หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ภาพพาเหรด กองทัพอินโดนีเซีย ครบรอบ 69 ปี

โดยคุณ : juldas เมื่อวันที่ : 13/10/2014 22:17:03

เห็นภาพแล้ว ก็พลอยต้องชื่นชมไปกับ กองทัพอินโดนีเซีย ที่มีความยิ่งใหญ่ และพอจะมองเห็นอนาคต ที่น่าจะเป็น กองทัพของประเทศในกลุ่ม AEC ที่จะมีความเติบโต ในลำดับต้น ๆ

 





ความคิดเห็นที่ 1


รวมภาพ เกี่ยวกับ กองทัพเรือ

 











โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/10/2014 11:21:40


ความคิดเห็นที่ 2


ต่อ ครับ











โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/10/2014 11:24:11


ความคิดเห็นที่ 3


ต่ออีกนิด





โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/10/2014 11:25:18


ความคิดเห็นที่ 4


รวมภาพ เกี่ยวกับ กองทัพอากาศ และภาพก่อนวันพาเหรอ สำหรับ รวมฝูงบินขับไอพ่น











โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/10/2014 11:27:42


ความคิดเห็นที่ 5


ต่อครับ











โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/10/2014 11:30:11


ความคิดเห็นที่ 6


รวมภาพ เกี่ยวกับ กองทัพบก และ นาวิกฯ

 











โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/10/2014 11:33:00


ความคิดเห็นที่ 7


หรูอลังจริงๆ เห้นแล้วอิจฉา ของเราไม่ได้เห็น ฮ. หรือ บ. บินเป็นฝูงๆ อย่างนี้มานานแล้วนะครับ

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 09/10/2014 11:46:10


ความคิดเห็นที่ 8


เมื่อไหร่ oplot ไทยจะส่งมอบครับเดือนนี้จะได้ไหมครับ

โดยคุณ bok01 เมื่อวันที่ 09/10/2014 11:51:50


ความคิดเห็นที่ 9


อื้อหืออ....สุดยอดจริงๆ

ผมชอบนโยบายการจัดหาอาวุธของอินโดหลายอย่าง รู้สึกว่าทำได้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ ไม่บ้าพลัง ซื้อแบบสมเหตุสมผล ซื้อฉลาดๆ

ว่าแต่ marder กับ leo 2a4 นี่ได้รับเมื่อไหร่ แล้วครบหรือยัง marder นี่ผลิตเองหมดหรือเปล่า หรือซื้อล็อตแรกอะไรประมาณนั้น

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 09/10/2014 12:04:29


ความคิดเห็นที่ 10


ถ้าจะพูดถึง อาวุธต่างๆเค้าน่าอิจฉา น่าอิจฉาจริงครับ แต่ถ้าจะพัฒนากองทัพด้วยงบประมาณ

มหาศาลขนาดนี้ แต่เเลกกับ คุณภาพชีวิต หรือ ระบบสาธารณูประโภค ของประชาชนที่ดี

จากการที่ผมได้มีโอกาสสัมผัสด้วยตัวเอง เจ็ดวันใน จากาตาร์ ผมว่าประชาชนอินโด อิจฉาไทย

โดยคุณ oasis_king เมื่อวันที่ 09/10/2014 14:01:59


ความคิดเห็นที่ 11


ประเทศอินโดนีเซีย ก็ไม่ได้ลงทุนในอาวุธ มากมาย นะครับ

ถ้าเฉลี่ยต่อประชากร จาก GDP  ในส่วนของประเทศไทย กลับจะมีค่าใช้จ่ายในการป้องกันประเทศ มากกว่า อินโดนีเซีย อีกครับ

อินโดฯ เฉลี่ย 28 ดอลล่าร์ ต่อ คน ส่วนประเทศไทย 81 ดอลล่าร์ ต่อ คน

ถ้าเทียบ GDP ปี 2013 ต่อ คน

อินโดนีเซีย 6,728 ดอลล่าร์ ต่อ คน ค่าใช้จ่ายป้องกันประเทศ 28 ดอลล่าร์ต่อคน หรือ 0.42%

ประเทศไทย 7,907 ดอลล่าร์ ต่อ คน ค่าใช้จ่ายป้องกันประเทศ 81 ดอลล่าร์ต่อคน หรือ 1.02%

ถ้าเปรียบเทียบตามข้อมูลใน แผ่นภาพ นะครับ

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/10/2014 15:31:05


ความคิดเห็นที่ 12


ดูการสวนสนามของเค้า มันน่าตื่นตาตื่นใจ จัดเต็มจริง ๆ ของเราอยากให้ได้อย่างนี้บ้างจัง ภูมิใจแทนประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน เรือ เครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ วิ่งกันวุ่น มองมาของเรามีอย่างละลำ ขอเรือชุดกระบี่ อีก 3 ลำ ชุดอ่างทอง อีก 1 ลำ จะดีมากๆ เลยครับ

