ตัวอย่างแรก เรือ ส. เกาหลีใต้
เกาหลีใต้ได้เปลี่ยนจากประเทศซื้อเรือ ส. มาเป็นประเทศขายเรือ ส. ภายในเวลาราวสองทศวรรษเท่านั้น จากช่วงปลายทศวรรษที่ 80 เกาหลีฯ เริ่มโครงการจัดซื้อเรือ ส. แบบซื้อสิทธิบัตรมาประกอบเอง และพัฒนามาเรื่อยๆ จนปัจจุบันเกาหลีฯ ขายเรือ ส. 3 ลำ ให้อินโดนิเซียได้แล้ว เป็นมูลค่า 1,100 ล้าน USD (35,200 ล้านบาท) และน่าจะยังมีอีกหลายประเทศที่สนใจจัดซื้อ
ตอนนี้เกาหลีฯ มีเรือ ส. ผลิตเองประจำการอยู่ราว 10 ลำ ถ้าลองเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่เริ่มจัดหาเรือในเวลาใกล้กัน แต่ไม่ได้ผลิตเอง ก็คงมีเรือเพิ่มไม่มากเท่าเกาหลีฯ ซึ่งใช้เวลาเพียงสองทศวรรษเท่านั้นในการพัฒนากองเรือ ส. ให้เป็นที่น่าเกรงขามประเทศหนึ่งในโลกได้ แน่นอนว่าคงมีแรงกระตุ้นพิเศษจากเพื่อนบ้านเขาด้วย จะยังไงก็ตามคนเกาหลีฯรุ่นก่อนได้ทิ้งมรดกล้ำค่าไว้ให้ลูกหลานเขาอย่างน่าชื่นชม เขาใช้โมเดลนี้กับหลายๆอย่างคือ “ซื้อสิทธิบัตรเพื่อผลิตใช้เอง พัฒนาจนออกแบบเองได้ แล้วทำขาย” น่าสนใจมากครับ
ปล. สมาชิกท่านใดมี กรณีตัวอย่างหรือข้อมูลที่น่าสนใจ ขอเชิญร่วมปันกันนะครับ :-)
SK sub development
ซื้อเยอะอำนาจต่อรองมันมากกว่าซื้อน้อย...offsetก็ยิ่งดี...
ใช่ครับ ส่วนใหญ่เป็นอย่างนั้น ซื้อมากมีโอกาสต่อรองได้มาก
ก็เพื่อความมั่นคงด้านอาวุธ
ต้นทุนอาวุธที่สำคัญที่สุด ก็คือ การวิจัย
วันนี้ประเทศของเราควรเริ่มจากผลิตอาวุธที่เป็น low tecnology ก่อนแต่มีปริมาณการใช้ที่สูงและสม่ำเสมอ และในอนาคตก็ยังต้องใช้อยู่
อย่างเช่น ปืนขนาดต่างๆ จรวดแบบต่างๆ ยานเกราะ uav เพราะอาวุธเหล่านี้มีอัตราการใช้สูง เทคโนโลยี่ไม่สูงมาก และคุ้มค่ากับการลงทุน
น่าสนใจครับ มาปันไอเดียกัน ส่วนอาวุธปืน จรวด ยานเกราะ และ UAV ผมคิดว่าส่วนใหญ่เราก็ได้เริ่มทำกันไปบ้างแล้วนะครับ เท่าที่ทราบก็มี 1) ปืน Tavor TAR-21, 2) จรวด DTI-1/1G, 3) First win, Phantom, Black widow และ 4) UAV ของ ทร./ทอ. ก็คงประมาณนี้นะครับ
ประเทศเราควรมองหาโอกาส 1.ซื้ิอเทคโนโลยี 2.ลงทุนเรื่องนาโน 3.เอา1กับ2 มาบวกกัน = เทคโนโลยีก้าวกระโดด
กองทัพก็เคยผลิตอาวุธยุปโธปกรณ์ขึ้นใช้เองเป็นจำนวนมาก แต่เหตุผลกลใดไม่ทราบได้ ส่วนใหญ่ มาชุดเดียวแล้วก็หายเงียบ
ไม่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง น่าจะมาจากแนวนโยบายของ ผบ.เหล่าทัพ แต่ละคนไม่ต่อเนื่อง
ผู้บริหารเหล่าทัพ ต่างๆ ต้องมีความเข้าใจถึงแนวทางการพัฒนาอาวุธ ทุกวันนี้ผมเห็นแต่ละท่าน เป็นแต่ ผู้ใช้อาวุธ เวลาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอาวุธที่เราผลิตเอง มักชอบเอาไปเปรียบเทียบของที่มีอยู่ ซึ่งมันยังห่างไกลความจริงมาก ประเทศเหล่าน้ัน กว่าจะผลิตอาวุธมาขายให้เราได้ มีการพัฒนา มาแล้ว นับ 10 รุ่น บางบริษัทผลิตอาวุธน้ันๆ มากว่า 800 ปีแล้วก็มี การพัฒนาอาวุธบ้านเรามันก็เลยเป็นแค่ลมเพลมพัด มาเดี๋ยวก็ไป อย่างยานเกราะ uav ผมก็กลัวว่า มันจะมาแล้วก็จากไป ไม่คิดที่จะพัฒนาต่อสู่รุ่นที่มีเทคโนโลยี่ที่สูงขึ้น เพราะกองทัพยังมีค่านิยม การใช้อาวุธที่เป็นของต่างประเทศ ไม่นิยมของที่ผลิตขึ้นเอง โดยให้เหตุผลว่า หลักนิยมกองทัพ หรือถ้าพูดง่ายๆ ก็คือมันคุ้นมือกว่า ไม่ต้องเรียนรู้อะไรกันมาก จริงๆ แล้วบ้านเราเคยผลิตอาวุธมาแล้วนับไม่ถ้วน แต่ส่วนใหญ่มารุ่นเดียวแล้วจากไป บางอย่างสามารถเข้าสู่สายการผลิตแล้ว นึกว่าจะไปได้ดี ปรากฏว่า ผลิตอยู่แปปเดียว แล้วก็จอดสนิท เสียดายเงินลงทุนจัง....
