ผมเข้าใจว่าเฮลิคอปเตอร์แบบปราบเรือดำน้ำได้ไม่น่าจะใช้ปราบเรือดำเนินน้ำที่ใช้อยู่กันในปัจจุบันได้จริงผมเข้าใจผิดมากไปไม๊ครับ
กล่าวรวมๆ ฮ.ปราบเรือดำน้ำ เป็นหน่วยเสริมการค้นหาและทำลายให้แก่กองเรือหรือเรือที่ปฏบัติการในการต่อต้านเรือดำน้ำขณะนั้นครับ
-เสริมสร้างด้านระยะค้นหาด้วยโซโนบุย ทุ่นโซนาร์
-เสริมสร้างการทำลายด้วยการทิ้งตอร์ปิโด ระเบิดลึก นอกระยะโจมตีของระบบประจำเรือ
ผมว่า เรือดำน้ำ กลัว ฮ.ปราบเรือดำน้ำ มากกว่า เรือผิวน้ำ นะครับ
ระยะวิ่งของ ตอร์ปิโด อยู่ประมาณ 10 - 11 ก.ม. ที่ยิงมาจาก เรือผิวน้ำ
เรือดำน้ำ ก็อาศัยความเร็ว ในการคำนวณ เพื่อเลี่ยงการถูกโจมตีได้ หรือลดการถูก ปะทะ ด้วย ตอร์ปิโด ได้
คือ เรือผิวน้ำ ก็ต้องแล่นเรือ เพื่อให้ใกล้ เรือดำน้ำ ที่สุด เพื่อให้ได้ระยะ ตอร์ปิโด...เรือดำน้ำ ก็มี โอกาส จะสวนกลับ หรือ โต้กลับได้...
แต่ถ้า เรือดำน้ำ ถูก ฮ. ตามล่า หรือ ถุก ฮ. ตรวจจับได้
ฮ. ก็สามารถ ปล่อย ตอร์ปิโด ได้ลงบนหัว เรือดำน้ำ เลย และ เรือดำน้ำ ก็ไม่สามารถ สวนกลับ หรือ โต้กลับ ฮ. ได้...
เพราะปัจจุบัน ก็ยังไม่มีเรือดำน้ำไหน จะทำลาย ฮ.ปราบเรือดำน้ำ ได้...
ปัจจุบัน เรือผิวน้ำ จึงเพิ่มระยะการยิง ตอร์ปิโด ด้วย Rocket ทำให้สามารถยิง ตอร์ปิโด ได้เร็ว และได้ระยะการค้นหาเป้า และทำลาย ของตอร์ปิโดได้คล้าย ๆ กับ การปล่อยจาก อากาศยาน...
ซึ่งสมมติ เมื่อ เรือดำน้ำ กับ เรือผิวน้ำ มีการทำสงครามต่อกัน เรือผิวน้ำ อาจจะเกรงต่ออำนาจการทำลายของเรือดำน้ำ จากการตอบโต้ของเรือดำน้ำ...ฮ.ปราบเรือดำน้ำ บนเรือผิวน้ำ จึงเป็นคำตอบสำคัญที่จะเป็น ระบบทำลาย เรือดำน้ำ โดย เรือดำน้ำ ไม่สามารถจะตอบโต้ได้...และอาจจะต้อง หลบหลีก ออกไป ไม่ทำการตอบโต้กับเรือผิวน้ำ...เพราะจะเป็นการเปิดเผยตำแหน่งให้กับ ฮ.ปราบเรือดำน้ำ ได้...
เรือดำน้ำ เจอ เรือผิวน้ำ จะอยู่ในฐานะ หลบหลีก หรือ ตั้งรับ หรือ รุก หรือ ทำลาย เรือผิวน้ำ ได้
เรือดำน้ำ เจอ ฮ.ปราบเรือดำน้ำ จะอยู่ในฐานะ หลบหลีก หรือ ตั้งรับ เท่านั้น เพราะไม่สามารถจะ รุก หรือ ทำลาย ฮ.ปราบเรือดำน้ำ ได้
ทั่น juldas ครับ ผมนึกว่าด.รุ่นใหม่ๆมีแซมแล้วนะครับ เจนฯต่อจากนี้ก็น่าจะมีกันหมดแล้ว
ตอนนี้ผมยังไม่ได้ค้นหาข้อมูลอะไร เท่าที่จำได้เลาๆ ปัจจุบันมีแล้ว แต่ไม่มาก (จำได้ว่ารัสเซียมีแน่ๆ อีกเจ้าไม่รู้ของเยอรมันมั้ง) เป็นแซมระยะใกล้ 5 กิโล +- แต่ต้องขึ้นผิวน้ำถึงยิงได้
แต่ถ้าพูดถึงที่ประจำการเป็นเรื่องเป็นราวแล้วปัจจุบันถือว่ามาตรฐานด.โดยทั่วไปก็ยังทำอะไรฮ.ไม่ได้
เท่าที่เห็น เป็นแค่ โครงการครับ แต่ยังไม่มีใครใช้ประจำการ
และ เรือดำน้ำเอง การจะยิง UAM ได้ ก็ต้องหมายถึง เรือดำน้ำ จับเป้าหมายอากาศได้ครับ
ซึ่ง เรือดำน้ำ อยู่ใต้น้ำ ย่อมจับเป้าอากาศไม่ได้ แน่ครับ
ดังนั้น เรือดำน้ำ ที่จะใช้ UAM ได้ น่าจะต้องมี Data Link ที่ได้รับข้อมุล เป้าหมาย จากภายนอก มากกว่าครับ
หรือ จาก ดาวเทียม หรือเปล่า ? อันนี้ ไม่ทราบเหมือนกันคร้ับ
ระบบ A3SM Mica ของ DCNS
อันนี้ A3SM Mistral
ขอบคุณความรู้จากทุกท่านครับ..
