หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


จีนเปิดเจรจารัสเซีย จัดซื้อเครื่องบินขับไล่ โ€œซู-35โ€เสริมเขี้ยวเล็บทัพมังกร

โดยคุณ : Nakarin เมื่อวันที่ : 22/09/2014 11:04:03

สัมพันธ์แนบแน่น! จีนเปิดเจรจารัสเซีย จัดซื้อเครื่องบินขับไล่ “ซู-35”เสริมเขี้ยวเล็บทัพมังกร

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 กันยายน 2557 

เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์-รัฐบาลจีนภายใต้การนำของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ตกเป็นข่าวในวันพฤหัสบดี (4 ก.ย.) เปิดการเจรจากับรัฐบาลรัสเซียภายใต้การนำของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เพื่อสั่งซื้อเครื่องบินขับไล่จากแดนหมีขาวเข้าประจำการในกองทัพแดนมังกร

รายงานข่าวล่าสุดซึ่งอ้างแหล่งข่าวทั้งในกรุงปักกิ่งและกรุงมอสโกระบุตรงกันว่าขณะนี้รัฐบาลจีนภายใต้การนำของสี จิ้นผิงและรัฐบาลปูตินแห่งรัสเซียได้เปิดการเจรจาลับซึ่งมีเนื้อหาสำคัญ คือ การที่จีนจะจัดซื้อ “อาวุธยุทโธปกรณ์ล็อตใหญ่” จากรัสเซียเพื่อเสริมสร้างแสนยานุภาพทางทหารของตนตามแผนยุทธศาสตร์ปรับปรุงกองทัพแดนมังกร

รายงานข่าวระบุว่า รัฐบาลจีนต้องการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่แบบ “Sukhoi-35” หรือ “ซู-35” จำนวนหลายสิบลำ จากรัสเซีย เพื่อรองรับภารกิจในการปกป้องอธิปไตยของประเทศ โดยเฉพาะในบริเวณน่านฟ้าเหนือพื้นที่พิพาทในทะเลจีนตะวันออกและทะเลจีนใต้ ที่จีนมีข้อพิพาทกับหลายประเทศเกี่ยวกับการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะหลายแห่งในแถบนี้

นอกเหนือจากการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ซู-35 ที่มีสนนราคาตกอยู่ที่ลำละ 40-65 ล้านดอลลาร์แล้ว แหล่งข่าวเผยด้วยว่า รัฐบาลจีน ยังต้องการจัดซื้อเรือดำน้ำภายใต้โครงการลับ “อามูร์-1650” ของรัสเซียด้วยเช่นกัน แม้จะยังไม่เป็นที่แน่ชัดถึงจำนวนของเรือดำน้ำสัญชาติรัสเซีย ที่รัฐบาลจีนต้องการซื้อไว้ใช้งาน

ด้านเซอร์เก เชเมซอฟ ผู้อำนวยการใหญ่ของ “รอสเทค คอร์ป” บริษัทผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ ที่มีรัฐบาลรัสเซียเป็นเจ้าของออกมาเปิดเผยระหว่างเดินทางเยือนกรุงปักกิ่งตามคำเชิญของรัฐบาลจีนในวันพฤหัสบดี (4 ก.ย.) โดยระบุว่า การเจรจาระหว่างทั้งสองประเทศในเรื่องดังกล่าวกำลังดำเนินไปด้วยดี

ก่อนหน้านี้เพียงไม่กี่วัน รัฐบาลจีนเพิ่งประกาศจับมือกับรัสเซีย ร่วมกันก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติในเขต “ไซบีเรีย” ทางภาคตะวันออกของรัสเซียความยาว “เกือบ 4,000 กิโลเมตร” เพื่อรองรับการจัดส่งก๊าซธรรมชาติจำนวนมหาศาลจากรัสเซียไปยังจีนตลอด 30 ปีข้างหน้า

โดยแหล่งข่าวทางการทูตในกรุงมอสโกเปิดเผยว่า โครงการความร่วมมือก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติระหว่างรัสเซียและจีนในครั้งนี้มีมูลค่ารวมของโครงการสูงกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ(หรือราว 159,875 ล้านบาท) และสามารถรองรับการส่งออกก๊าซธรรมชาติจากแดนหมีขาวไปยังแดนมังกร ได้ถึงปีละ 38,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ได้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2018 เป็นต้นไป

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000101864


SU-35




ความคิดเห็นที่ 1


เอ่ะ คับคล้ายคับคลาว่ามีใครบางคนบอกว่าจีนไม่เคยซื้ออาวุธจากรัสเซีย อาวุธของจีนออกแบบและสร้างเองหมด

นี่เผลอๆถ้ารัสเซียออกเจ้าตัว Sukhoi PAK FA สงสัยคงจะตามซื้อเจ้าตัวนี่จากรัสเซียอีกเป็นแน่ 

แล้ว J20 พัฒนาไปถึงไหนแล้วล่ะ พักนี้เห็นเงียบๆไปเลยนิ

โดยคุณ Woot1980 เมื่อวันที่ 05/09/2014 19:19:56


ความคิดเห็นที่ 2


J-20 คงพัฒนาอยู่ครับ

ถ้าหากจีนได้ SU-35 จริงๆ คงแอบก๊อปแน่นอน เพราะจีนซื้อ Su-27 แล้วก๊อปมาเป็น J-11

โดยคุณ Nakarin เมื่อวันที่ 05/09/2014 22:53:14


ความคิดเห็นที่ 3


แถมอีก

โดยคุณ Nakarin เมื่อวันที่ 05/09/2014 22:54:14


ความคิดเห็นที่ 4


งานนี้มีเงิบครับ

โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 05/09/2014 23:44:24


ความคิดเห็นที่ 5


คุณ red_c เขามีจุดยืนว่าถ้าไม่เห็นตัวเป็นๆ ติดตรากองทัพจีนก็ไม่เชื่อครับ เพราะว่าเป็นข่าวจากรัสเซียฝ่ายเดียว เพราะมีข่าวออกมาหลายรอบแล้วก็ยังไม่เห็นมีการส่งมอบสักที

ก็ถือว่ายังไม่เงิบครับ 

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 06/09/2014 01:34:40


ความคิดเห็นที่ 6


ดีล นี้ ยังไม่สิ้นสุดน่ะครับ

เพราะทาง รัสเซีย เชื่อว่า การจัดหา SU-35 ล็อตนี้ จีน ต้องการ เครื่องยนต์ เท่านั้น (น่าจะนำไปลอกแบบ) โดยแต่เดิม จีน จะต้องสั่งซื้อมากกว่านี้ แต่สุดท้าย ตกลงกันที่ 24 ลำ

น่าจะอยู่ที่ การตกลงเจรจาอีกที เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา

เท่าที่อ่าน บริษัทฯ อยากขาย แต่ รัฐบาลรัสเซีย ยังไม่เชื่อมั่น ประเทศจีน ว่าจะรักษาสัญญาหรือไม่ เพราะ ผิดหวังจาก ดีล SU-27 มา

ตามข่าวนี้ ที่ผ่านมา เหมือนกับว่า ถ้า สุดท้าย ตกลงกันได้ ก็จะเป็น ดีล ขนาดใหญ่ ในรอบหลายปี ที่ผ่านมา ระหว่าง จีน กับ รัสเซีย

แต่ผมว่า น่าจะยังมีปัญหา ที่รัฐบาล รัสเซีย อยู่

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 06/09/2014 11:01:41


ความคิดเห็นที่ 7


ที่ผมอ่านผ่านๆมา ยังไม่เคยเห็นท่านใดกล่าวว่าจีนไม่เคยซื้ออาวุธจากรัสเซียเลยนะ

ต้องแยกให้ออกตามข้อมูล ซื้อ /เลียนแบบ /พัฒนาเอง

แม้แต่การพัฒนาเองนั้น ก็อาจมีการเลียนแบบกลายๆ ตามกันมาแทบทุกอย่าง

และข่าวนี้เคยออกมานานแล้ว ความระแวงก็ยังคงมีอยู่ ...

โดยคุณ fantom เมื่อวันที่ 06/09/2014 16:32:21


ความคิดเห็นที่ 8


ถ้าจีนไม่ซืี้ออาวุธจากรัสเซีย แล้วจะไปซื้อจากไหน มะกันรึ แค่มองผ่านๆอาวุธในกองทัพประชาชน ก็คงไม่ต้องบอกว่าบล็อกเดียวพิมพ์เดียวมากจากไหน ซื้อมาก่อนแล้วก็ก็อปจากพี่หมีเค้ามาทั้งนั้น มีมาจากแหล่งอื่นเหมือนกันแต่น้อยมากเช่นดอลฟิน(Z-9)ไงหรือไม่ลาวี(J-10)อนาคตก็จะยังคงเป็นอาวุธรัสเซียอีกนาน(ไม่รวมที่ก็อปแล้วมาผลิตเองนะ)

โดยคุณ oleomano เมื่อวันที่ 07/09/2014 04:21:52


ความคิดเห็นที่ 9


จีนผลิตเองก็มีครับ เช่นรถถัง รุ่นแรกๆคือผลิตลอกพิมพ์เลย แต่รุ่นหลังๆเป็นการใช้ความรู้ที่ไปแกะของคนอื่นมา (ฮา) พัฒนาวิจัยต่อยอดเอง ระบบหลายอย่างพัฒนาเอง

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 07/09/2014 05:12:07


ความคิดเห็นที่ 10


~~ถ้าซื้อจริงๆ ก็คงดี จะได้อุดหนุนกัน อาวุธจะได้พัฒนา

อยากเห็นน่ะ รอนานแล้ว

แต่ก็อย่างที่บอก  wait and see ครับ...


ใว้ su35 ติดตราจีนก่อน ค่อยเชื่อครับ

 

และ จากคุณข้างบน “คุณ red_c เขามีจุดยืนว่าถ้าไม่เห็นตัวเป็นๆ ติดตรากองทัพจีนก็ไม่เชื่อครับ เพราะว่าเป็นข่าวจากรัสเซียฝ่ายเดียว เพราะมีข่าวออกมาหลายรอบแล้วก็ยังไม่เห็นมีการส่งมอบสักที
ก็ถือว่ายังไม่เงิบครับ ”

พิมผิด หรือเปล่าครับ ผมเคยบอกด้วยหรือ ว่าเห็น su35 ติดตราจีน ก็ยังไม่เชื่อ ???

 

**J10 กับ lavi ไม่เกี่ยวกันครับ
อ่าน http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2012/04/X12016225/X12016225.html

โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 08/09/2014 13:01:11


ความคิดเห็นที่ 11


อ่านใหม่ครับ

ที่พี่ทั่นก๊อปที่ผมพิมพ์แปะก็ชัดอยู่นะ

อยากให้อคติบังตาสิครับ บางเรื่องเห็นไม่ตรงกันไม่ได้แปลว่าต้องตั้งตัวเป็นศัตรูคอยสกัดกันทุกเรื่องนะครับ

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 08/09/2014 13:32:12


ความคิดเห็นที่ 12


ผมอ่านเข้าใจผิดเองครับ แต่น่าจะเขียนเว้นวรรคน่ะครับ เป็น

"เขามีจุดยืนว่า ถ้าไม่เห็นตัวเป็นๆ ติดตรากองทัพจีนก็ไม่เชื่อครับ" .. 

และ "~~อยากให้อคติบังตาสิครับ บางเรื่องเห็นไม่ตรงกันไม่ได้แปลว่าต้องตั้งตัวเป็นศัตรูคอยสกัดกันทุกเรื่องนะครับ"

 

นั้นไม่ใช่ผมแล้วครับ

 

ก็แค่อ่านผิด ก็เลยถามว่าพิมผิดหรือเปล่า แค่นั้น ไม่เห็นต้องช่วน ทานมาม่าเลย อิอิ

 

เอ่อ ผมนี่ ไปตั้งตัวเป็นศัตรู คอยสกัดกันทุกเรื่อง เอ่อ ผมไปทำแบบนี้ตอนไหนหรือครับ ผมว่า ผมหนักที่ข้อมูล อย่างเดียวน่ะ หรือถ้ามี ก็คงไม่เจตนาครับ

 

 

โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 08/09/2014 13:46:26


ความคิดเห็นที่ 13


หรอครับ ผมเชื่อแล้วครับ เหอ ๆ
โดยคุณ Logieng เมื่อวันที่ 08/09/2014 14:54:29


ความคิดเห็นที่ 14


เท่าที่เคยอ่านในหนังสือสมรภูมิเมื่อปี2535-36 จำได้ว่า J-10 ก็คือ LAVI เวอร์ชั่นจีนซึ่งจีนซื้อเทคโนโลยีจากอิสลาเอลมาพัฒนาต่อ(แอบซื้อแอบขายหรือเปล่าไม่แน่ใจเพราะอิสลาเอลก็ออกมาให้ข่าวเชิงปฏิเสธ) ดูง่ายๆคือรูปแบบแอร์อินเทคกับปีกทรงสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ หรือท่านใดมีข้อมูลมากกว่านี้หรือผมเข้าใจผิดเรื่องนี้หรือหาหนังสือสมรภูมิฉบับนั้นได้ยิ่งดี.....ของผมได้บริจาคให้ปลวกไปหมดแล้ว.....เหลือแต่แทงโก้

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 08/09/2014 16:03:25


ความคิดเห็นที่ 15


เปรียบเทียบ ~~air intake  J10 Lavi f16

จากรูป ในวงกลมสีเหลืองคือ air intake 2 รูปบน F16 และ lavi เหมือนกัน ไม่ซิ ต้องบอกว่าเป็นตัวเดียวกัน ซึ่งเรียกว่า underslung air intake ซึ่งเป็น supersonic air intake ชนิดหนึ่ง ส่วนรูปล่างสุด เป็น J10 ซึ่งแตกต่างกับ 2 ตัวบนอย่างมาก j10 ใช้ air intake แบบ intake ramp ซึ่งเป็น supersonic air intake ชนิดหนึ่ง เช่นกัน     ทั้ง f16,lavi และ j-10 นั้นมี air intake ที่ใต้ท้อง เพื่อหวังผลด้าน maneuverability ที่สูงและ angles of attack ที่สูงขึ้น

~~เส้นสีเหลือง

-normal shock diffuser เป็น shock diffuser แบบธรรมดาที่สุด ทำหน้าที่สร้าง shock wave เพื่อลดความเร่งของ air flow ลงเพื่อเป็นการลดความเร็ว ให้อยู่ในค่าที่เหมาะสม โดยทั่วไป ทำงานด้วยความเร็วเครื่องบินไม่เกิน M=1.5 เท่านั้น

เส้นสีน้ำเงิน

-Splitter plate ทำหน้าที่ 2 อย่าง 1.แยกชั้นboundary layer ไม่ให้เข้า air intake 2.ทำหน้าที่เหมือนnormal shock diffuser

ตามรูปเลยครับ ที่เหลือ อ่านได้ตาม link ที่ให้ครับ

 






โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 08/09/2014 16:32:28


ความคิดเห็นที่ 16


ลิงหาย..เอ้ย! ลิ้งหายครับท่านหงษ์ฉี (อ่านอย่างนี้หรือเปล่า)

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 08/09/2014 16:50:32


ความคิดเห็นที่ 17


http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2012/04/X12016225/X12016225.html

หงฉี หรือ ็บขๆ—— ธงแดงครับ

ฮงเซอะ หรือ ็บข่‰ฒ red ครับ 

โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 08/09/2014 17:05:59


ความคิดเห็นที่ 18


แล้วไม่ทราบว่าประะเด็นนี้จะอธิบายยังไงครับ ??? 

โดยคุณ Logieng เมื่อวันที่ 08/09/2014 18:58:42


ความคิดเห็นที่ 19


เอาใหม่ 


โดยคุณ Logieng เมื่อวันที่ 08/09/2014 19:00:04


ความคิดเห็นที่ 20


เอ J-10 นี่เขาก็ว่าพัฒนาจาก Lavi นะครับ ก็ปรากฎข้อมูลโดยทั่วไป



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 08/09/2014 20:57:12


ความคิดเห็นที่ 21


Mirage 3c พัฒนาเป็น IAI Kfir แล้วพัฒนาเป็น Lavi โดย อิสราเอล คงคอนเซ็ปปีกแบบ Delta เช่น Mirage และ A-4 ที่เป็น บ หลักของ กองทัพ อิสราเอลในขณะนั้น แต่คิดว่า บ แบบปีก Delta ที่จะติดอาวุธนำวิถีปลายปีก นั้น คงไม่ใช่เรื่องที่ใครจะทำได้ Lavi เลยดูจะไม่ประสบความสำเร็จ และ J-10 ก็คงเอาชนะไม่ได้เช่นกัน จึงไม่มีจรวดนำวิถีที่ปลายปีก ซึ่งในโลกนี้ มี บ.ขับไล่แบบปีก Delta ที่ติดอาวุธนำวิถีได้ มีเพียง Gripen กับ Rafale เท่านั้น
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 08/09/2014 21:49:05


ความคิดเห็นที่ 22


อาวุธนำวิถี ปลายปีก หมายถึง การเพิ่มตำบลของอาวุธ อีก 2 ตำบล โดยไม่ลดประสิทธิภาพความคล่องตัว และความเร็วเครื่อง ซึ่ง ปีกแบบ Delta จะมีประสิทธิภาพ ในการบิน ที่ดีกว่า เหมือนหัวลูกศรธนู ซึ่งสังเกตุได้ว่า บ ขับไล่ฝั่งรัสเซีย จะไม่มี บ ขับไล่ติดอาวุธนำวิถีที่ปลายปีก และ บ ขับไล่ ฝั่งตะวันตก ที่ติดอาวุธนำวิถีที่ปลายปีก ก็จะไม่มี บ ปีกแบบ Delta เลย ยกเว้น Gripen กับ Rafael
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 08/09/2014 22:04:58


ความคิดเห็นที่ 23


ความรู้ใหม่ผมนะเลยที่ J-10 ไม่ได้พัฒนามากจาก Lavi แต่จู่ๆก็พัฒนาเครื่องบินสมถนะสูงอย่าง J-10 ขึ้นมาได้เองแล้วก็ดันบังเอิญไปรูปร่างเหมือน Lavi ทั้งที่ตอนนั้นโซเวียตไม่ช่วย เทคโนโลยีของจีนเองก็ไม่ถึงจนต้องยุติโครงการ J-9 กับ J-13 แล้วคนที่วิเคราะห์ก็ระบุว่ามีการขายโครงการ Lavi ให้จีนจริง แต่จีนปฏิเสธ(ก็ต้องปฏิเสธอยู่แล้ว ใครจะไปยอมรับ เหตุผลก็รู้กันอยู่) ในส่วนของรูปโครงสร้างที่ยกมาเปรียบเทียบก็ต้องแตกต่างอยู่แล้วในเมื่อ Lavi รองรับเครื่องยนต์และเรดาร์จากตะวันตก แต่จีนใช้เครื่องยนต์กับเรดาร์ของรัสเซีย มีบางส่วนที่จีนพัฒนาเพิ่มเองคืนท่อรับอากาศ ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็นอีกแปบแล้วคล้ายกับตัวที่เคยทดลองใช้กับ F-16ก่อนหน้านี้ ลองไปหาอ่านเอาในแทงโกปีนี้ดูจำไม่ได้ว่าเล่มที่เท่าไหร่ สรุปผมก็ยังเชื่อตามที่ติดตามมานานว่า J-10 พัฒนามาจากโครงการ Lavi อยู่ดี

โดยคุณ oleomano เมื่อวันที่ 09/09/2014 01:32:04


ความคิดเห็นที่ 24


j-10 เหมือน lavi  จะตายไปโดยเฉพาะด้านข้างทรวดทรงต่างๆ 

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 09/09/2014 03:34:51


ความคิดเห็นที่ 25


จาก link ที่ผมเขียน ผมใช้คำว่า Thread ซึ่งได้จากการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่หาได้ยาก และนำ คุณลักษณะด้าน aerodynamic มาจับ มาอธิบาย อาจจะผิดบ้าง แต่หวังว่าใครที่เห็นต่าง นั้น ควรเอาข้อมูลพร้อมแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ และ คุณลักษณะด้าน aerodynamic มาอธิบายประกอบด้วยครับ ซึ่งถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยน  และ update ข้อมูล และขอตอบที่ล่ะท่านแล้วกัน
1.จากคุณ Logieng
      ผมต้องถามคุณ ว่าคุณอธิบายยังไง แค่รูปเดียว จะมาบอกว่าเกี่ยวข้องกัน หรือ j10 มาจาก lavi นั้นคุณก็ควรอธิบายให้ผมฟังทีครับ เช่น คณะนี้ ถ่ายรูปที่ไหร ปีไหน ไปทำไม และมีเอกสารอ้างอิงไหม ว่าจีนเอาเทคโนมาจากอิสราเอล เป็นต้น ขอบคุณล่วงหน้าครับ 

2.จากคุณ juldas
    ต้องถามข้อมูลจากไหนครับ ถ้าข้อมูลจากDr.Song Wencong chief designer หรือhttp://www.airforceworld.com/
มันก็อีกเรื่อง และที่สำคัญ ถ้าเอาความรู้ อันน้อยหนิดด้าน คุณลักษณะด้าน aerodynamic มาจับมาอธิบาย และเปรียบเทียบตาม link ที่ผมทำ นั้นก็พอบอกได้ อะไรเป็นอะไร
      และจากรูป ที่คุณยกมา นั้น ว่าทั้ง 2 ลำ เหมือนกัน
  air intake เหมือนกัน??
  ส่วนหัว เหมือนกัน??
  fuselageเหมือนกัน??

 และ “Mirage 3c พัฒนาเป็น IAI Kfir แล้วพัฒนาเป็น Lavi โดย อิสราเอล คงคอนเซ็ปปีกแบบ Delta เช่น Mirage และ A-4 ที่เป็น บ หลักของ กองทัพ อิสราเอลในขณะนั้น แต่คิดว่า บ แบบปีก Delta ที่จะติดอาวุธนำวิถีปลายปีก นั้น คงไม่ใช่เรื่องที่ใครจะทำได้ Lavi เลยดูจะไม่ประสบความสำเร็จ และ J-10 ก็คงเอาชนะไม่ได้เช่นกัน จึงไม่มีจรวดนำวิถีที่ปลายปีก ซึ่งในโลกนี้ มี บ.ขับไล่แบบปีก Delta ที่ติดอาวุธนำวิถีได้ มีเพียง Gripen กับ Rafale เท่านั้น”
และ “อาวุธนำวิถี ปลายปีก หมายถึง การเพิ่มตำบลของอาวุธ อีก 2 ตำบล โดยไม่ลดประสิทธิภาพความคล่องตัว และความเร็วเครื่อง ซึ่ง ปีกแบบ Delta จะมีประสิทธิภาพ ในการบิน ที่ดีกว่า เหมือนหัวลูกศรธนู ซึ่งสังเกตุได้ว่า บ ขับไล่ฝั่งรัสเซีย จะไม่มี บ ขับไล่ติดอาวุธนำวิถีที่ปลายปีก และ บ ขับไล่ ฝั่งตะวันตก ที่ติดอาวุธนำวิถีที่ปลายปีก ก็จะไม่มี บ ปีกแบบ Delta เลย ยกเว้น Gripen กับ Rafael”

 จะบอกว่าอะไรหรือครับ และ ช่วยยกข้อมูลด้านเทคนิคด้านคุณลักษณะ aerodynamic มาอธิบายเรื่องติดอาวุธที่ปลายปีก แล้วดียังไง ด้วยครับ อันนี้ผมสงสัยจริงๆ

3. จากคุณoleomano
 ประเด็นคืออะไรครับ  มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือ อ้างอิงเรื่องการขายเทคโน ให้ดูไหมครับ

4จากคุณtongwarit
 ใน link ที่ผมเขียนอธิบายชัดเจนแล้วครับ ถ้าเห็นต่างช่วยยกเอาด้านเทคนิคที่เห็นต่างด้วยครับ
 


รูปที่1 อธิบายว่า ทำไมปลายปีกติดอาวุธไม่ได้ ผู้ออกแบบ ต้องการให้เกิด  laminar ด้านบนปลากปีก ซึ่งแน่นอน เป็นการหวังผลเพื่อลด Cd

รูปที่2รูปของ เครื่องบิน Delta wing  นำ vortex flow( Stremlining ) มาใช้ประโยชน์ เพื่อส้รางแรงยก เพิ่ม cl
,รูปการทดสอบในอุโมงลม 

**จากรูปที่ 1 และ2 ที่ปีก J10 ติดอาวุธไม่ได้ ไม่ได้ความว่า J10 ห่วยกว่าเครื่องบินอื่น แต่เพราะ ผู้ออกแบบต้องการ จำกัด TURBULENT ที่เกิดที่ปลายปีกด้านบน

รูปที่3  การจัดการกับ vortex flow ของlafale ซึ่งมีวิธีจัดการที่แตกต่างกัน ไม่ได้บอกใครดีกว่ากัน

รูปที่ 4 และ5 การติดอาวุธของ J10a และ vortex flow  ที่ปลายปีก ซึ่งยังไม่มีข้อมูลว่าติดอาวุธที่ปลากปีก คล่องตัวกว่าอย่างไร 






โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 09/09/2014 10:32:26


ความคิดเห็นที่ 26


         คือที่ท่านสมาชิกทั้งหมดที่หยิบยกข้อมูลมามันเป็นข้อมูลดิบทั้งนั้นแหละครับ คุณ hongse เพราะไม่มีใครหน้าไหนหรือแม้แต่ตัวคุณเอง ไม่มีใครจะมีข้อมูลตัวพิมพ์เขียวฉบับจริงจากการทำสัญญาซื้อขายเทคโนโลยีอาวุธระหว่างประเทศกันหรอก ข้อมูลพวกนี้มันเป็นความลับทางทหารไม่มีใครในที่นี้สามารถ seach มาให้คุณได้หรอกครับ แต่ถ้าคุณจะมาเถียงกับเพื่อนสมาชิกว่าว่าถ้ามีหลักฐานก็เอามาโชว์ ถ้าจะมาเถียงกันมันก็ไม่ต่างอะไรกับการเถียงเพื่อหาหลักฐานที่ว่าใครเป็นคนสั่งฆ่าประธานาธิบดี JFK นั้นแหละชาติหน้าก็เถียงกันไม่จบ

         เพราะฉะนั้นตามความคิดของผมถึงแม้จะไม่สามารถหาหลักฐานมาอ้างอิงได้ว่าจีนลอกหรือ copy เทคโนโลยีจากประเทศอื่นมาแต่ในความเชื่อโดยส่วนตัวของผมคือจีนไม่มีปัญญาสร้างหรือคิดค้นอาวุธได้เอง 100% แค่ไปเอาแบบจากชาวบ้านเค้ามาแล้วเอาแต่งศัลยกรรมให้มันดูแตกต่างจาก ออริจิน่อล หรือดีกว่าเดิมก็แค่นั้น

         Ok นะครับนี้คือความเชื่อของผมและไม่มีใครสามารถมาเปลี่ยนแปลงความคิดนี้ได้มันก็เหมือนกับคุณที่มีความคิดที่ว่าจีนไม่เคยเอาเทคโนโลยีจากชาติอื่นมาลอกเลียนแบบนั้นแหละครับ  

         ปล.ผมเป็น สมช. ที่ยึดถือผลประโยชน์ของประเทศไทยเป็นหลักเท่านั้น อาวุธดีผมสนันสนุบให้เราซื้อมาใช่ ไม่เคยเชียร์ใครหรือประเทศไหนแบบออกนอกหน้า

 

โดยคุณ Woot1980 เมื่อวันที่ 09/09/2014 11:35:30


ความคิดเห็นที่ 27


เดี๋ยวจะเข้าใจผิดกันใหญ่ 

ขอธิบายว่า

ผมไม่ได้ว่าต้องการหลักฐานอะไรชัดแจ้งหรอก อันนั้นรู้ ว่าหายาก แต่แค่ขอข้อมูลประกอบความเชื่อของ ท่าน สมช. บ้างก็แค่นั้น

เช่น ที่ว่าก๊อป ก๊อปอย่างไร เช่น

air intake เหมือนกันอย่างไร หรือ

fuselage เหมือนกันอย่างไร    อธิบายโดยนำ หลักการคุณลักษณะด้าน aerodynamic มาจับ มาประกอบ

หรือ ยกว่าผมเขียนผิดตรงไหน จริงๆ ต้องเป็นแบบนี้ พร้อมยกข้อมูลประกอบ

 

เฉกเช่น ที่ผมทำตาม link ว่าผมไม่เชื่อว่าก๊อป เพราะอะไร ไม่เหมือนกันอย่างไร

ทำไมเขาใช้เทคโนโลยี นี้ เพราะอะไร ..........

 

เมื่อผมอธิบาย ผมมีข้อมูลด้านเทคนิคประกอบ ดังนั้น หวังว่าคนที่เห็นต่าง ก็ควรมีข้อมูลประกอบ เช่นกัน

 

 

 

 

 

โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 09/09/2014 13:51:19


ความคิดเห็นที่ 28


ตามความเห็นผมนั้น จะหมายความว่า  การติดอาวุธนำวิถีปลายปีก มีผลต่อ แอร์โร่ไดนามิค ไงครับ...ซึ่งถ้าดูจากแบบ Lavi ของ อิสราเอล จะเห็นว่า ปีก ของ Lavi จะไม่เป็น Delta อย่างสมบูรณ์ ต้องมีทำมุม เพื่อรองรับการติด อาวุธปลายปีก

ซึ่ง Gripen กับ Rafale สามารถ ออกแบบ ที่เมื่อติดตั้ง อาวุธนำวิถี ที่ปลายปีกแล้ว จะไม่ทำให้เสีย แอร์โร่ไดมามิค หรือสร้างปัญหาให้กับ ความคล่องตัว ของ เครื่องบินปีกแบบ Delta

จึงทำให้ ทั้ง Gripen และ Rafale มี ตำบล ติดตั้ง AAM รวมจำนวน 6 ตำบล ในขณะที่ J-10 มี ตำบลติด AAM เพียง 4 ตำบล

ส่วนรูป J-10 ล่างสุด นั้น ผมว่าเป็น รูป Fake ครับ น่าจะเป็นการตกแต่งภาพ ลองสังเกตุดู ลูกจรวด ครับ....ถ้า J-10 สามารถติดตั้งได้จริง แบบนั้น ผมขอรูปจริง ๆ ด้วยครับ (ผมหาไม่เจอจริง ๆ)

และตามแบบของ J-10 ก็จะมี ตำบล ติดตั้ง AAM จำนวน 4 ตำบล มีตำบล ติดตั้ง ถังน้ำมัน 3 ตำบล และ ติด ระเบิด จำนวน 4 ตำบล ซึ่ง ตามภาพที่ Fake ติด AAM นั้น ลองพิจารณาจาก โมเดล ก็ได้ครับว่า ไม่น่าจะติดตั้ง AAM ได้ เพราะมันจะติด ล้อหลัง และ ด้านหน้า ก็ติด ปืน

ซึ่ง J-10 ถ้ามันจะมาจากแบบ Lavi มันก็ต้อง แตกต่าง กันไปอยู่แล้วครับ เพราะมันเป็นการ ปรับเปลี่ยนเพื่อใช้ เครื่องยนต์คนละอย่าง และ เป็นการพัฒนาจากแบบเดิม ซึ่ง Lavi ก็เป็นเพียง ต้นแบบ ที่ยังไม่ใช่ แบบไลน์การผลิตเข้าประจำการ แต่ถูกยกเลิก เนื่องจาก มีต้นทุนที่แพงเกินไป แบบเดียวกับ F-2 ของ ญี่ปุ่น ที่ พัฒนา มาจากแบบ F-16 ก็จะมี มิติ และ รูปร่าง ที่แตกต่างไป



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/09/2014 14:15:21


ความคิดเห็นที่ 29


Gripen และ Rafale สามารถ ติด AAM ไปได้ ถึง 6 ลูก ในขณะที่ J-10 ติดตั้งไปได้ 4 ลูก

ซึ่งในความหมายถึง การเป็น บ. ภาระกิจ ป้องกันภัยทางอากาศ ซึ่งเป็น วัตถุประสงค์หลักของ J-10



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/09/2014 14:18:53


ความคิดเห็นที่ 30


ที่ผมว่าเป็นรุป Fake ครับ

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/09/2014 14:25:17


ความคิดเห็นที่ 31


1.J10/J10a ไม่ใช่ครองอากาศครับ แต่เป็น multirole fighter aircraft  (J11B,J10B เป็นครองอากาศแท้ๆ ) และ  J10/J10a ติดอาวุธเฉพาะที่ปีก ได้ 6จุด
เช่น PL12 4ลูก และ PL8  2ลูก ดังรูป คงไม่ fake น่ะครับ

2.จาก “ตามความเห็นผมนั้น จะหมายความว่า  การติดอาวุธนำวิถีปลายปีก มีผลต่อ แอร์โร่ไดนามิค ไงครับ...ซึ่งถ้าดูจากแบบ Lavi ของ อิสราเอล จะเห็นว่า ปีก ของ Lavi จะไม่เป็น Delta อย่างสมบูรณ์ ต้องมีทำมุม เพื่อรองรับการติด อาวุธปลายปีก
ซึ่ง Gripen กับ Rafale สามารถ ออกแบบ ที่เมื่อติดตั้ง อาวุธนำวิถี ที่ปลายปีกแล้ว จะไม่ทำให้เสีย แอร์โร่ไดมามิค หรือสร้างปัญหาให้กับ ความคล่องตัว ของ เครื่องบินปีกแบบ Delta”

---ดูรูปที่ 3 ดูตามลูกศรแดง ครับ ใครไม่เข้าพวก
---ดูรูปที่ 4  ดูตามลูกศรแดง ครับ ปลายปีกLavi กับ  Gripen ต่างกันตรงไหนครับในแง่ concept (ต่างแค่ที่มิติ)

--การติดอะไรที่ปีก ย่อมมีผลต่อ คุณลักษณะด้าน aerodynamic อยู่แล้วครับ จะมีผล มาก หรือน้อย แต่ผู้ออกแบบเขาแก้ไขใว้แล้ว
แต่ไม่มีข้อมูลอะไรยืนยันว่า J10 คล่องแคล้วน้อยกว่า Rafale หรือ  Gripen เพราะ J10 ติดอาวุธที่ปลายปีกไม่ได้

ลองดูคลิปแสดง maneuverability ของJ10
นาที่ที่0.48และ1.33-2.00  http://v.ku6.com/show/SJOrmO_x_Ml7Uhdy.html
(เทียบกับ Herbst Turn Maneuver http://www.youtube.com/watch?v=r-RZ2Cn5ESs )
และj10 Takeoff  แบบvertical climb
http://www.youtube.com/watch?v=I-54unEKAZM&feature=related

พอมี คลิป jas 39 ทำท่าบิน แบบ 2 คลิปข้างบนให้ดูไหมครับ อยากดู

และ
J10 กับ lavi ไม่เกี่ยวกัน
1.air intake คนล่ะ concept
     lavi  ,F16และ F2 ใช้ underslung air intake ส่วนJ10 เป็น intake ramp
2.ส่วนหัว
   ส่วนหัว ของ f16,lavi จะเห็นว่ามีลักษณะเป็นทรงกลมรี (ไม่กลม) แต่สมมาตร (Symmetric) ส่วน J10 กลม เพราะอะไร อธิบายใว้แล้ว
3. fuselage และแพนหางดิ่ง
   f16,lavi มีfuselage  เดียวกัน ส่วน J10 แตกต่างชัดเจน