อย่างอาวุธ ปก.73 ตามรูป ทำออกมาทดลองใช้อยู่ช่วงหนึ่งแล้วก็เลิกผลิต ให้เหตุผล ว่า กลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อกำลังผลผู้ใช้ แต่ผมเห็นอาวุธชนิดนี้ ทหารไทยใหญ่ ใช้กันตรึมเลย... ถ้าเราไม่เลิกผลิตแต่ยังคงมั่นมันพัฒนารุ่นต่อๆมา ปัจจุบันเราอาจไม่ต้องซื้อ คาร์ล กุฟตาส ของสวีเดนมาใช้
ข้อสาม ซื้อเทคฯ + ลงทุนนาโนฯ น่าจะพัฒนาเร็วดีเชียวครับ ด้านนาโนเทคฯ นี่เห็นว่าจะทำให้มนุษย์พัฒนาไปอีกขั้นเลย แต่บ้านเรา ผมว่าคงต้องวางแผนระยะยาวกันให้ดีด้วย โดยเฉพาะทางด้านการศึกษา ควรเน้นไปที่ภาษาอังกฤษก่อนอื่น เพราะเป็นเครื่องมือสื่อสารกลางของโลก ถ้าคนไทยรู้ภาษาอังกฤษนะ ผมว่าเราจะครบเครื่องมากที่สุดประเทศหนึ่งเลย เพราะคนไทยฉลาด ขยัน เฮฮา คนส่วนใหญ่ชอบนะ ว่ามั้ย
ส่วนเรื่องอาวุธที่เราได้พัฒนาขึ้นเอง แต่ไม่ถูกนำเข้าประจำการเท่าที่ควร ก็น่าเสียดายครับ เราก็ได้แต่เชียร์นะครับ ก็หวังว่ายุคสมัยเปลี่ยนไป มุมมองของฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง ก็น่าจะเปลี่ยนตามไปด้วย ซึ่งผมว่ายุคนี้เหล่าทัพต่างๆ ก็เริ่มให้ความสำคัญกับการพึ่งพาตนเองมากขึ้น ก็ได้แต่หวังว่ามันจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นวิวัฒนาการ ตามทฤษฎีของดาร์วิน (แนววิชาการนิด) นานาประเทศเขาเน้นพึ่งพาตนเองกันแล้ว หากเรายังเน้นซื้อของนอกใช้เป็นหลัก ผมว่าระยะยาวเราก็คงจะแย่เหมือนกันครับ โม้ยาวเลย
ตลกล่ะ คนไทยฉลาดขยัน ผมว่าไม่มีใครมองคนไทยอย่างนั้นหรอกครับ
ประชดเปล่า เรื่องวิทยาศาสตร์ประเทศเรา นักวิทยาศาสตร์น้อย ไม่มีงานรองรับ ไม่มีสถาบันผลิตๆ ง่ายๆคือไม่มีระบบวงจรเลย
คนไทยไม่ได้ดีเด่กว่าชาติอื่นๆหรอกครับ ถ้าดูกันจริงๆไม่เข้าข้างตัวเองคนแต่ละชาติก็ปะปนกันไปพอๆกันนั่นแหละ
ผมไม่ได้สามช่า พูดจริงๆ ก็ยอมรับว่าอาจจะเชียร์คนไทยด้วยกันมากไปนิด เพราะอยากให้เรามั่นใจในตนเองว่า เราก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าชาติอื่น ที่จะสร้างสรรค์อะไรที่มันไฮเทคฯได้เหมือนกัน เคยเห็นฝรั่งผมทองเดินเก็บขยะหรือนั่งขอทานมั้ย มีเยอะเลย ดังนั้นถ้าฝรั่งสร้างอะไรได้เราก็ต้องทำได้ อะไรทำนองนั้น
เรื่องวิทยาศาสตร์บ้านเราไม่มีระบบเลย อันนี้ผมว่าท่านคงประชดนะ แล้วเอากระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปไว้ไหน เอาคณะวิทยาศาสตร์ ของทุกๆ มหาวิทยาลัยไปไว้ไหน นักวิทยาศาสตร์บ้านเราเก่งๆ ก็มีเยอะ แต่คนที่สามารถไปแลกเรียนรู้กับนานาชาติ โดยใช้ภาษาอังกฤษได้ มีไม่มากเท่าที่ควร ก็เท่านั้นแหละ
กรณีตัวอย่าง เครื่องบิน V/STOL อเมริกา
ย้อนไปในยุคทศวรรษที่ 70 อเมริกา (อมก.) ได้จัดซื้อ เครื่องบิน (บ.) แบบ V/STOL รุ่น AV-8A จากอังกฤษ (อก.) ที่มีความทันสมัยมากที่สุดลำหนึ่ง (สมัยนั้น) มีคุณสมบัติพิเศษคือ บินขึ้นและลงจอดในแนวดิ่งได้แบบเฮอริคอปเตอร์ การจัดซื้อครั้งนั้นรวมแล้วจำนวน 110 ลำ แบ่งเป็น บ.ที่นั่งเดียว 102 ลำ ที่เหลือเป็นสองที่นั่ง ส่งมอบให้ นาวิกโยธิน (นย) อมก. ช่วง 1971-1976
แม้จะซื้อ แต่ อมก. ก็ยังเน้นการพึ่งพาตนเองด้วย โดยในระยะแรกต้องการผลิต AV-8A เองในประเทศ แต่สภาครองเกสเห็นว่า การผลิตใน อก. จะทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า จึงสรุปว่า AV-8A จำนวน 110 ลำ ผลิตขึ้นที่ อก.
