เป็นครั้งแรกของ กองทัพเรือบรูไน ในการยิงอาวุธนำวิถีโจมตีเรือ Exocet MM-40 Block 2 จาก KDB Darulaman ในฝึก RIMPAC 2014 ที่ บริเวณหมู่เกาะ ฮาวาย ซึ่งในการฝึกครั้งนี้ มีกองทัพเรือในกลุ่มประเทศ อาเซียน เข้าร่วมฝึกประกอบด้วย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ ยกเว้น ประเทศไทย
KDB DARUSSALAM & KDB DARULAMAN FIRES HER FIRST EXOCET MM40 BLOCK II SURFACE TO SURFACE MISSILE |
โHAWAII, Monday 14 July 2014 - KDB Darussalam & KDB Darulaman has proved her fighting capability by firing her missile system for the first time. Darussalam class patrol vessel, KDB Darussalam and KDB Darulaman have successfully conducted its first exocet mm40 block ii surface to surface missile firing in the pacific missile range facility (PMRF), 80 nautical miles north of Kaua’i Island. Both RBN ships are currently participating in its first multi-national exercise rim of the Pacific (RIMPAC) which is hosted by the United States third fleet in Hawaii for a month long. RBN ships participating in the ‘sink’ exercise (SINKEX) with other participating nations fired the exocet surface to surface missiles at around 0920w (local time 0320h). Both missiles were successfully launched towards the intended target simultaneously at a distance of approximately 40 nautical miles. The tactical firing was aim to achieve full operational capability of the Darussalam class patrol vessels. On completion of the missile engagement, both ships returned to Pearl Harbor to refuel before rejoining for the next sea phase of the exercise with task force 175 on 18 july 2014. Officers and crew have worked tirelessly to meet all the requirements as well as making sure the ship remains at the highest state of maintenance. They have proven themselves they could deal with these evolutions and by completing the exercise; KDB Darussalam & KDB Darulehsan adds another significant accomplishment in its operational capability and marks another major milestone for the Royal Brunei Navy. Apart from reaching operational capability, enhancing trust and confidence amongst world’s navies, capacity buildings are also achieved. Building capacity proves to be a worthy dogma in precluding and countering to any maritime security challenges. Occasion such as RIMPAC 2014 certainly provides that opportunity and the Royal Brunei Navy is definitely gaining from the experience and the significance of the event. Present to witness the live-feed firing located at the pacific war centre was Deputy Minister of Defence of Brunei Darussalam, Dato Paduka Haji Mustappa bin Haji Sirat, accompanied by Commander of Royal Brunei Navy, First Admiral Dato Seri Pahlawan Abdul Aziz bin Hj Mohd Tamit. The RIMPAC exercise is presently ongoing and will conclude on 30 July 2014. Both RBN ships are scheduled to depart Hawaii on 4 august 2014 for the voyage back to Brunei Darussalam. Taking the opportunity as well, a ceremony for the distribution of dates bestowed by His Majesty the Sultan and Yang Di-Pertuan of Brunei Darussalam in conjunction of the holy month of Ramadhan 1435 Hijrah was also held for the officers and personnel of KDB Darussalam and KDB Darulaman. The distribution of dates were presented by First Admiral Dato Seri Pahlawan Abdul Aziz bin Hj Mohd Tamit, Commander of Royal Brunei Navy.