โดยคุณ tommy เมื่อวันที่ 09/10/2014 15:34:08


ความคิดเห็นที่ 13


อินโดเป็นชาติมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีประชากร เกือบ 250 ล้านคน ไทยมีประมาณ 70 ล้านคน ตัวหารมันก็ต้องมากกว่าสิครับ ไทยมีประชากรน้อยกว่า อินโด 3.7 เท่านะครับ 

http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_Asian_countries_by_population

โดยคุณ skysky เมื่อวันที่ 09/10/2014 16:42:18


ความคิดเห็นที่ 14


อินโดเป็นชาติมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีประชากร เกือบ 250 ล้านคน ไทยมีประมาณ 70 ล้านคน ตัวหารมันก็ต้องมากกว่าสิครับ ไทยมีประชากรน้อยกว่า อินโด 3.7 เท่านะครับ 

http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_Asian_countries_by_population

โดยคุณ skysky เมื่อวันที่ 09/10/2014 16:42:18


ความคิดเห็นที่ 15


ก็ใช่ไงครับ ว่าถ้าเทียบกับ พื้นที่ กับ ประชากรแล้ว อินโดนีเซีย ใช้จ่ายในส่วนการ ป้องกันประเทศ ก็ไม่ได้เยอะครับ ยังมีโอกาส โต ได้อีกครับ...ประชากรเขาเยอะ ผลิตภัณฑ์มวลรวม เขาก็จะสามารถ เติบโต ได้อีกครับ...

โดยถ้าเทียบ ค่าใช้จ่ายในการป้องกันประเทศแล้ว ยังไม่ถึง 1% ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวม...ในขณะที่ ประเทศไทย จะมากกว่าไปแล้ว...

ประชากรเขาเยอะ พื้นที่ประเทศ เขา ก็มากกว่าประเทศไทย หลายเท่า แต่ ค่าใช้จ่ายในการป้องกันประเทศเขา ประมาณ 6.87 พันล้านดอลล่าร์ ในขณะที่ประเทศไทย อยู่ที่ 5.39 พันล้านดอลล่าร์ มากกว่าประมาณ 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ เท่านั้น...ในขณะที่ประชากร กับ พื้นที่ เขามากกว่า ประเทศไทย เป็น เท่าตัว หรือ 2 เท่าตัว หรือ มากเกินกว่า 100%...

 

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/10/2014 17:29:45


ความคิดเห็นที่ 16


                 หลักการจัดหาต่างกัน ของเขาเน้นคุ้มค่าเงิน สมเหตุสมผล ดีลแต่ละอย่างน่าอิจฉา ส่วนของเรามันเน้นหนักด้านคุณค่าทางโภชนาการ

                 แถมยังไช่งานไม่เหมาะสมกับบ้านเราอิก

 

โดยคุณ YUKIKAZE เมื่อวันที่ 09/10/2014 17:53:31


ความคิดเห็นที่ 17


ข้อมุลเปรียบเทียบ ครับ จาก วิกีพีเดีย กับ SIPRI

งบประมาณป้องกันประเทศ ปี 2013 อินโดนีเซีย มากกว่า ประเทศไทย 33%

แต่เมื่อเทียบกับ ผลิตภัณฑ์มวลรวม ของประเทศ กับ ประชากร กับ พื้นที่ประเทศ ก็จะเห็นว่า งบป้องกันประเทศเขา ไม่เกิน 1% ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวม ส่วนของประเทศไทย อยู่ที่ 1.50% (ข้อมูลของ SIPRI)

ซึงเมื่อเราเห็นภาพ การป้องกันประเทศ เขาแล้ว จะดูมีครบทุก มิติ และ กำลังเติบโต ขึ้น ทั้งการผลิตใช้งานเอง และออกขายให้ประเทศอื่น ๆ

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/10/2014 18:08:17


ความคิดเห็นที่ 18


ผมไม่แน่ใจว่าเราควรดู จำนวนเงินหรือ % ในGDP เป็นหลักนะครับ เพราะ อย่างสิงคโปร ก็ปาเข้าไป เกือบ 4% gdp แต่แน่นนอนว่าตัวเงินมากกว่าก็ซื้อของได้มากกว่า และ อินโดก็งบมากกว่าเราถึง 1 ใน3 หรือ ประมาณ 1.5 billions ต่อปี 

http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_military_expenditures

ปล มีใครทราบมั่งครับว่า defence budget ของทุกประเทศ คำนวนจากพื้นฐานเดียวกันไหม เช่น ทุกประเทศเอา งบ บุคลากร งบก่อสร้าง มาใส่ใน งบ กลาโหม เหมือนกัน หรือ  เอาไปใส่ในงบกลางไหม แล้วงบกลาโหมคือ งบซื้ออาวุธล้วนๆหรือเปล่า   อันนี้อยากรู้มานานล่ะ ว่า ตัวเลขที่จัดลำดับ มันอยู่ในพื้นฐานเดียวกันไหม 

