หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ว่าด้วย UAV Thai

โดยคุณ : konthai2 เมื่อวันที่ : 19/06/2014 22:46:50

เพิ่งรู้ว่า มีใช้มาตั้งเเต่ 2540 เเล้ว เเสดงว่าตอนชัดกันเเถวๆชายเเดนคงใช้ตัวนี้กระมั้งชี้ตำเเหน่ง 

 





ความคิดเห็นที่ 1


-ของ ทบ ใช้ตัวนี้ IAI Searcher II น่าจะประจำที่กองพันทหารปืนใหญ่-

ลักษณะทั่วไป

ประเภท : อากาศยานไร้คนขับ ลาดตระเวน

ประเทศผู้ผลิต: อิสราเอล

บริษัทผู้ผลิต: IAI

ความจุ : น้ำหนักบรรทุก 68 กก. (150 ปอนด์)

ความยาว : 5.85 เมตร (19 ฟุต 2 นิ้ว)

กางปีก : 8.54 เมตร (28 ฟุต)

ความสูง : 1.25 เมตร (4 ฟุต 1 นิ้ว)

น้ำหนักสุทธิ : 500 กก. (1,100 ปอนด์)

เครื่องยนต์ : 1 × Limbach L 550, 35 kW (47 แรงม้า)

ประสิทธิภาพ

ความเร็วสูงสุด : 200 km / h (125 mph)

บินได้นาน : 18 ชั่วโมง

เพดานบิน : 6,100 เมตร (20,000 ฟุต)

 

-ของ ทอ ใช้ตัวนี้  Aerostar UAV-

ประเทศผู้ผลิต:  อิสราเอล

บริษัทผู้ผลิต: Aeronautics Defense Systems

คุณลักษณะเฉพาะ

เพดานบิน:  18,000 ฟุต

ระยะเวลาบินปฏิบัติการ: > 12 ชม.

รัศมีการติดต่อสื่อสารข้อมูล: 200 กม.

เครื่องยนต์: เครื่องยนต์ลูกสูบ 2 จังหวะ ของ Zanzottrra รุ่น 490IA กำลัง 38 แรงม้า

ความเร็วปฏิบัติการ: 60 น็อต

ความเร็วสูงสุด: 110 น็อต

ปีกกว้าง: 7.5 เมตร (25 ฟุต)

ความยาว: 4.5 เมตร (15 ฟุต)

ความสูง: 1.2 เมตร (4 ฟุต)

น้ำหนักวิ่งขึ้น: 210 กก. (460 ปอนด์)

น้ำหนักบรรทุก:  50 กก. (110 ปอนด์)

  -ในความคิดส่วนตัวผม รุ่นกลาง ที่ทัพ บก กับ ทัพ อากาศ จัดหา มา ถือว่า มีประสิทธิภาพดีทั้งคู่ เเต่ถ้าเทียบสเปก ผมว่าของ ทบ ดีกว่า-

 

ผมว่า ตัวนี้ น่าจะเหมาะกับไทย  UAV รุ่นใหญ่  น่าจะเหมาะกับความต้องการของทัพไทย เเละตอบสนองภาระกิจได้ดี ฯลฯ  ผมเชียรตัวนี้เลย ราคา ดีด้วย

อากาศยานไร้นักบิน Heron

 

ผู้ผลิต : บริษัท Israel Aerospace Industries Ltd. (IAI) ประเทศอิสราเอล

ประเภท : Medium Altitude Long Endurance Unmanned Aircraft System หรือ MALE UAS

ปีที่เริ่มเข้าประจำการ : ค.ศ.2005 หรือ พ.ศ. 2548

ประเทศผู้ใช้งาน : อาเซอร์ไบจัน ออสเตรเลีย บราซิล คานาดา เอกวาดอร์ ฝรั่งเศส เยอรมัน อินเดีย อิสราเอล สิงคโปร์ ตุรกี เม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา

ส่วนประกอบหลัก : Heron Platform, Global Satellite (GSAT), Ground Data Terminal (GDT) และ Advance Ground Control Station (AGCS)

ส่วนประกอบที่ติดตั้งบนเครื่อง :

• ระบบสื่อสารดาวเทียม หรือ Satellite Communication (SATCOM)

