หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เปรูซื้อเฮลิคอปเตอร์SH-2G Super Seasprite ของนิวซีแลนด์แล้วนำไปปรับปรุงใหม่ ส่วนนิวซีแลนด์กำลังจะได้รับเฮลิคอปเตอร์ SH-2G(I) Super Seasprite ของออสเตรเลียที่ได้รับการปรับปรุงใหม่เช่นกัน

โดยคุณ : superboy เมื่อวันที่ : 14/10/2014 08:05:04

http://www.janes.com/article/44361/peru-signs-for-sh-2g-super-seasprites

Peruvian and Canadian defence authorities on 9 October signed an agreement for the Peruvian Navy to receive five Kaman SH-2G Super Seasprite multirole helicopters.

The deal covers the acquisition of SH-2G helicopters in service with the Royal New Zealand Air Force (RNZAF) since 2001. The aircraft will be acquired by General Dynamics Air & Space of Canada, which will then perform upgrade work prior to delivering the helicopters to the Peruvian Navy.

Meanwhile, the RNZAF Super Seasprite fleet is being replaced by eight former Australian SH-2G(I), the first of which performed its maiden flight last April and delivery is scheduled to be complete by mid-2015.

อ่านแล้วงงดีไหม มาครับเดี๋ยวผมจะขยายความให้งงมากกว่าเดิม

 

กองทัพเรือเปรูเซ็นสัญญาซื้อเฮลิคอปเตอร์ Kaman SH-2G Super Seasprite ของกองทัพเรือนิวซีแลนด์ที่ประจำการอยู่ในปัจจุบันจำนวน5ลำ โดยเฮลิคอปเตอร์ทั้งหมดจะมีการปรับปรุงใหม่โดยบริษัท General Dynamics Air & Space of Canada ก่อนเข้าประจำการในกองทัพเรือเปรู

 

ขณะเดียวกันกองทัพเรือนิวซีแลนด์ที่ขายเฮลิคอปเตอร์Kaman SH-2G Super Seasprite ของตนเองไปแล้ว ก็กำลังจะได้รับเฮลิคอปเตอร์ รุ่น Kaman SH-2G(I) Super Seasprite ของกองทัพเรือออสเตรเลียที่ได้รับการปรับปรุงใหม่จากKaman Corporationเช่นกัน โดยลำแรกสุดจากจำนวน8ลำจะมากลางปีหน้า และทยอยมาเรื่อยๆจนครบตามจำนวน

 

นิวซีแลนด์เริ่มประจำการเฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้ด้วยการซื้อ SH-2F Seasprite มือ2จากอเมริกามาจำนวน2ลำ จากนั้นในปี2001-2003จึงได้จัดหา SH-2G Super Seaspriteจำนวน5ลำมาใช้งาน SH-2G Super Seaspriteเป็นการนำเอาSH-2F Seasprite มาปรับปรุงโครงสร้างเครื่่องบินจนใหม่เอี่ยม เปลี่ยนระบบอิเลคโทรนิคต่างๆและสามารถใช้งานอาวุธที่ทันสมัยได้มากกว่าเดิม

 

ในโครงการเดียวกันนี้เองกองทัพเรือออสเตรเลียก็ได้จัดหา SH-2G Super Seasprite ด้วยจำนวนหนึ่่ง มีการปรับปรุงโครงสร้างและใช้อุปกรณ์อิเลคทรอนิคที่ทันสมัยมากกว่านิวซีแลนด์จนเทียบเท่าเฮลิคอปเตอร์รุ่นใหม่อย่างS-70 อย่างไรก็ดีออสเตรเลียได้ยกเลิกโครงการนี้ไปในภายหลัง เนื่องจากความล่าช้าและงบประมาณที่แพงหูฉี่แต่ประสิทธิภาพไม่ตรงตามคำโฆษณาแล้วหันไปซื้อS-70มาใช้งานในที่สุด Kamanได้เก็บเครื่องเก่าเอาไว้และประกาศขายกับมิตรประเทศฝั่งตะวันตกเรื่อยมา

