หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


สื่อสหรัฐ : ต้องสนับสนุนเวียตนามต่อต้านจีน ความสงบของทะเลจีนใต้ขัดต่อผลประโยชน์ของสหรัฐ

โดยคุณ : odd เมื่อวันที่ : 04/09/2014 00:21:26

http://military.china.com/important/11132797/20140902/18755183.html

สื่อจีนพาดหัวข่าว อ้างถึงข้อเขียนของสื่อสหรัฐ ที่เขียนได้ตรงไปตรงมามาก คือ สื่อสหรัฐต้องการรัฐบาลสหรัฐให้การสนับสนุนเวียตนามต่อต้านจีน เหตุผลคือ ความสงบของทะเลจีนใต้ขัดต่อผลประโยชน์ของสหรัฐ

 

เหอๆ จะเขียนอ้อมๆหน่อยก็ไม่ได้





ความคิดเห็นที่ 1


น่าสนใจครับ ว่าแต่ขัดยังไงเหรอครับ ช่วยอธิบายหน่อย

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 03/09/2014 12:49:11


ความคิดเห็นที่ 2


ผมอ่านจีนไม่ออก วานจขกทช่วยแปลคร่าวๆ ให้หน่อยได้ไหมครับ อากู๋แปลก็ไม่ไหว

ส่วนตัวผมว่าฟังไม่มีเหตุผลนะครับ หมายความว่าแต่ก่อนหน้านี้ก่อนที่จีนจะพยายามแผ่นอิทธิพล สหรัฐฯ ก็นั่งเสียผลประโยชน์? พอจีนเริ่มมีเรื่องประเทศเล็กๆ สหรัฐฯ ได้ประโยชน์เฉย? อย่างนี้สหรัฐฯ จะไปเสือกทำไมล่ะครับ ก็ปล่อยเขาตีกันไปสิ จะได้ไม่สงบสมใจเลยสิครับ?

 

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 03/09/2014 12:49:29


ความคิดเห็นที่ 3


ขอแก้ไขความผิดพลาดสักนิด

ไม่ใช่สื่อสหรัฐเขียนเองครับ

แต่สื่อสหรัฐนำเสนอ...ข้อมูลวิจัยของหน่วยงานสหรัฐหน่วยหนึ่ง ตรงนี้ครับ http://www.cna.org/

หน่วยงานนี้เป็นหน่วยมันสมองระดับกะทิของสหรัฐ มีหน้าที่วิจัยเชิงลึก และ นำเสนอข้อคิดเห็นต่างๆแก่รัฐบาลสหรัฐ

ลองเข้าไปหาอ่านครับ หาเจอคงไม่อยากเพราะเพิ่งมีข่าวไม่กี่วันนี่เอง เกี่ยวกับข้อพิพากระหว่าง จีน-เวียตนาม ในทะเลจีนใต้ครับ

 

โดยคุณ odd เมื่อวันที่ 03/09/2014 14:50:54


ความคิดเห็นที่ 4


โอ เจอแล้วครับ 

อันนี้ครับ เพื่อมิให้ท่านที่สนใจเสียเวลา ผมเอามาปะให้เลยครับ

http://www.cna.org/news/commentary/2014-9-2-keeping-south-china-sea-perspective

Overview

The United States seeks to promote Asia-Pacific economic interdependence and dynamism and to mitigate security tensions in the region. Unfortunately, maritime territorial disputes in the East China Sea and the South China Sea increasingly threaten these dual objectives of U.S.-Asia policy. This policy brief focuses on the South China Sea set of issues.

Complex Rivalries and Claims in the South China Sea

The South China Sea disputes pit China against five other claimants—the Philippines, Vietnam, Brunei, Malaysia and Taiwan, many of which have maritime territorial claims that also overlap with each other—and involve a potent mix of:

  • Highly emotional territorial claims in a region of rising nationalism.
  • Risks of accidental conflict that could escalate.
  • Conflicting claims to potentially rich resources.
  • Risks to freedom of navigation in exclusive economic zones (EEZs).
  • Disputes over the interpretation and applicability of international law, notably the U.N. Convention on the Law of the Sea (UNCLOS).