• สายอากาศสื่อสาร IFF AIS UHF/VHF Radio

• ระบบ Automatic Takeoff and Landing หรือ ATOL ที่ด้านบนของเครื่อง

• กล้อง EO/IR

• ระบบ MPR หรือ SAR (Synthetic Aperture Radar เพื่อให้สามารถถ่ายภาพทะลุเมฆได้) ที่ด้านล่างของเครื่อง

• อุปกรณ์ ELINT (Electromagnetic Intelligence) COMINT (Communications Intelligence) บริเวณปีก

• กล้อง Panoramic ที่ปลายแพนหาง

อุปกรณ์ติดตั้งและระบบตรวจจับ (Payload) :

• Electro Optical (TV & IR Combi or Triple Sensor TV/IR/LD)

• Synthetic Aperture Radar (SAR)

• Maritime Patrol Radar (MPR)

• COMINT & ESM capability

• Customer furnished sensor suites

• Communication relay package

• Integrated ATC Radio

ระบบสื่อสาร :

• Data Link ในระยะสายตา Line Of Sight (LOS)

• UAV Airborne Data Relay (ADR) หรือ Ground-based Data Relay (GDR) หรือ SATCOM ในระยะเกินสายตา หรือ Beyond Line Of Sight (BLOS)

คุณลักษณะเฉพาะ : 

ความยาว : 8.5 เมตร

ความกว้างของปีก : 16.60 เมตร

น้ำหนัก : 1,250 กก.

น้ำหนักบรรทุก : 250 กก.

เครื่องยนต์ : Rotex914 ขนาด 115 แรงม้า 86 kW จำนวน 1 เครื่อง

สมรรถนะ :

ความเร็วสูงสุด : 120 น็อต หรือ 222 กม./ชม.

ความเร็วปฏิบัติการ : 60-80 น็อต

เพดานบินสูงสุด : มากกว่า 30,000 ฟุต

ระยะปฏิบัติการ : 200 กม. ในระยะสายตา (LOS) และ 400 กม. โดยการควบคุมและสื่อสารผ่านดาวเทียม หรือ SATCOM

อัตราไต่ : 492 ฟุต/นาที หรือ 150 ม./นาที

ระยะเวลาปฏิบัติการ : มากกว่า 24 ชม. (20 - 45 ชม. ขึ้นอยู่กับภารกิจ)

สมรรถนะพิเศษอื่นๆ :

• สามารถปฏิบัติการในสภาพอากาศ เช่น ในเมฆหนา หมอก ฝน ในพื้นที่สูงเหนือระดับน้ำทะเล

• ระบบ ATOL ใช้ได้ในทุกสภาพอากาศ

• สามารถปฏิบัติงานในสนามบินพาณิชย์ได้ โดยการติดตั้ง Strobe Light IFF ATC Radio Relay TCAS และกล้องดูด้านหน้า

• สามารถปฏิบัติงานแบบ Multi-Mission Multi-Payload ทั้งภารกิจถ่ายภาพทางอากาศ ELINT COMINT และ SAR/MPR และส่งสัญญาณต่างๆ เข้าสู่ AGCS ได้ในเวลาเดียวกัน

 

Credit : http://dtad.dti.or.th

 

โดยคุณ nuttawut44162 เมื่อวันที่ 16/06/2014 22:45:01


ความคิดเห็นที่ 2


จริงๆเรามีUAVมาตั้งแต่สมัยร่มเกล้าแล้วครับ สมัยนั้นเรียกRPV โดนยิงตกไปลำนึง ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ในลาว(น่าจะพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติลาว)

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 14/06/2014 14:48:06


ความคิดเห็นที่ 3


ทีมวิจัย ทีมนี้ก็เก่งน่ะ .. ถ้าพัฒนารุ่นต่อไป เป็นยิง M79 ได้  หรือ  ทิ้งระเบิดได้ตามพิกัดที่ระบุด้วย GPS ยิ่งแหล่มเลย

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 15/06/2014 03:29:14


ความคิดเห็นที่ 4


ไอ้ที่เราใช้อยู่นี่ เป็นรุ่นนำเข้าไม่ใช่หรอครับ

วิจัยก็ส่วนวิจัยนะครับ วิจัยกันแบบนี้ใครๆ ก็ทำได้ครับ แถมเสียเงิน เสียเวลาโดยใช้เหตุอีกครับ