จาก ยูทูป ทั้ง 2 แบบ ก็พอจะเห็นว่า เรือดำน้ำ ก็ต้องเปิดเผย ตัวเอง หรือ ขึ้นสู่ ระดับตรวจจับของ โซนาร์ฝ่ายตรงข้าม ด้วย ถึงจะจับเป้าหมาย อากาศยาน ได้
ยูทูปแรก เป็น แบบ Mica ใช้ยิงจาก ท่อยิง ตอร์ปิโด ก็ต้องใช้ สัญญาณโซนาร์ ของ ฮ. เป็นตัวจับตำแหน่ง เพื่อปล่อย UAM
ยูทูปที่สอง เป็น แบบ Mistral ก็ต้องใช้ระบบภาพ จากกล้อง หรือจาก โพลิสโคป คือ เรือดำน้ำ ก็ต้องลอยลำใช้ ระดับ ตากล้องเรือ ในการยิง SAM ซึ่ง ระยะ มิสทรัล ก็อยู่ในระยะไม่เกิน 6 ก.ม.
ซึ่งตามตัวอย่างภาพ ยังขาด ในประเด็นที่ว่า ถ้า ฮ. มาใน จำนวน 2 ลำ คือ 1 ลำ ติดโซนาร์ ชักหย่อน อีกลำ ติด ตอร์ปิโด จะใช้ ยุทธวิธี อย่างไร
กับ ประเด็นที่ว่า เรือผิวน้ำ เป็นฝ่าย ตรวจจับโซนาร์ และชี้เป้า ให้กับ ฮ.ประจำเรือ ในการปล่อย ตอร์ปิโด
แล้ว เรือดำน้ำ จะใช้ ยุทธวิธี อะไร ในการจับเป้า ฮ. ที่ ติด ตอร์ปิโด โดยไม่ได้ใช้ โซนาร์ชักหย่อน เพื่อเปิดเผยตำแหน่งของ ฮ.ปราบเรือดำน้ำ ก็ทำให้ เรือดำน้ำ ย่อมจะไม่ทราบตำแหน่งของ ฮ.ปราบเรือดำน้ำ
ท่านจูดาสอาจจะจำคลาดเคลื่อนเรื่องจรวดปราบเรือดำน้ำหรือRocket มันถูกพัฒนาก่อนเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำก็คือตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่2 ตั้งแต่19501-1980ค่ายตะวันตกมีRocketมากมายหลายแบบมากแต่ที่ยิงได้ไกลสุดอันดับ2คือ ASROCของอเมริกาและอันดับหนึ่งก็คือIKARA ของอังกฤษ+ออสเตรเลีย เดี๋ยวผมไล่ลำดับการใช้อาวุธปราบเรือดำน้ำของ2ชาตินี้ดีกว่าจะได้ไม่งงเองด้วย
หลังสงครามโลกครั้งที่2อเมริกาพัฒนาจรวดปราบเรือดำน้ำออกมาหลายตัว จนกระทั่งมาหยุดอยู่ที่ASROCซึ่งเป็นของดีที่สุด ช่วงประมาณปี1970 เรือฟริเกตทุกลำของเขาจะติดASROCและอากาศยานไร้นักบินรุ่นQH-50เป็นอาวุธสำคัญในการปราบเรือดำน้ำควบคู่ไปกับตอร์ปิโดเบา ในภาพคือเรือฟริเกตgearing classสมัยสงครามโลกเขานำมาปรับปรุงใหม่ติดแท่นยิงASROCกลางลำเรือแทนตอร์ปิโดหนักและสร้างลานจอดอากาศยานด้านหลังแทนปืนใหญ่ขนาด5นิ้ว (เป็นเรืออีกลำที่ผมชอบเหลือเกิน ยิ่งได้ดูหนังเรื่อง13วันยิ่งชอบอิ๊บอ๋าย) ขณะเดียวกันเรือฟริเกตใหม่ๆของเขาจะติดแท่นยิงยิงASROCด้านหน้าหอบังคับการพร้อมแม็กกาซีนโหลดใหม่ได้อีก8หรือ16นัดตามแต่เรือได้ถูกออกแบบมา (ง่ายๆก็คือเรือชั้นKNOXหรือเรือหลวงพุทธของเรานั่นแหละ) ASROCสามารถยิงตอร์ปิโดหรือระเบิดน้ำลึกติดหัวรบนิวเคลียร์ได้ไกลประมาณ5ไมล์ทะเลหลังจากนั้นตอร์ปิโดที่บรรทุกไปจะเริ่มทำงานไกลมากไกลน้อยแล้วแต่รุ่น(แต่ส่วนมากก็ใกล้เคียงกัน)