ยังไงก็ตาม อมก. ยังคงมุ่งมั่นที่จะผลิตเอง (คงเล็งเห็นความสำคัญของโครงการต่อเศรษฐกิจมหภาคของประเทศในระยะยาว) จึงได้เริ่มโครงการพัฒนา บ. AV-8B ร่วมกับ อก. (ผมคิดว่าใกล้เคียงกับ Offset agreement แบบ Co-production คือ การร่วมกันผลิต) โครงการมีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับ โดยเฉพาะการถอนตัวและกลับเข้ามาใหม่ของ อก. เพราะเศรษฐกิจย่ำแย่ช่วงปลายยุค 70
แต่ในที่สุด เมื่อ ธันวาคม 1983 บ. AV-8B ชุดแรกก็ได้จัดส่งให้กับ นย.อมก. เพื่อเริ่มการใช้งาน หลังจากนั้น บ. ได้รับการผลิตและพัฒนามาตามลำดับ และต่อมาได้ส่งออกขายให้ อิตาลี และ สเปน จนกระทั่งปิดสายการผลิตไปในปี 2003 จำนวนการผลิตทั้งหมดของ AV-8B ประมาณ 300 ลำ (จำนวนไม่แน่ชัดครับ) แต่ยังไงก็ตาม แนวความคิดและทักษะความรู้ในการผลิต บ. V/STOL ของ อมก. ยังไม่ได้หายไปไหน แต่ได้ถูกถ่ายทอดให้คนรุ่นหลัง ดูได้จาก F-35B ครับ
ปล. รายละเอียดการผลิตในแต่ละปีเป็นแบบคร่าวนะครับ อ้างอิงไม่ได้นะครับ :)
AV8B co-production
ยกตัวอย่างแบบนี้ ถ้าไม่ซื้อหลักร้อยเขาคงไม่ตั้งสายการผลิตหรอกครับ...
สหรัฐฯ แกก็ผลิตเองทุกอย่างแหละครับ ปืนพกปืนอะไรจะใช้ก็ต้องผลิตเอง ผมมองว่าในแง่นึงมันเป็นเรื่องของชาตินิยมซึ่งมีผลในทางการเมืองด้วย และอีกอย่างคือการป้อนงานให้กับ
ที่คุณ toeytei บอกว่าของเราวิทยาศาสตร์ยังไม่มีระบบคือ ของเราไม่มีระบบในการนำงานวิจัยไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม ผมจำได้ว่าผู้บริหารของ nectec เคยบอกว่างานวิจัยมีเพียบ นั่งบนหิ้งจนหยากไย่ขี้น กล่าวคือวิจัยแล้วไงต่อ? .... ซึ่งผมเห็นด้วยว่าจริง ทั้งๆ ที่เรามีกระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯลฯ ประเทศที่ก้าวหน้าด้านนี้ยังไม่ต้องมีกระทรวงนี้เลย
f-35 ผมว่าไม่ใช่แล้วแหละครับ เทคโนโลยี่มาคนละแนวเลย เหมือนกันเพียงอย่างเดียวคือ ขี้นลงแนวดิ่ง อีกอย่าง อย่างที่คุณ phu2000 ว่าล่ะครับ ซื้อเป็นร้อยเครื่อง เปิดสายการผลิตคุ้มอยู่แล้ว
ซึ่งการผลิตในประเทศผมสนับสนุนอยู่แล้ว แต่ผมคิดว่าเราควรคิดเรื่องความคุ้มทุนมากๆ ด้วย เพราะเราไม่ได้ตังค์เหลือเทกระจาดแบบญี่ปุ่นที่ขาดทุนได้ ชิลๆ ไม่สนใจ ผมว่าอย่างเรื่อง บข ยังไม่ต้องไปคิด เพราะยังไงก็ไม่คุ้มตังค์ ผมว่าเอาปืนใหญ่สนาม เอาจรวด ให้ได้ก่อนดีกว่า เพราะความต้องการสูงกว่าเยอะ วิจัยผลิตก็ง่ายกว่ามาก และถูกกว่า
ตอบคำถามของตัวกระทู้ตรงๆก่อนครับว่า
" เพราะการที่สามารถผลิตอาวุธเองได้ทุกประเภทนั้น จะทำให้เราไม่ถูกเกมส์การเมืองระหว่างประเทศบีบจนทำให้ผลประโยชน์ของประเทศเสียหาย และในยามสงครามก็ไม่ขาดแคลนยุทโธปกรณ์อันเนื่องมาจากผู้ขายไม่จัดส่งอาวุธ อะไหล่ เครื่องกระสุนต่างๆมาให้ครับ จัดเป็นความมั่นคงที่อุ่นใจทีเดียว"
ส่วนการจะเข้าสู่อุตสาหกรรมทหารโดยไม่ต้องมาเป็นภาระแก่งบประมาณประเทศที่รัฐบาลต้องจ่ายเงินอุตดหนุนโรงงานที่ขาดทุน เพราะกำลังการผลิตที่ต่ำ(ต้นทุนต่อหน่วยสูงปรี๊ด) งบวิจัยและพัฒนาที่สูงลิ่ว และไม่มีตลาดอื่นใดรองรับ นอกจากตลาดภายในประเทศที่มาจากกองทัพเท่านั้น พวกนี้ต้องพึ่งสิ่งต่อไปนี้สถานเดียว
" โครงสร้างอุตสาหกรรมพื้นฐาน เช่น จะต่อเรือรบ ก็ต้องมีอุตสาหกรรมต่อเรือ เดินเรือ ซ่อมบำรุงเรือ ที่มีขนาดใหญ่ ประสิทธิภาพสูง มีความสามารถทางการตลาดสูง
จะสร้างยานเกราะ รถถัง ก็ต้องมีโรงงานผลิตรถยนต์ที่ทันสมัย กำลังผลิตสูง
จะผลิตเรด้าร์ อุปกรณือิเลคทรอนิค ECM ECCM ESM ก้ต้องมีโครงสร้างอุตสาหกรรมพื้นฐานคือ โรงงานถลุงซิลิคอน โรงการโด๊ป PN junction โรงงานผลิตหน่วยประมวลผล โรงงานผลิตหน่วยความจำ ป้อนในตลาดอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิคและคอมพิวเตอร์ (เสียดายโครงการ ซับไมครอนมากกกกกกก)
จะผลิตรถถัง ต่อเรือ ก็ควรต้องมีโรงงานถลุงเหล็กกำลังผลิตสูงๆ ทันสมัย มีตลาดส่งออกมาก