ถามว่าวิจัยมาเนี่ย มีกี่ชิ้นที่เอามาใช้งานประจำการ ครับเที่ยบกับของที่สั่งซื้อครับ

เคยตามข่าวพวกนี้มาซักพัก สุดท้ายที่เห็นมันก็เหมือนกับงาน CSR ครับ คือมีไว้กันคนด่า ก็เอามาใช้บ้างนิดหน่อย

ที่ ปลื้มหน่อยก็ ยานเกราะเบาที่เอารถกระบะพื้นฐานซึ่งช่างบ้านเราชำนาญอยู่แล้วมาดัดแปลงกลาย ติดเกราะ กลายเป็นเทคโนโลยีที่เชื่อถือได้ อันนี้ก็ต้องชมจริงๆ ครับ เสียอย่างเดียวคือตอนนี้จำนวนแบบชักเยอะแล้ว ในระยะยาวถ้าทางจะยุ่งในการบริหารอะไหล่

 

กลับมาที่งานวิจัยถ้าพูดในฐานะคนที่เคยอยู่ในเแวดวงทำวิจัย อันนี้เค้าเรียกว่าดูดงบครับ เลี้ยงงานวิจัยไปเรื่อยๆ

หลัก การพัฒนาที่ก้าวกระโดดจริงๆ เช่นที่ทางญี่ปุ่นก็เคยใช้และประสบผลสำเร็จมาแล้ว ซื้อเทคโนโลยีที่เขาทำสำเร็จแล้ววิจัยทำต่อครับ อย่างเรื่องรถยนต์สมัยก่อนอเมริกาเป็นเจ้าถนน ญึ่ปุ่นก็ซื้อเครื่องอเมริกามาผ่าเลยครับ เอาเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานเอาตามนี้แหละแล้วก็ตั้งโจทย์ขึ้นมาว่า เราจะใช้ยุทธศาสตร์เครื่องที่เล็กแต่จะทำยังไงให้มีกำลังเท่าเครื่องใหญ่ก็ กลายมาเป็นรถเครื่องเล็กแต่รอบจัดที่เป็นเจ้าตลาดแบบทุกวันนี้ เอาเฉพาะเทคโนโลยีนะครับ ยังไม่พูดถึงการบริหารสายการผลิตที่ทำให้อเมริกาชนะสงครามและทำให้ญี่ปุ่นกลายมาเป็นเจ้าถนน....ถามว่าการบริหารสายการผลิตญี่ปุ่นกับเมกาเกี่ยอะไรกันอะ เกี่ยวครับเพราะ คนที่วางวิธีการบริหารการผลิตอาวุธอเมริกาสมัยสงครามโลก กับวางวิธีการบริหารการผลิตที่ญี่ปุ่นเป็น คนเดียวกันครับ

กลับ มาที่บ้านเรา ซึ่งจะแตกต่างกันครับ กรรมการบ้านเราชอบโครงการที่เป็น "คิดอะไรใหม่" โครงการที่ได้งบส่วนใหญ่จะเป็นแบบนี้ไม่ใช่ทำต่อ ต้องเป็นการคิดอะไรใหม่ๆ เช่น ตั้งมาตรฐานใหม่ ซึ่งก็กลายเป็นว่าทุกคนอยากจะเป็นคนตั้งมาตรฐาน ทุกคนต้องใช้มาตรฐานฉัน แต่มีน้อยคนครับที่ไปดูว่าตอนนี้เค้าใช้มาตรฐานอะไรแล้วก็ใช้ตามนั้น แล้วส่วนใหญ่ทุกคนจะอย่ากคิดใหม่ ส่วนกรรมการก็ชอบเพราะของใหม่ ของใหม่ๆ สุดท้ายมาตรฐานก็ออกมาเต็มไปหมด แล้วใครจะไปใช้ครับ

UAV ก็เช่นกัน ผมก็เห็นตั้งแต่สมัยเรียน จนทำงาน ไม่ว่าเยี่ยมชมวิศวะ ม.ไหน ก็จะเห็นแต่ UAV ที่เคยทำวิจัยแล้วจอดตั้งโชย์ พอแอบอ่านข้อมูลซักนิด...มันก็เคนโนโลยีชั้นเดียวกันนี่หว่า ตัวเครื่อง ซอร์ฟแวร์ควบคุมการบินแบบคนบังคับและอัตโนมัติ เหมือนกันมาเกิน 10 ปีแล้วครับ จนตอนนี้ระบบบินอัตโนมัติเขามีขายใน Ebay แล้วด้วยซ้ำ แล้วจะวิจัยไอ้สิ่งที่เข้าทำเสร็จแล้วเพื่อ....?

