รัชต์ รัตนวิจารณ์
"เครื่องบิน L-39 จะยังคงใช้งานไปอีก ๑๐ - ๑๕ ปี"
วันนี้ (๘ สิงหาคม ๒๕๕๗) พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้เป็นประธานในพิธีฉลองครบรอบการบรรจุประจำการครบ ๒๐ ปี ของเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ ๑ หรือ L-39 ZA/ART ณ กองบิน ๔ ตาคลี
ความตอนหนึ่งที่นักข่าวสาวถามผู้บัญชาการทหารอากาศ เกี่ยวกับ อนาคตของเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบนี้.....โดยได้คำตอบว่า
.."....เครืองบิน L-39 เป็นเครื่องบินขับไล่และฝึกที่ใช้งานทางยุทธการอย่างคุ้มค่า และยังใช้ฝึกนักบินขับไล่พร้อมรบมาแล้วจำนวนมาก ในอนาคต ในปี ๒๕๕๙ จะมีการรวมเครื่องบิน L-39 ทั้งสองฝูง คือฝูงบิน ๔๐๑ กองบิน ๔ และ ฝูงบิน ๔๑๑ กองบิน ๔๑ ไปรวมเป็นฝูงบินเดียวกันที่เชียงใหม่ คือ ฝูงบิน ๔๑๑ ซึ่งแอล ๓๙ จะยังคงใช้งานต่อไปอีก ๑๐ - ๑๕ ปี ส่วนในฝูงบิน ๔๐๑ นี้ จะมีเครื่องบินแบบใหม่มาบรรจุประจำการแทน โดยขณะนี้อยู่ในแผนในปีงบประมาณ ๒๕๕๘ อยู่แล้ว และเรากำลังพิจารณาเครื่องบิน ๕ แบบ จากห้าประเทศ คือ สหรัฐฯ ยุโรป รัสเซีย เกาหลี และจีน...อยู่......"
ผมขอวิเคราะห์ในความคิดของผมนะครับ
สหรัฐฯและยุโรปตัดทิ้งไปเลย เพราะราคาอาจจะสูงไปสำหรับประเทศไทยและยิ่งเกิดยากด้วย
แนวโน้มตอนนี้น่าจะมีแค่จีน รัสเซียและเกาหลีใต้เท่านั้น
ส่วนผมมองว่า จีนกับรัสเซีย น่าจะเกิดยากในไทย สหรัฐกับยุโรปมีความเป็นไปได้มากกว่า แต่ถ้าเป็นเครื่องฝึก T-50เกาหลี ผมมองว่าเป็นตัวเต็งเลย แถมอินโดกับฟิลิปปินส์ก็ซื้อไปใช้งานแล้วและเป็นเครื่องยนต์เดี่ยวที่ประหยัดกว่าสองเครื่องยนต์
ชมกันไปพลางๆก่อนครับ T-50 จากเวปไซท์
http://wp.scn.ru/en/ww4/a/1840/69/0
sample-t-50-rtaf
T-50เป็นบ.ที่สิ้นเปลืองที่สุดในตัวเลือกของเราแล้วครับ
T-50ใช้เครื่องF404ซึ่งสิ้นเปลืองมากในหมู่บ.ฝึกด้วยกัน M-346ใช้2เครื่องยนต์ก็จริงแต่ความสิ้นเปลืองของเครื่องยนต์F124คู่นึงยังถูกกว่าF404เครื่องเดียวมาก เช่นเดียวกับYak-130 L-15 และScorpion
"ส่วนตัว"ผมไม่ชอบT-50เลย
ผมว่าตัวแรกที่โดนตัดคือจีนครับ สงสัยว่าเครื่องus คืออะไร ถ้าเป็น เจ้าแมงป่องก็ 20ล้านเหรียญต่อลำ
ข่าวโคมลอย
xxx
ถ้าจะแทนเครื่องใหม่จริงๆ ทำไมไม่มองไปที่ตัวรุ่นใหม่ของเครื่องเดิมครับ ไปคิดะไรเครื่องจีนเครื่องรัสเซียครับ
ราคา L-159 ราคาต่อเครื่อง 15-17 million US
1.เรื่อง "การปลดประจำการ" เป็น "ข่าวโคมลอย" ครับ
