หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ร่มไม่กาง .. ปัญหาเดียวกัน แต่ วิธีแก้ปัญหาต่างกัน

โดยคุณ : soda77 เมื่อวันที่ : 30/05/2014 09:58:20

 

หลายครั้งแล้วน่ะครับ ที่ปัญหานี้เกิดเหตุสลดขึ้นบ่อยๆ ล่าสุดก็มี นักเรียนนายร้อยร่มไม่กางเสียชีวิตสองคน

ผมว่า ถึงเวลาแล้วยังที่จะสังคายนาระบบอุปกรณ์เซฟตี้การฝึก รวมไปถึง วิธีฝึกการแก้ปัญหาหากเกิดเหตุฉุกเฉิน

1  ติดตั้งอุปกรณ์ รอกทุ่นแรง ( วิ้น ) ไว้ช่วยดึงหากเกิดเหตุสายติดกับตัวเครื่องบิน

2  มีระบบ วัดความสูง หรือ ความดัน อิเลคทรอนิคส์ ติดกับร่มฝึก หากเกิดปัญหา ร่มจะกางอัตโนมัติในระดับต่ำที่กำหนด

3  ฝึกจำลองช่วยเหลือ ตามเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น โดยครูฝึกต้องฝึกช่วยเหลือด้วยวิธีการต่างๆ

4  มีชุดร่มสำรอง พร้อมกับมีชุดสายล็อค พร้อมใช้งาน แขวนไว้เป็นชุดๆ ในจุดที่เหมาะสม

 

 





ความคิดเห็นที่ 1


ส่วนอันนี้ของฝรั่ง เหตุการณ์แบบเดียวกัน

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 27/05/2014 22:40:34


ความคิดเห็นที่ 2


ชอบครับ.... เสียดายที่ไม่ใด้เห็นว่าคนในเครื่องที่แก้ไขสถานการณ์ทำอะไรบ้าง  แต่เดาว่าติดร่มฉุกเฉินเข้ากับสาย release แล้วตัดสายออก... ดุแล้วเราก็น่าจะนำมาใช้ใด้นะ  ชีวิต จนท มีค่ามาก  กว่าจะฝึกกันมาใด้แต่ละคน

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 28/05/2014 04:16:00


ความคิดเห็นที่ 3


1 ติดตั้งอุปกรณ์ รอกทุ่นแรง ( วิ้น ) ไว้ช่วยดึงหากเกิดเหตุสายติดกับตัวเครื่องบิน

ข้อนี้เห็นด้วยครับ ในกรณีโดดสายถึงประจำที่น่าจะช่วยได้มาก

2 มีระบบ วัดความสูง หรือ ความดัน อิเลคทรอนิคส์ ติดกับร่มฝึก หากเกิดปัญหา ร่มจะกางอัตโนมัติในระดับต่ำที่กำหนด

ข้อนี้ใช้ได้กับการโดดแบบกระตุกเองมังครับ แต่ผมเข้าใจว่า เราก็มีอุปกรณ์อย่างนี้ใช้อยู่แล้วนะครับ

3 ฝึกจำลองช่วยเหลือ ตามเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น โดยครูฝึกต้องฝึกช่วยเหลือด้วยวิธีการต่างๆ

เห็นด้วยครับ

4 มีชุดร่มสำรอง พร้อมกับมีชุดสายล็อค พร้อมใช้งานแขวนไว้เป็นชุดๆ ในจุดที่เหมาะสม

ร่มสำรองน่าจะมีอยู่แล้ว แต่โดยธรรมดาของพวกนี้ ไม่เคยได้ฝึกใช้

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 28/05/2014 09:23:46


ความคิดเห็นที่ 4


ขอตอบ เป็น ข้อ ๆ เช่นกันครับ ตามข้อมูลที่มี

1 วินซ์ มีครับ มีเฉพาะเครื่องใหญ่ อย่าง C-130 ขึ้นไปครับ เครื่องเล็กอย่าง CN-235 หรือ ซอร์ท ของตำรวจจะไม่มีวินช์ครับ