โดยคุณ skysky เมื่อวันที่ 09/10/2014 19:06:49


ความคิดเห็นที่ 19


ตัวเลขเขาใช้ตัวเลขงบประมาณแผ่นดินของ กระทรวงกลาโหม ครับ การใช้เทียบเปอร์เซ็นต์ เผื่อให้ภาพง่ายๆ ครับ ซึ่งจะทำให้มีการประเมินการเติบโตได้ครับ ก็ถึงได้เปรียบเทียบให้เห็นไงครับว่า ดูเหมือน อินโดนีเซีย จะใช้งบประมาณมหาศาล ในการทหาร แต่ถ้าดูถึงตัวเลขในความสามารถหารายได้ของเขาแล้ว เขาก็ไม่ได้ใช้มาก อย่างภาพปรากฎ หรือ พูดง่ายๆ ว่า ในความสามารถหารายได้ของประเทศเขานั้น เขาดึงเงินเพียง 90 สตางค์ จากรายได้ 100 บาท แต่ประเทศไทย ต้องดึงเงิน 1.50 บาท จากรายได้ 100 บาท และได้ตามสภาพที่เห็นอยู่ ประเทศอินโดนีเชีย จึงพอจะมองภาพได้ว่า เขายังมีโอกาสเติบโต ในการป้องกันประเทศ ได้อีกมากครับ
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/10/2014 19:23:16


ความคิดเห็นที่ 20


ถ้าในแง่ของจำนวนผมว่าของไทยก็สามารถนำมาแสดงได้ไม่น้อยหน้าใครแถวนี้หรอกครับ  แต่ความทันสมัยอาจจะน้อยกว่านิดหน่อย  แต่ถ้างบประมาณกองทัพอยู่ที่ 180,000 ล้านบาทขึ้นไปทุกปี ผมว่าอีก 5 ปีกองทัพเราน่าจะมีอาวุธทันสมัยขึ้นมากครับ

เรื่องจำนวนผมคิดว่าคงหาของใหม่ทดแทนของเดิมคงไม่ได้ทั้งหมด อาจเป็นของใหม่ 2 ชิ้นทดแทนของเก่าที่ปลดไป 3 ชิ้น อะไรประมาณนั้นครับ และมีของค่อนข้างเก่าปรับปรุงใหม่เยอะหน่อย ครับ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 09/10/2014 21:17:07


ความคิดเห็นที่ 21


อินโดนีเซียเองก็มีโครงการประชานิยมเหมือนบ้านเรา อย่างเช่นราคาน้ำมันได้ถูกแบกเอาไว้ปีละมหาศาล ผมไม่แน่ใจว่าเขาแบกแต่ดีเซลกับแก๊สหรือเปล่าแต่คิดว่าคงทั้งหมด ประเทศนี้เศรษกิจกำลังดีครับว่ากันตามตัวเลขไม่ใช่ความรู้สึก

 

มี2อย่างที่อินโดนีเซียทำได้มานานแล้วและเราตามหลังแบบห่างมากกว่า10ปีขึ้นไป นั่นคือ1อุตสาหกรรมทางการทหารที่สามารถผลิตอาวุธหนักเบาได้เองจำนวนมาก และ2การใช้อาวุธที่เป็นมาตราฐานร่วมกันทั้ง3เหล่าทัพรวมถึงตำรวจและหน่วยงานอื่นด้วย ประเทศเขาซื้อเฮลิคอปเตอร์โดยการซื้อไลเซ่นจำนวนมากทีเดียวครบทุกหน่วยงานแล้วเอามาประกอบเองในประเทศ ส่วนประเทศเรานั่นเหรอ... ล่าสุดกองทัพบกและกองทัพเรือซื้อเรดาร์ภาคพื้นดินสเป็กใกล้เคียงกัน แต่ผลการคัดเลือกได้คนละประเทศคนละรุ่นกันเลยไม่รู้จะคุยกันยังไงว้าเหว่สิ้นดี

 

ผมเองไม่ใช่คนชอบด่าประเทศตัวเองนะครับแต่ก็ไม่ชอบอวยแบบไม่มีเหตุผลด้วยเช่นกัน อินโดนีเซียเป็นแบบอย่างที่ไทยควรก้าวตามแม้ผมจะชอบสิงคโปร์มากกว่าก็ตาม เป็นเพราะพี่ซิงแกไปไกลแล้วแต่เรายังพอเดินตามอีเหนาได้ เริ่มจากการใช้อาวุธที่เป็นมาตราฐานร่วมกันก่อน แค่โจทย์แรกก็ยากเต็มกลืนแล้ว ปัญหาของไทยไม่ใช่เรื่องงบประมาณแต่เป็นการบริหารงบประมาณมากกว่า

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 09/10/2014 22:17:43


ความคิดเห็นที่ 22


อินโด โตช้ากว่าเรา แต่คาดว่าจะแซงเราในเวลาอันใกล้

บ้านเรายังโตไปได้อีก แต่เกิดปัญหากัดกันเองจนไม่ไปไหนสักที

อินโดแม้จะมีปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำแต่อย่างน้อยเค้าก็ไม่หยุด ยังโตไปได้เรื่อยๆ

จับตาดูในอนาคต อุตสาหกรรม โดยเฉพาะยานยนต์จะโตที่อินโดที่สุด (แม้แต่มาเลย์ก็แอบแซงเราด้วย)