แต่หลังจากนั้นไม่นานนักแนวคิดการใช้อาวุธก็เปลี่ยนไปบ้างเมื่อเฮลิคอเตอร์Seaspriteถูกนำมาใช้งานบนเรือจริง เรือฟริเกตขนาด4,200ตันรุ่นใหม่ของอเมริกาที่มาแทนที่เรือชั้นKNOXนั่นก็คือOHPที่เราคุ้นเคยกันดี เรือได้ถอดแท่นยิงASROCออกแต่ขยายโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ให้สามารถจัดเก็บได้ถึง2ลำได้อย่างสบายๆ (ส่วนหนึ่งอาจะเป็นเพราะภัยทางอากาศในยุคนั้นค่อนข้างอันตรายมากด้วย อเมริกาจึงตัดสินใจติดจรวดSM-1ให้กับเรือรบลำเล็กที่สุดของเขา) เฮลิคอปเตอร์Seaspriteมีความทนทะเลกว่าQH-50อย่างเทียบไม่ติด บินได้ไกลกว่าติดอุปกรณ์ทันสมัยกว่าตรวจจับเป้าหมายได้ด้วยตัวเอง อีกทั้งยังสื่อสารกับเรือฟริเกตได้อย่างดีเยี่ยมและใช้อาวุธทำลายเรือดำน้ำในสมัยนั้นได้จริง จรวดASROCหายไปพักหนึ่งจากเรือรุ่นใหม่ จนกระทั่งมาโผล่อีกครั้งกับระบบท่อยิงทางดิ่งหรือVLSบนเรือพิฆาตระบบเอจิสขนาด8,000ตันโน่น ถ้าไม่มีท่อยิงรวมมิตรเกิดขึ้นอนาคตของจรวดASROCคงลำบากพอสมควร
---------------------------------------------------------
ย้อนมาฝ่ายอังกฤษกันบ้างครับ หลังสงครามโลกอังกฤษมีระบบจรวดปราบเรือดำน้ำหลายแบบ แต่ที่เราคุ้นเคยกันดีก็คือLIMBOที่ติดอยู่บนเรือหลวงมกุฎ แต่ของดีที่สุดของเขาดันพัฒนาขึ้นมาโดยออสเตรเลียเสียนี่ นั่นก็คือIKARAผู้บินได้ไกลที่สุดในค่ายตะวันตก เราจะเรียกว่าจรวดหรืออากาศยานไร้นักบินที่บรรทุกตอร์ปิโดไปด้วยก็ได้มั้งครับ IKARAบินได้ไกลถึง10ไมล์ทะเลก่อนที่จะทิ้งตอร์ปิโดลงสู่ทะเลเพื่อเริ่มทำงานของตัวเอง ช่วงนั้นอังกฤษใช้อาวุธตัวนี้ควบคู่ไปกับเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำรุ่นWasp (ไอ้จ้อนน้อยของผม ชอบมากอีกเช่นกัน) ในเรือชั้นtype 12m river classของเขาบรรทุกอีน้องคาร่าไปได้ด้วยถึง26นัดด้วยกัน (ที่มีหลังคาผ้าใบปิดอยู่ด้านหน้าเรือนั่นแหละ) ท้ายเรือมีLIMBOด้วยแฮะ
จนกระทั้งช่วงปี1980 เฮลิคอปเตอร์LYNXถูกพัฒนาขึ้นมาใช้งานแทนที่ของเดิม ขณะเดียวกันบรรดาโซนาร์ลากท้ายของชาติตะวันตกก็มีขนาดเล็กลงมามากแต่มีประสิทธิภาพดีมากขึ้นเยอะ ทำให้หลังจากนั้นไม่นานIKARAก็ไม่ได้ไปต่อ อังกฤษและชาติตะวันตกส่วนมากใช้เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำและตอร์ปิโดเบาเท่านั้นเอง แต่ก็มีบางประเทศอย่างอิตาลีพัฒนาจรวดปราบเรือดำน้ำของตัวเองต่อไป แต่ค่อนข้างเทอะทะเมื่อเทียบกับเจ้าอื่นและโหลดลงท่อVLSไม่ได้
-----------------------------------------------------
ผมพอสรุปความได้ว่า
1950-1970 เป็นช่วงที่จรวดปราบเรือดำน้ำกำลังรุ่งเรือง
1970-1980 เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำเข้ามามีบทบาทมากขึ้นกว่าเดิม หลายชาติเริ่มพิจารณาใช้แทนของเดิม
