หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


อยากถามท่านผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้ทุกท่านคับ ว่าสัญญาที่ ทบ.ทำคับยูเครนในการจัดหารถถังหลัก Oplot M \" ภายในสิ่นปี พ.ศ. 2558 หากยูเครนไม่สงรถถัง Oplot M ที่เหลือให้ประเทศไทยเรา ประเทศไทยเราสามารถเรียกค่าเสียหายหรือค่าปรับ อย่างไรบ้างคับ

โดยคุณ : tang2520-3@hotmail.com เมื่อวันที่ : 12/08/2014 15:38:49

อยากถามท่านผู้เชี่ยวชาญและผู้รู้ทุกท่านคับ ว่าสัญญาที่ ทบ.ทำคับยูเครนในการจัดหารถถังหลัก Oplot M  " ภายในสิ่นปี พ.ศ. 2558 หากยูเครนไม่สงรถถัง Oplot M ที่เหลือให้ประเทศไทยเรา ประเทศไทยเราสามารถเรียกค่าเสียหายหรือค่าปรับ อย่างไรบ้างคับ





ความคิดเห็นที่ 1


การจัดซื้อจัดจ้างแบบG to G จระไม่มีการปรับเนื่องจากการส่งของช้าหรือส่งงานช้าครับ ทาง"ชัยเสรี"เคยให้ความเห็นไว้ครับ

โดยคุณ kaewmusik เมื่อวันที่ 31/07/2014 19:42:57


ความคิดเห็นที่ 2


ขอบคุณคับท่าน kaewmusik  คับ อึ่มสัญญาไม่เป็นธรรมกับประเทศไทยเราเลยนะคับ ผมไปอ่านเจอข้อมูลสัญญาการจัดหารถถัง oplot m เห็นเขาระบุว่าระยะเวลาสิ่นสุดสัญญาการจัดหา คือ ปลายปี 2558คับ คือจะต้องครบ 49 คับ หรือปล่าวไม่แน่ใจคับ ภายในเวลานี้คับ แล้วพอถึงเวลาสิ่นสุด ก็ทำอะไรเขาไม่ได้ ส่วนตัวผม ผมว่ามันไม่เป็นธรรมกับประเทศไทยเราจริงๆคับ ขอบคุณท่านkaewmusik ที่มาตอบคับ

โดยคุณ tang2520-3@hotmail.com เมื่อวันที่ 31/07/2014 20:32:10


ความคิดเห็นที่ 3


"คับ"มากระวังหายใจไม่ออกนะครับ  ปล่อยให้หลวมๆบ้างก็ได้นะครับ

โดยคุณ nok เมื่อวันที่ 31/07/2014 21:21:56


ความคิดเห็นที่ 4


ดีลนี้มันจบลงแล้วนี่ครับ ขนาด BTR ของเรายังเอาไปไช้ก่อน เจ้าโอทอป ก็คงมีประจำการในกองทัพนี้เพียง5คันเท่านั้นแหละครับ(อาจจะในโลกเลยก็ได้นะ) เพราะงั้นกำเงินไปซื้อเจ้าลีโอดีกว่า

โดยคุณ YUKIKAZE เมื่อวันที่ 01/08/2014 18:57:57


ความคิดเห็นที่ 5


เขาขายรึเปล่าเหอะ อย่าพูดอะไรที่มันเป็นไปไม่ได้สิครับ รถถังเยอรมันเลิกคิดได้เลย

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 01/08/2014 19:39:03


ความคิดเห็นที่ 6


ลีโอจับต้องได้ ซื้อลีโอแล้วได้ Option เต็มที่ครับ 

#ประชด เห็นหลายครั้งแระ ฮ่าๆๆๆ 

โดยคุณ Akilies เมื่อวันที่ 01/08/2014 23:12:06


ความคิดเห็นที่ 7


ฝ่ายไทยก็ไม่ได้เสียหายอะไรมากครับเพราะในสัญญาระบุเอาไว้ชัดเจนว่าฝ่ายเราจะจ่ายเงินก็ต่อเมื่อได้รับของ(Oplot-M)แล้วเท่านั้น 

