Military technology lover club> จาก facebook ท่าน Cha Futrakul
ณ ขณะนี้ .... 3 ลำ หรือป่าว ไม่เเน่ใจ ..
1
3
เป็นUH-60Mครับ
ก็ว่าเหมือนกันว่าเรามีตัวสเป็คนี้ด้วยเหรอ
MH-60M เป็นตัว Modernize ของ UH-60M ครับใช้ Glass cockpit แล้วก็เครื่องยนต์คนละตัว.. เป็นรุ่นสำหรับ Special operations สรุปก็คือใหม่ล่าสุดน่าจะอย่างนั้นนะ...เห็นว่า UH-60M ของสหรัฐจะอัพเกรดทั้งหมดให้เป็น MH-60M ภายในปี 2015
UH-60Mนั่นแหละครับ มีglass cockpitเป็นมาตรฐานอยู่แล้ว
ว่าแต่จริงเหรอที่อเมริกาจะเปลี่ยนเป็นMH-60Mหมด เพราะของเรายังผลิตล็อตเดียวกับอเมริกาเลยนี่ แถมปัจจุบันMH-60Mมีแค่ในUSSOCOMเองนี่?
ตามข้อมูลที่ติดตามมา ทบ. สั่งซื้อ UH-60M จำนวน 3 ครั้ง รวม 7 ลำ
ครั้งที่ 1 จำนวน 3 ลำ น่าจะส่งมอบปี 2014
ครั้งที่ 2 จำนวน 2 ลำ น่าจะส่งมอบปี 2015
ครั้งที่ 3 จำนวน 2 ลำ น่าจะส่งมอบปี 2016
รวมแล้ว ทบ. จะมี ฮ.ตระกูล Black Hawk จำนวน 16 ลำ
เป็น UH-60L จำนวน 6 ลำ
UH-60HL จำนวน 3 ลำ
และ UH-60M จำนวน 7 ลำ
ที่ว่ารวม 16 ลำนี่นับที่ตกไปในป่าแก่งกระจานเมื่อปีก่อนด้วยหรือเปล่าครับท่าน Juldas
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.378203782299208.1073741825.203323443120577&type=3
ตามนี้หรือเปล่าครับ
ตกลงเที่ยวนี้มากี่ลำเนี่ยเหมือนจะถ่ายอยู่แค่ลำเดียว จมูกก็ไม่มีแตงโมจินตหราติดมาด้วย ชิ :(
หักลำที่ตกแล้วครับ
ส่วนลำที่จมูกโต เป็น รุ่น L รุ่นสุดท้ายของการผลิต น่าจะเป็น รุ่นเดียวกับ บราซิล ซึ่ง บราซิล เรียกว่ารุ่น HL
ส่วนลำนี้ คงจะเป็น รุ่น M ใหม่ล่าสุด
รุ่น L ของเดิม จำนวน 6 ลำ
รุ่น L ล็อตสุดท้ายของการผลิต จำนวน 3 ลำ (จมูกโต)
รุ่น M จำนวน 7 ลำ ลำนี้ คงเป็น Lot แรก ของุร่น M
UH-60HL ของ ทบ.บราซิล
ขออนุญาตดึงข้อมูลใน face book มาให้อ่านเลย จากภาพข่าว spring news
10/04/2556 15.10 น. UH-60L จำนวน 3 ลำ ของกองทัพบกไทย เดินทางมาถึงประเทศไทยแล้ว กองทัพบกสหรัฐส่งมอบ UH-60L Black Hawk จำนวน 3 ลำ ให้กับกองทัพบกไทยที่ท่าเรือแหลมฉบังเมื่อวานนี้ โดยการจัดหา UH-60L ในครั้งนี้เพื่อเป็นการทดแทน UH-1H ที่กำลังทะยอยปลดประจำการในกองทัพบกไทย ซึ่งจะทำให้จำนวน UH-60L ของกองทัพบกไทยในปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 9 ลำ ในปี 2552 รัฐสภาสหรัฐฯ ได้อนุมัติให้กองทัพบกไทยจัดหา UH-60L จำนวน 3 ลำ โดยกองทัพบกได้ลงนามจัดหาในภายหลัง และบริษัทผู้ผลิต Sikorsky ได้ส่ง UH-60L ทั้ง 3 ลำมายังประเทศไทยในเมื่อวานนี้ ซึ่งปีใน 2555 กองทัพบกได้ลงนามในสัญญาจัดหา UH-60M จำนวน 2 ลำ และจัดหาเพิ่มเติมอีก 1 ลำ ต่อมา รัฐสภาสหรัฐฯ ได้อนุมัติให้กองทัพบกไทยจัดหา UH-60M เพิ่มเติมอีก 4 ลำ UH-60L (ฮ.