ไม่ใช่ใครที่ไหนเรือชั้นเรือหลวงปัตตานีนั่นเอง ตัวเรือมีการปรับปรุงอยู่บ้างแต่โดยทั่วไปยังเหมือนเดิม ติดปืนoto 76/62 compact ควบคุมการยิงด้วยceros200ตัวล่างสุด ปืนรองด้านท้ายยังคงเป็น20มม.แมนนวลเหมือนเดิม บนหลังคาโรงเก็บฮ.มีจุดติดตั้งCIWSในอนาคต ส่วนที่ว่างสำหรับติดจรวดSSMก็ยังมีเช่นกัน แต่ไม่มีการเดินสายไฟหรือวางระบบเอาไว้เพราะไม่มีแผนจะติดตั้งนั่นเอง ใช้TIRA CMS เรดาร์sea giraffe 1xของใหม่ล่าสุด เรดาร์เดินเรือ2ตัว ไม่มี ECM ESM Decoy ตามปรกติ
ตัวเรือจะถูกสร้างในจีนแล้วค่อยส่งมาประกอบร่างในไทยจากนั้นจึงติดตั้งอาวุธและเรดาร์อีกที ทำสัญญาปีงบประมาณ2015จำนวน1ลำ และปี2016อีกจำนวน1ลำซึ่งก็คือลำที่5ของเรา ส่งมอบ2017-2018และมีแผนเข้าประจำการในปี2018-2019 (ขึ้นอยู่กับการติดตั้งในขั้นตอนสุดท้าย)
ส่วนเรือหลวงกระบี่จะได้รับการต่อในประเทศอีก1ลำเช่นกันแต่เริ่มโครงการในปี2017หรือช้ากว่า สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะอู่ต่อเรือของเรายังไม่พร้อมจนถึงช่วงที่เรือDSMEจะเดินทางมาประกอบร่างในไทย สเป็กก็คงเหมือนเดิมไม่มีอะไรมากราคาแพงขึ้นนิดหน่อยตามอัตราเงินเฟ้อ เราจะได้เรือOPVจำนวน6ลำและเป็นคู่กันไปด้วยตามสูตร โดยจะมีแค่เรือหลวงปัตตานีและนราธิวาสเท่านั้นที่มีโอกาสติดจรวดต่อสู้เรือในอนาคต
ข้อดีของแผนนี้คือเราจะมีเรือOPVจำนวน6ลำเสียที และยังเป็นโอกาสที่ดีในการบอกปัดเรือฟริเกตและหรือเรือLPDจากจีนไปด้วย ข้อเสียก็มีนะครับนั่นคือเราจะไม่รับเรือOHPทั้ง2ลำ(เอางบมาสร้างเรือOPVแทน) และในปี 2020เรือฟริเกตจะหายไป5ลำ(พุทธ2ลำ ตาปี2ลำ มกุฎ 1ลำ)แต่ได้เรือฟริเกต2ลำและเรือOPV3ลำแทน นั่นหมายถึงต้องไปดิ้นรนเรื่องเรือฟริเกตกันต่อไป(ถ้ายังต้องการอยู่นะครับ) ส่วนเรือดำน้ำไม่เกี่ยวกันเลยซักนิดก็ปล่อยให้ดำกันต่อไป
ความเห็นส่วนตัวทั้งหมดครับไม่มีความจริงเลยซักนิดเดียว ด้วยอุปกรณ์ที่ว่ามาจะทำให้เรือมีราคาไม่แพงทำให้เราสามารถจัดหาได้ครบตามจำนวนเร็วขึ้นกว่าเดิม พิมพ์ตกไป1ประโยค ผมขอเรียกว่าแผน1แล้วกันนะครับ
ผมว่าการที่ทร.เลือกแบบเรือมาต่อเป็นเรือชั้นกระบี่คงเห็นว่าแบบเหมาะที่สุดแล้ว คงค่อนข้างเจาะจงพอสมควร เพราะฉะนั้นคงไม่ใช่เอาเรือไหนมาเสียบๆแทนได้
อันนี้ผมจำไม่ค่อยได้นะ แต่เหมือนเคยอ่านไม่จากเว็บนี้ก็ TAF แหละว่าแบบเรือชั้นปัตตานีมีปัญหาบางอย่างที่ออกมาไม่ค่อยเวิร์คแต่จำไม่ได้ว่าอะไร เกี่ยวกับการวางตำแหน่งอาคาร,ทางเดิน,อะไรนี่แหละทำให้ใช้งานไม่สะดวกในทางปฏิบัติ
อันนี้ไม่ทราบว่าเกี่ยวกันไหมนะครับ
ถ้าท่านกังวลว่าสถานะการคลังของประเทศในยุค คสช ไม่อาจมีเงินลงทุนอู่ต่อเรือรองรับได้ เพราะอาจกังวลว่าต่างชาติไม่ค้าขายด้วย เอานี้ไปดูครับ ในเดือนมิถุนายน ประเทศไทยมีดุลการค้าระหว่างประเทศเป็นจำนวน +1,792.92 $min แปลงเป็นเงินบาทอยู่ประมาณ 53,760 ล้านบาทครับ
http://ieconomics.com/thailand-trade
แต่ถ้ามีแผนเกิดขึ้นจริงตามท่านวิเคราะห์มาผมว่าเป็นแผนที่ดีมากครับ เพราะหนึ่งเรายังสานต่อความสัมพันธ์กับจีนได้ อาเซี่ยนก็ยังไว้ใจเราได้ เพราะถ้าสานต่อความสัมพันธ์โดยการต่อเรือดำนํ้าจากจีนเพื่อนบ้านคงขมวดคิ้วกันใหญ่ แต่ถึงกระนั้นเชื่อผมเถอะครับหลังจากที่เราได้เห็นตัวเลขจีดีพีแตะ 5% เมื่อไหร่ ฟันธงได้เลยเรือดำนํ้าดำแวกนํ้ามาแน่ครับจากชาติไหนไม่รู้เหมือนกัน เพราะตัวเลขทางเศรษฐที่ 5% เป็นตัวชี้ว่าไทยเราปรับตัวเข้าอาเซี่ยนได้อยู่ในระดับดี เพราะจีดีพีที่เพิ่มขึ้นมา มาจากอาเซี่ยนเอง เชื่อผมเถอะครับ ผมสัมผัสได้
ประมาณแบบรูปนี้ได้ไหมครับท่าน superboy
