หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


แนวคิดการแบ่งเรือหลวงตามกายภาพที่มีทะเลทั้ง 2 ฝั่ง

โดยคุณ : rachanui เมื่อวันที่ : 07/08/2014 13:02:43

ขอสอบถามครับ

แนวคิด ถ้า ทร.ไทย แบ่งเรือหลวงออกเป็น เรือฝั่งอ่าวไทย และเรือฝั่งอันดามัน โดยกำหนดให้เรือหลวงลำนั้นๆ ประจำการ นั้นมีข้อดีข้อเสียอย่างไร และถ้าคิดจะปฏิบัตตามแนวคิดนี้ ต้องมีเรือกี่ลำจึงจะเพียงพอ กับอู่เรือที่ต้องสามารถรองรับได้  ตัวอย่างเช่น ประเทศแคนนาดา ที่กำหนดเรือให้ประจำการอยู่ฝั่งแอตแลนติก กับ แปซิฟิก  และ ประเทศจีน ที่กำหนดเรือให้ประจำการ ฝั่งทะเลเหนือ ฝั่งทะเลใต้ ฝั่งทะเลตะวันออก เป็นต้น

เช่น กองเรือฟริเกตที่ 2  หมวดเรือที่ 1 ประจำฝั่ง อันดามัน  หมวดเรือที่ 2 ประจำฝั่งอ่าวไทย หมวดเรือที่ 3 ประจำฝั่งอ่าวไทย

 





ความคิดเห็นที่ 1


ในยามปรกติ

เราจะเห็นกองทัพเรือผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเรือไปประจำที่ฝั่งอันดามันเสมอ มักจะมีการปล่อยขบวนเรือที่ภูเก็ตให้เห็นในทุกผลัด เรือที่ไปประจำการจะเป็นเรือตรวจการณ์ที่มีขนาดใหญ่หน่อย เช่น เรือหลวงหัวหิน เรือหลวงล่องลม ไปจนถึงเรือหลวงตาปี ส่วนเรือหลวงรัตนโกสินทร์และเรือหลวงปัตตานีมีภาระกิจค่อนข้างรัดตัว บ่อยครั้งต้องออกไปนอกประเทศไม่ได้ทำงานเต็มตัวว่าอย่างนั้นเถอะ

 

เรือทั้งหมดงานหลักก็คือการลาดตระเวณล่ะครับ งานรองคือช่วยเหลือนักท่องเที่ยวติดเกาะติดพายุอะไรแบบนี้  ถ้าเเป็นเรือตรวจการณ์ขนาดไม่เกิน1000ตันก็จะมีค่าใช้จ่ายไม่มากแต่ไม่ทนทะเลเท่าไหร่และไม่มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ (แต่เรือหลวงล่องลมมีโซนาร์และตอร์ปิโดด้วยนะเออ ถูกนำมาใช้งานเพราะเรามีเรือไม่พอ) ถ้าใหญ่หน่อยอย่างเรือหลวงตาปีจะทนทะเลมากมีโซนาร์และตอร์ปิโดเนื่องจากเป็นเรือฟริเกตุปราบเรือดำน้ำมาก่อน แต่ก็ยังไม่มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์อยู่ดีนั่นแหละ

 

ในอนาคตเรือลำใหม่ที่จะมาทำหน้าที่แทนก็คือเรือOPV ซึ่งคาดว่าจะเป็นแบบเดียวกับเรือหลวงกระบี่ เรือมีขนาดใหญ่มากออกแบบมาสำหรับภาระกิจนี้โดยตรงมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ มีไอ้โน่นไอ้นี่ แต่เรือไม่มีโซนาร์และตอร์ปิโด(แบบsuper OPVของเราในปัจจุบัน) และการต่อเรือไม่ถึงระดับเรือรบจริงๆแบบเรือหลวงตาปี แต่ก็ได้ความสดและความเหมาะสมเข้ามาแทนที่โดยสมบรูณ์แบบ

 

โดยปรกติเรือรบจะต้องผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนในการประจำการอยู่แล้วไม่ว่าจะประเทศไหน เพราะเรือต้องมีวงรอบซ่อมบำรุงด้วยไม่สามารถใช้งานไปซ่อมไปได้ การแบ่งเรือมันก็แบ่งไปตามตำแหน่งคนที่อยู่บนเรือนั่นแหละครับ แต่การใช้งานจริงคงจะหมุนไปเรื่อยๆ ระบบนี้ราฟาเป็นคนคิดขึ้นทำให้หงส์แดงได้UCLสมัยที่5 เอ๊ย! ไม่ใช่แล้ว