 

จนกระทั้งในปี2012รัฐบาลนิวซีแลนด์จึงได้ตัดสินใจสั่งซื้อเฮลิคอปเตอร์เก่าจำนวน11ลำ โดยจะมีการปรับปรุงเพื่อนำมาใช้งานจำนวน8ลำที่เหลือคาดว่าเป็นอะไหล่ ด้วยงบประมาณ242ล้านเหรียญนิวซีแลนด์(เท่าไหร่ฟระ)พวกเขาจะได้เฮลิคอปเตอร์รุ่นเดิมแต่สดกว่าใหม่กว่าชั่วโมงบินน้อยกว่าปลอดภัยกว่า ติดอุปกรณ์อิเลคทรอนิคทันสมัยมากกว่าเดิมและน่าจะใช้อาวุธทันสมัยได้มากกว่าเดิมด้วย(อาทิเช่น ผมเห็นมีการทดสอบติดจรวดต่อต้านเรือรบเพนกวินและAGM-65D Maverickอยู่ ไม่แม่ใจว่าของเก่าทำได้ไหม) เฮลิคอปเตอร์ที่เปรูซื้อไปแม้จะมีโครงการปรับปรุงเช่นกัน แต่ถึงอย่างไรเสียก็น่าจะมีอายุการใช้ง านที่่สั้นกว่าเนื่องจากผ่านการใช้มาแล้วถึง2ชาติ ราคาคงไม่แพงมากเปรูจึงเอามาใช้งานไปก่อนดีกว่าไม่มีใช้เลยในสถานะการณ์ที่ เรือดำน้ำกลายเป็นภัยร้ายของทุกกองทัพเรือไปแล้ว

 

     และนี่คือที่มาของโครงการ ขายSuper Seaspriteเพื่อซื้อSuper Seaspriteอันลือชื่อของกองทัพเรือนิวซีแลนด์นั่นเอง

 

 





ความคิดเห็นที่ 1


ผมค่อนข้างชื่นชอบเฮลิคอปเตอร์รุ่นSeaspriteมากเป็นพิเศษ เพราะชอบหน้าตาของเขาและเป็นปฐมบทเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำรุ่นใหม่ ที่มีประสิทธิภาพสุงมากพอใช้จัดการกับเรือดำน้ำของศัตรูได้จริง จึงขอเอาบทความของท่านท้าวทองไหลมาฝากต่อเลยนะครับจะได้ไม่เสียอรรถรส จากที่นี่แหละแต่ย้อนกลับไปหลายปีอยู่เหมือนกัน

 

http://www.thaifighterclub.org/webboard/13804/%E0%B8%AE-%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97-%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%A3.html

ฮ.ซีสไปร์ท บนเรือหลวงนเรศวร

รายละเอียด :

คราวที่แล้ว ผมนำเสนอเรื่องราวของการจัดหา F-7M , A-10 ของกองทัพอากาศ ไปแล้ว คราวนี้มาเรื่องอากาศยานของกองทัพเรือบ้างครับ

ในอดีต เมื่อปี ๒๕๓๒ หลายคนที่เกิดทันยุคนั้น คงจะจำได้ว่า หนังสือสงคราม  สมรภูมิ  พูดเหมื่อนกันคือ กองทัพเรือจะซื้อซีสไปร์ท ฮ.ปราบเรือดำน้ำของอเมริกา โดยมีข่าวว่า ทร.สหรัฐฯ นั้นจะมอบ ฮ.เหล่านี้ให้ฟรี แต่ต้องหางบประมาณให้บริษัทคามาน ผู้สร้าง เอาไปซ่อมบำรุงเอง  ข้อมูลจากหนังสือทั้งสองเล่ม ชัดเจนมากครับยุคนั้น มีการตามติดข้อมูล และถือเป็นเรื่องตื่นเต้นมาก เพราะขณะนั้น เรามีการจ้างต่อเรือชั้นเจ้าพระยา และ นเรศวร จากจีน โดยเรือชุดหลังนั้นจะมีเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ประจำด้วย สุดยอดเลยครับ  การติดตามเรื่องอนุมัติเรื่องนี้มีมายาวนาน ซึ่งต่อมา ทร.อียิปฐ์  ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซื้อไปใช้งาน 