แบบว่า ทร.ไทยแก้แบบเอง หรือ แก้แบบร่วมกับจีน เอายาวสัก 96 m กว้าง 13 m ระวางประมาณ 1,800 -2,000 ตัน เผื่อพื้นที่สำหรับ SSM CIWs VLS 8 cell จะติดหรือไม่ติดก็ว่ากันไป โดยเอาประสบการณ์ที่ได้รับจากเรือฟรีเกตสมรรถนะสูงลำใหม่ที่ต่อกับเกาหลีมาเป็นหลักในการปรับแบบ แล้วจ้างจีนต่อ หรือจ้างจีนต่อ 1 ลำ ต่อเอง 1 ลำ เพื่อเพิ่มประสบการณ์ในการแผนแบบเรือรบและต่อเรือรบระดับ corvette ขึ้นไป และสามารถทำการขยายแบบให้เป็น ASW frigate ขนาด 2,500-3,000 ตัน ได้เองในอนาคตเมื่อต้องการ
ภาพที่ผมนำมาตัดต่อยังคงใช้เรด้าร์เดิมๆ ทั้ง Ran ทั้ง TMX/EO แต่เพิ่มเรด้าร์ควบคุมการยิงอีก 1 ตัว หรือจะเปลี่ยนแปลงตามแต่ต้องการได้ หวังว่าแผนแบบน่าจะถูกใจท่าน rayong นะครับ เพราะมีให้ครบ 55555 ผมสวมวิญญาณเซลแมนแล้ว 55555
เกือบลืม ถ้าต้องดีลกับจีน ต้องขอสิทธิบัตรการต่อเรือใช้เองและขายแก่ลูกค้าประเทศอื่นๆได้ไม่จำกัดจำนวนด้วย ไม่งั้นไม่เอา จีนคงชอบมากกกก ราคาคงพิเศษเช่นเดิม
ของจีนอีกแล้วหรือนี่....
ขนาดงานแข่งรถถังที่รัสเซียจัดขึ้น
จีนเข้าร่วมด้วย ส่งรถรุ่นใหม่ที่ดีที่สุด แค่วันแรกต้องเปลี่ยนตัวซะแล้ว หน้าแตกยับ
ถ้ากองทัพไทยยังจัดหาอาวุธจากจีนอีกล่ะก็....พูดไม่ออก บอกไม่ถูก ตามประสาคนที่ไม่มีอำนาจ
ลองหาคำว่า tank olympics แล้วค่อยๆอ่านดูครับ....
ถ้ากองทัพจัดหาของจีนมาจริง คงเป็นที่กล่าวถึงไม่รู้จบแน่นอน
เรียกน้ำย่อย
http://www.youtube.com/watch?v=l-gtT2zpSCw
ถามนิ๊ดหนึ่งครับ เรือ ชั้นปัตตานีเนี่ย spec เป็นแบบเรือทหาร หรือ เรือพานิช
เรือน้อง ชุด ปัตตานี
จีน ได้ทำสร้างขายให้กับ ทร.ไนจีเรีย ในชื่อ P-18N
ถ้าไม่คุม สเปค ให้ดี เรือชุด ปัตตานี ก็หมดสวย ได้เหมือนกัน 5 5 5 5 5 5
OPV ในความหมาย ของ Raytheon น่าจะดูดีที่สุด
อยากให้ OPV ชุดใหม่ใด้รับการติดตั้งระบบป้องกันตนเองที่ดีหน่อย เรือมีน้อยอยู่แล้วถ้าออกทะเลแล้วเกิดโดนยิงก่อนที่กำลังสนับสนุนจะมาถึงอย่างน้อยจะใด้มีโอกาสเอาตัวรอดสูงขึ้นบ้าง
ส่วนตัวผมว่าการที่จะไปจ้างจีนสร้างอีก ทั้งๆ ที่รล. กระบี่อาจจะคุณภาพดีกว่าด้วยซ้ำ มันจะไม่คล้ายๆ กับถอยหลังเข้าคลองเหรอครับ? ผมว่าลงทุนสร้างอู่ไปเลยเพราะอย่างไรก็ตามอนาคตเราก็วางแผนว่าจะต่อเรือเองมากขี้นเรื่อยๆ ก็ต้องสร้างอู่ขยายเพิ่มจนได้อยู่นั่นแล แถมการต่อเรือในประเทศยังเป็นการป้อนงานให้อู่เรื่อยๆ บริษัทจะได้ไม่เจ๊ง สร้างความต่อเนืองในช่าง ไม่ให้ความชำนาญหรือองค์ความรู้ขาดช่วงครับ
สรุปคือผมคิดว่าต่อเองดีที่สุด
เพิ่งสังเกตุว่าเรือOPVไนจีเรียตีกราบปิดส่วนหัวของเรือแล้วด้วย สวยดีเหมือนกันด้านหน้าเรือดูเหมือนเรืออิลชอนของเกาหลีใต้เลย บนโรงเก็บฮ.ติดจรวด FL-3000N เข้าไปเสียหน่อยแจ่มเลย8นัดอย่างมากก็2ตันนิดๆเอ้า
เรือOPVของเราทั้ง2รุ่นเป็นมาตราฐานเรือพาณิชย์ชั้นสูงทั้งคู่ รวมไปถึงบรรดาเรือรบและเรือช่วยรบทั้งหมดที่ต่อในไทยด้วย (ถ้าผมจำผิดค้านได้นะครับ) สาเหตุหลักก็คงจะเป็นเรื่องเครื่องไม้เครื่องมือที่ยังไม่พร้อม และประสบการณ์ในการต่อเรือระดับฟริเกตของเรายังไม่มีมากพอเพราะยังไม่เคยทำจริงๆจังๆเสียที
ส่วนเรื่องสร้างอู่เรือของเราเองผมได้ยินมา10ปีแล้ว ตั้งแต่สมัยเรือหลวงปัตตานีเดินทางมาตัวเปล่าเพื่อติดอาวุธในไทย ถ้าย้อนกลับไปสมัยเรือหลวงตากสินเดี๋ยวเขาจะหาว่าแก่ รอกันต่อไปครับ
ปล. ท่านนีโอแอบไปส่องหญิงที่ไหนตั้งนานสองนาน คิดถึงนะเนี่ย
ส่วนตัวว่าถ้าต่อก็เอาประสบการณ์เรือหลวงกระบี่และปัตตานีมายำรวมกัน น่าจะลงตัวแล้ว
