ญี่ปุ่นจะมาดีลเรือดำน้ำถึงไทยหรือไม่อย่างไร โปรดติดตามตอนต่อไปครับ
ญี่ปุ่นกับบทบาทผู้ค้าเรือดำน้ำในตลาดโลก
ขณะนี้เป็นที่คาดการณ์ว่า มีแนวโน้มที่ญี่ปุ่นจะขายเรือดำน้ำรุ่น Soryu-class ให้กับออสเตรเลีย ซึ่งถ้าสำเร็จจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นและออสเตรเลีย และยังเป็นก้าวสำคัญสำหรับญี่ปุ่นในการเข้าสู่ตลาดเรือดำน้ำระดับโลก
ในตลาดเรือดำน้ำแบบดีเซล-ไฟฟ้า มีผู้ค้าหลักอยู่ 3 ราย ได้แก่ เยอรมัน, ฝรั่งเศส และ รัสเซีย โดยเยอรมันมีเรือดำน้ำแบบ Type 209 เป็นสินค้าหลัก ซึ่งมีลูกค้ามากกว่าสิบประเทศ และยังมีรุ่นใหม่อย่าง Type 214 ซึ่งมีกำหนดการส่งออกไปยัง เกาหลีใต้และกรีซ
ส่วนฝรั่งเศสได้ส่งออกเรือดำน้ำแบบ Scorpene-class ไปยังมาเลเซีย, บราซิล และอินเดีย นอกจากนั้นยังมีรัสเซียซึ่งขายเรือดำน้ำแบบ Kilo-class และ Kilo-class รุ่นปรับปรุง ไปยังอีกหลายประเทศ
เมื่อเปรียบเทียบกับทั้ง 3 ประเทศแล้ว เรือดำน้ำ Soryu-class ของญี่ปุ่นมีข้อได้เปรียบหลายประการ โดยการที่ Soryu-class มีระวางถึง 4,200 ตันทำให้มันมีขนาดใหญ่กว่าเรือดำน้ำของคู่แข่งทั้งหมด ด้วยขนาดที่ใหญ่มันสามารถบรรทุกอาวุธที่มีน้ำหนักมาก และ สามารถปฏิบัติการด้วยความเงียบกว่า และมีระยะทางปฏิบัติการที่ไกลกว่าเรือดำน้ำรุ่นอื่น
นอกเหนือไปจากนั้นด้วยค่าตัวราว 500 ล้านดอลลาร์ (16,000 ล้านบาท) ทำให้มันไม่ได้มีราคาแพงไปกว่าเรือดำน้ำของคู่แข่งแต่ประการใด
แต่ก็ยังมีจุดที่ต้องแก้ไขสำหรับเรือดำน้ำของญี่ปุ่น นั่นคือ อายุการใช้งาน เนื่องจากกองกำลังป้องกันตัวเองของญี่ปุ่นวางแผนการใช้งานเรือดำน้ำของตนเพียงแค่ 20 ปี ซึ่งแตกต่างกับลูกค้าส่วนใหญ่ที่ต้องการอายุการใช้งานที่นานกว่านั้น ดังนั้นวงการอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นต้องปรับตัวให้รับกับความต้องการนี้ โดยต้องเตรียมความพร้อมด้าน อุปกรณ์, การซ่อมบำรุง และ ชิ้นส่วนอะไหล่ ไว้สำหรับการสนับสนุนประเทศลูกค้าของตน ซึ่งจุดนี้เป็นข้อแตกต่างระหว่างญี่ปุ่นซึ่งมีประสบการณ์เพียงเล็กน้อยในด้านการซ่อมบำรุงเรือดำน้ำระยะยาว กับอีก 3 ประเทศซึ่งมีชำนาญทางด้านนี้มากกว่า แต่ด้วยชื่อเสียงของวงการอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นแล้ว เชื่อว่าปัญหานี้ไม่น่ายากเกินไปในการจัดการ
คาดว่าในอนาคตญี่ปุ่นจะเป็นอีกหนึ่งผู้ค้าเรือดำน้ำรายสำคัญ ซึ่งเยอรมัน, รัสเซีย และ ฝรั่งเศสต้องจับตามอง โดยคาดว่าลูกค้าของญี่ปุ่นอาจจะเป็นประเทศในแถบลาตินอเมริกา ซึ่งจะต้องเปลี่ยนเรือดำน้ำรุ่น Type 209 ซึ่งใช้งานมานานเป็นรุ่นใหม่ หรือ อาจจะเป็นเวียดนามซึ่งจะมีตัวเลือกอื่นนอกจากเรือดำน้ำแบบ Kilo-class รุ่นปรับปรุงจากรัสเซีย