เราไม่มีทางไปแข่งกับเขาได้แน่ๆ หากยังไม่แก้ปัญหาอะไร

โดยคุณ delete เมื่อวันที่ 09/10/2014 22:47:27


ความคิดเห็นที่ 23


เห็นการสวนสนามของเขาแล้ว ชอบตรงที่ยุทโธปกรณ์ของเขาแต่ละแบบอย่างเช่น ฮ. เรือ ๆลๆ มีหลายลำมากๆ ไม่ใช่แต่ละแบบมีแค่ไม่กี่ลำ แถมยุทโธปกรณ์ส่วนใหญ่เป็นระบบมาตราฐานเดียวกัน แล้วสวนสนามทีก็มาเกาะหมู่กันทีหลายลำเลย ชอบมากครับ อยากเห็นการสวนสนามเราจัดเต็มแบบนี้บ้างจัง
โดยคุณ Exocet เมื่อวันที่ 10/10/2014 07:25:35


ความคิดเห็นที่ 24


เห็นภาพ อาปาเช่ ในงานของ อินโดนีเซีย ไม่แน่ใจว่าจะเป็น สหรัฐ หรือ ออสเตรเลีย ซึ่งคิดว่า อินโดนีเซีย น่าจะใช้สำหรับการฝึกอยู่ โดยมีแผนจะเข้าประจำการในปี 2017

สำหรับ ดีล อาปาเช่ มีมูลค่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน 8 ลำ และจะมีจำนวน 4 ลำ จะนำไปประจำการที่เกาะ Natuna ซึ่งมาเป็นประเด็นร้อนเมื่อเร็ว ๆ นี้ จากการ จีน จะเครมพื้นที่ข้อพิพาท หมู่เกาะ สแปชรี่ย์ มาถึง น่านน้ำใน Natuna Island ส่วนอีก 4 ลำ ไม่เปิดเผยว่าจะนำไปประจำการที่ใด ใน จาการ์ตา

เลยส่งผลให้ อินโดนีเซีย จะตั้งฐานทัพบนเกาะนี้

ข่าว อินโดนีเซีย ไม่พอใจ ที่จีน กล่าวอ้างในน่านน้ำบริเวณ Natuna Island

China’s Newest Maritime Dispute

China’s hardly in need of more territorial disputes with neighbors. Yet, it has started a new one with Indonesia.

zachary-keck_q

By Zachary Keck

China is hardly in need of additional territorial disputes these days, but it seems to have a new one on its hands.

Last week a senior Indonesian defense official announced that China’s new drawing of its nine-dash line includes waters that Jakarta claims as its own.

“China has claimed Natuna waters as their territorial waters. This arbitrary claim is related to the dispute over Spratly and Paracel Islands between China and the Philippines. This dispute will have a large impact on the security of Natuna waters,” assistant deputy to the chief security minister for defense strategic doctrine Commodore Fahru Zaini said, according to Indonesia’s official news agency,Antara.

The Natuna waters (named after the islands they border) are part of Riau Islands Province in Indonesia, located along the southern partof the strategic Strait of Malacca. They are part of the South China Sea. Fahru explained that a new map on Chinese passports encompasses part of the Natuna waters, raising the irk of Indonesian officials.

“What China has done is related to the territorial zone of the Unitary Republic of Indonesia. Therefore, we have come to Natuna to see the concrete strategy of the main component of our defense, namely the National Defense Forces (TNI),” Fahru, who was visiting the Riau Islands, added. He went on to complain that China’s nine-dash line isn’t transparent owing to the fact that it doesn’t include precise coordinates.

Interesting, as Scott Cheney-Peters notes over at the excellent Center for International Maritime Security (CIMSEC) blog, just weeks before Fahru made the announcement about China’s encroachment, Indonesia had announced it was building up its naval, air and army forces on and around the Natuna Islands as a preemptive measurement against instability in the South China Sea.

“The deployment of the TNI forces around the Natuna waters aims to anticipate possible infiltration as a result of instability in the South China Sea,” TNI chief General Moeldoko said according to an Antara report. While maintaining that Indonesia is ready to cooperate with countries like China and the U.S., Moeldoko added: “Since Natuna is strategically located, the increase of its forces at sea, on the ground, and in the air is necessary to anticipate any instability in the South China Sea and serve as an early warning system for Indonesia and the TNI.” Earlier in the year, Indonesian media reported that Jakarta would soon announce the Natuna Islands as one of the four hotspots it would focus on militarily in the coming years.

Scott, who recently wrote a piece for The Diplomat on Indonesia’s maritime woes, also noted that the waters around the Natuna Islands are where Indonesia will host the upcoming 2014 Komodo multilateral joint exercise. The exercise will include participants from the ASEAN countries, China, the United States, Russia, Australia, New Zealand, India, South Korea, and Japan.

Although the Komodo exercise’s main focus will be on Humanitarian Assistance/Disaster Response (HA/DR) operations, Indonesian officials have made no secret of the fact that they intend to incorporate the growing maritime disputes into the drills.

In announcing last summer that Indonesia would be hosting the 2014 exercise, a senior TNI Naval official said: “The exercise will focus on naval capabilities in disaster relief, but we will also pay attention to the aggressive stance of the Chinese government by entering the Natuna area.” The same official went on to state: “We want to explain that our foreign police stipulates that Natuna is part of Indonesia…. Currently there has been no claim from China over the Natuna area but we do not want the Sipadan-Ligitan incident to happen again.”