***แค่นี้ก็ชัด น่ะครับ คงไม่ต้องอธิบายเพิ่ม
ที่เหลืออ่านตาม link ด้านบนมีแทบทุกข้อที่คุณสงสัยครับ



โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 09/09/2014 16:50:22


ความคิดเห็นที่ 32


รูปไม่มา เอาใหม่

ดูรูปที่ 3 ดูตามลูกศรแดง ครับ ใครไม่เข้าพวก
---ดูรูปที่ 4  ดูตามลูกศรแดง ครับ ปลายปีกLavi กับ  Gripen ต่างกันตรงไหนครับในแง่ concept (ต่างแค่ที่มิติ)


โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 09/09/2014 16:57:50


ความคิดเห็นที่ 33


รูปไม่มา เอาใหม่


โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 09/09/2014 17:01:33


ความคิดเห็นที่ 34


รูปนั้น ผมก็เหนครับ แต่มันเปนเครื่องโชว์ครับ ไม่ใช่เครื่องประจำการ ลองหาเครื่องประจำการบินโชว์แบบมี AAM จำนวน 6 ลูก ให้เป็นขวัญตาหน่อยครับ พอดีผมออกมาข้างนอกแล้ว ให้ลองใช้ภาพมุมบนครับ จะเห็น Lavi ปีกจะทำมุมลู่หลังเหมือนหัวลูกศรครับ ถ้าว่างจะทำเทียบให้ดูครับ
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/09/2014 17:32:06


ความคิดเห็นที่ 35


J10 ตัวแรก คงได้แรงบันดาลใจจาก lavi ไม่น้อยนะครับ 

ทั้งขนาด รูปร่าง หน้าตา แม้ดูลึกๆจะเพี้ยนไม่เหมือนไปบ้าง แต่คอนเซพการออกแบบคล้ายกันมาก

โดยคุณ delete เมื่อวันที่ 09/09/2014 20:43:31


ความคิดเห็นที่ 36


เพิ่งว่างเข้ามาอ่านและอยากจะหัวเราะ ที่คุณhongse_c ให้ผมไปหาข้อมูลอ้างอิงเรื่องการขายเทคโนโลยี Lavi มา แล้วยังถามคุณ Logieng ว่าคณะนี้ ถ่ายรูปที่เท่าไหร่ ปีไหน ไปทำไม และมีเอกสารอ้างอิงไหม ว่าจีนเอาเทคโนมาจากอิสราเอล คุณคิดว่าพวกผมเป็น CIA รึไงครับ ผมคิดว่าคุณhongse_c เองนั้นล่ะ ที่ต้องหาข้อมูลมาอ้างอิงให้จากบทวิเคราะห์ของคุณมาให้มากขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้เพื่อสมาชิกเชื่อว่า บทวิเคราะห์คุณที่เห็นต่างจาก บทวิเคราะห์หรือข่าวสารที่เพื่อนสมาชิกได้ติดตามข่าวสารมาเกือบทุกทางจากทั่วโลก ที่เอาเรื่องนี้มาลงแล้วเห็นตรงกันว่า J-10 พัฒนามาจาก Lavi เพราะผมคิดว่าก่อนที่เพื่อนจะสมาชิก(ซึ่งจากที่ผมติดตามก็มีผู้ที่รู้ลึกและรู้จริงอยู่เยอะ)จะเข้ามาพูดคุยเพิ่มเติมก็คงเข้าไปอ่านลิงค์ของคุณแล้ว ว่ามันก็เป็นแค่บทวิเคราะห์ที่คาดว่าจีนพัฒนา J-10 ขึ้นมาด้วยตนเองและอย่างที่คุณWoot1980 แสดงความคิดเห็นว่าคือจีนไม่มีปัญญาสร้างหรือคิดค้นอาวุธได้เอง 100% แค่ไปเอาแบบจากชาวบ้านเค้ามาแล้วเอาแต่งศัลยกรรมให้มันดูแตกต่างจาก ออริจิน่อล หรือดีกว่าเดิมก็แค่นั้น ยกตัวอย่างง่ายๆก็คือโพสนี้ที่เราคุยกันอยู่ตอนนี้ ทุกคนพอจะทราบกันแบบไม่ต้องไปหาหลักฐานหรือพิมพ์เขียวมาอ้างอิงว่า เหตุใดรัสเซียที่ต้องการขายอาวุธอย่างมาก ขายมันทุกประเทศโดยไม่สนใจใครไม่ว่าจะเป็น ซีเรีย อิรัก หรือคู่อริของสหรัฐอื่นๆ กลับไม่อยากขายให้ตลาดใหญ่อย่างจีน รึว่าคงเป็นเพราะจีนสร้างแล้วพัฒนา J-11 ขึ้นมาเองแล้วบังเอิญด้วยไปคล้ายกับ SU-27 ของรัสเซียเค้าแถมขายแข่งกับต้นตำรับอีกต่างหาก Z-9 ก็บังเอิญไปเหมือนดอลฟิน,HQ-9 SAM ที่บังเอิญ ไปคล้าย S-300 จริงๆเรื่องนี้ไม่น่าซับซ้อนแต่กลายเป็นเรื่องซับซ้อนไปซะอย่างนั้นครับ

โดยคุณ oleomano เมื่อวันที่ 10/09/2014 04:14:27


ความคิดเห็นที่ 37


ผมไม่ได้หมายความว่าคุณ hongse_c เป็นศัตรูผม ผมหมายความว่าอ่านโดยมีอคติอยู่ก่อนแล้ว เลยมองว่าผมเขียนอยู่ฝั่งตรงข้ามกับคุณ

เรื่องเว้นวรรคผมว่าไม่เกี่ยวนะครับ เพราะคุณตกคำว่า"ไม่" ซึ่งวรรคไม่วรรคก็ไม่ใช่คำแรกของประโยคแน่นอน

ถ้าผมเขียนว่า "มีจุดยืนว่าถ้าไม่เห็นตัวเป็นๆ...."

คุณก็อ่านเป็น "มีจุดยืนว่าถ้าเห็น...." โดยที่ผมไม่เห็นต้องเว้นเวรรคเป็น "มีจุดยืนว่า ถ้าเห็น..."

เป็นไงครับ แยกประเด็นดราม่าภาษาไทยได้อีก ฮา

 

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 10/09/2014 07:03:52


ความคิดเห็นที่ 38


~~1.จากคุณ juldas
 คุณสนใจเครื่องบินเหมือนผมก็คงทราบ แต่คุณอาจลืมว่าเครื่องบินที่โชวติดอาวุธที่ พื้นนั้นจะเป็นของจริง ที่สามารถบินจริงได้ ซึ่งก็ปกติ J10 มีตำบลติดอาวุธ 11 จุด
จากรูปที่ 1 ตำแหน่งที่ 1,2,3,5,6,7 ใช้ติด AAM รวม 6 ลูก
                 ตำแหน่งที่ 8,9 ใช้ติด ถังน้ำมัน หรืออื่นๆ
 ตำแหน่งที่ 4 ใช้ติด ถังน้ำมัน หรือกระเปาะอื่นๆ
            ตำแหน่งที่ 10,11 ใช้ติด ระเบิด หรืออื่น ๆ
รูปที่ 2 เป็นรูป J10a  aam 6ลูก เตรียมขึ้นบิน
รูปที่ 3 และ4 แสดง J10a ติด aam 6ลูก

2.จากคุณ delete
             เรื่องแรงบันดาใจนั้น ไม่ทราบ แต่ J10 กับ LAVI ถ้าดูผิวเผิน อาจดูคล้ายกัน แต่ถ้าคนที่รู้คุณลักษณะด้าน aerodynamic มาดู ดูยังไงก็ไม่คล้าย  เพราะเครื่องบินทั้ง 2ลำ มี air intake ส่วนหัว และfuselage และแพนหางดิ่ง เป็นต้น นั้นแตกต่างกัน ในด้าน concept และต่างกันด้านทฤษฏีที่ใช้ออกแบบ ซึ่งส่วนที่ต่าง เป็นส่วนประกอบหลักของเครื่องบิน ดังนั้น คำพูดที่ว่า เอามาพัฒนาต่อ คงใช้ไม่ได้ เพราะ มันพัฒนามากเกินกว่า หรือ มันคนล่ะตัวนั้นเอง

3.จากคุณ oleomano คุณเข้าใจผิดหลายประเด็นมากครับ ซึ่งไม่น่าเชื่อครับ
 3.1.จาก “เพิ่งว่างเข้ามาอ่านและอยากจะหัวเราะ ที่คุณhongse_c ให้ผมไปหาข้อมูลอ้างอิงเรื่องการขายเทคโนโลยี Lavi มา แล้วยังถามคุณ Logieng ว่าคณะนี้ ถ่ายรูปที่เท่าไหร่ ปีไหน ไปทำไม และมีเอกสารอ้างอิงไหม ว่าจีนเอาเทคโนมาจากอิสราเอล คุณคิดว่าพวกผมเป็น CIA รึไงครับ ผมคิดว่าคุณhongse_c เองนั้นล่ะ ที่ต้องหาข้อมูลมาอ้างอิงให้จากบทวิเคราะห์ของคุณมาให้มากขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้เพื่อสมาชิกเชื่อว่า บทวิเคราะห์คุณที่เห็นต่างจาก บทวิเคราะห์หรือข่าวสารที่เพื่อนสมาชิกได้ติดตามข่าวสารมาเกือบทุกทางจากทั่วโลก ที่เอาเรื่องนี้มาลงแล้วเห็นตรงกันว่า J-10 พัฒนามาจาก Lavi เพราะผมคิดว่าก่อนที่เพื่อนจะสมาชิก(ซึ่งจากที่ผมติดตามก็มีผู้ที่รู้ลึกและรู้จริงอยู่เยอะ)จะเข้ามาพูดคุยเพิ่มเติมก็คงเข้าไปอ่านลิงค์ของคุณแล้ว ว่ามันก็เป็นแค่บทวิเคราะห์ที่คาดว่าจีนพัฒนา J-10 ขึ้นมาด้วยตนเอง”
                ตอบ
                       ----รูปถ่ายนั้นผมพอรู้ว่าถ่ายที่ไหน ปีไหน  และคณะนั้นไปทำไม บอกตรงๆ ไม่ต้อง CIA ก็หาไม่ยาก ถ้าคุณอยากรู้ต้องไปหาเองครับ
  ----ข้อมูลที่ผมใช้เขียน Thread อาจไม่แน่น ไม่ถูก อย่างที่คุณบอก ดังนั้นใครเห็นต่าง ควรเอาข้อมูล ทฤษฏี  aerodynamic มาหักล้าง ข้อมูลผมครับ อย่ามัวแต่มาม่า เลยครับ เชิญเลยครับ ยินดี


 3.2.จาก “และอย่างที่คุณWoot1980 แสดงความคิดเห็นว่าคือจีนไม่มีปัญญาสร้างหรือคิดค้นอาวุธได้เอง 100% แค่ไปเอาแบบจากชาวบ้านเค้ามาแล้วเอาแต่งศัลยกรรมให้มันดูแตกต่างจาก ออริจิน่อล หรือดีกว่าเดิมก็แค่นั้น ”

 ตอบ
 ---จาก”จีนไม่มีปัญญาสร้างหรือคิดค้นอาวุธได้เอง 100% ”  ประโยคแบบนี้ เป็นการดูถูกมากครับ นั้นช่วยอธิบายทีว่า ASAT , Ground-Based Midcourse Defense(GMD) และ hypersonic glide vehicle (HGV) เป็นต้น ตาม link นั้น จีนพัฒนามาจากใคร us หรือ รัสเซียหรือ รอคำตอบครับ
http://www.thaifighterclub.org/webboard/18952/เกิดสงครามนอกโลก-จริงหรือป่าวครับ-.html
http://en.wikipedia.org/wiki/WU-14
http://pantip.com/topic/32534702/comment14

 3.3.จาก “ยกตัวอย่างง่ายๆก็คือโพสนี้ที่เราคุยกันอยู่ตอนนี้ ทุกคนพอจะทราบกันแบบไม่ต้องไปหาหลักฐานหรือพิมพ์เขียวมาอ้างอิงว่า”
 ตอบ
 ---เพราะไม่มีข้อมูลอะไรมาอ้างอิงและไม่มี ทฤษฏี  aerodynamic มาหักล้าง ใช่ไหมครับ เลยไม่ตอบด้านเทคนิคซักที

 3.4. จาก ”เหตุใดรัสเซียที่ต้องการขายอาวุธอย่างมาก ขายมันทุกประเทศโดยไม่สนใจใครไม่ว่าจะเป็น ซีเรีย อิรัก หรือคู่อริของสหรัฐอื่นๆ กลับไม่อยากขายให้ตลาดใหญ่อย่างจีน รึว่าคงเป็นเพราะจีนสร้างแล้วพัฒนา J-11 ขึ้นมาเองแล้วบังเอิญด้วยไปคล้ายกับ SU-27 ของรัสเซียเค้าแถมขายแข่งกับต้นตำรับอีกต่างหาก Z-9 ก็บังเอิญไปเหมือนดอลฟิน,HQ-9 SAM ที่บังเอิญ ไปคล้าย S-300 จริงๆเรื่องนี้ไม่น่าซับซ้อนแต่กลายเป็นเรื่องซับซ้อนไปซะอย่างนั้นครับ”
  ตอบ
 ----ผมพี่งรู้จากคุณ คนแรกว่าจีนพัฒนา J11 ขึ้นมาเอง เพราะที่ผมทราบ J11/J11a คือ Su-27SK ไม่ใช่หรือ ซื้อlicensed และผลิตในจีน   จีนพัฒนาเองตรงไหน งง
 ----และ จีนเคยขาย J11/J11a/J11b ให้ใครหรือ ช่วยระบุ ประเทศ แล้วขายไปกี่ลำ
 ----z-9 ซื้อlicensed  ของAérospatiale Dauphin มาไม่ใช่หรือ และpatent มันหมดอายุ จีนเลยขายได้
 ----HQ 9 กับ S300 เหมือนกันตรงไหน
 --- รูปที่ 5 ความแตกต่างที่ตัวจรวด ที่สังเกตง่ายๆ คือ Hq9
       -ตัวจรวด สั้นกว่า ตระกูล S300 เพราะต้องติดตั้งบนเรือได้ง่าย และยิ่งเป็นรุ่น B และ C สั้น และเล็กกว่าเดิมมาก
       -TVC vanes ไม่เหมือนกัน
และระบบ ฐานปล่อย radar ก็ไม่เหมือนกัน
 ---ประทานโทษครับ จากความเข้าใจผิดเรื่อง J11 Z9 HQ9 ก็พอทราบว่าคุณรู้เรื่องอาวุธจีนน้อยมาก ถ้ายังไงศึกษาเพิ่มหรือ ไม่รับฟังจากผู้รู้ได้ครับ  และ ประเด็น J10 ถ้าจะแลกเปลี่ยนกับผมต่อ ช่วยเอา  ข้อมูล และทฤษฏี  aerodynamic มาหักล้าง ข้อมูลผมทีครับ

4.จากคุณ toeytei
            ---อย่ามาม่าภาษากับผมครับ  เพราะผมจะแพ้ (ยอม)





โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 10/09/2014 10:38:03


ความคิดเห็นที่ 39


รูปที่ 4 ไม่ขึ้น ขอลงใหม่




โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 10/09/2014 10:40:41


ความคิดเห็นที่ 40


~~รูปที่ 4 ไม่ขึ้น ขอลงใหม่




โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 10/09/2014 10:42:38


ความคิดเห็นที่ 41


เป็นรูป Fake ทั้งนัั้นครับ ส่วนที่กำลังขึ้นบิน ก็น่าจะเป็น CG ครับ

มีรูปจริง ที่ติด 6 ลูก เห็นใต้ท้อง นั่นแหล่ะครับ ซึ่ง ผมบอกว่า มันเป็น ตัวโชว์ (หมายเลข 02 เหมือนกับรูปก่อนหน้านี้แหล่ะคร้ับ)

มันมีตัวโชว์ของ J-10 ติดอาวุธหลากหลาย เป็นการ ประชาสัมพันธ์

 

ผมถึงบอกว่า ขอรูป ที่เป็นเครื่องบินประจำการ จริง ๆ ติด 6 ลูกให้ ดูเป็น ขวัญตา หน่อยครับ

 

ส่วนรูปวาด ที่ตำแหน่งติดอาวุธนั้น ก็เป็น สเปค เท่านั้นครับ แต่ไม่ได้หมายถึงว่า มันติดได้ตามนั้นครับ

 

รูป J-10 ที่ผมค้นหาได้ จะมี Fake เยอะมาก ครับ ท่านต้องดุดี ๆ ครับ

 

เช่นรูปนี้ ท่านพิจารณา จรวดครับ Copy แต่งเหมือนเดิมครับ รูปจรวด เหมือนกันทั้ง 2 ด้าน เพียงแต่สลับตำแหน่งกันเท่านั้น


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/09/2014 12:54:14


ความคิดเห็นที่ 42


ผมว่ารูปที่คุณ hongse_c เอามามันดูแปลกๆนะครับ

 

อันนี้คงจะเป็นภาพเดียวกัน ลองเซฟภาพข้างล่าง แล้วเอาไปซูมขยายดูจะเห็นว่าไม่มีตัวจรวดเล็กๆ 4 อันนั้น

 


โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 10/09/2014 12:55:59


ความคิดเห็นที่ 43


ส่วนตรงนี้เป็นภาพของเครื่องที่ติด จรวด aam แบบ  4 ลูก และ 6 ลูก

(ไม่ได้ระบุว่าภาพใดแต่งเติมอะไรยังไง เพียงแต่เป็นภาพที่หาได้ในกูเกิลทั่วไปครับ)

 






โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 10/09/2014 13:04:54


ความคิดเห็นที่ 44


ก็เหมือนกับรูปนี้ แหล่ะครับ ก็น่าจะเป็น ภาพลำเดียวกัน และนำมา ซ้อนกัน ทำให้ดูเป็น 2 ลำ

สิ่งที่ผมหารูป ตำบลติด AAM ของ J-10 จำนวน 6 ลูก หรือ 6 ตำบล นั้น ก็เพื่อคลายข้อข้องใจที่ว่า มันมีประโยชน์อะไรกับ ติดอาวุธปลายปีก ซึ่งก็คือ การมีตำบลติดอาวุธอีก 2 ตำบล นั่นแหล่ะครับ โดย บ. ยังคงคุณลักษณะทางการบิน เหมือนเดิม

และผมเชื่อว่า ปัจจุบัน J-10A มีตำบลติดอาวุธ 11 ตำบล แต่คงเพียง ติด AAM และปล่อย AGM รวมจำนวน 4 ตำบล และติดถังน้ำมันอีก 3 ตำบล และติดลูกระเบิดอีก 4 ตำบล ครับ

ส่วน ตำบลที่ติด AAM ก็จะ ปรับเปลี่ยน ติดอาวุุธ อย่างอื่นได้ เป็นปกติโดยทั่วไป

แต่ในส่วนของ ตำบล ติดถังน้ำมัน ทั้ง 2 ข้างของปีก ผมคิดว่า ในขณะนี้ คงยังไม่สามารถติดระบบปล่อยอาวุธได้ แบบเดีียวกับ Rafale ครับ ตำบลติดถังน้ำมันใต้บิน ทั้ง 2 ข้าง ติดอาวุธไม่ได้ ติดถังน้ำมันอย่างเดียว

ผมถึงมองว่า รูป J-10A ที่ประจำการ และติด AAM จำนวน 6 ลูกนั้น หาดูไม่ได้ครับ ส่วนใหญ่เป็นรูปตบแต่ง หรือ CG เพื่อให้เห็นภาพแค่นั้น

ซึ่ง การจะติดอาวุธบินโชว์ คงไม่ใช่เรื่องยากอะไร แต่รูป J-10 ติด AAM จำนวน 6 ลูก หรือ 6 ตำบล นั้น หายากจริง ๆ หรือ ไม่มี ก็ไม่ทราบได้ครับ

ยกตัวอย่าง JAS-39 ของ ทอ.ไทย ก็ได้ครับ

 



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/09/2014 13:38:16


ความคิดเห็นที่ 45


ในขณะที่ บ.รบหลัก แบบอื่น ยังจะหารูปแบบจัดเต็ม AAM ได้ แต่ J-10 หาไม่เจอครับ เจอก็ตามปกติ คือ ติด AAM จำนวน 4 ตำบล เท่านั้น

 



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/09/2014 13:59:03


ความคิดเห็นที่ 46


<<<<<< 3.2.จาก “และอย่างที่คุณWoot1980 แสดงความคิดเห็นว่าคือจีนไม่มีปัญญาสร้างหรือคิดค้นอาวุธได้เอง 100% แค่ไปเอาแบบจากชาวบ้านเค้ามาแล้วเอาแต่งศัลยกรรมให้มันดูแตกต่างจาก ออริจิน่อล หรือดีกว่าเดิมก็แค่นั้น ”

 ตอบ
 ---จาก”จีนไม่มีปัญญาสร้างหรือคิดค้นอาวุธได้เอง 100% ”  ประโยคแบบนี้ เป็นการดูถูกมากครับ นั้นช่วยอธิบายทีว่า ASAT , Ground-Based Midcourse Defense(GMD) และ hypersonic glide vehicle (HGV) เป็นต้น ตาม link นั้น จีนพัฒนามาจากใคร us หรือ รัสเซียหรือ รอคำตอบครับ>>>>>>

====  ก็ผมเพิ่งบอกคุณไปหยอกๆว่ามันเป็นความเชื่อส่วนตัวของผมส่วนสมาชิกท่านอื่นจะเชื่อหรือไม่เชื่อตามผมก็สุดแท้แต่จะคิด และผมก็ไม่จำเป็นต้องมาตอบคำเดิมๆกับคุณหรอก

.............................................................................................................................................................................................

ถึงเพื่อนสมาชิกท่านอื่นๆที่นอกเหนือจากคุณ hongse สาเหตุที่ผมมีความเชื่อแบบนั้นก็เพราะว่าผมเคยมีความคิดจินตนาการว่าครั้งนึง

ถ้าสมมุติตัวผมเองว่าเป็นเจ้าประเทศใดประเทศหนึ่งถ้าประเทศนั้นฟลุ๊กสำรวจเจอน้ำมันและสามารถผลิตน้ำมันขายได้จนร่ำรวย และต้องการจะยกระดับประเทศของตนเองขึ้นเพื่อเป็นชาติมหาอำนาจแบบรวดเร็วที่สุด ผมจะไม่โง่ให้นักวิทยาศาสตร์และวิศกรในประเทศผมมาเสียเวลามานั่งทำการวิจัยและพัฒนางานต้นแบบเองหรอกเพราะว่ามันใช้เวลาเยอะและต้นทุนสูงช้าไม่ทันประเทศคู่แข่ง

  1.  ผมก็ให้งบประมาณหรือเงินก้อนนึงกับทีมนักวิจัยและพัฒนาแต่ละสายงานไปสืบหาดูว่าจะสามารถหาซื้อเทคโนโลยีอาวุธจากประเทศไหนได้บ้าง แล้วส่งทูตไปเจราจาพูดคุยกันก่อนแล้วค่อยเซนต์สัญญาซื้อขายกันในภายหลัง
  2. ว่าจ้างจารชนหรือฝึกสายลับขึ้นเพื่อที่จะไปล้วงข้อมูลหรือซื้อมูลจากเจ้าหน้าที่ฉ้อฉลและขายชาติจากประเทศคู่แข่ง ถ้าอาวุธหรือเทคโนโลยีอันนั้นมันไม่ได้มีไว้ขาย หรือถ้าต้องซื้อราคาก็แพงเกิน
  3. ติดต่อขอซื้อเทคโนโลยีอาวุธกับประเทศเจ้าของอาวุธแบบตรงๆโดย G-to-G แบบลับๆระหว่างสองประเทศแต่ถ้าหัวหมอหน่อย ทำทีเป็นขออาวุธมาซัก lot นึงแต่จริงๆต้องการจะก็อปปี้แบบและเทคโนโลยี และโยนให้ทีมนักวิจัยและพัฒนาไปศึกษา และทำการเปลี่ยนแบบจากเดิมเล็กน้อยเพื่อป้องกันการครหาว่า ก็อปปี้เค้ามาทั้งดุ้น แล้วพอศัลยกรรมได้พอประมาณก็จับมันโยนเข้าห้อง lab เพื่อทดสอบดูว่ามันดีขึ้นกว่าเดิมหรือแย่กว่าเดิม ถ้าสมมุติว่าดีกว่าเดิมก็ทำการเปลี่ยนชื่อแซ่ซะใหม่ส่วนระบบและเทคโนโลยีการให้นักโปรแกรมเขียนขึ้นมาใหม่จัดวางรูปแบบใหม่ให้มันเป็นเอกลักษณ์ประเทศผม พร้อมทั้งทำพิมพ์เขียวที่มีข้อมูลการการทำการออกแบบและวิจัยพัฒนาแบบเป็นขั้นเป็นตอนให้ดูดี แต่เค้าโครงเดิมเพื่อป้องกันการฟ้องร้องเรื่องลิขสิทธิ์ เท่านี้ก็อาวุธใหม่ ที่เจ้าของอาวุธได้มองตาปริบๆและไม่สามารถฟ้องร้องอะไรได้ เพราะอาวุธของประเทศผมมันประสิทธิภาพดีกว่าของเองและราคาถูกกว่า
  4. จากนั้นก็ออกสื่ออวดโฉมให้กับประชาชนประเทศตนเองและปกปิดข้อมูลในอีกด้านหนึ่งเพื่อให้ประชาชนได้รับรู้แต่ข้อมูลของตนเองแต่ฝ่ายเดียว เพื่อให้แน่ใจว่าประชาชนของประเทศผมได้รับข้อมูลแบบฝังหัวว่าอาวุธเหล่านี้เป็นอาวุธที่ประเทศของตนเองออกแบบและสร้างขึ้นด้วยตนเองไม่ได้ไปลอกเลียนแบบใครมา เผื่อว่าจะมีใครมาทักท้วงว่าอาวุธประเทศผมไปก็อปปี้แบบเค้านะและให้ประชาชนเหล่านั้นสามารถโต้เถียงข้อครหาได้อย่างมีเหตุมีผล พอเริ่มจะจำนนต่อเสียงที่คันค้านและทัดทานก็จะเริ่มโต้เถียงแบบข้างๆคูๆอีกและแถไปเลย ให้เอาหลักฐานมาโชว์บ้างละ เอาข้อมูลมาหักล้างบ้างละ พออีกฝ่ายไม่มีหลักฐานที่จะเอามาใช้เพื่อหักล้างข้อกล่าวหาก็เรียบร้อย
  5. เท่านี้ ก็จะทำให้ประเทศมหาอำนาจของผมสามารถยืดอกได้เต็มที่ว่าอาวุธเหล่านั้นเป็นอาวุธที่ออกแบบและสร้างขึ้นมาเอง จบ ฮะฮะฮะฮะฮะฮะ……………….

ปล. เรียงความเรื่องนี้อาจจะดูไม่มีสาระอะไรแต่ต้องการให้เพื่อสมาชิกหน้าใหม่ๆนอกเหนือจากสมาชิกหน้าเก่าๆได้รับรู้อะไรบางอย่างเท่านั้นซึ่งคิดว่าวิจารญาณของเพื่อนสมาชิกทุกท่านคงจะแยกแยะได้ไม่ยาก และก็ไม่จำเป็นอะไรต้องมาหาหลักฐานมาพิสูจน์หรือแก้ต่าง

ผมคิดว่าเรื่องนี้เถียงไปก็ไม่ได้อะไรเพราะใครบางคนมันฝั่งใจเชื่อแบบนั้นไปแล้วต่อให้หยิบยกอะไรมาหักล้างก็ไร้ประโยชน์หรืออาจจะรู้อยู่แก่ใจอยู่แล้วแต่ที่ทำไปก็เพื่อแค่เอาชนะคะคานไปเรื่อย

โดยคุณ Woot1980 เมื่อวันที่ 10/09/2014 14:15:11


ความคิดเห็นที่ 47


J-10 ใช้ตำบลเดียวกับที่ติด AAM ใช้ในการปล่อย GB (Guide Bomb)

ผมจึงเชื่อว่า J-10 มีตำบลติดอาวุธปล่อย เพียง 4 ตำบล ส่วนตำบล ติดถังน้ำมัน ก็คงติดถังน้ำมันอย่างเดียว

ส่วนตำบลใต้ลำตัว จำนวน 4 ตำบล ก็ใช้ปล่อย ระเบิด เท่านั้น (ตามแบบรูป โมเดล กระทู้ข้างบนครับ)

 

 

 



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/09/2014 14:23:42


ความคิดเห็นที่ 48


เครียดกันจังหาอะไรอ่านสนุก ๆ ดีกว่าครับ 

        http://iannnnn.com/

ผมไม่รู้จะตอบคุณ hongse_c ยังไง แล้วไม่รู้ว่าทำไปแล้วมันจะมีประโยชน์อะไร  2 ปีผ่านไปแล้วนะ คุณไม่เคยเปลี่ยนเลยนะครับ ไปทำงานต่อดีกว่า ^^

เรื่องผมกันท่านยาวครับอย่าเชื่อผมมากครับ 
http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2012/03/X11850018/X11850018.html

โดยคุณ Logieng เมื่อวันที่ 10/09/2014 14:30:01


ความคิดเห็นที่ 49


ท่าน juldas ใช้สำนวนมั่นใจจังครับ ผมกลัวจะมีคำถามว่า"มีหลักฐานอะไรว่าเป็นเครื่องโชว์"

โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 10/09/2014 14:37:21


ความคิดเห็นที่ 50


ถ้าเอาหลักฐาน หลักการมาสู้กันมันก็ได้ประโยชน์กันทั้ง 2 ฝ่าย ......

โดยคุณ aonestudio เมื่อวันที่ 10/09/2014 14:49:23


ความคิดเห็นที่ 51


ตอบคุณ aonestudio ครับ 

มีประโยชน์จริงครับ ถ้าต่างฝ่าย ต่างรับฟังข้อมูลและทำตัวเป็นกลาง แต่ถ้ามันไปถึงจุดที่จะเอาชนะกัน เหมือนเกมการเมืองมันก็ไม่สนุกแล้วละครับ 

โดยคุณ Logieng เมื่อวันที่ 10/09/2014 14:55:50


ความคิดเห็นที่ 52


นิสัยอย่างหนึ่งของผม ชอบทำลายความเชื่อผิดๆของคนอื่น ซึ่งทำให้หลายคน อาจจะไม่พอใจ แต่ก็ไม่ซีเรียส สู้กันที่ข้อมูล

เข้าเรื่อง 6 AAM

หลายท่านที่รู้เกี่ยวกับ J10 หรือรู้เกี่ยวกับอาวุธจีน ต้องรู้จัก การแข่งขัน หมวกทองคำ หรือการประลอง A2A ของเครื่องบินรบของ plaaf

ดูรูป แต่ไม่ขออธิบายครับ

ถ้ารูปนี้ ว่า PS อีก ก็สุดยอดครับ  ใครทำได้ เก่งมาก นับถือ

 

**ผมแคปมาจากคลิป

 



โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 10/09/2014 15:02:57


ความคิดเห็นที่ 53


เพิ่มรูปให้ครับ

 

ปล. J10B ก็ติด AAM 6 ลูก ครับ เอารูปด้วยไหม หรือใว้คราวหน้าครับ

 




โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 10/09/2014 15:20:39


ความคิดเห็นที่ 54


แหมมม...ก็เครื่องโชว์ เขามีครบจริง ๆ นี่ครับ 5 5 5 5 5 

ก็จากรูปที่ แคป มา ว่าติด AAM 6 ลูก แต่ก็คือ มีตำบลติด คือ 4 ตำบล ใช่ไหมครับ โดยใช้ แท่นยิง คู่ ในตำบลเดียว

จากที่ ปรากฎภาพมาตลอด J-10 ก็จะมี ตำบล ติดอาวุธปล่อยนำวิถี อยู่เพียง 4 ตำบลหลัก ๆ คือ ใต้ปีก ซ้าย-ขวา 2 ตำบล

ส่วนตำบล ถังน้ำมัน ยังไม่มีภาพ การติดตั้ง อาวุธใช้งานจริง...ยกเว้น เครื่องโชว์ ที่จะติดตั้ง อาวุธ ในตำบลติดถังน้ำมัน ผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ

 

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/09/2014 15:40:33


ความคิดเห็นที่ 55


ของใครของมันครับ (pl-12 ไม่ใช่เล็กจะไปใช้ร่วมได้ไง หรือว่ามีรูปให้ดู) ดูรูปที่ผมลงไปแล้วอีกรอบครับ แต่คุณเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเครื่องโชว รูปนั้นจะเห็นชัด  ขอลงรูปนั้นอีกที เครื่องจริง บินได้จริง ซึ่งเปลี่ยนจากถังน้ำมันเป็นระเบิดครับ รวมทั้งหมด 11 จุด

J10 มี 6 ตำบลสำหรับ ติด AAM ครับ ชัดเจนน่ะครับ

 

เพิ่ม รูปจากเครื่องโชว ที่คุณลง น่าจะผิดจากความจริง ผมไม่เคยเห็นการติดอาวุธ แบบนี้ โดยเฉพาะตำบลที่ 2 จากปลายปีก ติดคู่ได้ไง  เคยเห็นแต่ตำบลที่3 และใช้ติดระเบิดฉลาด คู่ บน J10B ครับ

 


โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 10/09/2014 15:53:12


ความคิดเห็นที่ 56


ผมดูไม่ผิดนะ ใต้ปีก มี 3 ตำบล  ตำบลที่ 1 ปลายสุด ติด Short Range Missile ตำบลที่ 2 ติด Medium Range Missile ตำบลที่ 3 ติด ถังน้ำมัน

โดยรูปที่มี AAM 6 ลูก คือ ตำบลที่ 2 ที่ติด Medium Range Missile ซึ่งจะใช้แท่นรางคู่ ผมว่า คุณดูใหม่ดีกว่า หรือเปล่า

ส่วนรูป เครื่องโชว์ ตามภาพที่อ้างถึง คุณจะเห็น หมายเลข 02 ตรงที่ปิดท่ออากาศสัีแดง แล้วให้ไปดูรูปแรกที่ โพสว่า ตำบล ถังน้ำมัน ติด AAM ได้...มันก็คือ ลำเดียวกัน ดู Short Range Misisile จะหัวเหลือง เหมือนกัน

ผมถึงบอกว่า เอาที่ มันบินได้ น่ะครับ หาให้ดูหน่อย

ผมถึงว่า ตำบล ติด AAM มีแค่ 4 ตำบล

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/09/2014 16:14:59


ความคิดเห็นที่ 57


ลำเดียวกันครับ หมายเลข 02 ไม่มีเลข ซีรี่ย์เครื่อง ผมถึงบอกว่า มันลำโชว์

 



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/09/2014 16:18:34


ความคิดเห็นที่ 58


เข้ามายิ้มด้วยคน (>_<)

โดยคุณ apc เมื่อวันที่ 10/09/2014 16:47:33


ความคิดเห็นที่ 59


เข้าใจผิดแล้วครับ J10 ที่ตัวเลข 2 ตัวหมายถึง เครื่องยังเป็นสมบัติของ Chengdu Aircraft Industry Group ซึ่งหมายถึงยังไม่เข้าประจำการ

เครื่องบินพวกนี้ อาจรอเข้าประจำการ หรือเอาใว้บินโชว เพื่อโปรโมต

เครื่องบินพวกนี้ บินได้ ปกติ ไม่ใช่ mock up ดูรูปประกอบ

 