ท.60แอล) ทั้ง 3 ลำ ที่ ทบ.ไทย พึ่งได้รับมอบนี้ (ลำที่ 8, 9 และ 10 แต่จำนวนรวม คือ 9 ลำ เพราะ ทบ. สูญเสีย UH-60L ไป 1 ลำ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2554) รัฐสภาสหรัฐฯ ได้อนุมัติให้ ทบ.ไทยจัดหาเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2552 และเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2553 ครม.ได้อนุมัติให้ ทบ. จัดหาได้ ตามโครงการ ฮ.ใช้งานทั่วไป ระยะที่ 1 ห้วงที่ 1 ในวงเงิน 2,000 ล้านบาท (ลำละประมาณ 23 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ปี 2553-2555 รับมอบเครื่องในปี 2556 ทั้งนี้ UH-60L ดังกล่าว จะต่างจาก UH-60L ที่ ทบ.ไทย มีประจำการอยู่ในปัจจุบัน คือ (1) ใช้เครื่องยนต์ T700-GE-701D (รุ่น D) ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องยนต์เดิม คือ T700-GE-701C (รุ่น C) แต่ ฮ.ทั้ง 3 ลำ นี้ จะยังคงใช้ระบบควบคุมเครื่องยนต์ DEC ของรุ่น C อยู่ ซึ่งจะเหมือนกับ ฮ.S-70i (2) ติดตั้งเรดาร์ตรวจอากาศเส้นทางบิน (weather radar) ที่หัวเครื่อง ซึ่ง ThaiArmedForce คาดว่าน่าจะเป็นเรดาร์ Primus 700A ของบริษัท Honeywell ที่นิยมติดตั้งใน ฮ. ตระกูล H-60 ของกองทัพสหรัฐฯ (3) มีรอกกู้ภัยแบบถอดเข้า/ออกได้ ติดตั้งภายในห้องโดยสาร นอกจากนั้นระบบต่างๆ ยังเหมือนกับ UH-60L เดิม เช่น เครื่องตอบรับสัญญาณพิสูจน์ฝ่าย AN/APX-101 ของบริษัท Northrop Grumman เป็นต้น ต่อมา เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2554 รัฐสภาสหรัฐฯ ได้อนุมัติให้ ทบ.ไทย จัดหา ฮ.ท.60 รุ่นล่าสุด คือ UH-60M (ฮ.ท.60เอ็ม) จำนวน 3 ลำ และ ทบ.ไทย จะเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มี ฮ.รุ่นล่าสุดนี้ใช้งาน แต่เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554 ครม.ได้อนุมัติให้ ทบ. จัดหาก่อนเพียง 2 ลำ ตามโครงการ ฮ.ใช้งานทั่วไป ระยะที่ 1 ห้วงที่ 2 ในวงเงิน 2,841 ล้านบาท (ลำละประมาณ 48 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ปี 2554-2556 โดย ทบ. ได้ลงนามในสัญญาจัดหา (LOA) UH-60M จำนวน 2 ลำ ที่ได้รับอนุมัติ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2555 ซึ่งคาดว่า ทบ. จะได้รับมอบในปี 2558-59 ทั้งนี้ในวันที่ 23 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา ทบ. สหรัฐฯ ได้ว่าจ้างบริษัท Sikorsky ให้ติดตั้งระบบเอวิโอนิกส์ให้กับ UH-60M ตัวเปล่า (Green Aircraft) ของ ทบ.