China’s decision to antagonize Indonesia could be a costly one given the amount of influence Jakarta wields in the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN).

March 20, 2014



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/10/2014 09:03:46


ความคิดเห็นที่ 25


ถึงคุณ delete เรื่องอุตสาหกรรมยานยนต์ของอินโดนีเซียโตกว่าไทยเราในอนาคตมันของตายอยู่แล้วครับ เพราะประเทศเค้ามีประชากรมากกว่าเราอัตราการบริโภคย่อมมากกว่า แค่เค้าผลิตรถยนต์ขายในบ้านเค้าเองอุตสาหกรรมยานยนต์ก็อยู่ได้โดยไม่ต้องส่งออกยังได้เลย ครับนั้นถ้าพูดกันโดยพื้นฐานแล้ว ทั้งค่าแรงขั้นต่ำก็ถูกกว่าไทยแต่เรื่องคุณภาพแรงงานอันนี้ยังสู้คนไทยไม่ได้ จึงทำให้บริษัทรถยนต์หลายๆค่ายยังไม่กล้าจะเข้าลงทุนในประเทศอินโดอย่างเต็มที่ แต่คิดว่าอินโดฯคงต้องออกแรงเหนื่อยอย่างมากถ้าคิดจะแซงไทยให้ได้ในช่วงระยะเวลาอันใกล้นี้ นั้นก็เพราะว่าส่วนหนึ่งรัฐบาลอินโดได้ประกาศยกเลิกนโยบายอุดหนุนด้านพลังงานไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะทำให้ราคาเชื้อเพลิงที่ใช่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศอินโดฯสูงขึ้น

ส่วนในมาเลเซียที่ว่าจะแซงไทยคงจะยากอ่ะครับเพราะ เพราะประชากรบ้านเค้าน้อยกว่าเราอัตราการบริโภคย่อมน้อยกว่าและแถมบริษัทรถยนต์ทั่วโลกโดยส่วนใหญ่จะปฏิเสธที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศมาเลเซียแล้ว อุตสาหกรรมยานยนต์ในมาเลเซียอยู่ได้ทุกวันนี้คือต้องลงทุนสร้างแบรนด์ของตนเองขึ้นมาเท่านั้นนั้นก็คือ Proton

สาเหตุเพราะคุณภาพแรงงานในมาเลเซียสู้ไทยไม่ได้ อีกทั้งค่าแรงขั้นต่ำก็สูงกว่าไทยเราด้วย

ค่ายรถยนต์ที่เค้ามาลงทุนเปิดโรงงานประกอบรถยนต์ในบ้านเรานี้ที่เห็นๆก็ มี toyota ,honda , nissan, ford, GM, isusu, mitsubishi, BMW, suzuki  ส่วน Mazda จ้าง AT ประกอบรถยนต์ให้  และล่าสุดในปี 2015 บริษัทค่าย MG จากจีนร่วมทุนกับเครื่อ CP จะเริ่มเดินสายการผลิตรถยนต์เพื่อขายในไทยและส่งออกด้วย แล้วก็แว่วๆว่าทาง Volkswagen จากเยอรมันก็กำลังมองทำเลที่ตั้งโรงงานประกอบในประเทศ ในปี 2015 นี้ด้วย  แล้วประเทศไทยเราก็จะทำหน้าที่เป็น ฮัป ที่จะเป็นประเทศหลักจะกระจายรถยนต์ที่ผลิตได้ในไทยเราส่งต่อไปขายยัง พม่า ลาว เขมร เวียดนาม โดยการขนส่งทางรถไฟและรถบรรทุกเมื่อเข้าสู่ AEC แล้วในปีหน้าที่จะถึงนี้

ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ในบ้านเรายิ่งบูมมากกว่านี้อีก

โดยคุณ Woot1980 เมื่อวันที่ 10/10/2014 21:26:43


ความคิดเห็นที่ 26


นอกเรื่องครับ......สำหรับผมดูทุกด้านประกอบ(ซึ่งมันก็ไม่เกี่ยวกันสักเท่าไหร่) เช่น  GDP คุณภาพชีวิต ความสุข ฯลฯ.......

แต่ผมชอบแนวนี้ดูประกอบมากกว่า(ปลอบใจดี) รวมถึงเรื่องการซื้ออาวุธด้วย.....

จากผลการจัดอันดับดัชนีโลกมีสุขในปี 2012 ที่มาข้อมูลบางส่วนจาก  http://www.ayutthaya.go.th/page.php?news_ID=4578  และ http://www.youtube.com/watch?v=TOQY8HcL-rU

ดัชนีความสุขของคนในแต่ละประเทศ (จาก 151 ประเทศ)

เวียดนาม อันดับ 2 ของโลก

อินโด อันดับ 14 ....

ไทย อันดับ 20 ....