ก็คือเราจะเซนต์ใบ invoice ก็ต่อเมื่อได้รับของและได้มีการทดสอบรถถังจนเป็นที่พอใจแล้วครับ

ถ้าจะไม่เป็นธรรมกับเราก็เห็นจะมีแต่ทำให้โครงการจัดหารถถังสมรรถนะสูงของเราล่าช้าออกไปก็เท่านั้นเอง

โดยคุณ Woot1980 เมื่อวันที่ 02/08/2014 08:38:14


ความคิดเห็นที่ 8


เอารายละเอียดสัญญามาจากไหนครับเนี่ย ถ้ามีผมขอดูหน่อย ไม่เคยเห็นเหมือนกัน

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 02/08/2014 09:06:05


ความคิดเห็นที่ 9


ผมใช้มาตรฐานการจัดซื้อของแบบทั่วๆไปสากลที่เค้าทำๆกันนั้นละครับ อย่าคิดมาก อิอิ

คือจะรับของก็ต้องเช็คสภาพของก่อน ถ้าของครบถ้วนสภาพสมบูรณ์ก็เซนต์รับของและส่งใบ invoice ให้แผนกจัดซื้อเค้าไปดำเนินการต่อยังไงละครับ

โดยคุณ Woot1980 เมื่อวันที่ 02/08/2014 09:08:21


ความคิดเห็นที่ 10


    เพิ่งรู้ว่า Leo 2 A5 สวีเดนนั้นผลิตเองนี่ครับใช้ชื่อ Stridsvagn 122 นี่แหละโอกาสครอบครองลีโอ ทีเกาหลียังก็อป M1 มาทำ K1 เสนอขายเราได้ ทำไมไม่ลองทาบทามสวีเดนให้ก็อป Leo 2 มาขายเรามั่ง 55555 จากแฟนพันธ์แท้ Oplot ที่เริ่มใจเสีย

   แก้ไขเพิ่มเติม Leo 2A5 ที่บอกว่าสวีเดนผลิตเองนั้น เป็นผลิตบางส่วนโดยการเป็น sub-contracted ต่อจาก Krauss-Maffei อีกที ได้แก่ Hägglunds บริษัทของสวีเดน ผลิตตัวรถ ป้อมปืน Wegmann เป็นเจ้าภาพโดยมี Bofors เป็น sub-contracted  ตัวปืน 120 มม. Rheinmetall ผลิต 50 เปอร์เซ็นอีก 50 เปอร์เซ็นผลิตโดย Bofors ตัวรถนำมาประกอบในเยอรมันนี แต่การโมดิฟายภายหลังทำโดย  BAE Systems AB ในสวีเดน

 

โดยคุณ GT500 เมื่อวันที่ 02/08/2014 09:27:00


ความคิดเห็นที่ 11


ด้วยความเคารพนะครับ 

"สัญญาระบุชัดเจน" นี่เข้าข่ายบิดเบือนข้อมูลแล้วครับ ถ้าเดาเอาก็บอกเดาเอา ไม่งั้นจะทำให้สับสนครับ ความคิดเห็นการคาดเดาส่วนตัวกับข้อเท็จจริงอย่าปนกันมั่ว

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 02/08/2014 10:21:35


ความคิดเห็นที่ 12


ความเห็นผมว่า OPLOT น่าจะปิดฉาก ได้แล้วนะครับ

มันได้แสดงให้เห็นแล้วว่า ความไม่แน่นอนของในอนาคตของ ผู้ผลิต

ความไม่แน่นอนว่า จะยังมีสายการผลิต อีกหรือไม่ (ถ้า สมมติ ยูเครน ทู้ซี้ ผลิตให้จนครบ 59 คัน ได้สำเร็จในอีก 5-10 ปีข้างหน้า)

ความไม่แน่นอนว่า ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่รวมกันเป็น รถถัง นั้น ประเทศเจ้าของอุปกรณ์บางส่วน จะยินยอมขายให้หรือไม่ หรือ จะขายให้ในราคาแพง เนื่องจาก ไม่มีผู้ใช้ มีเพียง ประเทศไทย ประเทศเดียว ที่ใช้