 

ในยามสงคราม

  ตอบได้สั้นๆคำเดียวไม่ทราบครับ สงครามที่เราใช้เรือรบเข้าต่อสู้แบบเต็มรูปแบบมันนานแสนนานมาแล้ว ไม่เคยเห็นตัวอย่างไม่กล้าเดาคำตอบ แต่ฝั่งนั้นมีพม่าและมาเลย์เซียอยู่ติดกับเรา ที่น่ากลัวมากหน่อยคือเรือพม่าเพราะติดจรวดตระกูลC802บนเรือต่างๆในตอนนี้ผมนับได้23ลำแล้ว และน่าจะติดKh-35Eบนเรือฟริเกตใหม่อี่ยมทั้ง3ลำของเขา พม่าเองมีคูกรณีคือบังคลาเทศไม่ใช่ไทยแต่ก็นับเป็นภัยคุกคามเช่นกัน

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 02/08/2014 11:15:28


ความคิดเห็นที่ 2


สำหรับ แนวคิด การแบ่งเรือ ประจำ แต่ละ ฐานทัพเรือ นั้น

จะมีก็เฉพาะแต่ ประเทศใหญ่ ๆ ที่มี การจัดหาเรือรบประจำการ ได้จำนวน ตรงกับความต้องการ ครับ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบัน ที่ผมสังเกตุ เขาจะมีการสร้างเรือรบ และ เรือดำน้ำ ใหม่ เข้าประจำการ อย่างน้อยสุดปีละ แบบละ 1 ลำ หรือ ง่าย ๆ ว่า ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบัน มีเรือปลดระวาง อย่างน้อยปีละ 1 ลำ และมีเรือใหม่ เข้าประจำการ อย่างน้อยปีละ 1 ลำ

สำหรับประเทศไทย ไม่ได้อยู่ใน เงื่อนไข นั้น ก็คงต้อง หมุนเวียน สับเปลี่ยน กันไปตามแบบเดิม

ในเบื้องต้น ที่ ทร. จะทำได้ คือ

การแบ่ง กองเรือยามฝั่ง แยกออกไปจาก กองทัพเรือ อาจจะให้ไปอยู่ในส่วนของ สำนักนายกรัฐมนตรี ภายใต้การควบคุมดูแล ของ กองทัพเรือ เพื่อกองทัพเรือ จะได้ใช้งบประมาณ จัดหาเรือให้เพียงพอ ตรงกับความต้องการ

ซึ่ง ประเทศ มาเลเซีย ก็ได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว ทำให้มีการแยกงบประมาณออกกันอย่างชัดเจน และ กองทัพเรือ ก็สามารถใช้งบประมาณได้เต็มเม็ด เต็มหน่วย

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 02/08/2014 12:38:39


ความคิดเห็นที่ 3


ขอถามหน่อยครับ พวกเรือรบที่ประจำการอยู่ฝั่งอ่าวไทยจะไปประจำการฝั่งอันดามัน จะต้องไปอ้อมประเทศสิงค์โปรหรือป่าวครับ

และถ้าใช่ ใช้เวลาเดินทางประมาณกีชั่วโมงครับ

โดยคุณ iceclub เมื่อวันที่ 02/08/2014 14:24:46


ความคิดเห็นที่ 4


    เขาว่า 2วันนะครับ ถ้าอ้อมไปอิกทาง นี่คงจะหลายเดือนอยู่นะ อันนี้ผมมโนเอาเองนะครับ

โดยคุณ YUKIKAZE เมื่อวันที่ 02/08/2014 16:32:49


ความคิดเห็นที่ 5


อันนี้ ผมไม่รู้เหมือนกันครับ แต่คิดว่า มันก็ ลับ พอสมควร ว่าเรือเราจะไปยังไง ถ้าไม่ผ่าน ช่องแคบมะระกา

แต่ผม เชื่อด้วยแบบ ริว จิตสัมผัส ว่า

มันต้องมี ทางไป สักทาง ถ้าเกิด ช่องแคบ มะระกา มันถูกปิด น่ะครับ แต่คงเป็นเรือระดับระวางขนาดหนึ่ง