ความชัดเจนของเรื่องนี้ กองทัพเรือ เคยทำเป็นปฏิทิน ออกมาในปี ๒๕๓๔ (มีภาพประกอบ ขาวดำสองภาพ)

๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๔ ปฏิทิน กองทัพเรือ ๒๕๓๔ ลงรูปอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ของกองทัพเรือ ในส่วนของอากาศยานราชนาวี นั้น มี ๓ เดือน โดยเป็นภาพอากาศยานของประเทศอื่นแต่นำมาตกแต่งภาพเป็นของ “ราชนาวี” พร้อมลงรายละเอียดและสมรรถนะของอากาศยาน  ประกอบด้วย

-แผ่นเดือนกันยายน ๒๕๓๔ นำภาพเครื่องบินลาดตระเวนปราบเรือดำน้ำแบบ P-3C มาตกแต่งเป็นของ “ราชนาวี”  พร้อมธงราชนาวี ที่ข้างลำตัว (ปกติธงต้องอนู่ที่แพนหาง)

-แผ่นเดือนสิงหาคม ๒๕๓๔ นำภาพเครื่องบินลาดตระเวนแบบ DONIER 220-200 มาตกแต่งเป็นของ “ราชนาวี”  พร้อมธงราชนาวี ที่ข้างลำตัว (เครื่องจริงยังอยู่ระหว่างการสร้าง)

-แผ่นเดือนตุลาคม ๒๕๓๔ นำภาพเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนปราบเรือดำน้ำแบบ ซีสไปรท์ มาตกแต่งเป็นของ “ราชนาวี”  พร้อมธงราชนาวี ที่ข้างลำตัว (ปกติธงต้องอนู่ที่แพนหาง) โดยคาดว่าจะเข้าประจำการพร้อมเรือหลวงนเรศวร ในปี ๒๕๓๖

 ภาพประกอบขาวดำ (ภาพแรก) ที่กำลังลาก ฮ.เข้าโรงเก็บ มาจากหนังสือกระดูกงู เล่มเก่าๆ ปี ๒๕๓๘ ครับ

 ๒๕ มิถุนายน – ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๘ กองทัพเรือ จัดคณะเจ้าหน้าที่ ซึ่งมี นาวาเอก วิวัฒน์  เพียรเกาะ ผู้บังคับการเรือหลวงตากสิน เป็นหัวหน้าคณะฯ ร่วมตรวจสอบการปฏิบัติงานของเรือหลวงตากสิน ซึ่งกองทัพเรือสั่งต่อ ณ เมืองโจซาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเรือลำนี้เป็นเรือรบชุดแรกของราชนาวีไทย ที่มีดาดฟ้าและโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือ(ซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่โตมากนัก) การตรวจสอบการทำงานครั้งนี้ มีการทดสอบการลากจูงเฮลิคอปเตอร์เข้า – ออกจากโรงเก็บด้วย (โดยบริษัท ได้สร้างเฮลิคอปเตอร์แบบซีสไปร์ท ขนาดเท่าของจริงด้วยวัสดุไม้) เพื่อทดสอบการเข้าออกจากโรงเก็บท้ายเรือ ผลการทดสอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อยจากนั้นได้มีการรับมอบเรือ และเตรียมเดินทางกลับประเทศไทย ราวเดือนตุลาคม ๒๕๓๘