ผมว่า ความเสี่ยง ของ OPLOT ในอนาคต มีความเสี่ยงเป็น อันดับ 1 มากกว่า รถถังแบบอื่นๆ ไปแล้ว สำหรับเหตุการณ์ในปัจจุบัน

และเมื่อดูถึง โผ ของ รมต.กลาโหม ของ รัฐบาลชั่วคราวแล้ว รถถัง จีน คงมาแน่...(แม้จะมาจากการเลือกของ สนช. ก็ตาม แต่ สนช. มากกว่า ครึ่งหนึ่ง คือ ทหาร และสายสัมพันธ์ทหาร) แม้ใจเขา อยากจะได้ รถถังเกาหลี แต่ เครื่องยนต์ รถถังเกาหลี มาจาก เยอรมัน ยังไง ๆ ซะ ดีล ก็คงไม่จบ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 02/08/2014 12:56:35


ความคิดเห็นที่ 13


Ok ครับท่าน toeytei ผมเคลียร์ข้อความให้แล้วครับ 555.

ตามที่ท่าน จูดาส ว่าผมขอภาวนาหวยอย่าไปออกที่จีนเลยครับ ถ้าไม่ได้ของยูเครนจริงๆแล้ว ถ.ของเกาหลีไม่ผ่านอีกเพราะเรื่องการเมือง

ถ้าอย่างนั้นผมภาวนาให้เป็น T-90 ของรัสเซียไปเลยจะดีเสียกว่าครับ ไหนๆทบ.ก็เล่น Mi-17 ของรัสเซียอยู่ ถ้าอย่างนั้นก็เบิ่ลรถถังของรัสเซียไปด้วยเลยแล้วกันครับ

โดยคุณ Woot1980 เมื่อวันที่ 02/08/2014 16:31:50


ความคิดเห็นที่ 14


สำหรับ T-90 ผมก็ว่า มันดี....

แต่ถ้า รถถังเกาหลี ไม่ได้เพราะ เหตุการเมือง....

สำหรับ T-90 ผมว่า ก็น่าจะไม่ได้ด้วยเหตุเดียวกันครับ

ถ้าเทียบ ล๊อบบี้ยิสต์ ของ รัสเซีย กับ จีน

ประเทศจีน เหนือกว่าเยอะครับ ทั้งสายสัมพันธ์ ทั้งฐานอำนาจ

ในความเห็นส่วนตัว ผมมองยังไง ๆ ก็ รถถัง จีน เมื่อนำส่วนผสมของเหตุผล ทางการเมือง และผลประโยชน์ มาคลุกเคล้าด้วยกัน

ยังไม่เห็น คำตอบอื่น ครับ

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 02/08/2014 17:27:36


ความคิดเห็นที่ 15


ท่าน จูดาส พอจะมีข้อมูลรถถังของจีนที่คาดว่าไทยเราจะซื้อมาเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับรถถังประเทศอื่นๆบ้างไหมครับ

ถ้ามีก็ขอขอบคุณล่วงหน้าเลยครับ

โดยคุณ Woot1980 เมื่อวันที่ 03/08/2014 07:43:28


ความคิดเห็นที่ 16


ภาพสวยๆของ T-90AM ครับ


โดยคุณ Woot1980 เมื่อวันที่ 03/08/2014 08:00:33


ความคิดเห็นที่ 17


แล้วมีรถถังรุ่นไหนอีกมั้ยครับ ที่ ทบ. สามารถจัดหาได้อีก เพราะผมได้ยินแต่รถถัง จีน รัสเซีย

ส่วนของ อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี่ เยอรมัน ก็ราคาสูงเกินไปที่เราจะจัดหา เนื่องจากนโยบายในการจัดหาของเราคือรถถังมือหนึ่ง

เพราะผมมองว่า การจัดหา Oplot ของเราก็ถือว่าเราเลือกประเทศที่ไม่ใช่มหาอำนาจ ซึ่งถือว่าตอนนี้โอกาสจะได้เพิ่มเติมมันยากลงทุกวัน