ระบบอาวุธถ้าไม่ใช้ของจีนอย่างTY-90 ในการป้องกันทางอากาศ ตัวเลือกเบาๆอย่างMistal ก็น่าสนใจครับ
ภาพรวมทั่วๆไปละม้ายคล้าย คอร์เวต 056 จังนิ
เรื่องเรือ ไม่มีคห. รอชัดเจนก่อนครับ
ส่วน เรื่อง Tank Biathlon Final round of World Championship 2014
จีนได้ที่ 3
http://www.ecns.cn/military/2014/08-18/129985.shtml
~~1. Russia 2. Kazakhstan 3. China 4. Armenia 5. Belarus 6. India 7. Kyrgyzstan 8. Serbia 9. Mongolia 10. Venezuela 11. Angola
Source: http://defence.pk/threads/t-96a-in-russia.327201/page-3#ixzz3Anw1rk1M
type 96a น่าจะหนักที่สุด (50t) ในบรรดารถถังที่แข่ง และ type96a เป็นแค่รุ่นกลางๆ ตัวท๊อป เป็น Type 99a2 ครับ
และไปเอามาจากไหน เรื่องน่าแตก ความเห็น fanboy หรือ
ดูคลิป การควบคุมการยิงขณะวิ่ง ของ type96a เทียบกับรุ่นอื่น
http://www.youtube.com/watch?v=IPf0k-zJcXA#t=4756
เริ่มออกทะเลละ ฮา
คู่แข่งขันคนอื่นๆ ประเทศเล็กประเทศน้อยทุกคนใช้รถถังที่รัสเซียจัดมาให้ คือ t-72b แล้วมาสอนฝึกใช้อีกเป็นเวลาห 6 อาทิตย์ ก่อนมาแข่งกัน
มีแค่จีนที่เอารุ่น type 96a ของตัวเองมา ซึ่งก็ถือว่าพอระดับเดียวกับ t-72b ทั้งขนาดและระดับเทคโนโลยี ก็ไม่เชิงแข่งว่ารถใครเจ๋งกว่า เพราะมาแบบวันเมคเรซ
รถจีนมีปัญหาระหว่างการแข่งด้วย ที่รู้ก็คือสายพานหลุดต้องเปลี่ยน
http://www.popsci.com/blog-network/eastern-arsenal/china-joins-tank-biathlon-%E2%80%9Csport-main-battle-tanks
http://rt.com/in-motion/180820-final-russia-tank-biathlon/
ผมว่าจีนผลงานก็ถือว่าพอกล้อมแกล้มแต่ก็ไม่ดี เพราะประเทศอื่นๆแต่ละประเทศไม่นับอินเดียก็จิ๊บจ๊อยทั้งนั้น
http://www.teleport2001.ru/teleport2001-ru/2014-08-05/49567-kitayskaya-komanda-uchastvuet-v-chempionate-mira-po-tankovomu-biatlonu-2014-v-podmoskove.html
ที่สายพานมีปัญหา เพราะเกิดจากการชน ของ T-72B3M
ดูจากการยิงของแต่ล่ะคัน ที่ต้องชลอ หรือหยุด เพื่อยิง ก็น่าจะเป็นการแข่ง ที่ไม่ได้จริงจังนัก
และมีบางคันยิงไม่โดนก็มี หรือว่าดูผิดไป
จาก~~"แล้วมีข่าวว่า 3 ใน 4 คันที่ลงแข่งมีปัญหา ระบบควบคุมการยิง 1 คัน 2 คันมีปัญหา เครื่องยนต์/ระบบส่งกำลัง"
มาจากไหนครับ ผมหาไม่เจอ
ส่วนเรื่องเครื่องพังตอนแข่ง ไม่แน่ใจหาเนื้อข่าวที่พูดถึงไม่เจอครับ เดี๋ยวหาข่าวก่อนครับ
ขออภัย ที่นอกเรื่องครับ
คุณ tongwarit พูดถูกครับ ต่อเองดีที่สุด ไม่ใช่ของจีนไม่ไดีนะครับ แต่ถ้าอยากให้อุตสาหกรรมต่อเรือ ศักยภาพของบุคลากรในการต่อเรือของเราพัฒนาให้ ก้าวไกลและดียิ่งขึ้น ก็ควรต่อเอง จะผิดจะถูกก็ค่อยๆ ปรับ แก้กันไป แบบ รล.กระบี่นะดีที่สุดแล้ว เหมาะสมกับภารกิจป้องกันและภัยคุมคามประเทศของไทย ณ ตอนนี้ แต่ก็อยากให้ ทร. กระจายงานให้อู่ต่อเรือเอกชนภายในประเทศได้ร่วมกันสร้างขึ้นด้วยให้ครบ 4 ลำ ส่วนตัวผมคิดว่า ทร.ไทย ไม่ควรมีแบบเรือ ระบบของเรือที่มากเกินไป ลูกเรือจะได้มีความพร้อมรบ คุ้นเคยกับเรือทุกประเภท ที่เรามีประจำการครับ
ไม่เป็นไรครับในเมื่อออกทะเลแล้วผมช่วยลากเข้าฝั่ง เอ๊ะหรือลากออกทะเลกันแน่
อาวุธจรวดติดตั้งบนเรือOPVหรือเรือลาดตระเวณลำเล็กๆของเราผมว่าจะเป็นพวกจรวดเอนกประสงค์ขนาดเล็กมากกว่า ประเภทใช้ยิงเป้าพื้นน้ำและเป้าบนอากาศที่ความเร็วไม่สุงเกินไปได้ตามยุคสมัยที่กำลังจะเปลี่ยนแปลง
ตัวแรกผมมองไปที่ AGM-176 Griffin นะครับ ด้วยระยะยิงไกลถึง20กม.และใส่ในแท่น21นัดของจรวดแรมได้ด้วย นั่นหมายถึงประหยัดค่าอุปกรณ์แต่มีทั้งจรวดพื้นสู่พื้นและพื้นสู่อากาศจำนวนพอตัว แต่กองทัพเรือเราไม่มีทีท่าสนใจRAMเลยและอเมริกาเองก็ยังไม่เอามาติดบนเรือLCSเสียที ข่าวล่าสุดคือเลือกจรวดเฮลไฟล์ยิงจากกล่องVLSขนาดเล็กมาติดตั้ง โอกาสของจรวดตัวนี้กับเราก็เลยน้อยลงไปอีก