เพราะข้อเท็จจริงคือ "ผบ.ทอ.ร่วมงานฉลองครบรอบ20ปี" ไม่ใช่ "ผบ.ทอ.ร่วมงานปลดประจำการ"
เจ้าของภาพ ก็เจ้าของFBที่จขกท.เอามาลงนั่นแหละครับ...ท่านท้าวทองไหล
2.L-159มีชาติเดียวที่ใช้ทางการทหาร คือ เช็ค ที่เป็นผู้ผลิต ซึ่งL-159Bยังไม่มีการผลิตออกมาใช้จริงด้วยซ้ำ ตัดไปได้เลย ถ้าจะมองน่าจะมองL-39NGมากกว่า
เรื่องปลดประจำการของ L-39 เว็บสนุกลงข้อมูลผิดในตอนแรกครับ และนายทหารที่หน้าที่ประชาสัมพันธ์ ได้โทรแจ้งให้แก้ไขไปแล้วครับ
เว็บนี้ลงข่าวเหมือนเต้าข่าว หลายรอบมากแล้ว
เหมือนแอดมิน เอสนิวส์ไม่มีวุฒภาวะเลย
ในแง่ภารกิจของฝูง 402 เอ้ย 401 นั้นคือการฝึกนักบินขับไล่เพื่อก้าวไปเป็นนักบินขับไล่ต่อไปเป็นภารกิจหลักและทีภารกิจสนับสนุนทางอากาศแบบใกล้ชิดเป็นภารกิจรอง ผมมองไปที่สองตัวเต็งคือ T-50 จากเกาหลีและ M-346 จากอิตาลี่ ส่วนจากอเมริกายังไม่รู้ว่าจะเป็นเครื่องอะไร ซึ่งถ้าดูจากความใกล้ชิดกับไทยระหว่างเกาหลีและอิตาลี่ ดูแล้วเกาหลีน่าจะมาแรง ถึงแม้ว่าจะดูสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายแต่ถ้าเทียบเรื่องความใกล้เคียง F-16 ที่อยู่ในฝูง 403 และเครื่องยนต์ที่คล้ายคลึง JAS-39 ย่อมทำให้ดูน่าสนใจ แต่ถ้าจะต้องใช้ฝึกบ่อย เน้นความประหยัดและทันสมัยผใว่า จากยุโรปก็มาวินได้นะ แต่บอกตามตรง ในใจเชียร์ยุโรป
สำหรับ L-159 นั้นความเป็นจริงน่าจะเกิดยาก เนื่องจากจะมีสภาวะความเสี่ยงในอนาคตได้
ทั้งที่จริงๆแล้วผมก็ชอบ เครื่องบินรบแบบนี้มาก ถ้าราคา 16-17 ล้านดอลล่าห์จริง นี่ถือว่าเครื่องบินรบ 1 ลำ เท่ากับราคา รถถังหลักฝั่งยุโรป 1 คัน ถือว่าราคาถูกมากเลยนะครับเนี่ย เครื่องบินปฏิบัติภารกิจได้หลากหลายมากกว่ารถถัง แต่ราคาเท่ากับรถถังรุ่นแพงๆ
แต่ผมไม่มีข้อมูลราคาแต่ละรุ่นเลยอ่ะครับ ใครมีช่วยนำมาให้ดูหน่อยได้มั้ยครับ
TAF เดาว่าเครื่องอเมริกาน่าจะเป็น scorpion หากทอจะเน้นประหยัดคงเป็นเจ้านี่แหละครับ
ผมส่งรุ่นนี้เข้าประกวดได้ไหมครับ
L-39NG ตัวนี้ก็น่าจะเป็นทางเลือกได้อีกทางนะครับ ลองตามไปอ่านใน http://aagth1.blogspot.com/2014/07/aero-vodochody-l-39ng.html
ผมว่าคงเหลือ 2 รุ่น คือ M-346 อิตารี่ และ T-50 เกาหลี ที่มองว่า T-50 สิ้นเปลือง ผมว่าน่าจะ เป็นระดับที่ ยอมรับได้นะครับ
ลองทำ แผ่นภาพ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล
แผนแรก ภาพรวม อากาศยาน ไอพ่น ที่ใข้งานอยู่ (ตัดยอดเสียหายออก)