1980-2000 คือช่วงทองของเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำอย่างแท้จริง กองทัพเรือทุกชาติพยายามดิ้นรนหาเรือที่มีลานจอดและซื้อเฮลิคอปเตอร์เข้ามาประจำการ ช่วงเวลานี้เรือดำน้ำจะกลัวเฮลิคอปเตอร์มากที่สุดเพราะไม่สามารถป้องกันตนเองได้เลย อีกทั้งระบบAIPก็ยังไม่มีทำให้ไม่สามารถดำน้ำหลายวันติดต่อกันได้
2000-ปัจจุบัน เฮลิคอปเตอร์ก็ยังคงสำคัญมากอยู่แต่น้อยลงกว่า20ปีก่อน เพราะเรือดำน้ำพัฒนาการมากขึ้นมีระบบAIPและติดจรวดพื้นสู่พื้นยิงได้จากระยะไกลมากได้แล้ว ทำให้ไม่จำเป็นต้องดำเข้ามาระยะใกล้เพื่อใช้ตอร์ปิโดแบบก่อนอีก อีกทั้งหลังปี2010เรือดำนำมีของเล่นใหม่เพิ่มขึ้นมาอีกคือจรวดพื้นสู่อากาศ ทำให้ไม่ตกเป็นผู้ถูกล่าแต่เพียงฝ่ายเดียวเหมือน60ปีที่ผ่านมาอีกต่อไปแล้ว
ผมขอจบมันดื้อๆด้วยภาพนี้น่าจะสมัยประมาณปี1980นะครับ แล้วพบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ(ไม่ใช่แล้ว)
ปล. ก๊อปปี้จากwordpadมาใส่เว้นวรรคผิดหมดเลย เซ็ง
ขอบคุณครับ ท่าน superboy....
ลืมนึกถึงระยะเวลาไปจริง ๆ ด้วย...ว่า ฮ.ติด ตอร์ปิโด มันมาหลัง Anti Submarine Rocket...
http://www.diehl.com/fileadmin/diehl-defence/user_upload/flyer/IDAS_07_2008.pdf
ที่ผมบอกของเยอรมัน ตัวนี้น่าจะเกิดก่อนของฝรั่งเศสนะ สามารถยิงจากใต้น้ำได้โดดยไม่ต้องลอยตัวขึ้น
ทำการทดลองยิงไปแล้วในปี 2008 กะเข้าประจำการปี 2014 ในเรือชั้น type 212
ระบบตรวจจับของเรือไม่รู้ใช้ระบบอะไร เพราะไม่บอก เดาว่าน่าจะ passive นั่นแหละ
คือโดยปกติระบบตรวจจับของเรือดำน้ำก็ใช้เชิงรับเป็นหลักอยู่แล้วเพราะไม่งั้นจะเป็นการเปิดเผยตำแหน่ง
ส่วนที่ทั่น juldas ว่ากรณีเรือชี้เป้าให้ฮ.เข้ามา ผมว่าเรือด.ก็ยิงเรือได้นะครับ ยิ่งยุคนี้มี asm ยิ่งง่าย ถ้ายิงเรือเสร็จฮ.ก็จับเป้าไม่ได้แล้ว
ซึ่งก็กรณีเดียวกับมีฮ.สองลำ แต่ก็ต้องวัดดวงกันอยู่ดีเพราะกรณีที่ต้องโผล่ขึ้นมายิงยังไงก็เป็นการเปิดเผยตำแหน่งอยู่แล้ว ไม่งั้นก็ยิงเสร็จแล้วหนี เทกระจาดพวก decoy ต่างๆ เต็มที่พร้อมดำลดระดับอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามจากโฆษณาของอาวุธพวกนี้ก็คือใช้ในสถานการณ์ที่ถูกตรวจจับแล้ว หลีกไม่ได้จริงๆ ไม่งั้นก็จะเลือกหลบฉากดีกว่าเปิดเผยตัว
IDASมีหลักการทำงานตามภาพของผมที่เป็นภาษาจีนนั่นแหละครับ เรือดำน้ำตรวจจับการปิงของเฮลิคอปเตอร์ได้จึงยิงจรวดไปยังบริเวณเป้าหมายดังกล่าว เมื่อจรวดขึ้นไปบนอากาศแล้วจะให้เรดาร์ตัวเองทำการค้นหาเป้าหมายอีกที โดยน่าจะมีระบบGPSเชื่อมโยงระหว่างเรือกับจรวดและน่าจะสามารถสั่งยกเลิกการโจมตีได้ด้วยนะผมไม่แน่ใจ
