ส่วนตัวเชียร์ RBS-15 ครับติดได้สบายๆ ถ้าทําได้กองทัพเรือไทยสามารถต่อเรือรบที่ติดอาวุธต้านเรือรบเองได้
ส่วนตัวเชียร์ RBS-15 ครับติดได้สบายๆ
ทำไมล่ะครับ? จะติดSSMระยะยิงขนาดนั้น เรดาร์หรือระบบบนเรือปัจจุบันไม่มีทางใช้ได้เลย ไม่นับแบบเรือที่ไม่ได้ออกแบบมาติดตั้งตั้งแต่แรก (ถ้าเป็นแบบเรือปัตตานีที่ออกแบบมาติดHarpoonพร้อมลากสายไว้แล้วก็ว่าไปอย่าง)
อีกอย่าง จะติดไปเพื่อ??? เรืออกแบบมาเพื่อลดค่าใช้จ่าย เพื่อให้เราไม่ต้องเอาเรือแบกจรวดแล่นตรวจอ่าว จะไปติดให้มันเพิ่มค่าใช้จ่ายทำไม
คืออ่านกระทู้นี้มาครับ ข้อมูลเรือรบนี้ก็ใกล้เคียงกะเรือตรวจการณ์ปืนใหม่ของไทย อย่างน้อยก็น่าจะติดตั้งระบบรองรับไว้นะครับ
พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ จะเป็นประธานในพิธีวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่ของกองทัพเรือ ณ อู่แห้งหมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ในวันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม 2557 เวลา 10.39 น.
สำหรับการจัดหาเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่ของกองทัพเรือ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดแทนเรือตรวจการณ์ระยะปานกลาง ตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พ.ศ.2551 – 2560 ซึ่งจะทยอยปลดประจำการในอนาคต และใช้ปฏิบัติงานร่วมกับเรือ อากาศนาวี หน่วยกำลังต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง หน่วยกำลังนาวิกโยธิน และ หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ ตั้งแต่ในภาวะปกติ โดยมีขีดความสามารถปฏิบัติการรบ 2 มิติ ได้แก่ การปฏิบัติการสงครามผิวน้ำ และการต่อสู้ภัยคุกคามทางอากาศ ทั้งนี้ กองทัพเรือจัดซื้อแบบแปลนรายละเอียดและพัสดุ สำหรับการสร้างเรือตรวจการณ์ปืน จากบริษัท มาร์ซัน จำกัด โดยทาง บริษัท ได้ส่งมอบแบบแปลนรายละเอียดสำหรับการสร้างเรือ พัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างเรือให้แก่กองทัพเรือในลักษณะ Package Deal
ในขั้นตอนของการสร่างเรือ กรมอู่ทหารเรือ จะดำเนินการต่อเอง โดยแบ่งการสร้างเรือ ออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรกทำการต่อเฉพาะตัวเรือ รวมถึงระบบเครื่องจักร ณ อู่แห้งหมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรี มีระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 13 เดือน (ถึง 31 ส.ค.58) และเมื่อทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำแล้ว จะนำตัวเรือไปทำการประกอบในส่วน superstructure (หอบังคับการเรือ เสาสื่อสาร ) ระบบอาวุธ ณ อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ โดยในระยะที่ 2 นี้ มีระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 10 เดือน ( ถึง กลางเดือน มิ.ย.59)