มองภาพปัจจุบัน ในการ ผลิตนักบิน รองรับ สำหรับ ฝูงบิน ต่าง ๆ (ความเห็นสวนตัว)
ในส่วนนี้ มองภาพที่ L-39 เป็น บ.ฝึกขับไล่ เพื่อสำหรับ รองรับ การผลิต นักบินให้ F-16 โดยเฉพาะ
และตามข้อมูล ข้างต้นว่า L-39 จะรวมไปอยู่ใน ฝูง 411 ทั้งหมด
แต่ในขณะเดียวกัน ทอ. ยังมี F-16 จำนวนมากใน ประจำการ อยู่ รวมถึง อากาศยาน แบบใหม่ ที่จะมา ทอแทน ฝูง 211 ซึ่งคาดหมายว่า ก็น่าจะเป็น อากาศยาน สมรรถนะ ใกล้เคียงกับ ฝูง 103 จึงดูแล้ว L-39 ยังมีหน้าที่ ผลิตนักบิน อยู่เหมือนเดิม แม้จะย้ายไปอยู่ ฝูง 411
แต่ก็มี F-16 ฝูง 403 ที่มีการ ปรับปรุง อัพเกรด ที่เรียกได้ว่า จัดอยู่ใน Gen 4+
ซึ่งในอนาคต ทอ. ก็น่าจะต้องจัดหา อากาศยาน ที่มาทดแทน ฝูง 102 อีก และแบบอากาศยาน ก็น่าจะเป็น แบบสมรรถนะสูง ใกล้เคียง F-16 AM และ JAS-39 C/D หรือจัดอยู่ใน Gen 4+ หรือ Gen 4++ หรือ Gen 5 ไปเลย
ฝูง 401 จึงน่าจะเป็น แบบอากาศยาน เพื่อรองรับ ผลิตนักบินให้ ฝุง 102, 403 และ 701
จึงมองภาพว่า ฝูง 401 น่าจะเป็น LIFT หรือ Lead-In Fighter Trainer
ในความเห็น จึงมองว่า
กรณีที่ 1 ถ้า ทอ. จะจัดให้ ฝูง 401 เป็นฝูงที่ เพื่อฝึกนักบิน สำหรับบิน บ.สมรรถนะสูง ให้ฝูง 102, 403 และ 701 ผมให้ M-346 เป็นคะแนนนำ
กรณีที่ 2 แต่ถ้า ทอ. ไม้เน้นในแบบ กรณ๊ ที่ 1 แต่เป็นการจัดหา ทำหน้าที่แบบเดิม คือ ผลิตนักบินให้กับ ทุกฝูง ผมให้ L-15 หรือ Yak-130 เป็นคะแนนนำ เพราะคิดว่า ทอ. คงต้องใช้ ปริมาณ มากกว่า คุณภาพ ซึ่ง M-346 จะไม่ตอบโจทก์ ในเรื่อง ปริมาณ แต่ทั้ง L-15 และ Yak-130 คงมีการปรับปรุง ค๊อทพิท ในแบบของ ทอ. เอง (อิสราเอล น่าจะได้ในสว่นนี้ เพราะมีการจัดหา M-346 ไป น่าจะประยุกต์ให้ใกล้เคียงกันได้)
ส่วนของ เกาหลีใต้ T/A-50 ถ้าจะมา ผมว่า มาในฝูง 211 อาจจะมีโอกาสสูงกว่า ฝูง 401
ความเห็นส่วนตัว มองภาพในอนาคต
แผ่นภาพ การจัดหาคงลักษณะ ฝูง 401 แบบเดิม
ทอ.ตั้งงบประมาณไว้ 400 ล้านเหรียญ
อินโดนีเซีย จัดหา T-50 จำนวน 16 ลำ ประมาณ 400 ล้านเหรียญ
สิงคโปร์ จัดหา M-346 จำนวน 12 ลำ ประมาณ 410 ล้านเหรียญ
คิดว่าf 50น่าจะมาที่211ครับ เพราะ f16คงไม่มา ด้านตะวันออกภัยคุกคามคงไม่น่ากลัวเหมือนทิศตะวันตกกับทิศใต้
ถ้าสมมติ ทอ. เลือก M-346 แล้วได้ จำนวน 8 ลำ ผมว่า ก็เป็น จำนวน ที่ไม่น่าเกลียด และน่าจะเพียงพออยู่ สำหรับ ฝูงบิน สมรรถนะสูง ในปัจจุบัน
จนกว่าเมื่อ ทอ. จัดหา บ.ทดแทน F-16 ADF แล้ว
