ภาพของเฟรสบุค คุณบุญหนุน สายดำ นะครับ
พี่เขาเอาลงให้ดู3รูป เลยอยากถามว่ามีใครไปชมมาแล้วมีรูปอีกไหมครับ
รูปทรงดูแปลกตาดีนะครับ ให้ความรู้สึกว่าที่ผ่านมาไม่ได้นอนหลับแต่ขยับอยู่เนืองๆ เห็นรูต่างๆแล้วผมเดาว่าถ้าไม่มีไว้ใส่ครีบแล้วเวลายิงคงต้องมี ฝูๆๆๆ ฝูๆๆๆ แน่นอน(มีควันพุ่งออกตามรูข้างด้วยแน่)
DTI 122 mm ผลิตมาเพื่อทดแทนจรวดหลายลำกล้อง SR4 ส่วนDTI-1G ยังไม่ทราบความคืบหน้า
SR-4 เพิ่งเข้าประจำการได้ไม่นานนี่ครับ จะมีการทดแทนแล้วเหรอ
ใครพอจะทราบข้อมูลเชิงลึกเจ้าจรวดตัวนี้ไหมครับว่ามันไซด์เท่าไรระยะยิงไกลเท่าไร หัวรบน้ำหนักเท่าไร เห็นแล้วรู้สึกแปลกๆกระเปาะที่ใส่จรวดกับตัวจรวดทำไมขนาดมันต่างกันเยอะจัง
ที่ว่าทดแทน SR4 คงหมายถึงตัวลูกจรวดมั้งครับ ส่วนแท่นยิงก็ใช้ SR4 เหมือนเดิม แต่ลูกจรวด เราคงตั้งใจจะผลิตเอง ถ้ารอให้ลูกจรวดที่สั่งซื้อมาหมดอายุซะก่อนค่อยเริ่มพัฒนาเกรงว่าจะไม่ทันใช้นะครับ
sr4 เราเอามาเพื่อมาวิจัยนี่แหละ
ส่วนที่ว่าลูกจรวดกับรถคนละไซส์เพราะลูกจรวดไซส์ sr4 คือ 122 มม.
ส่วนรถในภาพมัน DTI-1 หรือระบบจรวดหลายลำกล้อง 300 (มั้งนะ) มม.
ลูกจรวดขนาด 122mm คือว่ามันยังเป็นงานวิจัยอยู่ ก็เลยนำเอารถแท่นยิงของ DTI-1มาใช้เพราะมันสามารถคำนวนมุมยิงใด้เหมือน SR-4 ประมาณว่าไม่ยากเสียตังสร้างแท่นยิงโดยเอาของที่มีมา modify สร้าง adapter ลดขนาดของท่อยิงลงเพื่อให้ใช้กับ 122mm ใด้
ก็เหมือนภูมิปัญาชาวบ้านที่เขาทำกัน มีลูกซองเบอร์12 เดี่ยว แต่อยากยิ่งลูก .38 ประมาณอารมเดี่ยวกัน
เห็นที่ท่านยอดชายอธิบายก็เข้าใจแล้วครับว่า เอาท่อยิงของ DTI1 300mm มาลองยิงลูกDTI2 122 mm
แต่ที่ไม่เข้าใจคือ ถ้าจะทดลองลูกจรวด DTI2 122mm งั้นเอาแท่นยิง SR4 มาทดสอบกับลูกจรวดจะไม่ง่ายกว่าหรือ หรือที่จริงนี่คือการทดสอบ แท่นยิงของ DTI1 แต่ระยะของ DTI1 มันไกลไป เลยเอาลูก122 มาทดสอบแทน เพื่อทอสอบ เครื่องยิง หรือระบบควบคุม ต่างๆ มากกว่าจะทดสอบตัวลูกจรวด
อย่างที่ท่านskysky ว่า คือการทดสอบ แท่นยิงของ DTI1 แต่ระยะของ DTI1 มันไกลไป เลยเอาลูก122 มาทดสอบแทน เพื่อทอสอบ เครื่องยิง หรือระบบควบคุม ต่างๆ มากกว่าจะทดสอบตัวลูกจรวด อาจเป็นไปได้
แต่แท่นยิง DTI-1 ผ่านการทดสอบแล้วนิ กำลังอยู่ในสายการผลิต
มุมมองว่า ปัญหาว่าทำไม ถึงไม่ใช้รถแท่งยิง SR-4 เพราะ ของยังใหม่แถมจำนวนน้อย ถ้าตอนทดลองระเบิดค่าท่อจะเกิดอะไรขึ้น แต่ถ้าทดลองเสร็จเข้าสายการผลิต ก็คงได้ใช้กับ SR-4
แท่นยิงหลายลำกล้องไม่นำวิถี ระบบการควบคุม หามุม ทิศทางลม ความซื้นสัมพัทธ์ ก็หลักการเดี่ยวกันDTI-1 กับ SR-4 แค่ย่อส่วนลำกล้อง 300mm มาเป็น 122mm ส่วนระยะทางขึ้นอยู่กับดินขับลูกจรวด และมุม