เรือตรวจการณ์ปืน ลำใหม่ของกองทัพเรือ คาดว่าจะดำเนินการสร้างแล้วเสร็จ ประมาณเดือนมิถุนายน 2559 มีคุณลักษณะที่สำคัญคือ ยาว 58 เมตร กว้าง 9.30 เมตร กินน้ำลึก 2.50 เมตร ระวางขับน้ำสูงสุด 520 ตัน ทำความเร็วสูงสุดได้ ไม่น้อยกว่า 23 นอต (ที่ระวางขับน้ำสูงสุด) มีระยะปฏิบัติการในทะเลไม่น้อยกว่า 2,500 ไมล์ทะเล มีความคงทนทะเลถึงระดับ SEA STATE 4 โดยมีระบบอาวุธประจำเรือที่สำคัญ คือ ปืนขนาด 76/66 มิลลิเมตร จำนวน 1 กระบอก ปืนกลขนาด 30 มิลลิเมตร จำนวน 1 กระบอก ปืนกล ขนาด .50 นิ้ว จำนวน 2 กระบอก ทั้งนี้ในการออกแบบ ได้จัดให้มีพื้นที่ดาดฟ้าท้ายเรือกว้างขวาง ซึ่งสามารถติดตั้งอุปกรณ์หรือยุทโธปกรณ์อื่น ๆ อาทิ อาวุธนำวิถี ได้ในอนาคต
เมื่อดำเนินการสร้างแล้วเสร็จ เรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่นี้ จะเข้าประจำการใน กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ มีภารกิจในการตรวจการณ์ ลาดตระเวน ป้องกันการแทรกซึมในทะเล คุ้มครองเรือประมงและเรือพาณิชย์ ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่กองทัพเรือได้รับมอบหมาย การถวายความปลอดภัยแด่พระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือสาขาต่าง ๆ ตลอดจนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลและชายฝั่ง
ที่มา Page ร.ล.กระบี่
ถาม : คิดว่าเรือตรวจการณ์ปืนใหม่ที่กองทัพเรือไทยต่อจะได้รับการติดจรวดต่อต้านเรือรบไหม
ตอบ : ไม่ครับ เพราะเรือจะมาทำหน้าที่ลาดตระเวนในฝั่งอันดามันแทนเรือหลวงหัวหินซักลำ (อาจเป็นเพราะการปรับปรุงเรือเก่ามีค่าใช้จ่ายสุงไปหน่อนสู้ต่อเรือลำใหม่เลยดีกว่า) ส่วนเรือเก่าก็ยังใช้งานอยู่แต่จะเป็นงานที่หนักน้อยหน่อยประเภทป้องกันระวังมากกว่า โดยส่วนตัวเชื่อว่าจนปลดประจำการจะไม่มีการติดจรวด นอกจากเป็นอาวุธที่พัฒนาขึ้นมาเองแล้วใช้ทดสอบเท่านั้น
เรือลำใหม่ของเรามีเพียงเรดาร์เดินเรือ2ตัวเท่านั้น datalinkไม่มีก็ไม่มีต่อให้ติดจรวดยิงได้200กิโลเมตรแต่จะเอาอะไรไปล๊อคเป้า อุปกรณ์ป้องกันตัวจากฝ่ายตรงข้ามไม่มีเลยรูปทรงถูกตรวจจับได้ง่ายเข้าสนามรบก็มีโอกาสกลับบ้านเก่าเป็นรายแรก การปรับปรุงให้เป็นเรือโจมตีจรวดน่าจะใช้เงินเท่ากับราคาเรือนี่แหละ สู้เรือที่ออกแบบมาโดยตรงไม่ได้หรอกครับ
มาดูเรือเร็วโจมตีติดจรวดของเพื่อนบ้านเรากันบ้างนะครับ ลำแรกเป็นของพม่ายาว49เมตรติดC802เฉยๆระยะยิง120หรือ80กม.จำไม่ได้แล้ว (กำลังจะวาดอยู่พอดีเลยขอหาข้อมูลก่อน) ส่วนอีกลำภาพล่างสุดเป็นของอินโดนีเซียขนาดไล่เรี่ยกันติดจรวดC-705ระยะยิง35กม.ได้มั้งครับ