ทอ. ค่อยจัดหาเพิ่มเติม ใน เฟส 2 ก็น่าจะได้ และดูสมเหตุ สมผล ดี ครับ ถ้า ทอ. ต้องการ บ.ฝึกขับไล่ ที่เน้นประสิทธิภาพเป็นหลัก
ส่วนตัวอยากให้เน้นไปที่ บ.ฝึก อย่างเดียวไปเลย ซึ่งสนับสนุน M-346 อาจจะแบ่งเป็น 2 เฟสก็เป็นแนวคิดที่ดี 8 + 8
เพื่อให้น้ำหนักไปที่ บ.รบ หลักจะดีกว่า ซึ่ง F16-ADF เป็นฝูงเร่งด่วน ( ยุบ 211 ให้ A-Jet รับผิดชอบไปก่อน )
ซึ่งช่วงเวลานั้น Jass-39 E/F ( อย่างน้อย C/D upgrade ) ดูเหมาะสมดีทีเดียว ดีลเหมือน 701 ได้ Erieye อีกซัก 2 ลำ
ถึงเวลา F-16 อีก 2 ฝูงปลด ก็จะได้เป็น F-35A ตามความต้องการของผู้หลักผู้ใหญ่ซักที
สรุป
Jass-39 2 ฝูง
F-35A 2 ฝูง
M-346 1 ฝูง
คิดว่า L-39 น่าจะปลดไปพร้อม ๆ กับ F-16 A/B ฝูง 103
ส่วนระหว่าง ฝูง 231 กับ 211 ผมว่า ฝูง 211 น่าจะเป็น กำลังหลัก มากกว่า ฝูง 231 ครับ
ดังนั้น ถ้า สมมติ ฝูง 103 มีการปลดไป โดยใช้ F-35A ทดแทน ยังไง ฝูง 401 ก็คงต้องมีการจัดหา เพิ่มเติม อีกครั้ง เพื่อ รองรับกับฝูง 103 ใหม่
แบบที่ 2 มีการจัดหา บ.ใหม่ให้ ฝูง 102 โดยการ คาดหมายว่า อาจจะเป็น JAS-39 E/F
บทสรุป ปี 2570 เป็นต้นไป
สุดท้าย หลังปลดประจำการ F-16 หมด
เอาใหม่ครับ พอดีรูปข้างบน มีเส้นเกินมาเส้นหนึ่ง 5 5 5 5 5
อ่าน ตามทีท่าน juldas คาดการณ์ หลังจากปลดประจำการ พี่ F - 16 หมดเเล้ว
ตามเเผน ในรูป ดู น่าเกรงขามเสียนี่กระไร ประการหนึ่ง ที่ส่วนตัวผม คิดเช่นเดียวกัน ถึงตอนนั้น
การพัฒนา บข.ต่างๆ น่าจะถึง Gen 5+/ Gen 5++/ หรืออาจถึง Gen - 6 เเล้วนั้น ข้างๆบ้านเราก็คงมี บข.ประสิทธิภาพสูงเช่นกัน
เเต่โดยส่วนตัว ย้งสนับสนุน Jas 39 E/F ถ้าหากฝันไม่ถึง F-35A ..... อานาคตเป็นสิ่งไม่เเน่นอน...ใช่ไหมท่านทั้งหลาย
ชอบแผนภาพท่าน Juldas ครับ แต่ผมว่าลูกครึ่งเกาหลีอเมริกัน (T-50) น่าจะมาครับงานนี้ จะมีสอดแทรกได้น่าจะเป็นน้องหมวย อย่างอื่นผมว่าไม่น่าจะเหมาะเป็น บข/ฝ ศตวรรษใหม่ของเราแล้วล่ะครับ
โครงการนี้น่าสนุก ผมว่าคงสูสีกันสุดๆ แต่ที่จะมันส์สุดเลยก็น่าจะเป็นการแข่งระหว่าง M-346 และ T-50 ครับ
แต่ยังไงก็ยังเชียร์ M-346 เพราะผมดูเรื่องความคุ้มค่าในการใช้งานในระยะยาว (30ปี) ถึงแม้ 346 จะมี 2 เครื่องยนต์ แต่ดูแล้วอัตราสิ้นเปลืองมันน้อยกว่า T-50 ที่มีเครื่องยนต์เดียวที่เป็นแบบเดียวกับพวก Fighter + After Burner ซึ้งผมไม่เห็นถึงความจำเป็นอันนี้ในการทำภารกิจการฝึกเลย
ที่น่าลุ้นมีแค่ 2 ตัวแล้วล่ะ ของมะกะโรนีและของกิมจิ 555+
ของมังกรเป็นรองอยู่