จรวดต่อสู้อากาศยานบนเรือดำน้ำเป็นอะไรที่มีความพยายามมานานแล้ว กาลครั้งหนึ่งในช่วง1970อังกฤษเคยเอาจรวดblowpipeไปติดแล้วตั้งชื่อว่าslam แต่ที่ไม่ทำต่อคงเป็นเพราะความแม่นยำของจรวดMANPADสมัยนั้นยังไม่ดีมากนัก ต่างจากจรวดMistral2ของฝรั่งเศสในเวลานี้แต่ก็ยังต้องโผล่ขึ้นไปเล็งเหมือนกันอยู่ดีนั่นแหละ เคยมีคนคิดจะเอาปืนกล30มม.มาติดด้วยนะสงสัยเอาไว้ปราบโจรสลัด
ท่านsuperboyหมายถึงโครงการปืนไร้แรงสะท้อนอัตโนมัติRMK30บนU-212ติดแบบretractableใช่ไหมครับ ผมว่าเรื่องนี้มันไร้ความคืบหน้าพอๆกับที่เยอรมันจะเอาRMK30ไปติดฮ.Tigerของตัวเองเลย ไม่รู้ปัจจุบันเป็นยังไงบ้าง
ปล.ผมเห็นจากหลายๆที่ว่าเรือดำน้ำรัสเซียจะแบกIglaไปด้วย มันอยู่ตรงไหนหว่า หรือเก็บไว้ในเรือให้ลูกเรือปีนออกมายิง
ไม่ได้เข้ามาเล่นนาน ขอตอบหน่อยครับ แต่ก่อนอื่นผมงงกับคำถาม คือมันเหมือนคุณจะถามว่า เครื่องบินรบกลัว ปตอ.มั้ย กลัวอาวุธนำวิธีต่อสู้อากาศยานหรือเปล่า ประมาณนั้น ถ้าคำถามคุณสื่อถึงตรงนี้ คำตอบคือกลัว, เรือดำนำ้กลัว ฮอ.ปราบเรือดำน้ำแน่นอน เหมือนที่เรือรบกลัวเรือดำน้ำนั่นแหละ แต่มันไม่ใช่ประเด็นครับ สิ่งที่เรือดำนำ้กลัวมากที่สุดคือการถูกตรวจพบ ต่อให้มี ฮอ.ปราบเรือดำน้ำ ชั้นยอดเป็นฝูง ก็เปล่าประโยชน์ถ้าหาเรือดำนำ้ไม่เจอ ถ้าข้าศึกมีเรือดำน้ำ เขาไม่ sms มาบอกหรอกครับ ว่ามาแล้ว อยู่ตรงนี้ มาหาหน่อย
ประเด็นคือ ฮอ.ปราบเรือดำน้ำ จะถูกใช้ต่อเมือมีการรับรู้ ตรวจพบเรือดำน้ำ
ถ้าไม่มีการตรวจพบ เรือดำน้ำก็ไม่มีเหตุที่ต้องกลัวฮอ.ปราบเรือดำน้ำ เรือบรรทุกเครื่องบินยังบ่อย้าน(ไม่กลัว)เลยครับ
จำชื่อรุ่นไม่ได้เหมือนกันท่านภูพอดีอ่านผ่านๆ(แต่น่าจะใช่เพราะไม่มีใครทำแล้วล่ะ) เวลาเซ็งๆผมมักเข้าเว็บที่มี secret projectเพราะมันมีของแปลกเยอะดี ส่วนจรวดiglaบนเรือดำน้ำรัสเซียน่าจะประมาณนี้แต่เป็นแบบท่อเดียวหรือเปล่า
ผมเคยอ่านในกระทู้จากสมาชิกท่านหนึ่งยังจำได้ว่า ฮ.ปราบเรือดำน้ำมีไว้สนับสนุนเรือรบในการตรวจหาเรือดำน้ำในพื้นที่ที่ต้องสงสัยว่ามีเรือดำน้ำทั้งในและนอกระยะโซน่าห์ของเรือรบ เพราะบนฮ.จะมีตัวรับคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าโดยแสดงผลที่จอร์มอนิเตอร์ เมื่อมีคลื่นไปรบกวนคลื่นสนามแม่เหล็กของโลก ก็จะรู้ได้ทันทีว่ามีเครื่องยนต์หรือเครื่องกังหันไฟฟ้าหมุนทำงานอยู่ในระแวกนั้น และถ้าตรวจสอบทั้งด้วยสายตาแล้วรวมไปถึงตรวจสอบจากเรด้าห์บนเรือผิวน้ำแล้วไม่พบเห็นเรือรบหรือเรือผิวน้ำอยู่ในบริเวณนั้น ก็สามารถวิเคราะห์ได้ว่าเป็นเรือดำน้ำ จากนั้นก็จะใช้ โซโนบุ้ยลงไปก่อนเพื่อความชัวร์ว่ามีเรือดำน้ำอยู่แถวนั้นจริงๆจากนั้นค่อยหย่อนทุนโซน่าลงไปเพื่อหาพิกัดและตำแหน่งให้ชัดเจนจากนั้นก็จะให้ ผู้การเรือจะเป็นคนตัดสินใจว่าจะให้ทำอย่างไรต่อไประหว่างใช้ระเบิดน้ำลึกหรือตอร์ปิโด