จะผลิตเครื่องบิน ก็ควรต้องมีโรงซ่อมสร้างเครื่องบิน มีโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ (ปรับกระบวนการผลิตมาผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินได้) โรงงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องบิน โรงงานผลิตเครื่องยนต์เครื่องบิน โรงงานผลิตอลูมิเนียมอัลลอยด์สำหรับอุตสาหกรรมทุกประเภท รวมถึงอลูมิเนียมทำเครื่องบิน โรงานถลุงอลูมิเนียม โรงงานผลิตไททาเนียมอัลลอยด์ โรงงานผลิตเส้นใยคาร์บอนทุกเกรด รวมถึงเกรดอากาศยานด้วย
โครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมวัสดุผสมชั้นสูง เพื่อผลิตสินค้าด้านวัสดุผสมสมัยใหม่ เช่น เซรามิคสมัยใหม่ โลหะผสม เป็นต้น สำหรับการส่งออก
เกาหลีใต้มีโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมเหล่านี้ครบทุกตัวครับ ภาคอุตสาหกรรมทหารเขาจึงก้าวกระโดด
ส่วนไทยเรา ขาดอุตสาหกรรมพื้นฐานไปไม่กี่อย่าง แต่ดันสำคัญโคตรมาก
- อุตสาหกรรมพื้นฐานสำหรับอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิค ตั้งถลุงซิลิคอน ไปจนออกมาเป็นหน่วยความจำและหน่วยประมวลผล อันนี้จะเป็นพื้นฐานทุกชนิดสำหรับ อุปกรณ์อิเลคทรอนิคทั้งหมดของอาวุธ ทั้ง อุปกรณ์นำวิถี สงครามอิเลคทรอนิค และ อื่นๆ เสียดายซับไมครอนมาก จนถึงมากที่สุดครับ
- อุตสาหกรรมวัสดุผสม โลหะผสม สมัยใหม่ทุกประเภท เช่น เซรามิก สมัยใหม่
เรื่องวงการวิทยาศาสตร์ นักวิทยาสาศตร์เราเก่งเยอะ แต่ลองเทียบกับประเทศที่ก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ มีงานวิจัยเป็นล่ำเป็นสัน ของเรามีงานวิจัยอะไรใหญ่ๆบ้าง? มีนวัตกรรมอะไรใหญ่ๆบ้าง? ซึ่งแน่นอน การเริ่มต้นต้องมาจากภาครัฐที่ทุ่มเงินลงมาก่อน อย่างประเทศจีนทำได้ ไปเร็วเพราะอำนวจรวมศูนย์ การเมืองโคตรไม่เเกว่งเพราะมีพรรคเดียว
เราส่วนใหญ่ก็เรียน applied science กันหมดพราะออกไปมีงานไงครับ มีไม่กี่คนที่เรียน pure science
ผมไม่ชอบวลีคนไทยไม่แพ้ชาติไดในโลก เพราะมัน imply ว่าคนไทยสู้เขาไม่ได้ เลยต้องมาเน้นย้ำว่าสู้ได้นะเว้ย
ซึ่งก็ใครว่าสู้ไม่ได้ตั้งแต่แรกล่ะ
เพิ่มเติม
เรื่องฝรั่งขอทานก็ไม่ใช่เรื่องแปลกครับ บ้านเขาจะให้ใครไปขอทานล่ะครับ
ผมถึงบอกว่าประเทศไหนๆมันก็ไม่ได้หรอก เหมือนๆกันนั่นแหละ
ดีครับ มาปันไอเดียกันสนุกๆ เล่าสู่กันฟัง
ส่วนใหญ่ก็ต้องซื้อเยอะอย่างว่าแหละครับ ถึงจะได้สิทธิบัตร แต่ถ้าคุยดีๆ บางทีลำเดียวก็ให้ผลิตได้ครับ ไม่ใกล้ไม่ไกลนี่แหละ :)
เรื่องแผนการตลาดระยะยาวก็ต้องรอบคอบสำคัญมาก ไทยเราไม่ได้เงินถังอย่างว่าครับ
แต่ท่าน Neo ทำให้ผมมีกำลังใจขึ้น ส่วนตัวคิดว่าเราอยู่ไม่ห่างความจริงเท่าไหร่นะครับ แต่ไม่ว่าประเทศไหน ผมว่าระยะแรกๆ ก็คงผลิตชิ้นส่วนเองได้ไม่กี่อย่าง แต่ก็คงจะเริ่มพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ แต่ก็น่าเสียดายโรงถลุงซิลิคอน โรงถลุงเหล็กในประเทศก็ยังไม่มีต่อไป ก็ไม่รู้เพราะอะไร
ผมก็คิดว่าการเมืองนี่สำคัญครับ ของเรายังไม่นิ่ง ก็คงต้องรอให้มันนิ่งตกผลึกไปตามกระบวนการของมัน เพื่อให้การเมืองพัฒนาอย่างยั่งยืน
ถ้าเราอยากให้อุตสาหกรรมป้องกันปรเทศของเรา พัฒนาอย่างก้าวกระโดด สิ่งที่เราต้องทำ ก็คือ
1.แก้ไขกฏหมาย วางกฏเกณฑ์ใหม่ แก้ไขกฏระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ เปิดโอกาส ให้บุคคลท่ัวไป หรือภาคเอกชน รัฐวิสาหกรรม และต่างประเทศ สามารถเข้ามาลงทุน พัฒนา วิจัย และผลิตอาวุธ ได้อย่างเสรี ภายใต้การดูแล และกำกับของ หน่วยงานที่รัฐจัดต้ังขึ้น
2.กองทัพ ต้องเปิดกว้าง และเชิญชวนให้ภาคเอกชน เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ และต้องสร้างความมั่นใจ ให้ภาคเอกชน ทุกบริษัท ที่มีความสนใจ แนวนโยบายต้องชัดเจนและยั่งยื่นพอสมควร เนื่องจาก อุตสาหกกรรมนี้ ใช้เงินลงทุนสูง ต้ังแต่การวิจัย จนถึงตั้งโรงงาน
3.รัฐ ต้องมีสภาบันการศึกษา ที่ผลิต บัณฑิต ที่มีพื้นฐาน วิศวกรรม อุตสาหกรรมป้องกันปรเทศ ในปริมาณที่เพียงพอ ต้องแตกแขนงในหลายสาขา ต้ังแต่ อิเล็กทรอนิคข้ันสูง วัสดูศาสตร์ นาโน และอีกหลายๆ แขนง