2 ระบบวัดความสูง เปิดร่มกางแบบอัตโนมัติ มีครับ แต่ใช้กับ Free fall เป็นหลัก เครื่องตั้งไว้ที่ 2500 ฟุต ถ้าหากไม่กระตุกร่มเครื่องจะทำการเปิดร่มให้อัตโนมัตครับ แต่การกระโดดแบบ static กระโดดที่ความสูง 1200-1500 ไม่เกิน 2000 ฟุตครับ ลองโดดลงมาด้วย static โดดปุ๊บ สายดึง ดึงให้ร่มกางแล้ว เครื่องอัตโนมัตทำงานอีก เปิดสองร่มพร้อมกัน รับรองพันกัน ตายสถานเดียวครับ

3.การฝึกการแก้ไขทั้งหมดทั้งปวง สอนกันบนพื้นดิน จนหมดภูมิความรู้ของครูแล้วครับ สอนทุกอย่าง อยู่ที่ผู้โดดคนนั้นจะเอาไปใช้ได้มากแค่ใหน สติดีแค่ใหนสำหรับการแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้า เพราะนักเรียนนายร้อยที่โดดด้วยกันร่มไม่กางอีกหลายคนแต่สามารถดึงร่มสำรองช่วยไว้ได้ทัน

4 ร่มสำรองมีติดหน้าอกพลร่มทุกนาย จะมีร่มสำรองอีกชุดไว้เพื่อ ???? เพื่อที่จะให้พลร่มที่กระโดดไปแล้วร่มไม่กางวิ่งขึ้นไปเอาชุดสำรองนี้บนเครื่องบินเหรอครับ  หรือวางไว้เพื่อครูฝึกได้หยิบใช้เวลาร่มนักเรียนไม่กาง อย่าลืมว่าเวลากระโดดจากเครื่องถึงพื้น ไม่เกิน20 วินาที เท้าถึงพื้นแล้วนะครับ ถ้าครูมัวแต่แต่งตัวใส่ร่มอยู่นักเรียนถึงพื้นไปก่อนแล้ว จริง ๆ แล้วครูฝึกที่่ใส่ร่มเตรียมพร้อมไว้ก้อมีนะครับ แต่คงทำอะไรไม่ทัน

จริงๆ เรื่องของพลร่มค่ายนเรศวรมีอะไรมากกว่านั้น ประสบการณ์หรือเหตุการณ์แปลก ๆ มีเกิดขึ้นทุกครั้ง ทันทีที่ก้าวพ้นพื้นชีวิตก็เหลือครึ่งหนึ่งแล้ว ถ้าอยากรู้จริง ๆ แนะนำให้หาหนังสือที่ท่าน อดีตผู้การพลร่มท่านแรกเขียนไว้ท่านเล่าประสบการณ์ในการโดดของท่านตั้งแต่ ครั้งแรกจน โดดครั้งสุดท้าย  ชื่อท่านคือ  พล.ต.ต.นายแพทย์ นคร ศรีวานิช ลองอ่านดูครับ

โดยคุณ som3021 เมื่อวันที่ 28/05/2014 09:51:37


ความคิดเห็นที่ 5


ตอบท่าน som3021

ท่านเข้าใจผิดบางข้อครับ เช่น ข้อ2 .. ระบบควบคุมความดันต้องมีเลคทรอนิคส์ควบคุมครับ เอาเฉพะชุดร่มฝึกที่ระดับต่ำกว่า 2000 ฟุต

ระบบควบคุมน่าจะมีเซ็นเซอร์ตรวจจับร่มหลัก เช่น ถ้าชุดร่มหลักทำงานไปแล้ว ระบบก็จะตัด ไม่ให้เปิดชุดร่มสำรอง ป้องกันร่มพันกัน

รวมทั้ง ทำงานสัมพันธ์กับระบบวัดความดัน เช่น ความดันตกเร็วมาก แสดงว่าร่มหลักไม่กาง ร่มสำรองก็ทำงาน