เล่าสู่กันฟังครับ ถ้ายังไม่มีเอามาประจำการแบบจริงจัง อย่าพึ่งพูดครับเพราะโดนดอง แล้วเลือกของนำเข้าแทนมานัดต่อนัดแล้ว

 

http://www.youtube.com/watch?v=SNPJMk2fgJU

 ปล.โดรนติดปืนเค้าทำเล่นกันนานแล้วครับ

 

แต่ ตอนนี้ย้ายมา สายงานเกี่ยวกับรถไฟฟ้าซักส่วนงาน :D แทนครับ สนุกไปอีกแบบ และก็พบว่าไอ้ที่นักการเมืองโฆษนากันว่า รถไฟฟ้า 10 สาย รถไฟรางคู่ บลาๆๆ มันมีในแผนแม่บทมาตั้งแต่ผมเกิดอีก เป็นผลงานข้าราชการรุ่นก่อนทำไว้ทั้งงั้น ไม่เบาทีเดียวครับมีครบหมดแล้ว อยู่ที่ใครจะหยิบอันไหนมาทำ

ไหนๆ ก็ไหนๆ ในนี้พี่ๆ ทหารก็เยอะเผื่อเรื่องไปถึงด้านบนได้ ฝากเรื่องไว้หน่อยครับ ก็เข้าใจว่างานบริหารกับทหารมันไม่ใช่สายที่ถนัดกัน ตอนนี้แอบแว่วๆ ว่าโครงการรถไฟฟ้ากำลังจะสั่งให้ปรับลด งบ 20% จากงบเดิมถ้าอยากทำต่อ ด้วยเหตุผลว่ามีคนรายงานเรื่องเงินใต้โต๊ะ 20 % ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นคือต้องลดราคาดื้อๆ ครับ แต่ในโลกความเป็นจริงไม่ได้เป็นแบบนั้นครับ ต่อให้ลดยังไงถ้าคนจะเอามันก็เอาได้ครับ

สิ่ง ที่พี่ๆ ทหารไม่รู้คือ มันกลายเป็นมาบีบตรงส่วนวัสดุให้ลดคุณภาพลงครับ ซึ่งทำให้คนสายทำงานกำลังจะตายทั้งเป็น  อายุการใช้งานโครงการ คือ รถบนดิน 80 ปี ใต้ดิน 120 ปี แล้วงานสาธารณะ คือ งาน Heavy Duty จะใช้งานโดยไม่มีการพักนะครับ คนวงนอกถ้าอยากโชย์ภูมิหน่อยก็จะว่า ใช้อะไรแพงนักหนา เกินความจำเป็นบลาๆๆ ถามว่าทำได้มั้ย ทำได้ครับ แต่ถ้าเกิดทำแล้วระบบที่โดนลดคุณภาพล้มเหลว กันไฟไม่อยู่ คนโดนไฟดูดตาย แล้วใครจะเป็นคนรับผิดชอบละ ก็คนทำงานไงครับ......ฝากเรื้องนี้ด้วยนะครับ

โดยคุณ leo_attack เมื่อวันที่ 15/06/2014 10:12:00


ความคิดเห็นที่ 5


สงสัยคุณ leo_attack จะอัดอั้นใจ อธิบายซะเห็นภาพ ซึ่งผมก็เห็นด้วยนะครับ มันควรจะแก้ที่ระบบการคิดของตัวบุคคลซะก่อน

