หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


กองทัพเรือมาเลเซียแสดงข้อมูลเรือLCSอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก

โดยคุณ : superboy เมื่อวันที่ : 31/08/2014 07:12:14

มาเลยเซียซื้อเรือLittoral Combat Ship(ตามโครงการSecond Generation Patrol VesselหรือSGPV ที่ปรับปรุงมาจากเรือคอร์เวตGowind)จากDCNSจำนวน6ลำด้วยกัน ตัวเรือยาว111เมตร ระวางขับน้ำ3,100ตัน ติดปืน57mm Mark 3รูปทรงเสตทธ์1กระบอกด้านหน้า ปืนกล30มมจากMSIเหมือนกองทัพเรือเราจำนวน2กระบอกเหนือโรงเก็บฮ. โดยใช้เรดาร์ควบคุมการยิงจากRheinmetallซึ่งน่าจะทั้งด้านหน้าและด้านหลัง2ตัว

 

ติดเรดาร์ SMART-S Mk2 โซนาร์ลากท้าย CAPTAS-2 และตอร์ปิโดเบา2แท่นยิงไม่แน่ใจว่า3หรือ2ท่อ ระบบอำนวยการรบแบบSETIS น่าจะใช้จรวด MM40 Block 3 และ VL Mica จากMBDA เครื่องยนต์ดีเซลจากMTUข้อมูลหลักๆก็มีเท่านี้

 

อันที่จริงก็ไม่ได้มีอะไรแปลกไปจากที่รู้ๆกันเลยมันเป็นการเปิดเผยแบบเป็นทางการยังไงหนอ(น่าจะมีข้อมูลแบบละเอียดตามมาอีกทีอย่างน้อยก็เหมือนหรือใกล้เคียงเรือฟริเกตเรา) ที่ดูแตกต่างออกไปบ้างก็คือภาพหอบังคับการณ์ของเรือและขนาดที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆจนเทียบเท่าเรือฟริเกตแล้วนะครับ จำราคาไม่ได้แล้วแต่น่าจะแพงกว่าเรือเราเล็กน้อย

 

http://www.navyrecognition.com/index.php?option=com_content&task=view&id=1969





ความคิดเห็นที่ 1


คลิปวิดีโอจากงานDSA 2014ครับ ไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่แต่เห็นเคยลงข่าวเรือลำนี้มานานและข่าวของมาเลเซียช่วงนี้เงียบมาก เรือลำแรกมีกำหนดปล่อยลงน้ำเดือนธันวาคมปี2018 ใกล้เคียงกับกำหนดการส่งมอบเรือที่เสร็จสมบรูณ์แล้วของเราถ้าไม่มีดีเลย์นะ

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 27/08/2014 17:17:20


ความคิดเห็นที่ 2


เสร็จสมบูรณ์คงอีกนานนะครับ แต่เรือนเรศวรของเราไม่รู้ความคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว เห็นเงียบไปเลย

โดยคุณ Nakarin เมื่อวันที่ 27/08/2014 17:41:05


ความคิดเห็นที่ 3


ตามข่าวเรือLCSจะได้รับการต่อภายในประเทศมาเลเซียเอง โดยอู่ต่อเรือBoustead Naval Shipyard Sdn Bhd ที่เคยฝากผลงานกับเรือOPV ชั้น Kedah class หรือ MEKO100 จำนวน4ลำจาก6ลำมาแล้ว

 

นอกจากมาเลเซียแล้วDCNSฝรั่งเศสเพิ่งได้ลูกค้ารายใหม่ไปเมื่อเดือนมิถุนายน2014ที่ผ่านมา กองทัพเรืออียิปต์ได้เซ็นสัญญามูลค่า1พันล้านยูโรสำหรับเรือคอร์เวต Gowind class จำนวน4ลำติดMM40 Block 3และVL Micaเช่นกัน แปลงเป็นเงินดอลล่าร์ตกอยู่ที่320ล้านเหรียญต่อลำ ราคาถูกกว่าLCSของมาเลเซียประมาณ100ล้านเหรียญ คงเป็นเพราะขนาดเล็กกว่ากันพอสมควรและไม่มีASW Suiteกับโซนาร์ลากท้ายCAPTAS-2นั่นเอง Gowind classมีขนาดตั้งแต่1,000-3,000ตัน ปัจจุบันขายได้แล้ว11ลำนับว่าไม่เลวเลยทีเดียว