ไทย จำนวน 2 ลำ ThaiArmedForce เชื่อว่า น่าจะเป็น UH-60M 2 ลำแรก ที่ ทบ. ลงนามจัดหาไปก่อน หลังจากนั้น เมื่อ 18 กันยายน 2555 ครม. ได้อนุมัติให้ ทบ.จัดหา UH-60M อีก 1 ลำ ที่เหลืออยู่จากที่รัฐสภาสหรัฐฯ อนุมัติไว้ 3 ลำ ในปี 2554 ตามโครงการ ฮ.ใช้งานทั่วไป ระยะที่ 1 ห้วงที่ 3 ในวงเงิน 1,500 ล้านบาท (ลำละประมาณ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ปี 2555-2557 ซึ่งคาดว่า ทบ. ได้ลงนามในสัญญาจัดหา (LOA) ไปแล้วเมื่อช่วงปลายปี 2555 ที่ผ่านมา โดย ทบ. น่าจะได้รับมอบ UH-60M ลำที่ 3 ในช่วงเวลาไม่ต่างจากลำที่ 1 และ 2 มากนัก ล่าสุด เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2555 รัฐสภาสหรัฐฯ ได้อนุมัติให้ ทบ.ไทย จัดหา UH-60M อีกครั้ง จำนวน 4 ลำ ThaiArmedForce คาดว่า ทบ. จะเสนอเรื่องเข้าสู่ ครม. เพื่ออนุมัติโครงการต่อไป ซึ่งอาจจะเป็นงบประมาณผูกพันเริ่มใหม่ของปี 2556 นี้ โดย ทบ. อาจจะแบ่งซื้อครั้งละ 2 ลำ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพงบประมาณ ข้อแตกต่างของ UH-60L และ UH-60M นั้น มีข้อแตกต่างที่สังเกตได้จากภายนอก คือ (1) stabilator (แพนหางระดับ) จะสามารถพับได้ในรุ่น M จากเดิมที่รุ่น L ไม่สามารถพับได้ และ stabilator ของรุ่น M จะไม่มีมุมเอียง แต่เป็นแผ่นสีเหลี่ยมมุมฉาก (2) Infared suppressor (อุปกรณ์ลดการแผ่รังสีอินฟาเรด) ที่ติดตั้งบริเวณท่อไอเสียเครื่องยนต์ ของรุ่น M จะมีรูปร่างต่างไปจากเดิม ทั้งนี้ ทบ.ไทยจัดหา UH-60L/M Black Hawk ผ่านระบบการส่งออกอาวุธให้ต่างประเทศ (Foreign Military Sale: FMS) ของรัฐบาลสหรัฐฯ โดยกองทัพบกสหรัฐเป็นผู้สั่งซื้อ บริหารสัญญา ส่งมอบ และฝึกกำลังพลให้กับ ทบ.ไทย ด้วยคำสั่งซื้อทั้งหมดจะทำให้ ทบ.ไทย มี ฮ. UH-60L จำนวน 9 ลำ จากเดิมที่มีอยู่ 6 ลำ (หักลำที่ตกจำหน่ายไปแล้ว) และจะมีคำสั่งซื้อ UH-60M ที่รอการลงนามและรอการผลิตส่งมอบอีก 7 ลำ จะทำให้หลังสิ้นสุดสัญญาต่างๆ ทบ. ไทยจะมี UH-60L/M รวม 16 ลำ ทั้งนี้ตามจำนวนความต้องการจัดหา ฮ.ใช้งานทั่วไปทดแทน ระหว่างปี 2554-2563 ทบ. ต้องการ ฮ.ท.60 ทั้งหมด 7 ลำ (ไม่รวม UH-60L ที่พึ่งได้รับมอบ เพราะเริ่มจัดหาตั้งแต่ปี 2553) การจัดซื้อทั้งหมดจะเป็นไปตามแผน คือ ระหว่างปี 2555-2557 จำนวน 3 ลำ (UH-60M ลงนามครบแล้ว) ระหว่างปี 2558-2560 และ 2561-2563 ช่วงละ 2 ลำ (UH-60M รอ ครม.อนุมัติ) อย่างไรก็ดี จากแผนความต้องการจัดหา ฮ.