***กลับเข้าเรื่อง ประเด็นที่เราคุยกัน คือเรื่อง J10 ติดอาวุธ AAM ได้ 4 หรือ 6 กันไม่ใช่หรือ คุณบอก 4 ผมบอก 6

และ

ผมก็แสดงแล้ว ว่า ติด 6 ได้ ก็น่าจะได้ข้อสรุปแล้วถูกไหม

 

ถ้าไม่ลำบากรบกวน หา jas Takeoff  แบบvertical climb ให้ดูหน่อยครับ หรือบินท่าประมาณ(ใกล้เคียง) Herbst Turn ก็ได้ อยากดู แต่ไม่มีก็ไม่เป็นไรครับ ไม่ซีเรียส 

edit เคยเห็น ของเพื่อนที่ถ่ายมา บินท่าประมาณ Herbst Turn แต่ไกลมาก และไม่ชัด   




โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 10/09/2014 16:56:15


ความคิดเห็นที่ 60


จีนก็คัดลอก Su-27 ได้ไปแล้ว ต่อไปคงก๊อป Su-35 อีก 555+

โดยคุณ Nakarin เมื่อวันที่ 10/09/2014 17:02:27


ความคิดเห็นที่ 61


ถ้าคุณ hongse_c รู้ดีว่าจะหาข้อมูลว่ารูปได้จากที่ไหนไม่ยากแล้วจะถามกลับพวกผมทำไมในเมื่อคุณก็หาได้ ว่ารูปมันถ่ายจากที่ไหน วันเวลาที่เท่าไหร่ แล้วพอเพื่อนสมาชิกบอกมาว่า J-10 พัฒนามาจาก Lavi คุณก็เอาลิงค์บทวิเคราะห์ให้ทุกคนอ่าน พอมีข้อขัดแย้งก็ถามหาข้อมูลเทคนิดโชว์ความรู้ด้าน aerodynamic เพื่อนสมาชิกหลายคนเค้าก็บอกแล้วว่าที่ต่างเป็นเพราะจีนพัฒนาเครื่องให้รองรับระบบของรัสเซียไม่ว่าจะเป็นเรดาร์หรือเครื่องยนต์ มันก็ต้องต่างอยู่กับ Lavi ที่เป็นเครื่องต้นแบบที่มีระบบจากตะวันตก และในส่วนอื่นจีนก็พัฒนาให้ดีขึ้น อีกบทความของคุณยังไม่ได้ระบุเลยว่าจีนพัฒนาระบบเหล่านี้ขึ้นมาได้ยังไงด้วยตนเอง โชว์แต่ข้อมูล aerodynamic อย่างโน่นอย่างนี้ และพอยกข้อเปรียบเทียบกึ่งประชดมาในเรื่องของJ-11,Z-9และHQ9-SAM กลับทำเชื่อมาบอกเพิ่งรู้ว่าจีนผลิดเอง ทั้งที่ใครๆเค้าก็รู้จีนซื้อมาแล้วก็ทั้งCopyและผลิตภายใต้ลิขสิทธิ์ สรุปเอาเป็นว่าผมก็เชื่อในความเชื่อของตนเองในเรื่องของ J-10 คุณก็เชื่อในส่วนของคุณและถูกอย่างที่คุณบอกว่าผมคงมีความรู้เรื่องอาวุธน้อยมากแต่อย่างน้อยก็ยังเป็นคนส่วนใหญ่ที่มีความเห็นเหมือนกับผม คงจะดีกว่ารู้ดีรู้ลึกแต่เห็นต่างกับคนแทบจะทั้งหมดที่รู้เรื่องJ-10 รวมถึงบรรดาบทความที่เขียนมาจากทั่วโลกที่เพื่อนเคยได้อ่านกัน ต่อไปก็ตามสะดวกเลยครับ อะไรที่มันแคบเกินไป เราก็คงไม่ได้ประโยชน์อะไรที่จะติดตาม

โดยคุณ oleomano เมื่อวันที่ 10/09/2014 17:19:51


ความคิดเห็นที่ 62


ยาวจริงๆ5555 J-10 สำหรับผมมันก็คือ Lavi เอาหัว Su มาใส่ เปลี่ยน intake เป็นเหลี่ยม.....จบ ได้ บ.รุ่นใหม่แล้ว สบายใจ

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 10/09/2014 17:36:04


ความคิดเห็นที่ 63


ผมว่าเอาแบบนี้ก็ได้ครับ  ตอบคำถามนี้ก็ได้ครับจะได้หาข้อสรุป

1.เจ้า j10 ถังนํ้ามันได้เท่าไหร่  ไม่เกี่ยวกับ จรวดอากาศสู่อากาศ ,อากาศสู่พื้น   เอาเฉพาะถังนํ้ามัน

2.เจ้า j10 ติดจรวดอากาศสู่พื้นได้เท่าไหร่ ไม่เกี่ยวกับอะไรทั้งนั้น

3.เจ้า j10 ติดจรวดอากาศสู่อากาศได้เท่าไหร่ไม่เกี่ยวกับอะไรทั้งนั้น

 

โดยเงื่อนไขคือ ต้องติดแล้วบินขึ้นได้  และเป็นที่ทราบกันดีว่าตำบลติดใต้ท้องเครื่องสามารถติดแบบสองแฉกได้ หรือแบบสามแฉกได้

เอามาให้หมดครับจะได้รู้เรื่องกันไป

ปล.ไม่ควรพาดพิง gripen นะครับ

โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 10/09/2014 18:55:15


ความคิดเห็นที่ 64


แหม่ๆๆเป็นกระทู้su-35 ที่มีข้อมูลj-10เยอะจัง 555
โดยคุณ KoH_M เมื่อวันที่ 10/09/2014 19:08:13


ความคิดเห็นที่ 65


ผมขอจองต่อพรุ่งนี่นะครับ 5555555 พอดีอยู่ข้างนอก ใช้มือถือ แบตจะหมด ซึ่งผมคิดว่า ผมเข้าใจไม่ผิดน่ะครับ และ J-10 ก็มีข้อจำกัด ในเรื่องแบบ AAM ซึ่งจะส่งผลถึงว่า ติดได้ 4 หรือ 6 นัด แต่ตอนนี้ ผมได้น้ำหนักไปเรื่องนึง คือ มีตำบล ติด AAM เพียง 4 ตำบล
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/09/2014 19:21:27


ความคิดเห็นที่ 66


ผมขอใช้สิทธิ ทักท้วงครับท่านประธาน (ชักเหมือนนักการเมือง) เพราะถ้า J-10 ใช้ รางคู่ เพื่อจะได้ AAM จำนวน 6 นัด ผมก็จะใช้ AIM-120 รางคู่ แบบ F/A-18 ผมก็จะทำให้ Gripen มี AAM ถึง 10 นัด ครับ ทั่น ปะทานนนนนน ชัก มาววววว 55555555
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/09/2014 19:45:11


ความคิดเห็นที่ 67


รุ่นใหญ่ไฝว้กันมัน ช่วงนี้ไม่ว่างเห็นเมนท์พุ่งพรวดๆ ไล่ตามอ่านไม่ทัน

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 10/09/2014 22:14:24


ความคิดเห็นที่ 68


เข้ามาดู เอ้ย เข้ามาฝากป๋าจูล ช่วยถามประเด็น j10 กับ lavi ด้วยนะครับ

หลังๆกลายเป็นตำบลอาวุธไปหมด เดี๋ยวจะลืมเรื่องนี้ไปด้วย อิอิ

ปอลิงผมไม่มีข้อมูลอะไรหรอกนะครับ แต่เท่าที่ตามอ่านมาหลายปี ก็มีแต่คนพูดว่ามันพัฒนาต่อ หรือเอาให้ชัดๆคือ ยิวขาย lavi มาให้จีนเอาไปทำต่อ ทั้งนั้น 

โดยคุณ delete เมื่อวันที่ 10/09/2014 23:57:54


ความคิดเห็นที่ 69


เป็นเรื่องไม่น่าเกลียด (อาจเป็นเรื่องฉลาดด้วยซ้ำ) ที่ทำอะไรใหม่ๆ เริ่มแรกด้วยการก็อป

ก็เหมือนเราเรียนหนังสือ 1+2 เท่ากับ 3.....ความรู้เหล่านี้เราก็ก็อปผู้รู้มาก่อน ไม่ต้องมานั่งวินัย 1+2 เท่ากับเท่าไหร่ให้เสียเวลา

ที่สำคัญ อย่าก็อปตลอด ต้องวิจัย ย่อยความรู้ให้หมด แล้วพัฒนาสิ่งที่ดีกว่าของตนเอง

โดยคุณ odd เมื่อวันที่ 11/09/2014 08:38:08


ความคิดเห็นที่ 70


~~1.จากคุณ oleomano

1.1.จาก “เพื่อนสมาชิกบอกมาว่า J-10 พัฒนามาจาก Lavi คุณก็เอาลิงค์บทวิเคราะห์ให้ทุกคนอ่าน พอมีข้อขัดแย้งก็ถามหาข้อมูลเทคนิดโชว์ความรู้ด้าน aerodynamic เพื่อนสมาชิกหลายคนเค้าก็บอกแล้วว่าที่ต่างเป็นเพราะจีนพัฒนาเครื่องให้รองรับระบบของรัสเซียไม่ว่าจะเป็นเรดาร์หรือเครื่องยนต์ มันก็ต้องต่างอยู่กับ Lavi ที่เป็นเครื่องต้นแบบที่มีระบบจากตะวันตก และในส่วนอื่นจีนก็พัฒนาให้ดีขึ้น”

ตอบ
 1.1.1.แน่นอนครับ ในเมื่อผมมีข้อมูล และข้อมูลด้านเทคนิคมาอธิบายประกอบความเชื่อ ท่านไหนเห็นต่างก็ต้องมีข้อมูล และข้อมูลด้านเทคนิคมาประกอบความเชื่อ ความคิดเห็นของตน    ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าจะเข้าใจพื้นฐานของการเล่น forum ด้านเทคโนอาวุธไม่ใช่หรือ 
 หรือคุณจะบอกผมว่า ใช้แค่ ความเชื่อ และความคิดเห็นของตน เท่านั้น    แล้วแบบนี้เราจะค้นหาความจริง ได้อย่างไร ลองตอบผมที??


 1.1.2.ประเด็นแรก คุณบอกจีนพัฒนารองรับ เครื่องยนต์ radar รัสเซีย เลยต้องปรับแบบ ว่างั้นถูกไหม ….ถ้าเอาแบบนี้ J10A block หลังๆ และJ10B ที่ใช้ radar และเครื่องยนต์จีน ก็ต้องปรับแบบใหม่หรือ??
 ถาม การใช้เครื่องยนต์รัสเซีย แล้วใช้คู่  underslung air intake แบบเดียวกับ lavi ,F16 ไม่ได้หรือ ถึงต้องเปลี่ยนเป็น  intake ramp ตอบทีครับ อยากรู้???

 ถาม การใช้เครื่องยนต์รัสเซีย แล้วใช้คู่  fuselage และแพนหางดิ่ง แบบเดียวกับ lavi ,F16 ไม่ได้หรือ ถึงต้องเปลี่ยนเป็น  fuselage และแพนหางดิ่ง แบบที่เห็นใน J10 ตอบทีครับ อยากรู้???  จริงๆมีคำถามอีกหลายข้อ แต่เค่นี้ก่อน


1.2.จาก “และพอยกข้อเปรียบเทียบกึ่งประชดมาในเรื่องของJ-11,Z-9และHQ9-SAM กลับทำเชื่อมาบอกเพิ่งรู้ว่าจีนผลิดเอง ทั้งที่ใครๆเค้าก็รู้จีนซื้อมาแล้วก็ทั้งCopyและผลิตภายใต้ลิขสิทธิ์ สรุปเอาเป็นว่าผมก็เชื่อในความเชื่อของตนเองในเรื่องของ J-10 คุณก็เชื่อในส่วนของคุณและถูกอย่างที่คุณบอกว่าผมคงมีความรู้เรื่องอาวุธน้อยมากแต่อย่างน้อยก็ยังเป็นคนส่วนใหญ่ที่มีความเห็นเหมือนกับผม คงจะดีกว่ารู้ดีรู้ลึกแต่เห็นต่างกับคนแทบจะทั้งหมดที่รู้เรื่องJ-10 รวมถึงบรรดาบทความที่เขียนมาจากทั่วโลกที่เพื่อนเคยได้อ่านกัน ต่อไปก็ตามสะดวกเลยครับ อะไรที่มันแคบเกินไป เราก็คงไม่ได้ประโยชน์อะไรที่จะติดตาม”


 1.2.1.ขอบทความที่วิเคราะละเอียดๆ กว่าผม ที่คุณอ้างด้วยครับ อยากอ่าน เพราะเคยเห็นแบบ เปรียนไม่กี่รูป แล้วบอก j10 มาจาก lavi

2.คุณ 461
 ตอบ คำตอบนี้ ถ้าดูรูปข้างบน ก็น่าพอรู้ แต่เพิ่มรูปให้ครับ
 ตอบ ทำไมพูดถึง jas ไม่ได้ ในเมื่อคุณ คุณ juldas ยกมาเปรียบเทียบ ด้านบน

 ผมอ่านก็สงสัย ก็เลยถาม
**jas39 กับ j10 สามารถมาเปรียบเทียบด้าน maneuverability ได้ครับ คุณไม่สงสัยหรอ J10 บิน hi aoa ได้ง่ายๆ Takeoff  แบบvertical climb ก็ง่ายๆ ถ้า j10 ทำได้ jas39 ก็น่าทำได้ ผมน่ะสงสัยจริง??? ช่วยหาคำตอบทีครับ??

3.จากคุณ juldas
“ผมขอใช้สิทธิ ทักท้วงครับท่านประธาน (ชักเหมือนนักการเมือง) เพราะถ้า J-10 ใช้ รางคู่ เพื่อจะได้ AAM จำนวน 6 นัด ผมก็จะใช้ AIM-120 รางคู่ แบบ F/A-18 ผมก็จะทำให้ Gripen มี AAM ถึง 10 นัด ครับ ทั่น ปะทานนนนนน ชัก มาววววว 55555555”
 

มีรูป  Gripen มี AAM ถึง 10 นัด ให้ดูหรือเปล่าครับ ไม่เคยเห็น เอาแบบบินจริงครับ(อย่าบอกว่าประชดน่ะ ผมเชื่อจริงๆ)
**ขอสิทธิถามเลียนแบบบ้างครับ555555555...

4.จากคุณ delete
 จาก “เข้ามาดู เอ้ย เข้ามาฝากป๋าจูล ช่วยถามประเด็น j10 กับ lavi ด้วยนะครับ
หลังๆกลายเป็นตำบลอาวุธไปหมด เดี๋ยวจะลืมเรื่องนี้ไปด้วย อิอิ”
 

ตอบ ถามได้ครับ ยินดี แต่ผมถามกลับ ต้องตอบได้เหมือนกันน่ะครับ
 **ผมป้อนข้อมูลฝ่ายเดียว มันก็เบื่อน่ะครับ อยากแลกบ้าง..


 จาก ”ปอลิงผมไม่มีข้อมูลอะไรหรอกนะครับ แต่เท่าที่ตามอ่านมาหลายปี ก็มีแต่คนพูดว่ามันพัฒนาต่อ หรือเอาให้ชัดๆคือ ยิวขาย lavi มาให้จีนเอาไปทำต่อ ทั้งนั้น ”
 

ตอบ ต้องถามว่าใครพูด และเขามีข้อมูล และข้อมูลด้านเทคนิคมาอธิบายประกอบคำพูด เขาหรือเปล่าครับ
หรือฟัง ฝรั่งว่ามา ก็ว่ากันไป เป็นทอดๆ


5.จากคุณ odd
 ตอบ เห็นด้วยครับ แต่ตอนนี้เรากำลังค้นหาความจริงกันครับ ถ้าสุดท้าย มีข้อมูล และข้อมูลด้านเทคนิคมาอธิบายประกอบ ว่า J10 มาจาก LAVI ผมก็ยอมรับ   นี่คุยมาตั้งนาน ยังไม่เจอครับ

ถ้ามีข้อมูล และข้อมูลด้านเทคนิคที่น่าเชื่อถือ พอผมจะเขียนตอน 2 ว่า J10 มาจาก LAVI ครับ....

 

รูปใช้ J10b เปรียบเพราะไม่มีเวลาหาครับ ท่านไหนมีเพิ่มได้ครับ



โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 11/09/2014 09:42:05


ความคิดเห็นที่ 71


จากรูป ใครทราบบ้าง คณะพวกนี้ ไปที่ไหน ปีไหน และเพื่ออะไร

ตอบถูก (ไม่มีรางวัลครับ)

 

ใบ้ ไปพร้อมนักบินของ plaaf 24 คน

 

edit

คุณ juldas ขอดูรูปปีก lavi ที่บอกว่าแตกต่าง ยังไง ขอดูด้วยครับ


โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 11/09/2014 10:04:05


ความคิดเห็นที่ 72


ข้อจำกัดของ แบบ AAM ของ J-10 จะส่งผลให้ J-10 ติด AAM ได้ 4 - 6 นัด

โดยที่ติดได้ 6 นัด คือ ใช้ แท่นยิง รางคู่

โดย J-10 แม้จะมี ตำบล ติดอุปกรณ์ จำนวน 11 ตำบล โดยในปัจจุบัน จะแยกได้เป็น

จำนวน 4 ตำบล ปีก ซ้าย ขวา ติดตั้ง อาวุธปล่อย

จำนวน 3 ตำบล ติดตั้ง ถังน้ำมัน (ยังไม่มีภาพปรากฎว่า จะติดตั้งระบบอาวุธได้ นอกจาก เครื่องโชว์)

จำนวน 4 ตำบล ใต้ลำตัว ติด ระเบิด

 

 

 

 





โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/09/2014 13:37:08


ความคิดเห็นที่ 73


ส่วนที่ว่า ตัวโชว์ ก็คือ J-10 ที่คาดว่า คงเป็นเครื่องต้นแบบ  นำมาจัดแสดงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ

ผมถึงให้ความหมายนของ หมายเลข 02 ว่า คือ เครื่องโชว์ หรือ เครื่องต้นแบบ โดยเครื่องสามารถบินได้ ครับ แต่พวก อาวุธที่ติดโชว์ อยู่นั้น คุณจะติด จรวด ดัมมี่ อะไรก็ได้ครับ ( ไม่ใช่ กล้อง ดัมมี่ ของ กทม. นะครับ 5 5 5 5 5 5 )

ผมถึงขอ ภาพ เครื่องบินจริง ๆ ที่ติดอาวุธ ตรงตำแหน่ง ถังน้ำมัน ปีก ซ้าย ขวา ครับ

แต่ภาพที่แสดงนี้ บินไม่ได้แล้วนะครับ อันนี้ โชว์ชัวส์ ครับ




โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/09/2014 13:40:29


ความคิดเห็นที่ 74


สำหรับที่ผมว่า Gripen สามารถติด AAM ได้ 10 นัด นั้น

ผมให้ความหมายที่ว่า ถ้า Gripen ติด LAU-127/128/129 แบบ แท่นคู่ ก็จะสามารถมี AAM ได้ 10 นัด ครับ

 



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/09/2014 13:47:16


ความคิดเห็นที่ 75


ส่วนภาพจริงของ Gripen ติด AAM ได้ 10 นัด นั้น ตอนนี้ ผมยังหาไม่ได้ครับ

คงต้องไว้ รุ่น E รุ่น F เขาสร้างเสร็จแล้ว และเข้าประจำการแล้วครับ คงจะสามารถนำมาโชว์ได้ ครับ

แต่ตอนนี้ ดูภาพวาด แบบ 9 นัด ไปก่อน นะครับ ซึ่งเป็นโครงการ สวีเดน เสนอขายให้ สวิต จริง ๆ ครับ

 

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/09/2014 13:49:15


ความคิดเห็นที่ 76


ภาพนี้ น่าจะใช้ได้ครับ ปีก ของ LAVI

แต่ท่านอย่า เคลม แบบ จุด ต่อ จุด นะครับ

เพราะ Lavi ยังเป็นเพียง เครื่องต้นแบบ ที่ยังไม่ได้ใส่อุปกรณ์อะไร

ยังไม่ใช่ แบบเครื่อง Final โดยถูกยกเลิก โครงการไปก่อน

แต่ เขาพูดถึง ระหว่าง Lavi กับ J-10 ก็คือ ก็นำแบบ Lavi มาแก้ไข และปรับแบบ

ซึ่ง ที่คุยกันเรื่องปีกของ Lavi ก็คือ ในยุคนั้น ถ้าจะติด อาวุธนำวิถีปลายปีกให้กับ เครื่องบินแบบปีก Delta ไม่ใช่ ว่าใครก็ทำได้ครับ

มันมีผลต่อ แอรโร่ไดนามิค แน่นอน....

แบบของ Lavi จึงมีปีก ที่ลู่หลังไป เพื่อให้ติด อาวุธนำวิถี ที่ปลายปีก

 

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/09/2014 14:02:26


ความคิดเห็นที่ 77


คำถาม มันก็ต้องเกิดแหล่ะครับว่า ทำไม การออกแบบ ถึงต้อง เหมือนกัน ขนาดนี้

ในขณะที่ บ.แบบ อื่น ๆ ที่มีคุณลักษณะ คล้าย ๆ กัน ไม่เห็นจะต้องมี คลีบ ท้าย นี้

 



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/09/2014 14:51:02


ความคิดเห็นที่ 78


 อันนี้ไม่ทราบว่าใช่ไหม เท่าที่นับดูมี aam  7 ลูกแน่นอน ส่วนลูกเล็กใต้ปีข้างละ 2 ไม่ทราบว่าจรวดอะไรถ้าใช่ก็นับเป็น 11 ลูกเลย

 

โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 11/09/2014 15:31:15


ความคิดเห็นที่ 79


คลิปอีกอัน ถ้า 2 ลูกใต้ปีกคนละข้างไม่ใช่ aam งั้นใส่ Metror แทน Gripen E สามารถมี aam ได้ 9 ลูก 

 

โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 11/09/2014 15:34:38


ความคิดเห็นที่ 80


~~1.ประเด็น เรื่อง AAM
 อ่านแล้วยังไม่เข้าใจ จากรูป ที่ลงไปแล้ว เอามาลงอีกรอบ ดังรูปที่1
เป็น pl12 X4 และ pl10 X2   ติดแบบนี้ คุณยังว่าเป็นจุดอ่อนอีกหรือครับ
pl12 (น่าจะรู้จัก) ส่วนpl10 เป็น 5th Generation Air-to-Air Missiles ออกแบบมาเพื่อติดตั้งกับ J20 ปัจจุบันติดตั้งทั้ง J10A J10B J11B และ J20
http://www.strategycenter.net/research/pubID.181/pub_detail.asp
http://china-defense.blogspot.com/2011/11/pl-10-aam-spotted-on-j-11b.html

และ J10 เป็น multirole ไม่ใช่ครองอากาศแท้ๆ เหมือน J11A/B J10b จึงติด AAM 6 ลูก มีคนบอกคุณหรือ ว่า J10a ติดAAM เกิน 6 ลูก
**SD10 เป็นรุ่นลดสเปคของ pl12

2. ประเด็นตัวโชว เคลียแล้วนี่ครับ
3.เรื่องjas39 เอาใว้มี ค่อยมาโชวก็ได้ครับ

4.ภาพลายเส้น lavi ขอผ่านไปก่อน เพราะไม่ทราบที่มา ที่ไปครับ และไม่รู้ว่าของจริงไหม

5.ประเด็น  ventral strake
ที่จริง มีคำตอบอยู่แล้ว แต่ไม่เป็นไร ผมอาจเขียนไม่ดีพอ คุณเลยหาไม่เจอ
ยกมา
////3.3.ด้านท้าย
 ในการออกแบบเครื่องบินแบบDelta wing หรือปีกสามเหลี่ยม  ผู้ออกแบบสามารถออกแบบให้มีแพนหางระดับ(Tailplanes)หรือไม่มีก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับ concept design ของทีมออกแบบนั้นๆ ซึ่งทั้งแบบมีหาง และไม่มีหางก็มีข้อดี ข้อเสียต่างกัน โดยเฉพาะต้องนำ Delta wing มาใช้กับ canard ซึ่งโดยส่วนใหญ่ นั้นจะไม่ใช่แพนหางระดับอีกเมื่อใช้ canard เพราะอะไรมาดูกัน
 1. canard ทำหน้าที่เหมือน แพนหางระดับทุกประการ และมันยังมีข้อดีคือมันอยู่ใกล้กับ CG เครื่องบินทำให้ลดแรงบิดในการ pitch rateและ roll rate ดังนั้นจะมีหางไปทำไม
 2.ทั้ง  canardและแพนหางระดับ ก่อให้เกิด drag ทั้ง friction(ไม่ต้องการ) และ pressure(ต้องการ) ซึ่งถ้ามี canardแล้ว ยังติดแพนหางระดับ อีก ก็เป็นการเพิ่ม friction drag  โดยไม่ได้ประโยชน์อะไร
 3.การมี canardและแพนหางระดับ ด้วยก่อให้เกิด cl จำนวนมาก แต่มากเกินความต้องการ
 4.canard สามารถสร้าง cl ได้สูงกว่า แพนหางระดับ
 
 โดยส่วนใหญ่ เครื่องบินที่ใช้  Delta wing กับ canard มักไม่ใช่ Tailplanes อีก แต่กรณี J10 ผู้ออกแบบได้เลือกใช้ ventral strake (ไม่ใช่Tailplanes) ช่วยเพิ่มคุณลักษณะ aerodynamic ที่ดี แม้ที่ angle of attack สูง เมื่อเครื่องบินต้องบิน ในลักษณะ angle of attack สูง เครื่องบินจะสูญเสีย คุณลักษณะ aerodynamic ที่ดี เพราะเนื่องมาจาก Boundary layer ที่คลุม ส่วนTailplanes (ไหลผ่านลำตัวมา) หรือในกรณี j10 ก็คือ  canard  การมี ventral strakeจะช่วยแก้ไขปัญหานี้  ผู้ออกแบบจีนได้ใช้  ventral strake ใน J8 และJ8II ซึ่งออกแบบตั้งแต่ก่อนปี 1970 และ1980 ตามลำดับ////


รูปที่ 2 ,3  ventral strake ของ jh7a  j8II
****ถ้าจะมายกเรื่อง  ventral strake แล้วบอกว่า J10 เอามาจาก LAVI ล่ะก็
งั้นผมก็สงสัยว่า LAVI เอามาจาก J-8II เพราะ J8II ขึ้นบิน 12 June 1984 ส่วน lavi บินครั้งแรก 31 December 1986  และ J-8II เป็น delta-wing ด้วย

**ส่วนทำไม J10 มี แล้ว Jas 39 ไม่มี
ตอบ ก็ตามทฤษฎี ลองอ่านอีกรอบก็ได้ครับ และที่ J10 มีเพราะผู้ออกแบบมี know-how อยู่แล้วก็ออกแบบมาหลายรุ่นแล้ว เลยต้องการลดเวลา
 และ ถ้าจะมาถาม ว่าJas 39 ทำไมไม่มี อันนี้ต้องวิเคราะต่อว่า ผู้ออกแบบ ใช้อะไรจัดการกับ angle of attack  ที่สูง ผมว่าคุณน่าจะรู้ดีกว่าผม
 

จากคุณ 461
 aam มี6ลูก พูดเฉพาะ J10a ,J10b ยังไม่มั่นใจ
Hardpoints 11 (6 under-wing, 5 under-fuselage) with capacity for 6000kg of external fuel and ordnance

ถ้าเอาตาม หลัก คุณ juldas ที่คุณว่า jas 39 ติดaamได้9ลูกนั้น ก็คงต้องมีรูปที่บินได้ครับ




โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 11/09/2014 16:15:46


ความคิดเห็นที่ 81


ไม่เห็นจะแปลก Ventral fin เอาไว้เพิ่ม stability ของเครื่องบิน เครื่องบินแต่ละรุ่นย่อมมีวิธีแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน

อย่าง IAI Lavi หรือ J-10 ต่างก็เป็นการจับคู่ระหว่าง Delta wing+ Twin Ventral fin แต่เครื่องบินทั้ง 2 แบบนี้ คานาร์ด ค็อกพิท เส้นข้างลำตัวคนละตำแหน่งกันเลย

 





โดยคุณ aonestudio เมื่อวันที่ 11/09/2014 16:19:31


ความคิดเห็นที่ 82


รูปที่ทำ ก็หมายถึงว่า

1. ถ้า J-10 ติด PL-11 กับ PL-8 ก็จะมี AAM ได้เพียง 4 นัด ไม่มีทางได้มี 6 นัด

2. ถ้า J-10 ติด PL-12 กับ PL-8 หรือ PL-10 มันก็ติดได้เพียง 4 นัด เช่นกัน

 แต่ถ้า อยากจะมี 6 นัด ก็ต้องติด แท่นรางยิง คู่ ใช่ไหมครับ จากรูปที่โพส นั่นแหล่ะครับ ใช่ไหมครับ ? เพราะ มันมี ตำบล ที่ปล่อย อาวุธนำวิถี ได้เพียง 4 ตำบล เท่านั้น

นั่นคือ J-10 ก็ถูกจำกัด ด้วยแบบ AAM ที่จะติดตัวไป ครับ

3. ถ้า J-10 จะติด LGB กับ AAM ตัว J-10 ก็จะเหลือติด AAM ได้เพียง 2 นัด เพราะต้องใช้ ตำบลที่ 2 ให้กับ LGB ซึ่งคือ ตำบลของที่ติด BVR หรือ PL-12 และจะคงเหลือเพียง AAM Short Range ปีกข้างล่ะ 1 นัด ซึ่งก็คือ PL-8 หรือ PL-10 เท่านั้น 

เพราะ มันไม่ปรากฎภาพว่า ตำบลที่ ติดถังน้ำมัน นั้น มันจะใช้ติดอาวุธ อะไรได้ ไงครับ หารูปเจอไหม ครับ ตำแหน่ง ติดถังน้ำมัน ติดอาวุธ น่ะครับ  ? เอาแบบ ประจำการ และ บินได้ น่ะครับ ผมแสดงภาพของ JAS-39 ไทย ไปแล้วนะครับ ว่าตำแหน่ง ติดถังน้ำมัน น่ะ ติดอาวุธได้

นั่น คือ จุด ด้อย ไงครับ พอจะเห็นภาพไหม ครับ

ตอนนี้ ภาพที่ ปรากฎ ก็คือ J-10 มี ตำบล ติดอาวุธปล่อยนำวิถี เพียง 4 ตำบล เท่านั้น ใช่ไหมครับ ?

อธิบายแบบนี ไม่ทราบว่า เข้าใจ รึยังครับ

ส่วน Gripen มี ตำบล 6 ตำบล ถึง  Gripen จะติด  LGB กับ AAM  Gripen ก็ยังไม่ สูญเสีย ตำแหน่งยิง BVR ไป คือ ติด LGB ได้ 2 นัด ติด AAM ได้ 4 นัด ทั้ง BVR และ Short Range อย่างละ 2 นัด

ซึ่ง ที่บอกว่า J-10 มีตำบล ติดอาวุธ 11 ตำบล นั้น

ก็ปรากฏอยู่แล้วว่า เป็นตำบล ติดถังน้ำมัน ไปเสีย 3 ตำบล ไม่ปรากฏภาพ ติดอาวุธ ใช่ไหม ครับ ?

ก็เสมือนว่า J-10 มี ตำบลติด อาวุธ จริง เพียง 8  ตำบล

ซึ่งเป็น ตำบล ติด ระเบิด ใต้ลำตัวเสีย 4 ตำบล ไม่สามารถติดอาวุธนำวิถี ได้ ใช่ไหมครับ ?

ดังนั้น J-10 จึง คงเหลือ ตำบล ติดอาวุธนำวิถี เพียง 4 ตำบล เท่านั้น คือ ที่ปีก ข้างละ 2 ตำบล

ซึ่ง ผมขอ เดา ว่า ที่ J-10 ต้องมี ตำบลติดถังน้ำมัน ถึง 3 ตำบล ก็น่าจะเป็น เรื่องความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ของ เครื่องยนต์ หรือเปล่า เพราะใช้ เครื่องยนต์ แบบเดียวกับ SU-27 จำนวน 1 เครื่อง

ซึ่ง J-10B ก็ได้เปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์ คือปรับปรุงให้มี ขนาดเล็กลง

โดยถ้า J-10 จะมี ตำบลติดอาวุธนำวิถีเพิ่ม จาก 4 ตำบล เป็น 6 ตำบล ก็อาจจะเกิดขึ้นใน รุ่น B ที่มีการเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ ที่มีขนาดเล็กลง

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/09/2014 17:28:46


ความคิดเห็นที่ 83


ส่วน คลีบ ท้ายลำตัว นั้น ก็อธิบาย กัน เฉพาะ Delta Wings ซิครับ

ว่า ทำไม จีน ถึงบังเอิญ นำมาใช้ กับ Delta Wings เหมือน IAI Lavi ครับ ?

ทำไม ถึง มี คอนเซ็ป แบบเดียวกับ อิสราเอล....ทำไม ไม่ไปมี คอนเซ็ป แบบเดียวกับ Typhoon  ตามที่ผม จัดหมวดรูป ให้นั่นแหล่ะครับ...

แล้ว ทำไม Delta Wings ของ บ.แบบอื่น ๆ ถึงไม่ต้องมีกัน

เอา เฉพาะ Delta Wings น่ะครับ อย่า ขยายความไปเรื่องอื่น ครับ....