 

ข่าวในวันนี้เองDCNSฝรั่งเศสเสนอขายเรือฟริเกตอเนกประสงค์ชั้นFREMM กับกองทัพเรือซาอุดอาระเบียจำนวน6ลำ ในสัญญารวมไปถึงการบำรุงรักษาเรือฟริเกตชั้นMadinaจำนวน4ลำและชั้นAl Riyadhจำนวน3ลำที่ต่อในฝรั่งเศสด้วย รวมไปถึงดูแลจัดหาอะไหล่การซ่อมบำรุงต่างๆทั้งหมดเรียกว่าเหมาทุกอย่างกันเลยทีเดียว นอกจากเรือฟริเกตทั้ง7ลำนี้แล้วฝรั่งเศสยังได้ต่อเรือน้ำมันชั้นBalada classขนาด1หมื่นตันจำนวน2ลำให้กับซาอุมาแล้วด้วย จึงนับเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญมากถ้าได้ดีลนี้จริงสบายไปทั้งบริษัทเลย

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 27/08/2014 19:54:41


ความคิดเห็นที่ 4


ติดเรดาร์ SMART-S Mk2 โซนาร์ลากท้าย CAPTAS-2 และตอร์ปิโดเบา2แท่นยิงไม่แน่ใจว่า3หรือ2ท่อ ระบบอำนวยการรบแบบSETIS น่าจะใช้จรวด MM40 Block 3 และ VL Mica จากMBDA เครื่องยนต์ดีเซลจากMTUข้อมูลหลักๆก็มีเท่านี้

 

อ้าวไหนเห็นมีข่าวว่าจะใส่เจ้าตัว ESSM ไงกลายเป็น MICA ซะงั้นละครับ นี่แสดงว่าสหรัฐไม่ขาย ESSM ให้มาเลเซียนะสิ

โดยคุณ Woot1980 เมื่อวันที่ 28/08/2014 15:44:16


ความคิดเห็นที่ 5


น่าจะเป็นว่า ทร.มาเลเซีย คงเจรจากับ DCN ไม่สำเร็จมากกว่าครับ

โดย สรุป ก็คงเป็นตาม สเปค ผู้ผลิต ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไร

 



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/08/2014 16:22:22


ความคิดเห็นที่ 6


เรือ gowind ของมาเลเซียนี่ใช่ MM40  Block III (short far 180km) แล้วของไทยเราควรจะ อัฟเกรตใช้อะไรดีล่ะครับ ตอนนี้ระยะโจมตีจรวดร่อนของเค้าไกลกว่าเราแล้วนิ 

โดยคุณ Woot1980 เมื่อวันที่ 28/08/2014 16:41:07


ความคิดเห็นที่ 7


ภาพรวมในความเห็นส่วนตัว กรณี ถ้า มาเลเซีย จัดหา เรือดำน้ำ เพิ่มเติมอีก 2 ลำ

 




โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/08/2014 17:11:30


ความคิดเห็นที่ 8


แหม่...มาเลเซียมีจรวดOtomat Mk 2ระยะยิง180กม.ติดตั้งอยู่บนเรือคอร์เวตชั้นLaksamana จำนวน4ลำมาตั้งแต่ปี1997แล้วครับ ท่านWoot1980ตกใจช้าไป 17ปีครับขอแซวนิดหนึ่ง

ท่านจูดาสครับ มาเลเซียไม่ได้ใช้Super Lynx เป็นASW helicopter หรอกเหรอครับ  AS555เหมือนจะใช้งานทั่วไปกับฝึกมากกว่าติดรอกด้วยแฮะชอบๆๆๆ ส่วน EC725 Naval ยังไม่มีความเห็นรอดูกันต่อไป(เหมือนของกองทัพเรือเรา)