ข้อ 3 ..  ที่บอกว่าสอนกันหมดใส้หมดพุง อันนี้ผมเข้าใจครับ แต่ พวกโดดร่มครั้งแรก ก็เหมือน มีความรักครั้งแรกแหละครับ

ท่องคำพูดสละสลวยไปจากบ้านทั้งคืน เพื่อจะไปพูดกับผู้หญิง พอไปเจอหน้า สั่นจนลืมที่ท่องไว้ทั้งหมด .. ส่วนผมร่มไม่กางก็ช็อคแล้ว

ข้อ 4 ร่มสำรองที่ผมกล่าวไม่ใช่ร่มสำรองที่ท่านคิด .. ที่ผมกล่าวคือ ร่มสำรองที่ใช้กับคลิปที่ 2

ข้อ 1 .. ถ้าวินซ์ไม่มี ก็ซื้อสิครับ ราคาชุดนึงไม่ถึงแสน ชีวิตทหารตำรวจคนหนึ่ง กว่าจะสอบมาได้ไม่ใช่ง่าย มันมีค่าเกินกว่าความผิดพลาด

หรือจะใช้อุปกรณ์ช่วยเหลืออีกแบบ คือ เป็น แท่งเหล็กไฮดรอลิกส์ ยืดออกไปได้ ครูฝึกก็เกี่ยวออกไปช่วยเหลือ ( ไม่รู้นึกออกป่าว )

หรือ จะเป็น ตาข่ายอันใหญ่ๆก็ได้ ( เหมือนเราหว่านแห จับปลา .. พอปล่อยตาข่ายออกไปคลุมตัวให้เขาจับไว้ แล้วเราดึงกลับ จบ ..

แล้วตามในคลิปแรก ถ้าผมเป็นทหารนายนั้น ผมจะตะโกนบอกว่า .. ถ้าช่วยไม่ได้ ช่วยลากผมให้ตายไปกับเครื่อง ดีกว่ามาตัดสายให้

หล่นลงไปตายบบนั้น

 

.. ผมเคยดูคลิปกระโดดร่มหมู่ นักโดดร่มของไทยที่เก่งๆมีเยอะ บางคนเป็นผู้หญิงด้วยซ้ำ พวกนี้โดดมาไม่รู้กี่ร้อยครั้ง จนความกลัวหมด

ไปแล้ว จะเอามาเทียบกับพวกโดดร่มครั้งแรกไม่ได้ครับ การแก้ใขสถานการณ์มีไม่กี่วินาที พวกเซียนเค้าไม่ตื่นตระหนก แต่พวกโดด

ครั้งแรก มีไม่กี่คนที่จะไม่ตกใจ ดังนั้นระบบเซฟตี้ ควรมีความผิดพลาดเป็นศูนย์ครับ ..  ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ผมแค่ขอแสดงความเห็น

เอาจริงๆผมยังไม่เคยโดดร่มเลย อย่าว่าแต่โดดร่มเลย แค่ยืนบนยอดจอมปลวกสูงๆขาก็สั่นแล้วครับ ..แต่ เรื่องร่มไม่กาง เกิดเหตุบ่อยๆ

มันต้องช่วยกันคิดแก้ไขครับ ไม่ใช่ปล่อยไปตามยถากรรม

 

 

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 29/05/2014 01:20:06


ความคิดเห็นที่ 6


ขอเสริมอีกนิดครับ ..

ถ้าตามความคิดผม .. ไม่ว่าการเรียนอะไร ควรเริ่มเรียนจาก ง่ายไปหายาก ..  การฝึกโดดร่มก็เหมือนกัน ความจริงหลักสูตรนี้

ควรเริ่มจากฝึกพารามอเตอร์ก่อน เพื่อให้ชินกับความสูง และ การบังคับทิศทางลม  แล้วค่อยไปฝึกโดดร่มจริงๆ

.. ผมเองก็ไม่มีความรู้เรื่องนี้นะครับ หรือ จริงๆแล้ว พวกนักเรียนนายร้อยอาจจะมีฝึกพารามอเตอร์ด้วยก็ได้ อันนี้ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 29/05/2014 02:04:47