ตัวต่อมาผมให้ความสนใจ Katran-M CIWS ลูกผสมจากยูเครน ใช้ปืน30มม.และจรวด BARYER ระยะยิง5กมแบบเดียวกับรถหุ้มเกราะเลย แต่ยูเครนดันติดหล่มไปแล้วเลยอย่าไปสนใจมันดีกว่า (แต่ชอบจริงๆนะเอามาติดกับเรือเล็กๆเป็นปืนรองไปเลยท่าจะดี)
ถัดจากนั้นก็คือLMM จากThales ล่ะครับ ตัวนี้อนาคตไกลมากระยะยิง8กม.ประเทศในยุโรปจะเอาไปติดบนรถเกาะ เฮลิคอปเตอร์ และโดรน ส่วนเวอร์ชั่นบนเรือรบก็มีติดกับปืนDS-30M ที่เคยเห็นรูปกันไปแล้ว เพียงแต่ผมสนใจรุ่น4ท่อยิงต่างหากแบบนี้มากกว่า ขนาดไม่ใหญ่มากหาจุดติดตั้งได้เป็นอิสระจากปืนหลักปืนรองอีกต่างหาก
รุ่นสุดท้ายที่น่าจะมีโอกาสอยู่เหมือนกันนะก็คือจรวดตระกูลSpikeซึ่งยิงได้ไกล2.5กม.ไปจนถึง25กม.ตามขนาดในแต่ละรุ่น อเมริกาใช้ปืนMini Typhoon ขนาด12.7 มมและจรวดSpike2นัดบนเรือ(unmanned boat หรือเรือบังคับวิทยุ) ขนาดก็ไม่ใหญ่เลยนะเอามาติดแทนปืนกล12.7มมของเราได้ ราคาก็น่าจะไม่แพงเกินไปอิสราเอลกับเราคุยกันง่ายอยู่แล้ว
นำเสนอมาตั้ง4แบบจะมีมาซักตัวไหมเนี่ย ผมว่าอีกซัก5ปีถ้าจรวดแบบนี้ไม่รุ่งก็ร่วงล่ะครับ
ได้เวลาจิ้นเรือ OPV กันอีกแล้วสิเนียะหลังจากห่างหายไปนาน 5555
ตอนนี้ติดหญิงน้อยกับชายใหญ่เรื่องการสอบครับท่าน superboy ท่าน rayong กับงานที่่น่าเบื่อเหมือนเดิม
OPV ไม่ใช่เรือรบหลัก ทำหน้าที่รัหษากฎหมายทางทะเล แต่ต้องสามารถตรวจการณ์ออกไปไกลนอกชายฝั่งในเขตทะเลลึกได้ด้วย ไม่ใช่เรือรบหลักที่ทำหน้าที่ต่อตีเป้าหมายโหดๆอย่างกองเรือข้าศึก แต่ต่อตีเรือผู้ค้าสินค้าหนีภาษี ยาเสพติด น้ำมันเถื่อน เป็นต้น และไปลาดตระเวนในเขตน้ำลึกห่างฝั่ง เพื่อตรวจตราเส้นทางเดินเรือไม่ให้โดนโจรสลัดดักปล้นเรือ ดังนั้นเป้าหมายจึงไม่มีขีดความสามารถสูงแต่อย่างใด ต่อตามมาตรฐานเรือพานิชย์ก็พอแล้ว และมันไปช่วยลดถาระให้แก่กองเรือหลักโดยที่กองเรือหลักไม่ต้องไปทำหน้าที่นี้แทน ซึ่งสิ้นเปลืองมาก นึกถึงภาพที่เราเอาเรือฟรีเกตสมรรถนะสูงไปไล่จับเรือเร็วขนยาเสพติดสิครับ มันดูเหมือนขี่ช้างไล่จับตักแตนไงงั้นเลย
แต่เนื่องจากเรือรบของเราน้อย OPV ของทร. เลยควรต้องออกแบบเผื่อกรณีที่เข้าสู่สงครามใหญ่ มันก็ควรจะต้องต่อตามมาตรฐานเรือรบหลัก แล้วมีการเตรียมพื้นที่เอาไว้สำหรับ upgrade เป็นเรือฟรีเกตเบา หรือ ASW frigate ได้เมื่อต้องการ มีพลประจำเรือไม่มาก แต่มีห้องพักเตรียมรอไว้เมื่อ upgrade เรือแล้ว เพราะต้องเพิ่มเจ้าหน้าที่ระบบอาวุธมา
โรงเก็บ ฮ. ผมว่าจำเป็น เพราะเหมาะแก่การนำเอา UAV หรือ ฮ. มาใช้งานในการช่วยผู้ประสบภัย ส่งหน่วยรบขนาดเล็กขึ้นเรือสินค้าไปจับโจร และมีอำนาจการยิงพอที่จะจมเรือเร็วของโจรสลัดได้ อย่างเก่งก็แค่สามารถรบกับเรือตรวจการณ์หรือเรือเร็วโจมตีของเพื่อนบ้านได้ ถ้าอยู่ๆมีภัยคุกคามแบบนี้เข้ามากระทันหัน
พื้นที่ติดตั้ง VLS และ SSM ยามเมื่อใช้เป็น OPV อาจจะไปใช้ติดตั้งตู้คอนเทรนเนอร์ และเรือปฎิบัติการณ์พิเศษ ได้
ดังนั้น ปืน 76/62 SR + DS 30 และจรวดอเนกประสงค์ขนาดเล็กตามที่ท่าน superboy เสนอ ก็น่าจะเหลือพอสำหรับ OPV แล้วครับ ส่วน ฮ. ประจำเรือ ถ้ามีจะดีมาก เพราะสามารถช่วยผู้ประสบภัยและสามารถส่งหน่วยรบพิเศษ และติดตั้งจรวดที่หนักพอจะสอยเรือขนาดประมาณ 1000 ตันได้สบายอยู่แล้วครับ
เรือแบบนี้ ต่อจากจีนก็ได้ครับ แต่ต้องคุมสเปกกันสุดๆเลย บางส่วนต่อในไทยจะดีมาก เห็นด้วยกับท่าน tommy ครับว่าถึงเวลาของการขยายอู่ราชนาวีเสียทีนะครับ งานมันล้นมือแล้ว