โดยคุณ apc เมื่อวันที่ 15/06/2014 18:51:25


ความคิดเห็นที่ 6


ฮ่าๆๆ ใช่ครับ อึดอัดๆ

โดยคุณ leo_attack เมื่อวันที่ 15/06/2014 19:14:11


ความคิดเห็นที่ 7


เรื่องยูเอวีที่เราทำเองนี่จริงแหละครับที่คุณ leo attack ว่า คือเหมือนพวกโครงการนี้มีเยอะมาก แต่พอจับในเฟสแรกของการพัฒนาคือคิดค้นทดลองรูปแบบเทคโนโลยี่ที่เหมาะสมเรียบร้อยก็หยุด สงสัยเพราะขั้นตอนต่อมาคือการ improve ด้านต่างๆ ให้ใช้ได้จริงผลิตได้จริงมันใช้เวลานาน และถ้ามองโดยผิวเผินก็เหมือนไม่คืบหน้าซํกที คนเลยขี้เกียจทำมั้ง ไม่รู้สิ หน่วยงานเยอะเป็นสิบๆ แห่งที่ทำยูเอวีปีกตรึงเพียบไปหมดทั้งหน่วยงานทหารและพลเรือน ไม่รู้มีใช้จริงซักอันหรือยัง อาการคงคล้ายๆ พวกหุ่นต์ยนต์ติดปืนทั้งหลายที่ม.ทำกันเพียบไม่รู้เลยขั้นต้นแบบกี่รุ่น

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 15/06/2014 21:20:04


ความคิดเห็นที่ 8


 

เครื่องยนต์: เครื่องยนต์ลูกสูบ 2 จังหวะ ของ Zanzottrra รุ่น 490IA กำลัง 38 แรงม้า  (  ของ  ทอ. )

=============

เล่นเครื่อง 2 จังหวะ .. ต้องใช้ออโต้ลู้บป่าวครับ แล้ว ลูกสูบมันจะติดเหมือนมอไซค์ป่าว  อิอิ

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 16/06/2014 22:52:17


ความคิดเห็นที่ 9


ผมว่าไม่น่าจะติด นะมันออกเเบบ มาโดยเฉพาะ กับ UAV นะ ที่ติดนี้หมายถึง ลูกสูบติด  อะหรอ  เเต่น้ำมันเครื่องนี้ไม่เเน่ใจว่าใช้ ของมอเตอร์ไซร์ ได้หรือเปล่า น่าจะได้นะผมว่า

เครื่อง ทบ 

เครื่อง ทอ หาไม่เจอ 

 

 

 

 

 

โดยคุณ nuttawut44162 เมื่อวันที่ 17/06/2014 23:16:37


ความคิดเห็นที่ 10


เพื่อนๆคิดว่า UAV ติดอาวุธ สมควรแก่เวลายังที่ต้องเข้าประจำการในไทย

อาวุธ เช่น   จรวดไฮดร้า โทว์    

 

โดยส่วนตัวผมน่ะ   คิดว่าเหมาะสมแก่เวลา ที่จะต้องเข้าประจำการแล้ว

โดยคุณ cobra_night เมื่อวันที่ 18/06/2014 17:48:24


ความคิดเห็นที่ 11


อันที่จริงแล้วเรื่องงานวิจัย UAV นี่ได้ยินมามากแล้ว แต่ก็ไม่เห็นจะคืบหน้าซักเท่าไหร่เหมือนที่หลายๆท่านกล่าวมา หากไม่มั่นใจเรื่องการใช้งานทางทหาร ทำไมไม่ทำให้หน่วยงานอื่นใช้ก่อนเช่นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ งานจราจรของตำรวจ เพื่อหาข้อด้อยของมันก่อนแล้วต่อยอดปรับปรุงไปสู่งานด้านการทหาร ผมว่าประสิทธิภาพก็พอให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ทำการตรวจตราในพื้นที่จำกัดไปก่อน ดีกว่าใช้ ฮ.บินตรวจตรา และวงรอบการใช้ลาดตระเวนผมว่าทำได้ถี่กว่าการใช ฮ. บินนะผมว่า ประหยัดกว่าด้วย คือทำออกมาแล้วแจกจ่ายไปให้หน่วยงานทั่วประเทศใช้ก็น่าจะดี เพื่อจะได้ข้อมูลหลายด้านจากต่างพื้นที่กันไป แล้วนำข้อบกพร่องมาปรับปรุงอีกที ดีกว่าทำใน กทม ทดลองใน กทม แล้วก็จบที่ กทม เหมือนเดิม...... 