4.กองทัพ ต้องสร้างกำลังซื้อในระดับหนึ่งก่อน และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนผู้ผลิต หาลูกยังต่างประเทศภายใต้กรอบที่รัฐเปิดให้
5.ปรับความคิด ทัศนคติ ของทหารในกองทัพทุกระดับข้ัน ไม่ให้เป็นผู้ใช้ที่ดี คือ มองแต่เพียงคุณภาพ ความคุ้นเคย และ Bandname
เนื่องจากสินค้าที่ผลิตเอง คุณภาพ อาจไม่ดีสู้ สินค้าจากต่างประเทศ แต่ถ้าสามารถใช้ทดแทนกันได้ ก็ละหน่อยนะ ไอ้เรื่อง bandname
เพราะเหมือนจะถูกสอนฝั่งหัวกันไว้
6.ทำประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ อาจจัดรายการโทรทัศน์ ที่เป็นรายการเกาะติด สภานการณ์การผลิตอาวูธ ต่างๆ เพื่อ สร้างทัศนคติที่ดี หรือปลูกฝั่ง ให้คนรุ่นใหม่ อยากเข้ามาในสายอาชีพนี้ และยังเป็นการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับคนทั่วไปด้วย
7.รัฐบาลต้องจัดงบประมาณการวิจัย และงบในการจัดซื้ออาวุธที่แยกออกจากงบประมาณปกติ ลำพังจะให้เอกชนวิจัยฝ่ายเดียว ไม่ได้ รัฐต้องช่วยเข้ามาวิจัย ผ่านมหาลัยต่างๆ และภาคเอกชน (ต่างประเทศเค้าก็ทำกัน) ส่วนเมื่อวิจัยแล้วผลงานวิจัยก็เป็นกรรมสิทธิร่วมของท้ังสองฝ่าย
8.สิ่งที่สำคัญที่สูดๆๆๆๆๆๆๆๆๆ แนวนโยบาย ที่ชัดเจน และต้องสร้างความม่ันใจในระยะยาว ให้กับบริษัทภาคเอกชนที่ต้องการเข้ามาลงทุน ว่าเมื่อเปลี่ยน รัฐบาล ผบ.เหล่าทัพ แล้ว นโยบาย ต้องยังคงเหมือนเดิมอย่
เห็นเรื่องการพึ่งพาตนเอง ผมสนับสนุนนะครับ และสนับสนุนมาโดยตลอด การวิพากษ์วิจารณ์ หรือ ยกตัวอย่างของประเทศอื่น ก็เพื่อกระตุ้นจิตต่อมสำนึกของคนภายในชาติ ว่าถึงเวลาแล้วรึยังที่เราควรจะพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น ไม่ใช่เป็นผู้บริโภคเพียงอย่างเดียว ซื้อเค้าเอาเพียงอย่างเดียว ซึ่งตอนนี้เราก็กำลังพยามยามอยู่ นักวิทยาศาสตร์ไทย ไม่ได้ขาดแคลนถึงขนาดนั้นครับ เพียงแต่ไม่ได้รับการต่อยอด
เราจะได้ยินข่าวตลอด ว่าเด็กไทยได้เหร๊ยญทองโอลิมปิค นักเรียนนักศึกษาไทยชนะเลิศการแข่งขันหุ่นยนต์โลก บางปีนี้เทียบชั้นกับจีนได้ทีเดียว แต่สังเกตไหมครับ เด็กพวกนี้หายไปไหน บางคนเป็นนักวิทยาศาสตร์ เรียนเก่ง แต่ไปเป็นเซลล์ขายเครื่องมือการแพทย์ วิศวกรเก่งๆ ไปเป็นเซลล์ขายเครื่องจักร เครื่องมือความปลอดภัย ทำงานในบริษัทรถยนต์ บางคนข่าวกลับไปช่วยธุรกิจที่บ้าน ทำไร่ ทำนา การเกษตร เด็กหรือคนของเราทำอะไรไม่คุ้มค่ากับศักยภาพของสมองครับ คือ เราใช้คนไม่เต็มศักยภาพของเค้า และไม่ถูกที่ถูกทางครับ ยกตัวอย่าง เรื่องเล่า นายกฯ สิงคโปร์คนปัจจุบัน (โทษครับผมจำชื่อไม่ได้) เรียนเก่ง ตัวเค้าอยากเรียนแพทย์ แต่รัฐหรือครอบครัวแนะนำครับให้เรียนทางรัฐศาสตร์ จะสามารถช่วยเหลือคนในชาติได้ดีกว่า.. เป็นต้น การแนะนำ แนะแนวมีส่วนสำคัญอย่างมาก ของเราขอโทษนะครับ คนเอ็นฯไม่ติด เรียนครู ไปสอนเดกให้เอ็นฯ แล้วคนเก่งหรือทำงานเก่ง เรียนจบคณะอื่นไปยุ่งไม่ได้นะครับ ต้องจบครูเท่านั้นเดี่ยวนี้(ไม่ใช่ว่าเค้าไม่เก่งนะครับ แต่เราใช้เค้าไม่เหมาะสม) นักการเมืองของเรา .... ไม่ต้องพูดถึงครับ
รัฐไม่เคยส่งเสริมเด็กพวกนี้หลังเรียนจบ หรือ ส่งเสริมก็จะน้อยมาก จะไปเน้นวัตถุ สร้างอาคารสถานที่ซะมากกว่า และอาชีพนักวิจัย ถ้าพออยู่ได้ ไทยทำเองความเชื่อถือก็จะน้อย งบประมาณก็ไม่มี การสนับสนุนก็ไม่มี เงินก็ไม่ค่อยได้ แล้วใครอยากจะมาเป็นนักคิดค้นวิจัย นักวิทยาศาสตร์ คนเก่งของเราอยู่บรูไนก็มี ไปคิดค้นเซลล์เชื้อเพลิงให้เค้า บูรไนให้ทุนเลย เค้าคิดถึงว่าถ้าเค้าผลิตน้ำมันไม่ได้ จะทำอย่างไร ของไทยมีมั้ย ถ้าน้ำไม่มีจะทำอย่างไร คิดแต่จะสร้างเขื่อน สร้างสิ่งปลูกสร้างอย่างเดียว คิดแต่เรื่องปลายน้ำตลอด อย่าพูดว่าเราขาดคนเลยครับ เพียงแต่เราขาดการสนับสนุนอย่างจริงจัง และจริงใจจากภาครัฐ
ต่อไป วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะมีบทบาทสำคัญต่อโลกเป็นอย่างมาก และจะมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเรายังมัวนั่งอยู่กับที่ไม่พัฒนา สักวันถ้าโลกใกล้แตก ประเทศอื่นออกนอกโลกไปหมดแล้ว ประเทศที่ไม่มีเทคโลโนยี และคนยากจนในประเทศส่วนใหญ่จะตายอยู่บนโลกครับ (ตอนหลังนี้ ผมคิดเผื่อลูกหลานนะครับ)