ซึ่งโอกาสที่เราจะเขียนโครงการจัดหาใหม่ก็คงอีกไม่นานนี้ ทำไมตัวเลือกของเรามันจำกัดนักครับ ไม่ว่าจะเป็นของ จีน รัสเซีย หรือแม้กระทั่งเกาหลีใต้(ซึ่งรุ่นใหม่ก็ราคาแพงเกินจับต้องอีกนั่นแหละ)

กระนั้น ไม่มีประเทศอื่นอีกแล้วเหรอครับ ที่ผลิตรถถังคุณภาพดี ราคาไม่สูงเกินไป ที่เราจะสามารถเจรจาจัดหาได้อีก เพราะเท่าที่ผมไปหาข้อมูลในกูเกิ้ล ผมเห็นว่ามีรถถังที่เสปคไกล้เคียงกับ Oplot อีกหลายรุ่นเหมือนกันนะครับ เช่น  M-95 Degman , Zulfiqar , MBT Arjun Mk-III 

หรือเจ้าพวกนี้เค้าไม่ผลิตขายต่างประเทศครับ อันนี้ไม่รู้จริงๆ

โดยคุณ mutuhagi เมื่อวันที่ 03/08/2014 11:20:59


ความคิดเห็นที่ 18


เหตุที่พูดถึงแต่รถถังจีนรัสเซียเพราะสองประเทศนี้ใหญ่ ไม่ใช่ประเทศที่ผลิตแบบจิ๊บจ๊อยกึ่งโมดิฟายของเก่า พวกนี้สายอะไหล่บำรุงสั้น หรือวันดีคืนดีล้มเงินหมดอีก นี่ยังไม่นับรวมตัวแปรด้านการเมืองอีก

ทั้ง m-95 degman, zulfiqar, ผมว่าอย่าเลย ยิ่งอิหร่านนี่ เทคโนโลยีไม่ไหว ล้ากว่าชาวบ้านอยู่ 

m95 เป็นต้นแบบซึ่งบริษัทมีเงินพัฒนาทำต่อหรือเปล่าไม่รู้

ของอินเดียนี่ก็อีกตัว พัฒนานานมากจนเสร็จออกมาล้าสมัยไปซะแล้ว คุณภาพไม่ดีอีกกองทัพตัวเองยังไม่อยากได้ เพราะก็ใช้ t90 ดีๆอยู่แล้วต้องออกรุ่น mark II ทันควัน markIII ยังไม่มีการผลิตหรือต้นแบบออกมาเลย

 

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 03/08/2014 12:11:33


ความคิดเห็นที่ 19


ข่าวเมื่อ 8 ปี ที่แล้ว

JANE'S DEFENCE WEEKLY - FEBRUARY 15, 2006
China tempts Thailand with modified MBT

Yihong Chang JDW Correspondent
Hong Kong
and Robert Karniol JDW Asia-Pacific Editor
Bangkok

China North Industries Corp (Norinco) has modified a main battle tank (MBT) for potential sale to Thailand despite deep dissatisfaction within the Royal Thai Army (RTA) over its earlier procurement of Chinese armoured vehicles.

A Norinco source told JDW that its Type 96T MBT was designed specifically for the Thai market and field tests have been completed. The Type 96T is based on the Type 85-II, with a variant already exported to Pakistan.

The vehicle weighs 41 tonnes and is powered by a V12 730 hp diesel engine with power-to-weight ratio of 17.8 hp/tonne. The tank is armed with a 125 mm smoothbore gun and can carry 40 rounds of ammunition is available, including armour-piercing fin-stabilised discarding sabot, high-explosive anti-tank and high-explosive shells.

The RTA obtained 108 Type 69-II MBTs and 450 YW531-H armoured personnel carriers (APCs) from Norinco about 15 years ago. Both platforms have proven problematic and it is thought that few of the MBTs are currently operational.

The Chinese initiative appears to be in response to RTA interest in expanding its mechanised capabilities. Bangkok revealed plans in mid-2003 to meet this requirement through the proposed acquisition from Switzerland of 170 Pz-68 heavy tanks, 24 recovery vehicles and 12 bridge-laying tanks from decommissioned stocks. However, the initiative was ultimately abandoned.