ดูแค่รูปทรงก็พอเดาได้นะครับว่าถ้าเจอกันผลจะเป็นอย่างไร แต่บางคนบอกว่าก็แค่ทำด้านข้างให้เรียบเฉยๆเท่านั้นเอง ถ้าแบบนั้นดูบนเสากระโดงและหลังคาก็ได้ครับ ยังไม่ต้องลงไปดูอาวูธจรวดหรือเป้าลวงอะไรพวกนั้นหรอก จะเห็นได้ว่าเรือเขาต่างกับเรือเราเยอะมาก แล้วเรือเราติดจรวดได้ไหม ได้ครับแต่ใช้งานเรือให้ถูกต้องกับความสามารถของเรือจะดีกว่า
คนละกิจ คนละแนวคิดกันครับ
แนวคิดของการใช้เรือขนาดเล็ก ติดอาวุธปล่อยนำวิถีระยะไกล จะใช้ยุทธวิธี hit and run แบบเรือเร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถี โดยเรือประเภทนี้จะไม่ออกลาดตระเวนในทะเลนานๆ แต่พร้อมจะออกเรือไปยิงอาวุธตามข้อมูลจากระบบ data link หรือหน่วยชี้เป้า แล้วก็กลับเข้าฝั่ง ขีดความสามารถหลักของเรือประเภทนี้คือมีความเร็วสูง มีระบบสื่อสารและสงครามอิเล็กทรอนิกส์ที่ดี และมีระบบป้องกันตนเองและป้องกันภัยทางอากาศพอสมควร ไม่ว่าจะเป็น soft kill หรือ hard kill (จากบทเรียนสงครามอ่าวฯ ที่เรือ รจอ. ของอิรัค ถูก ฮ.โจมตีทางอากาศจนไม่สามารถแสดงบทบาทอะไรได้เลย) และที่สำคัญการติดตั้งอาวุธปล่อยฯ จะทำให้เรือประเภทนี้กลายเป็นเป้าหมายสำคัญของฝ่ายตรงข้ามทันทีในเวลาสงคราม ทำให้จำเป็นต้องมีความเร็วและขีดความสามารถในการป้องกันตนเองได้
ส่วนเรือตรวนการณ์ปืน มีแนวคิดในการประจำอยู่ในพื้นที่ได้นาน และไม่จำเป็นต้องมีความเร็วสูงมาก (ตาม Spec เรือ ตกป. ใหม่มีความเร็วสูงสุดแค่ 23 นอต) เน้นความประหยัดเพื่อให้มีจำนวนได้มากสำหรับลาดตระเวนในพื้นที่ที่มีระดับความขัดแย้งต่ำ คือมีขีดความสามารถเหนือเรือประมงติดอาวุธ แต่สู้เรือเร็วโจมตีไม่ได้ และจะไม่เป็นต้องมีระบบป้องกันตัวแน่นหนามากเนื่องจากไม่ใช่เป้าหมายสำคัญในเวลาสงคราม ซึ่งการติดอาวุธปล่อยนำวิถีให้เรือประเภทนี้นอกจากจะผิดกิจแล้ว ยังทำให้มีความสิ้นเปลืองสูงขึ้น (เนื่องจากต้องติดตั้งระบบอื่นเพิ่มเติมด้วย) และทำให้เรือตกเป็นเป้าหมายสำคัญได้โดยที่ไม่มีความเร็วและขีดความสามารถในการป้องกันตนเองเพียงพอ
ยกมือถามครับ Hard kill กับ Soft Kill คืออะไรครับ
Hard kill คือการใช้จรวด ปืนใหญ่ CIWS ปืนกล บั้งไฟ หรือเขวี้ยงด้วยรองเท้าเพื่อยิงจรวดให้ตก ข้อดีคือจรวดตกแน่นอนไม่เป็นภาระคนอื่น ข้อเสียคือถ้ามันไม่ตายเราก็ตายบางทีอาจยิงโดนในระยะเผาขน
Soft Kill คือการใช้ระบบเป้าลวง ระบบแจมมิ่ง เปิดม่านบาเรีย หรือเปิดเพลงคลาสสิคให้ฟัง เพื่อให้จรวดเบี่ยงเป้าหมายจากเราหรือวิ่งไปชนอะไรก็ตามจนมันระเบิดไปเอง ข้อดีคือเราไม่ลุ้นจนฉี่เหนียวและประหยัดจรวดราคาแพง ข้อเสียที่สำคัญก็คือมันอาจจะวิ่งไปหาเหยื่อรายใหม่ได้ ดั่งโบราณว่าไว้สัตว์สี่กลีบไว้ใจอะไรไม่ได้ เอ๊ยไม่ใช่แล้ว (แต่จรวดก็มี4กลีบนะเออ)
ถึงคุณ hs3mmq
ถ้าข้าศึกมันไม่ได้ทางผิวน้ำละครับ แต่ถ้ามันมาทางใต้น้ำถามว่าเครื่องบินรบมันจะช่วยปกป้องน่านน้ำไทยได้ไหมครับ