สรุปว่า กองทัพเรือ ตอนนั้นได้ยกเลิกการจัดหาซีสไปร์ท และเปลี่ยนไปจัดหาซุปเปอร์ลิงค์ มาใช้งาน  ซึ่งถือว่าดีกว่า คุ้มค่ากว่า แต่แพงกว่ามาก ครับ มาวันนี้ เรือหลวงนเรศวร เข้าซ่อมปรับปรุง ไม่ทราบว่า โอกาสที่จะมี ฮ.ปราบเรือดำน้ำ เพิ่มเติมกว่าที่มี  ที่จะมาเสริมการปราบเรือดำน้ำ ในอนาคตจะมีหรือเปล่า เพราะที่มีอยู่คงไม่พอแน่ เพื่อนบ้านมีเรือดำน้ำเพียบ ก็ขอสนับสนุนให้ ทร.ได้มีอาวุธดีๆ ที่สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน  

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 13/10/2014 18:56:52


ความคิดเห็นที่ 2


ซุปเปอร์ลิงค์ มาใช้งานในทัพเรือไทย  ไม่เคยเห็นติดอาวุธปราบเรือดำน้ำ ชัดๆ เลย

โดยคุณ p_prachuab เมื่อวันที่ 14/10/2014 03:29:56


ความคิดเห็นที่ 3


ลำดับการจัดหา และอุปสรรค ของ กองทัพเรือ ในการมี ฮ.ประจำเรือฟริเกต

ลำดับการดำเนินการ

ในปี ๒๕๔๐ หลังจากกองทัพเรือได้รับอนุมัติโครงการฯ จึงได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อพิจารณาการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าว โดยมีการกำหนดคุณลักษณะตามความต้องการทางยุทธการขึ้น แล้วประกาศเชิญชวนให้ผู้ผลิตเฮลิคอปเตอร์ยื่นเสนอแบบปรากฏว่ามีผู้เสนอเฮลิคอปเตอร์ให้พิจารณา ๓ แบบ คือ

- เฮลิคอปเตอร์ Super Seasprite ของบริษัท Kaman Aerospace ประเทศสหรัฐอเมริกา

- เฮลิคอปเตอร์แบบ Super Lynx 300 ของบริษัท GKN Westland Helicopter ประเทศ สหราชอาณาจักรฯ