ครับตามที่เจ้าของกระทู้ว่าไว่ว่าเรือดำน้ำควรจะกลัว ฮ.ปราบเรือดำน้ำไหม ในความคิดเห็นโดยส่วนของผม ควรจะกลัวครับ ตามเหตุผลที่ท่านจูดาสว่าไว้นะแหละ ส่วนทีว่าเรือดำน้ำมี เจ้า mica แต่ก็อย่าลืมว่า ฮ.ปราบเรือดำน้ำเองก็มี พลุไฟ เป้าลวง shaff decoy เหมือนกันและยิ่งเจ้า mica หัวรบเป็นเรด้าห์ทำงานด้วยตัวเองโดยไม่มีตัวส่งสัญญาณ Active Homing นำไปสู่เป้าหมายของ FCS เหมือนบนเรือรบผิวน้ำ แล้วก็ยิ่งจะโดยพลุไฟหลอกได้ง่ายกว่าด้วย แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่า ฮ.ปราบเรือดำน้ำลำนั้นได้ซื้ออ็อฟชั่น shaff decoy ไว้ด้วยรึเปล่า ถ้าไม่มีก็นึกถึงพ่อแก้วแม่แก้วรอไว้ได้เลยครับ
ลืมเอารูปขึ้น
///
@ คุณ woot1980
1. active homing คืออวป.นำวิถีตัวเองครับ ไอ้ที่มีคนอื่นช่วยส่งเข้าเป้าคือ semi-active homing (สรุปคือ mica เป็น active homing missile)
2. mica เวอร์ชั่นเรือดำน้ำมีแต่รุ่น นำวิถี IIR (imaging infrared) ไม่มีรุ่นเรดาร์
3. flare เดี๋ยวนี้ทำไร IIR แทบไม่ได้แล้ว IR seeker แต่ก่อนแค่จับความร้อน ดังนั้นถ้าเอาแหล่งความร้อนที่สูงกว่าไปล่อตัวนำวิถีก็จะงง แต่ IIR เหมือนกับนำวิถีด้วยกล้องทีวีนั่นแหละ คือจับภาพเป้าหมาย เพียงแต่กรณีนี้ใช้การสร้างภาพด้วยความร้อนหรือกล้องอินฟราเรด เพราะงั้นมันแยกออกว่าไหนเป้าหมายไหนลูกไฟเฉยๆ
4. ลูกไฟไม่สามารถทำอะไรระบบนำวิถีด้วยเรดาร์ได้ (จากกรณีคุณบอก mica ใช้ active homing radar seeker ถึงจะเรียกผิดก็เถอะ)
5. shaff decoy เอาไว้กวนการทำงานของระบบนำวิถีด้วยเรดาร์ ซึ่งไม่สามารถทำอะไรระบบนำวิถี IR/IIR ได้อีกเช่นกัน
จริงอย่างท่าน Teoytai ว่า IR สมัยก่อนจับความร้อนเห็นแต่ความร้อนจากเครื่องยนต์ แต่ IR สมัยใหม่ แค่ความร้อนพื้นผิวที่แตกต่างกันมันก็รู้แล้วว่าเป็นเป้าหมาย ในยูทูปเคยมีคนทำเปรียบเทียบไว้จรวดสมัยก่อน จะมองเห็นแค่ ไอพ่นกลมๆจากท้ายเครื่อง แต่สมัยใหม่แค่ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีกับอากาศ จรวดก็จับได้ มองเห็นเป็นรูปร่างเครื่องบินชัดเจน
แต่ที่ผมไม่เห็นด้วยคือเรื่อง Flare ป้องกันจรวด IR สมัยใหม่ไม่ได้แล้ว ผมว่าถ้าปล่อยออกมาเป็นแผง ยังไงก็มีโอกาสสับสนได้ต้องวัดดวงเอา แต่ถ้าเจอแบบที่มีกล้อง TV ติดมาด้วย ก็ อาเมน....