 

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 28/08/2014 20:26:55


ความคิดเห็นที่ 9


มาเลเซีย กำลังจัดหา ASW เฮลิคอปเตอร์ใหม่อีก 6-12 ลำ ครับ ผมคิดว่าเอามาใช้สำหรับ Gowind โดยเฉพาะ ซึ่งมีการคาดหมาย ระหว่าง MH-60R กับ EC-725 รุ่นใช้งานทางเรือ

ส่วน Super lynx 300 คงเปน ฮ สำหรับ OPV ดูแล้ว เน้นเป็น ASUW

ส่วน AS555 ปัจจุบัน ใช้ปฏิบัติการร่วม กับ เรือดำน้ำ อยู่ ครับ รู้สึกว่า ติดตั้งระบบสื่อสารกับ เรือดำน้ำ ด้วย โดย AS555 น่าจะเป็น ฮ สำหรับ เรือชุด Kasturi กับ ลิเคียว

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/08/2014 22:15:56


ความคิดเห็นที่ 10


ฮ.ประจำเรือ ของ มาเลเซีย


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/08/2014 22:51:34


ความคิดเห็นที่ 11


คิดว่า อีกไม่นาน คงมีข่าว เรือฟริเกตใหม่ อีก 2 ลำ ที่จะมาแทน โครงการ เรือชุด Lekiu Batch II ที่ยกเลิกไป

จึงพอจะมองภาพ อัตรากำลังทางเรือของ มาเลเซีย คือ

กองเรือรบ สังกัด กองทัพเรือ

เรือฟริเกต จำนวน 6 ลำ

เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง จำนวน 6 ลำ

เรือ LCS จำนวน 6 ลำ

เรือดำน้ำ จำนวน 6 ลำ

ซึ่งยังไม่รวมกับ กำลังทางเรือของ MMEA

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/08/2014 23:07:02


ความคิดเห็นที่ 12


แอบงงนิดๆ มีLCSแล้วมีOPVด้วยเหรอครับ มันทำหน้าที่ใกล้เคียงกันอยู่แล้วนี่

แต่AS555นี่น่าสนใจสำหรับ ทร. นะครับ น่าจะราคาเบากว่าจัดหาฮ.อย่างLynxมาให้OPVเยอะ

 

ปล.ท่านsuperboy ภาพในshipbucketเปิดไม่ติดนะเออ ผมจะยืมรูปเรือหลวงมกุฏมาใช้สักหน่อยแต่หายเฉย

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 28/08/2014 23:18:30


ความคิดเห็นที่ 13


เรือ LCS กับ OPV ไม่เหมือนกันนะครับ

เรือ OPV ก็เป็นเพียง เรือตรวจการณ์ ติดตั้งเพียง อาวุธปืน ส่วนอาวุธนำวิถีโจมตีเรือ อาศัยใช้จาก ฮ. ประจำเรือ

ส่วน LCS จะเป็นเรือรบทางยุทธวิธีเต็มรูปแบบ ทำการรบได้ 3 มิติ ระบบอาวุธ และระบบตรวจจับ จะอยู่ในระดับ ปานกลาง โดยมีความยืดหยุ่น ในการปรับเปลี่ยน ภาระภิจ ซึ่งหมายถึง การออกแบบเรือ ที่สามารถ ปรับเปลี่ยนระบบอาวุธ เพื่อเน้นภาระกิจไปในเฉพาะทางได้

ซึ่งคิดว่า หลังจาก มาเลเซียประจำการด้วย LCS ครบแล้ว เรือ Corvette ชุด Laksamana น่าจะทะยอยปลดประจำการไป

ถ้าจะเทียบความ ซ้ำซ้อน เรือ LCS น่าจะซ็ำซ้อนกับ Corvette มากกว่า

โดย เรือฟริเกต ที่ มาเลเซีย จะจัดหาใหม่ น่าจะต้องมี สมรรถนะสูงกว่า เรือ Gowind ชุดนี้อีก ซึ่ง ถ้า ESSM จะมา ก็น่าจะมาในเรือชุดนี้ และอาจจะหมายถึง ไม่แน่ อาจจะมีการ SLEP กับเรือชุด ลิเคียว เพื่อ ติดตั้ง ESSM ด้วยก็ได้ครับ

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/08/2014 23:56:51


ความคิดเห็นที่ 14


พอดีผมเอาไปเทียบกับLCSอเมริกาน่ะครับ....

