับรัสเซีย) มาเสนอบ้างครับ

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 16/10/2014 15:49:09


ความคิดเห็นที่ 19


มีภาพDownload Sea sparrow หลายคนอาจไม่เคยเห็น


โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 16/10/2014 15:57:45


ความคิดเห็นที่ 20


ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ ตอนแรกก็นึกว่าเรือเรา

โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 16/10/2014 16:53:08


ความคิดเห็นที่ 21


ข้อมูลดีรายละเอียดดีครับ ผมขอสนับสนุนให้ท่านทั้งหลายที่มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับทางทหารช่วยลงมาโพสต์ให้ความรู้แก่เหล่าสมาชิกกันเยอะๆครับ

โดยคุณ Woot1980 เมื่อวันที่ 16/10/2014 19:13:47


ความคิดเห็นที่ 22


คุณSUPERBOY พอดีมีคลิปThe 60 Year History of Raytheon's Standard Missile Family ซึ่งเป็นเรื่องมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับStandard Missile ซึ่งใกล้เคียงกับกระทู้นี้ เลยขออนุญาติโฟสเป็นข้อมูลให้เพื่อนสมาชิกท่านอื่นด้วยครับ (ผมโพสคลิปไม่ได้)

http://www.youtube.com/watch?v=F2fXChvE6WQ

 

 


โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 17/10/2014 11:18:48


ความคิดเห็นที่ 23


ผมลองใส่ให้นะ

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 17/10/2014 12:44:41


ความคิดเห็นที่ 24


ขอบคุณครับ

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 17/10/2014 14:09:18