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/09/2014 17:36:02


ความคิดเห็นที่ 84


คุณ 461 ใต้ปีกกริปเป้นไอ้ลูกเล็กๆมันติดข้างละสี่ลูกนะครับ ดูแล้วเป็นจรวดนำวิถีโจมตีภาคพื้นดิน

 

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 12/09/2014 07:22:03


ความคิดเห็นที่ 85


ตามภาพที่ท่าน จูลดาส ให้มาเปรียบเทียบนั่นล่ะคือที่ผมเคยสงสัยเพราะโดยมากแล้วพวกเดลด้าวิงจะไม่มีแพนหางระดับให้เห็น จะมีก็แต่ในพวกปีกมาตราฐานเช่น F-15 15 14 22 18 5 หรือ ตระกูลมิค ซู และอื่นๆ ส่วนกรณี MiG-21 อันนี้ไม่น่าจะใช่กรณีเดลต้าวิงเพราะตำแหน่งการติดตั้งอยู่ตรงกลางลำตัวซึ่งถ้าไม่มีแพนหางระดับก็จบไม่น่าจะอ้างได้ครับ ผมเข้าใจว่าการพัฒนาจากแบบเดิมมันย่อมจะคล้ายคลึงกันในบางจุดเท่านั้น ซึ่งแน่นอนจะไม่คล้ายกันทั้งหมด 

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 12/09/2014 08:06:55


ความคิดเห็นที่ 86


พูดตรงๆตอนนี้อยากให้เคลียร์เรื่องภาพตัดต่อมาก

โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 12/09/2014 08:55:23


ความคิดเห็นที่ 87


ผมว่าไปศึกษาข้อดี ข้อเสีย และแบบของ Delta wing ก่อนกันดีกว่าไหม และ Mig 21 น่ะเป็น Delta wing นะครับ

ผมว่าถ้า J-10 ไม่มี Ventral fin เดี๋ยวก็คงมีประเด็นว่าเหมือน Eurofighter แบบเครื่องยนต์เดียวแน่ๆ 

 


โดยคุณ aonestudio เมื่อวันที่ 12/09/2014 09:50:38


ความคิดเห็นที่ 88


ก็ต้องยอมรับว่า อาวุธหลายอย่างของจีน ดูจากรูปร่าง น่าจะเป็นการ *เลียนแบบ* มากกว่า

คือเอาแนวคิดของคนอื่น มาทำเองโดยการคิดค้นของตัวเอง เช่น http://military.china.com/important/11132797/20140912/18780211_2.html

ลอกแบบ หรือ ก็อปปี้ คงทำไม่ได้ อย่างมากคงแค่ 10 เบอร์เซ็น อีก 90 เบอร์เซ็นคงต้องอาศัยตัวเอง

ถ้าจารกรรม หรือ ขโยมคงทำได้ยาก...บางทีโดนอีกฝ่ายแสร้งทำข้อมูลผิดๆหลุดออกไป เพื่อให้อีกฝ่ายนำไปใช้ กว่าจะรู้ตัวว่าเป็นของปลอมคงเสียเวลาและเงินทองไปเยอะ

 

 

โดยคุณ odd เมื่อวันที่ 12/09/2014 11:06:08


ความคิดเห็นที่ 89


ตอบ  คุณ juldas
ประเด็นแรก
 *PL-8,Pl-11 กำลังถูกแทนที่ด้วย Pl-10,Pl-12


          ทีแรกสงสัยเรื่อง ติด AAM ได้ 6 ลูกหรือไม่ ไปๆมาๆ มาวิเคราะหาจุดด้อย เทียบกับ JAS-39 ซะงั้น
 ไม่เป็นไร ผมจะตอบให้หายสงสัย แต่ก่อนอื่น ขอสงสัยบ้าง
      ---J10 กับ jas39 มีอะไรหลายอย่างค้ลายๆ กัน แตกต่างกันที่  jas39ไม่มี ventral strake  ด้วยเหตดังกล่าว ผมก็สงสัยขึ้นมาทันทีว่า Manoeuvrability ของเครื่องบินทั้ง2 ลำ นี้ใกล้เคียงกันไหม ผมเห็นคลิป J10 บินแบบ Hi AOA บ่อยๆ ไม่ว่าท่าประมาณ Herbst Turn Maneuver และ Takeoff  แบบvertical climb ซึ่งหาดูไม่ยาก แต่หาของ JAS39 ไม่เจอ งั้นช่วยลงให้ดูหน่อย
และ ถ้าสมมุติไม่มี ก็แปลว่า ทำไม่ได้ใช่ไหม แล้วจะเป็นจุดอ่อนไหม และทำไม ทำไม่ได้ วิเคราะให้ทีครับ แต่ถ้ามีจะดีมาก ผมสะสมคลิปท่ายากเครื่องบินรบ


ของ J10a
นาทีที่0.48และ1.33-2.00  http://v.ku6.com/show/SJOrmO_x_Ml7Uhdy.html
นาทีที่ 0.32 http://youtu.be/PM_tHfLkUzk?list=PLjk2TVk3pd9anEn3jUHM4tdxY9mAW4bEb
นาทีที่0.35 http://youtu.be/wGWnzaWjP-c
http://www.youtube.com/watch?v=I-54unEKAZM&feature=related
**คลิปไหนดูไม่ได้แจ้งด้วยครับ
  
     กลับมาที่ประเด็น Hardpoints J10 มีทั้งหมด 11 จุดตามรูปที่1  ปีก6 ลำตัว 5 ตามรูป
จากเส้นสีเหลือง เป็น Dual-Rack Pylons ซึ่ง ติด LT2 laser-guided bombs  และยังมีที่ติด Pl-12 อีก2 ลูก (เดี๋ยวคุณ ต้องขอดูรูปอีกหรือเปล่าครับ เอาตอนบินด้วยใช่เปล่า ได้เดี๋ยวโทรไปส่ง plaaf ก่อน อิอิ)

 รูปที่2,3 และ4 เป็นการวาง  Hardpoints J10A และJ10B ซึ่งมีตำแหน่งเดียวกัน

 **การวิเคราะเครื่องบิน ต้องรู้บทบาทเครื่องบินของแต่ล่ะกองทัพ  plaaf ปัจจุบันใช้ J10A 2 หน้าที่
 1.โจมตีใกล้ชิด เพื่อแทน Q5 ที่ปลดไป รอยต่อกับ JH7A
 2.สกัดกั้น แทนJ8II
 จากการทำภารกิจจริง จากการซ้อมยังไม่เคยเห็น J10a ปฏิบัติการตามลำพัง เห็นแต่ มีJ11A หรือB คุ้มกันไปด้วยเสมอ
เช่น http://youtu.be/IaceiXw4eUM?list=PLjk2TVk3pd9anEn3jUHM4tdxY9mAW4bEb
นั้นจึงเป็นเหตผลของการจัดอาวุธแบบนี้
 เมื่อ เครื่องบินทั้ง2 ต้องปฏิบัติการร่วมกัน แต่J10 มี Combat radiusน้อยกว่า  J11มาก จึงต้องติดถังน้ำมัน ก็ปกติ

ประเด็นที่สอง
 จาก”ส่วน คลีบ ท้ายลำตัว นั้น ก็อธิบาย กัน เฉพาะ Delta Wings ซิครับ”

---ประทานโทษครับ ได้อ่านที่ผมพิมไปก่อนหน้านี้ไหม ยกมาอีกรอบ
//****ถ้าจะมายกเรื่อง  ventral strake แล้วบอกว่า J10 เอามาจาก LAVI ล่ะก็
งั้นผมก็สงสัยว่า LAVI เอามาจาก J-8II เพราะ J8II ขึ้นบิน 12 June 1984 ส่วน lavi บินครั้งแรก 31 December 1986  และ J-8II เป็น delta-wing ด้วย//
ดูรูป ที่5 ครับ

**ส่วนรูปไหนจากทั้งหมดที่ผมลง คิดว่าตัดต่อ ถ้ามั่นใจบอกได้ครับ แต่อย่าออกตัวแรง น่ะครับ....(แซวเล่น)
ปล.มีรูปเดียวที่ไม่ค่อยมั่นใจ แต่นอกนั้นมั่นใจ หลายรูปแคปมาเอง






โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 12/09/2014 14:53:25


ความคิดเห็นที่ 90


ที่เห็นรูปแรกน่าจะติดรางคู่ ส่วนรูปที่เหลือ ก็แค่4 กับ2

โดยคุณ nathekop เมื่อวันที่ 12/09/2014 15:43:13


ความคิดเห็นที่ 91


การสร้างเครื่องบินมันต้องมีพื้นฐานก่อน คือต้องซ่อมเป็น ผลิตชิ้นส่วนไม่ใช่ว่าจู่ๆคิดอยากทำก็ไปจารกรรมข้อมูลมาเลย แบบนั้นก็ตายกันพอดี ส่วนที่ว่าจีนก๊อปไหม ผมว่าก๊อปนะ  AAM หมายถึงอาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศไหมครับ ผมเข้าใจถูกไหมครับ

ก๊อป100 เปอร์เซ็น


โดยคุณ nathekop เมื่อวันที่ 12/09/2014 15:53:42


ความคิดเห็นที่ 92


"ที่เห็นรูปแรกน่าจะติดรางคู่ ส่วนรูปที่เหลือ ก็แค่4 กับ2"

--ไม ไม่เลื่อนไปดูข้างบนล่ะครับ

 

"การสร้างเครื่องบินมันต้องมีพื้นฐานก่อน คือต้องซ่อมเป็น ผลิตชิ้นส่วนไม่ใช่ว่าจู่ๆคิดอยากทำก็ไปจารกรรมข้อมูลมาเลย แบบนั้นก็ตายกันพอดี ส่วนที่ว่าจีนก๊อปไหม ผมว่าก๊อปนะ  AAM หมายถึงอาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศไหมครับ ผมเข้าใจถูกไหมครับ"

เขาพูดถึงเครื่องบินอะไร รู้หรือเปล่าครับ??

 

จะตอบให้ว่า J11B กับ su27sk มีความสัมพันธ์ยังไง ....แต่ขอ ถามก่อน ว่า su27sk กับ J11A กับJ11B แตกต่างกันตรงไหน ??? 

ใบ้ กายภาพดูไม่ยาก

โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 12/09/2014 16:06:33


ความคิดเห็นที่ 93


ท่าน หงชิ ตอบ่ว่า "กลับมาที่ประเด็น Hardpoints J10 มีทั้งหมด 11 จุดตามรูปที่1  ปีก6 ลำตัว 5 ตามรูป
จากเส้นสีเหลือง เป็น Dual-Rack Pylons ซึ่ง ติด LT2 laser-guided bombs  และยังมีที่ติด Pl-12 อีก2 ลูก (เดี๋ยวคุณ ต้องขอดูรูปอีกหรือเปล่าครับ เอาตอนบินด้วยใช่เปล่า ได้เดี๋ยวโทรไปส่ง plaaf ก่อน อิอิ)"

juldas ขอตอบว่า มัน Dual Lack สำหรับ PL-12 ครับ มันติด LGB ได้ที่ไหนล่ะ (แหมมมมม เป็นแฟน PLAAF จริง ป่ะ เนี่ยยยยย) ตามรูปที่ผมโพส ข้างบน SD-10 นั่นแหล่ะ ครับ  ซึ่ง SD-10 กับ PL-12 มัน ก็ตัวเดียวกัน

Dual Lack สำหรับ LGB จะเป็น อีกตัวนึง ครับ...และสำหรับ LGB เท่านั้น...เอาไว้ J-10B มันเสร็จก่อน ก็คงจะได้เห็นครับ...

ส่วนรูปที่ผมโพส อย่าเพิ่ง ฟินนนน นะครับ...เป็นรูปแต่ง ยังไม่รู้ว่าจะทำได้หรือไม่ นะครับ...ใจเย็น ๆ นะครับ...รูปนี้ แสดงเพื่อให้เห็นว่า Dual Lack ของ LGB มันก็จะเป็นของมันเอง เอามาใช้ร่วมกันไม่ได้ครับ

 




โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 12/09/2014 17:02:14


ความคิดเห็นที่ 94


แล้วที่ J-10 มันทำท่าอะไรได้นั้น 

มันเป็นที่ เครื่องยนต์ ล่ะมั้งครับ

เครื่องยนต์ของ รัสเซีย ที่ใช้กับ J-10 ซึ่งเป็น เครื่องเดียวกับ SU-27 คือ AL-31 FN คงไม่ใช่ เรื่องทรงเครื่องหรอกครับ

มันปรับมุมท่อได้

แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้ของ จีน ผลิตเองแล้ว...ก็ไม่รู้จะทำได้เหมือนที่โชว์ หรือเปล่า ?

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 12/09/2014 17:10:37


ความคิดเห็นที่ 95


เครื่องใหม่ WS-10 ที่ จีน ผลิตเอง และนำมาใช้กับ J-10

ก็ไม่รู้ว่า จะทำ ท่าบิน ได้เหมือนเดิม หรือเปล่า (ท่าอะไร ผมไม่รู้จักหรอกครับ ยังไม่ได้ศึกษา ซึ่ง ในสงครามจริง J-10 ประจำการอยู่ในประเทศ จีน ถ้าต้องใช้ ท่านี้ สงสัย อเมริกา คงยึดน่านฟ้า แล้วมา Dog Fight แล้วล่ะครับ)


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 12/09/2014 17:13:48


ความคิดเห็นที่ 96


~~ขอบคุณครับ ที่เตือน เข้าใจผิดไปหน่อย
 หมายถึงเอา precision-guide bomb ติดแบบ J10B แทนระเบิดธรรมดา น่ะครับ ที่ตำแหน่งลำตัว
            เพราะ    precision-guide bomb ของจีนยุคใหม่จะถูกลดขนาดหมดเพื่อใช้กับ J-20 ได้
ส่วนรูปของคุณรูปนี้ PS ครับ เห็นมานานแล้ว ไม่ฟินหรอก นอกจากคุณเอาคลิป jas39 มาให้ดู นั้นน่ะฟินครับ อิอิ
  AL-31FN ไม่มี Thrust vectoring น่ะครับ 31FP 31FU ถึงมี
http://en.wikipedia.org/wiki/Saturn_AL-31
เครื่องบินที่ทำ  Herbst Turn Maneuver หรือ  Takeoff  แบบvertical climb ถ้ามี เครื่องยนต์  มี Thrust vectoring จะดูเหนือกว่า J10 ครับ เช่น F22 ดังคลิป
http://youtu.be/3F70y3ke35E
 
**บางอย่างก็มีประโยชน์ เช่นvertical climb นี่ใช้งานได้จริง โดยเฉพาะการรบระยะประชิด มีการไต่เร็วมากได้เปรียบ แต่ Herbst Turn Maneuverนี่ จะมีประโยชน์ ในสงคราม จริงๆ หรือเปล่า เมื่อ BVR กันหมดแล้ว   แต่นี่แน่ๆ ใช้โชว์ว่าเครื่องบิน เข้าใกล้ยุค 5 หรือ supermaneuverability แค่ไหน อย่าง F22 J20 T50 คุณคงเคยเห็นพวกนี้บิน นี่สุดจะบรรยาย อย่างกับเครื่องบิน RC

ตัวอย่าง


โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 12/09/2014 18:01:12


ความคิดเห็นที่ 97


ผมก็อ่านทุกโพสดูทุกภาพนะ ศรเหลืองๆก็ดูนะหรือยังมีข้างบนที่ไหนอีก ส่วนที่ถามว่ารู้หรือเปล่าเขาพูดถึงเครื่องบินอะไร ผมอ่านและคิดวิเคราะห์เป็นครับและก็ไม่ดันทุรังด้วย ที่ลงรูปแค่อยากยกตัวอย่างว่าจีนก๊อปเขามาไม่ใช่คิดเอง

โดยคุณ nathekop เมื่อวันที่ 12/09/2014 19:39:17


ความคิดเห็นที่ 98


lavi ไม่ได้ก๊อป j8 หรอกครับ เพราะเอามาจาก f-16 ซึ่งเกิดก่อนหน้านั้นนาน

แล้วก็หาความเหมือนกับ j8 ไม่ได้เลย

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 12/09/2014 20:13:48


ความคิดเห็นที่ 99


ไม่อยากจะเชื่อว่ากระทู้แบบนี้จะกลายเป็นกระทู้ยอดฮิตแห่งปี   นี่เกือ[จะครบร้อยแล้วนะเนี่ย อะไรกันนี่ย????????

โดยคุณ Woot1980 เมื่อวันที่ 12/09/2014 20:48:01


ความคิดเห็นที่ 100


สงสัยว่าจะครบร้อยแล้ว ทำไมไม่เห็นตอบเรื่องภาพตัดต่อเลย

โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 12/09/2014 21:13:50


ความคิดเห็นที่ 101


เรื่อง j8 ผมแซวเล่นน่ะครับ

 

รูปตัดต่อรูปไหนครับ เห็นมีอยู่รูปเดียวที่ไม่แน่ใจ นอกนั้นรูปจริง

โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 13/09/2014 12:21:47


ความคิดเห็นที่ 102


ตอนนี้อินเดียก็มีปัญหาในการซื้อ Pak Fa แล้วนะครับ น่าจะเหตุผลในการกลัวเทคโนโลยีรั่วไหล ไม่ใช่การเมือง

โดยคุณ Nakarin เมื่อวันที่ 14/09/2014 17:54:22


ความคิดเห็นที่ 103


เห็นภาพตัดต่อ มากกว่า 1นะครับ อยากถามว่าทำไมถึงเอาภาพตัดต่อมาเป็นหลักฐานยืนยันครับ โปรจีนน่าจะแม่นกว่านี้นะครับ

 

แล้วทำไมจีนไม่พัฒนา j8 ต่อครับถ้าพัฒนาอีกรูปร่างจะเหมือน gripen มากกว่า Lavi นะครับ แถม lavi มีปัญหา ทำไมถึงไม่ออกแบบมาให้เหมือน gripen ล่ะครับ ทั้งๆที่ท่ออากาศ j8 ก็อยู่ด้านข้างแก้มพอดี  ทำไมออกแบบครั้งเดียวไปอยู่ด้านล่างเลยครับ

โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 14/09/2014 23:54:50


ความคิดเห็นที่ 104


แล้วพวกเราจะรู้ได้อย่างไรว่า J-10 ออกแบบแค่ครั้งเดียว ขนาด J-9 ยังทำมาหลายแบบเลย

ปัญหาของ lavi  แล้วเกี่ยวอะไรกับ J-10  ในเมื่อมันไม่ได้เหมือนกันตั้งแต่ Air intake แล้ว ถ้ามันเกิดปัญหามันก็ต้องเกิดปัญหาในเรื่องที่ต่างออกไป

http://news.qq.com/a/20080807/001192.htm

อยากได้ท่ออากาศข้างแก้มก็พวก FC-1 JH7 หรือ j20 ไงครับ



โดยคุณ aonestudio เมื่อวันที่ 15/09/2014 07:48:31


ความคิดเห็นที่ 105


ภาพโมเดล J-10 ตอนเริ่มโครงการ

http://sinodefence.com/2013/12/02/the-history-of-j-10/

เหมือน F-16 ไหมครับ ส่วนหัว....

แต่ด้วย จีน ยังถูกข้อห้ามในการ ขายระบบอาวุธ บางอย่างจาก สหรัฐ และ ยุโรป เริ่มแรกโครงการ น่าจะใช้เครื่องยนต์แบบเดียวกับ F-16  ซึ่งจีนยังไม่มีเทคโนโลยี่ การผลิตเครื่องยนต์เองในขณะนั้น

จึงได้รับการ ช่วยเหลือ และสนับสนุนจากรัสเซีย ในการพัฒนา เครื่องยนต์ให้กับ J-10 แทน

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 15/09/2014 09:20:44


ความคิดเห็นที่ 106


เรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง j-10 กับ lavi นั้น ถ้าจากการเปิดเผย เท่าที่อ่านเจอคือหน่วยงาน Siberian Aeronautical Research Institute (SibNIA) ของรัสเซียเปิดเผยว่ามีเข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการ j-10 แ้ล้วลงความเห็นว่าเทคโนโลยีหลายอย่างดูแล้วเอามาจาก lavi เป็นหลัก โดยบอกว่าทางบริษัทของจีนไปเอาเทคโนโลยีมาจากหลายค่ายแต่ต้องการคนมาช่วยพัฒนาให้บูรณาการกันได้ 

แต่เท่าที่หาอ่านดูส่วนใหญ่ซ้ำๆกันเหมือนเอามาจาก source เดียวกัน ก็อยู่ที่ว่าเชื่อหน่วยงานนี้หรือเปล่า หรือมองว่าเป็นการ discredit 

 

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 15/09/2014 10:00:38


ความคิดเห็นที่ 107


~~จาก “เห็นภาพตัดต่อ มากกว่า 1นะครับ อยากถามว่าทำไมถึงเอาภาพตัดต่อมาเป็นหลักฐานยืนยันครับ โปรจีนน่าจะแม่นกว่านี้นะครับ”
 ตอบ---ถึงจะโปร แต่ก็ไม่ได้แม่นอะไร แค่มือสมัครเล่น แล้วคุณว่า ตัดต่อรูปไหนครับ ยกมาทีจะได้ชี้แจงได้

จาก”แล้วทำไมจีนไม่พัฒนา j8 ต่อครับถ้าพัฒนาอีกรูปร่างจะเหมือน gripen มากกว่า Lavi นะครับ แถม lavi มีปัญหา ทำไมถึงไม่ออกแบบมาให้เหมือน gripen ล่ะครับ ทั้งๆที่ท่ออากาศ j8 ก็อยู่ด้านข้างแก้มพอดี  ทำไมออกแบบครั้งเดียวไปอยู่ด้านล่างเลยครับ”

 ตอบ--- จากขอ้มูลของคุณ aonestudio ก็ชัดเจนมากครับ น่าจะเคลียรแล้ว แต่ผมเพิ่มให้ครับ
จากรูปที่ 1 (จะเห็นแผนภาพแสดงการพัฒนเครื่องบิน โดยเห็น คุณปู่ของ J20 ด้วย )


 J-9 ออกแบบโดย Song Wencong ซึ่งเป็น  aircraft designer ในโครงการ J10 ด้วย ซึ่งทำงานกับ  Head aircraft designer Yang Wei ซึ่งหลายคนคงรู้จัก ถือว่าเป็นบิดาในการออกแบบเครื่องบินของจีน มีส่วนในการออกแบบ J20
 J9 พัฒนาใกล้เคียง Shenyang J-8 ออกแบบให้เป็นเครื่องบิน Interceptor (สกัดกั้น) ปีก3เหลี่ยม (delta wing )  และcanard ตามรูปที่ 2 โดยเริ่มโครงการ ในปี 1964 รับผิดชอบโครงการโดย Chengdu Aircraft Industry Group (CAC) มีการปรับเปลี่ยนแบบ จากติดตั้ง canard ระดับเดียวกับปีก เปลี่ยนมาติดตั้งระดับเหนือปีก มีการศึกษารับท่อทางเข้าอากาศ และผลกระทบของ  canard ,delta wing และLERX (leading edge extension ) อย่างไรก็ตาม โครงการ J-9 ได้ถูกยกเลิก ยุติโครงการในปี 1980 เนื่องจาก


 1.J9 เป็นเครื่องบิน ไม่มีความสมดุลด้วยตัวเอง (aerodynamically unstable)และจีนยังไม่มีเทคโนโลยี digital fly-by-wire ที่มีประสิทธิภาพพอ ที่ควบคุมให้มันบินได้อย่างมีเสถียรภาพ
 **aerodynamically unstable เครื่องบินที่มีคุณลักษณะนี้นั้น  ถือเป็นเครื่องบินที่มีความปราดเปรียวสูง (high level of agility) เพราะ มีdrag ต่ำ และ  lift force สูง  
 2.WS-6 (turbofan engine) ที่ออกแบบและผลิตนั้น ไม่มีคุณภาพเพียงพอ
 3.Cultural Revolution
และเนื่องจากการนดำเนินโครงการ J8 ควบคู่ไปด้วย กองทัพจึงหันไปเน้นโครงการของ J-8มากว่า ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ก้าวหน้าน้อยกว่า และมีความเป็นไปได้สูงกว่า


***ข้อสังเกต1
 -ดูJ-9VII นั้นทำให้คิดถึง J20 ซึ่งทำให้คิดว่าจริงๆแล้ว  concept J20 เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 1970 หรือกว่า41 ปี ต้องบอกว่า aircraft designer ของจีนนี่ไม่ธรรมดาจริงๆ ทำแบบแปลนที่ก้าวหน้ามากๆ เมื่อ41ปีก่อน
 
 -J9 มีการออกแบบหลายแบบ แต่โดยหลักๆแล้ว มีช่องรับอากาศเข้าแบบคู่ อยู่ใต้ท้องด้านข้าง,canard ,delta wing และแพนหางเดียว บางรุ่นเป็นแพนหางคู่
 -Mikoyan-Gurevich Ye-8 มีต้นแบบ 2 ตัวในปี 1960-61 เป็นไม่ได้ ว่าจะเกี่ยวข้องกับ J9,J13และ J10 เนื่องจากเป็นต้นแบบ มีแค่ 2ตัว ซึ่งถือว่าเป็นความลับ และความสัมพันธ์ที่เลวร้าย ระหว่าง  Soviet -จีน ซึ่งมีปัญหากัน ช่วงปี1959/1960 เป็นต้นมา


รูปที่3 model J9
 ยังมีโครงการที่ดำเนินการควบคุ่กันกับ J-9 คือ
Shenyang J-13 เริ่มโครงการ ในปี 1971 เข้าอุโมงค์ลม ปี1974 โดยนำเทคโนโลยีหลายส่วนที่ได้จาก J-9 มาใช้ และโครงการดำเนินไปได้ด้วยดี แต่ติดปัญหาเดิมๆ เหมือนที่ J9 เจอ ทำให้ต้องยุติโครงการ ในช่วงปี 1980
**J-13 พัฒนาโดย Shenyang ซึ่งเป็นผู้พัฒนา J-8 ….โดยได้นำเทคโนหลายตัวมาใช้ในJ13
 รูปที่ 4 model J13
รูปที่ 5  J10 ทดสอบในอุโมงค์ลม ในปี 1984


***ข้อสังเกต2
 1.โครงการ J9 และJ13 ถือว่าเป็นการออกแบบที่ก้าวหน้าในสมัยนั้น แต่ประเทศมีเหตวุ่นวายทางการเมือง และขาดเทคโนโลยีที่รองรับเพียงพอ คือระบบ Avionics และเครื่องยนต์ ที่พัฒนาตามไม่ทัน แต่สิ่งที่ได้ แม้โครงการจะยุติ คือKnow-how ในการออกแบบเครื่องบินยุคใหม่
 2.ทั้ง J9 และ J13 มีปีก3เหลี่ยมเหมือนกัน J9 มีcanard  ส่วนJ-13 มีท่อเข้าอยู่ใต้ท้องแบบเหลี่ยม ลองคิดต่อ ถ้าเอาท่อเข้าใต้ท้อง ปีก3เหลี่ยม และcanard  มาร่วมกันจะเป็น อะไร ??????
 3.CAC ออกแบบ J10 แล้วเสร็จ ปี1984 และนำไปทดสอบในอุโมงค์ลม ดังรูปที่ 7
 4.Lavi เริ่มโครงการ 1980 และยุติโครงการในปี 1987

......................................................................................................................................................................................................

.......................................................................................................................................................................................................
และ
จาก “ภาพโมเดล J-10 ตอนเริ่มโครงการ
http://sinodefence.com/2013/12/02/the-history-of-j-10/
เหมือน F-16 ไหมครับ ส่วนหัว....
แต่ด้วย จีน ยังถูกข้อห้ามในการ ขายระบบอาวุธ บางอย่างจาก สหรัฐ และ ยุโรป เริ่มแรกโครงการ น่าจะใช้เครื่องยนต์แบบเดียวกับ F-16  ซึ่งจีนยังไม่มีเทคโนโลยี่ การผลิตเครื่องยนต์เองในขณะนั้น
จึงได้รับการ ช่วยเหลือ และสนับสนุนจากรัสเซีย ในการพัฒนา เครื่องยนต์ให้กับ J-10 แทน”

 ตอบ---คุณยังไม่ตอบผมเลย J-8  กับ lavi มี ventral strake และ delta-wing เหมือนกัน แต่ J-8 ขึ้นบินก่อน ถ้าผมใช้ตรรกะแบบคุณ ผมเลยสงสัย lavi copy J8 ไปหรือเปล่าครับ?????
 ตอบ---ตามรูปที่คุณให้มา ผมไม่รู้รูปนี้ถ่ายปีไหน แต่ก็ไม่ได้สำคัญเท่าไร ที่สำคัญรูปนี้เป็นแค่ model พลาสติค ซึ่งไม่ได้มีใว้เพื่อทดสอบอุโมงค์ลม แล้วหมายความว่าอย่างไร............หมายความว่า model นี้ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางเปรียบเทียบ ทั้งด้านการวิเคราะ-เปรียบเทียบสำหรับออกแบบ และด้านการรบ ด้วยmorckup simulation
ตามรูปที่ 6 ซึ่งเหมือน F-15 ไหมครับ แต่อย่าเข้าใจผิดอีกว่า เขาcopy f-15 แค่ใช้ morckup simulation สำหรับแผนการรบเท่านั้น

model ของคุณจะมีน้ำหนักก็ต่อเมื่อ มันผ่านอุโมงลม 
**ข้อสังเกต ตามรูปที่7 มี DSI ด้วย ซึ่งพบต่อมา J10b ดังนั้นมันก็แค่model สำหรับศึกษา แลกเปลี่ยนการออกแบบของทีมออกแบบเท่านั้น

 







โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 15/09/2014 10:23:49


ความคิดเห็นที่ 108


~~ตามรูปที่ 6 ไม่มา เอาใหม่

โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 15/09/2014 10:27:09


ความคิดเห็นที่ 109


~~ตามรูปที่ 6 ไม่มา เอาใหม่


โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 15/09/2014 10:29:09


ความคิดเห็นที่ 110


จาก คุณ toeytei

คนกล่าวหามักเสียงดังกว่า คนผู้ถูกกล่าวหา ทางการจีน-อิสราเอล ปฏิเสธหลายรอบ แต่ fanboy ก็ยังเชื่อฝังใจอยู่

นึกถึง J20 ออกใหม่ๆ fanboy ก็บอกเอามาจาก mig1.44 จนสุดท้าย Mikoyan ออกมาปฎิเสธ เรื่องจึงเงียบ

http://chinese-military-aviation.blogspot.com/p/fighters-ii.html

 

แต่ที่สำคัญจะcopy หรือไม่ ดูไม่ยาก แค่เอาความรู้ด้านเทคนิค และประวัติการพัฒนา มาจับ มาอธิบายได้ครับ

ถ้า อยู่ๆ จีน มีJ10 โผล่มาเป็นลำแรก แบบนี้ เชื่อว่าcopy หรือซื้อเทคโนแน่

 

แต่ความจริงไม่ใช่ ก็เป็นอย่างที่อธิบายไป ก็ไม่เข้าใจ หลายท่านยังฝังใจไม่เลิก

โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 15/09/2014 10:39:33


ความคิดเห็นที่ 111


บอกตรงๆโกหกได้เนียนมาก มือสมัครเล่นแแต่มีข้อมูลฝ่ายจีนเยอะโคด  นี้ถ้าไม่ถูกจับได้ว่าเอารูปตัดต่อมา หลายคนคงเข้าใจผิด

จะก็อปี้ในทางลับก็ไม่มีใครว่าหรอกครับ เราเข้าใจดีแต่ไม่ใช่ไม่ยอมรับแล้วปากแข็งแบบนี้  คุณคงคิดว่าการก็อปี้คือเหมือนกันร้อยเปอร์เซ็นว่างั้น  

อเมริกาไม่ปลื้มเรื่องอิสราเอลส่ง lavi ให้จีน  เป็นคุณคืออิสราเอลคุณจะยอมรับทำไมครับ หักหลังลูกพี่ตัวเองใครมันจะยอมรับ

เห็นพูดเรื่องแอโร่มากนานแล้วคุณลองหาข้อมูลด้านแอโร่ของเจสิบแบบพิมพ์เขียวให้ดูหน่อยสิ 

   สาเหตุที่ทำให้คนทั่วทั้งโลกเขาข้องใจว่าเพราะอะไร j10 คือ Lavi มันมาจากปัจจุยัเหล่านี้ครับ

 1.ตรงท่ออากาศ จาก j8 มา j10 ทำไมมันมาอยู่ตรงใต้ท้องเครื่องจากแต่เดิมเครื่อง j8 ท่ออากาศอยู่ตรงแก้ม  คนเขาเลยสงสัยว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้น    คุณhongse_c พูดเองว่าดานแอโร่ไดนามิคมีผลมากถ้าจะเอาอะไรไปติดใต้เครื่องใต้ปีก  การเอาท่อจากแก้มไปไว้ด้านใต้มันจะไม่ยิ่งกว่าหรือ  มันแลดูยุ่งยากผิดวิสัยการพัฒนาอาวุธ  สายการพัฒนาของจีนตัว j8 มันอยู่ที่แก้ม แล้วไปอยู่ใต้ท้องการวิจัยพัฒนาจะยิ่งยุ่งยากกว่าเก่าไหม นี้คือสิ่งที่คนเขาสงสัย       

2.สืบเนื่องมาจากข้อหนึ่ง     มันทำให้คิดว่า ถ้าแอโร่ไดนามิคมันละเอียดอ่อนขนาดนั้นบวกกับสายการพัฒนา การย้ายท่ออากาศจากแก้มมาท้องต้องมีปัญหาอย่างหนัก   มันจึงมีเหตุให้เชื่อว่าจีนต้องมีอะไรที่ไม่ธรรมดาเข้ามาใส่เจ้าเครื่อง j10 แน่นอน ซึ่งแน่นอนมันคือ Lavi

...

3.ตรงครีบส่วนท้ายเครื่องที่มันเป็นเอียงๆตรงนี้คนก็สงสัยว่าเอามาจากอะไร ทั้งๆที่ตัวครีบตัวนี้ที่ทำหน้าที่เดียวกันของเจ้า j8 มันแทงชี้ลงดินตรงๆเลย  แล้วมันดันไปเหมือนกับ Lavi อีกคนเลยสงสัยแถมสงสัยมากด้วย 

 

พูดไปพูดมาก็ชักสงสัยเรื่องการสิ้นเปลื้องนํ้ามันแล้วสิเนี้ย

โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 15/09/2014 11:52:29


ความคิดเห็นที่ 112


ตาม LInk ที่ผมแนบน่ะครับ

J-10 เข้าอุโมงค์ลม ปี 1993

หลังจากที่ ประเทศกลุ่มตะวันตก ปฏิเสธ ที่จะขายเทคโนโลยี่ให้จีน ซึ่งรวมหมายถึง เครื่องยนต์สำหรับเครื่องบินขับไล่ ด้วย

โดยในปี 1990 ทางรัสเซีย จึงพัฒนาเครื่องยนต์ ให้สำหรับ J-10 แทน

1990: The J-10 project encountered great setback  because China was unable to obtain crucial technological assistance from  Western countries resulted by the arms embargo imposed by the United States and  European Union after 1989. In particular China was unable to produce a suitable  engine for the fighter aircraft.

The mid-1990s: Russia became involved in the J-10  development programme by contributing its Lyulka-Saturn AL-31F turbofan engine.

ในปี 1993 จีน ถึงทำเครื่องโลหะจำลองทดสอบใน อุโมงค์ลม

1993: Chengdu had constructed the first full-scale metal  mockup of the J-10. Wind tunnel testing revealed potential problems with  low-speed performance and less-than-expected maximum AOA at subsonic speeds. At  the same time the main trend in fighter aircraft development was a transition  from single-purpose fighters such as high-speed interceptor or low-altitude  dogfighters to multirole aircraft combining good subsonic and supersonic  air-to-air performance with extensive air-to-ground capabilities. Added  requirements for air-to-ground operations called for an in-depth redesign of  the J-10 to accommodate terrain-following radar, more and sturdier hardpoints,  an entirely new targeting, flight control and navigation systems.

ซึ่งตัวโมเดล ที่ผมแสดงนั้น

หมายถึง แผนแบบของ J-10 ในเริ่มแรก ซึ่งผมจะสื่อให้เห็นภาพแสดงถึงการได้รับ อิทธิพลของ Lavi มาโดยส่วนใหญ่ โดยเป้าหมายแรก จีน ก็มีความต้องการใช้เครื่องยนต์จาก ฝั่งตะวันตก ไม่ได้มีความต้องการ เครื่องยนต์จากรัสเซีย โดยตัว โมเดล ถึงออกมาตามรูปนั่นแหล่ะครับ ที่ผมบอกว่า ดุ โมเดล มันเหมือน F-16 หรือเปล่า ไง ครับ....(ซึ่งมันก็เหมือน Lavi นั่นแหล่ะ)

แต่เมื่อถูกฝั่ง ตะวันตก ปิดกั้นในการขายเครื่องยนต์ให้กับ จีน....