****ฝากให้คิดเยอะๆ...........
เข้าใจแล้วครับ เป็นอย่างนี้นี่เอง ขอบคุณท่าน Superboy ครับ
ชื่อว่าเรือตรวจการณ์ปืนก็ติดปืนในภารกิจปกติก็เพียงพอครับ จรวดนำวิถีระยะไกลไม่ว่า ฮาร์พูน หรือ RBS-15 เกินความจำเป็นไปมาก แต่หากว่าจะทำระบบอาวุธนำวิถีขนาดเล็กไว้เพื่อภารกิจเพิ่มเติมในอนาคตเมื่อจำเป็นก็น่าจะโอเคอยู่นะครับ
ส่วนที่ว่าเรือรบไม่จำเป็นต้องติดอาวุธนำวิถีก็ได้ โดยอาศัยเครื่องบินมาโจมตีให้เป็นความคิดที่เสี่ยงมากๆครับ เพราะเครื่องบินของกองทัพอากาศที่ทำภารกิจโจมตีเรือได้มีจำนวนน้อยและมีภารกิจอื่นๆด้วยอาจจะไม่เพียงพอในการซัพพอร์ทให้กองทัพเรือ อีกทั้งหากกองเรือต้องออกนอกน่านน้ำแล้วถูกโจมตี เครื่องบินกองทัพอากาศไม่สามารถตามไปช่วยได้หรือใช้เวลาในการเดินทางอาจจะทำให้เรือรบถูกโจมตีก่อนได้ครับ
ผมก็ตอบแบบงูๆปลาๆที่เข้าใจแบบส่วนตัวนะครับ
มาแจมเรื่อง ที่มีความเห็นว่าเรือไม่ต้องติดจรวดก็ได้ ใช้เครื่องบินบินไปยิงแทนครับ
จริงๆแนวคิดนี้ก็ทำได้ครับหากเป็นแบบ กรณี เปิดหน้าชกกันไปเลย แต่หากเป็นเหตุการณ์แบบ ตรึงกำลังกันไปมา ลอยเรือประชันกัน รอกระทรวงต่างประเทศไปเจรจา ระหว่างยังตกลงกันไม่ได้นี่เอาเราไม่มีจรวดไปลอยลำ หากร้อนขึ้นมา ก็เป็นหมูในอวยให้เขาสอยหมดสิครับ เพราะเครื่องบินอยู่ในอากาศไม่ได้ตลอดเวลา ไม่เหมือนเรือที่อยู่ในพทได้ตลอด เราจึงดำเนินการกดดันได้ สรุปเรือจรวดยังไงก็สำคัญครับ
เรือตรวจการณ์อาจจะออกแบบให้รองรับ แต่ยังไม่มีแผนติดตั้งมากกว่านะครับ ปัจจุบันนี้ASMมีตัวเลือกค่อนข้างอ่อนตัวมาก แต่สำหรับยามปกติแค่ติดปืนหรือATGM ก็เพียงพอในการเฝ้าระวังหรือกรณีพิพาท เพราะหากสั่งระบบมาติดตั้งเข้าไปเลยก็เป็นการเพิ่มงบประมาณเท่านั้น
ยกเว้นแต่ภัยคุกคามมันสูงจริงๆ ก็อาจจะเลือกแบบเรือตรวจการณ์มาติดตั้งASM เพื่อใช้เสริมการป้องกันฝั่ง.....อีกอย่างถ้าถึงระดับนั้นแสดงว่ากองเรือป้องกันอ่าวระดับคอร์เวตขึ้นไปเจอเก็บหมดแล้ว หรือภัยคุกคามเป้าหมายมีครบ3มิติ กองเรือขนาดใหญ่ที่มีเอาไม่อยู่ เลยต้องเสริมเรือทุกลำที่ทำได้