ใช้งานทั่วไปทดแทน (ปี 2554-2563) ทบ. ต้องการ ฮ. ทั้งหมด 30 ลำ แต่ด้วยงบประมาณตามแผนที่มีเพียงราว 15,500 ล้านบาท จึงไม่สามารถจัดหา ฮ.ท.60 ได้ทั้งหมด ทบ. คาดการณ์ราคา ฮ.ท.60 เอาไว้ลำละ 1500 ล้านบาท (50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ถ้าจัดหา 7 ลำตามแผนดังกล่าว ทบ. จะใช้งบประมาณราว 10,500 ล้านบาท ทบ. จึงต้องจัดหา ฮ.ท. แบบอื่นๆ ให้ได้ 23 ลำ ในวงเงิน 5,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ยแล้วตกลำละ 217 ล้านบาท (ประมาณ 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งราคานี้จะใกล้เคียงกับ ฮ. แบบ UH-72A Lakota ที่เป็น ฮ.ใช้งานทั่วไป ที่มีขนาดพอๆ กับ UH-1H (ฮ.ท.1) ที่ ทบ. จะปลดประจำการทั้งหมดในอนาคต มากกว่า ฮ.ท.60 ที่ ทบ. จัดหาอยู่ในปัจจุบัน
ตัวย่ออักษรของ เฮลิคอปเตอร์
M ตัวหน้า หมายถึง Multimission (หลากภาระกิจ)
U ตัวหน้า หมายถึง Utility (ใช้งานทั่วไป)
H ตัวถัดมา หมายถึง Helicopter
60 หมายถึง แบบที่ 60
L หรือ M ตัวสุดท้าย หมายถึง รุ่น เรียงตามลำดับตัวอักษร ยกเว้น ตัวอักษร บางตัว เช่น F, S กับ J ที่จะใช้สำหรับ ทางเรือ
เช่น F = ประจำ ฟริเกต Frigate หรือ S = ในงานทะเล Sea หรือ J จะใช้กับหน่วย ยามฝั่ง
ลำที่ ทบ. สั่งซื้อ คือ UH-60M
ความหมาย ก็คือ Utility Helicopter 60 Model M
ซึ่ง ไม่ใช่ MH-60M
ความหมาย คือ Multimission Helicopter 60 Model M
ดังนั้น ความแตกต่างใน คุณลักษณะของ เฮลิคอปเตอร์ จึงยังมีอยู่พอสมควร
UH-60 L/M จึงคงน่าจะเป็นเพียง ฮ.ขนส่ง กับ ลำเลียง เท่านั้น
โดย ฮ. ที่จะเป็น Gunship หรือ สนับสนุนการรบ คงจะเป็น หน้าที่ของ Bell-212 ที่กำลังปรับปรุง
แบบ ของ H-60
บรรทัดบนสุด หมายถึง ตัวอักษรนำหน้าตัว H
ตายห่าน นี่เราเข้าใจผิดมาตลอด 55555
ภาพรวม UH-60 L/M ของ ทบ.ไทย
ข้อสังเกตุ ลักษณะ ภายนอก ระหว่าง L กับ M
UH-60M
UH-60M สำหรับ ทบ.ไทย ก็คงใช้ลักษณะการขนส่งและลำเลียง กำลังพล เป็นลักษณะ ปกติ
ตามภาพจะเป็นของ สวีเดน
ของเรารุ่นธรรมดาครับ ไม่มี MH พวก MH นี่ติดอะไรเยอะแยะ ใช้สำหรับพวกรบพิเศษ หรือ SAR
สรุป ทบ. มีแบล้กฮอร์ก จมูกโด่งหลุดมา 3 ลำ อิอิ
เมื่อเดือน ก.ค.57 ประเทศ ตูนีเซีย ขอซื้อ UH-60M จำนวน 12 ลำ ประมาณมูลค่าโครงการ 700 ล้านเหรียญสหรัฐ (ถัวเฉลี่ย 58.33 ล้านเหรียญ ต่อ ลำ)
เห็นราคา แล้ว หารต่อลำ ออกมา จะได้ราคาใกล้เคียงกันกับ ทบ.ไทย จัดหา (จัดหา 4 ลำ มูลค่า 235 ล้านเหรียญ ถัวเฉลี่ย 58.75 ล้านเหรียญ)
ทบ.ไทย คงต้อง สะอื้น เพราะดู ออฟชั่น เขาซิ....