อ้อครับ ผมจำมาผิดเองละ semi-active กับระบบ FCS
ตามที่ท่านบอกว่า mica เวอร์ชั่นที่ใช้ในเรือดำน้ำไม่มีเรด้าห์มีแต่อินฟาเรต ถ้าอย่างนั้นก็แสดงว่า ฮ.ปราบเรือดำน้ำที่ติดตั้ง decoy ก็ยังพอมีโอกาสรอดจากมิสไซด์ที่ว่า ถ้าใช้แบบเป็นชุดเยอะๆ ทั้งแสงสว่างจากพลุและม่านควันจากพลุ เพื่อรบกวนหรือกำบัง กล้องของมิสไซด์ได้บ้างรึเปล่า เพราะถ้ามันไม่มีประโยชน์ตามนี้สหรัฐคงถอดทิ้งไปหมดแล้วมั้ง ตามรูปข้างล่าง
และอีกอย่าง sam ในเรือดำน้ำก็ไม่ได้น่ากลัวมากกมายอย่างที่คิดนะครับเพราะการที่คุณจะปล่อยมิสไซด์หรือ ยิงmica ได้นั้น เรือดำน้ำต้องชัวร์ว่าตำแหน่งของ ฮ.ปราบเรือดำน้ำอยู่ที่พิกัดไหน ไม่ใช้อยู่ทะลึ่งปล่อยออกมาแบบสุ่มสี่สุ่มห้า เกิด ณเวลานั้น ฮ.อยู่ด้านท้ายเรือดำน้ำพอดี แล้วปล่อย mica ออกมา จบเห่กันละทีนี้เรือดำน้ำ เพราะมิสไซดมีแต่กล้องด้านหน้าไม่ได้มีกล้องหลังเหมือน smart phone
การที่ฮ.หรือบ.ยังมี flare อยู่นั้นก็คิดแบบนี้ละกันว่ามีก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรเลย กึ่งๆวัดดวง
คือ flare ก็ทำได้แค่รบกวน แต่ไม่สามารถหลอกกล้อง IIR ได้ หรือจะหวังให้ flare แรงจนแจมระบบนำวิถีคงจะยาก
ก็คิดดูแล้วกันว่าทำไมฮ.ของอเมริกาตกเกลื่อนกลาดทั้งอิรักและอัฟกานสถาน ซึ่ง sam manpad แทบทั้งหมดนำวิถีด้วย IR/IIR ทั้งนั้น
อนาคตอันใกล้จะเป็นระบบแจมแบบ direct countermeasure มากกว่า โดยจะใช้เลเซอร์ยิงเข้าใส่ระบบนำวิถีโดยตรง เอาให้มึนกันไปเลย
ส่วนเรื่องที่ว่าด.ต้องรู้ตำแหน่งฮ.หรือเรือก่อนที่จะยิงก็ถูกต้องครับ ไม่ว่าจะเป็นอาวุธอะไรก็ต้องเห็นเป้าหมายก่อนยิงทั้งนั้นครับ ไม่งัน้จะยิงทำไม
กรณีมิสไซล์ที่ยิงจากใต้น้ำเลย (ทั้งของ idas และ mica) พวกนี้ยิงได้แทบทุกทางเพราะสามารถบังคับทิศทางในน้ำได้ ยิงขณะด.หันตูดก็ได้และมิสไซล์มีความคล่องตัวสูง
เรื่องที่ว่าด.ไม่ได้น่ากลัว ย้ำอีกครั้งว่า หน้าที่ด.ไม่ใช่ปราบฮ.นะครับ การมีแซมเป็นระบบป้องกันตัวของด. ทำให้ฮ.เสี่ยงขึ้นมาก จากเดิมที่ไล่บี้อยู่ฝ่ายเดียวทีนี้ถ้าฮ.ปล่อยสัญญาณตรวจจับออกมาซึ่งด.จับได้ก็สิทธิ์สวยก็เยอะ
สังเกตดูจากคลิปโฆษณาก็ได้ เมื่อด.รู้ตัวว่าถูกตรวจพบจะใช้มาตรการอื่นเช่นพยายามดำหนีหรืออะไรก็ว่าไป การยิงแซมเป็นมาตรการสุดท้ายในสถานการณ์ที่หลีกเลียงไม่ได้แล้ว
จากคลิปที่ท่าน จูดาสเมื่อได้ศึกษาดูแล้ว บอกตรงๆว่ามีโอกาสน้อยมากที่เรือดำน้ำจะเห็น ฮ.ปราบเรือดำน้ำก่อนที่เรือรบผิวน้ำที่มีระบบเรด้าห์โดยย่านความถี่ X-band ที่สามารถตรวจวัตถุที่เป็นกล้องพอริสโคปหรือเสาอากาศเหนือผิวน้ำของเรือดำน้ำบวกกับESM ของเรือรบ เพราะฉะนั้นผมว่าเรือรบผิวน้ำคงจะแจ้งเตือนไปถึงฮ.