 

จะยิงเรือ ก็มีแต่อวป.เล็กๆที่เอาไว้ยิงเรือเล็ก

จะยิงฝั่ง ปืนก็เล็กไป

จะต่อสู้อากาศยาน ก็ไม่มีจรวดระยะยิงไกลๆอีกนอกจากไซส์CIWs (โมดูลESSMไม่มีแล้ว)

 

ถ้าจะเหนือกว่าก็มีเรื่องที่ มีmission bay ปราบเรือดน้ำได้ และกวาดทุ่นระเบิดได้..

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 29/08/2014 06:42:28


ความคิดเห็นที่ 15


เว็บ majhost.com/ ซ่อมบำรุงหนะครับ เป็นๆหายๆมา2อาทิตย์แล้ว รอ TC updateใส่database ก่อนจะได้เอาไว้ดูไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน(TCแกบอกเองฮาดี) ผมเอาเรือที่วาดไปแล้วมาลงในนี้ให้เลยแล้วกันท่านภูสนใจลำไหนที่ยังเหลืออยู่เชิญก่อนได้เลย ช่วงนี้ยุ่งกับการตัดหญ้าจำนวนมหาศาลยังไม่ได้ย้ายข้อมูลไปที่อื่น(Dropbox)หรือวาดรูปเรือพม่าเสียที เพื่อนๆคนอื่นถ้าจะเอาไปใช้ในเวปต่างๆใส่ชื่อผมกับwww.shipbucket.comไว้ด้วยนะครับ ผมไม่มีอะไรนะแต่ฝรั่งค่อนข้างซีเรียส

 

ข่าวเก่าเมื่อหลายปีก่อนที่ผมเคยอ่านเจอแต่หาไม่เจออีกแล้ว มาเลเซียต้องการเรือคอร์เวตจำนวน8ลำเพื่อมาทดแทนเรือเร็วโจมตีHandalan classจำนวน4ลำและเรือเก่าๆอีกจำนวนหนึ่ง รวมทั้งซื้อเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ6ลำ ปรับปรุงเรือชั้นLaksamana(อยากได้aspide 2000)และบลาๆๆ  แล้วในที่สุดก็กลายร่างมาเป็นแบบนี้ แต่โดยส่วนตัวมันก็คือเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำดีๆนี่เอง ระวางขับน้ำ3,100ตันติดโซนาร์ตัวเทพขนาดนี้ ไม่ใช่ก็บ้าแล้ว มาเลเซียกับสิงคโปร์ทดแทนเรือเร็วโจมตีด้วยเรือรบขนาด3,000ตันขึ้นไป ทดแทนเรือตรวจการณ์ด้วยเรือOPVขนาด1,500ตันขึ้นไปตรูล่ะอิจฉาจริงๆ

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 29/08/2014 08:50:27


ความคิดเห็นที่ 16


ข่าวเมื่อต้นปี ว่า มาเลเซีย มีความต้องการ เรือเร็วโจมตี ทดแทนของเดิมอีกครับ

และเรือพวกประเภท ตรวจการณ์ จะไปอยู่ในความรับผิดชอบของ MMEA

ข่าวต่อจากนี้ของ กองทัพเรือมาเลเซีย จะมี

1. เรือฟริเกตสมรรถนะสูงใหม่ จำนวน 2 ลำ

2. เรือดำน้ำ เพิ่มเติม จำนวน 2 ลำ

3. เรือบรรทุก ฮ. ขนาดเล็ก จำนวน 2 ลำ

4. เรือเร็วโจมตี 6 - 8 ลำ

ซึ่งไม่รวมกับ MMEA ที่จะจัดหาเรือตรวจการณ์

ต้องยอมรับว่า มาเลเซีย มีการจัดการ การจัดหาอาวุธ เป็นอย่างดี เป็นแผ่นภาพ การจัดหาเรือรบ ของ กองทัพเรือมาเลเซีย ในรอบระยะเวลาทุก 10 ปี ถ้าจะมองแบบคร่าว ๆ คือ กองทัพเรือ มาเลเซีย จะมีเรือรบใหม่ประจำการ อย่างน้อย 1 ลำ ทุก ๆ 1 ปี ครึ่ง