โดยคุณ apc เมื่อวันที่ 18/06/2014 19:38:15


ความคิดเห็นที่ 12


เรื่องยูเอวีที่เราทำเอง หรืองานวิจัยต่างๆนี่ก็จริงตามที่คุณ leo attack กล่าวไว้ละครับ มีโครงการแบบนี้เยอะมาก วิจัยเสร็จก็เอามาตั้งโชว์ว่าเราทำได้ แต่ไม่ใช้เอง แค่งานวิจัย uav ทั้งสามเหล่าวิจัยของใครของมันงบใครงบมัน  แทนที่จะร่วมกันวิจัย รวมงบ รวมสมอง รวมความคิด ออกแบบใช้โครงสร้างเดียวกัน แตกต่างแค่อุปกรณ์ตามความต้องการของแต่ละภารกิจของแต่ละเหล่าทัพ ยังทำไม่ได้   

 

แต่ ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับคุณ leo attack เรื่องการตัดงบรถไฟฟ้าแล้วจะทำให้คุณภาพลดลงเท่าไหร่ อย่างที่คุณว่า"ถ้าคนมันจะเอา" งบมากก็เอามาก งบน้อยก็เอาได้น้อย ใช่ว่าได้งบมากจะได้ของคุณภาพเสมอไป มันต้องดูว่าเราดูแลควบคุมยังไง ให้เราได้ของที่ดีที่สุดในงบประมาณที่มี และกันคนประเภทนั้นออกไปไม่ให้มาเกี่ยวข้อง   ถ้าได้คนประเภทเดิมเข้ามาเกี่ยวข้องมันก็มีค่าเท่าเดิม ผมเคยเห็นถนนที่ได้งบกิโลเมตรละสิบล้านกับหกล้าน กับคนๆเดิม มาแล้ว ไม่ต่างกันเลยครับ

 

โดยคุณ speci เมื่อวันที่ 18/06/2014 21:02:38


ความคิดเห็นที่ 13


 ตอบคำ ถาม คุณ cobra_night

 ผมว่าน่าจะเหมาะครับ ตามเเนวชายเเดน มากกว่า ถ้าเอามาใช้ที่ใต้ ไม่น่าเหมาะ อาจจะยิงไปโดน ประชาชนก็ได้  ได้ยินจากความเห็น ขอเพื่อนๆในเว็บเพส นะ  เเต่ถ้าจะใช้ใต้ น่าจะ ใช้ uav ลาดตะเวน ดู เหมือนที่ สหรัฐ ทำเเบบ ตาลีบัน กำลังขุด วางระเบิด ก็ยิงถล่ม ซะ หรือ ไม่ ก็ส่งให้ ฮ. ติดอาวุธ กราดกระสุน ไปทำลาย น่าจะดีครับ ของ เรา มีเเต่ Cobra เสียงดัง กลัวโจรมันจะเผ่นก่อน ต้อง AH 64 บินเงียบ เหมาะมาก เเต่ ทัพ บกยังไม่สนใจเพราะ ราคาสูงๆ

เเต่ UAV ทบ เหมือนจะใช้งาน ทางด้าน กำหนดเป้าหมายศัตรู ให้ปืนใหญ่มากกว่า

 

 

โดยคุณ nuttawut44162 เมื่อวันที่ 18/06/2014 22:42:33


ความคิดเห็นที่ 14


ผมว่าน่าจะขอการถ่ายถอดเทคโนโลยีจากจีน เรื่องการตรวจจับ ระบบควบคุมการยิง  ระบบอาวุธโจมตีภาคพื้นขนาดเบา

ถ้าเป็นไปได้    แจ๋วเลย     

 

ไม่ต้องเอาชีวิตนักบินไปเสี่ยงในสมรภูมิรบแนวหน้า

โดยคุณ cobra_night เมื่อวันที่ 18/06/2014 23:20:02


ความคิดเห็นที่ 15


เรื่อง UAV นี่จะว่ายาก ก็ยาก  จะว่าง่ายก็ง่ายนะครับ

1) ส่วนที่ง่ายคือ

     1.1 Air Frame

      1.2 Engine  

เพราะสามารถประยุกต์แบบที่มีอยู่แล้วใน ปจบ มาใช้ใด้เลย

2) ส่วนที่ยากปานกลางคือ...