Missile launched from KDB Darussalam
|
ร.ล.ดารุลลามาร์ เป็นเรือ OPV ในชุด Darussalam ที่ กองทัพเรือ บรูไน ซื้อจากเยอรมัน เพื่อมาทดแทน เรือ OPV ชุดเดิม ชั้นNAKHODA RAGAM ที่สั่งซื้อมาจาก ประเทศอังกฤษ ที่ปัจจุบัน ได้ขายให้กับ ประเทศอินโดนีเซีย ไป แล้วกำลังจะรับมอบเพื่อขึ้นประจำการในปีนี้
เรือในชุด ประกอบด้วยเรือจำนวน 4 ลำ ด้วยกัน
คุณลักษณะเรือ
ยาว 80 เมตร
กว้าง 13 เมตร
ระวาง 1,625 ตัน
กำลังพล 55 นาย
ความเร็วสูงสุด 20 นอต
สามารถปฎิบัติในทะเลได้นานสูงสุด 21 วัน
ภาพ KDB Darussalam และ KDB Darulaman ใน RIMPAC 2014
ขออนุญาติเพิ่มเติมข้อมูลนะครับท่านจูดาส เรือชั้นนี้ของบรูไนมี4ลำ แต่KDB Daruttaqwaลำสุดท้ายที่เพิ่งเข้าประจำการในปีนี้ยังไม่ได้ติดอาวุธจรวดและปืน57มม.แต่อย่างใด(รวมทั้งstring eo 1.2ด้วย ) มีเพียงปืนกลติดรีโมท27มม.ที่ด้านหน้าเรือเท่านั้น รูปแบบเรือจึงเป็นเรือOPVจริงๆที่อนาคตรองรับการติดอาวุธหนักได้(คงใช้ไปก่อนอีกนานเลย) ด้านท้ายเรือมีช่องปล่อยเรือRIHB .ใต้ลานจอดก็มีพื้นที่ว่างมากพอใส่ตู้คอนเทนเนอร์ในภาระกิจพิเศษ เป็นเรือเอนกประสงค์และมาจากเยอรมันมีแต่ของที่ผมชอบทั้งนั้นเลย แต่กลับไม่ได้รู้สึกกรี๊ดเท่าไหร่เพราะดูทันสมัยมากเกินไปหน่อย
06 KDB Darussalam [May 2011]
โ� 07 KDB Darulehsan [May 2011]
โ� 08 KDB Darulaman [December 2011]
โ� 09 KDB Daruttaqwa [May 2014]
ขออนุญาติลงภาพประกอบด้วยเลยนะครับ วาดเสร็จ2เดือนแล้วมีจุดไม่สวยเหมือนกันยังไม่ได้แก้เลย
เผลอมองบิกินี่ ก่อนมองเรืออีกครับ แหะๆ
จากข้อมูลของท่าน superboy ลำสุดท้าย 09 ถ้าให้ความเห็นส่วนตัว น่าจะภาระกิจหลัก คือ การฝึกกำลังพล สำหรับสร้างความคุ้นเคย และประสบการณ์
และจากการเก็บข้อมูล ผมว่า ทร.บรูไน ค่อนข้างจะไม่ให้ความสำคัญกับ การให้หมายเลขเรือ สักเท่าไหร่
ผมนั่งเรียงเลข ไม่ถูกเลยทีเดียว
แต่เข้าใจว่า โดยหลักจะให้หมายเลข ตามที่มีจำนวนเรือประจำการอยู่ในขณะนั้น ๆ โดยไม่สนใจว่าเลขมันจะซ้ำกันหรือไม่
เช่น แผนวางกำลังทางเรือ มีจำนวน 9 ลำ
ก่อนหน้านี้จะหมายเลขอะไรก็ตามแต่ แต่จะนับจำนวนต่อจาก เช่น
ก่อนการประจำการเรือชุดนี้ จะมีเรือหมายเลข 17,18,19,20 และ 21 ก็จะเท่ากับ 5 ลำ
พอเรือชุดนี้ เข้าประจำการ ก็จะใช้หมายเลข 06,07,08,09 หรือเปล่า ดูแล้ว งง กับ หมายเลขเรือ
ตัวอย่างเช่น ทำไม เรือ Nakhoda Ragam ถึงใช้หมายเลข 28,29,30 ?