จีนต้อง อาศัย รัสเซีย แทน โดยรัสเซีย จะเป็นผู้พัฒนาเครื่องยนต์ ให้กับ J-10 ซึ่งเป็นในส่วนนี้แหล่ะครับ ที่ รัสเซีย เข้าไปมีส่วนร่วมพัฒนา J-10 กับจีน

เมื่อแผนแบบ เครื่องยนต์ เปลี่ยนแปลงไป การออกแบบของ เครื่องบิน ก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกันแหล่ะครับ มันเป็นเรื่องปกติ เพราะต้องปรับเพื่อให้เข้ากันได้กับ ระบบเครื่องยนต์

นั่น คือ J-10 ที่เข้าอุโมงค์ลม น่ะ มาหลังจาก Lavi ยุติดโครงการในปี 1987 และ หลังจากรัสเซีย พัฒนาเครื่องยนต์ให้กับ J-10 ได้แล้ว

แล้วถึง จะมีเครื่องต้นแบบเครื่องแรกในปี 1996

ซึ่งก็คือ กว่าจะมี J-10 เครื่องแรก ก็ใช้ระยะเวลากว่า 16 ปี

และ J-10 เครื่องแรก เข้าประจำการในปี 2003 หรือใช้ระยะเวลากว่า 23 ปี นับแต่เริ่มมีโครงการ

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 15/09/2014 12:55:14


ความคิดเห็นที่ 113


รูปภาพ โมเดล เครื่องต้นแบบ Air Intake ของ J-10 เหมือน Lavi หรือ F-16



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 15/09/2014 13:12:57


ความคิดเห็นที่ 114


J-10 ตอนจำลองแบบเท่าเครื่องจริง ดู Air Intake

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 15/09/2014 13:31:29


ความคิดเห็นที่ 115


คุณ 461 โหดไปไหนนิ

ส่วนตัวผมก็เชื่อว่า j-10 ได้รับความช่วยเหลือในการพัฒนา หรือมีการเอาเทคโนโลยีจากประเทศอื่นมา incoperate 

เอาง่ายๆว่าโมเดลล์แบบหลายๆตัว ทั้ง j-9 กับ j-13 (ตัวนี้ไม่เห็นเป็นเดลต้าวิ่งนี่ครับ) การพัฒนาไปไม่ถึงไหน ไม่มีการผลิตตัวจริงมาทดลองบินด้วยซ้ำ (หรือมี ผมไม่รู้ ใครรู้เอารูปมาแชร์กัน) จะว่าเป็นเพราะพัฒนาเครื่องไม่ได้อย่างเดียวผมว่าไม่น่าใช่ เพราะแม้แต่ j-10 หรือ j-20 ตัวต้นแบบก็จับเครื่องรัสเซียใส่ได้ หรือถ้าใช้เครื่องตัวเก่าสำหรับต้นแบบใช้เครื่องที่อ่อนกว่าไปก่อนก็ได้ 

มีก็แต่ j-8 ซึ่งเป็นเครื่องแบบเก่าที่ทำได้ลุล่วงจนถึงเข้าประจำการ

แล้ว j-10 ถึงมาเป็น break through ของเครื่องยุคที่สี่ ที่พัฒนาจนมาประจำการเป็นเรื่องเป็นราวได้

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 15/09/2014 14:05:14


ความคิดเห็นที่ 116


~~1.จาก “บอกตรงๆโกหกได้เนียนมาก มือสมัครเล่นแแต่มีข้อมูลฝ่ายจีนเยอะโคด  นี้ถ้าไม่ถูกจับได้ว่าเอารูปตัดต่อมา หลายคนคงเข้าใจผิด”
 ตอบ—รู้อะไร ต้องรู้ลึก เห็นคนในนี้โปรเยอะ ผมจะมาถกด้วย ก็ต้องแน่น และรูปไหนตัดต่อ  เท่าที่ไล่ดู มีแปลก แค่รูปเดียว รูปนี้ นอกนั้นของจริง มีรูปไหนอีกยกมาได้เลยครับ


2.จาก”จะก็อปี้ในทางลับก็ไม่มีใครว่าหรอกครับ เราเข้าใจดีแต่ไม่ใช่ไม่ยอมรับแล้วปากแข็งแบบนี้  คุณคงคิดว่าการก็อปี้คือเหมือนกันร้อยเปอร์เซ็นว่างั้น”
 ตอบ—ก็มันไม่ copy จะให้บอกว่าcopy ได้อย่างไร และก่อนที่จะคุยกันต่อช่วยอธิบายที ว่าต้องเหมือนกันกี่ % ถึงเรียกว่า copy และถ้าวันหน้ามีข้อมูลว่า ลอกแบบจริง ผมก็เชื่อ แต่ตอนนี้ยังไม่มี

3.จาก”อเมริกาไม่ปลื้มเรื่องอิสราเอลส่ง lavi ให้จีน  เป็นคุณคืออิสราเอลคุณจะยอมรับทำไมครับ หักหลังลูกพี่ตัวเองใครมันจะยอมรับ”
 ตอบ----ตอนนี้ไม่สำคัญเท่าไรหรอก ว่าจะยอมรับ หรือไม่ ที่สำคัญคือ  การเอาความรู้ด้านเทคนิค และประวัติการพัฒนา มาจับ มาอธิบายต่างหาก ทุกการออกแบบของ J10 กับ LAVI แตกต่างกันอย่างไร ก็อธิบายไปแล้ว
 จะให้ดี คุณควรเอาด้านเทคนิคมาจับ มาอธิบายแบบผมว่า J10 กับ lavi มันเกี่ยวข้องกันอย่างไร???? จะมีประโยขน์มากกว่า

4.จาก”เห็นพูดเรื่องแอโร่มากนานแล้วคุณลองหาข้อมูลด้านแอโร่ของเจสิบแบบพิมพ์เขียวให้ดูหน่อยสิ ”
 ตอบ----ผมยังต้องไปจีนอยู่ และยังไม่อยากติดคุก แต่จริงๆ แล้วไม่มีหรอก จะมีได้ไง ไม่ทำงาน Chengdu Aircraft Design Institute


5.จาก” 1.ตรงท่ออากาศ จาก j8 มา j10 ทำไมมันมาอยู่ตรงใต้ท้องเครื่องจากแต่เดิมเครื่อง j8 ท่ออากาศอยู่ตรงแก้ม  คนเขาเลยสงสัยว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้น    คุณhongse_c พูดเองว่าดานแอโร่ไดนามิคมีผลมากถ้าจะเอาอะไรไปติดใต้เครื่องใต้ปีก  การเอาท่อจากแก้มไปไว้ด้านใต้มันจะไม่ยิ่งกว่าหรือ  มันแลดูยุ่งยากผิดวิสัยการพัฒนาอาวุธ  สายการพัฒนาของจีนตัว j8 มันอยู่ที่แก้ม แล้วไปอยู่ใต้ท้องการวิจัยพัฒนาจะยิ่งยุ่งยากกว่าเก่าไหม นี้คือสิ่งที่คนเขาสงสัย   ”
และ
จาก”2.สืบเนื่องมาจากข้อหนึ่ง     มันทำให้คิดว่า ถ้าแอโร่ไดนามิคมันละเอียดอ่อนขนาดนั้นบวกกับสายการพัฒนา การย้ายท่ออากาศจากแก้มมาท้องต้องมีปัญหาอย่างหนัก   มันจึงมีเหตุให้เชื่อว่าจีนต้องมีอะไรที่ไม่ธรรมดาเข้ามาใส่เจ้าเครื่อง j10 แน่นอน ซึ่งแน่นอนมันคือ Lavi”

 ตอบ----ดูรูปที่ 1 J-13 เป็น delta wing แบบ Cropped delta ท่านไหนคิดว่าไม่ใช่ ศึกษาอีกรอบน่ะครับ
และ j13 มี canard และLeading-edge extension มี air intake แบบintake ramp พูดง่ายๆ มันคู่พี่ชายฝาแฝด J10 จากเอกสารของ Chengdu Aircraft Design Institute J13 ได้ทอสอบบิน แต่เครื่องบินมีปัญหาเรื่องทุน และการเมืองของพรรค และยุติโครงการไป

6.จาก”3.ตรงครีบส่วนท้ายเครื่องที่มันเป็นเอียงๆตรงนี้คนก็สงสัยว่าเอามาจากอะไร ทั้งๆที่ตัวครีบตัวนี้ที่ทำหน้าที่เดียวกันของเจ้า j8 มันแทงชี้ลงดินตรงๆเลย  แล้วมันดันไปเหมือนกับ Lavi อีกคนเลยสงสัยแถมสงสัยมากด้วย ”
 

ตอบ------รู้หรือเปล่า ว่าเครื่องบินบางรุ่นมันปรับมุมได้ และจีนมีventral strake มาหลายแล้วรุ่นแล้วครับ ก่อนJ10   ดูรูปที่ 2

และขอถามกลับบ้าง????????????????????????

 

 1.air intake,ส่วนหัว และfuselage และแพนหางดิ่ง เป็นต้น ของ j10 กับ lavi แตกต่างกันเพราะอะไร ทำไมท่านที่ว่า J10 copy lavi นั้นทำไม  Chengdu Aircraft Design Institute  ถึงออกแบบต่าง เพราะอะไร ทำไมไม่ copy ไปเลย ตอนนั้นก็รีบไม่ใช่หรือ ทำไมเสียเวลาพัฒนาเอง ช่วยอธิบายโดยยกเอา คุณลักษณะด้าน aerodynamic ของเครื่องบินทั้ง2มาเปรียบเทียบด้วยครับ
 

 2.จากข้อ1 J10และ lavi มีส่วนประกอบหลัก แตกต่างกันขนาดนั้น ทำไมท่านที่เห็นต่าง ถึงยังเชื่ออยู่ว่า j10 copy lavi
 

3.ถ้าจะบอกว่า การcopy ไม่จำเป็นต้องเหมือน100% ถามแล้วต้องเหมือนกันกี่% แล้วมีหลักเกณอะไรในการระบุ ถ้าไม่ใช้  คุณลักษณะด้าน aerodynamic ของเครื่องบิน มาจับมาอธิบาย



โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 15/09/2014 16:02:59


ความคิดเห็นที่ 117


~~คุณ juldas
รูป กับรายละเอียดมันไม่ตรงกันครับ ผมมีบทความภาษาจีนอยู่ ผมหา link ของคุณไม่เจอ ลงอีกรอบด้วยครับ
http://bbs.tiexue.net/post2_6910753_1.html
http://military.china.com/zh_cn/history4/62/20091009/15660369_1.html

ประเด็นที่สงสัยคือ Model 1:1 ตามรูป เป็นแค่โมเดลที่ใช้ศึกษาการผลิตซึ่งก็อย่างที่บอก มีการทดลองสำหรับการออกแบบก่อน ผู้ออกแบบก็พยายามเสนอไอเดียให้กับเจ้าของทุน ก็คือกองทัพ และวิเคราะผลต่างๆ
ซึ่งจากmodel 1:1 ตามรูปนี้น่าจะใว้โชวมากกว่า ด้วยเหตผลดังนี้
1.โมเดลนี้ จะเข้าอุโมงค์ที่ไหน จีนพึ่งมีอุโมงค์ลมขนาดใหญ่เมื่อไม่นานนี่เอง
2.model ที่เข้าอุโมงลม เขาจะไม่เข้าทั้งตัว เขาอาจดัดแปลงเพื่อลดตัวแปรลง ไม่งั้นจะวัดค่าอย่างไร
และจากรูปที่ 1 เป็นการทดสอบ Hi AOA ของJ10 กับเครื่องยนต์ ไม่เห็นเหมือน model ตามรูปคุณเลย และยังไม่ใช่ 1:1 ด้วย


รูปที่2 เอามาจาก ปกหนังสือ
Chinese youth science magazine (zh:ๅฐ‘ๅนด็ง‘ๅญฆ็”ปๆŠฅ, ISSN1000-7776) ออกเมื่อ  June 1979 น่าแปลกที่ โมเดลนั้นเหมือน J10 มาก
http://www.airforceworld.com/pla/j-10-F-10-fighter-china.htm
รูปที่3 โมเดล J10 เข้าอุโมงลม ปี1984
รูปที่4 โมเดลนี้ น่ะจะเพื่อโชวมากกว่า ดูตามลูกศร เอาถังน้ำมันมาติดใต้ air intake แปลกมา





โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 15/09/2014 16:34:14


ความคิดเห็นที่ 118


ถังน้ำมันหรือเลเซอร์ชี้เป้า?

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 15/09/2014 16:42:22


ความคิดเห็นที่ 119


เครื่องบินที่มี air intake อยู่ด้านใต้ และบินก่อน J10 ยัวมี J7fs อีกตัว


โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 15/09/2014 16:43:16


ความคิดเห็นที่ 120


j10พัฒนามาจากตัวนี้ใช่มั้ยครับ จากlink http://www.airforceworld.com/pla/gfx/j10/lion_cv_1.gif


โดยคุณ yuy999 เมื่อวันที่ 15/09/2014 18:18:23


ความคิดเห็นที่ 121


ก็ลิงค์ sinodefense.com ในกระทู้รูปโมเดลแรกที่ผมโพส น่ะครับ คุณลองดูให้ละเอียด

และซึ่ง เขารวบรวม ระยะเวลาการพัฒนา J-10 ไว้ตั้งแต่ต้น ว่าปีไหน ทำอะไร

และเขาบอกว่า J-10 เข้าอุโมงค์ลม ปี 1993 แต่ข้อมูลคุณบอกว่า เข้าปี 1984

ส่วน การทำเท่าขนาดจริง เขาเรียกว่า Mock Up คือ การสร้างเสมือนจริงตามแบบที่ออกไว้ครับ

เพื่อให้เห็น คุณลักษณะ และสเปค ว่าเป็นอย่างไรบ้างครับ

เขาไม่ได้เอาไปใช้ ทดสอบในท่อ หรือ อุโมงค์อะไรครับ

ตามรูป ก็คือ ปี 1991 ที่เขาเปิดโชว์

แล้วขนาด 1 ต่อ 1 นี่ มันต้องมีแปลน แล้วครับ คงไม่ใช่ นึกจะสร้าง ก็สร้างเล่น ๆ ครับ

เพียงแต่มันยังไม่มีอุปกรณ์ เครื่องยนต์ หรือ อิเลคโทรนิค ของจริงใส่ไปเท่านั้น

ซึ่งผมก็ แสดงความเห็นไปแล้วว่า

แบบน่ะ มันออกมา เหมือน Lavi และโดยสเปค โครงการ J-10 เขาต้องการใช้ระบบของ ฝั่งตะวันตก ครับ

แต่ จีน ยังถูกข้อห้ามในการขายอาวุธ เลยต้องไป พึ่ง รัสเซีย

รัสเซีย จึงเข้ามาส่วนร่วมในโครงการ J-10 เพราะต้องพัฒนา เครื่องยนต์ให้ J-10 

มันคนละเครื่อง มันคนละ สเปค ของเครื่องยนต์เลยครับ

รูปทรงของ ตัวเครื่อง J-10 ก็จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตาม เครื่องยนต์ สเปค ที่เปลี่ยนไปครับ

แล้ว รัสเซีย เพิ่งเข้ามามีส่วนร่วมใน เครื่องยนต์ คือ กลางปี 1990

และภาพเครื่อง ขนาด 1 ต่อ 1 คือแสดงใน ปี 1991 

นั่น หมายถึง เครื่องขนาด 1 ต่อ 1 หรือ Mock Up นั้น สร้างมาก่อนที่ รัสเซีย จะเข้ามาร่วมครับ

เพราะมันคงไม่ได้สร้างภายในเร็ววัน หรอกครับ เครื่องขนาดเท่าของจริง น่ะ

มันถึงมีข้อมูล ออกมาจาก ฝั่งรัสเซียว่า J-10 ได้รับ เทคโนโลยี่มาจาก Lavi ไงครับ

และ J-10 ถึงใช้ระยะเวลากว่า 20 กว่าปี ไงครับ ถึงจะได้เข้าประจำการได้

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 16/09/2014 08:59:39


ความคิดเห็นที่ 122


โดยในปี 1984 ยังออกแบบ เลือกแบบดีไซน์ กันอยู่เลยครับ

May 1984: After comparing the three design proposals, the  Ministry of Aeronautics decided to chose the tailless delta with canard design  submitted by Chengdu-based 611 Institute (now Chengdu Aircraft Design  Institute). The development task of the new-generation fighter was officially  assigned to the 611 Institute and Chengdu Aircraft Manufacturing Factory (now  Chengdu Aircraft Industry Corporation, CAC). Four key technological areas were identified, including the tailless delta-canard configuration,  computerised flight control, integrated avionics design, and computer-aided  design and manufacturing (CAD/CAM).

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 16/09/2014 09:08:06


ความคิดเห็นที่ 123


1971s

 


โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 16/09/2014 11:37:27


ความคิดเห็นที่ 124


~~ถ้าคุณเล่น forum ต่างประเทศจะมี 2แหล่ง ที่คุณไปอ้างกับคนต่างชาติไม่ได้(หรืออ้างได้ แต่ไม่น่าเชื่อถือ) คือ kanwa และ sinodefense.com ทั้ง2แหล่งใช้ข้อมูลชุดเดียวกัน (เป็นคนจีน อยู่แคนาดา) ที่ทั้ง2แหล่ง หมดความน่าเชื่อถือ ก็มีหลายเรื่อง แต่เรื่องที่ดังมากก็ ตอนที่ ทั้ง2 แหล่งบอกว่า J20 เป็นแค่ mock up มันบินไม่ได้ จีนไม่มีเทคโนระดับพัฒนา VLO สุดท้าย ทั้ง 2แหล่งหน้าแตก และหมดความน่าเชื่อถือไป
 
แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณจะเชื่อ ก็ต้องมาเทียบกับแหล่งอื่นประกอบ
 จากรูปที่ 1 และ 2 ดูเส้นสีแดง คำนั้นแปลว่าข่าวลือ และDr.Song Wencong ให้สัมภาษเล่าว่า J9 ล้มเหลวอย่างไร แต่J9 ก็ถ่ายทอดเทคโนมาที่J10

และจาก link ดังๆ ที่แม่นเรื่องข่าวจีน ไม่มีมั่วแน่
http://bbs.tiexue.net/post2_3139258_1.html
เป็นบทความ บอกว่าข่าวลือ j10 มาจาก lavi โดยพูดถึง การเกี่ยวข้องกันระหว่าง J9 และที่สำคัญคือ J13
http://bbs.tianya.cn/post-worldlook-427546-1.shtml
     บทความพูดถึงการพัฒนาของJ10 โดยพูดถึงการเกี่ยวข้องกับ J13 และ J9 และอธิบายว่า J13 ยังเทียบ F16 ไม่ได้ในด้านเครื่องยนต์ และระบบ electronic แต่ J13 มีคุณสมบัติ aerodynamic ที่โดดเด่นกว่า โดยเฉพาะ ที่low-altitude และช่วง transonic range maneuverability แต่J13 ก็มีปัญหาอยู่บ้าง ในด้าน aerodynamic  และระบบควบคุมการบิน สุดท้ายก็ถูกยกเลิกไป  และเขายังพูดถึง lavi ว่า 611 หรือChengdu Aircraft Design Institute วิเคราะว่า lavi มีปัญหา ด้าน    aerodynamic เช่น lavi ไม่สามารถบินที่ความเร็วสูงนานๆ ได้ และ บางความสูง lavi ก็ไม่มีความคล่องตัวเลย ความตั้งใจแรก 611 ต้องการนำเครื่องยนต์ ของMiG-23MF ที่ได้จากอิยิป มาใช้กับ J10 รุ่นทดลองก่อน แต่เพราะกำลังขับที่น้อยเกินไปจึงล้มเลิกโครงการ

 ผู้เขียนยังพูดต่อว่า ระบบควบคุมการบิน ของจีนที่พัฒนาโดย 611 นั้น อาจเรียนรู้มาจากฝรั่งเศษ ไม่ใช่ lavi ที่มีปัญหาแน่นอน
ปี1982 song cong หัวหน้าทีมออกแบบได้สรุปรายละเอียดของ J10 ทั้งหมดแล้ว (โดยหลายอย่างปรับเปลี่ยนจาก J13) โดยได้นำ Model มาทดสอบกับอุโมงลม ถึง3ครั้ง เริ่ม ปี1983 และนำข้อมูลไปปรับแก้ โดยเฉพาะที่ปีก
**ที่เหลืออ่านเองน่ะครับ เป็นรายละเอียด รับรองว่า แม่นกว่า  sinodefense.com แน่นอน


รูปที่3  Chinese youth science magazine (zh:ๅฐๅนด็งๅญฆ็ปๆฅ, ISSN1000-7776) ออกเมื่อ  June 1979
รูปที่4-5การทดสอบปี1983-84 

สรุป เป็นประเด็นดังนี้
 1.จาก “j10พัฒนามาจากตัวนี้ใช่มั้ยครับ จากlink http://www.airforceworld.com/pla/gfx/j10/lion_cv_1.gif
---------เขาเขียนว่า lavi ไม่ใช่หรือครับ คุณคงอ่านจีนไม่ออก แต่น่าจะสังเกตได้ว่า เขาแสดง Pratt & Whitney PW1120 ก็น่าจะรู้ว่า laviน่ะครับ


 2.คุณไม่เข้าใจเกี่ยวกับการทดสอบในอุโมงลมหรือครับ  J10 กว้าง 9 m จะเอาไปทดสอบที่ไหน และมีที่ไหนที่ใช้ model 1:1 มาทดสอบ ที่อื่นมีหรือเปล่าไม่ทราบ แต่ที่จีนไม่มีแน่ เพราะไม่มีที่ให้ทดสอบได้


และ ไม่มีความจำเป็นใดๆ ด้วยที่เอา model 1:1 มาทดสอบ ดูรูปการทดสอบได้
และขอข้อมูลหน่อยว่า ทำไมต้องเอาโมเดล1:1 ไปทดสอบอุโมงลม และในจีนมีที่ไหนที่ทดสอบได้?????
อ่านเกี่ยวกับอุโมงลมในจีน
http://piyu.blog.163.com/blog/static/19420310320115200524993/
 
 3. sinodefense.com เข้าอุโมงลมปี 1993 แต่ขอ้มูลจาก CCTV และ http://bbs.tianya.cn/post-worldlook-427546-1.shtml บอกเข้าตั้งแต่ 1983 เชื่อใครดีระหว่าง  sinodefense.com ที่เคยมั่วไม่รู้กี่เรื่อง โดยเฉพาะเรื่อง J20 และ  sinodefense.com ไม่มีแหล่งอ้างอิง หรือรูปถ่ายซักใบ เมื่อเทียบกับ  CCTV และ http://bbs.tianya.cn/post-worldlook-427546-1.shtml และ
ดูคลิป http://v.ifeng.com/news/tech/201311/01815fbf-07ca-4a66-815d-2279eb88f3db.shtml
ไม่เห็นใครบอกตรงกับ  sinodefense.com เลยครับ

 4.กลับไปดูรูป ที่คุณเอามา และบอกว่าเป็น model 1:1 และเข้าอุโมงลม รูปนั้นเป็นแค่ model โชวแค่นั้น ไม่ได้มีความสำคัญอะไรเลย ทำไมมาดูกัน
 -ดูรูปที่ 5 เส้นสีเหลือง คือ splitter plate เหมือนคนทำทำได้ ลวกมาก เอาแผ่นนี้ไปติดกับลำตัวซะงั้น นี้หรือ model 1:1 ถ้าโชว พอใหว
 -รูปเดิม เอาถังน้ำมันมาติด air intake งงเลย

 5.คุณบอกว่า J10 เปลี่ยนเครื่องยนต์ จากของตะวันตก เป็นตัวใหม่จึงต้องออกแบบ   air intake,ส่วนหัว และfuselage และแพนหางดิ่ง เป็นต้น ใหม่หมด เพื่อรองรับ เครื่องยนต์ใหม่


 ***ถามจริง คุณเรียน หรือศึกษา วิชา  aerodynamic ที่ไหนครับ ใครเขาสอนว่า เปลี่ยนเครื่องยนต์ ต้องเปลี่ยนหมด แบบนี้ ผมงงน่ะ
 ตัว Pratt & Whitney F100 เช่น PW1120 มีขนาดdia 880-1021 mmและยาว 4110-4900 mm โดยประมาณ
  และตระกูล AL-31Fมีขนาดdia 905 mmและยาว 4990 mm โดยประมาณ
และ
WS10a มีขนาดdia 950 mmและยาว 4900 mm โดยประมาณ

 

***ถาม ถ้ามีการเปลี่ยนเครื่องยนต์จาก Pratt & Whitney F100  เป็น ตระกูล AL-31F แล้วไมต้องปรับเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด ทำเพื่ออะไร?????????

และ J10a รุ่นหลังๆ และJ10b ที่ใช้  WS10a เขาไม่ปรับเปลี่ยนโครงส้รางเครื่องบินใหม่หมดหรือ??

J20 ใหม่ๆใช้ al31F หลังๆใช้ WS10g และWS15 แบบนี้ ไม่ต้องรื้อแบบใหม่หรือ????

 

 6.ขนาดได้รับเทคโนจาก lavi จึงใช้เวลาพัฒนา มากกว่า20 ปี สงสัยถ้าไม่ได้ คงเป็นร้อยปีแน่

 

อย่าลืม ตอบคำถามผมด้วยครับ อยากรู้


**จริงๆ แล้วผมมีเอกสารของ Shenyang Aircraft Design Institutes หรือ601 ที่พูดถึง J13 และ J10
ข้อมูลอีกพอควรที่ไม่แสดง รอใว้ทางคุณ หรือใคร มีข้อมูลมากกว่านี้ ค่อยเผยแผ่ครับ







โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 16/09/2014 17:24:06


ความคิดเห็นที่ 125


คุณ 451 กำลังจะสื่อว่าอะไรครับ

 

ถ้าให้เดา จะว่าจีนก๊อป ลำนี้มาหรือเปล่าครับ ตัวนี้เป็น Full-scale mock-up of the Boeing Model 908

ถ้าจีน ไปก๊อปได้ ก็ถือว่าเป็นสุดยอดมหาอำนาจแล้ว ล้วงข้อมูลเขาได้หมด สุดยอด

 

**ปล J13 พัฒนา ยุดเดียวกันครับ

 

โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 16/09/2014 17:30:39


ความคิดเห็นที่ 126


ถามอีกที....ถังน้ำมัน?กระเปาะเลเซอร์?



โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 16/09/2014 17:43:47


ความคิดเห็นที่ 127


สมัยนั้นจีนไม่มี laser แน่ๆครับ ส่วนเป็นถังน้ำมัน หรืออะไร ผมไม่รู้จริงๆ

และถึงจะเป็นอะไร ก็ไม่มีใครเอามติดใต้ air intake แน่ๆ

โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 16/09/2014 17:46:38


ความคิดเห็นที่ 128


คง เป็น เรื่องที่ น่าตลก มากครับ


ถ้าสมมติ ปี 1984 คุณทดสอบ อุโมงค์ลม ด้วยแบบเครื่อง ตามรูปภาพที่อ้างถึง

 

แต่อีก 7 ปี ต่อมา คุณทำ โมเดลขนาด 1 ต่อ 1 ด้วยแบบเครื่องอีกแบบหนึ่ง

 

ซึ่งแบบเครื่อง มันคนละเรื่อง ทั้ง Air Intake กับ ลำตัวเครื่อง

 

ไม่สงสัย บ้างรึครับว่า รูปที่บอกว่าเป็นปี 1984 จะเป็นการ เข้าใจผิด

 

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 17/09/2014 08:11:41


ความคิดเห็นที่ 129


แล้วผมก็ สงสัย ตรงตำแหน่ง ใต้ Air Intake มันก็เป็น คอนเซ็ป ในการติดอะไรสักอย่าง ตรงนั้น ของ J-10 อยู่แล้ว ไม่ใช่ หรือครับ

แล้ว คุณ hongse_c สงสัยอะไร ถึง คิดว่า มันติดอะไร ไม่ได้ ที่ใต้ Air Intake ครับ...

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 17/09/2014 08:14:56


ความคิดเห็นที่ 130


ส่วนเรื่องระยะเวลา ที่คุณ hongse_c บอกว่า ถ้าไม่ได้แบบ Lavi คงต้องพัฒนาเป็นร้อยปีนั้น

คือ เข้าใจกลับด้านแล้วครับ

ที่ผมบอกว่า ต้องใช้ระยะเวลากว่า 20 ปี นั้น คือ นานไปครับ

ก็ในเมื่อ เราโต้เถียง กันเรื่อง จีน ออกแบบเอง ทั้งหมด ตั้งแต่ต้น

โดยคุณ hongse_c ยืนยันว่าจีน ทดสอบ อุโมงค์ลม ตั้งแต่ปี 1984 โดยรูปทรงเหมือน ๆ กับ ปัจจุบัน

แล้วทำไม ต้องใช้ระยะเวลา ถึง 20 ปี มันควรจะน้อยกว่านั้น มากกว่าครับ

ซึ่งความหมายผม มัน ก็จะหมายถึง จีน ก็เสียเวลาไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่ออุปกรณ์บางอย่างไม่สามารถจะจัดหาได้ตามโครงการเดิม

ส่วนเรื่อง เครื่องยนต์ ก็ต้องไปดู น้ำหนัก ขนาด แรงขับ ครับ....เพราะ เครื่องยนต์ แต่ละชนิด ก็ต้องใช้อากาศในส่วนที่แตกต่างกัน ซึ่ง มันหมายถึง แอโร่ไดนามิค ของ รูปทรงเครื่องที่ต้องเปลี่ยนแปลงไป...

แล้ว คุณคิดว่า ถ้า F-16 เปลี่ยนมาใช้เครื่อง AL-31F แทน f-16 จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปทรง ไปจากเดิมหรือเปล่า ล่ะครับ

ตามกระทู้ ที่ ถกเถียง มาตั้งแต่ต้น ก็คือ J-10 ได้รับ อิทธิพลและเทคโนโลยี่ มาจาก Lavi ซึ่งรูปทรงโดยพื้นฐาน จึงมีลักษณะคล้ายกัน ไง ครับ

และผมก็แสดงความเห็นไว้แต่ต้นแล้วว่า ทำไม J-10 ไม่ไปคล้าย Typhoon ล่ะ ทำไม ต้องมา คล้าย Lavi ทำไม หลักการออกแบบ แอโรหไดมามิค ต้องมาคล้ายกับ แบบ Lavi นั่นแหล่ะครับ

แล้วแบบจำลอง 1 ต่อ 1 ทำไม ต้องทำมาเหมือน Lavi ทำไม่ทำแบบปัจจุบันไปเลย ไม่สงสัยบ้างหรือครับ

ซึ่งผมคิดว่า กลุ่มโครงการ คงจะไม่มีเวลาว่างมากขนาด จะทำเครื่องจำลอง 1 ต่อ 1 มาเล่น ๆ หรอกครับ

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 17/09/2014 08:52:55


ความคิดเห็นที่ 131


ที่บอกว่า ใช้เวลานานไป เมื่อเทียบกับ

F-16 เริ่มโครงการปี 1965  เริ่มบินครั้งแรก ปี 1974 ระยะเวลาประมาณ 9 ปี

Lavi เริ่มโครงการปี 1980 เริ่มบินครั้งแรก ปี 1986 ระยะเวลาประมาณ 6 ปี

J-10 เริ่มโครงการปี 1980 เริ่มบินครั้งแรก ปี 1998 ระยะเวลาประมาณ  18 ปี

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 17/09/2014 09:26:40


ความคิดเห็นที่ 132


คำว่า Full-scale ไม่ได้ หมายถึงว่า สร้างเครื่องเท่า ตัวจริง แล้วไป ทดสอบใน อุโมงค์ ลม

แต่มันจะหมายถึง การทำแบบตัวเครื่อง เสมือนของจริง แล้วนำไป ทดสอบใน อุโมงค์ ลม

ยกตัวอย่าง ตามภาพ ครับ

A 15 percent model of the F-18E in Langley's Full-Scale Tunnel (1995). Credit: NASA.

ก็การย่อส่วน 15% แต่เสมือนของจริง full-scale

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 17/09/2014 11:09:43


ความคิดเห็นที่ 133


~~ตอบ
ประเด็น 1
 J10 ก็คือ J-13 และlavi ก็คือ F16  และ J10 กับ lavi มีอะไรเหมือนกัน ส่วนประกอบหลัก เหมือนกัน หรือ???  air intake,ส่วนหัว และfuselage แพนหางดิ่ง และปีก เป็นต้น นั้นเป็นส่วนประกอบหลักของเครื่องบิน ไม่เหมือนกัน
และ lavi เป็นเครื่องบินที่ล้มเหลวด้าน  aerodynamic

ประเด็น 2
 เนื่องจาก J10 มาจาก J13 หน้าปก Chinese youth science magazine (zh:ๅฐ‘ๅนด็ง‘ๅญฆ็”ปๆŠฅ, ISSN1000-7776) ออกเมื่อ  June 1979 ก็คือโมเดลเริ่มต้นของ J10 รูปนี้ของจริง ประวัติศาสตรไม่โกหก
 model 1:1 ที่คุณลง นี้ไม่ได้ถูกนำไปทดสอบในอุโมงลมแน่ เพราะไม่จำเป็น และไม่มีที่ให้ทดสอบ และ
 model 1:1 นั้น เป็นของที่ทำขึ้นเพื่อโชว หรือสื่อสาร ภายในองกรมากกว่า สังเกต ติดดาวแดง และติดถังน้ำมันก็ผิด ส่วนหัวถังน้ำมัน ยื่นมารบกวนกระแสอากาศได้อย่างไร 


**รูปที่ 1  J10B ติดระเบิดที่ลำตัว รูปนี้ไม่ทำสีจะเห็นชัด ว่าส่วนไหนเป็น  air intake ส่วนไหนเป็น fuselage และไม่มีอะไรยื่นมารบกวนกระแสอากาศรอบๆ  air intake
 และ
  การนำแผ่นsplitter plate ไปติดกับใกล้ลำตัวมาก  สำหรับ underslung air intake ถ้านำแผ่นsplitter plate ไปติดใกล้ลำตัว แบบนี้ผิดหลักวิชา ผลเสียมากกว่าผลดี
 ซึ่งจากการประกอบ model 1:1 นี้แสดงได้ว่า แค่โชวในองค์กร หรือโชวผลงานของพรรค เท่านั้น ไม่ได้เพื่อเหตผลด้านเทคนิค และโมเดลนี้ทำได้ง่ายกว่า 
 
 ***แล้วทำไมไม่ทำ model J10 จริง เพราะระบบควบคุมการบิน สำหรับJ10ที่เป็นเครื่องบินที่ไม่มีเสถียรภาพ หรือ ไม่มีความสมดุลด้วยตัวเอง (aerodynamically unstable) นั้นไม่สำเร็จ เมื่อระบบควบคุม ไม่สำเร็จ  ทางผู้ออกแบบของ 611 จึงยังไม่มั่นใจว่า โมเดล ของตนต้องปรับแก้เพื่อให้สอดคล้องกับระบบควบคุมการบินในอาคตหรือไม่ จึงไม่สามารถได้รับการอนุมัติให้ทำได้
 **ไม่สามารถนำ model 1:1 ลวกๆ มาเทียบกับ model 1:1 จริง เพราะต้นทุนมันต่างกันมาก
 **ตอนนั้น 611 และ601 เป็นหน่วยงานราชการ ไม่ใช้กึ่งเอกชนแบบในปัจจุบัน และมีการเมืองเข้าไปแทรกได้ง่าย ผิดกับปัจจุบัน
 **สาเหตหนึ่ง ของ j9 ,J13 ที่ล้มเหลวเพราะระบบควบคุมการบิน และหมดทุนก่อน


 **ขอพาย้อนกลับไปหนิด ก่อนปี1989 จีนคาดหวังระบบควบคุมการบิน digital quadruplex fly-by-wire ว่า us จะสนับสนุนด้านเทคนิคบางส่วน แต่เหตการนองเลือดที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ทำให้หยุดความร่วมมือทั้งหมด ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ทั้ง2 มีความร่วมมือกันอย่างดี เช่น JianHong-7   Type 051B (Luhai Class) และJaguar MBT (Jointly Developed by the US and China) เป็นต้น

 ** J10 ออกแบบเสร็จ ในปี1984 ปี1989 จีนโดน arms embargo จากus และพันธมิตร ทำให้โครงการ J10 ล่าช้าออกไป จนกระทั่ง ปี1996 prototype ตัวแรก 1001 ก็ขึ้นบิน แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์  ทำให้โครงการ ล่าช้า อีก 15เดือน  prototypeตัวที่ 2 1003 สำเร็จ 22 March 1998  รัฐบาลประกาศถึงความสำเร็จโครงการ 
 -10 March 2003 J10 เข้าประจำการ
 -2004 J10A เข้าประจำการ
 ** prototype เลขที่ 1002 คาดว่า เป็นแค่ตัว static test เท่านั้น ไม่ใช่ flight test

ประเด็น 3
 J10 ไม่ได้รับอิทธิพลมาจาก lavi จากบทความอาจเป็นไปได้แค่ 611 ศึกษาความล้มเหลวของ lavi ในด้าน aerodynamic เท่านั้น (ความคิดเห็น)
  ถ้าใครบอกว่า //J10 ได้รับอิทธิพล หรือลอกแบบมาจาก lavi// แปลว่าเขาไม่รู้จัก J9 และ J13 (ที่ขึ้นบินแล้ว)
 คุณจะตอบได้อย่างไร ทำไม J10 เหมือน J13 มากกว่า lavi ???