ดูๆแล้วแผนแบบอย่างนี้คล้าย ทร.ฟิลิปปินส์ที่อยากได้ทั้ง OPV และ ฟรีเกตเบา แบบเรือที่เห็นในอินเตอร์เน็ตนั้น ทั้ง OPV และ light frigate มันก็เรือแบบเดียวกัน แต่ติดตั้งอาวุธไม่เท่ากันเท่านั้นเอง ซึ่งยามสงครามจะสามารถเพิ่มกำลังรบหลักได้ทันทีด้วยการติดตั้งระบบอาวุธระบบตรวจจับเพิ่มเติม
เอาแบบเรือโปรเจ็ค-22160 ของทหารเรือรัสเซียดีมั้ยครับ ขนาด1300ตัน รัสเซียใช้ปืน57มม. เราก็ใช้76มม.
มีลานจอดฮ. อันนี้คือยามปกติ
แต่ถ้ายามสงคราม ใส่ระบบASM Club-N แบบตู้คอนเทนเนอร์ได้ท้ายลำ กลายเป็นเรือต่อสู้ผิวน้ำโหดๆทันที
ความเป็นจริง ของเรือ OPV ชุดแรก ของกองทัพเรือไทย หรือ ชุด ปัตตานี นั้น
ตามโครงการ คือ ต่อจากประเทศที่ชนะ จำนวน 1 ลำ และ ต่อภายในประเทศ จำนวน 1 ลำ หรือ จะต่อภายในประเทศ ทั้ง 2 ลำ ครับ
และผู้ชนะแบบ คือ กิจการร่วมค้า ไทย กับ เนเธอร์แลนด์ (ถ้าจำไม่ผิด) และ จะมีการ ต่อเรือภายในประเทศ จำนวน 1 ลำ
แต่...................แต่...............
ประเทศจีน มีกำลังภายใน มหาศาล ล้มประมูล ได้
และได้ ออร์เดอร์ไป โดยใช้หลักเกณฑ์ ความสนิทสนม ระหว่างประเทศ เป็นเกณฑ์ตัดสิน ไม่สนใจแบบเรือครับ
และ เรือ OPV ชุดแรก ของ กองทัพเรือไทย ก็เลยได้ ต่อที่ประเทศจีน ทั้ง 2 ลำ เลย....
เรือชุด ปัตตานี เป็น ดีไซน์ การออกแบบของ ประเทศจีน ครับ...ประเทศไทย แค่ปรับแบบ เท่านั้น
เรือชุด กระบี่ นี่แหล่ะครับ จะเป็นแบบเรือ ที่จะต่อยอด เทคโนโลยี่ของ กองทัพเรือไทย
และเป็นแบบเรือที่มีความทันสมัย เคยเป็นแบบเรือที่เคยเสนอแข่งขันเป็น เรือรบหลัก ในโครงการจัดหาเรือฟริเกตใหม่ของ ประเทศอังกฤษ มาแล้ว ครับ...
รล.กระบี่จะมีความคล้ายคลึงกับเรือตระกูล FSC ของ BAE อังกฤษ โดยเฉพาะ C3 จะมีประสิทธิภาพพอๆกับฟรีเกตเบาแบบมาตรฐาน ดังรูป ไม่มี VLS แต่ก็คงสามารถเลือกติดตั้งได้ถ้าต้องการ ตอนนี้ทร.มีแบบอยู่ในมือ ถ้าจะดัดแปลงให้เป็นฟรีเกตเบา ผมคิดว่า ทร. สามารถทำได้
แต่ถ้าเป็นกรณีที่ต้องมีการดีลกับจีนเพื่อความสัมพันธ์และการถ่วงดุล เราก็มีแบบเรือชั้นปัตตานีในมือด้วยเช่นกัน และกำลังได้องค์ความรู้ใหม่จากเรือชั้น FFX batch 2 ดังนั้นการแก้แบบสำหรับเรือชั้นปัตตานีให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก โดยใช้ความรู้จากเรือทั้ง 3 แบบน่าจะทำให้เราออกแบบเรือ OPV / corvette / light frigate ได้ดีขึ้นมาก
ถือว่า ทร. มีทางเลือกมากขึ้นในการจะจัดหา OPV และ ASW frigate ที่เราจะเป็นผู้แผนแบบเองทั้งหมดจากแบบเรือที่มีการใช้งานจริงจากประเทศผู้ผลิต 3 ค่าย อังกฤษ จีน เกาหลี และน่าจะเป็นการออกแบบเรือในลักษณะที่เป็นซีรีย์ ตั้งแต่ขนาดเล็กที่เป็นเรือ OPV ไล่ไปจนถึงเรือฟรีเกตหลักขนาดใหญ่ได้
ผมเสริมท่าน superboy เรื่องชุด combo นะ ผมชอบ THALES น่ะ เสนอ TACTICOS CMS เรด้าร์อำนวยการรบ NS-100 เรด้าร์ควบคุมการยิงและ CWI ก็ควรเป็นชุด STIR 1.2 EO ฟัดกันกับชุด combo จาก SAAB กัน SAAB เหมาผูกขาดรายเดียว 555555
ปล. รูปสุดท้ายตัดแต่งภาพจาก 512 มาครับ เป็นอีกมุม ผมว่าเรือจีนถ้าแก้แบบใหม่มันสวยกว่าเรืออังกฤษเยอะเลย ถ้าไส้ในออกแบบดีพอๆกับ FSC แล้ว ผมเชียร์แนวคิดท่าน superboy อีกคนครับ อยากเห็นซีรี่ย์เรือชุดนี้ ตั้งแต่ OPV / corvette ขนาด 2,000 ตัน ASW frigate ขนาด 3,000 ตัน และ AAW frigate ขนาด 5,000 ตัน ประกาศศักดาให้เพื่อนบ้านรู้ว่า ทร. ไทยเราก็ทำได้ครับ
ท่านjuldasครับ ถ้าผมจำไม่ผิด
แบบเรือที่ชนะคือของ ยูนิไทย + วอสเปอร์ จากอังกฤษ (เรืออะไรน้อ?)