ก็เลยลองดู พอจะทำความเข้าใจได้ว่า ทร.บรูไน ใช้หมายเลขเรียงลำดับมาเลย ว่ามีเรือชุดนี้ เป็นเรือลำที่ 28 - 30
แต่พอมาเรือชุดนี้ ที่สร้างมาแทนชุด Nakhada Ragam กลับมาใช้หมายเลข 06 - 09
หมายเลขเรือ ทร.บรูไน ใช้ข้อมูล วิกีพีเดีย
เรื่องตัวเลขผมว่ามันบอกอะไรไม่ได้เลยและมีบ่อยไปที่ซ้ำกันนะครับ USS Rodney M. Davis (FFG-60) เข้าประจำการในปี 1987จนถึงปัจจุบัน USS Paul Hamilton (DDG-60) เข้าประจำการตั้งแต่ปี1995จนถึงปัจจุบัน ทั้งคู่ก็ใช้หมายเลข60เหมือนกันเอามาจอดเทียบกันได้เลย
ถ้าเอาตัวเลขข้างเรือที่อ่านแล้วชวนปวดหัวก็ต้องกองทัพเรือไทยนี่แหละ คนไทยด้วยกันยังไม่ค่อยเข้าใจเลยแล้วยังต้องอธิบายให้คนต่างชาติที่ดันอยากรู้เข้าเสียอีก ปวดหัวตื๊บ
แต่ผมว่า ทร.ไทย ใช้หมายเลขเรือ ได้ชัดเจนที่สุดนะครับ แบ่งประเภทเรือชัดเจน โดยใช้หลักการเดียวกับ ประเทศญี่ปุ่น
เช่น เราเห็นเรือรบ เลขตัวแรก หมายเลข 4 บรา ๆ ในอ่าวไทย เราก็พอจะรู้แล้วว่า คือ เรือรบหลัก หรือเรือฟริเกต ของ ทร.ไทย
หรือเราเห็นเรือรบ เลขตัวแรก หมายเลข 5 บรา ๆ ในอ่าวไทย เราก็พอจะรู้แล้วว่า คือ เรือตรวจการณ์ หรือเราไปเห็นเรือ เลขตัวแรก หมายเลข 6 บรา ๆ เราก็พอจะรู้แล้วว่า คือ เรือทำลายทุ่นระเบิด
หรือเราเห็นเรือรบ เลขตัวแรก หมายเลข 7 บรา ๆ เราก็พอจะรู้ว่า เรือนี้ คือ เรือลำเลียงพล
หรือในแง่ ยุทธศาสตร์ เห็นหมายเลขเรือ ตัวแรก เราก็จะพอจะตั้งรับ ได้แล้วว่า ควรจะสู้ หรือ ถอยตั้งหลัก หรือ ล่าเพื่อยึด ส่วนหมายเลขต่อไป คือ ตัวเลขจำเพาะเลยว่า เป็นเรือลำไหน ซึ่งผมว่า เคลียร์ชัดเจนดี
อย่างที่ คุณ superboy ยกตัวอย่าง อย่าง ทร.สหรัฐ ใช้หมายเลขเรียงลำดับ ของเรือแต่ละชั้น โดยไม่ได้แบบประเภท เรือ FFG-60 จึงมีหมายเลขเรือเดียวกับเรือ CG-60 ซึ่งคงต้องดูแบบเรือในการพิสูจน์ ในแง่การข่าว ของการสืบทราบจากบุคคลที่ไม่รู้จักประเภทเรือ ก็สร้างความสับสนให้ได้เหมือนกัน
แต่เมื่อเทียบกับ ทร.ไทย เรือฟริเกต หมายเลข 33 (ร.ล.มกุฎฯ) จะหมายเลขซ้ำกับ เรือตรวจการณ์ หมายเลข 33 (ร.ล.ล่องลม) ซึ่งหมายเลข 2 ตัวนี้ คือ หมายเลขจำเพาะว่า เป็นเรือชื่ออะไร แต่เมื่อ ทร.เติม เลข 4 ให้กับเรือฟริเกตหมายเลข 33 และ เติมเลข 5 ให้กับเรือตรวจการณ์หมายเลข 33 ก็จะทำให้ เรือจะไม่มีหมายเลขซ้ำกัน และแบ่งประเภทเรือได้ชัดเจน ว่า 433 คือ เรือฟริเกต และ 533 คือ เรือตรวจการณ์ ในแง่การข่าว ก็จะรู้ว่าเป็นเรืออะไร เพียงแค่เห็นเลขตัวแรก เท่านั้น