Thailand's initial defence acquisitions from China, dating from the late 1980s, is widely thought to have been due to personal interests promoted by then army chief General Chavalit Yongchaiyudh. Beijing won few contracts after Gen Chavalit faded from power, but its position improved under the current Thai Prime Minister, Thaksin Shinawatra.

Last year it was announced that the two countries had concluded a memorandum of understanding, yet to be finalised, which would see the RTA obtain 97 WMZ-551B 6 x 6 APCs from Norinco under a barter deal involving longan fruit supplies.

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 03/08/2014 12:18:40


ความคิดเห็นที่ 20


ขอบคุณครับท่าน toeytei

ตอนนี้เข้าใจแล้วครับ แสดงว่าตัวเลือกที่กองทัพเลือก Oplot นั้น ก็ถือว่าเป็นการเลือกที่เหมาะสมที่สุดแล้วใช่มั้ยครับ

เพราะของอเมริกา และยุโรปส่วนใหญ่ ที่มีรถถังที่ทันสมัย ราคาต่อคันก็สูงมาก ของรัสเซียก็ระบบไม่เข้ากัน ของจีนก็คงเช่นเดียวกัน

ใจจริงผมเชียร์ตระกูล K1 มากที่สุด เพราะผมมั่นใจคุณภาพการผลิตของเกาหลีใต้มากกว่าจีน ถ้าเราต้องการจริง คิดว่าเกาหลีเค้าจะเปิดไลน์การผลิตให้เราได้มั้ยครับ

ส่วนรุ่นอื่นที่ยังเป็นต้นแบบอยู่แล้วบริษัทไม่น่าจะมีเงินทำต่อ ถ้าหากมีประเทศหนึ่งสนใจ แล้วเสนอตัวร่วมทุนด้วย จะเป็นไปได้มั้ยครับ เพราะขนาดเครื่องบินรบ ยังเห็นร่วมทุนกันได้เลยครับ แล้วการร่วมทุนสามารถทำให้ราคาค่าตัวถูกลงได้หรือไม่

โดยคุณ mutuhagi เมื่อวันที่ 03/08/2014 19:49:37


ความคิดเห็นที่ 21


ของ อิสราเอล พอไหวมั้ยครับ

โดยคุณ bangkokguy เมื่อวันที่ 03/08/2014 21:49:12


ความคิดเห็นที่ 22


ของอิสราเอล  ถ้าเป็นของใหม่ก็ 10 ล้านอัพ และเขาก็คงไม่ขายให้เราครับ เนื่องจากกลัวความลับถูกเปิดเผย อิสราเอลไม่ขาย เมอคาวาให้ใครง่ายๆ 

 

 

 

 

โดยคุณ skysky เมื่อวันที่ 03/08/2014 23:13:54


ความคิดเห็นที่ 23


     มี เมอคาว่า3 ที่ปลดแล้วจอดทิ้งเยอะแยะขอซื้อซักคันละ5แสนเหรียญ แล้วเอามาโม ใส่กล่องดันรางไหม่ ก็พอได้อยู่นะ อย่างน้อยๆก็วิ่งได้ยิงได้

โดยคุณ YUKIKAZE เมื่อวันที่ 03/08/2014 23:40:33


ความคิดเห็นที่ 24


เอามาจากไหนว่ามีเมอคาว่า mk3 จอดทิ้งเยอะแยะ?

มโนเอง?

 

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 04/08/2014 07:20:29


ความคิดเห็นที่ 25


ที่น่าสนใจคืออิสราเอลเคยเสนอขายเมอคาวา mk4 ให้โคลอมเบียในราคาเฉลี่ยคันละ $ 6 mil.

น่าสน 

ผมว่าเรื่องราคาที่บอกว่ารถถังฝั่งตะวันตกรุ่นล่ามือหนึ่งจะต้อง 10 ล้านอัพและฝ่ายค่ายตะวันออกแค่ประมาณห้าล้านคงใช้ไม่ได้แล้วแหละ

เพราะอินโดฯก็ซื้อลีโอ (อัพเกรดปนรุ่นเก่า) มาในราคาสมเหตุสมผล

ปัจจัยหลักอาจจะอยู่ที่ดีลในภาพรวม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และนายหน้า?...หรือดีลเลอร์..