สิงคโปร์ อันดับ 126 ....  แถม + มีรายได้เฉลี่ยเป็นอันดับ 1 ของโลก(รวย)+ มีชั่วโมงการทำงานมากอันดับ 1 ของโลก(ขยันดี) + อันดับต่ำสุดของโลกคือการมองโลกในแง่ดี (คงเครียดน่าดูและจะมีความสุขหรือเปล่า)

สรุป  จะเอาแบบใหนดี....หว่า

 

โดยคุณ jaidee เมื่อวันที่ 11/10/2014 11:11:20


ความคิดเห็นที่ 27


คุณ woot1980

วิธีคิดว่าประชากรเยอะกว่าการบริโภคย่อมเยอะกว่าเสมอไปไม่ถูกต้องนะครับ การบริโภคจะสูงก็คือเศรษฐกิจต้องดี ประชาชนมีตังที่จะบริโภค มีกำลังซื้อ

ถ้าอินโดผลิตรถป้อนในประเทศไม่ส่งออกเลย ตายครับ ไม่มีประเทศไหนผลิตรถขายในประเทศอย่างเดียวได้หรอกครับ ปัจจุบันโครงสร้างเศรษฐกิจมันทำบบนั้นไม่ได้แล้ว มันแข่งขันกับคนอื่นไม่ได้ นอกจากปิดประเทศห้ามนำเข้ารถ ประชาชนต้องทู่ซี้ใช้ที่ผลิตเองไม่ว่าจะห่วยยังไง 

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 11/10/2014 13:21:16


ความคิดเห็นที่ 28


ผมระบุว่าในอนาคตนิครับ ลองอ่านทวนดูดีๆครับ 

ใช้ครับพลเมืองเยอะกว่าแต่ไม่ได้หมายความว่าอัตราการบริโภคจะมากกว่า ขึ้นอยู่กับ GDP ของประเทศ

แต่ๆๆๆ ผมกำลังเปรียบเทียบอัตราการบริโภคระหว่างไทยกับอินโดนะครับ คนไทยมีพลเมือง 65 ล้านก่า แล้วอินโดมี 250 ล้าน โดยพลเมืองส่วนใหญ่ในอินโดเป็นชนชั้นล่าง แต่ชนชั้นกลางมีอยู่ประมาณร้อยละ 30 ของประเทศ ประมาณ 75 ล้านกว่าคนซึ่งถ้า

ในอนาคตข้างหน้า GDP ของอินโดขยายตัวเพิ่มขึ้น อินโดมีพลเมืองชนชั้นกลางที่มีกำลังการซื้อรถยนต์เพียง 1ใน 4 เท่านี้ก็แซงหน้าไทยเราไปเรียบร้อยแล้วครับ ถ้าตราบใดที่คนไทยยังทะเลาะกันเองไม่เลิก

ส่วนที่ว่าผลิตรถยนต์โดยไม่ส่งออกมันเป็นแค่การเปรียบเปรยที่ว่าถ้าในอนาคตอินโดมีกำลังการซื้อหรือ GDP ที่สูงขึ้นถ้าสมมุติว่าเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกรอบใหม่ตลาดรับซื้อทั้งในยุโรปและสหรัฐซบเซาเพราะฉะนั้นอุตสาหกรรมยานยนต์ก็ต้องปรับสภาพสภาพให้เป็นเศรษฐกิจที่เพิ่งพาตนเองได้ด้วย ซึ่งนั้นก็เท่ากับว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ในอินโดสามารถประคับประคองดำรงอยู่ได้โดยตลาดในประเทศแบบไม่เดือดร้อนครับ ก็เหมือนกับไทยเราเมื่อตอน 2-3 ปีก่อนนี้ละที่ทั้งสหรัฐและยุโรปออกมาตรการรัดเข็มขัดยอดการส่งออกรถยนต์ในบ้านลดลงจนโรงงานที่เป็น supplier ต้องงด OT พนักงานลง  และรัฐบาลชุดที่แล้วต้องออกนโยบาย รถยนต์คันแรกออกมาเพื่อกระตุ้นยอดขายรถยนต์ในประเทศไปพลางๆ รอจนกว่าเศรษฐกิจในยุโรปและสหรัฐฟื้นตัว

โดยคุณ Woot1980 เมื่อวันที่ 11/10/2014 18:44:03


ความคิดเห็นที่ 29


คุณwoot การผลิตรถในบ้านเรา นอกจากกระบะ และอีโคคาร์ ที่เหลือก็แค่ขายในภูมิภาคเท่านั้น ไม่ได้มีรถรุ่นใหม่ๆ ออกขายเท่าไหร่

ไทย อินโด มาเลย มีค่าเท่ากันในสายตาผู้ผลิต ในไทยนอกจากรถที่ขายในบ้านเรา ก็ไม่ได้มีรถรุ่นใหม่ๆ เซกเมนท์ใหม่ๆเข้ามาผลิตในบ้านเราเลย

แต่รถรุ่นดังกล่าวกลับไปเกิดในประทศอื่นแล้วนำเข้ามาขายในบ้านเราแทน

รวมถึงยี่ห้อใหม่ๆก็ไม่ได้เข้ามาตั้งโรงงานในบ้านเรา 

โดยทั่งนี้เค้าไม่ได้มองที่ยอดขายในบ้านเราอย่างเดียวเค้ามองในระดับภูมิภาค  ผลิตในอาเซียนที่ไหนก็ขายได้เหมือนกัน บ้านเราจึงไม่ได้ดึงดูดให้เกิดการเติบโตแต่อย่างใด