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 02/08/2014 17:33:29


ความคิดเห็นที่ 6


จากอ่าวไทยไปฝั่งอันดามัน ใช้เวลาเดินเรือประมาณ 3-7 วัน ขึ้นกับความเร็วที่ใช้ในการเดินเรือ และเรือแวะจอดที่จุดใดบ้างหรือเปล่า เส้นทางก็ต้องใช้เดินเรือผ่านช่องแคบมะละกานั่นแหละครับ ตรงสุด สั้นสุด มีท่าให้แวะจอดมากมายถ้ามีเหตุจำเป็นต้องแวะจอด ประมาณว่าเส้นทาง สัตหีบ/สงขลา - สิงค์โปร์ หรือ ตันจุง ปิลาปัส - พอร์ตกีลัง - ภูเก็ต ข้อเสียน่าจะมีประการเดียวคือเป็นเส้นทางเดินเรือหลักที่มีปริมาณจราจรค่อนข้างหนาแน่น ส่วนเรือปัญหาโจรสลัดถ้าดันตาถั่วเข้ามานอยย์เรือเราก็แค่เอาลูกปืนยิงถากๆ หัวแค่นี้ก็หนีน้ำกระจายแล้วละครับ

ผิดจากนี้ต้องวิ่งลงไปถึงช่องซุนดา อินโดนีเซีย แล้วค่อยวกกลับมาทางช่องมะละกา ผ่านมาเลเซียตะวันตก สิ้นเปลืองทั้งเวลาและเชื้อเพลิงครับ

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 02/08/2014 19:33:08


ความคิดเห็นที่ 7


หรือจะเอาแบบอ้อมโลกสุดๆ ประมาณเรือสำราญ ก็ต้องวิ่งจากอ่าวไทยไปทะเลจีนใต้ - ฟิลิปปินส์หรือไต้หวัน - เข้าแปซิฟิค - ตรงไปคลองปานามา - โพล่ออกทะเลคาร์ริเบียน - ตัดเข้าแอตแลนติก - เฉียดแหลมกู๊ดโฮป - มาดากัสการ์ - ทะเลอาราเบียน - มหาสมุทรอินเดีย - นิโคบาร์ - อันดามัน โอ้ย เหนื่อย... ประมาณหนัง 80 วันรอบโลกอ่ะครับ

แค่เล่าให้ฟัง แต่คงไม่มีเหตุผลใดที่ ทร. จะเคลื่อนย้ายกองเรือไปฝั่งอันดามันด้วยวิธีนี้

เรือเรามีปืนมีจรวด ผ่านสิงค์โปร์เข้าช่องมะละกาไปโผล่ที่ภูเก็ตสบายๆ อยู่แล้วครับ มิตรประเทศทั้งนั้น

แต่ถ้าในภาวะสงคราม อาจมีต้องพล๊อตเส้นทางกันใหม่บ้างตามแต่สถานะการณ์กันมั่งแหละครับ

 

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 02/08/2014 19:42:02


ความคิดเห็นที่ 8


เรื่องแนวคิดการจัดเรือประจำฝั่งทะเลอันดามัน ประเด็นไม่ได้อยู่ที่จำนวนเรือครับ เพราะการที่ ทร.จัดเรือหมุนเวียนกันไปได้ก็แสดงว่ามี จำนวนเรือเพียงพออยู่ แต่ประเด็นอยู่ที่โครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการอยู่ประจำของเรือ (และกำลังพลประจำเรือ) กับความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับการเดินทางหมุนเวียนไปเปลี่ยนเรือมากกว่าครับ

โครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว ได้แก่ฐานทัพ ท่าเรือ และอู่ในการซ่อมบำรุงเรือตามวงรอบ หรือซ่อมทำเรือเมื่อเกิดความเสียหาย ซึ่งในปัจจุบันทางฝั่งทะเลอันดามันมีขีดความสามารถในการซ่อมทำเรือได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์เท่าฝั่งอ่าวไทย

นอกจากการซ่อมบำรุงแล้ว โครงสร้างพื้นฐานในการฝึกกำลังพลก็มีความสำคัญ ซึ่งหมายถึงว่าถ้าจะจัดเรือไปประจำโดยไม่มีการหมุนเวียนกลับมาฝั่งอ่าวไทย ก็จะต้องมีโรงเรียน ศูนย์ฝึก เครื่องฝึกจำลอง สำหรับรองรับการฝึกและการศึกษาของกำลังพล ที่ประจำอยู่ฝั่งโน้นด้วย ตัวอย่างของ ทร.หลายประเทศที่มีประเทศขนาดใหญ่ มีฝั่งทะเล 2 ด้าน และต้องใช้เวลาเดินทางระหว่าง 2 ฝั่งนานมาก ก็จะจัดเรือแยกประจำตามพื้นที่เลย โดยมีอู่เรือ โรงเรียน และศูนย์ฝึก อยู่ทั้ง 2 ฝั่งทะเล