อาวุธอิสราเอลที่เราซื้อก็หลายอย่างอยู่ ทั้งการโมฯเครื่องบิน ซื้อยูเอวี ล่าสุดก็เปลี่ยนมาใช้ปืนพี่แกเป็นปืนหลักในทบ.รวมทั้งบางหน่วยในทอ.และทร. 

 

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 04/08/2014 07:34:54


ความคิดเห็นที่ 26


ด้วยสถานการณ์ตอนนี้ผมว่าหากซื้อรถถังอิสราเอล จะไม่เป็นผลดีกับเราครับ เหตุการณ์ที่ฉนวนกาซา่ยังไม่จบและ ตอนนี้ความรู้สึกต่อต้านอิสราเอลค่อนข้างสูงในกลุ่มชาวมุสลิม 

โดยคุณ skysky เมื่อวันที่ 04/08/2014 11:09:05


ความคิดเห็นที่ 27


เรื่องความรู้สึกต่อต้านยิวในชาวมุสลิมรุนแรงแค่ไหนผมไม่รู้นะ แต่อเมริกาบุกอิรัก บุกอัฟกานิสถาน เราก็ยังซื้อ/ใช้ของอเมริกาไม่มีปัญหาอะไร

ขอแค่อย่ามีสื่อมาจุดประเด็น ยิ่งสมัยนี้ชอบเมนท์ก่อนอ่าน เห็นแล้วเหนื่อย

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 04/08/2014 12:29:43


ความคิดเห็นที่ 28


อิรัก อาฟกานิสถาน นั้นอเมริกาไม่ได้ไปคนเดียวแบบอิสราเอลถล่ม กาซ่านิครับ ทั้งอังกฤษ อิตาลี ฝรั่งเศษ เยอรมันก็ไปหมด ผู้ค้าอาวุธใหญ่ๆ เหลือแค่ จีน / รัสเซีย / อิสราเอล ที่ไม่ได้ไป แม้นกระทั้งไทยเราเองยังส่งทหารไปอยู่ในอิรักเลย แถมชาติอิสลาม หลายๆชาติยังให้ความร่วมมือ ไม่ว่าจะเป็น ซาอุ จอร์แดน ปากีสถาน ฯลฯ

โดยคุณ skysky เมื่อวันที่ 04/08/2014 13:22:03


ความคิดเห็นที่ 29


เรื่องรถถังยิว ผมว่าหากซื้อมาคิดว่าแทบไม่มีการกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเลยครับ เพราะความขัดแย้งนี้ไม่ใช่ความขัดแย้งใหม่ เป็นเรื่องเดิมๆ ที่วนเวียนโดยไม่ได้มีปัจจัยใหม่เลย นอกจากนี้ไทยเองก็ไม่ค่อยได้ยุ่งเรื่องความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์อยู่แล้ว และไม่ได้มีเสียงหรือบทบาทในเวทีโลกอะไรอยู่แล้ว

ส่วนเรื่องโอปล็อตผมก็ต่อต้านตั้งแต่แรกด้วยเหตุผลชัดเจนคือบริษัทส่ง btr ช้าขนาดนั้น ไม่มีความสามารถในการ deliver ดีลโอพล็อตโดยไม่ผิดสัญญาแน่นอน สาเหตุหลักไม่ใช่เพราะเรื่องคุณภาพหรือสมรรถนะเป็นหลักแต่อย่างใด 

ส่วนที่ว่าเรายังไม่ได้จ่ายเงิน ไม่ถือว่าเสียผลประโยชน์ ความจริงคือต่อให้ไม่จ่ายก็เสียผลประโยชน์อยูดี เพราะความพร้อมรบจะต่ำกว่าแผน ลองคิดว่าถ้าเป็นการซื้อทดแทนแล้วไม่ได้ของสิ ดังนั้นหากจะมองอีกมุม หากเราจ่ายแพงกว่าแต่ได้ของตรงตามความต้องการและช่วงเวลา จะคุ้มกว่าซื้อของถูกแล้วไม่ได้ของ (หรือไม่ซื้อเพราะของยังไม่ส่ง และเรายังไม่จ่าย) ด้วยซ้ำ

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 12/08/2014 15:38:49