เข้าเรื่องสักนิดครับ เราอย่าไปคิดครับว่าเราทำไม่ได้ตอนนี้ อุตสาหกรรมไอนั้นก็ไม่มี ไอนี้ก็ไม่มี ถ้าคิดอย่างนี้ แล้วเมื่อไรเราจะทำล่ะครับ ดูอย่างอินโดฯ ตอนนี้ ผมว่าเค้าเป็นกองทัพที่ชาญฉลาดในการเลือกซื้อของ พร้อมกับการพัฒนาอุตสาหกรรมทางทหารในประเทศไปด้วย และจริงจังในการพึ่งพาตนเอง และแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ควบคู่กันไป หรือแม้แต่พม่าเอง ไทยไม่ต้องไปดูไกลหรอกครับ น่าจะดูเยี่ยงอย่างใกล้ ๆ บ้าง
ส่วนสิงคโปร์ปล่อยเค้าไปเถอะ เค้ามีเงินเยอะ และบรรลุแล้ว ผมคาดการณ์นะ หากรวมเป็น AEC เค้าจะดึงคนเก่งของเราไปหมด สมองจะไหลไปที่เค้า ทุกวันนี้เค้ามาตั้งวอร์รูมในเมืองไทย และทุกประเทศในอาเซียนแล้ว เปิดเมื่อไรสิงคโปร์จะเป็นประเทศที่ได้เปรียบที่สุดในอาเซียน เพราะประเทศเค้าไม่มีทรัพยากร ถ้าจะอ้างว่าประเทศเราไม่มีอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ สิงค์โปร์ก็ไม่มีเหมือนกัน ทำไมต่อเรือขนาดใหญ่ได้ สร้างรถหุ้มเกราะบางส่วนเองได้ ของเราพอจะทำที่บางสะพาน แค่คิดก็ถูกต่อต้านแล้ว ไม่ต้องทราบถึงเหตุผลความจำเป็น
และถ้าจะเทียบอย่าง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน ญี่ปุ่นเราเห็นเค้าพึ่งพาตนเองมาตลอดตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเค้าพัฒนาประเทศไปพร้อม ๆ กับไทย สมัย ร.5 ถึงขึ้นส่งคนมาดูกิจการรถไฟ บริหารจัดการน้ำ ที่ไทย ทุกวันนี้เป็นอย่างไรไม่ต้องพูดถึง แต่ปัจจุบันก็มีช่วงที่เค้าซะล่าใจ และฉุดคิด เดียวนี้เค้ากลับไปมองที่เกาหลีใต้ครับ ประเทศที่เค้าเคยดูถูก และเริ่มปรับปรุงบางธุรกิจครับ
เกาหลีใต้ เป็นประเทศที่พัฒนาอุตสาหกรรมได้อย่างรวดเร็ว 2510 สงครามเกาหลี ถ้าเราเรียนนิราศเกาหลี น่าจะรู้ว่ามีประโยคบางประโยคดูถูกเค้านะครับ ไม่ต้องอืนไกล ซัมซุง แอลจีทำทุกอย่าง สินค้าเกือบทุกส่วนในบ้านเราส่วนใหญ่ต้องมีคนใช้สินค้ายี่ห้อนี้ (แต่ก่อนใช้แต่ โซนี่ โกดัก ของญี่ปุ่น ตอนนี้ถึงขั้นฟื้นฟูกิจการ) รถยนต์ฮุนได เมื่อก่อนแต่ใช้ไม่ทนทาน ไม่ถึง 3 ปีเครื่องหลวม ตอนนี้เป็นอย่างไร สินค้าของเกาหลีพัฒนามาตรฐานได้ดีขึ้นกว่าเมื่อก่อนเป็นอย่างมาก และที่เกาหลีพัฒนาได้รวดเร็ว เพราะคนของเค้ามีระเบียบวินัยมากขึ้น รัฐส่งเสริมอุตสาหกรรมทุกภาคส่วนอย่างเต็มที่ และจริงใจในการสร้างระบบธรรมาภิบาล และแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น
ส่วนจีน ถ้าแก้ไขเรื่องระเบียบวินัยของคน และปัญหาทุจริตคอรัปชั่นได้ ความจริงใจของผู้ผลิต ต่อผู้บริโภค มาตรฐานอุตสาหกรรม จะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของโลกครับ มีประโยคหนึ่งกล่าวไว้ว่า ไม่มีอะไรในโลกที่จีนทำไม่ได้ครับ
ส่วนถ้ามองเรื่องการพึ่งพาตนเองของประเทศในยุโรป อยากให้เรามอง สวีเดน เป็นต้นแบบครับ ทั้งขนาดของกองทัพ และการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ ไม่จำเป็นต้องผลิตเองทั้งหมดครับ บางส่วนเราสามารถร่วมผลิต พัฒนา หรือ จัดหาบางส่วนต่างชาติก็ได้ครับ หรือ เอาอย่างง่ายๆ แบบตอนนี้ ที่เราเริ่มบ้างแล้ว เช่น รถหุ้มเกราะ เครื่องบินฝึก เรือรบขนาดเล็ก กลาง แต่อยากให้เราพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จริงจัง และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น อย่าให้ขาดตอนเมื่อในอดีต และส่งเสริมคนไทย อุตสาหกรรมทางทหารของไทยให้มากกว่านี้ เพื่อให้เค้าได้มีกำลังใจ มีเงินทุนในการคิดค้น วิจัย เหมือนที่มีเพื่อนในเว้บบอร์ดนี้เคยพูดถึง ครับ ว่าให้เราซื้อของเราเพราะของเราดีจริง ไม่ใช้ซื้อเพราะความสงสารหรืออยากช่วยเหลือ มิฉะนั้นแล้ว อุตสาหกรรมทางทหารของประเทศเราจะไม่พัฒนาครับ
ผมว่าเราเลิกพูดคำว่า...คนไทยเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลกได้แล้ว....แล้วหันมาพูดว่า..คนไทยต้องทำให้ได้เหมือนชาติอื่นที่พัฒนาแล้ว...