- เฮลิคอปเตอร์ แบบ Panther ของบริษัท Eurocopter ประเทศฝรั่งเศส

คณะกรรมการฯ ในสมัยนั้น พิจารณาแล้วเห็นว่า เฮลิคอปเตอร์แบบ Super Seasprite และแบบ Super Lynx 300 สนองตอบความต้องการของกองทัพเรือได้มากที่สุด แต่เฮลิคอปเตอร์ Super Lynx 300 นั้น มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์แบบใหม่ โดยใช้เครื่องยนต์ที่มีกำลังสูงขึ้นประมาณร้อยละ ๓๐ ซึ่งได้ทำการทดลองมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ แต่ขณะนั้นยังไม่ได้รับการรับรองจากสถาบันการบิน กับใช้ระบบควบคุมการบินแบบ Glass Cockpit ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่กองทัพเรือยังไม่คุ้นเคยส่วน Super Seasprite นั้น เป็นการสร้างเฮลิคอปเตอร์ โดยนำเฮลิคอปเตอร์แบบ SH-2F Seasprite ซึ่งสร้างระหว่างประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๖ - ๒๕๒๗ เพื่อใช้งานในกองทัพสหรัฐอเมริกาและปลดประจำการแล้ว มาสร้างใหม่ลักษณะ Remanufacture โดยใช้ชิ้นส่วนเก่าจำนวนมาก เช่น โครงสร้างลำตัว ใบพัด ระบบส่งกำลังและเฟืองทด และระบบฐานล้อ เป็นต้น อย่างไรก็ตามด้วยความห่วงใยในเรื่องเครื่องยนต์ใหม่ที่ในขณะนั้นยังไม่ได้รับการรับรองจาก FAA และระบบ Glass Cockpit ในเฮลิคอปเตอร์แบบ Super Lynx 300 คณะกรรมการฯ จึงได้เสนอให้เฮลิคอปเตอร์แบบ Super Seasprite เป็นแบบหลัก และ Super Lynx 300 เป็นแบบรอง รวมทั้งคณะกรรมการฯ ได้เสนอให้ลดจำนวนในการจัดหาลงจาก ๓ เครื่องเหลือ ๒ เครื่อง เนื่องจากราคาเฮลิคอปเตอร์ทั้ง ๒ แบบสูงกว่าที่ประมาณการไว้มาก และเนื่องจากการจัดหาเฮลิคอปเตอร์แบบ Super Seasprite จำเป็นต้องนำซากเฮลิคอปเตอร์ที่ปลดจากกองทัพสหรัฐฯ มาปรับปรุง กองทัพเรือจึงทำเรื่องขอซากเฮลิคอปเตอร์แบบ Seasprite จากรัฐบาลสหรัฐฯ ๑๐ เครื่อง (ขอจากคำแนะนำของ จัสแม็กไทย เพื่อให้มีจำนวนเพียงพอสำหรับปรับปรุงในโอกาสต่อไป เพราะอาจมีประเทศอื่นขอ หรืออาจถูกทำลายหมดไป) แต่กองทัพเรือมิได้เสนอขออนุมัติจัดหาเฮลิคอปเตอร์ในครั้งนั้น เนื่องจากในกลางปี ๒๕๔๐ ได้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นในประเทศไทย ทำให้ค่าเงินบาทลดลงอย่างมาก กองทัพเรือจำเป็นต้องปรับนำ งบประมาณที่ได้รับสำหรับโครงการนี้ ไปชดเชยผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา และได้พิจารณาลดจำนวนเฮลิคอปเตอร์ที่จะจัดหาลงเหลือ ๒ เครื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศ

 

การบินทดสอบเฮลิคอปเตอร์ Super Lynx 300 เมื่อ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๔

Panther

Super Seasprite

รูปที่ ๓ - เฮลิคอปเตอร์ประจำเรือฟริเกตแบบต่างๆ

 

 

  ในปีงบประมาณ ๒๕๔๑ กองทัพเรือไม่ได้รับงบประมาณเพื่อการนี้ ในปีงบประมาณ ๒๕๔๒ กองทัพเรือได้รับงบประมาณในโครงการนี้จำนวนหนึ่ง แต่เนื่องจากวงเงินของโครงการนี้ได้ปรับสูงขึ้นมาก ทำให้ไม่สามารถเริ่มโครงการได้

ในปีงบประมาณ ๒๕๔๓ กองทัพเรือได้รับงบประมาณในโครงการนี้จำนวน ๖๐๗.๕ ล้านบาท และจะได้รับในปีงบประมาณ ๒๕๔๔ จำนวน ๘๘๘.๐๑ ล้านบาท รวม ๑,๔๙๕.๕๑ ล้านบาท ซึ่งได้ตรวจสอบแล้วไม่เพียงพอ รวมทั้งข้อจำกัดของเวลาการผูกพันงบประมาณกองทัพเรือจึงพิจารณาที่จะจัดหาเฮลิคอปเตอร์ที่มีราคาต่ำกว่า ที่พอจะสามารถปฏิบัติงานร่วมกับเรือฟริเกตได้ในระดับหนึ่ง และได้ตกลงใจที่จะจัดหาเฮลิคอปเตอร์ แบบ S –70A (Black Hawk) จำนวน ๓ เครื่องแทน เนื่องจากเห็นว่าเป็นเฮลิคอปเตอร์เอนกประสงค์ที่กองทัพเรือมีความขาดแคลนอยู่เช่นกันและมีคุณลักษณะพอที่จะนำไปใช้ปฏิบัติการร่วมกับเรือฟริเกตได้ กองทัพเรือจึงเสนอขออนุมัติจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ แบบ S –70A (Black Hawk) จำนวน ๓ ตามลำดับ แต่กระทรวงกลาโหมได้ให้กองทัพเรือพิจารณาทบทวนการจัดซื้อดังกล่าว