WASHINGTON, Jul 24, 2014 – The State Department has made a determination approving a possible Foreign Military Sale to Tunisia for UH-60M Black Hawk helicopters and associated equipment, parts, training and logistical support for an estimated cost of $700 million. The Defense Security Cooperation Agency delivered the required certification notifying Congress of this possible sale on July 23, 2014.
The Government of Tunisia has requested a possible sale of 12 UH-60M Black Hawk Helicopters in standard USG configuration with designated unique equipment and Government Furnished Equipment (GFE), 30 T700-GE-701D Engines (24 installed and 6 spares), 26 Embedded Global Positioning Systems/Inertial Navigation Systems, 24 M134 7.62mm Machine Guns, integration of Precision Guided Rocket System capability to permit launch of laser-guided variants of 2.75 rockets, 9,100 2.75 Hydra Rockets, 100 AGM-114R Hellfire Missiles, 20 M299 Hellfire Missile Pods, 24 M261 Hydra-70 Rocket Pods, 24 GAU-19 .50 cal Machine Guns, 15 Wescam MX-15Di or Brite Star II Electro-Optical Infrared Laser Designators, 6 Aviation Mission Planning Systems, 1 Aviation Ground Power Unit, 30 AN/AVS-9 Night Vision Goggles, 15 AAR-57 Common Missile Warning Systems, 15 AN/APR-39A(V)4s Radar Warning Receivers, 15 AN/AVR-2B(V)1s Laser Warning Systems, 30 MXF-4027 Very High Frequency/Ultra High Frequency radios, 15 AN/APX-117 IFF Transponders, 15 Very High Frequency/Digitally Selective Calling radios, 15 ARN-147 VOR/ILS, 15 AN/ARN-153 Tactical Air Navigation Systems, and 15 AN/ARC-220 radios. Also included are aircraft warranty, ammunition, air worthiness support, facility construction, spare and repair parts, support equipment, communication equipment, publications and technical documentation, personnel training and training equipment, site surveys, tool and test equipment, U.S. Government and contractor technical and logistics support services, and other related element of program and logistics support. The estimated cost is $700 million.
This proposed sale will contribute to the foreign policy and national security of the United States by helping to improve the security of a friendly country in North Africa.
The proposed sale will improve Tunisia’s capability to deter regional threats and strengthen its homeland defense, as well as support counter-terrorism operations. The sale of these UH-60 helicopters will bolster Tunisia’s ability to provide border patrol, rapid reaction, and field expedient medical evacuation for its air and ground forces in counter-terrorism and border security operations.
The proposed sale of this equipment and support will not alter the basic military balance in the region.
The principal contractors will be Sikorsky Aircraft Company in Stratford, Connecticut; and General Electric Aircraft Company in Lynn, Massachusetts. There are no known offset agreements in connection with this potential sale.
Implementation of this proposed sale may require the assignment of an additional three U.S. Government and five contractor representatives in Tunisia to support the delivery and training for approximately two-five years.