เช่น กรณีของ ทร.บรูไน ถ้า สมมติ ทร.บรูไน ได้เรือชั้น Nakhoda Ragam ประจำการ
ในบริเวณน่านน้ำระหว่าง บรูไน กับ มาเลเซีย คงสับสนน่าดู เมื่อเห็นเลขเรือในบริเวณน่านน้ำดังกล่าว คงต้องพิสูจน์ด้วย รูปร่างตัวเรือ อย่างเดียว โอกาส การเข้าใจผิด มีอยู่สูง โอกาสกระทบกระทั่ง กับ ประเทศที่ไม่ใช่ คู่กรณี มีอยู่มากกว่า
ตามตัวอย่างภาพ ครับ
โดยปรกติของเรือรบประเทศอื่นๆ การใส่หมายเลขข้างเรือไม่จำเป็นต้องให้ต่างชาติเข้าใจเลย การสื่อสารระหว่างเรือแต่ละลำมีรหัสอยู่แล้ว เรือหลวงนเรศวร มีนามเรียกขานสากล HSME แบบนี้เป็นต้น
ท้านจูดาสลองคิดตามนะครับ บรรดาเรือตังเก เรือหาปลาหรือเรือส่วนตัวทั้งหลาย ได้มีการจัดหมายเลขให้มันชัดเจนเพื่อให้ประเทศต่างๆเข้าใจหรือเปล่า อเมริกาเอาเรือรบตัวเองวิ่งเข้าสงครามไม่รู้กี่แห่งๆต่อกี่แห่งก็ไม่เคยมีปัญหาเรื่องหมายเลข(เพราะไอ้คนยิงจรวดใส่มันซัดมาตั้งแต่40กม.โน่น) การพิสูจน์ทราบด้วยสายตาเพียงอย่างเดียวผมว่ามันไม่ชัดเจนถึงขนาดยิงใส่กันได้ เพราะมีทั้งหมอกทั้งฝนและที่สำคัญที่สุดคือคลื่นบนท้องทะเลเป็นตัวบดบัง เรือรูปทรงเตี้ยๆมีหมายเลขไม่ใหญ่ก็มองไม่เห็นอยู่ดี
บนเรือเองก็มีอุปกรณ์ในการช่วยพิสูจน์อยู่แล้วจะเป็นE/O,TDS หรือ FCS หรืออย่างน้อยๆก็มีtarget designator รุ่นMK1สมัยสงครามโลกของอเมริกาติดเอาไว้ โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการใส่หมาเลยให้มันชัดเจนและวุ่นวาย เพราะมันไม่มีความจำเป็นจะต้องให้คนอื่นเข้าใจ ว่าเรือรบของเราลำไหนคือลำไหนกันแน่เพราะมันเป็นการบอกตำแหน่งเป้าหมายสำคัญในการโจมตีมากกว่า แต่กองทัพเรือจะทำผมก็ไม่ได้ว่าอะไรนะครับเพียงแต่ไม่เห็นข้อดีเลยซักนิดเดียว
เรื่องตัวเลขเรือของไทยเหมือนตั้งให้มันเป็นระบบระเบียบมากกว่า
ถ้าอเมริกาใส่เลขตัวแรกแทนประเภทเรือผมว่าของต้องใช้เลขฐานยี่สิบ ฮา
ก็คงประเมาณเดียวกับเลขซีเรียลบนเครื่องบินรบ