แล้วตัวเลือกอากาศยานออกไปโจมตีก็เช่นกัน ยกเว้นแต่เป้าหมายไม่มีระบบSAMที่ยิงเกิน50ก.ม.+ อากาศยานก็อาจปลอดภัย ยิงแล้วเลี้ยวกลับฐาน
แต่ถ้าแลกระหว่างเรือเร็วโจมตีติดตั้งASM 150ก.ม.+ ออกไปรัวใส่เป้าหมายแล้วเลี้ยวกลับฝั่ง ปล่อยให้ASMพุ่งชนเรือเป้าหมายแล้วแต่เวรแต่กรรมนับเป็นการแลกที่คุ้มค่า ส่วนภัยคุกคามเรือเร็วโจมตีก็คงมีแต่เรือดำน้ำหรือเรือเป้าหมายเท่านั้น ยกเว้นเรายิงไกลกว่า
เพราะเรือเร็วโจมตีส่วนใหญ่เน้นยิงไกล แล้วกลับฐาน ปล่อยให้เรือเป้าหมายใช้ระบบป้องกันสกัดเองให้อยู่ แล้วASMลูกใหญ่ๆตัวเลือกในการพุ่งชนเป้าหมายสูง พอหวังผลได้
โดยส่วนตัวก็ไม่อยากจะให้ความคิดเห็นอะไรมากกับเรื่องที่ว่าควรจะติดจรวดบนเรือตรวจการณ์หรือ OPV ดีหรือไม่ดีนั้น เอาเป็นว่าเพราะ เงินตัวเดียวเท่านั้น ถ้าเรามีเงินเราก็ซื้อได้ทุกอย่าง (โอ้เงินจ๋าเงิน เมื่อประเทศไทยเราจะรวยซะที)
สำหรับเรื่องจรวด RBS-15 กับเรือตรวจการณ์อันนี้ไม่เห็นด้วย เพราะมันจะเกินหน้าในเรื่องของศักดิ์ศรีและชื่อชั้นของเรือชั้นนเรศวรและจะรวมไปถึงเรือฟรีเกตสมรรถนะสูงลำใหม่ของเราด้วย โอกาสเกิดยาก ทั้งราคาแพงและสมรรถนะของอาวุธก็สูงเกินความจำเป็นสำหรับเรือตรวจการณ์
แต่ถ้าเป็นจรวดร่อนราคาไม่แพงจากประเทศจีน C802Yj83 อันนี้ไม่แน่ แต่ก็ลุ้นเหนื่อยอยู่ดีนะแหละ
ส่วนที่บางท่านให้ทัศนะคติเกี่ยวกับการใช้เครื่องบินรบในการป้องกันทางทะเลซึ่งเสมือนกับว่าจะลดบทบาทหน้าที่ของเรือรบลงไปนั้น อันนี้ก็อย่าไปซีเรียสมากครับคนไม่รู้ย่อมไม่ผิดนะ
เรือตกป.เรือตรวจการปืน เปรียบก็คือยามหมู่บ้าน อาวุธพอแค่ป้องกันตัวกระบอง ไฟฉาย วอ. ไม่เน้นปะทะ ปั่นจักรยาน...ไปไหนไม่ไกล ถ้าไปไกลๆ นานๆ หน่อยก็ต้องลำใหญ่ขึ้น ก็กลายเป็น ตกก. แบบเรือกระบี่ ถ้าตรวจการณ์เพลินๆ ไปเจอเรือฟริเกตของใครก็ไม่รู้ทะเล่อทะล่าเข้ามาน่านน้ำ แจ้งทางวอ.ให้ออก ถ้ายอมออกก็ดีไปไป ร่ำลา บ๊ายบาย ถ้าไม่ยอมก็ต้องเผ่นหล่ะ มวยคนละคล๊าส ไวสุดก็แจ้งทอ.ขอกริเพนแบก RBS มาช่วย ไม่ก็ F-27 แบกฮาร์พูนมาสอยซะ