ประเด็น 4
 ผมถึงแซวคุณไง ว่าคุณ “เรียน หรือศึกษา วิชา  aerodynamic ที่ไหนครับ ” การเปลี่ยนเครื่องยนต์ ไม่จำเป็นต้องออกแบบ  air intake,ส่วนหัว และfuselage แพนหางดิ่ง และปีก เป็นต้น ใหม่หมด
 ผมยกขนาด เครื่องยนต์แต่ละรุ่นมาให้ ก็คงทราบว่าเขาทำค่อนข้างใกล้เคียงกันอยู่แล้ว และ กำลังเครื่องยนต์ ที่ต่างกัน เช่น PW1120  มีแรงขับ 91.56 kN  with afterburner
          AL-31FN มีแรงขับ  137 KN 27,560  with afterburner
          F110-GE-129 delivering 29,400 lbf (131 kN) thrust
 F110-GE-132 turbofan 144.6 kN

 **วิเคราะเฉพาะเรื่อง เปลี่ยนเครื่องยนต์ จำเป็นต้องเปลี่ยน   air intake
 J10 เป็น intake ramp
 F16,Lavi เป็น underslung air intake
**จากการเดาของคุณ  AL-31FN มีกำลังขับมากกว่าPW1120ที่ใช้ใน lavi จึงต้องเปลี่ยน air intake
เลยสงสัย F16 รุ่นหลัง ใช้เครื่องยนต์  F110-GE-129 ที่มีกำลังขับใกล้กับ  AL-31FN หรืออย่าง F16 block60 ใช้  F110-GE-132 แบบนี้ไม่ต้องเปลี่ยน air intake หรือ????
และ us เองก็มีเครื่องบินหลายรุ่นที่ใช้ intake ramp เหมือนกัน แต่คนล่ะชนิด แต่มีเครื่องยนต์ที่ใช้ร่วมกันระหว่าง F16 F15 F14

 **ดังนั้น เครื่องบินแค่เปลี่ยนเครื่องยนต์ ไม่จำเป็นต้องออกแบบ  air intake ใหม่ และไม่ต้อง ออกแบบ ส่วนหัว และfuselage แพนหางดิ่ง และปีก เป็นต้น ใหม่ด้วยเช่นกัน
 **model 1:1 ทำเพื่อโชว จะให้ทำเป็น F22 ก็ได้ ง่ายมาก  แต่ทำเพื่อใช้จริงนี่อีกเรื่อง

ประเด็น 5
 สรุปผมมีข้อสงสัย ในคห.นี้
1.ถ้า J10 copy lavi จริง
 -ทำไม lavi ถึงถูกยกเลิก และทำไม know-how ที่ได้จาก lavi ถึงไม่ถูกอิสราเอลนำมาใช้อีก (แต่มาใช้ f16แทน)
 -ถ้ามันดีจริง และมีคลิป ยืนยันหรือไม่ ว่า lavi มีคุณลักษณะ aerodynamic เหนือกว่าหรือใกล้เคียง J10 ที่ hi AoA
 
2.รูปถ่ายจากสารคดีทาง cctv และรายการอื่นที่ลง ร่วมถึงบทความจากเวปชื่อดัง ที่ระบุชัดว่าจีนเริ่มทดสอบ J10 ในอุโมงลมตั้งแต่ ปี1983 เป็นต้นไป และเมื่อ นำโมเดลไปเปรียบเทียบกับ รูปหน้าปกChinese youth science magazine (zh:ๅฐ‘ๅนด็ง‘ๅญฆ็”ปๆŠฅ, ISSN1000-7776) ก็ชัดเจน
ถาม คุณบอกว่า  จริงๆ แล้ว J10 เข้าอุโมงลม หลังปี1994 ตาม sinodefense.com จึงถามว่ามีอะไรอ้างอิงที่น่าเชื่อถือกว่า  sinodefense.com ไหม และน่าเชื่อถือกว่า CCTV และhttp://bbs.tianya.cn/post-worldlook-427546-1.shtml
 http://v.ifeng.com/news/tech/201311/01815fbf-07ca-4a66-815d-2279eb88f3db.shtml

4.ทำไม J10 เหมือน J13 มากกว่า lavi ???

5.ทำไมเปลี่ยนเครื่องยนต์ต้องออกแบบ air intake,ส่วนหัว และfuselage แพนหางดิ่ง และปีก เป็นต้น ใหม่หมด

6.F16 block60 ใช้  F110-GE-132 แบบนี้ไม่ต้องเปลี่ยน air intake หรือ????

แค่อยากรู้ ท่านไหนก็ตอบได้ครับ




โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 17/09/2014 11:12:21


ความคิดเห็นที่ 134


 

แต่ model ที่คุณลง นั้นก็เทียบกับ laviแล้วใกล้เคียง ยังไงก็ใส่ไม่ได้

และจีนไม่ใช่ us ในสมัยนั้นมีอุโมงลมไม่กี่ที่เอง และเล็กๆทั้งนั้น

 

และเทคโนด้าน Finite element method ในสมัยนั้น เทียบกับ us ไม่ได้ ไม่สามารถคำนวนตัวแปรได้เยอะแบบ us ได้

สังเกต โมเดลที่ใส่จะปิด air intake เพื่อลดตัวแปร แล้วไปอาศัยการคำนวนเอง และการทดลองที่ได้จากการบินจริง

เขาจึง ต้องใช้เวลากว่าจะเข้าประจำการนานไงครับ

 

ดังนั้น เวลาที่ใช้ของการพัฒนาเครื่องบิน จีน กับ us จึงมาเทียบกันไม่ได้

 

 รูป การทดสอบอุโมงลมในปัจจุบัน ยังนิยมโมเดลขนาดเล็กอยู่ แต่เพิ่มรายละเอียดมากขึ้น

 

รูปที่ 2 การเตรียมโมเดลพัฒนา J10B

 



โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 17/09/2014 11:27:43


ความคิดเห็นที่ 135


รูปที่2 เอาใหม่


โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 17/09/2014 11:29:38


ความคิดเห็นที่ 136


ถ้า sino ไม่น่าเชื่อถือแล้ว คุณhongse_c ที่ลงภาพตัดต่อมันต่างกันตรงไหนครับ

 

***********

ผมเจอภาพตัดต่อแบบเดียวกับที่คุณ hongse_c ลงในเว็บ bbs ด้วย

http://bbs.tiexue.net/post_6151049_1.html

โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 17/09/2014 11:47:02


ความคิดเห็นที่ 137


บอกตรงๆตอนนี้ยังไม่เคลียร์เลยท่าน ท่านเข้าใจคำว่า เหจุปัจจัยไหมครับ การเกิดแบบสันตติด้วย  เหมือนจิตเราเป็นเปลวไฟตัวเราเป็นต้นเทียน  ถ้าเราตายดวงไฟจะย้ายจากต้นเทียนเดิมไปสู่ต้นเทียนไหม  ถามว่าแล้วมันจะยังเป็นตัวเราไหม  ตอบคือ จิตเรายังเป็นดวงเดิม เพียงแต่อาศัยเหตุปัจจัยใหม่มาหล่อเลี้ยงจากเทียนต้นใหม่    ความหมายของคนทั่วโลกที่เขาสงสัยมันไม่ได้หมายถึง j10 ต้องเหมือน lavi เต็มร้อย แต่เขาบอกว่าจุดเริ่มต้นมันต้องมากจาก lavi ส่วนj10 รุ่นลูกรุ่นหลานมันจะพัฒนาเองหรือเอาจากใครมาน้อยเท่าใดไม่รู้แต่จุดเริ่มต้นมันมาจาก lavi ท่านเข้าใจความหมายไหม    

โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 17/09/2014 12:11:22


ความคิดเห็นที่ 138


~~ผมคงสื่อสารไม่ดีเอง ไม่ได้สรุปเรื่องรูป รูปที่คุณลง เป็นของแท้ รูปพวกนี้มาจากแหล่งเดียวกัน จากการซ้อมรบ และแคป มาจาก cctv
 และ ถาม J13 นี้พัฒนา ก่อนหรือหลัง lavi ครับ
ถ้าความไม่เข้าใจ ถ้าเกิดจากผมอธิบายไม่ได้เรื่อง ก็ลองถามมาครับ ตอบได้ก็จะตอบ แต่ถ้า ความไม่เข้าใจเกิดจากอคติบดบัง ผมคงไร้ปัญญาชี้แจง..

คลิปย่อครับ ฉบับเต็ม จะละเอียดกว่านี้ ฉบับดูเข้าใจง่ายกว่า
http://www.youtube.com/watch?v=HqFvJsh36GA&index=19&list=PLjk2TVk3pd9ZaAd6OEtUPewigYiVvIqQw






โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 17/09/2014 13:02:49


ความคิดเห็นที่ 139


เอามาให้ครับ ผมก็ไม่รู้ว่า เขาเรียน แอโรไดนามิค มาจากไหน ทำไม เปลี่ยนเครื่องยนต์ เปลี่ยนสเปค แล้วต้อง เปลี่ยน Air Intake ด้วย

แล้ว J-13 มันมาเกี่ยวกับ Lavi ตรงไหน น่ะครับ.... ? ผมก็โต้เถียงด้วยไม่ถูก เหมือนกัน...หรือ แค่ Air Intake มันอยู่ข้างใต้ แค่นั้น...แล้ว เคยเห็น ตัวเป็น ๆ ของ J-13 ไหมครับ...หรือมี แต่ภาพวาด....

คือ โครงการมีแต่ภาพวาด แล้วไป เปรียบเทียบกับ โครงการ ที่เกิดขึ้นจริง อย่างนั้น หรือ ครับ ? งง...

คือ ที่เทียบกันนี่ คือ โครงการ Lavi มันมี ตัวตนจริง ม้ันบินได้จริง แล้วมา เทียบเคียง J-10 ที่โครงการเกิดขึ้นจริง มีการสร้างจริง...

 




โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 17/09/2014 14:45:49


ความคิดเห็นที่ 140


~~J13 J9 เป็นโครงการที่ออกแบบ และผ่านอุโมงลมแล้ว มีแบบ และโมเดลให้เห็น และทั้ง 2ตัว มีอิทธิพลโดยตรงต่อ J10
และการออกแบบ J10 ก็เอาแบบ และเทคโนที่ได้จาก J9 และJ13
**จากเอกสารของ 601 ด้านบน ระบุว่า J13 ขึ้นบินแล้ว (เรื่องนี้ต้องตามต่อไป)
 
คุณจะบอกว่า J10 ลอกแบบมาจาก lavi มันก็วนคำถามเดิม คือ ทำไมมันมีส่วนแตกต่างกันเยอะมาก และถ้าบอกแตกต่างเพราะเปลี่ยนเครื่องยนต์ ก็ยิ่งมีข้อน่าสงสัยเพียบ และยังไม่นับรูปถ่าย และข้อมูลการเข้าอุโมงลมของ j10 อีก ที่ขัดแย้ง กับความเชื่อของคุณเอง   ดังที่ผมบอก
คงต้องตอบคำถามข้างบนให้ได้น่ะครับ ทุกอย่างก็จะชัด

 ผมขอสรุปแล้วกัน ว่า J10 กับ laviไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ในด้านเทคนิค lavi เป็นเครื่องบินที่ล้มเหลวในด้าน   aerodynamic
สิ่งที่ J10 มี เป็นจุดเด่นเช่น air intakeแบบ intake ramp , delta wing, canard และการที่เป็นเครื่องบิน ไม่มีความสมดุลด้วยตัวเอง (aerodynamically unstable) นั้น  ทุกอย่างที่กล่าวมามีมาก่อนแล้ว ใน J9 และ J13 แล้วจะไปลอกแบบเครื่องบินที่ล้มเหลว อย่าง lavi ทำไม
 ขอยกที่เคยเขียนมาแล้ว
“1.lavi ยกส่วนประกอบหลัก เช่น air intake, normal shock diffuser, ส่วนหัว และลำตัว เป็นต้น ของ F16 มาใส่ และเพิ่มcanard ตัดTailplanes ก็กลายเป็น lavi ซึ่งการทำลักษณะนี้ของ iai ก่อให้เกิดข้อสงสัยว่า การยกส่วนประกอบหลักๆ ของf16 มาใส่ในเครื่องบิน Delta wing กับ canard โดยไม่ออกแบบอะไรเลย (เปลี่ยนน้อยมาก) ทำแบบนี้  คุณลักษณะ aerodynamic ต้องมีปัญหาแน่นอน คาดว่าคงสู้คุณลักษณะ aerodynamic ของ f16 ไม่ได้แน่ๆ นี่อาจเป็นเหตผลหนึ่ง(สำคัญ) ที่ lavi ถูกยกเลิก และเทคโนโลยีของมัน ก็ไม่ถูกนำมาใช้ในเครื่องบินรุ่นอื่นๆ ของอิสราเอล”
กับเอกสาร ของhttp://bbs.tianya.cn/post-worldlook-427546-1.shtml ที่ 611 บอกว่า lavi มีปัญหา

คลิป
F16 Hi AOA
http://www.youtube.com/watch?v=FXFKh3Rq-fs
ของ J10  Hi AOA
นาทีที่0.48และ1.33-2.00  http://v.ku6.com/show/SJOrmO_x_Ml7Uhdy.html
นาทีที่ 0.32 http://youtu.be/PM_tHfLkUzk?list=PLjk2TVk3pd9anEn3jUHM4tdxY9mAW4bEb
http://www.youtube.com/watch?v=I-54unEKAZM&feature=related

**ไม่ได้บอก  คุณลักษณะ aerodynamic J10 เหนือกว่า F16 แต่ยืนยันได้ เครื่องบินเครื่องยนต์เดียว และไม่มี Thrust vectoring
J10 ไม่เป็นรองใคร ในด้าน  คุณลักษณะ aerodynamic

///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////


F18 EF ใช้ trapezoidal ก่อนหน้านั้นใช้  D-shaped intakes
ทำไมคุณถึงคิดว่า การเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นเพราะเครื่องยนต์


การ redesign f18 ไม่ได้มาจากสาเหตนี้ หรือ
“The Navy directed that the YF-17 be redesigned into the larger F/A-18 Hornet which met a requirement for a smaller multi-role fighter to complement the larger F-14 Tomcat which served in air superiority and fleet defense interceptor roles. The Hornet proved to be effective and popular, but limited in combat radius. The ultimate evolution would grow the design into the Super Hornet with an empty weight slightly greater than the F-15C.”
redesign เพราะเครื่องยนต์หรือ ??

และคุณคงไม่ทราบ  trapezoidal และ  D-shaped intakes ทั้งสอง เป็น แบบintake ramp  ซึ่งเป็น supersonic air intake ชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นชนิดเดียวกันกับ J10

แต่ F16 เป็น  underslung air intake ข้อแตกต่างที่ชัด คือ underslung จะไม่มีชิ้นส่วนใดเคลื่อนไหวเลย
ตัวอย่าง อย่าง J10 จะมีTwo dimensional oblique shock diffuserแบบเคลื่อนปรับได้ ซึ่งเป็น oblique shock diffuser ชนิดหนึ่ง หรือผู้ออกแบบจีนเรียกว่าmulti-line boundary layer suction slit  โดยเคลื่อนปรับตาม M (ความเร็วเสียงของเครื่องบิน)
ซึ่ง F18 ก็มีเหมือนกัน

**ดังนั้น F18EF ยังใช้ intake ramp เหมือนเดิม แค่เปลี่ยนรูปทรงเพื่อต้องการปริมาณอากาศที่มากขึ้น ซึ่งเพิ่มขึ้น 18 % ที่ M >1
 ซึ่งการเปลี่ยนเกิดจากปัจจัยด้าน คุณลักษณะ aerodynamic โดยรวม ไม่ใช่เปลี่ยนเครื่องยนต์อย่างเดียว
http://www.planet.fi/~mohman/model/f18specs.html


**ก็กลับมาคำถามเดิม ถ้า J10 มาจาก lavi จริง ทำไมต้องเปลี่ยน air intake จาก underslung  ที่แสนง่ายเป็น intake ramp ที่ยุ่งยากซับซ้อน เพื่ออะไร ??
และ
**ถามYF-17 ใช้เครื่องยนต์ YJ101 กำลังขับ 67 KN
ส่วน F18 A ใช้เครื่องยนต์  F404กำลังขับ 79.2 KN
ทำไม F18a ยังมี air intake รูปร่างเหมือนเดิมล่ะครับ ???

โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 17/09/2014 18:24:36


ความคิดเห็นที่ 141


ท่าน Juldas กับเพื่อนสมาชิกท่านอื่นยังเสียเวลาคุยหรือตอบอยู่อีกรึ เอาง่ายๆแค่เอารูป J-9 กับ J-13 ที่บอกมาว่าเป็นต้นแบบ J-10 ผมก็คิดว่ามันช่างเหมือน J-10  มากกว่า Lavi ตรงไหน? สรุปที่คุยกันมายังไม่รู้เลยว่าจีนพัฒนาขึ้นมายังไง ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวมาตอบ "ระบบควบคุมการบิน ของจีนที่พัฒนาโดย 611 นั้น อาจเรียนรู้มาจากฝรั่งเศษ"หรือ "ที่ไม่พัฒนาต่อเพราะหมดทุน"คำถามที่เพื่อนสมาชิกถามคุณก็ไม่ตอบให้ตรงประเด็นตอบเฉพาะในจุดที่ตัวเองตอบได้ถนัดๆ ยกแต่เหตุผล aerodynamic พร้อมเหตุผลส่วนตัวและคุณก็พยายามให้ดูหรือเชื่อบทสัมภาษณ์หรือความคิดเห็นจีนฝ่ายเดียวที่พยายามยกมา อ่านมาจะเป็นร้อยกระทู้แล้ว ไม่เห็นคุณจะทำให้เพื่อนสมาชิกเชื่อได้ซะทีว่าจีนพัฒนา J-10 ได้เอง ทรง J-13 แทบจะต้องดัดแปลงเยอะมาก ถึงจะเหมือน J-10 รวมถึงไอ้ aerodynamic ที่ยกมา คุณจะบอกเพื่อนสมาชิกว่า ไอ้ J-13  นี่นะที่ aerodynamic ดีกว่า Lavi ที่คุณบอกว่าล้มเหลวรึ ไอ้เครื่องบินที่พัฒนาด้วยตนเองมีรุ่นไหนที่เหมือนจนแทบจะซ้ำกับชาวบ้านบ้าง โจทย์ง่ายๆแค่นี้กลับพยายามทำให้สลับซับซ่อนเพื่อหนุนแนวคิดของตนเอง งั้นต่อไปขอรูปแบบการพัฒนาชัดๆของJ-10 โดยไม่ต้องไปอ้างอย่างอื่น บ้างครั้งก็ถามกลับในสิ่งที่ไม่สามารถจะไปหาข้อมูลมาพิสูจน์ได้จริง เอามาให้เพื่อนสมาชิกดูเพื่อจะได้เชื่อซะทีว่าจีนพัฒนา J-10 ได้ด้วยตัวเอง เริ่มยังไง ว่าระบบต่างๆมาจากไหน พัฒนายังไง ไอ้คำว่า"อาจ"ใครก็พูดได้ เอาเป็นว่าการพัฒนา J-10 เพียวๆที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่มของท่านล่ะกัน เอาแค่เรดาร์กับเครื่องยนต์ก็ต้องใช้ของรัสเซียล่ะ มาพัฒนาใช้ตัวเองก็คงตอนหลังนี่เองกระมั้ง ลองว่ามาดูจะได้ติดตามและเชื่อซะทีครับ อยากจะรู้เหมือนกันว่าก็อปตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เมื่อไหร่จะมีเครื่องบินของตัวเองซะที คงมีไอ้ J-20 กระมั้งที่คุยได้

โดยคุณ oleomano เมื่อวันที่ 17/09/2014 23:19:00


ความคิดเห็นที่ 142


รึว่า โครงอากาศยานจีน พัฒนาเอง แล้วระบบควบคุมการบินจากฝรั่งเศษ+เครื่องยนต์และเรดาร์จากรัสเซีย+18ปี=J-10อย่างนั้นรึ นี่ขนาดเอาระบบของประเทศอื่นมายังตั้ง18ปี ถ้าพัฒนาด้วยตัวเองจริงทั้งหมด คงจะอีกนานมากๆกว่าเครื่องบินลำนี้จะเสร็จ คงจะต้องใช่F-7ที่ Coppyมาเหมือนกันไปอีกนานนนนนนน

โดยคุณ oleomano เมื่อวันที่ 17/09/2014 23:47:12


ความคิดเห็นที่ 143


~~จริงๆ แล้วไม่เห็นต้องชวนมาม่าเลย  คำถามไหนที่ผมตอบไม่ชัด ก็จี้มา และกรุณาตอบคำถามผมด้วย แลกกัน...
(คนที่แต่ความเชื่อย่างเดียวมักตอบคำถามเชิงเทคนิคไม่ได้)

1.อย่าง “ผู้เขียนยังพูดต่อว่า ระบบควบคุมการบิน ของจีนที่พัฒนาโดย 611 นั้น อาจเรียนรู้มาจากฝรั่งเศษ ไม่ใช่ lavi ที่มีปัญหาแน่นอน”
---ประโยคนี้ก็ชัดอยู่แล้ว “ผู้เขียนยังพูดต่อว่า” “อาจเรียนรู้' ผมแปลชัดน่ะ ว่าเป็นคคห. ของผู้เขียน และเขาใช้คำว่าอาจจะ แปลว่าเขาไม่แน่ใจ

2.จาก”คำถามที่เพื่อนสมาชิกถามคุณก็ไม่ตอบให้ตรงประเด็นตอบเฉพาะในจุดที่ตัวเองตอบได้ถนัดๆ ”
---มีคำถามไหนที่ผมตอบไม่ตรง ก็บอกมาเลยครับ และคำถามที่ผมถาม มีใครตอบครับ

3.จาก “J-13 แทบจะต้องดัดแปลงเยอะมาก ”
----ดูเป็นหรือเปล่าครับ J13,J9 ใช้ air intakeแบบ intake ramp , delta wing, canard ส่วนlavi มีair intake,ส่วนหัว และfuselage แพนหางดิ่ง และปีก เป็นต้น แตกต่างกับ J10 ถ้าลอกแบบจริง จะเปลี่ยนทำไม

สรุปคำถาม ที่ต้องตอบสำหรับคนเห็นต่าง ว่า J10 ลอกแบบจาก lavi
1.ถ้า J10 copy lavi จริง
 -ทำไม lavi ถึงถูกยกเลิก และทำไม know-how ที่ได้จาก lavi ถึงไม่ถูกอิสราเอลนำมาใช้อีก (แต่มาใช้ f16แทน)
 -ถ้ามันดีจริง และมีคลิป ยืนยันหรือไม่ ว่า lavi คุณลักษณะ aerodynamic เหนือกว่าหรือใกล้เคียง J10 ที่ hi AoA
 
2.รูปถ่ายจากสารคดีทาง cctv และรายการอื่นที่ลง ร่วมถึงบทความจากเวปชื่อดัง ที่ระบุชัดว่าจีนเริ่มทดสอบ J10 ในอุโมงลมตั้งแต่ ปี1983 เป็นต้นไป และเมื่อ นำโมเดลไปเปรียบเทียบกับ รูปหน้าปกChinese youth science magazine (zh:ๅฐ‘ๅนด็ง‘ๅญฆ็”ปๆŠฅ, ISSN1000-7776) ก็ชัดเจน
ถาม คุณบอกว่า  จริงๆ แล้ว J10 เข้าอุโมงลม หลังปี1994 ตาม sinodefense.com จึงถามว่ามีอะไรอ้างอิงที่น่าเชื่อถือกว่า  sinodefense.com ไหม และเชื่อถือกว่า CCTV และhttp://bbs.tianya.cn/post-worldlook-427546-1.shtml
 http://v.ifeng.com/news/tech/201311/01815fbf-07ca-4a66-815d-2279eb88f3db.shtml

 

3.ทำไม J10 เหมือน J13,J9 มากกว่า lavi ???


4.ทำไม J10 แตกต่าง กับ lavi ในส่วนประกอบโดยส่วนใหญ่ เช่น  air intake,ส่วนหัว และfuselage แพนหางดิ่ง และปีก เป็นต้น


5.ทำไมเปลี่ยนเครื่องยนต์ต้องออกแบบ air intake,ส่วนหัว และfuselage แพนหางดิ่ง และปีก เป็นต้น ใหม่หมด

6.จากข้อ5 F16 block60 ใช้  F110-GE-132 แบบนี้ไม่ต้องเปลี่ยน air intake หรือ????

7.จากขอ้5 ถามYF-17 ใช้เครื่องยนต์ YJ101 กำลังขับ 67 KN
ส่วน F18 A ใช้เครื่องยนต์  F404กำลังขับ 79.2 KN
ทำไม F18a ยังมี air intake รูปร่างเหมือนเดิมล่ะครับ ???

**ข้อ1 ,3,4,5,6,7ตอบไม่ยาก ถ้าคิดว่า J10 ลอกแบบ lavi จริง ต้องตอบได้
ถ้าตอบไม่ได้ แล้วอ้างนู้นอ้างนี่ ก็หมายความว่าคุณมีแต่ความเชื่ออย่างเดียว

 

และสำหรับ oleomano คุณตอบข้อนี้ข้อเดียวก็พอ ถ้าตอบไม่ได้ก็หมายว่ามีแต่ความเชื่ออย่างเดียวครับ
///ทำไม J10 แตกต่าง กับ lavi ในส่วนประกอบโดยส่วนใหญ่ เช่น  air intake,ส่วนหัว และfuselage แพนหางดิ่ง และปีก เป็นต้น   ไหนว่าก็อป แล้วแตกต่างเพื่ออะไร??///
ปล. อย่าตอบก็ว่าเครื่องยนต์น่ะครับ อ่านข้างบน

โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 18/09/2014 09:25:15


ความคิดเห็นที่ 144


คุณสมบัติของเครื่องยนต์ในระบบต่างๆ

 

จากตารางจะเห็นว่าเครื่องค่ายรัสเซียมีความยาว มากกว่าค่ายอเมริกา 14-39 cm ยาวกว่าค่ายตะวันตกถึง 46-99 cm

เครื่องตะวันตกใช้ระบบเครื่องคู่ ที่เห็นคือแสดงข้อมูลเครื่องเดี่ยว

ถ้าเทียบระบบเครื่องเดี่ยวของอเมริกากับของค่ายรัสเซียจะเห็นว่า ระบบอเมริกามีแรงดันขับมากกว่าค่ายรัสเซีย 6-20 kN

 

ที่มา:

http://www.geaviation.com/military/engines/f110/

http://www.pw.utc.com/F100_Engine

--

http://www.snecma.com/-m88-.html?lang=fr

http://www.rolls-royce.com/defence/products/combat_jets/ej200/

---

http://en.wikipedia.org/wiki/Saturn_AL-31

 

 

 

 

                                                

 

โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 18/09/2014 14:30:32


ความคิดเห็นที่ 145


สาเหตุที่ Lavi จบชีวิตลงเพราะปัญหาทั่วไปนั้นแหละ นั้นคือ ปัญหาด้านงบประมาณ  ปัญหาเศรษฐกิจ(นายทุนไม่ลงรอยกันประมาณนั้น)

และแรงกดดันทางการเมือง ไม่ต้องเดาว่าใคร  อีกเรื่องคือสายผลิต Lavi แพงกว่า F-16 แถม F-16 จัดหาพร้อมใช้ง่ายกว่า รัฐบาลเลยบายหน้าหา F-16 แทน

http://en.wikipedia.org/wiki/IAI_Lavi

thus there were elements of the armed forces that did not support the project and those officers who felt that the F-16 possessed similar performance to the Lavi and was readily available already, making the foreign F-16 cheaper and easier to procure.

 

----

http://www.israeli-weapons.com/weapons/aircraft/lavi/Lavi.html

The IAI had produced three prototypes, out of the five originally planned, when the Israeli government decided to cancel the project, on August 30th 1987, because of budgetary problems and bickering among various economic and political pressure groups.
 
โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 18/09/2014 14:43:35


ความคิดเห็นที่ 146


เท่าที่ได้อ่านเรื่องการยกเลิกโครงการ LAVI

สภาของอิสราเอล ลงมติให้ล้มโครงการ เพราะอเมริกา ยกเลิกความช่วยเหลือ เพราะเครื่องบิน มีภาระกิจทับซ้อนกับ F-16 ทำให้มีการแย่งลูกค้ากัน อเมริกายกเลิกความช่วยเหลือด้านการเงิน และ เทคนิค แต่เสนอให้อิสราใช้ f-16 ได้ตามต้องการ ทั้งปริมาณและคุณภาพ

สภาลงมติ

ผลการโหวด ฝ่ายที่เห็นชอบให้ยกเลิก ชนะเพียง 1 เสียง

โดยคุณ platoon เมื่อวันที่ 18/09/2014 14:47:14


ความคิดเห็นที่ 147


ข้อ6กับ ข้อ 7 จะเอาไปเปรียบเทียบกันได้ยังไง yf -17 พัฒนาและผลิตโดยใคร f-16 บล๊อค60ใครพัฒนาและผลิตคุณก็รู้ ถามอะไรตื้นๆ เขาพัฒนาขึ้นมาเองก็ต้องรู้ว่าใส่เครื่องตัวนี้แรงขับแค่นี้จะมีผลอะไรไหม ส่วนj-10ไปเอาlaviมาพัฒนาต่อ เครื่องยนต์มันคนละขนาดเอามายัดใส่โครง lavi ไม่ได้ มันต้องตัดเสริมเติมแต่งกันใหม่

โดยคุณ nathekop เมื่อวันที่ 18/09/2014 15:28:12


ความคิดเห็นที่ 148


เอามาเติมให้ครับ จากเว๊ป

ปี 1984 ยังเป็นการหาข้อสรุปแบบ

ปี 1986 ถึงอนุมัติโครงการ

จากเว๊ป

http://bbs.tiexue.net/post_6640734_1.html

1998ๅนด3ๆœˆ23ๆ—ฅ๏ผŒไธญๅ›ฝ่‡ช่กŒ็�”ๅˆถ็š„ๆญผ-10ๆˆ˜ๆ–—ๆœบ้ฆ–้ฃžๆˆๅŠŸ๏ผŒๆˆไธบไบ†ไธญๅ›ฝ่ˆช็ฉบๅฒไธŠ็š„ไธ€ๅบงไธฐ็ข‘ใ€‚ๆญผ-10ๆˆ˜ๆ–—ๆœบไปฃ่กจ็€ๆˆ‘ๅ›ฝๅ†›็”จๆˆ˜ๆ–—ๆœบ่ฃ…ๅค‡ๆฐดๅนณ้ฆ–ๆฌก่พพๅˆฐไบ†ไธ–็•Œ็ฌฌไธ‰ไปฃ็š„ๆ�‡ๅ‡†๏ผŒ่€Œไธ”็”ฑไบŽ่ฟ‘ๅนดๆฅ็”ตๅญ็ง‘ๆŠ€็š„่ฟ›ๆญฅ๏ผŒๅฐฝ็ฎกๆญผ-10ๅœจไธ–็•Œ็ฌฌไธ‰ไปฃๆˆ˜ๆ–—ๆœบไธญๅ‡บ็Žฐ็š„่พƒๆ™š๏ผŒๅ€ŸๅŠฉ็ง‘ๆŠ€็š„่ฟ›ๆญฅ๏ผŒๅๅ€’ไฝฟๆญผ-10่ƒฝๅคŸ่ฃ…ๅค‡ๅŒๆ—ถไปฃ็š„ๆœบ่ฝฝ้›ท่พพๆŠ€ๆœฏๅ’Œๅ…ˆ่ฟ›็š„ๆญฆๅ™จ็ณป็ปŸใ€‚ๅฐฝ็ฎกไธ‰ไปฃๆœบ็š„ๅ‘ๅฑ•่ฟ‡็จ‹ไธญๅœจๆ—ถ้—ดไธŠๆ‹–ๅŽไบ†ไธ€็‚น๏ผŒไฝ†ๅšๅˆฐไบ†ไธ่ฝไผ๏ผŒๅๅ€’ๆœ‰ๆ‰€่ถ…่ถŠใ€‚ๆ”นๅ˜ไบ†ๆˆ‘ๅ›ฝ่ˆช็ฉบๅทฅไธš้•ฟๆœŸไปฅๆฅ๏ผŒ่ฃ…ๅค‡ไธ€ไปฃ่ฝๅŽไธ€ไปฃ็š„ๅฑ€้ขใ€‚

 

ไธŽๆˆ‘ๅ›ฝ็š„ไบŒไปฃๆœบ็›ธๆฏ”๏ผŒๆญผ-10ๆ—�่ฎบๅœจๆฐ”ๅŠจๅธƒๅฑ€่ฎพ่ฎกใ€ๆœบ่ฝฝ็”ตๅญ่ฎพๅค‡ไปฅๅŠๆœบ่ฝฝๆญฆๅ™จไธŠ้ƒฝๆœ‰ไบ†่ดจ็š„ๆ้ซ˜ใ€‚ๅœจๅ€Ÿ้‰ดไบ†ๅ›ฝๅค–ๆˆ็†ŸๆŠ€ๆœฏ็š„ๅŒๆ—ถ๏ผŒ็ป่ฟ‡ๅคง่ƒ†ๅˆ›ๆ–ฐ๏ผŒๅคงๅน…ๅบฆๆ้ซ˜ไบ†้ฃžๆœบ็š„ๆœบๅŠจๆ€งๅ’Œ่ถ…่ง†่ทๆ”ปๅ‡ป่ƒฝๅŠ›ใ€‚ๅŒๆ—ถ๏ผŒๅ€ŸๅŠฉไบŽๆญผ-10็š„ๅผ€ๅ‘๏ผŒๅธฆๅŠจไบ†็ณป็ปŸๅ†…ไธ€็ณปๅˆ—้…ๅฅ—ไบงๅ“่ฎพๆ–ฝ็š„ๆ”น่ฟ›๏ผŒๅฏน่ˆช็ฉบๅทฅไธš็š„ๅ‘ๅฑ•่ตทๅˆฐไบ†ๆžๅคง็š„ไฟƒ่ฟ›ไฝœ็”จใ€‚๏ผˆๅ›พไธบๆญผ-10ๆˆ˜ๆ–—ๆœบๆ€ป่ฎพ่ฎกๅธˆๅฎ‹ๆ–‡้ชขไธบๅˆ˜ๅŽๆธ…่ฎฒ่งฃๆญผ-10ๆˆ˜ๆ–—ๆœบ่ฎพ่ฎกๆ–นๆกˆๆ€ง่ƒฝ๏ผŒๅทฆไธŠๅฐๅ›พไธบๆญผ-10ๆˆ˜ๆ–—ๆœบ้ฆ–้ฃžๆˆๅŠŸๅŽ็•™ๅฝฑ