การแบ่งหมวดเรือของ ทร.ไทย ใช้กันมากว่า 16 ปี แล้วครับ ตั้งแต่ปี 2541 โดยก่อนหน้านั้นเอง ก็คงจะมีความสับสนในเรื่องหมายเลขเรือ ที่มีตัวเลขเหมือนกัน ทั้งเรือรบ และเรือช่วยรบ ก็คงสับสนทั้งจากหน่วยงานภายใน ทร. เอง หรือ จากบุคคลภายนอก เช่น การรักษากฎหมายทางทะเล หรือการฝึกร่วม ซึ่งในสมัยก่อนนั้น ก็ยังไม่ทันสมัยเท่าทุกวันนี้ครับ การพิสูจน์ทราบ ยังต้องใช้ ระยะสายตา อยู่
และการใช้ตัวเลขแบ่งหมวดนี้ หลายประเทศก็ใช้กันมานาน แบบเดียวกับ ประเทศญี่ปุ่น และ ประเทศจีน ที่ใช้หมายเลขเรือ แบ่งประเภทเรือ รวมถึง อินโดนีเซีย ก็ใช้เช่นกันครับ
อย่างเช่น ประเทศจีน นอกจากใช้ตัวเลข ตัวแรก แบ่งประเภทเรือแล้ว คือ หมายเลข 1 หมายถึง เรือพิฆาต และหมายเลข 5 หมายถึง เรือฟริเกต แล้ว
ประเทศจีน ยังใช้ ตัวเลข ตัวที่ 2 บอกถึงว่า เรือลำนี้ ประจำการใน กองเรือไหน อีกด้วยครับ
ยกตัวอย่าง เช่น เลขตัวที่ 2 หมายเลข 0 เป็นต้นไป จะประจำการกองเรือทางเหนือ กับตะวันออก ส่วนหมายเลข 5 เป็นต้นไป จะประจำการฐานทัพเรือทางใต้ เป็นต้น ครับ
คือ แค่เราเห็นหมายเลข 3 ตัว ของ จีน เราก็สามารถพิเคราะห์ในเบื้องต้นได้ว่า เรือลำนี้ มาจากกองเรือไหนครับ
การแสดงสัญลักษณ์ หมายเลขเรือ ที่ชัดเจน ผมว่า เป็นการแสดงเจตนาเปิดเผยตัวตน เพื่อลดภาพภาพการคุกคามลงใน ระดับหนึ่ง
ยกตัวอย่าง เช่น สมมติ ในเขตน่านน้ำที่ทับซ้อน ระหว่าง ญี่ปุ่น กับ ประเทศจีน
เช่น เรือประมงญี่ปุ่น ตรวจพบ เรือรบ ที่อาจจะไม่ทราบว่าเป็นเรือของชาติไหน การแจ้งข้อมูล หมายเลขเรือ ขึ้นด้วยเลข 1 หรือ เลข 5 ก็จะสามารถทำให้ ญี่ปุ่น สามารถพิเคราะห์ ข้อมูลเบื้องต้นได้ ถึงภัยคุกคาม ว่าอยู่ในระดับไหน และถ้า ตรวจพบว่า เป็นเรือขึ้นต้นด้วย หมายเลข 1 ก็สามารถติดต่อ สื่อสาร กันได้ก่อน เกิดการกระทบกระทั่ง ถ้า ญี่ปุ่น รู้สึกว่าเป็นภัยคุกคาม แต่ เรือรบจีน อาจจะไม่ได้มีเจตนาแต่อย่างไร เมื่อเทียบกับ การตรวจพบ เรือรบที่มีหมายเลขที่ไม่สามารถแสดงตัวตนได้อย่างชัดเจน ญี่ปุ่น ก็คงต้องส่งทั้ง เครื่องบิน และ เรือรบ ในการพิสูจน์ทราบ ซึ่งจะสะท้อนภาพความเป็นภัยคุกคาม มากกว่า
ข้อมูลเก่าปี 2009 ที่เคยทำข้อมูล ของเรือพิฆาต และ เรือฟริเกต กองทัพเรือจีน ไว้ครับ
หมายเลข 1 = เรือพิฆาต
หมายเลข 5 = เรือฟริเกต
ตัวเลขตัวที่ 2 จะกำหนดกลุ่มเรือใน ประจำการใน กองเรือเหนือ กองเรือตะวันออก กองเรือใต้
ข้อมูลคร่าว ๆ แบ่งประเภทเรือ ของ 4 ประเทศครับ