ทีนี้เมื่อพิจารณาในกรณีของไทย ซึ่งใช้เวลาเดินทางระหว่าง 2 ฝั่งทะเลประมาณ 3 วัน (จัดว่าไม่นานมาก) และเรายังไม่มีโครงสร้างพื้นฐานเพียงพอในการรองรับเรือประจำทั้ง  2 ฝั่งทะเล เนื่องจากอู่เรือ โรงเรียน ศูนย์ฝึก และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ยังรวมศูนย์อยู่ในฝั่งอ่าวไทยตอนบน ก็ต้องลองเปรียบเทียบความคุ้มค่าดูครับว่าการหมุนเวียนเรือผ่านน่านน้ำของประเทศเพื่อนบ้าน กับการลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐานในอีกฝั่งทะเล ว่าแบบไหนจะคุ้มค่าและมีความเป็นไปได้มากกว่ากัน

โดยคุณ กัปตันนีโม เมื่อวันที่ 04/08/2014 18:46:06


ความคิดเห็นที่ 9


การฝึกของทหารเรือนี่มันยังไงฮะ ฝึกเสร็จแล้วก่อนประจำกับเรือแต่ละชนิดนี่ต้องไปแยกฝึกกับเรือลำ/ชั้น นั้นๆหรือเปล่าครับ

หรือว่ามีโรงเรียนฝึกไว้แค่อ่าวไทย เวลาจะไปประจำฝั่งอันดามัน (กรณีแยกสองกองเรือ) ก็นั่งรถ/รถไฟข้ามไปขึ้นประจำการณ์บนเรือเลย

ขอไว้เป็นความรู้ด้วยว่าพลทหารเรือประจำแค่บนเรือลำเดียวแล้วปลดประจำการณ์หรือเปล่าครับ กรณีเป็นทหารเกณฑ์

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 04/08/2014 22:34:49


ความคิดเห็นที่ 10


การฝึกของทหารเรือ มีหลายแบบ หลายระดับครับ ตั้งแต่การฝึกพื้นฐาน เช่นพวกความเป็นชาวเรือ และการปฏิบัติทั่วไปที่เหมือนๆ กัน

จากนั้นก็จะเป็นการฝึกความพร้อม ซึ่งจะเป็นการฝึกเฉพาะสำหรับเรือแต่ละประเภท ตามตำแหน่งหน้าที่ในเรือ และการฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีมในเรือ

และสุดท้ายจะเป็นการฝึกความชำนาญ หลังจากที่ได้รับการฝึกตามตำแหน่งหน้าที่และการทำงานเป็นทีมเพื่อบรรลุภารกิจแล้ว ก็จะต้องทำการฝึกทบทวนเป็นประจำเพื่อให้เกิดความชำนาญ

ในส่วนของการฝึกพื้นฐานกับการฝึกความพร้อม สามารถทำได้จากส่วนกลางแล้วเดินทางไปลงเรือครับ แต่การฝึกความชำนาญ จำเป็นต้องฝึกในเรือ หรือถ้าเป็นการฝึกในเรือสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อน หรือเป็นการฝึกที่มีค่าใช้จ่ายมากถ้าต้องใช้เรือจริง หรือไม่สามารถฝึกด้วยเรือจริงได้ ก็จะใช้การฝึกด้วยเครื่องฝึกจำลองเข้ามาช่วยเสริมเพื่อให้ทำการฝึกได้บ่อยครั้งให้เกิดความชำนาญ รวมทั้งเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายจริงจากความผิดผลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการฝึกครับ

ส่วนคำถามสุดท้ายเรื่องพลทหารประจำเรือ โดยปกติแล้วจะอยู่แค่ระยะเวลาสั้นๆ จนครบปลดฯ ก็จะมีโอกาสอยู่กับเรือแค่ลำเดียวครับ  อาจมีการไปสมทบออกเรือข้ามลำบ้าง แต่ก็มักจะเป็นเรือประเภทเดียวกัน

โดยคุณ กัปตันนีโม เมื่อวันที่ 07/08/2014 13:02:43