ดูไปเรื่อยๆละกันว่า ไทย จะมีบ.เจ้าใหม่ๆใหญ่ๆเข้ามาจริงรึป่าว หรือไปที่อื่น

ปอลืง mgcp อย่านับเลย ตอนนี้ขายได้กี่คันก็ไม่รู้ อุอุ

 

โดยคุณ delete เมื่อวันที่ 12/10/2014 00:30:22


ความคิดเห็นที่ 30


เห็นแล้วมังยิ่งใหญ่จริงๆครับ

โดยคุณ Nakarin เมื่อวันที่ 12/10/2014 01:07:10


ความคิดเห็นที่ 31


เรื่องตลาดผลิตรถไม่ได้ขี้นกับขนาดประเทศขนาดนั้น มาเลเซียที่ค่ายรถต่างประเทศไม่ค่อยอยากลงทุนเพราะว่าการแข่งขันลำบากเพราะรถผลิตในประเทศมีการสนับสนุนโดยรัฐด้วยมาตรการต่างๆ ตรงกันข้ามครับกับที่บอกว่าต้องผลิตใช้เองเพราะไม่มีคนต่างชาติมาผลิต

ส่วนอินโดอนาคตน่าจะแซงไทย ถ้ามีการติดตามการลงทุนเปิดโรงงานใหม่ๆ ในภูมิภาคแล้วส่วนใหญ่ก็ไปเปิดในอินโด เพราะหลักๆ คือเมืองไทยการเมืองไม่ค่อยเสถียร ส่งผลกระทบเละเทะไปหมด ยิ่งอนาคต aec ไม่มีภาษีนำเข้ารถแล้วก็สบายแฮละครับ รถอินโดตอนนี้ก็เข้าเมืองไทยเยอะแยะ ทั้ง ฮอนด้าฟรีด อแวนซา อินโนวา

นอกจากนี้ทั้งมาเลย์อินโดก็มีโรงงานหลายๆ ยี่ห้อพอๆ กับบ้านเราแหละครับ

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 12/10/2014 04:57:02


ความคิดเห็นที่ 32


อินโดฯ จะเป็นฮับอุตสาหกรรมการผลิตในเอเชีย ?

 

โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 12/10/2014 07:42:32


ความคิดเห็นที่ 33


ผมคิดว่าไทยเรายังได้เปรียบประเทศอื่นๆในอาเซียน เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ตรงกลางพอดีทำให้ได้เปรียบด้านการขนส่ง  ซึ่งค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งในปัจจุบันแพงมาก และใช้เวลานาน  ส่ิ่งที่ไทยต้องแก้ไขคือ ความแน่นอนของนโยบายที่ต้องต่อเนื่องชัดเจนเป็นรูปธรรมเหมือนตอนปี 2525-2540 และต้องการเมืองต้องนิ่ง  รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของแรงงานในประเทศโดยเฉพาะด้านระเบียบวินัย  การทุ่มเทจริงจังกับงานให้มากขึ้น ครับ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 12/10/2014 11:07:41


ความคิดเห็นที่ 34


จากเว๊ป Defense-studies.blogspot

ในหัวข้ออภิปราย อินโดนีเซีย มีความสนใจ Drone จาก สหรัฐ แม้จะใช้เงินลงทุนที่สูง แต่ก็ดูจะคุ้มค่ากับ อาณาเขตที่กว้างขวางของ อินโดนีเซีย

~~JAKARTA, KOMPAS.com — Presiden terpilih Joko Widodo dinilai telah memahami konsep pertahanan negara kuat yang harus diterapkan di negara maritim seperti Indonesia ini. Salah satu langkah yang dapat dilakukan untuk melindungi wilayah laut dan udara Indonesia ialah dengan memiliki pesawat tanpa awak (unmanned aerial vehicle-UAV) atau drone.

 "Generasi perang mendatang dibutuhkan integrated power, beliau (Jokowi) sudah paham soal perlunya powerful defence," kata pengamat militer dan pertahanan, Connie Rahakundini Bakrie, saat menjadi pembicara dalam diskusi bertajuk Mewujudkan Indonesia sebagai Poros Maritim Dunia: Dari Negara Kepulauan Menuju Negara Maritim di Lembaga Ketahanan Nasional (Lemhannas), Kamis (9/10/2014).

 Connie mengaku, beberapa waktu lalu, ia sempat berbincang dengan Jokowi soal rencana pembelian pesawat drone tersebut. Kepada dirinya, Jokowi mengaku hendak membeli tiga unit drone sejenis Global Hawk, yang dibuat Amerika Serikat.

 Ia menuturkan, harga satu unit drone tersebut terbilang cukup fantastis, mencapai Rp 4,3 triliun. Karena itu, dibutuhkan anggaran sebesar Rp 12 triliun sampai Rp 13 triliun untuk membeli ketiga drone tersebut.