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 29/08/2014 09:20:27


ความคิดเห็นที่ 17


ชอบภาพเรือของ ท่าน superboy ครับ ขอบคุณครับ ผมจะได้ไม่ต้องมานั่งวาดเองแหล่ะ 5 5 5 5 5 จะได้ขอยืม มาทำแผ่นภาพ สวย ๆ มาฝากสมาชิก กัน

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 29/08/2014 09:22:54


ความคิดเห็นที่ 18


เรือ opv เป็นเรือลาดตรวจการณ์อย่างท่านจูลดาสบอก หน้าที่หลักเอาไว้ไล่ตีหัวหมาด่าแม่เจ๊ก (ฮา) สำหรับปราบปรามพวกผิดกฏหมาย ไม่ได้กะไว้สู้กับเรือรบ

lcs เป็นคอนเซ็ปใหม่ของอเมริกา ตามชื่อก็คือเรือรบสำหรับเขตน้ำตื้นหรือใกล้ฝั่ง อเมริกาออกแบบมาสำหรับไล่ตีเด็กในสงคราม assymetric warfare เป็นกึ่งเรือรบกับสนับสนุนการรบ ปรับเปลี่ยนโมดูลได้ ตรงนี้เอาไว้อุดช่องว่าง เพราะมีความยืดหยุ่นกว่าเรือรบทั่วไป 

แต่ไม่รู้ว่า lcs ของประเทศอื่นๆจะหลักนิยมเหมือนกันหรือไม่ เพราะยังไม่มีใครมีเป็นตัวเป็นตน หรือจะออกมาเป็นเหมือนคอร์เว็ตก็ไม่รู้ 

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 29/08/2014 09:28:25


ความคิดเห็นที่ 19


แผ่นภาพทำไว้ ประมาณปี 2553 ครับ ซึ่งจะเห็นว่า มาเลเซีย กำลังดำเนินการตามแผนจัดหา ที่วางไว้

โดยแต่เดิม จาก OPV Batch II (ASW) เปลี่ยนมาเป็น Gowind LCS และ Lekiu Batch II น่าจะเปลี่ยนเป็น เรือฟริเกตสมรรถนะสูงแบบใหม่ แทน

และคงต้องดูต่อไปว่า MMEA จะสามารถทำได้ตามแผนจัดหา ได้เพียงใด

 



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 29/08/2014 09:44:56


ความคิดเห็นที่ 20


ก็คงต้องดูแบบเรือ Gowind LCS ของ มาเลเซีย นี่ล่ะครับ ว่าจะออกแบบมาเป็นลักษณะไหน แต่คุ้น ๆ ว่า เคยอ่านในเว๊ป ลองไปใช้ กูเกิ้ลแปล ดู ก็เหมือนกับว่า มาเลเซีย ก็วาง คอนเซ๊ป ไว้ คล้าย ๆ กับของ ทร.สหรัฐ ครับ คือ การหมุนเวียนระบบอาวุธ ความสะดวกและประหยัดในการซ่อมบำรุง และ เน้น การใช้สงครามใต้น้ำ ซึ่ง หมายถึง การต่อต้านทุ่นระเบิด ด้วย กับเรือชุดนี้

ในความเห็นส่วนตัว จุดเด่นของเรือชุดนี้ น่าจะเป็น เรื่องการออกแบบระบบภายในเรือ ว่าจะมีความทันสมัย เหมือนกับ ทร.สหรัฐ หรือไม่ ที่สามารถ ติดเสร็จ เสียบ ปลั๊ก แล้ว ใช้งานได้เลย