ความคิดเห็นที่ 7


กรณีวินซ์ของเครื่องบินกับของรถยนต์ไม่เหมือนกันนะครับ อย่าลืมว่าการติดตังอุปกรณ์ต่างๆบนอากาศยานมันต้องมีการรับรองจากบริษัทผู้ผลิต หรือจากหน่วยงานรองรับครับ อีกอย่างโครงสร้างอากาศยานบางแบบอาจจะไม่แข็งแรงพอที่จะติดตั้งได้นะครับ ส่วนเรื่องร่มผมไม่เชี่ยวครับแต่เคยดูเขาโดดเวลาขึ้นทำงานระบบกางอัตโนมัติมันใช้ไม่ทันจริงๆหรอกครับถ้าร่มstatic  ส่วนfree fall ดึงอัตโนมัติแต่ยังเกือบเสียวแล้วนะครับจากที่เคยเจอมา สติ สิ่งที่ครูสอน การตัดสินใจครับ สำคัญในการโดดครับ

โดยคุณ roadbike เมื่อวันที่ 29/05/2014 08:39:20


ความคิดเห็นที่ 8


ขออนุญาตเพิ่มเติมเรื่องการฝึกครับ

ผมเชื่อว่า ในการเรียกหลักสูตรเกี่ยวกับร่ม คงจะมีการสอนวิธีแก้ปัญหากรณีร่มหลักไม่กางกันเป็นอย่างดี เป็นปกติอยู่แล้ว แต่ก็เป็นอย่างที่ทุกท่านว่ามา คือเวลาเกิดเรื่องจริงๆ บางคนก็มีสติทำตามขั้นตอนได้ บางคนก็ทำไม่ได้ หรือทำไม่ทัน

แต่อันนั้นคือการฝึกตัวนักโดดเอง ซึ่งผมอยากเสริมว่า น่าจะมีการฝึกการให้ความช่วยเหลือนักโดดกรณีฉุกเฉินด้วย ผมขอเปรียบเทียบกับกรณีเกิดเพลิงไหม้ การสอนให้คนที่ติดอยู่ในอาคารรู้ว่า ควรทำอย่างไร กับ การฝึกคนที่จะเข้าไปช่วยคนติดอยู่ในอาคาร ว่าควรเข้าอย่างไร ถึงจะเร็ว ทันเวลา Save ชีวิตคนติดในอาคารได้ อะไรอย่างนี้ครับ

ส่วนตัว ผมเคยกระโดดแบบ Tendem (ลงมากับครูฝึก) 1 ครั้ง ขึ้นไปดูเขากระโดดแต่ไม่ได้โดดเองอีก 2 ครั้งครับ    

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 29/05/2014 09:16:24


ความคิดเห็นที่ 9


ถ้าเข้าใจไม่ผิด..ในคลิปตัวอย่าง เคยมีคนอธิบายไว้ เครื่องติดรอกไม่ได้เพราะไม่ใหญ่พอ บนเครื่องไม่มีร่มต่อ(อันนี้ควรมี) นักโดดให้สัญญานตัดร่มแล้วแต่พอปลดไปร่มสำรองไม่กาง

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 29/05/2014 10:59:23


ความคิดเห็นที่ 10


เหตุการณ์ของไทย ในภาพน่าจะเป็นเครื่องบินเล็กครับ ติดวิ๊นได้หรือป่าวไม่รู้ แต่ถึงจะติดได้ ถ้ามีคนห้อย อยู่ท้ายเครื่องนาน ก็อาจจะะมีผลต่อสมดุลของเครื่อง 

ส่วนร่มอีกอันผมเห็นด้วยนะครับ ถึงจะมีร่มสำรองอยู่แล้ว แต่สำหรับผู้โดดใหม่ ประสพการณ์ยังน้อย อาจจะกระตุกร่มสำรองไม่ทัน

 

โดยคุณ jdt3000 เมื่อวันที่ 30/05/2014 09:58:20