เป็นไปได้ไหม ในท่อยิงขนาด 300 มม. น่าจะบรรจุท่อยิงขนาด 122 มม. ได้เต็มที่ 4 ท่อ หนึ่งคัน ของ DTI-1 ก็จะยิง จรวดขนาด 122 มม. ได้รวม 16 นัด เหมือนๆ กับ ESSM ที่ยิงได้ 4 นัดในหนึ่งคานิสเตอร์
ก็ทำรถท่อ 122มม.ก็สิ้นเรื่องครับ ง่ายกว่าอีก
ผมว่า จรวดหลายลำกล้องแบบ BM21 หรือ 122mm มันเป็น unguild missile มันไม่ได้แม่นอะไรมากมาย แม่นน้อยกว่าปืนใหญ่ หรือ ค อีก ใช้ยิงคลุมพื้นที่เป็นวงกว้าง เขาใช้วิธียิงเป็นจำนวนมาก คันหนึ่ง 40 ลูก 1 ระบบ ก็ 4-6 คัน ก็ 160-240 ลูก ยิงทีเดียว ถ้ารถคันหนึ่ง ขนทีล่ะ 16ลูก ผมว่าไม่ work นะครับ และ อย่างที่ท่านข้างบนว่า ทำแยกกันไปเลยง่ายกว่า
รูปด้านบน คืนตอนนี้ DTI กำลังพัฒนา ระบบดินขับลูกจรวดขนาด 122mm สำหรับ DTI-2 และ SR-4 ว่าลูกจรวดตกตามเป้าหมายไหม เช่นคำนวนดินขับไว้ 30กม เมื่อทดลองยิงจริงลูกจรวดจะได้ระยะไหม ซึ่งไม่จำเป็นต้องยิงยกชุด 40 ลูก แค่ครั้ง 4ลูกก็เพียงพอ เช่น ( สามารถดูได้ใน youtube สาธิตการยิงจรวดหลายลำกล้อง SR4 ก็ยิงแค่ไม่กี่ลูก ) ส่วนแท่นยิงนะไม่มีปัญหาเพราะสามารถลดจาก dti-1 จาก 302mm มาเป็น 122mm ได้อยู่แล้ว เพราะสามารถใช้ระบบควบคุมการยิงเหมือนกัน ซึ่งไม่จำเป็นสร้างแทนยิ่งแบบสมบูรณ์ก็ได้โดยเอาของที่มีมา modify เล็กน้อย ก็สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในโครงการวิจัยอาจเป็นได้ เมื่อวิจัยลูกจรวดเสร็จอาจจะสร้างแท่นยิงหลายลำกล้องขนาด 122mm แบบเสร็จสมบูรณ์ก็เป็นได้ หรืออาจกำลังพัฒนาโครงสร้างแท่นยิ่งควบคู่กันอยู่ซึ่งอาจยังไม่เสร็จสมบูรณ์ก็เป็นได้
อีกประการ
ลักษณะ ของจรวด DTI-2 ที่เผยแพร่ภายในงานนั้นเป็นจรวดขนาด 122 มิลลิเมตรไม่นำวิถี มีระยะยิงไกลสูด 30-40 กิโลเมตร ติดตั้งหัวรบ HE ซึ่งน่าสังเกตุว่ามีคุณลักษณะคล้ายกับจรวดขนาด 122 ที่ใช้กับระบบจรวดหลายลำกล้องแบบ BM-21 หรือ Type-90 รวมถึง SR4 ซึ่งกองทัพบกจัดซื้อจำนวน 4 ระบบ โดยระยะเวลาของโครงการคือตั้งแต่ปี 2556 - 2559 โดยใน VDO ยังระบุอีกว่าโรงปฏิบัติการของ DTI เป็นโรงงานที่มีขีดความสามารถในการพัฒนาจรวดที่ทันสมัยที่สุดในอาเซียน
แหล่ง ข่าวจากกองทัพบกระบุว่ากองทัพบกมีแนวคิดที่จะให้สถาบันเทคโนโลยีป้องกัน ประเทศ (องค์การมหาชน) ทำการพัฒนาลูกจรวดที่ยิงกับระบบจรวดหลายลำกล้องแบบ SR4 เพื่อใช้ในการฝึกและเป็นจรวดสำรองสงครามต่อไป โดยในขณะนี้จรวดยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา
(ในงานภูมิปัญญานักรบไทย )
http://www.thaiarmedforce.com/taf-military-news/58-other-thai-news/78-ds09-dti-missile-program.html