 

รูปที่ ๔ - เฮลิคอปเตอร์ Black Hawk

 

กองทัพเรือได้นำการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ Black Hawk กลับมาทบทวน โดยได้พิจารณาเห็นว่า กองทัพเรือยังมีความจำเป็นต้องจัดหาเฮลิคอปเตอร์ประจำเรือฟริเกต แต่ปัญหาที่สำคัญคือ งบประมาณไม่เพียงพอ กองทัพเรือจึงได้ประสานสำนักงบประมาณขอให้พิจารณาความเป็นไปได้ในการเพิ่มวงเงินสำหรับโครงการนี้ โดยขอให้ใช้ฐานราคาที่เป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี ๒๕๓๙ ซึ่งเป็นปีที่ตั้งโครงการ แต่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในปี ๒๕๔๓ ซึ่งจะทำให้วงเงินใกล้เคียงกับความเป็นจริงอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งสำนักงบประมาณเห็นด้วย เมื่อมีความเป็นไปได้ในด้านงบประมาณในเดือนตุลาคม ๒๕๔๓ กองทัพเรือจึงได้ทบทวนคุณลักษณะของเฮลิคอปเตอร์ที่จะจัดหาอีกครั้งหนึ่งปรากฎว่าใกล้เคียงกับของเดิมมาก และได้ตรวจสอบแล้วในห้วงเวลา ๓ - ๔ ปี ที่ผ่านมา ไม่มี เฮลิคอปเตอร์แบบใหม่ที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกันเพิ่มเติมแต่อย่างใด จึงได้ดำเนินการเพื่อการจัดหาต่อไป โดยเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๓ กองทัพเรือได้รับราคาของเฮลิคอปเตอร์ทั้งสองแบบคือ Super Seasprite และ Super Lynx 300 จากบริษัทผู้ผลิต ซึ่งจากราคาที่เสนอเฮลิคอปเตอร์แบบ Super Lynx 300 มีราคาถูกกว่าเฮลิคอปเตอร์แบบ Super Seasprite นอกจากนั้น ข้อด้อยของเฮลิคอปเตอร์ Super Lynx 300 ในการพิจารณาคัดเลือกแบบเมื่อปี ๒๕๔๐ เช่น เครื่องยนต์แบบ LHTEC CTS 800 ที่นำมาติดตั้งใหม่ก็ได้รับการรับรอง และมีการบินทดสอบจนเป็นที่ยอมรับแล้ว และระบบควบคุมการบิน Glass Cockpit แบบ Integrated System นั้น ได้รับการยอมรับใช้เป็นมาตรฐานในปัจจุบัน รวมทั้งเป็นเทคโนโลยีเดียวกับที่มีอยู่ในเฮลิคอปเตอร์แบบ S – 70B ที่กองทัพเรือได้รับเข้าประจำการ ในปี ๒๕๔๐ และใช้งานมาเป็นเวลา ๓ ปีแล้ว พบว่าเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยง่ายต่อการใช้งาน สามารถลดความเครียดในการบินของนักบินได้ ในขณะที่เฮลิคอปเตอร์ Super Seasprite ยังคงจัดสร้างด้วยกระบวนการ Remanufacture ดังนั้นในวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๓ กองทัพเรือจึงตกลงใจคัดเลือกเฮลิคอปเตอร์แบบ Super Lynx 300 เป็นเฮลิคอปเตอร์ประจำเรือฟริเกต และได้การดำเนินการเจรจากับบริษัทฯเพื่อจัดซื้อ โดยเมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ กองทัพเรือได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อตามระเบียบสำนักนายกว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ ขึ้นเพื่อดำเนินการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษกรณีเป็นพัสดุที่จำเป็นต้องสั่งซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ และเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๓ กองทัพเรือได้มีหนังสือเสนอ บก.ทหารสูงสุด เพื่อเสนอกระทรวงกลาโหมขออนุมัติจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ Super Lynx 300 จำนวน ๒ เครื่อง เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๓ กองทัพเรือได้มีหนังสือเสนอ บก.ทหารสูงสุด เพื่อเสนอกระทรวงกลาโหมขออนุมัติจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ Super Lynx 300 จำนวน ๒ เครื่อง