There will be no adverse impact on U.S. defense readiness as a result of this proposed sale.
This notice of a potential sale is required by law and does not mean the sale has been concluded.
All questions regarding this proposed Foreign Military Sale should be directed to the State Department's Bureau of Political Military Affairs, Office of Congressional and Public Affairs, pm-cpa@state.gov.
เอ้าแล้วอะไรทำให้มันต่างกันขนาดนี้ล่ะครับหรือว่าเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้วย ???
ไม่ไช่เรื่องของความสัมพันธุ์อะไรหรอกก็คงเรื่องเดิมๆนี่แหละ ว่าแต่น่าอิจฉาจังเลยน้าาา อยากไห้เราได้เต็มสูบแบบนี้บ้างจัง
จากการที่ สหรัฐ ยังส่งมอบ UH-60M ให้ ทบ.ไทย ผมคิดว่า ในเรื่องความสัมพันธ์ น่าจะตัดออกไปได้ น่าจะไม่เกี่ยวข้อง
ตอนนี้ ที่วิเคราะห์ โดยความเห็นส่วนของผมว่า
น่าจะเป็นว่า ผู้จัดหา น่าจะไม่มีความเข้าใจในการซื้ออาวุธจาก สหรัฐ คล้าย ๆ กับว่า สหรัฐ ระบุราคามาตรฐานไว้ ก็สั่งซื้อในราคามาตรฐาน โดยไม่ได้ขอพวงอุปกรณ์ หรือ เจรจาขอเพิ่มเติมจัดซื้อในลักษณะครบเซต จึงได้ ดีล ในราคาที่สูง
ถ้าดูจาก แผ่นภาพ ที่ผมทำ อาจจะเห็นดูว่า ส่วนประกอบของ ดีล ตูนีเซีย ดูเยอะมาก
แต่ถ้า เราลองพิจารณาดี ๆ แล้วพอจะเข้าใจได้ว่า อุปกรณ์ที่ประกอบเพิ่มของ ดีล ตูนีเซีย นั้น น่าจะเป็น ส่วนของเหลือใช้ หรือส่วนเกินของ กองทัพสหรัฐ อยู่แล้ว เพราะอุปกรณ์ข้างต้นนั้น ก็เป็นอุปกรณ์มาตรฐานของกองทัพสหรัฐ
ตามประโยคขอซื้อที่ว่า in standard USG configuration คือ ตูนีเซีย น่าจะรู้จัก ระบบวิธีการจัดหาจากสหรัฐ มากกว่า จึงจัดหา UH-60M มาได้ในลักษณะ Gunship เลยทีเดียว
และเมื่อเทียบกับการจัดหา MH-60S ของ ทร. จะมีมูลค่าโครงการอยู่ประมาณ 246 ล้านเหรียญสหรัฐ ในจำนวน 6 ลำ หรือถัวเฉลี่ยออกมา ลำละประมาณ 41 ล้านเหรียญ ราคาโดยรวมก็จะถูกกว่า UH-60M ถัวเฉลี่ยลำละ 17 ล้านเหรียญ ทั้ง ๆ ที่ก็เป็น ฮ. ในคลาสเดียวกัน
หรือถ้าจะบอกว่า UH-60M มีความทันสมัยกว่า MH-60S มูลค่าความทันสมัย ก็ไม่น่าจะแตกต่างกันถึง 17 ล้านเหรียญต่อลำ ซึ่งการจัดหาของ ทร. นั้น ก็ผ่านกระบวนการจัดหา โดยมี สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์กองทัพเรือ เป็นหน่วยสรรหา ซึ่งอาจจะมีข้อมูลในการเจรจาขอซื้อ ถึงได้ในราคาดังกล่าว
ในความเห็นส่วนตัวผมว่า น่าจะเป็นในเรื่องหน่วยจัดหาของ ทบ. ไม่เจรจาต่อรอง หรือ อาจจะไม่ลึกซื้งกับ ระบบวิธีการจัดหาอาวุธจากสหรัฐ หรือเปล่า ?