โดยมีแบบเรือสำรองคือ อิตัลไทย+Fincantieri คิดว่าเป็นแบบเรือComandante แล้วก็อู่กรุงเทพ+Damen (เรืออะไรน้อ?) อู่กรุุงเทพ+CSTCจีน (เรือปัตตานี) ตามด้วยยูนิไทยกับBazanสเปน (เรืออะไรอีกล่ะนั่น) ผมจำไม่ได้แล้วว่าแบบเรือไหนนสำรองอันดับเท่าไหร่บ้าง แต่ของวอสเปอร์ที่ชนะเสนอราคาสูงเกินไป เลยคัดเลือกใหม่ ไปๆมาๆกลายเป็นของจีน(ที่ถ้าจำไม่ผิด สำรองอันดับสุดท้ายในตอนแรกด้วย)ซะงั้น
อ่านมานานเอาซะหน่อย เดี๋ยวเพื่อนๆ จะคิดว่าเลิกเล่น แหะๆ ความคิดผมถ้ามาจาก จีน หรือ ประเทศไหนๆ ก็คงเป็นแนวทางที่แย่สุดชาตินี้คงไม่ต้องคิดจะทำอะไรเองแล้ว แบบเรือกระบี่จะซื้อมาต่อเองทำไม แย่มากครับถ้าใครล้ม หรือหาเหตุผลบ้าๆบอๆ มาดีลกับจีน
1.แบบเรือมีแล้ว ต่อเพิ่มครับ
2.มีปัญหาพัฒนาแบบเรือชุดกระบี่ต่อไป ประโยชน์มหาศาล
3.อยากได้เร็วให้เอกชนต่อ ช่วยซิครับ เป็นการพัฒนาเอกชนไทยด้วย เงินจ้างในไทยมันจะไปไหน ก็อยู่กับคนไทยนี้แหละ
4.แบบเรือมีไม่มากแบบ บุคลากร เคยชิน ในทุกมิติครับ(การใช้งาน การซ่อมบำรุง และ อื่นๆ)
คิดแต่ว่าที่มีอยู่มันไม่ดี ถ้าไม่ดีแก้ไขปรับปรุงมันซิครับ เรื่องถ่วงดุล นี้ผมว่าอ้างมั่วๆ ไม่ใช่เรื่องแล้ว ถ้าไม่อยากอิง เมกา หรือ นาโต้ ก็ทำเอง ทำตัวแบบ สวีเดนซิครับ ไม่ใช่ไปอิง จีน หรือ รัสเซีย
ไม่งั้น อาจจะเสียทั้งเพื่อนเก่า และ ยังไม่ได้เพื่อนใหม่เลยก็เป็นได้
ปล.ความคิดเหตุส่วนตัวล้วนๆ ไม่คิดจะว่าใครนะครับทำความเข้าใจเรื่องหลักการด้วย ขอบคุณครับ
เอ.... ผมยังไม่เห็นความเห็นเรื่องถ่วงดุลหรืออิงกับประเทศจีนรัสเซียเลยนะครับท่านSeriesVll เหตุผลของผมคือราคาเรือไม่แพงเรามีใช้อยู่แล้วและยังเป็นโอกาสที่ดีในการบอกปัดเรือฟริเกตและหรือเรือLPDจากจีนไปด้วย ส่วนของเพื่อนๆท่านอื่นก็ไม่มีนะหรือผมอ่านตกหล่นไป
ความเห็นส่วนตัวการต่อเรือรบจริงๆในไทยจะเริ่มต้นที่เรือDSMEลำที่2 และอาจจะเป็นการต่อในประเทศทั้งลำในลำที่3ด้วย ส่วนเรือOPVพัฒนาไปเป็นเรือคอร์เวตนี่คิดว่าไม่มีนะครับ แบ่งเป็นเรื่อOPVแล้วข้ามไปเรือฟริเกตเลยตามหลักนิยมสมัยใหม่
แบบเรือFincantieriที่ท่านภูว่ามา ผมคิดว่างบประมาณคงไม่ถึงComandanteหรอกครับ ตัวแพงที่สุดที่เขาเสนอน่าจะเป็นSirio class หรือComandanteรุ่นประหยัดมากกว่า(แต่แบบเรือก็ยังดูใหม่ไปหน่อยสำหรับปีนั้น) แต่อาจจะเป็นCassiopea-classรุ่นปรับปรุงโฉมให้ทันสมัยหรือMinerva-classใส่ลานจอดและโรงเก็บฮ.ด้านท้าย ลำหลังสุดรูปทรงคุ้นตาไหมจับมาโมนิดหน่อยก็เหมือนเรือหลวงปัตตานีแล้ว
ส่วนเรือVosperที่ชนะการประกวดแล้วราคาแพงไป อาจจะเป็นLF95ยาว95เมตรที่ลดเสป็กก็ได้นะครับ (ไม่แน่ใจว่าใช่MK18หรือเปล่าแต่สั้นกว่ากัน3เมตรท้ายเรือก็ไม่เหมือน น่าจะเป็นMK19หรือ17มั้งครับ)
... ยังไม่มีครับท่าน superboy ผมเพียงแต่ใส่เบรคไว้เท่านั้นเองครับ