 

15ๅนดๅ‰็š„1998ๅนด3ๆœˆ23ๆ—ฅ๏ผŒไธ€ๆžถ็ฅž็ง˜็š„ๆˆ˜ๆœบๅœๅœจ็ฉบๅ†›ๆŸๅŸบๅœฐ๏ผŒ่ฏ•้ฃžๅ‘˜่ฏๅˆซๆˆ˜ๅ‹๏ผŒๅฅๆญฅ่ตฐๅ‘ๆœบ่ˆฑใ€‚ๅ‘ๅŠจๆœบๅฃฐๅ“๏ผŒ'ๆˆ˜้นฐ'่…พ็ฉบ่€Œ่ตท๏ผŒไธ‡็ฑณ้ซ˜็ฉบ๏ผŒๅช่งๅฎƒๆ—ถ่€Œไฟฏๅ†ฒ๏ผŒๆ—ถ่€Œๅฆ‚็ฆป่†›็‚ฎๅผน็–พ้ฉฐใ€‚17ๅˆ†้’ŸๅŽ๏ผŒ'ๆˆ˜้นฐ'ๅฎ‰ๅ…จ่ฟ”ๅ›ž๏ผŒ้กฟๆ—ถ๏ผŒๅœๆœบๅชๆฒธ่…พไบ†ใ€‚๏ผˆๅ›พ็‰‡ไธบ้ฆ–้ฃžๆˆๅŠŸๅŽ๏ผŒๆ€ป่ฎพ่ฎกๅธˆๅฎ‹ๆ–‡้ชขๅ’Œ้ฆ–ๅธญ่ฏ•้ฃžๅ‘˜้›ทๅผบ็š„ๆ‹ฅๆŠฑ๏ผŒ่ฎฉไบบ็ƒญๆณช็›ˆ็œถ๏ผ‰

 

ๆญผ-10็š„็�”ๅˆถๅทฅไฝœๆ˜ฏ็”ฑๆˆ้ƒฝ้ฃžๆœบ่ฎพ่ฎก็�”็ฉถๆ‰€ๆฅๆ‰ฟๆ‹…็š„ใ€‚่ฟ™ๆ”ฏ้˜Ÿไผ็š„็ญๅบ•ๆ›พ็ปๅฐฑๆ˜ฏๅฝ“ๅนด็�”ๅˆถๆญผไน็š„่ฎพ่ฎกๅ›ข้˜Ÿใ€‚ๅœจๆญผไนไธ‹้ฉฌๅŽ๏ผŒ่ฟ™ๆ”ฏ้˜ŸไผๅˆๅœจๅŽๆฅ็š„ๆญผ-7โ…ข้กน็›ฎไธญๅพ—ๅˆฐไบ†่ฟ›ไธ€ๆญฅ็š„้”ป็‚ผใ€‚20ไธ–็บช80ๅนดไปฃๅˆๆœŸ๏ผŒๅฝ“ๆˆ‘ไปฌๆ‰“ๅผ€ๅ›ฝ้—จ้ขๅ‘ไธ–็•Œ็š„ๆ—ถๅ€™๏ผŒๆ‰้€ๆญฅๆ„่ฏ†ๅˆฐ่‡ช่บซไธŽไธ–็•Œ็š„ๅทฎ่ทใ€‚ๅœจไธ–็•Œ่ˆช็ฉบๅทฅไธš็ช้ฃž็Œ›่ฟ›็š„ๅคงๆฝฎไธญ๏ผŒๅฝ“ๆ—ถ็š„ไธญๅคฎๅ†›ๅง”ไธปๅธญ้‚“ๅนณๅŒๅฟ—้ซ˜็žป่ฟœ็žฉ็š„ๆŒ‡ๅ‡บ๏ผš๏ผ‚ๆ‹ฟๅ‡บ5ไธชไบฟ๏ผŒๆˆ‘ไปฌ่ฆๆžๆญผๅ‡ปๆœบ๏ผŒๆžไธ€ไธชๆ–ฐ็š„๏ผŽๆ€ง่ƒฝๆ›ดๅฅฝ็š„ๆญผๅ‡ปๆœบ๏ผ‚ใ€‚ไธบไบ†่ดฏๅฝป้‚“ๅฐๅนณๅŒๅฟ—็š„ๆŒ‡็คบ๏ผŒ1982ๅนด1ๆœˆ๏ผŒ็ฉบๅ†›ๅ‘ๅ†›ๅง”่ฏท็คบ็�”ๅˆถๆ–ฐๅž‹ๆญผๅ‡ปๆœบ็š„้—ฎ้ข˜๏ผŒ็ปๅ†›ๅง”ๆ‰นๅ‡†ๆ‹จๅ‡บไธ“ๆฌพ่ฟ›่กŒๆ–ฐๆญผๅ‡ปๆœบ็š„็�”ๅˆถใ€‚็ฉบๅ†›ไธบๆญคๅˆถๅฎšไบ†็›ธๅบ”็š„ๆˆ˜ๆŠ€ๆœฏ่ฆๆฑ‚ใ€‚2ๆœˆ๏ผŒๅ›ฝ้˜ฒๅทฅๅŠžๅœจๅŒ—ไบฌๅฌๅผ€ไบ†ๆ–ฐๆœบ็�”ๅˆถๅบง่ฐˆไผš๏ผŒๅ‚ๅŠ�ไผš่ฎฎ็š„ๆœ‰ๆ€ปๅ‚่ฃ…ๅค‡้ƒจใ€็ฉบๅ†›ใ€ๆตทๅ†›่ˆช็ฉบๅ…ต้ƒจ๏ผŒไธ‰ใ€ๅ››ใ€ไบ”ๆœบ้ƒจ็š„้ข†ๅฏผๅ’Œๅ›ฝๅฎถ่ฎกๅง”ไปฅๅŠๅพˆๅคšไธ“ๅฎถใ€‚ไผšไธŠๆๅ‡บๆ–ฐๅž‹ๆญผๅ‡ปๆœบๅฏไพ›่€ƒ่™‘็š„ๆ–นๆกˆ๏ผŒๆ–ฐๅž‹ๆญผๅ‡ปๆœบ็š„ไธป่ฆ็ฉบๆˆ˜ๆ€ง่ƒฝ่ฆๆฏ”ๆญผ-8โ…กๅฅฝ๏ผŒๆŽฅ่ฟ‘F-16๏ผŒไผ˜ไบŽ็ฑณๆ�ผ-23๏ผŒไฝœไธบๆˆ‘ๅ†›90ๅนดไปฃไฝŽ็ฉบไฝœๆˆ˜็š„ไธป่ฆๆœบ็งใ€‚ๅฝ“็„ถ๏ผŒ้‚ฃๆ—ถๅ€™็š„ๆŒ‡ๆ�‡่ฆๆฑ‚ไธŽ็Žฐๅœจๆ˜ฏๆ—�ๆณ•็›ธๆฏ”็š„ใ€‚

 

ๅฝ“ๆ—ถ๏ผŒๆˆ้ƒฝ้ฃžๆœบ่ฎพ่ฎก็�”็ฉถๆ‰€็ช็„ถๆŽฅๅˆฐๅ‚ๅŠ�ๆ–ฐๆœบๆ–นๆกˆ่ฎจ่ฎบไผš็š„้€š็Ÿฅใ€‚ๅฎ‹ๆ–‡้ชขๅŒๅฟ—ไฝœไธบๆˆ้ƒฝ้ฃžๆœบ่ฎพ่ฎก็�”็ฉถๆ‰€็š„ไปฃ่กจ๏ผŒๅœจ็ฉบๅ†›ๅ’Œ่ˆช็ฉบ้ƒจ้ข†ๅฏผไปฅๅŠไธ“ๅฎถใ€ๆ•™ๆŽˆ้ขๅ‰่ฟ›่กŒไบ†15ๅˆ†้’Ÿ็š„้ข‡ๆœ‰ๆ–ฐๆ„็š„ๅ‘่จ€ใ€‚ไป–ไปŽ็ฉบๆˆ˜ๅฆ‚ไฝ•่ฟ›่กŒ่ฟ™ไธ€ๆ€่ทฏ่ฐˆ่ตท๏ผŒ่ฎฒ้œ€ๆฑ‚ใ€่ฎฒๆ€่ทฏใ€่ฎฒไฝฟๅ‘ฝใ€่ฎฒๆ–นๆกˆใ€่ฎฒๆŽชๆ–ฝใ€‚ไป–็š„ไธ€็•ช่จ€่ฎบ็ป™ๅ†›ๆ–น้ข†ๅฏผๅ’ŒๆŠ€ๆœฏ่ดŸ่ดฃๅŒๅฟ—็•™ไธ‹ไบ†ๆทฑๅˆปๅฐ่ฑกใ€‚ๆญคๆฌกไผš่ฎฎๅŽ๏ผŒไธŠ็บงๆ˜Ž็กฎ่ฆๆžไธ€ๆžถๆ–ฐๅž‹ๆˆ˜ๆ–—ๆœบ๏ผŒๅนถๆๅ‡บไบ†ๅ…ทไฝ“่ฆๆฑ‚ใ€‚

 

ๅฎ‹ๆ–‡้ชขๅŒๅฟ—ๅ›žๅˆฐ็�”็ฉถๆ‰€ๅŽ๏ผŒ็ซ‹ๅณๅผ€ๅง‹ๆŒ‰็…ง็ฉบๅ†›็š„่ฆๆฑ‚ๅฑ•ๅผ€้ƒจ็ฝฒ๏ผŒๅŒๆ—ถๅ……ๅˆ†ๅˆฉ็”จๆ‰€้‡Œๅคšๅนดๆฅๅพ—้ข„็�”ๆˆๆžœ๏ผŒ้›†ไธญๅŠ›้‡ๅ‡†ๅค‡ๆ–นๆกˆใ€‚ๅŠๅนดๅŽ๏ผŒๆ–ฐๆœบ่ฎจ่ฎบไผšๅœจๅŒ—ไบฌๅ†ๆฌกๅฌๅผ€ใ€‚ไผšไธŠ๏ผŒๅฎ‹ๆ–‡้ชขๅŒๅฟ—ๆก็€้ฃžๆœบๆจกๅž‹๏ผŒไฟกๅฟƒๅ่ถณๅœฐ่ฎฒ่งฃใ€‚ไปŽๆˆ˜ๆŠ€ๆœฏ่ฆๆฑ‚ๅˆฐ้ฃžๆœบ็š„ไฝฟๅ‘ฝใ€ไปปๅŠกใ€่ฆๆฑ‚ใ€ๆˆ˜ๆœฏๆ€ง่ƒฝใ€ๆญฆๅ™จใ€็ซๆŽงใ€ๆœบไฝ“็ป“ๆž„ใ€็ณป็ปŸ็ญ‰๏ผŒๆ—ขๆœ‰ๅฎž้ชŒ็ป“ๆžœ๏ผŒๅˆๆœ‰ๅ›พๆ�ทๅฎžไพ‹๏ผŒ4ไธชๅฐๆ—ถ็š„ๆŠฅๅ‘Š่ตขๅพ—ไบ†ไธŽไผš่€…้•ฟๆ—ถ้—ด็š„ๆŽŒๅฃฐใ€‚1984ๅนด1ๆœˆ๏ผŒ็ฉบๅ†›่ฐƒๆ•ดไบ†็›ธๅบ”็š„ๆˆ˜ๆŠ€ๆœฏๆŒ‡ๆ�‡่ฆๆฑ‚ใ€‚4ๆœˆ๏ผŒ่ˆช็ฉบๅทฅไธš้ƒจ็ง‘ๆŠ€ๅง”ๅฌๅผ€้ฃžๆœบไธ“ไธšๅง”ๅ‘˜ไผš๏ผŒ่ฎจ่ฎบไบ†ๆ–ฐๅž‹ๆญผๅ‡ปๆœบ็š„3็งๅธƒๅฑ€ๆ–นๆกˆ๏ผŒ่ฟ™3็งๆ–นๆกˆๆ˜ฏ๏ผšๆญฃๅธธๅธƒๅฑ€ๆ–นๆกˆใ€้ธญๅผๅธƒๅฑ€ๆ–นๆกˆๅ’Œๅ˜ๅŽๆŽ�็ฟผๆ–นๆกˆใ€‚

 

1984ๅนด5ๆœˆ๏ผŒ็ป่ฟ‡ไธŽๅ…„ๅผŸๅ•ไฝ็š„ๆ–นๆกˆๅฏนๆฏ”ๅŽ๏ผŒๅ›ฝ้˜ฒ็ง‘ๅทฅๅง”๏ผŒๅ›ฝๅฎถ่ฎกๅง”ๅ†ณๅฎšๆ–ฐๆญผๅ‡ปๆœบ็�”ๅˆถๆ€ปไฝ“ๅ•ไฝๅฎš็‚นๅœจๆˆ้ƒฝ้ฃžๆœบ่ฎพ่ฎก็�”็ฉถๆ‰€ๅ’Œๆˆ้ƒฝ้ฃžๆœบๅˆถ้€�ๅŽ‚ใ€‚ๅŒๅนด6ๆœˆ๏ผŒๅ›ฝ้˜ฒ็ง‘ๅทฅๅง”็กฎๅฎšๅฏน้ฃžๆœบ็š„ๆ€ป่ฆๆฑ‚๏ผŒไปฅๅŠๆ–ฐๆญผๅ‡ปๆœบ็�”ๅˆถ็š„่‹ฅๅนฒๅŽŸๅˆ™้—ฎ้ข˜๏ผŒ้‡็‚นๆ˜ฏ4ๅคงๅ…ณ้”ฎๆŠ€ๆœฏ๏ผš้ธญๅผๅธƒๅฑ€่ฎพ่ฎกใ€้ฃž่กŒๆŽงๅˆถใ€่ˆช็ฉบ็”ตๅญ็ณป็ปŸ็ปผๅˆ่ฎพ่ฎกใ€่ฎก็ฎ—ๆœบ่พ…ๅŠฉ่ฎพ่ฎกๅ’Œๅˆถ้€�ใ€‚1986ๅนด1ๆœˆ๏ผŒๅ›ฝๅŠก้™ขใ€ไธญๅคฎๅ†›ๅง”ๆ‰นๅ‡†ๆ–ฐๆญผๅ‡ปๆœบ็š„็�”ๅˆถไปปๅŠกๅˆ—ไธบๅ›ฝๅฎถ้‡ๅคงไธ“้กนใ€‚ๅŒๅนด7ๆœˆ๏ผŒๅ›ฝ้˜ฒ็ง‘ๅทฅๅง”ไปปๅ‘ฝ็Ž‹ๆ˜‚ไธบๆ–ฐๆญผๅ‡ปๆœบ่กŒๆ”ฟๆ€ปๆŒ‡ๆŒฅ๏ผŒๆ—ถๅนด56ๅฒ็š„ๅฎ‹ๆ–‡้ชขไนŸ่ขซๅ›ฝ้˜ฒ็ง‘ๅทฅๅง”ไปปๅ‘ฝไธบ้‡็‚นๅž‹ๅท็š„้ฃžๆœบๆ€ป่ฎพ่ฎกๅธˆใ€‚

 

1987ๅนด6ๆœˆ๏ผŒๆˆ้ƒฝ้ฃžๆœบ่ฎพ่ฎก็�”็ฉถๆ‰€ๅœจๅ…ˆๅŽ่ฎพ่ฎก็š„6ไธช้ฃžๆœบๆ–นๆกˆๅŸบ็ก€ไธŠ๏ผŒ็ป่ฟ‡ๆ€ปไฝ“ๅ่ฐƒ๏ผŒ็ณป็ปŸๆŠ€ๆœฏ็Šถๆ€ๅ’Œ็ณป็ปŸๅฎšไน‰็š„็กฎๅฎš๏ผŒๅˆๆญฅ็จณๅฎšไบ†ๆ€ปไฝ“ๆ–นๆกˆ๏ผŒๅฎŒๆˆไบ†ๅˆๆญฅ่ฎพ่ฎก้˜ถๆฎต็š„ไธป่ฆๆŠ€ๆœฏๅทฅไฝœใ€‚ๆ–ฐๆญผๅ‡ปๆœบ็ชๅ‡บไธญไฝŽ็ฉบๆœบๅŠจไฝœๆˆ˜่ƒฝๅŠ›๏ผŒๅ…ทๆœ‰ไธญ่ทๅ…จๅ‘ๆ‹ฆๅฐ„ๅ’Œ่ฟ‘่ทๆ�ผๆ–—่ƒฝๅŠ›๏ผŒ็”จไบŽๆˆชๅ‡ป็ฉบไธญ็›ฎๆ�‡ๅ’Œๅคบๅ–ๅˆถ็ฉบๆƒ๏ผŒๅนถๆœ‰ๅฏนๅœฐๆ”ปๅ‡ป่ƒฝๅŠ›ใ€‚ๆ–ฐๆญผๅ‡ปๆœบๅœจๆ€ปไฝ“ๆ€ง่ƒฝไธŠ้€‚ๅบ”90ๅนดไปฃๅŽๆœŸ็š„ไฝœๆˆ˜็Žฏๅขƒใ€‚

 

ไธ€้กน้‡ๅคง็š„ๅ†ณ็ญ–๏ผŒๅธธๅธธ้œ€่ฆๅผบๅคง็š„ๆŠ€ๆœฏๅฎžๅŠ›ไฝœไธบๅŽ็›พใ€‚ๅคงๅฎถ็œ‹ๅˆฐไบ†๏ผŒๆญผ-10ๆ‰€้‡‡็”จ็š„ๆ˜ฏ้ธญๅผๅธƒๅฑ€๏ผŒๅฝ“ๅนดๅฎ‹ๆ–‡้ชขๅŒๅฟ—ไน‹ๆ‰€ไปฅ็งฏๆžๆŽจ่ๆ–ฐๅผๆฐ”ๅŠจๅธƒๅฑ€ไนŸๆญฃ้ชŒ่ฏไบ†่ฟ™ไธ€็†่ฎบใ€‚่ฟ™็งๆ–ฐ้ข–็š„้ธญๅผๅธƒๅฑ€๏ผŒไธไป…็ฌฆๅˆ่ˆช็ฉบๆŠ€ๆœฏ็š„ๅ‘ๅฑ•่ถ‹ๅŠฟ๏ผŒๅŒๆ—ถๅŒ…ๅซ็€ๆˆ้ƒฝ้ฃžๆœบ่ฎพ่ฎก็�”็ฉถๆ‰€ๅคšๅนดๆฅ็š„็�”็ฉถๆˆๆžœ็š„ๆŠ€ๆœฏ็งฏ็ดฏใ€‚

 

ๅฎ‹ๆ–‡้ชขๅŒๅฟ—ไน‹ๆ‰€ไปฅ็งฏๆžๆŽจ่ๆ–ฐๅผๆฐ”ๅŠจๅธƒๅฑ€ๆ–นๆกˆ๏ผŒๆ˜ฏๅ›�ไธบ้ธญๅผๅธƒๅฑ€ๆ˜ฏๆˆ‘ๅ›ฝไธŽๅ›ฝๅค–ๅ‡�ไนŽๅŒๆญฅ็�”็ฉถ็š„๏ผŒๅค„ไบŽไธ€ไธช่ตท่ท‘็บฟไธŠใ€‚ๅฝ“ๅนดๆžๆญผไนๆ—�ๅฐพ็ฟผๆ–นๆกˆ็š„ๆ—ถๅ€™๏ผŒไธบไบ†่งฃๅ†ณๆญผไน็š„้ซ˜็ฉบ้…ๅนณ้—ฎ้ข˜๏ผŒๆญผไน่ฎพ่ฎกๅ›ข้˜Ÿๅฐฑๆๅ‡บไบ†้ธญๅผๆ—�ๅฐพๅธƒๅฑ€ใ€‚60ๅนดไปฃ๏ผŒ็พŽๅ›ฝๅผ€ๅง‹็�”็ฉถๅˆฉ็”จ่„ฑไฝ“ๆถกๆฅๅขžๅŠ�้ฃžๆœบๅ‡ๅŠ›ใ€‚ๆˆ‘ไปฌๅœจๆญผไน็š„็�”ๅˆถๅทฅไฝœไธญ๏ผŒไนŸๅขžๅŠ�ไบ†็›ธๅบ”็š„็�”็ฉถใ€‚ไฝœไธบ้ข„ๆกˆไน‹ไธ€๏ผŒๆœบ่…น่ฟ›ๆฐ”ไนŸๅœจๆญผไนไธŠ่ฟ›่กŒไบ†ๅนฟๆณ›็š„่ฏ•้ชŒใ€‚ไธบไบ†็�”็ฉถไธ‰ไปฃๆœบ็š„ๅธƒๅฑ€ๆ–นๆกˆ๏ผŒๆ–ฐ็š„่ฎพ่ฎกๅ›ข้˜Ÿๅˆๅšไบ†ๅพˆๅคš่ฏ•้ชŒ๏ผŒไธๆ–ญๅฎŒๅ–„ๆ›พ็ป็”จไบŽๆญผไน็š„้ธญๅผๅธƒๅฑ€่ฎพ่ฎกใ€‚ๅœจ็กฎๅฎšๆ€ปไฝ“ๆ–นๆกˆๅ‰๏ผŒ้ฃŽๆดžๅฐฑๅนไบ†ไธŠไธ‡ๆฌกใ€‚ๆญผ-10็š„ๅค–ๅฝข่ฎพ่ฎกๅ’Œๆฐ”ๅŠจๅธƒๅฑ€ๅฎŒๅ…จๆ˜ฏๆˆ‘ไปฌไธญๅ›ฝไบบ่‡ชๅทฑๆžๅ‡บๆฅ็š„๏ผŒๆฒกๆœ‰ๅ€ŸๅŠฉๅ›ฝๅค–็š„ๅŠ›้‡๏ผŒ่ฟ™ไธ€็‚นๅ€ผๅพ—ๅ›ฝไบบ้ช„ๅ‚ฒๅ’Œ่‡ช่ฑชใ€‚

 

ๆˆ‘ๅ›ฝ่ˆช็ฉบๅทฅไธš้•ฟๆœŸไปฅๆฅๅญ˜ๅœจไธ€ไธชๅผŠ็—…๏ผŒๅฐฑๆ˜ฏไธ้‡่ง†้ฃžๆœบ็š„้ข„็�”ๅทฅไฝœ๏ผŒๆฒกๆœ‰ๅ•็‹ฌ็ณป็ปŸ็š„้ข„็�”ๆœบๆž„๏ผŒไธๅƒ็พŽๅ›ฝๆœ‰NASA๏ผˆๅ›ฝๅฎถ่ˆช็ฉบ่ˆชๅคฉๅฑ€๏ผ‰้‚ฃๆ�ท็š„้ข„็�”ๆœบๆž„ใ€‚ไปฅๅ‰ไธŠ้ฃžๆœบๅž‹ๅท๏ผŒ้ƒฝๆ˜ฏไธŠไธ€ไธชๅฐฑๆŠ“ไธ€ไธช๏ผŒๅฎž้™…ไธŠๅผ€ๅ‘ไธŽ็�”ๅˆถๅŒๆญฅ่ฟ›่กŒใ€‚่ฟ™ๅฏนไบŽๆŠ€ๆœฏๅ‚จๅค‡ๆœฌๅฐฑ่–„ๅผฑ็š„ๆˆ‘ๅ›ฝ่ˆช็ฉบๅทฅไธš่€Œ่จ€๏ผŒๆ—�ๅฝขไธญๅŠ�ๅคงไบ†็�”ๅˆถ้ฃŽ้™ฉใ€‚ๅฏผ่‡ด่ˆช็ฉบๅทฅไธš่‡ชๆˆ็ซ‹ไปฅๆฅ๏ผŒๆˆๅŠŸ็š„้กน็›ฎๅคงๅคงๅฐ‘ไบŽๅคฑ่ดฅ้กน็›ฎ็š„ๆ—�ๆƒ…ไบ‹ๅฎžใ€‚

 

ๅค–็•Œๆ™ฎ้่ฎคไธบๆญผ-9ๆ˜ฏไธญๅ›ฝ่ˆช็ฉบๅทฅไธš็•Œไธบ่ฟ™ไธ€็›ฎๆ�‡ๅ‘่ตท็š„็ฌฌไธ€ๆฌกๅฐ่ฏ•ใ€‚ไปŽ่ฟ‘ๆœŸๅ…ณไบŽๆญผ-9็š„ๆ–‡็ซ�ๆฅ็œ‹๏ผŒๅ…ถๅ…ทๆœ‰ไธ‰่ง’็ฟผๅŠ�้ธญ็ฟผใ€ๅคงไธ‰่ง’็ฟผ็ญ‰ๅคšไธช่ฎพ่ฎกๆ–นๆกˆ๏ผŒไปŽ่ฎพ่ฎกๆ€ๆƒณไธŠๆฅ่ฏดๆ˜ฏๆŽฅ่ฟ‘ไธ–็•Œ็ฌฌไธ‰ไปฃๆˆ˜ๆ–—ๆœบ็š„ๆฐดๅนณ็š„ใ€‚่ฏฅๅž‹ๅท็”ฑๅ›ฝๅ†…601ๆ‰€็�”ๅˆถ๏ผŒๅŽ่ฝฌ็”ฑ611ๆ‰€่ดŸ่ดฃ๏ผŒๅคง่‡ดไธŠไธŽ็‘žๅ…ธJ-37“้›ท”ๆˆ˜ๆ–—ๆœบๆœ‰ไบ›็ฑปไผผใ€‚ๅฝ“ๅนดๆญผไน้กน็›ฎ็ปไบ”ๆฌกไฟฎๆ”นๆˆ˜ๆŠ€ๆŒ‡ๆ�‡๏ผŒๅˆไธ‰ไธŠไธ‰ไธ‹ๅŽ๏ผŒๆœ€็ปˆไปฅไธ‹้ฉฌๅ‘Š็ปˆใ€‚ไฝ†ๆ—�ๅฝขไธญ๏ผŒๆญผไน็›ธๅฝ“ไบŽไธบๆญผ-10็š„็�”ๅˆถไฝœไบ†ไธ€ๆฌกๆŠ€ๆœฏ้ข„็�”๏ผŒๅนถๆœ€็ปˆไธบๆญผ-10็š„ๆˆๅŠŸๅฅ�ๅฎšไบ†ไธ€ๅฎš็š„ๆŠ€ๆœฏๅŸบ็ก€ใ€‚

 

ๅ…ถๅฎž๏ผŒๆญผ-10ไนŸๆ›พ็ป็ปๅŽ†่ฟ‡็ฑปไผผไปŽT-10ๅˆฐ่‹-27็š„็พฝๅŒ–่œ•ๅ˜ใ€‚้‚ฃๅฐฑๆ˜ฏ00ๆ‰นๆฌก้ฃžๆœบ้š†่ตท็š„่‚ฅๅœ†ๅŽไฝ“ๆœบ่บซ๏ผŒ่ฟ™ๆ˜ฏๅŠจๅŠ›้€‰ๆ‹ฉๅ‡�็ปๆ”นๅ˜้€�ๆˆ็š„๏ผŒไนŸ็ป™้ฃžๆœบๅธฆๆฅไบ†้ขๅค–็š„้˜ปๅŠ›๏ผŒๅฏผ่‡ดๆ€ง่ƒฝๆถๅŒ–ใ€‚ๅฝ“ๆ—ถๆˆ้ฃžๆ‰€้กถไฝๅŽ‹ๅŠ›๏ผŒ้‡ๆ–ฐ่ฎพ่ฎก๏ผŒ่ฟ›่กŒๅŽๆœบ่บซๆ”ถ่บซไฟฎๅž‹๏ผ›ๅŒๆ—ถๅฐฝไธ€ๅˆ‡ๅฏ่ƒฝ่ฟ›่กŒๅ‡้˜ปๆ”น่ฟ›ใ€‚้‡ๆ–ฐ็”Ÿไบง็š„01ๆ‰น่ฏ•็”Ÿไบงๅž‹๏ผŒ็ปˆไบŽ่พพๅˆฐไบ†่ฎพ่ฎก็›ฎๆ�‡ใ€‚

23 มีนาคม 1998, จีนพัฒนาบินครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จของ F-10 เครื่องบินขับไล่ได้กลายเป็นอนุสาวรีย์ประวัติศาสตร์การบินของจีน J-10 เครื่องบินขับไล่แสดงให้เห็นถึงระดับของเครื่องบินไอพ่นขับไล่ทหารเป็นครั้งแรกที่อุปกรณ์ของเราได้ถึงมาตรฐานรุ่นที่สามของโลกและเพราะความก้าวหน้าในเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แม้ว่า J-10 ปรากฏตัวในช่วงปลายรบรุ่นที่สามในโลกที่มีความก้าวหน้าของเทคโนโลยี แทนเขาทำให้ J-10 สามารถติดตั้งระบบเทคโนโลยีร่วมสมัยเรดาร์อากาศและอาวุธที่ทันสมัย แม้จะมีการพัฒนาของสามรุ่นของเครื่องในเวลาที่ล่าช้าเล็กน้อย แต่ไม่ตกอยู่เบื้องหลังและได้รับเกินจริง อุตสาหกรรมการบินของจีนมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเวลานานรุ่นรุ่นอุปกรณ์ที่อยู่เบื้องหลังสถานการณ์

เมื่อเทียบกับรุ่นที่สองของประเทศของเรา J-10 ในแง่ของการออกแบบตามหลักอากาศพลศาสตร์, การบินและอาวุธทางอากาศที่ได้รับการปรับปรุงคุณภาพ ในยืมเทคโนโลยีผู้ใหญ่ต่างประเทศด้วยนวัตกรรมตัวหนามากขึ้นความสามารถในการวางแผนและการโจมตี BVR เครื่องบิน ในเวลาเดียวกันโดยใช้วิธีการพัฒนา J-10 นำชุดของผลิตภัณฑ์เสริมเพื่อปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกในระบบการพัฒนาของอุตสาหกรรมการบินที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริม (ภาพแสดง J-10 เครื่องบินขับไล่เป็นหัวหน้าสถาปนิกของเพลงดกงหลิวที่จะอธิบายผลการดำเนินงานของการออกแบบเครื่องบินรบ J-10 ที่เหลือเพียงเล็กน้อยในภาพหลังจากการบินครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จของ F-10 ภาพนักมวย

15 ปีที่ผ่าน 23 มีนาคม 1998, เป็นนักสู้ลึกลับหยุดที่ฐานกองทัพอากาศนักบินทดสอบกล่าวคำอำลากับสหายของเขาแข็งแรงไปยังห้องโดยสาร เสียงเครื่องยนต์ 'เหยี่ยว' ท้องฟ้าระดับความสูงเมตรฉันเห็นมันดำน้ำบางครั้งบางครั้งก็เป็นเปลือกหอยจากการควบเบื่อ 17 นาทีต่อมา 'เหยี่ยว' กลับมาอย่างปลอดภัยก็ผ้ากันเปื้อนเดือด (รูปภาพหลังจากที่บินครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จหัวหน้าสถาปนิกของเพลงดกงและหัวหน้าคนทดสอบ Leiqiang นักบินกอดน้ำตา)

การพัฒนาโดยสถาบันออกแบบอากาศยานเฉิงตู J-10 ที่จะดำเนินการ ทีมเป็นทีมที่พัฒนาทีมงานออกแบบของ F-เก้าปี หลังจาก F-เก้าลงจากหลังม้าทีมที่ได้รับการออกกำลังกายต่อไปในภายหลัง F - 7โ…ขโครงการต้นปี 1980 เมื่อเราเปิดประตูไปทั่วโลกและได้รับการตระหนักถึงค่อยว่าช่องว่างระหว่างตัวเองและโลก ในอุตสาหกรรมการบินทั่วโลกโดย leaps และขอบเขตในน้ำนั้นประธานจินตนาการคณะกรรมาธิการทหารกลางสหายเติ้งชี้: "ออกจากห้าล้านเรามีส่วนร่วมสู้ส่วนร่วมในการเป็นนักมวยผลการดำเนินงานใหม่ที่ดีกว่า .. " เพื่อที่จะดำเนินการตามคำแนะนำของเพื่อนเติ้งเสี่ยวผิงในเดือนมกราคมปี 1982 ขอให้กองทัพอากาศที่จะพัฒนาเป็นนักสู้ปัญหา CMC ใหม่ที่จัดทำโดยคณะกรรมาธิการทหารกลางได้รับการอนุมัติการจัดสรรเงินทุนสำหรับการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ใหม่ กองทัพอากาศได้กำหนดความต้องการที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีสงคราม กุมภาพันธ์สำนักงานอุตสาหกรรมกลาโหมในกรุงปักกิ่งถือเครื่องใหม่สัมมนาการพัฒนาร่วมกับกำลังทหารกรมเสนาธิการกองทัพอากาศกองทัพเรือกรมการบิน, สามสี่ห้าผู้นำและคณะกรรมการวางแผนของรัฐและกระทรวงเครื่องผู้เชี่ยวชาญหลายคน ที่เสนอเพื่อประกอบการพิจารณาในที่ประชุมโปรแกรมรบใหม่ประสิทธิภาพการต่อสู้หลักของนักมวยใหม่กว่า F -8โ…กที่ดีใกล้กับ F-16, -23 จะดีกว่าต่ำ 90s เป็นกองทัพเครื่องบินรบที่สำคัญ แน่นอนว่าเมื่อความต้องการของดัชนีและตอนนี้ไม่สามารถเทียบ

ในขณะที่เฉิงตูอากาศยานสถาบันการออกแบบก็จะได้รับแจ้งให้ทราบล่วงหน้าในการเข้าร่วมการสัมมนาโปรแกรมเครื่องใหม่ สหายเพลงยดกงในฐานะตัวแทนของอากาศยานเฉิงตู Design Institute, กองทัพอากาศและผู้นำอากาศกระทรวงและผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์ค่อนข้างนวัตกรรมในด้านหน้าของการพูด 15 นาที เขาถือความคิดเกี่ยวกับวิธีการที่จะต่อสู้กับการพูดความต้องการพูดคุยความคิดที่พูดคุยเกี่ยวกับภารกิจการพูดโปรแกรมเน้นหนักมาตรการนี้ บางส่วนของคำพูดของเขาในการเป็นผู้นำและเทคนิคสหายรับผิดชอบทหารทิ้งความประทับใจลึก หลังจากการประชุมที่เหนือกว่าอย่างเห็นได้ชัดต้องการเครื่องบินรบใหม่และนำมาความต้องการที่เฉพาะเจาะจง