 "Harga itu tidak terlalu mahal jika dibandingkan dengan keuntungan yang diperoleh karena bisa melindungi potensi kerugian Rp 300 triliun atas aksi pencurian ikan dan sumber daya alam yang terjadi di negara kita," kata Connie menirukan pernyataan Jokowi.

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 12/10/2014 11:16:10


ความคิดเห็นที่ 35


อินโดนีเซีย เข้าร่วมประกวดราคา ฮ.ปราบเรือดำน้ำของ ฟิลิปปินส์ จำนวน 2 ลำ

Firms from Italy, Indonesia, Israel interested to supply two anti-submarine choppers

In a pre-bid conference for the procurement of two anti-submarine warfare (ASW) helicopters held Tuesday, October 7, four prospective bidders attended. AugustaWestland, PT Dirgantara Indonesia, Israel Aerospace Industries and the partnership of Bell Helicopter Asia (PTE) Ltd. and Serpenair Group Inc. attended the conference.

First stage bidding will be held on October 21. Firms mentioned above are expected to submit their individual bid for the PhP5.4 billion helicopter procurement project.

Under Medium Term Development Capability Plan of AFP Modernization program, winning bidder must deliver goods within seven hundred thirty days after receiving the notice to proceed. 
Early report said that AgustaWestland is a strong contender in the said project and will offer it’s AW-159 “Wildcat”. AgustaWestland is the manufacturer of Philippine Navy and Air Force’s armed AW-109 to be delivered before the year ends.

Specification of two ASW choppers includes endurance of at least two hours in ASW configuration, range of 240 nautical miles in full ASW configuration and has Identification Friend or Foe (IFF)/Selective Identification Feature (SIF).

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 12/10/2014 11:22:25


ความคิดเห็นที่ 36


เดือนกันยายนMGมียอดขายอย่างเป็นทางการที่30คันครับ ส่วนเดือนสิงหาคมตีไข่ไม่แตก โดยส่วนตัวคิดว่าราคาแพงเกินไป ภายในห่วย ภายนอกพอทน ออปชั่นไม่ได้เรื่อง (แล้วมันมีอะไรดีบ้างฟระ) พูดแค่ตัวรถอย่างเดียวนะครับโดยไม่ได้ทดลองขับหรือเอาเรื่องใครขายมาเกี่ยวข้อง แต่ผลการทดสอบจากน้องจิมมี่เครื่องยนต์นั่นแหละที่ห่วยที่สุด

 

อินโดซื้อไลเซ่นเฮลิคอปเตอร์ดอร์ฟิ่นมาประกอบเองในประเทศ โดยแบบSARออกบินได้แล้วและล๊อตต่อไปอีกร่วม10ลำคือรุ่นASW ไม่แปลกหรอกครับที่จะเสนอขายให้ฟิลิปปินส์ เพราะเรือLPDที่พี่แกซื้อไลเซ่นมาจากเกาหลีใต้ก็ขายได้มาแล้วนี่ ถ้าได้ดีลนี้จริงๆผมขอนับถือจากใจเลย ส่วนASWเฮลิคอปเตอร์ลำใหม่ของบ้านเราก็เอวังกันต่อ(แต่ปักธงเอาไว้แล้วนี่)

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 12/10/2014 20:54:29


ความคิดเห็นที่ 37


อย่าลืมว่าอินโดเค้ามีอุตสาหกรรมอากาศยานขนาดใหญ่ด้วยนะครับ สามารถผลิต CN-235, Super Puma, Bell 412 ใช้เอง แถมประเทศไทยก็ลูกค้า CN-235 ที่ผลิตในอินโดเหมือนกัน ส่วนอุตสาหกรรมเรือก็ต่อเรือระดับ Frigate ใช้เอง ส่วนมาเลย์ไม่ต้องพูดถึงอุตสาหกรรมอาวุธก็ใหญ่พอตัว นอกจากผลิตรถยานเกราะ ต่อเรือเอง ยังผลิตทั้งปืนเครื่องกระสุน วิทยุทหาร แถมประกอบเรดาห์ใช้เองด้วยซ้ำ ผมว่ามันมาจากนโยบายระยะยาวที่มีแผนชัดเจนว่าจะทำอะไรยังไง ไม่เลื่อนลอย มีแต่คำว่าผลักดัน ประสาน เร่งรัด ซึ่งเป็นแค่คำสวยหรูแต่ไม่มีรูปธรรม

ถ้าประเทศไทยยังไม่พัฒนาอุตสาหกรรมของตัวเองสักอย่าง ถึงประเทศจะตั้งอยู่ในทำเลที่ดีแต่ก็ทำได้แค่รับเศษตังค์ค่าผ่านทางแค่นั้น ยังเสียดายเมื่อสิบปีก่อนประเทศเรามีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ไกล โครงการอุตสาหกรรม ประเทศต่างๆวิ่งเข้ามาพันแข้งพันขาเรา ตอนนี้เรายิ่งนับวันยิ่งถอยหลังลงคลอง เศร้าใจ

โดยคุณ jeepy เมื่อวันที่ 13/10/2014 22:17:03