 

รูปที่ ๕ - แผนผังแสดงรายการอุปกรณ์เก่า และใหม่ที่ใช้ในการผลิตเฮลิคอปเตอร์ Super Seasprite

 

การจัดหาเฮลิคอปเตอร์ประจำเรือฟริเกตของกองทัพเรือได้ผ่านการพิจารณาของหน่วยต่างๆ ตามลำดับชั้น อย่างรอบคอบมาแล้ว คือ กองบัญชาการทหารสูงสุด คณะกรรมการพิจารณามาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหม สำนักงบประมาณ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และใน ๘ มิ.ย. ๔๔ ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ ๑ แล้ว ดังนั้นจึงเป็นที่แน่ใจได้ว่า การจัดหาเฮลิคอปเตอร์ประจำเรือฟริเกตของกองทัพเรือในครั้งนี้เป็นดำเนินการที่มีความเหมาะสม คุ้มค่าต่อเงินภาษีอากรของประชาชน ในการป้องกัน รักษาอธิปไตย และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 14/10/2014 07:55:10


ความคิดเห็นที่ 4


รบกวน แก้ไข รูป Avatar หน่อยครับ มันล้ำกระทู้ ใหญ่เกินไปครับ หรือ ลบทิ้งไปก่อนก็ได้ครับ เดือดร้อน สมาชิกอ่านครับ

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 14/10/2014 07:56:44


ความคิดเห็นที่ 5


สรุปคร่าว ๆ คือ

1. Super Seasprite ได้เป็น แบบหลัก

2. Super Lynx ได้เป็น แบบรอง (เนื่องจากติดปัญหาการรับรองมาตรฐานในขณะนั้น ใหม่เกินไป)

3. จำนวนจัดหา 3 ลำ

4. งบประมาณได้มา ไม่เพียงพอ ลดจำนวนเหลือ 2 ลำ โดย จัสแมก ไทย ได้แนะนำ ให้ขอ อะไหล่อีก 10 ลำ 

5. เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ต้มยำกุ้ง โครงการยังไม่เกิด

6. ได้งบประมาณมาจำกัด ปี 2540 แต่ก็ไม่เพียงพอ เลยเปลี่ยนไปจัดหา Black Hawk จำนวน 3 ลำ แทน

7. สภากลาโหม ตีกลับ ให้มาทบทวนใหม่

8. ได้งบประมาณเพิ่ม แต่ในขณะนั้น ทำให้ราคาของ Super Seasprite สูงกว่า Super Lynx และในขณะนั้น Super Lynx ได้รับการรับรองมาตรฐานครบถ้วนแล้ว)

9. การคัดเลือก จึงตกอยู่กับ Super Lynx จำนวน 2 ลำ

10. รวมระยะเวลาดำเนินการโครงการจัดหางบประมาณ ปี 2540 - 2544 เป็นระยะเวลา 4 ปี

11. แต่ถ้านับรวมตั้งแต่ เริ่มมีวัตถุประสงค์มีความต้องการ ตั้งแต่ปี 2532 ก็จะรวมเป็นระยะเวลากว่า 12 ปี ถึงจะมี ฮ.ประจำเรือฟริเกต ชุด นเรศวร

12. นับจากปี 2548 ที่ได้ประจำการ ซุปเปอร์ ลิงซ์ แล้ว จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลารวม 9 ปี ยังไม่มี ฮ.ประจำเรือฟริเกต เพิ่มเติม 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 14/10/2014 08:05:04