      2.2 ระบบนำร่องอัตโนมัติ (อย่าลืมว่าต้อง electronic warfare capable คือต้องมี Scramble algorithm เพื่อป้องกันการ Jam) และ

       2.3) Data Link 

สองอันนี้ผมว่า ทอ. + บ. เอกชนของไทยน่าจะทำร่วมกันใด้ ไม่เกินความสามารถ

3) ส่วนที่ยากมาก คือ

       3.1) ระบบ Sensors

      3.2) ระบบอาวุธ

เดี๋ยวว่างๆจะมาเขียนความเห็น ประกอบตัวอย่างที่อิงจากสิ่งที่มีอยู่แล้วใน  ปจบ. ในแต่ละหัวข้อว่า UAV ที่ผมว่าประเทศไทยน่าจะ Engineering & Development (ไม่ใช่ R&D) มาใช้เองจะมีหน้าตาอย่างไร

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 19/06/2014 11:52:13


ความคิดเห็นที่ 16


ตอบคำถาม คุณ speci ขอรับ

อันนี้จำกัดเขตเฉพาะงานรถไฟฟ้านะ ครับ งานก่อสร้างทุกประเภทมีบริบทที่แตกต่างกันครับ เหมือนหน่วยงานต่างหน่วยงานก็มีวิธีปฏิบัติงานแตกต่างกัน

สำหรับรถไฟฟ้า ถ้ามีการปรับลดงบสิ่งแรกๆ ที่เป็นเป้าหลักที่จะถูกลดคือ วัสดุปิดผิว และค่าที่ปรึกษาคุมงานครับ

และ ส่วนควบคุมคุณภาพ ก็คือ ที่ปรึกษาคุมงานก่อสร้าง ในเมือผู้รับเหมาจัดเต็มมีกระทั้งผู้เชี่ยวชานด้านการเครม ในขณะที่ส่วนควบคุมงานก็ต้องหาคนตามงบประมาณที่มี สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เป็นเรื่องยากที่สามารถทำงานตามผู้รับเหมาได้ทัันครับ ทั้งจำนวนทีมงานและประสบการณ์ก็ยากแล้ว

แต่ทั้งนี้ยังไม่มีแถลงออกมาอย่างเป็นทางการซึ่งถ้ามันไม่เกิดขึ้นจริงก็ดีครับ

จริงอยู่ที่งบประมาณที่เพียงพออาจทำงานเกิดงานคุณภาพต่ำกว่าสเปคได้ถ้าคณะทำงานไม่เก่งพอ

แต่งบประมาณที่ต่ำกว่าความต้องการขั้นต่ำไม่มีทางได้งานที่ดีพอได้ แม้ว่าคณะทำงานจะเก่งแค่ไหนก็ตามครับ

ส่วนคนที่กระซิบปรับลด ก็ลอยลำอีกตามเคย เผลอๆจะอยู่ไม่ถึงตอนวัสดุหมดอายุและมีปัญหาก็ได้

งานทุกชนิดมีขั้นต่ำครับ ของดีมันไม่ได้วัดกันแค่ 1 ปี 5 ปีครับ แค่บ้านที่เราอยู่อายุการใช้งานขั้นต่ำก็ออกแบบไว้ 1 ชั่วอายุคน หรือ 60 ปีแล้ว แต่รถไฟฟ้าขั้นต่ำอายุการใช้งานคือ 120 ปี ดั้งนั้นทำอะไรก็ต้องรอบคอบครับ

ยิ่งงานสาธารณะคืองาน Heavy Duty พอเปิดบริการแล้วจะเอาแบบ สั้นต่อ ยาวตัด ไม่พอซื้อ เสียก็ซ่อม มันเป็นไปได้ยากครับ

ลองดูรถไฟฟ้าสายหนึ่งก็ได้ครับ เอาทุกอย่างให้ถูกสุดในระดับขั้นต่ำสำหรับใช้งานได้ จำช่วงที่หยุดเดินพักนึงได้มั้ยครับ อันนั้นเกิดจากการเพิ่มงานส่วนความปลอดภัยบางอย่าง ที่ไม่มีเพราะอยากประหยัดในตอนแรกครับ พอหยุดก็เดือดร้อนกันถ้วนหน้า ส่วนคนบาดเจ็บกับคนที่ตายไปก่อนหน้านี้เพราะไม่มีสิ่งดังกล่าวป้องกันก็เจ็บฟรีตายฟรีครับ คนรับผิดชอบไม่มีตามระเบียบ :(