ยุคนี้ และในอนาคต การจัดซื้อจัดจ้าง ควรทำอะไรให้โปร่งใส ตรวจสอบได้ แจกแจงได้ถึงที่มาที่ไป และจำนวนเงินภาษี ปชช. ที่เสียไป โอกาสก็อยู่ในมือท่านแล้ว ก็ควรทำอะไรให้ถูกต้องครับ อย่าให้อึมครีมเหมือนในอดีต
แบล๊คฮอว์คตัวจมูกยาวของเราในเพลทบอกรุ่นเครื่องก็แสดงว่าเป็นuh60lนะครับไม่ได้มี่ว่าhlตามที่ว่าไว้ข้างบน ส่วนรุ่นเอ็มที่ไปถามๆมาเอาสเปคที่ลงรูปข้างบนให้ดูผมไปถามช่างที่เรียนนอกมาเขาก็บอกระบบวิทยุเราก็ได้ตามนั้นละครับ ยกเว้นเฟลอร์ระบบอาวุธต่างๆ ส่วนกล้องnvgเราก็มีavs9 v3หรือv4ผมไม่แน่ใจ ผมถามมาว่าสเปคเราเหมือนไอ้กันไหม ตอบเหมือนกันครับระบบต่างๆยกเว้นระบบปลีกย่อยต่างๆออกไป ส่วนแพงไม่แพงผมก็ไม่แน่ใจครับแต่อย่าลืมว่ารวมไปถึงงบฝึกนักบินช่าง และหัวซิมด้วยนะครับ เคยได้ยินมาว่าการจัดซื้อผ่านระบบfms โอกาสที่จะมีกินค่าหัวคิวมันยากนี่ครับเพราะรัฐบาลไทยกับสหรัฐทำสัญญารัฐต่อรัฐใช่หรือเปล่าครับ
ในความเห็นข้างต้นนั้น
ไม่ได้หมายถึง มีการกินหัวคิว หรืออะไรครับ
แต่เป็นการ กล่าวถึงว่า สหรัฐ คงกำหนดราคากลางมาแล้ว คือ ถ้าซื้อยังไง ก็ราคาไปต่ำกว่านี้ หรือ แตกต่าง มากขึ้น หรือ ลดลง ไปมากกว่านี้ เท่าไหร่ครับ แต่ในเรื่อง การต่อรอง เจรจา เพื่อให้ได้อุปกรณ์บางอย่าง มันจะมีเงื่อนไขในการซื้อหลาย ๆ แบบ ครับ
เช่น ถ้าซื้อในลักษณะนี้ จะได้แบบหนึ่ง หรือ ถ้าซื้อในอีกลักษณะหนึ่ง จะได้แบบสอง โดยอยู่ในราคาโครงการไม่เกิน เท่าเดิม ซึ่งมันน่าจะอยู่ที่ว่า เราจะเจรจาหรือขอเพิ่มเติมอะไร หรือเพื่อขอชำระเงินน้อยลง
โดยราคาในข่าวข้างต้น เป็นแค่ ราคาประเมิน หรือ ประมาณ เท่านั้น จะยังไม่ใช่ราคาที่แท้จริง โดยส่วนใหญ่ ราคาจริง ก็จะต่ำกว่าตามราคาประมาณโครงการ แต่ก็เช่นเดียวกันว่า ตูนีเซีย ก็จะได้ราคาที่ต่ำกว่าราคาประมาณโครงการในลักษณะเดียวกันเช่นกัน
ซึ่งเมื่อดูถึง งบประมาณตาม พรบ.งบประมาณปี 2557 มูลค่าการจัดหาของ ทบ. สำหรับรุ่น M จำนวน 3 ลำ แรก ราคาเป็น เหรียญสหรัฐ ก็จะอยู่ ประมาณ 48 ล้านเหรียญสหรัฐ ต่อ ลำ (ตามข่าวราคาประมาณโครงการ ของ 3 ลำแรก อยู่ ประมาณ 60 ล้านเหรียญต่อลำ) แต่ราคาก็ยังสูงกว่า MH-60S ของ ทร. อยู่เช่นกัน โดย MH-60S ของ ทร. จะอยู่ประมาณ 36 ล้านเหรียญสหรัฐ ต่อ ลำ (ตามข่าวราคาประมาณโครงการ ประมาณ 41 ล้านเหรียญต่อลำ)