การศึกษาผมว่าไม่น่าห่วงที่น่าห่วงคือ 1.รัฐไม่ใส่ใจส่งเสริมอย่างจริงจังมากกว่า 2.กฏหมายเรื่องอาวุธยุทธภัณฑ์ที่ล้าสมัย 3.กองทัพต้องกล้าที่จะลงทุน 4.นายหน้าค้าอาวุธเพราะอะไรก็น่าจะเดาได้ถึงหลักฐานจะไม่มีเพราะไม่มีใครหรอกที่คิดจะกระทำผิดแล้วเก็บใบเร็จไว้ 5.แรงกดดันทางการเมืองระหว่างประเทศ
*ความเห็นส่วนตัว*
เบื่อเหมือนกัน ไอ้คำว่า คนไทย (ุถ้าตั้งใจ) ไม่แพ้ชาติใดในโลก เหมือนกัน มันไม่ได้มีความหมายอะไรเลย เป็นแค่ประโยคชาตินิยมปลอบใจตัวเอง
ผมว่าของเรายังถือว่าไกล ซึ่งแปลว่าต้องรีบลงมือตอนนี้เลย
นอกประเด็นแต่อยู่ในเนื้อเรื่อง เพื่อนร่วมรุ่นผมที่เก่งที่สุดในคณะวิทย์ ตอนนี้ทำธุรกิจขายตรงระดับยอดมงกุฎซูเปอร์ชฎาอะไรนั่นแล้ว งานกลุ่มส่งอาจารย์มันก็ทำเป็นลืมไปสนิททั้งที่ตัวเองทำเกือบทั้งหมด แต่มันรวยมากเลยนะบีเอ็มป้ายแดงบ้านหลังเบ้อเริ่ม ข้อดีที่สุดของมันก็คือไม่ชวนผมเข้าร่วมวงการ :)
กลับมาเข้าตรงประเด็นครับ ความเห็นส่วนตัวในเรื่องนี้ ส่วนหนึ่งที่อุตสาหกรรมด้านอาวุธไม่เติบโตเพราะประเทศเรามีขนาดไม่ใหญ่มากพอจะผลิตออกมาแล้วเลี้ยงตัวเองรอด(แบบอินโด จีน) หรือมีสงครามมาจ่อหน้าปากประตูจนต้องดินรนขวนขวายสุดชีวิต(เกาหลีใต้ ปากีสถาน อินเดีย อิสราเอล พม่าและอีกเยอะแยะ) แต่บางประเทศที่มันออกจะพิเศษไปบ้างก็ละไว้เถอะเช่นสิงคโปร์ญี่ปุ่น หรือปะเทศที่มีอุตสาหกรรมด้านนี้มาเป็นร้อยปีแล้วก็ปล่อยเขาไป ผมว่าเรานำหน้ามาเลย์นิดหน่อยและจะเหลื่อมแบบนี้ไปอีกพักใหญ่ๆ แต่พ้น10ปีไปแล้วไม่รู้นาไม่กล้าเดา
ส่วนเรื่องกฎหมาย ค่าคอมมิสชั่น หรือข้อจำกัดอะไรนั่นมันก็ใช่แหละ แต่ประเทศอื่นๆก็เป็นแบบเราเหมือนกันนี่นา คงต้องมีแรงกระตุ้นจากอะไรซักอย่าง(เช่นเม็ดเงินหลายแสนล้านจากรัฐบาลหรือบริษัทต่างประเทศ)ถึงจะก้าวกระโดดได้ จากนั้นค่อยไปตามแก้ปัญหาที่ติดๆขัดๆกันต่อซึ่งแปรเปลี่ยนไปตามสถานะการณ์ วางแผนเอาไว้ตอนนี้ก็ไม่มีประโยชน์อะไร
ติง จขกท.นิดเดียว ทำไมต้องเรียกเรือส.ด้วยหละครับ เรียกเรือดำน้ำธรรมดาก็ได้นี่ อาวุธที่ยกตัวอย่างก็เก่ามากเด็กๆรุ่นใหม่ไม่รู้จักก็คงไม่คุยด้วย
จากที่หลายท่านได้มาร่วมปันไอเดียกันไว้ มีไอเดียดีๆ เยอะ ผมเลยลองรวบรวมเล่นๆได้ประมาณนี้นะครับ ส่วนเรื่องตัวอย่าง ต้องยกเก่ามาหน่อย เพราะอยากให้เห็นภาพวงจรการพัฒนาของอาวุธ ตั้งแต่ต้นจนจบครับ
ปัจจัยพัฒนาอุตฯ
จากที่ได้ลองรวบรวมประเด็นหลักๆไว้ แล้วผมก็ใช้จังหวะชุลมุน ลองทำแผนภาพการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (อปป) ขึ้นเล่นๆ จากแนวความคิดของเพื่อนสมาชิกทุกๆ ท่าน ที่มาร่วมสนุกปันไอเดียในกระทู้นี้นะครับ ก็คงประมาณนี้นะครับ ถ้ามีอะไรเพิ่มเติมตกหล่นยังไงก็ช่วยกันดูนะครับ
ลองอีกทีครับ
ลองอีกซักที :)
แผนภาพ อปป
ชื่นชม คุณโอเวอร์ซีร์ ครับ ขยันทำชาร์จ หวังว่าจะมีคนหรือผู้ใหญ่ใจดีผ่านมาเห็นความตั้งใจบ้างนะครับ อิอิอิ