สเปค เรือชุดนี้ ทร.มาเลเซีย ถึงดูจะมีความต้องการระบบ TACTICOS ที่มีความเป็นอิสระในระบบควบคุม แต่สุดท้าย ก็ใช้ สเปค ของบริษัทฯ ผู้สร้าง ทั้งหมด

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 29/08/2014 10:01:13


ความคิดเห็นที่ 21


MMEA กับ japan coastguard อยู่ในแผนผมเหมือนกันนะ เพราะแบบเรือยังเป็นรูปทรงก่อนปี2000ทั้งหมด ไม่เหมือนเรือยามฝั่งเวียดนามแม-ร่-งทันสมัยเกินไปวาดไม่ถูกเลยเรา เหอๆๆ

 

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 29/08/2014 10:01:21


ความคิดเห็นที่ 22


รู้สึกว่าการจัดหาของมาเลย์จะเป็นระบบและมีแบบแผนชัดเจนดี ทร.ไทยเราน่าจะมี LCS มั่งแลดูทันสมัยและอ่อนตัวดี 

โดยคุณ jeepy เมื่อวันที่ 29/08/2014 10:23:30


ความคิดเห็นที่ 23


ถ้าเทียบกับ กองทัพเรือไทย ดูแล้ว กองทัพเรือไทย ขึ้นอยู่กับ การเมืองภายใน อย่างเดียว อยู่ที่ว่า รัฐบาลขณะนั้น ๆ จะสนับสนุน กองทัพเรือ เพียงใด ดูแล้วเป็นการดำเนินการไปตาม สภาวะการเมือง

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 29/08/2014 11:06:19


ความคิดเห็นที่ 24


KD Rahmat

เรือพี่ เรือน้อง กับ ร.ล.มกุฎราชกุมาร ซึ่งเรือลำนี้ ก็มีปัญหาเรื่องเครื่องยนต์ เหมือนกับ ร.ล.มกุฎราชกุมาร เช่นกัน (ร.ล.มกุฎฯ ระบบเครื่องยนต์ เกิดไฟไหม้เสียหาย จนต้องเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่)

KD Rahmat แต่เดิมชื่อ KD Hang Jebat แต่เกิดปัญหาเรื่องเครื่องยนต์ จึงได้ทำการปรับปรุงใหม่ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น KD Rahmat

ปัจจุบัน ปลดประจำการ และตั้งเป็น พิพิธทภัณฑ์ ประจำการช่วงระหว่างปี 1971 - 2004

แต่เดิม ต้นแบบของ ร.ล.มกุฎราชกุมาร จะเหมือนกับ KD Rahmat คือ ท้ายเรือเป็น ลานจอด ฮ. แต่ กองทัพเรือ ได้ตัดสินใจ ติดตั้ง ปืนใหญ่เรือ แทน ลานจอด ฮ. และติดตั้ง Mortar สำหรับ ปราบเรือดำน้ำ



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 30/08/2014 08:16:18


ความคิดเห็นที่ 25


ลืมภาพ

ภาพนี้ จะเห็น ท้ายเรือเป็น ลานจอด ฮ. ซึ่ง KD Rahmat และ ร.ล.มกุฎราชกุมาร ติดตั้ง SAM คือ Sea Cat แบบเดียวกัน


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 30/08/2014 08:18:06


ความคิดเห็นที่ 26


majhost.com กลับมาให้บริการแล้วนะครับท่านภู

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 30/08/2014 16:27:02


ความคิดเห็นที่ 27


เท่าที่ดูแผนภาพกองเรือรบของมาเลเซียของท่านจูดาส แล้วบอกตรงๆเลยรู้สึกตาร้อนผ่าวขึ้นมาทันที

คือทั้งอิจฉาและน่าหวั่นวิตกอยู่พอสมควร เพราะกองทัพเรือของฝ่ายนู้นเค้ามีการขับเคลื่อนไปข้างหน้าแบบก้าวกระโดดและรู้สึกว่าเค้าจะยิ่งทิ้งช่องว่างห่างจากเราไปไกลเรื่อยๆ