สหายเพลงดกงกลับไปยังสถาบันทันทีเริ่มที่จะเริ่มต้นการปรับใช้ตามความต้องการของกองทัพอากาศในขณะที่การใช้ประโยชน์เต็มรูปแบบของความสำเร็จก่อนการวิจัยในปีที่ผ่านเกินไปสมาธิโปรแกรมการเตรียมความพร้อม หกเดือนต่อมาเครื่องใหม่อีกครั้งจะจัดขึ้นในกรุงปักกิ่งเพื่อหารือเกี่ยวกับ ในที่ประชุมสหายเพลงดกงโฮลดิ้งเครื่องบินแบบมั่นใจอธิบาย จากสงครามกับข้อกำหนดทางเทคนิคของภารกิจของเครื่องบิน, งาน, ความต้องการและประสิทธิภาพการทำงานยุทธวิธีอาวุธควบคุมไฟ, โครงสร้างของร่างกายระบบทั้งผลการทดลองที่มีภาพวาดเช่นสี่ชั่วโมงของการรายงานได้รับรางวัลเข้าร่วมปรบมือยาว . มกราคม 1984 ที่กองทัพอากาศปรับข้อกำหนดทางเทคนิคที่สอดคล้องกันของสงคราม เมษายนที่กระทรวงอุตสาหกรรมการบิน Professional คณะกรรมการประชุมเครื่องบิน CST หารือรบใหม่ของสามชนิดของแผนรูปแบบสามโปรแกรมเหล่านี้เป็นโปรแกรมแบบปกติโซลูชั่นเท็จและโปรแกรมปีกตัวแปรเรขาคณิต

พฤษภาคม 1984 หลังจากที่โปรแกรมเมื่อเทียบกับหน่วยน้องสาวของคณะกรรมการคณะกรรมการการวางแผนของรัฐแห่งชาติกลาโหมตัดสินใจที่จะพัฒนาหน่วยรบใหม่โดยรวมที่กำหนดในเฉิงตูอากาศยานสถาบันการออกแบบและโรงงานอากาศยานเฉิงตู ในเดือนมิถุนายนกลาโหมแห่งชาติเพื่อตรวจสอบความต้องการทั้งหมดสำหรับเครื่องบินเช่นเดียวกับจำนวนของหลักการพัฒนาปัญหารบใหม่โดยมุ่งเน้นที่สี่เทคโนโลยีที่สำคัญ: การออกแบบเท็จ, การควบคุมการบินระบบการบินการออกแบบบูรณาการคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบและการผลิต . มกราคม 1986, สภาแห่งรัฐได้รับการอนุมัติการพัฒนาของการปฏิบัติภารกิจรบใหม่เป็นโครงการสำคัญระดับชาติ ในเดือนกรกฎาคมกลาโหมแห่งชาติได้รับการแต่งตั้งเป็นพระราชาองค์ใหม่ของนักมวยผู้บัญชาการองการบริหารเมื่อเขาอายุ 56 ปีเพลงยดกงได้รับการแต่งตั้งกลาโหมแห่งชาติที่สำคัญออกแบบโมเดลเครื่องบิน

มิถุนายน 1987, สถาบันออกแบบอากาศยานเฉิงตูในโปรแกรมเครื่องบินหกได้รับการออกแบบบนพื้นฐานของการประสานงานโดยรวมผ่านสถานะของระบบและความหมายของระบบเทคโนโลยีในการตรวจสอบในขั้นต้นทรงตัวโปรแกรมโดยรวมการทำงานทางเทคนิคที่สำคัญเสร็จสิ้นขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้นนักมวยระดับความสูงต่ำใหม่ที่โดดเด่นในการดำเนินงานมือถือด้วยการยิงจากบาร์รอบทิศทางและความสามารถในการต่อสู้ใกล้สำหรับการสกัดกั้นและอากาศเหนือเป้าหมายอากาศและความสามารถในการโจมตีภาคพื้นดิน ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในการสู้รบใหม่ในปลายปี 1990 ผลการดำเนินงานโดยรวม

การตัดสินใจที่สำคัญและมักจะต้องมีความแข็งแรงทางเทคนิคที่แข็งแกร่งสนับสนุน คุณเห็น, J-10 จะใช้เท็จแล้วทำไมเพื่อนเพลงดกงแข็งขันแนะนำรูปแบบอากาศพลศาสตร์ใหม่นี้ยังตรวจสอบทฤษฎีนี้ นี้เท็จนวนิยายไม่เพียง แต่สอดคล้องกับแนวโน้มการพัฒนาของเทคโนโลยีการบินและมีความสำเร็จในการสะสมทางเทคนิคอากาศยานเฉิงตูออกแบบสถาบันการวิจัยในช่วงหลายปี

สหายเพลงยดกงได้รับมากอย่างแข็งขันแนะนำโซลูชั่นอากาศพลศาสตร์ใหม่เพราะเท็จเป็นประเทศของเราและในต่างประเทศเกือบจะพร้อมกันศึกษาอยู่ในเส้นสตาร์ท จากนั้นมีส่วนร่วมในโปรแกรมหาง F-เก้า F-เก้าเพื่อที่จะแก้ปัญหาของระดับสูงตัด, J เก้าทีมออกแบบที่นำเสนอรูปแบบเท็จไม่มีหาง 1960 ที่สหรัฐอเมริกาเริ่มที่จะศึกษาการใช้น้ำวนที่จะเพิ่มเครื่องบินยก เราทำงานในการพัฒนาของ F-เก้า แต่ยังเพิ่มการวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นหนึ่งในแผนการบริโภคท้องจะดำเนินการยังออกมาในการทดสอบอย่างกว้างขวาง F-เก้า เพื่อการศึกษารุ่นที่สามของโครงการรูปแบบเครื่องทีมงานออกแบบใหม่ได้ทำมากของการทดสอบและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องอีกครั้งสำหรับการออกแบบเท็จ F-เก้า ก่อนที่จะกำหนดโปรแกรมโดยรวมในอุโมงค์ลมพัดนับพันครั้ง เจ -10 ออกแบบรูปทรงตามหลักอากาศพลศาสตร์และการจัดวางสิ่งที่เราทำออกมาของคนจีนเองโดยความช่วยเหลือของพลังงานในต่างประเทศนั้นมันเป็นคนมูลค่าความภาคภูมิใจ

 

อุตสาหกรรมการบินของจีนเป็นเวลานานมีข้อเสียเปรียบเพียงไม่ให้ความสำคัญกับการทำงานก่อนการวิจัยของเครื่องบินยังไม่มีระบบที่แยกจากกันของสถาบันการวิจัยซึ่งแตกต่างจากประเทศสหรัฐอเมริกานาซ่า (วิชาการแห่งชาติและการบริหารอวกาศ) เป็นสถาบันการวิจัย ก่อนที่อากาศยานประเภทที่มีการจับหนึ่งในหนึ่งในความเป็นจริงการวิจัยและพัฒนาดำเนินการไปพร้อม ๆ กัน นี่คือความอ่อนแอของเงินสำรองทางเทคนิคของอุตสาหกรรมการบินของจีนเป็นห่วงที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการพัฒนา ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการบินตั้งแต่ต้นที่ประสบความสำเร็จอย่างไม่หยุดยั้งของโครงการมากน้อยกว่าความเป็นจริงว่าโครงการนี้ล้มเหลว

J -9 ถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นความพยายามครั้งแรกให้กับอุตสาหกรรมการบินของจีนเริ่มเป้าหมายนี้ จากบทความล่าสุดเกี่ยวกับจุด J -9 ในมุมมองของการมีส่วนใหญ่บวกเท็จเดลต้าปีกออกแบบเดลต้าปีกขนาดใหญ่และอื่น ๆ จากการออกแบบที่มีอุดมการณ์ใกล้เคียงกับระดับของเครื่องบินขับไล่รุ่นที่สามของโลก รูปแบบการพัฒนาโดยประเทศ 601 หลังจากการถ่ายโอนความรับผิดชอบของ 611 โดยทั่วไปสอดคล้องกับสวีเดน J-37 "ฟ้า" นักมวยค่อนข้างคล้าย J-เก้าโครงการปีหลังจากที่ห้าแก้ไขดัชนียุทธวิธีและเทคนิคและสามสามและในที่สุดจบลงด้วยการต่อไปนี้ม้า แต่แทบจะเทียบเท่ากับ F -10 F-เก้าการวิจัยและการทำทางเทคนิคก่อนการวิจัยและในที่สุดความสำเร็จของ J-10 ที่วางไว้รากฐานทางเทคนิคบางอย่าง

ในความเป็นจริง J-10 มีประสบการณ์ยังเกิดที่คล้ายกันจาก T-10 ถึงการเปลี่ยนแปลงของซู -27 นั่นคือหลังจากที่ 00 สำหรับกระบวนการของลำตัวเครื่องบินรอบกระพุ้งไขมันในร่างกายที่เกิดจากอำนาจที่จะเลือกการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง แต่ยังจะนำความต้านทานเครื่องบินที่นำไปสู่โ€‹โ€‹การเสื่อมสภาพของการปฏิบัติงาน ใช้เวลาในการบินให้ทนต่อแรงดัน, การออกแบบใหม่หลังจากที่ประเภทการปิดซ่อมแซมร่างกายของร่างกายในขณะที่ทำทุกอย่างที่เป็นไปได้การปรับปรุงการลดการลาก อีกครั้งการผลิตของการทดลองการผลิต 01 สำหรับกระบวนการและในที่สุดก็บรรลุเป้าหมายของการออกแบบ

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 18/09/2014 16:12:32


ความคิดเห็นที่ 149


ในส่วนนี้ อธิบายถึงว่า จากการใช้เครื่องยนต์ของ รัสเซีย จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง รูปแบบท่อรับอากาศจากโค้ง มาเป็น เหลี่ยม

ซึ่งผมจะอ้างถึง รูปในปี 1991 ที่ทำต้นแบบขึ้นมา โดยในปี 1994 ถึงสรุปโครงสร้างทั้งหมด แล้วเริ่มดำเนินการสร้างเครื่องต้นแบบในปี 1995

http://bbs.tiexue.net/post_6910753_1.html

ๅจ้ๅฑๆทๆบ็ๅถ้ๆฏๆญผ-10 ็ๅถๅ็จ็ไธไธช้่ฆ่ฝฌๆ็น๏ผๅทฅ็จๅธ็ฌฌไธๆฌก่ฝๅคๅฐๅพ็บธไธ็ไธ่ฅฟๅๆๅฎ็ฉ๏ผ็ฒพ็กฎใๅฎ้็้ช่ฏ่ชๅทฑ็่ฎพ่ฎกๅๅทฅ่บใ่ฏ้ฃๅ่ฝๅคๅจๅบง่ฑไธญๆจกๆๆไฝ๏ผๆๅบๆน่ฟๆ่ง๏ผไธบๆดๆบๆๆฏๅป็ปๅ้่ฏๅฅฝๆกไปถใๅณๅฎไฝๅบไนๅ๏ผๅฝ้ฒ็งๅทฅๅงๅ็ฉบๅ้ฝ่กจ็คบไบๅคงๅๆฏๆใๅฐ 1991 ๅนดๅๆ้ฃๅทฒ็ปๅฎๆๅๅพ๏ผๅผๅงๆทๆบๅถ้ใๅจ็ฒพๅฟ็ป็ปไนไธ๏ผ1991 ๅนด 8 ๆ 27 ๆฅๆทๆบ็ป่ฃๅฎๆใๅถๅฎๆญคๆถ็ๆทๆบ่ฟไธ่ฝ้ฃ๏ผๅชๆฏไธไธช็ฒพ็กฎ็ๅจๅฐบๅฏธๆจกๅ๏ผ่ไธ้้ขๅฅฝๅค่ฎพๅคๆฒกๆ๏ผๅฐฑ็จๆจๅคดๅป็ไปฃๆฟ๏ผ็่ณ็จ็บธ็ๅญๅ็๏ผ็ฎก่ทฏๆฒกๆๅฐฑ็จ็ปณๅญไปฃๆฟใๆปไนๅๅผๅบๆฅๅ่ฏดใ

 

1992 ๅนดๅฎๆ้ชขไฝไธบๅจๆไปฃ่กจ๏ผๅๅพไฟ็ฝๆฏ่ฟ่ก AL-31F ็ๅผ่ฟ่ฐๅค๏ผๅนถ็ญพ่ฎขไบ 1 ๅฐๆทๆบๅๆฐๅฐ่ฏ้ฃๅๅจๆบ็ๅผ่ฟๅๅใไธบไบ้ๅบๆญผ-10๏ผAL-31F ๅไบ่ฅๅนฒๆน่ฟใAL-31F ้ๅฅ่-27 ๆๆบ๏ผๅๅจๆบๆบๅฃ้ไปถๆพๅจๅๅจๆบไธๆน๏ผๆนไพฟ็ปดๆค๏ผไฝ่ฆ้ๅฅๆญผ-10 ๅฟ้กปๆๆบๅฃ้ไปถๆนๅฐไธๆนใๆญคๅค่ฟๆไธไบๅฐ็ๆๆฏ็ป่่ฟ่กไบๆน่ฟ๏ผๆน่ฟๅ็ๅๅท่ขซ็งฐไธบ AL-31FN๏ผไนๅฐฑๆฏ็ฎๅๆญผ-10 ็้ๅฅๅๅจๆบใ่ไธบไบ้ๅบ AL-31FN๏ผๆญผ-10 ๅ็ๆน่ฟๆดๅคง๏ผๅฏไปฅ่ฏดๅบๆฌๅๆฏไธไธชๆจๅฐ้ๆฅใ้ฆๅ AL-31FN ๅๆถกๅท-15 ไธไธชๆฏๆถกๆ๏ผไธไธชๆฏๆถกๅท๏ผ่ฝ็ถๆๅคงๆจๅไธๆทไฝๆจๅๆฒ็บฟๅฎๅจไธๅ๏ผๅๆฅ็ฎๅ็ไธๅฏ่ฐๆคญๅ่ฟๆฐ้ๅทฒ็ปไธ่ฝๆปก่ถณ้่ฆไบ๏ผ็ฑไบๆถกๆๅๅจๆบ้ซ็ฉบๆง่ฝไธๅฆๆถกๅท๏ผๆไปฅๆญผ-10 ๆข็จไบ็ฐๅจ็็ฉๅฝขๅฏ่ฐ่ฟๆฐ้๏ผไปฅไฟ่ฏๅ็ง้ซๅบฆๅ้ๅบฆไธ็้ฃ่กๆง่ฝใๅถๆฌก AL-31FN ๆฏๆถกๅท-15 ้ฟๅพๅค๏ผๆไปฅๅๆบ่บซ้่ฆๅปถ้ฟ๏ผ็ธๅบ็้่ฆๅฏนๆดๆบ้ๅฟๅ้ๅนณๅ่ฐๆด๏ผไธป็ฟผ็ฟผๆนๅผฆ้ฟไนๅคงๅคงๅขๅใ็ฑไบๆขๅ๏ผ็ฉบๅๅฏนๆญผ-10 ๅๆๅบไบๆด้ซ็่ฆๆฑ๏ผ่ฆๆฑๆญผ-10 ่ฆ่ฝๅคๅ่-27 ๅฝขๆ้ซไฝๆญ้๏ผๆบๅจๆง่ฆๅ่-27 ็ธๅฝ๏ผ่ฟๆทไธๆฅๅไธๅพไธๅฏนๆฐๅจๅคๅฝขๅๅฐๅนๅบฆๆดๆนไปฅๆปก่ถณ่ฆๆฑใๅฆๅคๆญคๆถๆญผ-10 ไนๅ้ดไบๅพๅค็ฑณๆผ่ฎพ่ฎกๅฑ็่ฎพ่ฎก๏ผๅๆฌๅค็ฝฎๅผๅ่น้ณ๏ผ่ฟไบ้ฝๆฏ้่ฟ่ถ-7 ๅ็ฑณๆผ่ฎพ่ฎกๅฑ็ๅไฝไธญๅญฆๆฅ็ใๅฐฑ่ฟๆท็ป่ฟๅไธ่ฝฎ็่ฎพ่ฎกๆดๆน๏ผๆฐๆญผ-10 ๆๆไบ็ฐๅจๆญผ-10 ็้ๅใ

 

 

ๅฐ 1994 ๅนด 6 ๆ๏ผ็ป่ฟ 2 ๅนดๅค็่ฐ่ฆๅฅๆ๏ผๆ้ฃๅฎๆไบๆขๅๅๆญผ-10 ็ๅจ้จ่ฎพ่ฎกๅทฅไฝ๏ผๅพ็บธๅจ้จๅฎๆใๆญผ-10 ็็ๅถ๏ผๅผๅง่ฟๅฅๆฐ็้ถๆฎต——ๅๅๆบๅถ้๏ผ

 

่ฟ่กๅคง่ฟ่ง้ฃๆดๆต่ฏ็ๆญผ-10 ๆจกๅ

 

ๅจ 1994 ๅนด 6 ๆๅฎๆๅจ้จ่ฎพ่ฎกๅพ็บธๅ๏ผๆญผ-10 ๅๅๆบ็ๅถ้ไบ 1995 ๅนด 8 ๆๅผๅงใๅๅๆบๅถ้ๅคไบ้ซๅบฆไฟๅฏ็ถๆ๏ผ่ฃ้่ฝฆ้ดๅจๅฐ้ญ๏ผไปปไฝๅคไบบ้ฝๆๆณ่ฟๅฅใๅฐ 1997 ๅนด 6 ๆ 2 ๅทๆฐๆบๅฎๆๅปบ้๏ผๅๅๆธๅฐๅไบฒ่ชไธบๆฐๆบๅชๅฝฉใๆฅไธๆฅๅฐฑๆฏไธ่ฟไธฒๅฐ้ข่ฏ้ช๏ผไธบ้ฆ้ฃๅๅๅคไบใๆ็ป 1998 ๅนด 3 ๆ 23 ๆฅ๏ผๆญผ-10 ้กบๅฉๅฎๆไบ้ฆ้ฃใ้ฃไธๅคฉๅๆฌๅฎ่ใ่ฏ้ฃๅ้ทๅผบๅจๅ็็ธๅณไบบๅๅๆ่ๆณฃใ่ฟไนๅคๅคง่็ทไปฌ้ไฝ้ฃๆณช๏ผๅๆไบ้้ๅฐ้พ็ปไบ่ตฐๅฐไปๅคฉ๏ผ่ฟๆท้ๆผ็ๅบ้ขไผ่ขซๅไบบๅ่ฟไธญๅฝ่ช็ฉบไบไธ็ๅๅฑๅฒไธๅง๏ผ

 

การผลิตต้นแบบโลหะ J-10 เต็มเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรวิศวกรเป็นครั้งแรกที่จะสามารถที่จะกลายเป็นชนิดของสิ่งที่เกี่ยวกับการวาดภาพ, การออกแบบการตรวจสอบความถูกต้องและการปฏิบัติตัวเองและกระบวนการ นักบินทดสอบในห้องนักบินเพื่อจำลองการดำเนินงานข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและสร้างเงื่อนไขที่ดีสำหรับทั้งเทคนิคแช่แข็ง หลังจากที่การตัดสินใจกลาโหมแห่งชาติและกองทัพอากาศได้แสดงการสนับสนุนที่แข็งแกร่งของพวกเขา จะได้รับการแล้วเสร็จในช่วงต้นในปี 1991 วางแผนที่จะบินไปยังเริ่มต้นการสร้างต้นแบบ ภายใต้องค์กรระวัง 27 สิงหาคม 1991 เป็นต้นแบบเป็นที่ประกอบ ในความเป็นจริงต้นแบบไม่สามารถบินได้ในเวลานี้เพียงแค่รูปแบบเต็มขนาดที่ถูกต้อง แต่มีจำนวนมากของอุปกรณ์ที่ไม่ได้แทนไม้แกะสลักและแม้แต่กล่องกระดาษครอบครองไม่ได้เปลี่ยนท่อด้วยเชือก พูดคำที่จะได้ออก

เพลงยดกงในปี 1992 เป็นองค์รัสเซียที่จะดำเนินการเจรจาต่อรองเกี่ยวกับการแนะนำของ AL-31F และลงนามเครื่องมือทดสอบต้นแบบนำหลายชุดของสัญญา เพื่อที่จะปรับตัวเข้ากับ F -10 AL-31F ทำให้การปรับปรุงหลาย AL-31F สนับสนุนเครื่องยนต์เครื่องบินขับไล่ซู -27 ที่ด้านบนของสิ่งที่แนบเครื่องยนต์ปลอกง่ายต่อการรักษา แต่จะสนับสนุน J-10 สิ่งที่แนบท่อต้องเปลี่ยนไปด้านล่าง นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดทางเทคนิคบางอย่างที่มีขนาดเล็กได้รับการปรับปรุงรูปแบบที่ดีขึ้นจะเรียกว่า AL-31FN ซึ่งกำลังสนับสนุน J-10 เครื่องยนต์ เพื่อที่จะปรับให้เข้ากับ AL-31FN, J-10 ทำให้การปรับปรุงมากขึ้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นพื้นฐานที่ผลักดันอีกครั้ง ครั้งแรก AL-31FN และเป็นหนึ่ง turbojet -15 turbofan, turbojet แม้ว่ากระตุกเส้นโค้งแรงขับสูงสุดเท่าที่มันจะสมบูรณ์แตกต่างกันในการบริโภคง่ายเดิมที่ไม่สามารถปรับรูปไข่ที่ได้รับไม่สามารถที่จะตอบสนองความต้องการของเนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานระดับสูง turbofan เครื่องยนต์ turbojet จะดีกว่าดังนั้น J-10 ถูกแทนที่ด้วยทางเข้าที่สามารถปรับรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตอนนี้เพื่อให้แน่ใจว่าผลการดำเนินงานการบินของความสูงต่างๆและความเร็ว ประการที่สอง AL-31FN สเปรย์ -15 นานกว่ากระแสน้ำวนเพื่อให้ร่างกายจะต้องมีการขยายและความต้องการที่สอดคล้องกันจะทำอย่างไรกับความสงบสุขของศูนย์ทั้งการปรับแรงโน้มถ่วงความยาวคอร์ดโคนปีกหลักยังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ตั้งแต่การฟื้นฟูกองทัพอากาศ F -10 และความต้องการที่สูงขึ้นเพื่อ J-10 และ Su-27 เพื่อให้สามารถที่จะสร้างสูงและต่ำและ Su-27 เพื่อความคล่องตัวมากเพื่อที่ว่าพวกเขาต้องทำตามหลักอากาศพลศาสตร์รูปร่างเล็ก การเปลี่ยนแปลงความกว้างเพื่อตอบสนองความต้องการ ในเวลานี้ J-10 ยังเหลือจำนวนมากของสำนักออกแบบเล่นการออกแบบรวมทั้งกระดูกเชิงกรานคู่ภายนอกเหล่านี้เป็นโรงเรียนมัธยมสุด -7 ผ่านความร่วมมือและการออกแบบสำนักเล่นมา ดังนั้นหลังจากที่รอบของการเปลี่ยนแปลงการออกแบบอื่นใหม่ J-10 J-10 เท่านั้นขณะนี้การจัดแต่งทรง

ถึงมิถุนายน 1994 หลังจากสองปีของการทำงานหนักเฉิงเฟยเสร็จทุกงานออกแบบหลังจากต่ออายุ -10 F, ภาพวาดเสร็จ การพัฒนา J-10 เริ่มที่จะเข้าสู่เฟสใหม่ - ต้นแบบ!

มุมที่มีขนาดใหญ่ของลมโจมตีรูปแบบการทดสอบในอุโมงค์ของ J-10

หลังจากเสร็จสิ้นการออกแบบภาพวาดทั้งหมดในเดือนมิถุนายนปี 1994, การผลิตต้นแบบ J-10 เริ่มต้นขึ้นในสิงหาคม 1995 ผลิตต้นแบบในความลับสูงโรงงานประกอบปิดไม่มีบุคคลภายนอกไม่สามารถเข้า ที่ 2 มิถุนายน 1997 เพื่อการก่อสร้างของเครื่องบินใหม่นายพลหลิว Huaqing ส่วนตัวตัดริบบิ้นสำหรับเครื่องใหม่ ขั้นตอนต่อไปเป็นชุดของการทดสอบพื้นดินในการเตรียมตัวสำหรับเที่ยวบินแรก สุดท้าย 23 โโมีนาคม 1998, J-10 ประสบความสำเร็จในการบินครั้งแรก วันนั้นบุคลากรที่เกี่ยวข้องรวมทั้งเพลงเก่าและรวมทั้งนักบินทดสอบ Leiqiang ร้องไห้ สุภาพบุรุษมากน้ำตาลมกรดกลุ่มเอาชนะความยากลำบากและในที่สุดก็ไปในวันนี้เพื่อให้ฉากที่น่าตกใจจะถูกเขียนลงในประวัติศาสตร์ของการพัฒนาของคนรุ่นอนาคตของอุตสาหกรรมการบินของจีนตอนนี้!

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 18/09/2014 16:17:06


ความคิดเห็นที่ 150


~~ขั้นตอนการสร้างเครื่องบินรบ จะแบ่งโดยทั่วไป เป็น 3 ขั้น
1.EAP/ Experimental Aircraft Program
เป็นขั้นตอน ที่ศึกษาความเป็นไปได้ของการออกแบบ โดยอาศัยนำชิ้นส่วนบางส่วน ไปทดสอบในอุโมงค์ลม แล้วกลับมาคำนวน เพื่อดูความเป็นไปได้ทาง และวิเคราะ คุณลักษณะ aerodynamic ที่ได้
2.pre FSD /pre Full scale Development
 เริ่มโครงการ หลังจาก โดยออกแบบเครื่องบินทั้งลำ ซึ่งอาศัยข้อมูลจาก EAP และนำกลับไปทดสอบอุโมงลม และคำนวน ทำซ้ำ จนกระทั้ง พอใจ ใน คุณลักษณะ aerodynamic ที่ได้ ซึ่งยังรวมถึงออกแบบระบบควบคุมการบิน
 ขั้นตอนนี้ อาจมีการแก้แบบหลายครั้ง โดยส่วนใหญ่ จะไม่เปลี่ยนแปลง เพราะถ้าเปลี่ยนแปลงมากต้องกลับไปทำ EAP ใหม่ ซึ่งแสดงว่า model นั้นใช้ไม่ได้
3.FSD /Full scale Development
ผลิต prototype นำไป static test ถ้าผ่าน ถึงขึ้นบิน
จากการทดสอบบิน จะนำผลที่ได้ กลับไปแก้ไข บางครั้ง ต้องสร้างโมเดลแล้วกลับไปเข้าอุโมงลมใหม่
ทำแบบนี้ซ้ำ และอาจมีการปรับแก้หลายครั้ง มีprototype หลายตัว

จาก http://bbs.tiexue.net/post_6910753_1.html
ผมใช้รูป เพราะเวปอ่านจีนไม่ออก
รูปที่ 1
ขอแปลคร่าว
//ปี1982 ซ่งคง(หน.โครงการ) ได้พัฒนาแบบเข้าเฟสที่สอง อยู่ในขั้น (pre Full scale Development) เขาและทีมทำโมเดลเข้าอุโมงลม โดยทดสอบที่ความเร็วต่ำ 3ครั้ง และทดสอบอีก(ไม่ระบุกี่ครั้ง) และกลับมาคำนวน ปรับแบบใหม่อีกหลายครั้ง//
ข้าม

ไปรูปที่ 2
ขอแปลคร่าว
//ซ่งคง เขาได้ทำแบบสมบูรณ์สำหรับการผลิตสำเร็จในปี1994 และทำต้นแบบในปี1995 สำเร็จ..... //
อธิบาย
ปี1982 โครงการอยู่ในขั้น  pre Full scale Development นำโมเดลทดสอบอุโมงลม และกลับมาคำนวน ทำแบบนี้ซ้ำ จนได้
ผลลัพที่ต้องการ

ปี1994 โครงการอยู่ในขั้น  FSD /Full scale Development คือการนำแบบ ที่ได้จาก ขั้นที่แล้วมาพัฒนสู่แบบสำหรับการผลิต เช่น แบบที่ระบุขนาด ระบุอุปกรณ์ ว่าใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง

**ซึ่งทั้งหมดก็สนับสนุนกับข้อมูลที่ผมยกมา รวมทั้งโมเดลในอุโมงลม ที่ CCTV ระบุว่า ปี1984 เท่ากับยืนยันว่า CCTV แม่น
sinodefense.com มั่วอีกแล้ว


 **จากปี1982 ซ่งคง(หน.โครงการ) ได้พัฒนาแบบเข้าเฟสที่สอง  แปลว่าแบบเฟสแรก ต้องเข้าทดสอบอุโมงลม ก่อนปี 1982 และเป็นไปตามปกหนังสือ  Chinese youth science magazine (zh:ๅฐๅนด็งๅญฆ็ปๆฅ, ISSN1000-7776) ออกเมื่อ  June 1979 ก็คือโมเดลเริ่มต้นของ J10 เฟสแรกนั้นเอง pre Full scale Development
 **รูปจาก cctv ที่ระบุ ว่าปี1984 ก็คือ J10 เฟสสอง ของขั้นตอน

**รูปที่3 ยกมาจากรูปที่2
คำนี้หมายถึง แบบที่สมบูรณ์ หรือแบบที่พร้อมผลิต

 

ถ้าใช้ google แปล ควรแปลเป็นคำ แล้วมาเรียงเอง แต่ถ้าแปลประโยค จะมั่วมากครับ




โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 18/09/2014 17:13:22


ความคิดเห็นที่ 151


ทีเป็นภาษามั่ว ๆ คือ มันเป็น ภาษาจีน ครับ พอดีโพส แล้วมันไม่เป็นภาษาจีน

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 18/09/2014 16:18:08


ความคิดเห็นที่ 152


J-10  "เลียนแบบ"  แนวคิดในการออกแบบของ Lavi โดยผมเชื่อว่าทางนักออกแบบจีนน่าจะได้นำข้อมูล Lavi มาศึกษาด้วย   แต่ "ไม่ได้ก้อปปี้"  Lavi

ปล ความเห็นส่วนตัวล้วน ๆ ครับ

 

โดยคุณ ajaydf เมื่อวันที่ 18/09/2014 16:19:07


ความคิดเห็นที่ 153


ในเบื้องต้น จากการโต้เถียงกันตลอดมา ผมก็พอสรุปของผมได้ คือ

1. ในปี 1984 ยังไม่มีการทดสอบในอุโมงค์ลม ตามรูปที่อ้างถึง (เป็นปีอะไรก็ไม่รู้ แต่น่าจะอยู่ช่วงปี 1993-1994)

2. ในปี 1991 เป็นสร้างเครื่องจำลองเท่าของจริง ตามแบบ ไม่ใช่ สร้างเล่น ๆ (เหมือน Lavi ไหมล่ะ)

3. มีการปรับปรุงหลายอย่างทั้ง ท่อรับอากาศ เพื่อรับกับ เครื่องยนต์ จากรัสเซีย คือ AL-31FN

4. J-10 ปัจจุบัน มี ตำบล ติดอาวุธนำวิถี เพียง 4 ตำบล จาก ตำบลรวม 11 ตำบล

อ้างถึง เว๊ป ภาษาจีน ทั้ง 2 กระทู้ โดยการแปลของ กูเกิ้ล (ขอขอบคุณมา ณ โอกาส นี้)

ผมเน้นตัวอักษร ไว้ให้แล้วครับ

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 18/09/2014 16:23:14


ความคิดเห็นที่ 154


~~มาต่อที่ lavi ลองหาเอกสารนี้มาอ่าน หาไม่ยาก เอกสารนี้เขียนถึงว่า ทำไม lavi ถึงถูกยกเลิก และปัญหา ขอยกบางส่วนมาให้อ่าน คร่าวๆ เหตผลก็คล้ายกับที่ 611 เคยบอก
**ที่จริง คนที่จะมาคุยกับผม ก็ต้องเคยอ่านอยู่แล้ว

รูป 1-5

 





โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 18/09/2014 17:16:25


ความคิดเห็นที่ 155


รูปที่ 2 ไม่ขึ้น เอาใหม่

โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 18/09/2014 17:18:02


ความคิดเห็นที่ 156


2


โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 18/09/2014 17:21:21


ความคิดเห็นที่ 157


เลียนแบบ ก็คือก็อปปี๊ดีๆนี่แหละ  แค่เลี่ยงคำไปมา  ก็เหมือนเลียนแบบท่าเต้นเกาหลี แต่เอามาประยุกต์นิดๆหน่อยๆ ก็ยังใช้เค้าโครงของเขาอยู่ดี 

นักวิชาการเก่งๆระดับโลกเขาก็ออกมาวิเคราะห์ให้อ่านกันแล้วนิ ว่าก็อปหรือป่าว  ผมก็ยังงงๆ ว่าท่าน หงฉี จะแก้ต่างทำไม  ในเมื่อท่านก็แค่ชอบอาวุธจีนแค่นั้นเอง รับความจริงไปเถอะท่าน ว่าต้องมีก็อปบ้างแหละ  อย่ามัวไปเอาข่าวจากจีนมาอ้างเลย  จีนเขาสังคมนิยมนะครับ คงไม่ออกมายอมรับโต้งๆหรอก  เสียเครดิตหมด  ข้อมูลในเนต ก็คนที่ไหนไม่รู้เอามาปล่อย คุยกันไปเอง ถ้าไม่ใช่นักวิชาการยืนยันก็อย่าไปฟังมากเลยครับ

 

ถ้าผมพูดผิดก็ขออภัย  เพียงแค่ไม่อยากให้ดันทุรังกันไป

โดยคุณ end เมื่อวันที่ 19/09/2014 15:41:52


ความคิดเห็นที่ 158


อาจเป็นการสร้างกระแสชาตินิยมหรือปลุกความรักชาติ เพราะสมัยนั้นการสื่อสารยังไม่รวดเร็ว

เกาหลีเหนือเข้าชิงฟุตบอลโลก2014


โดยคุณ nathekop เมื่อวันที่ 19/09/2014 16:01:47


ความคิดเห็นที่ 159


พี่ไทยคงจะได้ Stealth ของเจแปนก็ได้ ถ้ากฏหมายเจแปนผ่านอนุมัติให้ส่งออกอาวุธ

โดยคุณ Nakarin เมื่อวันที่ 21/09/2014 00:47:09


ความคิดเห็นที่ 160


จีนขึ้นชื่อว่าก๊อปเก่ง แต่เรื่องขายชอบดาวน์เกรด(จนด้อยคุณภาพ)ตลอด

ถ้าจีนได้ SU-35 จริง คราวนี้รัสเซียคงต้องห้ามก๊อปอย่างแน่นอนครับ ไม่ห้ามคงต้องแอบก๊อปบางตัว อย่างเรดาห์นี่ล่ะครับ คราวที่แล้วจีนได้ Su-27 ผลที่ตามมาคือก๊อปไปตามน้ำฉบับจีน

โดยคุณ Jatupong เมื่อวันที่ 21/09/2014 00:53:06


ความคิดเห็นที่ 161


ขอตอบ

J10 กับ lavi แตกต่างกันมากเกินกว่าใครจะมาบอกว่า ก๊อป

ข้อมูลที่เอามาค่อนข้างหลากหลาย ไม่ได้เอามาจากจีน อย่างเดียว และที่สำคัญ ผมเอารูปมาเปรียบเทียบ และเอา ความรู้ด้าน aerodynamic มาจับ มาอธิบายประกอบ พร้อมยกข้อมูลของ lavi มาเทียบ ลองอ่านดูอีกครั้งครับ

 

อ่านเพิ่มเติม

http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2012/04/X12016225/X12016225.html

 

โดยคุณ hongse_c เมื่อวันที่ 22/09/2014 11:04:03