โลกมันโหดร้ายยิ่งนัก

โดยคุณ leo_attack เมื่อวันที่ 19/06/2014 21:56:21


ความคิดเห็นที่ 17


เอาเรื่องยากที่สุดก่อน ระบบ Sensor เพราะว่าถ้าเราทำใด้แค่เพียงสร้างตัวเครื่อง+ใส่เครื่องยนต์+บินตาม Vector ที่กำหนดใด้ แต่ไม่มีความสามารถในการตรวจการณ์ระดับสูงในเวลากลางคืน ก็ไม่ต่างอะไรกับ RC plane.  ที่สำคัญ การกำหนด Design Objectives ของเครื่องจะต้องนำเอา ขนาด/รูปร่าง/น้ำหนัก ของ Payload   มาเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาด้วย

( ดูจาก นน บรรทุกของ Searcher (68Kg)  Aerostar (50Kg)  Heron (250Kg) ทั้ง 3 รุ่นนี้ไม่มีระบบอาวุธนะครับ ดังนั้นถ้าอยากใด้ UAV ที่มีความสามารถในการติดอาวุธ คงต้องมองไปทีขนาดใหญ่กว่า Heron แล้วล่ะ )

 

ทีนี้จุดตั้งต้นของระบบ Sensor ที่ผมว่าน่าศึกษาในแง่มุมของ E&D + Reverse Engineer คือ Litening POD ของ Rafael ครับ.... ทำไม ?

Rafael พร้อมใช้งานราคา  $1.4M  นน. 200 กก. มีรูปทรงกระเปาะลู่ลมเหมือนจรวดร่อน หรือถังน้ำมันสำรอง    ติดตั้งบน F16, F5 และ Gripen ใด้ ถ้าเราซื้อมาซัก 3 ระบบ  ติดเข้าให้ครบ กับ บ. ทั้ง 3 แบบของเรา  เราก็จะมีความสามารถในการตรวจการกลางคืนสมรรถนะสูงทันที. ถ้าเราศึกษา/ดัดแปลงให้มาใช้งานกับ UAVไม่ใด้  โครงการนี้ก็ไม่สูญเปล่า.

- ตั้งเป้าหมายว่า unit ที่ติด บน F5 จะเป็น E&D unit แล้วก็ทำการ  คัดส่วนศึกษาเฉพาะ ส่วนที่จำเป็นต่อการใช้งานบน UAV

-  สิ่งที่คาดว่าจะใด้มาในระดับแรกคือ block diagram ของระบบที่เราต้องการ รวมทั้ง key components list. 

- ผมคาดการณ์ว่าจะเจอโจทย์กระดูก/หินๆ ขนาดที่จะทำให้ท้อ-เลิกพยายามเอาใด้ที่เดียวอยู่ 4 อย่าง....

1), 2)  Image Sensor chip(s) และ  Infrared Sensor chip(s)

   อันนี้เราไม่มีความสามารถในการสร้างมันขึ้นมาครับ (และไม่ควรพยายามในอนาคตอันใกล้-กลาง-ยาว) ต้องอาศัย Foundry/subcontractor  ความสามารถในการออกแบบก็ไม่มี  ถ้าจะพัฒนาความสามารถในการออกแบบ  ต้องมีบุคลากรประจำ ทำงานใกล้ชิดกับ Foundry เพื่อเข้าถึง design library ที่มีอยู่/ใช้กันในเทคโนโลยี ปัจจุบัน ... น่าจะเน้นไปที่ Foundry ใน Israel (Tower semiconductor ซึ่งผมเชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของ Chip ที่ใช้บน Litening POD)  ไต้หวัน  หรือ เกาหลี  ให้เวลาอย่างน้อย 3-5 ปีในการสร้าง chip ชุดแรก  แค่ส่วนนี้ส่วนเดียวเราคงใช้งบ/บุคลากรในระกับกองงานของ กระทรวงวิทย์แล้วล่ะครับ

3) Video processing software อันนี้ผมไม่ทราบว่าเรามีศักยภาพขนาดไหน แต่ถ้าไม่มี  ในระยะสั้นให้มองไปที่เกาหลี เพาระเค้าเจ๋งเอาการ

4) Packaging/Casing ที่จะทำให้สามารถอยู่ในสภาพอากาศใด้โดยไม่เป็นฝ้าไอน้ำภายใน อันนี้ยากเพราะต้องอาศัย Material science ระดับ NASA

 เอาแค่นี้ก่อนนะครับ  เดี๋ยวมาต่อ

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 19/06/2014 22:46:50