แต่ของไทยเรานี่สิ แค่เรือดำน้ำ 2ลำยังไม่เป็นรูปเป็นร่างซักที บวกกับการจัดหากองเรือรบผิวน้ำมาทดแทนเรือเก่าที่อายุการใช้งานใกล้จะหมดเต็มที ยังเหนื่อยเลย(แล้วเรื่องเรือ OHP นี่คืบหน้าไปถึงไหนแล้วน่ะ)  นี่ไม่ต้องไปพูดถึงเรื่องเพิ่มกองเรือรบจากที่มีอยู่ในปัจจุบัน

 

โดยคุณ Woot1980 เมื่อวันที่ 30/08/2014 20:40:41


ความคิดเห็นที่ 28


ประเทศ มาเลเซีย เขาใช้ วิธี ทำแผนพัฒนากองทัพ ผูกกับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ครับ

ทั้ง 2 แผน จะทำคู่กัน โดย กองทัพทำแผนมาว่า ต้องการ อาวุธคุณลักษณะไหน แล้ววงเงินงบประมาณจะเติบโต ไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ แต่ละฉบับ ซึ่งแผนพัฒนากองทัพนี้ ก็จะผูกพันกับรัฐบาล ที่จะพยายามหาเงินทุน เพื่อให้เป็นไปตามแผนพัฒนา

ซึ่ง ประเทศไทย ก็เคยริเริ่ม ทำเมื่อประมาณปี 2545 - 2548 แต่ก็ถูกล้มไปแล้ว ด้วยสาเหตุอะไร ก็คงรู้ ๆ กันอยู่

เมื่อมองดู การพัฒนาของ กองทัพไทย ก็เป็นลักษณะ ทำตัวเอง ทั้งนั้นครับ ซึ่งในอนาคต การพัฒนาของ กองทัพไทย จะค่อย ๆ ชะลอตัว เพราะ อาวุธหลายอย่าง ของทั้ง 3 เหล่าทัพ จะประเด ประดัง หมดอายุ พร้อม ๆ กัน เพราะชะลอการจัดหามานาน และทั้ง 3 เหล่าทัพ ก็จะทำได้เพียงจัดหา เพื่อให้เท่าของเดิม ในขณะที่ ราคาของอาวุธ มีแต่ราคาสูงขึ้น และในขณะที่ ประเทศเพื่อนบ้าน จะมีอัตราที่สูงขึ้น รวมถึง สามารถพัฒนาอาวุธใช้งานได้เอง ได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และ มาเลเซีย

สำหรับ ประเทศไทย จะยังต้องใช้วิธีซื้อ อยู่ เพราะไม่มีงบพัฒนา หรือ งบลงทุน การสร้างอาวุธใช้เองที่เพียงพอ เพราะ งบประมาณจะหมดไปกับการ จัดหามา ทดแทน ของเดิม

แล้วถ้า โครงการรถไฟรางคู่ หรือ ถ้ากลับมาเป็น โครงการรถไฟความเร็วสูง โดย ประเทศจีน ได้รับสัมปทาน ไป

ผมมองว่า กองทัพไทย ก็จะถูกกด การพัฒนาขึ้นไปอีก

เพราะ สภาพการเมืองไทย มันไม่นิ่ง เป็นแค่การหลบอยู่เท่านั้น ซึ่งหมายถึง อาจจะเกิดการ ยึดอำนาจ ขึ้นอีกในอนาคต ประเทศจีน เอง คงไม่ยอมให้ สภาพการเมือง มาส่งผลกระทบกับ ผลประโยชน์ที่ลงทุนไป

ประเทศจีน คงต้อง ควบคุม การจัดหาอาวุธของ กองทัพไทย โดยทางอ้อมแน่ แต่เมื่อมีการลงทุนเป็นจริง เต็ม 100 แล้ว ไม่แน่ใจว่า จะควบคุม โดยทางตรง เอง หรือเปล่า ? ดู ประเทศ กัมพูชา เป็นตัวอย่าง ครับ

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 31/08/2014 07:12:14