ให้ระวังตัวแล้วแล้วปล่อยตอร์ปิโดลูกแรกลงไปยังพิกัดที่เรด้าห์ของเรือรบสามารถตรวจเจอ เพื่อปั่นป่วนเรือดำน้ำให้เร่งปล่อย decoy ต่างๆออกมา ก็จะยิ่งทำให้เพิ่มความเข็มของสัญญาณโซน่าให้ถี่มากขึ้นและก็จะเป็นการเปิดเผยพิกัดของเรือดำน้ำให้ชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิม ในขณะเดียวกันจะทำให้เรือดำน้ำไม่มีเวลาที่จะใช้มิสไซด์โต้กลับเพราะมั่วแต่คอยพะวงกับตอร์ปิโดและง่วนอยู่กับการใช้ decoy หลังจากนั้นก็ค่อยปล่อยทุ่นโซน่า ลงไปเพื่อหาความชัดเจนของพิกัดเรือดำน้ำ จากนั้นค่อยซัดตอร์ปิโดลูกที่สอง และอีกอย่างผมว่าในชีวิตจริงถ้าสมมุติว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นจริง แล้วเชื่อว่าไม่ได้มีแค่ ฮ.ปราบเรือดำน้ำแค่ลำสองลำคงจะมีมาจากเรือรบลำอื่นๆและกับเครื่อง P-3 เข้ามาสบทบเพิ่มมารุมกินโต๊ะเจ้าเรือดำน้ำลำนั้นแน่ๆ
1. จากคลิปที่ทั่นจูลดาสลงมา มีสองตัว mica กับ mistral
2. mica ไม่จำเป็นต้องโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำก็ยิงได้เลยถ้ามีสัญญาณโซนาร์ที่อีกฝ่ายปล่อยมา ส่วน mistral ต้องโผล่ขึ้นมาล็อกเป้าก่อนยิง
งง ตอนแรกคุยเรื่อง mica ตอนหลังกลายเป็น mistral เฉย
3. เรือดำน้ำแอบโผล่กล้องขึ้นมาถ่ายรูปเรือรบก็ออกบ่อยนะครับระหว่างการฝึกโดยกองเรือไม่รู้ตัวเลย เพราะงั้นไม่ได้แปลว่าโผล่ปุ๊บโดนตรวจพบเสมอ
4. การปล่อย decoy ทำให้สัญญาณเข้มก็จริง แต่ก็เรือก็วิ่งออกจากจุดนั้นได้ ไม่งั้นจะมี decoy ไว้ทำอะไรไว้เรียกแขกเหรอครับ decoy มันมีไว้ปล่อยสัญญาณที่แรงกว่าจากเรือเพื่อให้เรือเนียนหนีออกไปได้ (ตอร์ปิโดรุ่นใหม่ๆบางรุ่นก็สามารถแยกแยะคลื่นเสียงได้เหมือนกันทำให้ decoy ประสิทธิผลลดลงไป) เหมือนการปล่อยม่านควันกำบังของยานรบบนบก รถก็สามารถถอยออกไปขณะม่านควันคลุมอยู่ทำให้ข้าศึกไม่เห็นว่าหนีไปทางไหน ไม่ใช่ยืนทื่ออยู่กับที่รอควันหายแล้วให้ข้าศึกยิงซ้ำ
ส่วนตัวผมก็คิดว่าระบบที่ต้องโผล่ขึ้นมายิงนั้นมีข้อเสียเยอะอยู่ อีกอย่าง mistral ระยะยิงสั้นมากแค่ประมาณ 5 กิโลเมตร
แต่อนาคตเรือดำน้ำจะไม่จำเป็นต้องโผล่มาก็ลอกเป้าได้โดยใช้ทุ่นติดกล้องแล้วลากสายจากเรือดำน้ำเป็นกิโลๆ คือเรือดำน้ำจะปลอดภัยส่วนทุ่นที่ลอยขึ้นมาจะโดนยิงก็โดนไป
ส่วนการจินตนาการ scenario ก็สุดแท้แต่จะจัดฉาก สมมติมีด. 20 ลำโผล่ขึ้นมารุมกินโต๊ะฝูงบินฮ.ปราบด. ฮ.ก็คงแย่เหมือนกัน
ไม่ใช่ทุกประเทศนะครับที่ฝูงฮ.ปราบด. + เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล+ปราบเรือดำน้ำอุดมสมบูรณ์เหมือนอเมริกาหรือนาโต้
เอาง่ายๆว่าพี่ไทยอาจต้องยกมาทั้งทร.เลยทีเดียว
สรุปแล้วก็คือเมื่อไรไทยจะมีเรือดำน้ำกับเค้าซะที
เรามีรถถังดำน้ำไงครับ 555 คิดว่าคงอีกไม่นานครับเพราะภัยคุกคามใต้น้ำเริ่มเยอะขึ้นมากแล้วครับ