พูดเรื่องซื้อขายอาวุธแล้วใช้เหตุผลเรื่องอื่นที่ไม่เอาคุณภาพกับราคามาคิดเป็นหลักแล้วผมปรี๊ดทุกที...ฮาๆ(เลยจัดเบรค ไว้ให้ก่อนเลย)
ความเห็นเพิ่มเติมนะครับ ผู้ใหญ่เราควรหัดปฎิเสธด้วยเหตุผลที่ดีๆได้แล้ว มีความสัมพันธ์จากการค้าอื่นๆหรือกิจกรรมอื่นๆอีกเยอะแยะ แต่ถ้าเป็นเรื่องอาวุธอย่าครับ เว้นเสียแต่ว่าของนั้นๆ พวกพี่ใหญ่ในโลกนี้จะให้มาฟรีๆ ก็จงรับไว้เถิด อ่อ อีกอย่างพี่ใหญ่นี้ก็ไม่ได้หมายถึง เมกาเพียงประเทศเดียวนะครับ ต้องบอกไว้ก่อน เดี๋ยวมีดราม่า
เคยสรุปไว้ในความเห็นเก่า ๆ ครับ เหตุการณ์ การได้มาของเรือชั้นปัตตานี ครับ
เพื่อให้เป็น คลายข้อสงสัยในเรื่อง ความสามารถการต่อเรือขนาดฟริเกต ของไทย ในระดับหนึ่ง ขอให้ข้อมูล การจัดหาเรือ OPV ชั้น ปัตตานี สรุปมาดังนี้ ครับ
การจัดหา ครั้งที่ 1
ปี 2544 มีบริษัทที่เสนอสร้างเรือ OPV จำนวน 11 ราย
มีผู้ผ่านการพิจารณา จำนวน 8 ราย
ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกแบบ คือ
บริษัทร่วมค้า บจก.ยูนิไทย ชีฟยาร์ต แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง และ Vosper Thornycroft (UK) Limited
โดยทำการสร้างเรือทั้ง 2 ลำ ในประเทศไทย
แ ต่ ราคาสูงกว่า งบประมาณ จึงถูกยกเลิก
การจัดหา ครั้งที่ 2
มีบริษัทร่วมค้า ยื่นเสนอราคา จำนวน 5 ราย โดยทั้งหมด เสนอราคามาสูงกว่างบประมาณ มีที่ใกล้เคียงงบประมาณที่สุด จำนวน 2 ราย และสามารถตกลงราคาได้ คือ บริษัทร่วมค้า บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด กับ China Shipbuilding Trading (CSTC) แต่ต่อมา CSTC ยื่นข้อเสนอเพิ่มเติมต่อ ทร. โดยขอเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับ และขอสร้างเรือที่ประเทศจีน ทั้ง 2 ลำ และอื่น ๆ ซึ่งเป็นผิดเงื่อนไข จึงถูกยกเลิกสัญญา
การจัดหา ครั้งที่ 3
มีผู้ยื่นราคา ทั้งหมด 5 ราย คือ
โดยสุดท้าย บจก.อู่กรุงเทพ ได้รับการคัดเลือก โดยมี บริษัท Schelde Scheepsnieuwbouw ในเครือ DAMEN ของ เนเธอร์แลนด์ ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนในคำปรึกษาในการสร้างเรือ แต่เนื่องจากถูกร้องเรียนว่า ไม่ดำเนินการเป็นไปตามข้อกำหนด G to G และถูกร้องเรียนว่า บจก.อู่กรุงเทพ ไม่มีความสามารถในการสร้างเลยถูกยกเลิก
การดำเนินการครั้งสุดท้าย ปี 2545
กระทรวงกลาโหม ให้พิจารณาการคัดเลือกจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเป็นสัญญา รัฐ ต่อ รัฐ และได้จัดลำดับ ประเทศจีน เป็น ลำดับที่ 1
บริษัทจากประเทศ จีน คือ CSTC จึงได้สัญญาไป และก็ไปสร้างที่ประเทศจีน ทั้ง 2 ลำ
ซึ่งในข้อกำหนดของโครงการ มีทางเลือกให้ 2 ทาง คือ
โดย CSTC เลือกข้อ 2 ได้คนเดียว เนื้อ ๆ เขี่ย บริษัทไทย กระเด็น กระดอน ไกล...