ผมชื่นชม คนไทยเก่ง ๆ มีครับ เพียงแต่ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างจริงใจ จริงจัง และต่อเนื่อง รวมถึงการทุจริตคอรัปชั่น ทำให้พัฒนาศักยภาพของคนไทยไปได้ไม่สุด ไม่เต็มประสิทธิภาพของสมองและความรู้ความสามารถ คนมีความรู้มักกระเด็นออกไปนอกวงโคจร ส่วนคนประจบสอพอลมักได้ดิบได้ดี .. เป็นอนิจจังของประเทศไทย
ตอนนี้ผมฝากความหวังไว้ที่ dti ดูแนวและทิศทางก็น่าจะพอฝากความหวังได้ดู
โดยเฉพาะแนวทางการพัฒนาจรวดในรุ่นต่างๆ ผมมองว่าสำหรับประเทศที่ไม่มีทุนทรัพย์มากมายอย่างประเทศไทย ถ้าเราจะต้องลงทุนสร้างเครื่องบิน รถถัง เรือพิฆาต อะไรทำนองนี้ ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลมาก การที่ dti มุ่งพัฒนาจรวดก่อนถือว่าเป็นการมองที่มีวิสัยทัศน์ของผู้บริหารเพราะการรบยุคใหม่สู้กันอยู่ในห้องแอร์ ถ้าเราสามารถผลิตจรวดได้เอง จะเป็นการป้องกันและป้องปรามไปในตัว เมื่อจรวดพื้นสู่พื้นสำเร็จแล้วผมอยากจะเห็น dti พัฒนาจรวดต่อสู้อากาศยาน และอยากให้กองทัพทุ่มงบประมาณมาทางด้านนี้ก่อน และพัฒนาให้สามารถใช้งานได้กับหลายๆ platform ไม่ว่า เรือรบ เครื่องบิน ยานเกราะ ควบคู่ไปการพัฒนาจรวด
ขอบคุณท่าน tommy เหมือนกันนะครับ มาปันข้อมูลน่าสนใจเยอะเลย พอดีผมกำลังเห่อโปรแกรมวาดภาพ ทำกราฟฟิค อยู่ครับ เลยลองทำเล่นๆ ผ่อนคลายดีนะครับ :-D
ส่วนความหวังก็ฝากไว้กับ dti และ หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เราก็คงต้องคอยเชียร์กันต่อไปครับ :-D
คุณ Overasea มีความตั้งใจดีมากครับ ขอชื่นชม
เห็นด้วยกับคุณ pornpoj โดยเฉพาะข้อ 3 4 5
จริงๆ สิ่งที่เราสามารถทำได้ ณ ปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น รล กระบี่ ถ้าเราต่อลำต่อๆ ไปก็อาจ
ใช้แบบเรือเดิม (หรืออาจใหญ่ขึ้น) แล้วติดอาวุธให้ครบ เช่น SSM, ESSM, CIWS ตามความคิดของผม
ยังไงก็ถูกกว่าซื้อใหม่ยกลำ (เงินส่วนต่าง+ส่วนเพิ่มเติมก็เอามาปรับปรุงระบบต่างๆให้ดีขึ้น) ที่สำคัญคือประสบการณ์ในการต่อเรือของเราก็จะมีความชำนาญมากขึ้นและพัฒนาไปสู่ระดับสูงๆขึ้นไปในอนาคตได้ครับ
ส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยกับการสร้างเครื่องบิน รถถัง เรือ ส. ซึ่งเข้าใจว่าต้องใช้เงินมหาศาลแต่ผมกลับคิดว่าทำไมเราไม่ต่อยอดจากสิ่ง
ประดิษฐ์ที่น้องๆ นักศึกษาไทยสามารถทำได้ เช่น หุ่นยนต์ต่างๆ ซึ่งต้องใช้ความรู้ทั้งทางด้านวิศวะกรรมไฟฟ้า+Mechanic ควบคู่กันไป การลงทุนวิจัยต่อยอดสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ยังไงก็ใช้งบประมาณเทียบไม่ได้กับการต่อเรือรบสักลำ หรือการสร้างเครื่องบิน รถถัง
ไม่แน่ต่อไปเราอาจสามารถผลิต UAV, โดรน ติดกล้องพร้อมอวป. (นำ+ไม่นำวิถี) หรืออาจผลิตเรือ ส. ไร้คนขับขนาดเล็กที่สามารถติดตอร์ปิโดขนาดเล็กได้ (ปล่อยจากเรือรบหลักหรือฐานทัพเรือต่างๆ)
จินตนาการและความฝันส่วนตัวล้วนๆครับ
อย่างไรก็ตามภาครัฐและกองทัพต้องเห็นความสำคัญและต้องให้การสนันสนุนอย่างต่อเนื่องครับโครงการเหล่านี้ถึงจะสามารถเกิดขึ้นได้และยั่งยืนและสามารถต่อยอดไปสู่เทคโนโลยีที่สูงขึ้นต่อไป