ส่วน UH-60HL นั้น ผมได้ชี้แจงไว้แล้วครับว่า ผมเรียกตาม ประเทศบราซิล เพื่อให้เข้าใจง่าย และเห็นภาพ เพราะ L ทั้ง 2 รุ่น ของ ทบ. คือ รุ่นเก่า 6 ลำ กับ รุ่นใหม่ 3 ลำ มันมีความแตกต่างกันอยู่
ซึ่ง HL ผมก็เอามาตามนี้ครับ เพราะของ บราซิล กับ ทบ.ไทย ก็น่าจะเป็น รุ่นการผลิตเดียวกัน คือ ล็อตสุดท้าย
https://pbrasil.wordpress.com/2009/09/15/fab-compra-mais-6-uh-70l-black-hawks/
อันนี้เป็น ข้อมูล ยกตัวอย่าง นะครับ ไม่ใช่ ข้อมูลที่ว่า ความคิดผมถูกต้อง แต่อย่างใด เป็นแนวคิด ข้อสงสัย ว่า เราซื้อ UH-60M แพงไปหรือไม่ ?
เป็นข้อมูลเกี่ยวกับ UH-60M ที่เปิดเผย ประมาณปี 2013 ตามภาพก็จะเห็นว่า ต้นทุน ตามโครงการ FMS ของ สหรัฐ ที่ขายให้นั้น ต้นทุน UH-60M ของ ไทย จะอยู่ประมาณลำละ 31 ล้านเหรียญสหรัฐ ( งบประมาณตาม พรบ.งบประมาณ คำนวณที่อัตราแลกเปลี่ยน 30 ถึง 30.50 บาท ต่อ เหรียญ จะได้ประมาณ ลำละ 48 ล้านเหรียญสหรัฐ )
นั่น หมายถึง โครงการ FMS ที่ สหรัฐ ขายให้ ไทย จะมี ผลต่าง ลำละประมาณ 17 ล้านเหรียญ
ซึ่ง ผลต่าง ตรงนี้ หรือเปล่า ที่ ตูนีเซีย ใช้ในการขอ อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ซึ่งก็จะทำให้ ผลต่าง ที่ สหรัฐ จะได้น้อยลงไป แต่ก็ยังมีผลต่าง อยู่ ซึ่งอุปกรณ์ที่ ตูนีเซีย ขอซื้อรวมด้วย ก็เป็นจัดว่าเป็น Gunship ได้เลย
แต่ ไทย ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในจุดนี้ หรือเปล่า ซึ่งเป็น ข้อสังเกตุ ของผม เท่านั้นครับ
ส่วนของ ทร. สำหรับ MH-60S ผมว่า ราคาก็น่าจะใกล้เคียงกัน คือ ต้นทุน FMS น่าจะอยู่ประมาณ 30 ล้านเหรียญ แต่ สหรัฐ อาจจะได้ผลต่างจาก ดีล นี้ ลำละ 5-6 ล้านเหรียญ (คำนวณลักษณะเดียวกัน MH-60S จะอยู่ประมาณ 36 ล้านเหรียญสหรัฐ)
เห็นเว๊ปไไทยดีเฟ้นด์นิวส์ลงข่าวกองทัพเรือลงนามจัดซื้อ ฮ. EC645 ของแอร์บัสจำนวน 5 ลำ เพื่อใช้เป็น ฮ.ลำเลียง พอ ทบ.ซื้อ ลาโกต้า ทร.ก็เลยเอามั้ง