ก็เพราะเรื่องเงินๆทองๆนี่แหละหยอดกันไปหยอดกันมา มันถึงได้ทำให้ไม่มีบริษทเอกชนดีๆกล้ามาลงทุนพัฒนาอาวุธให้ไทยเรา
คิดแล้วก็ได้แต่ทำใจอย่างเดียว
http://aagth1.blogspot.com/2014/08/type-96a-tank-biathlon-2014.html อันนี้จากสมาชิกในบอร์ดนี้ได้ลงไว้
กับ
ลองเข้าไปดู
โอ้ ขอบคุณครับท่านjuldas ถึงว่าคุ้นๆว่าเคยมีกระทู้ที่พูดถึงแบบเรือปัตตานีอยู่
ท่านsuperboyพอจะมีลิงค์ข้อมูลเกี่ยวกับเรือของVosperที่บอกมาไหมครับ อยากอ่าน
อันที่จริงแบบเรือของอังกฤษที่ไม่ได้สร้างมีข้อมูลเยอะมาก ผมทำtype1536ค้างไว้เพราะอาทิตย์นี้ขี้เกียจวาดรูป(รวมทั้งเรือพม่าด้วย) ที่นำมาลงมีแต่ภาพนะครับจากเวปเขาเองเลยข้อมูลส่วนมากจะพูดถึงลำที่ยาว98เมตร จริงๆลูกค้าvosperมีเยอะมากเลยนะ แต่เขาขายได้แต่เรือเล็กกำไรไม่ดีเพราะฟริเกตรุ่นส่งออกขายไม่ออก สุดท้ายเลยต้องปิดอู่ต่อเรือที่สิงคโปร์ไปแล้วตัวเองก็รวมร่างกับBAEในปัจจุบัน
http://www.vosper.co.uk/images/newgallery/index.htm
http://navy-matters.beedall.com/gcorvette.htm
กิจการอู่ต่อเรือมันไม่ใช่ง่ายๆเลยนะครับ ใครสายป่านไม่ยาวพอเมื่อไม่มีดีลใหญ่ๆเข้ามาก็ตายหยังเขียดไปเสียทุกราย อย่างเราถ้าหมดจากเรือOPVจะเอาอู่ไปสร้างอะไรต่อเพราะเรือฟริเกตก็ไปแล้ว(นอกจากต่อเรือต.หนองเหน่งหนองแกละไปวันๆ) อยากได้อู่ดีๆมีมาตราฐานเอาแบบเวียตนามไหมล่ะที่ให้Damenมาลงทุนแล้วผูกขาดซื้อเรือกับเขาเจ้าเดียว(แต่ก็ทำให้อู่ต่อเรืออื่นๆลำบากไปอีก) ตอนนี้ที่นับได้ก็เรือOPV3ลำในเฟสแรกและเรือฟริเกตอีก2ลำในเฟสแรก ประเทศเขาตำรวจน้ำใช้เรือทันสมัยโคตร ส่วนอู่อื่นก็ได้ต่อเรือคอร์เวตติดฮาร์พูนสกี้และเรือตรวจการณ์ปืนติดอาวุธทันสมัย มันก็พอกล้อมแกล้มไปได้อย่างน้อยก็อีก5ปีนับจากนี้
ก็เพราะเราไมไ่ด้ซื้อเรือเยอะเหมือนประเทศใหญ่ๆ เราเลยควรป้อนเรือที่เราต่อเองได้ให้อู่ของเรา รวมถึง LPD และเรือในอนาคตทั้งหลาย เรือเล็กๆ น้อยๆ อะไรก็ว่าไป หรือซ่อมแซมเรือพาณิชย์ด้วยก็ได้ ไม่งั้นชาตินี้ก็ต่อแค่เรือหนองแกละจริงๆ ล่ะครับ
ทำแบบนั้นก็เป็นการผูกขาดสิครับ ที่ผ่านมาเรามีการจัดหาเรือตามโครงการต่างๆอย่างเปิดเผย แล้วก็มีเอกชนเสนอแบบเรือเข้ามาแข่งกันใครชนะก็ได้ไปแบบที่ท่านจูดาสว่ามา (นี่ว่ากันตามหน้าเสื่อเบื้องหลังไม่ทราบได้) เพราะฉะนั้นเรือหลวงมาตราจึงได้ต่อที่อู่มาร์ซัน เรือหลวงพฤหัสบดีต่อที่ยูนิไทย ชิปยาร์ด เรือหลวงหัวหินต่อโดยบริษัท เอเชียน มารีน แล้วอยู่ดีๆ"เรา"ก็สร้างอู่ต่อเรือขนาดใหญ่ขึ้นมาเพื่อรองรับเรือของกองทัพเรือทั้งหมด แล้วบริษัทเอกชนที่เหลือจะยังไงต่อล่ะครับ
ไม่ได้จะหาเรื่องนะครับแต่สงสัยมากกว่า ถ้าพรุ่งนี้มีบริษัทอะไรก็ได้ลงทุนสร้างอู่ต่อเรือมูลค่า1หมื่นล้านแล้วเข้าแข่งขันตามปรกติข้อนี้ผมจะยินดีมากจนถึงมากที่สุด แต่ถ้าใช้คำว่า"เรา"นั่นหมายถึงกองทัพเรือซึ่งก็คืออู่กรุงเทพที่เป็นรัฐวิสาหกิจพิเศษ (แต่ก็ยังเป็นบริษัทจดทะเบียนตามปรกติด้วย) เรื่องนี้ผมว่าไม่ค่อยยุติธรรมกับเอกชนรายอื่น
ทุกวันนี้ผมก็ยังไม่ค่อยเข้าใจวิธีการจัดซื้อจัดหาเท่าไหร่นะครับ อย่างเรือหลวงมาตรากองทัพเรืออนุมัติให้บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด จัดสร้างเรือน้ำมัน1ลำ แล้วอู่กรุงเทพก็ไปจ้างมาร์ซันต่อเรือให้อีกที แต่พอเรือM58ใช้วิธีซื้อแบบเรือจากมาร์ซันแล้วมาต่อที่อู่ทหารเรือธนบุรีเอาแทนงงดีแท้ มันดูเหมือนการจัดหาแบบพิเศษมากกว่าการจัดหาโดยทั่วไปซึ่งผมไม่เห็นด้วยเลย
เอาจริงๆ เรื่องพวกนี้รัฐควรส่งเสริม และบางทีก็อาจจะแนวๆ ผูกขาดหน่อยๆ เช่นทำสัญญาผูกพันว่าจะได้รับการสนับสนุนแต่ต้องทำงานอะไรๆ ที่สั่งให้ประเทศเราด้านนี้ๆ ก้าวหน้าคล้ายๆ กับที่ทำให้ญี่ปุ่นกับเกาหลีเจริญมาแล้ว
ซึ่งถ้ามองในแง่นึง อย่าชัยเสรีก็เข้าๆ ข่ายประมาณนั้นมั๊ยครับว่าผูกขาดกิจการซ่อมบำรุงอาวุธโดยเฉพาะพวกรถต่างๆ? เพราะมันไม่มีคู่แข่งจริงๆ และผมคิดว่าตัวบริษัทเองก็น่าจะมีเส้นสายอยู่ (ไม่งั้นงานคงเทไปบริษัทต่างประเทศล้วนๆ แน่ๆ เพราะคุณภาพเรายังสู้แพงๆ ที่จ้างต่างชาติไม่ได้)