U.S. Principles and Interests

At the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) Regional Forum meeting in Hanoi in July 2010, Secretary of State Hillary Clinton laid out the principles guiding the U.S. government’s policy toward the South China Sea. A positive U.S. role in the South China Sea is possible building on the principles that Secretary Clinton enunciated in 2010, but only if the implementing diplomatic strategy is forward-looking, comprehensive, disciplined and sound.

Recommendations for a Diplomatic Strategy

The United States should:

  • Reiterate its insistence on freedom of navigation and overflight, including in EEZs, for military as well as civilian ships and planes, and act accordingly if challenged.
  • Focus its diplomatic strategy on persuading the ASEAN countries and China to:
    • Adhere to UNCLOS criteria to delineate all South China Sea maritime rights as determined by the relevant land features; and
    • Negotiate a Code of Conduct that codifies agreed rules, procedures and regulations.
  • Ratify the U.N. Convention on the Law of the Sea.
  • Call on Beijing to clarify its position on the “nine dash line” consistent with the relevant provisions of UNCLOS. Press Taiwan to provide a similar clarification.
  • Be very disciplined in defining the key interests that it would, if necessary, use force to back up.
  • Call out all countries, not only China, when they take actions or make threats that violate the spirit of the Declaration of Conduct in the South China Sea.
  • Overall, lower the temperature of official public commentary.

- See more at: http://www.cna.org/news/commentary/2014-9-2-keeping-south-china-sea-perspective#sthash.rZvhCReq.dpuf

จะมีประโยคที่ว่า ความสงบของทะเลจีนใต้ขัดต่อผลประโยชน์ของสหรัฐ หรือไม่ ช่วยอ่านดู...หรืออาจเป็นข้อสรุปของสื่อจีนอีกที

 

 

โดยคุณ odd เมื่อวันที่ 03/09/2014 14:55:38


ความคิดเห็นที่ 5


อันนี้ภาพเวียตนามกำลังถมเกาะในทะเลจีนใต้ ชัดว่าไม่ใช่ที่ประเทศจีนทำประเทศเดียว

http://slide.mil.news.sina.com.cn/h/slide_8_31042_31487.html#p=1

 

โดยคุณ odd เมื่อวันที่ 03/09/2014 14:58:29


ความคิดเห็นที่ 6


แน่นอนว่าการยุยงให้ประเทศเล็กๆน้อยทะเลาะกันสหรัฐจะได้ประโยชน์

เอาสิ่งที่มองเห็นได้ง่ายๆ คือ พวกอาวุธยุทโปกรณ์ต่างๆนี่แหละ ยิ่งมีการรบมากเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น เพราะ....

ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ตลาดหุ้น ธนาคารสหรัฐล้มคลื่น ประชาชนตกงานเป็นเบือ แต่....

พอสหรัฐเข้าสู่สงครามเท่านั้น ทุกคนมีงานทำแม้แต่ผู้หญิงยังมาทำงานบรรจุระเบิดได้ ในตอนนี้สหรัฐกำลังแย่ ถ้าจะยุให้เขารบกันหรือจะเข้าสู่่สนามรบด้วยตัวเองก็คงไม่แปลก เงินทั้งนั้น

โดยคุณ kakachi เมื่อวันที่ 03/09/2014 18:25:58


ความคิดเห็นที่ 7


ไม่มีเลยครับ ไม่ได้พูดเรื่องได้ประโยชน์อะไรทั้งสิ้นเลยครับ หลักๆ ก็พูดเรื่องนโยบายสหรัฐฯ ควรเป็นอย่างไรในทะเลจีนใต้

ถ้าจะจุดประเด็นเรื่องสหรัฐฯ ได้ผลประโยชน์จากความไม่สงบในโลกนั้น ก็ไม่ต้องเจาะจงทะเลจีนใต้หรอกครับ ก็ทั้งโลกนั้นแหละ ส่วนเมื่อครั้งสงครามโลกนั้นเศรษฐกิจฟื้นเพราะการลงทุนของรัฐ(ด้านสงคราม) ซึ่งจะให้รัฐลงทุนด้านอื่นด้านอะไรเศรษฐกิจก็ฟื้นหมดแหละครับ แถมถ้าลงทุนเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานประเทศจะได้ประโยชน์มากกว่านั้นอีก 

ปล. คือสรุปคุณ odd อ่านภาษาจีนคล่องใช้ไหมครับ?

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 04/09/2014 00:21:26