สำหรับญี่ปุ่นแล้วนับเป็นการดีที่สามารถขายเรือดำน้ำของตนให้แก่ประเทศที่กำลังมีปัญหากับจีน (เวียดนาม) นอกจากจะยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ของตนกับประเทศเหล่านี้ และ เพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่อุตสาหกรรมอาวุธของญี่ปุ่น และที่สำคัญ สำหรับญี่ปุ่นแล้วถือเป็นการได้ประโยชน์สองต่อทั้งขายเรือดำน้ำ ได้ และทำให้น่านน้ำแปซิฟิกตะวันออกกลายเป็นพื้นที่อันตรายสำหรับกองทัพจีนอีกด้วย
// ท่านใดพบข้อผิดพลาด รบกวนโต้แย้งและแก้ไข; FIAT //
http://thediplomat.com/2014/09/japan-enters-global-submarine-market-with-soryu-offering/
Soryu-class
น่าสนใจมากราคาตัวไม่หนีจากคู่แข่งเท่าไรแต่ขนาดตัวเรือใหญ่กว่า 2 เท่า ถ้าญี่ปุ่นสามารถส่งออกเรือดำน้ำได้เมื่อไหร่ กองทัพเรือควรส่งคนไปศึกษาวิชาการเรือดำน้ำที่ญี่ปุ่น(ปัจจุบันศึกษาที่เยอรมัน)แม้จะไม่มีดีลการซื้อเร็วๆนี้ก็ตาม
สาเหตุหนึ่งที่ญี่ปุ่นสร้างอาวุธมาแล้วกำหนดให้มีอายุการใช้งานแค่ 20 ปีนั้นก็เพราะญี่ปุ่นต้องการให้มีการปรับปรุงและสร้างอาวุธใหม่ๆให้ทันสมัยในทุกๆ 20 ปี อย่างของไทยเราอายุเข้าประจำการอย่างน้อย 25 ขึ้นไปอันไหนใกล้จะหมดอายุก็ modify เพื่อต่ออายุออกไปอีก +15 ปีร่วมๆแล้วก็ 40 ปีพอดี เกือบครึ่งศตวรรษ 5555
ใจจริงผมก็ชอบนะแต่มันใหญ่เกินไม่เหมาะกับสภาพทะเลในอ่าว (ถ้าอันดามันก็ OK อยู่) อย่างอ่าวไทยเราให้ใหญ่เต็มที่ก็ไม่ควรเกิน 3,000 ตัน
คิดว่านะ
เรื่องอ่าวไทยตื้นไมีตื้นเป้นเรื่องรองแล้วเรื่องหลักคือ. เรือดํานํ้าไทยจะปฏิบัติการนอกอ่าวไทยได้ใกลแค่ไหน. ผมสนับสนุนนะเรือดํานํ้าญี่ปุ่นตอนแรกกลัวเรื่องราคาแพงแต่นี่ถูกกว่าที่คิดยัไงก็ขอให้ส่งออกได้ไวๆ
postเรื่อง JMSDF submarine fleet ของคุณ Judasครับ
http://www.thaifighterclub.org/webboard/16796/55th-years-JMSDF-Submarine-Fleet.html
ขอเสริมเพิ่มเติมจากที่ท่านจูดาสสำหรับสมาชิกใหม่ที่ยังไม่ทราบข้อมูลนี้
ญี่ปุ่นในยุคสงครามโลกจัดว่าเป็นมหาอำนาจทางทะเลที่ถือว่าไม่เป็นสองรองใครในโลกครับอยู่แล้วครับ เป็นประเทศเจ้าของสถิติใหญ่ที่สุดในโลกยุคนั้นก็ญี่ปุ่นนี่แหละ เช่นเรือบรรทุกเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในโลกยุคนั้น เรือบรรทุกเครื่องบิน ชั้นชินาโนะ เครื่องประจันบัญบานก็เรือชั้นยามาโต้ เรือดำน้ำก็ชั้น อิ-400
I-400 class
SHINANO CLASS
ตอนนี้ลุ้นลำนี้ไปก่อน